ยุคบาโรก (Baroque period)
ดนตรียุคบาโรก (Baroque music) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง
ค.ศ. 1600-1750 เกิดขึ้นหลังดนตรียุคเรอเนสซองซ์ คำว่า บาโรก
ไม่ใช่ชื่อยุคทางดนตรีเท่านั้น หากแต่เป็นยุคที่แบ่งเรื่องของ ศิลปะทั้งหมด
ในยุคนี้ผู้ประพันธ์เพลงและผู้แสดงจะใช้องค์ประกอบทางด้านดนตรีที่ซับซ้อนมากขึ้น
เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบเสียงและได้พัฒนาการเล่นเครื่องดนตรีแบบใหม่
ดนตรียุคบาโรกได้ขยับขยายขนาด ความกว้าง ความซับซ้อนของการแสดงเครื่องดนตรี
ลักษณะดนตรียุคบาโรก
1.
เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีหรือเสียงร้องประชันกัน
2.
เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น
เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยว ตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม
3.
เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และหลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น
4.
นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major) และไมเนอร์
(Minor) แทนโมด (Mode)
5.
เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) เป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้ โฮโมโฟนี มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
6.
มีการระบุความเร็ว – ช้า
และหนัก – เบา ลงไปในผลงาน เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น
7.
เทคนิคของการด้นสด Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด
8.
มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ
เกิดขึ้นหลายแบบ
9.
มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์(คำศัพท์ทางดนตรี)
10. เริ่มมีการแต่งเพลงให้เสียงคนร้องนำฟังชัดเจนและมีการเล่นดนตรีคลอตามเป็นเสียงพื้นหลัง เป็นจุดแรกเริ่มของการเกิดละครเพลง อุปรากร (Opera)
คีตกวีที่สำคัญในยุคบาโรก
1.
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach 1685-1750 )
· คีตกวีชาวเยอรมัน
· เมื่ออายุได้
15 ปี เขาก็เริ่มเลี้ยงตัวเองโดยการเป็นนักออร์แกนและหัวหน้าวงคอรัสตามโบสถ์ในเยอรมัน
· ผลงานของบาคกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคบาโรก
และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตกในยุคต่อมา
· ผลงานเพลงมีความเป็นอมตะจนถึงปัจจุบัน
· การถึงแก่กรรมของในปี ค.ศ. 1750 เป็นเครื่องหมายของการสิ้นสุดดนตรีสมัยบาโรก
2.
อันโตนิโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi, 1678-1741)
· ผู้ประพันธ์เพลงและนักไวโอลินชาวอิตาเลียน
· เพลงที่วิวัลดีแต่งโดยมากมักเป็นเพลงสำหรับร้องและเล่นด้วยเครื่องดนตรีประเภทสตริง
(String)
· เป็นผู้สร้างงานขึ้นมาด้วยความประณีตบรรจง
สามารถทำให้ผู้ฟังปล่อยอารมณ์ไปตามเนื้อและทำนองเพลงได้โดยไม่รู้ตัว
ยุคคลาสสิก (Classical period)
ยุคคลาสสิก (Classical period) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง ค.ศ.1750-1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และแจ่มชัดในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่น ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลางของดนตรี
ลักษณะดนตรียุคคลาสสิก
1. นิยมการใส่เสียงประสานแบบโฮโมโฟนี
(Homophony)
คือการเน้นทำนองหลักเพียงแนวเดียว โดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะมากขึ้น
2. มีแนวประสานเป็นคอร์ดหลายแนวที่มีจังหวะคล้ายกัน
3. ความสำคัญของการด้นสด
(Improvisation)
เริ่มหมดไป
4. ดนตรีส่วนมากมีการเขียนเสียงประสานครบถ้วน
คีตกวีจะระบุวิธีการบรรเลงอย่างชัดเจน
5. เกิดคีตลักษณ์
(Form) ใหม่ๆ ขึ้นในยุคนี้ คือ
5.1 โซนาตา
(Sonata) เป็นงานดนตรีสำหรับการบรรเลงเดี่ยว ประกอบด้วยท่อนต่างๆ สามหรือสี่ท่อน
5.2 คอนแชร์โต
(Concerto) คือการบรรเลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
ประทะกับวงดุริยางค์ทั้งวง
5.3 ซิมโฟนี
(Symphony)
คือการบรรเลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีทุกชนิดในวงดุริยางค์ หรือ ออร์เคสตรา
สลับกันบรรเลงประสานกันไปมา
6. ลักษณะการผสมวงมีกำหนดแน่นอนว่าเป็นวงเล็ก(แชมเบอร์มิวสิก)
หรือวงใหญ่ (ออร์เคสตรา)
7. นิยมประพันธ์เพลงบรรเลงมากขึ้น
8. โอเปร่า เป็นที่นิยมมาก เน้นเรื่องศิลปะการแสดงมากขึ้น
คีตกวีที่สำคัญในยุคคลาสสิก
1. โมสาร์ท
(Wolfgang
Amadeus Mozart 1756-1791)
·
คีตกวีชาวออสเตรีย
·
มีชื่อเสียงในงานประพันธ์ดนตรีประเภทซิมโฟนีเชมเบอร์
มิวสิกและโอเปร่า
·
เขียนซิมโฟนีชิ้นแรกเมื่ออายุ 8 ปี
·
เป็นนักดนตรีอิสระคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ชีวิตโดยไม่ขึ้นกับราชสำนักหรือผู้อุปถัมถ์ใด
ๆ
·
เป็นนักประพันธ์คนเดียวในประวัติศาสตร์ที่เขียนเพลงอย่างประณีตทุกรูปแบบของดนตรีตลอดชีวิตของเขา
2.
ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven 1770 - 1827)
· คีตกวีชาวเยอรมัน
· มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเปียโนที่มีความสามารถด้านเปียโนสดได้เก่งที่สุดแห่งยุค
ต่อจากโมสาร์ท
· เป็นคนที่มีความทะเยอ
ทะยานสูง หยิ่ง เจ้าอารมณ์ และรักอิสระ
· มักได้รับการตำหนิจากปรมาจารย์อาวุโส
ว่า แต่งเพลงแหกกฎเกณฑ์ทางดนตรี
· ผลงานของเขาเป็นต้นกำเนิดของ
ยุคโรแมนติก (Romantic
Period)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น