วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance Period) 1400-1600

 

ยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance Period)

 

            ยุคเรอเนสซองส์ในส่วนของดนตรี จะอยู่ในช่วงประมาณปี ค.. 1400-1600 และเป็นช่วงปีเดียวกับที่มีการคิดค้นการพิมขึ้น ชาวยุโรปถือว่ายุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ คำว่า “Renaissance” แปลว่า rebirth หมายถึง การเกิดใหม่ของลัทธิปรัชญากรีกโบราณ เกิดทัศนะในการมองโลกที่แตกต่างจากยุคกลาง อันมีผลมาจาก

-          การศึกษา ในปีค.ศ. 1440 ได้เกิดการพิมพ์ขึ้น ส่งผลต่อการแพร่กระจายของแขนงสาขาวิชาต่างๆ

-          มีการคิดค้นดินปืน และได้ทำลายระบบอัศวินลง

-          เริ่มมีการสร้างเข็มทิศ เกิดการค้นคว้าไปในโลกกว้าง แสดงให้เห็นว่ามนุษย์เริ่มคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น

เหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์ที่สำคัญได้แก่

1.       การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล ในปีค.. 1452

2.       การค้นพบแผ่นดินใหม่ของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ในปีค.. 1492

3.       มีศิลปินเกิดขึ้นมากมายได้แก่ เลโอนาโดร์ ดาวินซี และไมเคิล แองเจโล ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่ยิ่งใหญ่มากมาย

 

ลัทธิมนุษยนิยมกลายมาเป็นรากฐานที่มั่งคงในปรัชญาของศตวรรษที่ 16 ในทางศาสนา คริสตศาสนายังคงเป็นแกนหลักอยู่ แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงคือไม่แข็งแรงเท่ายุคกลาง เนื่องมาจากผู้ดำเนินการศาสนาได้ทำให้ศาสนามีรูปลักษณ์เปลี่ยนไป ซึ่งดูเหมือนจะเสื่อมลง ส่งผลให้เกิดศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนขึ้นในค.. 1517 ก่อตั้งโดยมาร์ติน ลูเธอร์ พระชาวเยอรมัน เพลงร้องในโบสถ์ถูกปรับให้ร้องง่ายขึ้น เพื่อให้คนได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมและใกล้ชิดกันศาสนามากขึ้นด้วย

สภาพสังคมที่มีอิทธิพลต่อดนตรีในยุคเรอเนสซองส์   

            ผู้คนในศตวรรษที่ 15 ได้พยายามที่จะสร้างโลกใหม่ที่มั่นคงหลังจากการที่ศาสนาอ่อนแอลงด้วยอุบายทางการเมือง และความหายนะต่างๆ นักวิชาการพยายามที่จะเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับอารยธรรมกรีกโบราณโดยมีเหตุผล มิใช่ความเชื่อเพียงอย่างเดียว ความพยายามที่จะใช้ดนตรีเป็นสื่ออารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานดนตรี ดนตรีส่วนใหญ่ยังเกี่ยวข้องกับการขับร้อง และศาสนา ในขณะเดียวกันได้มีการยกย่องความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี

ดนตรีในสมัยนี้ได้แบ่งเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกัยยุคกลางคือ ดนตรีในวัดและดนตรีชาวบ้าน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันมากขึ้น หลังจากการเสื่อมอำนาจของพระสันตะปาปาในช่วงศตวรรษที่ 14 ผู้อุปถัมภ์ดนตรีคือ ขุนนางในราชสำนักต่างก็คาดหวังให้นักดนตรีสร้างงานทั้งเพื่อ การศาสนา และ ความบันเทิงของคนในราชสำนัก

ยุคเรอเนสซองส์ตอนต้นและตอนกลาง ดนตรีจะค่อนข้างยืดหยุ่น มีแนวโน้มของการแสดงออกที่ค่อนข้างสงบ ในช่วงสุดท้ายของยุค ดนตรีได้ถูกเบี่ยงเบนไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น 

ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดการพิมพ์โน้ตเพลงแบบโพลีโฟนี (คือ ดนตรีที่ประกอบด้วยทำนองอิสระตั้งแต่สองแนวขึ้นไป ) ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.. 1501 ทำให้เกิดการแพร่หลายของดนตรีออกไปสู่โลกกว้าง แต่ละเชื้อชาติก็ต้องการดนตรีที่เป็นภาษาของตนเอง ทำให้การสร้างสรรค์งานผลงานดนตรีกลายมาเป็นของชาวบ้านมากขึ้น และยังเกิดการประดิษฐ์เครื่องดนตรีอันส่งผลให้ผู้ประพันธ์เพลงได้เขียนบทเพลงที่เป็นสำเนียงสำหรับเครื่องดนตรีโดยเฉพาะ และได้มีการแบ่งกลุ่มเครื่องดนตรีแต่ละประเภทอย่างชัดเจนขึ้นด้วย

ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 16

             ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถือเป็น “ยุคทองของเรอเนสซองส์ คือมีการพัฒนาจนมั่นคงและเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งความสำเร็จของมวลมนุษยชาติ ในด้านดนตรีนั้น เพลงร้องแบบโพลีโฟนีได้พัฒนามาถึงจุดสูงสุดของประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก 

การปฏิรูปดนตรีในศตวรรษที่ 16

1.       ดนตรีในวัด

1.1   การปฏิรูปในประเทศเยอรมันนี

การปฏิรูปศาสนาได้เกิดขึ้นในเยอรมันตั้งแต่สมัยของมาร์ติน ลูเธอร์ ในปี ค.. 1517  

ลูเธอร์เชื่อว่าคุณค่าของดนตรีนั้นอยู่ที่การสักการะ และแนวความคิดที่จะนำประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา เกิดบทเพลงสรรเสริญพระเจ้าซึ่งเป็นบทประพันธ์ที่วำคัญเรียกว่า คอราล “chorale”  นำมาจากบทสวดที่ถูกดัดแปลงใหม่ หรือเพลงชาวบ้านภาษาเยอรมันที่มีอยู่ก่อนการปฏิรูป คอราลในระยะแรกจะเป็นการประสานเสียง 4 แนวแบบง่ายๆ เพื่อแสดงโดยนักร้องคอรัส โดยมีทำนองอยู่แนวบนสุด 

1.2   การปฏิรูปในประเทศอังกฤษ

หลังจากเกิดการล้มล้างนิกายคาธอลิก ได้นำไปสู่นิกายอังกลีกัน รูปแบบบทประพันธ์ส่วนใหญ่ได้รับมาจากนิกายคาธอลิก โดยใช้คำร้องภาษาอังกฤษแทนภาษาละติน แนวทำนองได้ถูกเรียบเรียงใหม่ เรียกว่า  เพลงแมส (Mass) และโมเต็ท (Motet)

2.       ดนตรีชาวบ้าน

มีรูปแบบเป็นเพลงร้องที่ประสานเสียงกันตั้งแต่ 4 แนวขึ้นไป ทำนองค่อนข้างชัดมีความเหมาะสมกับเนื้อร้อง บทกวีที่ใช้มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆนิยมเพลงที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน จังหวะสนุกสนาน ชอบเล่นเสียงคำ เสียงสระ เทคนิคอีกอย่างที่เป็นที่นิยมคือการวาดภาพของคำ (word painting) และการเลียนเสียงธรรมชาติเช่น เสียงนก ได้แก่ เพลงประเภท แมดริกัล (Madrigal)

3.       ดนตรีสำหรับการบรรเลง 

ในยุคเรอเนสซองส์จะไม่มีบทบาทมากนัก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่จะใช้เครื่องดนตรีเฉพาะในการสื่อแต่ละบทเพลง มีลักษณะสำคัญคือ

-          ดนตรีสำหรับบรรเลงมักถูกจำกัดด้านช่วงเสียงร้อง โดยใช้เครื่องดนตรีแสดงแทน

-          การบรรเลงแบบด้นสด (improvisation) มีบทบาทมากขึ้นในการแสดง

-          เทคโนโลยีด้านการพิมพ์ทำให้เกิดการตีพิมพ์โน้ตเพลงสำหรับเครื่องดนตรีแพร่หลายมากขึ้น

-          มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบการเต้นรำของชนชั้นสูง ดนตรีจึงเน้นหนักในเรื่องจังหวะ

-          ชื่อผลงานได้แก่ แฟนตาเซีย (fantasia) เพรลูด (prelude) แวริเอชั่น (variations)

                                                                                                                                   

เครื่องดนตรีในสมัยเรอเนสซองส์ จัดแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.       เครื่องสาย

1.1   เครื่องสายที่ใช้คันชัก

-          วิโอล (viol) เป็นบรรพบุรุษของไวโอลินในสมัยศตวรรษที่ 17

1.2   เครื่องสายที่ใช้ดีด- ลูท (Lute) เป็นเครื่องดนตรีที่มีเฟร็ท มี6สาย ใช้การดีดสายเพื่อให้เกิดเสียง มีรูปทรงเหมือนลูกแพร์

2.     เครื่องเป่า

2.1   รีคอร์ดเดอร์

2.2   ทรัมเปต

2.3   ทรอมโบน

3.       ออร์แกน ขนาดใหญ่ที่สุดถูกสร้างในยุคเรอเนสซองส์นี้เองมีท่อประมาณ 2,500อัน ใช้ สำหรับประกอบการขับร้องเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น