วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ศิลปะพื้นฐาน(ดนตรีสสากล)

 ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)

ส่วนที่ 1

1. รหัสวิชา ศ31102

2. รายชื่อวิชา ศิลปะพื้นฐาน8 (ดนตรีสากล)

3. จำนวนหน่วยกิต 1.0 หน่วยการกิต

4. จำนวนคาบเรียนต่อสัปดาห์ 2

5. กลุ่มสาระการเรียนรู้           สาขาดนตรีสากล

6. ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

7. ประเภทวิชา วิชาบังคับเลือกวิชาเอก

8. ภาคเรียน/ปีการศึกษา 2/2565

9. ชื่อผู้สอน อ.ดร.ยงยุทธ เอี่ยมสอาด

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาเปรียบเทียบวิเคราะห์ประเภทและรูปแบบของวงดนตรีสากลในแต่ละยุคสมัยประวัติดนตรีตะวันตก คีตกวี และบทเพลง ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม เทคนิค และการถ่ายทอดอารมณ์เพลงด้วยการร้องบรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยวและรวมวงเกณฑ์ในการประเมินผลงานดนตรี คุณภาพและ คุณค่าของผลงานทางดนตรี การถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของงานดนตรีจากแต่ละวัฒนธรรม ดนตรีกับการผ่อนคลาย  ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์  ดนตรีกับการประชาสัมพันธ์ดนตรีกับการบำบัดรักษา  ดนตรีกับธุรกิจ ดนตรีกับการศึกษา

โดยกระบวนการวิเคราะห์ และกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ในการถ่ายทอดความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรีและ แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีวัฒนธรรม  และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์  

เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การแก้ปัญหา เกิดทักษะวิเคราะห์ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการผลิตภาพ และความคิดรับผิดชอบ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และรักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ


ผลการเรียนรู้

1. เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าทางดนตรีถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

2. เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล 

ส่วนที่ 2 

ภาพรวมรายวิชา ศิลปะพื้นฐาน8(ดนตรีสากล)


1. จุดประสงค์รายวิชา 

1.1 ด้านความรู้ : เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในหลักการสุนทรียทางดนตรี

1.2 ด้านทักษะและกระบวนการ : เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในเล่นเครื่องดนตรี 1 ชิ้น 

    

1.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ : 

1. วินัย

      - ตรงต่อเวลา 

      - ปฏิบัติตามกฎระเบียบ

2. ใฝ่เรียนรู้

      - ตั้งใจเรียน

      - มีความรับผิดชอบ

3. มุ่งมั่นในการทำงาน

      - มีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน

      - อดทน ขยันหมั่นเพียร

      - รู้จักเสียสละและเห็นใจผู้อื่น


2. ขอบข่ายเนื้อหาสาระ (ระบุหัวข้อ หรือประเด็นสำคัญ)

1. ดนตรีสากลในแต่ละยุคสมัยและประวัติคีตกวีตะวันตกและบทเพลง         

2. ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม 

3. ดนตรีกับการนำไปประยุกต์ใช้ในงานอื่นๆ                          

4. ร้องเพลงและการปฏิบัติเครื่องดนตรี เกณฑ์การประเมินคุณภาพของบทเพลง       

                                                                     

3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ (ระบุกลวิธีและวิธีและเทคนิคการจัดการเรียนรู้) 

  การบรรยาย   การอภิปราย   การนำเสนอ   การใช้กระบวนการกลุ่ม   การระดมสมอง   การสาธิต

  การทดลอง   กระบวนการแก้ปัญหา   การปฏิบัติจริง

  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์   การฝึกทักษะ   อื่น ๆ (ระบุ)



4. แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 

อัตราส่วนคะแนนเก็บ : คะแนนสอบ = 75 : 25

การประเมิน ประเมินผลการเรียนรู้ คะแนน

การวัดประเมินการเรียนรู้ เครื่องมือ

1 จุดประสงค์ระหว่างเรียน แบบฝึกหัด 20

2 สอบกลางภาค แบบฝึกหัด 20

3 จุดประสงค์ก่อนปลายภาค แบบฝึกหัด 20

4 สอบปลายภาค แบบฝึกหัด 30

5 จิตพิสัย แบบสังเกต 10

รวม 100 %


เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน ผลการเรียน

79.5 – 100 4

74.5 – 79.4 3.5

69.5 – 74.4 3

65.5 – 69.4 2.5

59.5 – 64.4 2

54.5 – 59.4 1.5

49.5 – 54.4 1

0 – 49.4 0



5. กระบวนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ครั้งที่ เนื้อหา หมายเหตุ


1 1 ปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีสากล

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

2 2 บทบาทของดนตรีสากลในการสะท้อนสังคม

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

3 3 วิวัฒนาการของดนตรีสากล

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

4 4 ประวัติคีตกวีด้านดนตรีสากล

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

5 5 ประเภทของวงดนตรี

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

6 6 คุณค่าและความงามของดนตรีสากล

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

7 7 ดนตรีสากลกับการประยุกต์ใช้

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

สอบกลางภาค

8 8 ประเภทของเพลงสากล

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

9 9 ดนตรีสากลกับสังคมไทย

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

10 10 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทย

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

11 11 คีตกวีสากล

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

12 12 เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

13 13 รูปแบบการบรรเลงดนตรีสากลและขับร้อง

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

14 14 ศัพท์สังคีตในดนตรีสากล

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(ไวโอลิน) 2 คาบ

สอบปลายภาคตามตารางสอบ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น