ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
ส่วนที่ 1
1. รหัสวิชา ศ32224
2. รายชื่อวิชา ปฏิบัติรวมวงดนตรี1
3. จำนวนหน่วยกิต 1.0 หน่วยการกิต
4. จำนวนคาบเรียนต่อสัปดาห์ 2
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ สาขาสาธิตและนิเทศการสอนศิลปกรรม
6. ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5
7. ประเภทวิชา วิชาบังคับเลือกวิชาเอก
8. ภาคเรียน/ปีการศึกษา 2/2565
9. ชื่อผู้สอน อ.ยงยุทธ เอี่ยมสอาด
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกให้รู้จักขอบข่ายของวงดนตรีสากล บทบาทและหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ตลอดจนการใช้เทคนิคการบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดในการบรรเลงรวมวงและสามารถควบคุมวงดนตรีได้
โดยกระบวนการสร้างทักษะการปฏิบัติในการถ่ายทอดดนตรี และการถ่ายทอดความรู้สึกทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ดนตรีในชีวิตประจำวัน บรรเลงดนตรีในรูปแบบต่างๆ แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเสียงดนตรี แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ
เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การแก้ปัญหา เกิดทักษะวิเคราะห์ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการผลิตภาพ และความคิดรับผิดชอบ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และรักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ
ผลการเรียนรู้
1. เพื่อเข้าใจหลักการและ กระบวนการทำงานการฝึกซ้อมเป็นวงดนตรี
2. เพื่อสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะและ ประสบการณ์ในการสร้างและพัฒนางานตามขั้นตอนกระบวนการกิจกรรมวงดนตรี
ส่วนที่ 2
ภาพรวมรายวิชา ปฎิบัติรวมวงดนตรี1
1. จุดประสงค์รายวิชา
1.1 ด้านความรู้ : เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในหลักการการฝึกปฏิบัติการบรรเลงเครื่องดนตรีตาม
ประเภทวงดนตรีสากล
1.2 ด้านทักษะและกระบวนการ : เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการบรรเลงเครื่องดนตรีตามเครื่องมือ
เอก
1.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ :
1. วินัย
- ตรงต่อเวลา
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
2. ใฝ่เรียนรู้
- ตั้งใจเรียน
- มีความรับผิดชอบ
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
- มีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
- อดทน ขยันหมั่นเพียร
- รู้จักเสียสละและเห็นใจผู้อื่น
2. ขอบข่ายเนื้อหาสาระ (ระบุหัวข้อ หรือประเด็นสำคัญ)
1. การตั้งเสียงเครื่องดนตรีในวงดนตรี ป๊อบ ออเครสตร้าความสมดุลของระดับเสียงในวง (Sound Balance)
2. ความกลมกลืนของทำนองและเสียงประสาน ในวงดนตรี
3. ความเหมาะสมของบทบาทหน้าที่ในแต่ละเครื่องมือในวงดนตรี
4. ความชำนาญและความพร้อม ในการบรรเลงวงดนตรี
3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ (ระบุกลวิธีและวิธีและเทคนิคการจัดการเรียนรู้)
การบรรยาย การอภิปราย การนำเสนอ การใช้กระบวนการกลุ่ม การระดมสมอง การสาธิต
การทดลอง กระบวนการแก้ปัญหา การปฏิบัติจริง
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การฝึกทักษะ อื่น ๆ (ระบุ)
4. แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
อัตราส่วนคะแนนเก็บ : คะแนนสอบ = 70 : 30
การประเมิน ประเมินผลการเรียนรู้ คะแนน
การวัดประเมินการเรียนรู้ เครื่องมือ
1 จุดประสงค์ระหว่างเรียน แบบฝึกหัด 20
2 สอบกลางภาค แบบฝึกหัด 20
3 จุดประสงค์ก่อนปลายภาค แบบฝึกหัด 20
4 สอบปลายภาค แบบฝึกหัด 30
5 จิตพิสัย แบบสังเกต 10
รวม 100 %
เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน ผลการเรียน
79.5 – 100 4
74.5 – 79.4 3.5
69.5 – 74.4 3
65.5 – 69.4 2.5
59.5 – 64.4 2
54.5 – 59.4 1.5
49.5 – 54.4 1
0 – 49.4 0
5. กระบวนการเรียนการสอน
สัปดาห์ ครั้งที่ เนื้อหา หมายเหตุ
1 1 แนะนำการเรียนการสอน ข้อพึงปฎิบัติ 2 คาบ
2 2 วงดนตรี ป๊อบ ออเครสตร้า องค์ประกอบเครื่องดนตรี 5 กลุ่ม 1.เครื่องสาย 2.เครื่องเป่าลมไม้ 3.เครื่องเป่าลมทองเหลือง 4.กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ 5.เครื่องกีตาร์ เบส คีย์บอร์ดฯลฯ / บทเพลงที่1 2 คาบ
3 3 การตั้งเสียงเครื่องดนตรีในวงดนตรี ป๊อบ ออเครสตร้า
ความสมดุลของระดับเสียงในวง (Sound Balance) /บทเพลงที่ 2
2 คาบ
4 4 ความกลมกลืนของทำนองและเสียงประสาน ในวงดนตรี/ บทเพลงที่3
2 คาบ
5 5 ความเหมาะสมของบทบาทหน้าที่ในแต่ละเครื่องมือในวงดนตรี / บทเพลงที่ 4 2 คาบ
6 6 ความชำนาญและความพร้อม ในการบรรเลงวงดนตรี / บทเพลงที่ 5
2 คาบ
7 7 การแสดงวงดนตรี ป๊อบ ออเครสตร้า ในรูปแบบการสื่อสารต่างๆ หรือการแสดงสด(สอบกลางภาค) 2 คาบ
สอบกลางภาค
8 8 การบรรเลงแนวเพลง Pop/Soft Rock / บทเพลงที่ 6 2 คาบ
9 9 การบรรเลงแนวเพลง Hard Rock/Heavy Metal / บทเพลงที่ 7 2 คาบ
10 10 การบรรเลงแนวเพลง Southern Rock/Country Rock / บทเพลงที่ 8 2 คาบ
11 11 การบรรเลงแนวเพลง Soul/R&B, Disco, Funk-Jazz / บทเพลงที่ 9 2 คาบ
12 12 การแสดงคอนเสิรต์ การรวมวงดนตรี 1 2 คาบ
13 13 อภิปราย วิพากษ์ ข้อเสนอแนะ การแสดงคอนเสิรต์ การรวมวงดนตรี1 2 คาบ
14 14 การบรรเลงแนวเพลง Pop/Soft Rock / บทเพลงที่ 6 2 คาบ
สอบปลายภาคตามตารางสอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น