วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

บันไดเสียงเมเจอร์(Major Scale)

 

บันไดเสียงเมเจอร์ ( Major scale )

การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรี เช่น การประสานเสียง การสร้างแนวทำนองเพลง  อิมพรอไวเซชั่น (Improvisation ) แม้แต่การฝึกดนตรีปฎิบัติ ล้วนต้องอาศัยบันไดเสียงเป็นหลักทั้งสิ้น  บันไดเสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง เปรียบเสมือนหัวใจของการดนตรี นักดนตรีและผู้ศึกษาการดนตรีควรค้นคว้าและหมั่นฝึกให้เกิดทักษะด้านนี้

1.       ความหมายของบันไดเสียง

                     พระเจนดุริยางค์ (2509, 3) นิยามบันไดเสียงว่าคือเสียงที่มีระดับสูง-ต่ำต่างไล่กันลำดับเป็นขั้น ๆ ตามแบบแผนที่กำหนดไว้

                      เลิฟลอค (Lovelock, 1984, 39) ให้ความหมายว่าอนุกรมของเสียงที่จัดเรียงตามลำดับจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูงหรือจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำโดยมีช่วงเสียงไม่น้อยกว่าระยะขั้นคู่ 8

                       ริชิลีอาโน (Riciglino, 1978, 15) กล่าวว่าคืออนุกรมของเสียงที่ต่อเนื่องตามลำดับจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูงหรือจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำโดยเริ่มจากโนดสำคัญคือโน้ตตัวโทนิคหรือคีย์โน้ต

2.       ประเภทของบันไดเสียง

            บันไดเสียงเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่กำหนดความแตกต่างของผลงานดนตรีชนกลุ่มต่าง ๆ สร้างดนตรีโดยมีบันไดเสียงเป็นของตนบันไดเสียงจึงมีความหลากหลายกลายเป็นเอกลักษณ์ทางดนตรีของแต่ละสังคมเลิฟลอค (Lovelock, 1984, 64) แบ่งบันไดเสียงทางตะวันตกเป็น 2 ประเภทคือ

3.      1 บันไดเสียงไดอาโทนิค (Diatonic Scale) เป็นบันไดเสียงที่มีชื่อระดับเสียงไล่เรียงตามลำดับขั้นไม่ซ้ำกันในระยะขั้นคู่ 8 แบ่งออกเป็น 8 ขั้นโดยจัดให้แต่ละขั้นมีระยะห่างครึ่งเสียง (Semitone) หนึ่งเสียงเต็ม (Tone) และหนึ่งเสียงครึ่ง (Three semitone

แตกต่างตามแบบแผนของบันไดเสียงแต่ละชนิดบันไดเสียงไดอาโทนิค

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด  2. 1. 1 บันไดเสียงไดอาโทนิคเมเจอร์ (Diatonic major scale)

                                            2.. 2 บันไดเสียงไดอาโทนิคไมเนอร์ (Diatonic minor scale) มีรูปแบบแตกต่างกัน 3 ลักษณะ

                              1) บันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ (Natural minor scale) หรือบันไดเสียงเพียวไมเนอร์ (Pure minor scale)

                                       2) บันไดเสียงฮาร์โมนิคไมเนอร์ (Harmonic minor scale)

                                       3) บันไดเสียงเมโลดีกไมเนอร์ (Melodic minor Scale)

             2. 2 บันไดเสียงโครมาติค (Chromatic Scale) เป็นบันไดเสียงที่มีระยะห่างครึ่งเสียงตลอดในระยะขั้นคู่ 8 แบ่งออกเป็น 12 ขั้นดังนั้นชื่อระดับเสียงในแต่ละขั้นจึงซ้ำกันเช่น C-C ชาร์ป B แฟลท-B เนเจอรัลหรือ G แฟลท-G ดับเบิลแฟลทเป็นต้นบันไดเสียงโครมาติคแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

                            2. 2. 1 บันไดเสียงฮาร์โมนิคโครมาติด (Harmonic chromatic scale).

                                    2. 2 บันไดเสียงเมโลดิกโครมาติค (Melodic chromatic scale) ข้อสังเกตบันไดเสียงไดอาโทนิคเมเจอร์และบันไดเสียงไตอาโทนิคไมเนอร์นิยมเรียกสั้น ๆ ว่าบันไดเสียงเมเจอร์และบันไดเสียงไมเนอร์ทั้งนี้เพราะบันไดเสียงโครมาติดไม่มีคำว่าเมเจอร์และไมเนอร์ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเฉพาะบันไดเสียงไดอาโทนิคที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเสียงประสานส่วนบันไดเสียงโครมาติคจะได้กล่าวในหนังสือทฤษฎีดนตรีสากลและเพื่อความเข้าใจเรื่องการแบ่งประเภทและชนิดของบันไดเสียงให้ดูแผนภูมิการจำแนกประเภทบันไดเสียงประกอบ  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น