ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
ส่วนที่ 1
1. รหัสวิชา ศ32267
2. รายชื่อวิชา ทฤษฎีดนตรีสากล4(หลักการประสานเสียง)
3. จำนวนหน่วยกิต 1.0 หน่วยการกิต
4. จำนวนคาบเรียนต่อสัปดาห์ 2
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ สาขาสาธิตและนิเทศการสอนศิลปกรรม
6. ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5
7. ประเภทวิชา วิชาบังคับเลือกวิชาเอก
8. ภาคเรียน/ปีการศึกษา 2/2565
9. ชื่อผู้สอน อ.ยงยุทธ เอี่ยมสอาด
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาลักษณะตัวโน้ตและตัวหยุด เครื่องหมายกำหนดจังหวะ ชื่อโน้ตใหม่ การย้ายทำนองเพลง บันไดเสียงเมเจอร์ บันไดเสียงไมเนอร์ ขั้นคู่เสียง ตรัยแอ็ดส์และการพลิกกลับ ศัพท์และเครื่องหมายเพื่อปฏิบัติ ฝึกทักษะการฟัง(Ear Training)
โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์ และกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจองค์ประกอบดนตรี แสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์เกี่ยวกับคุณค่าดนตรี แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ
เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การแก้ปัญหา เกิดทักษะวิเคราะห์ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการผลิตภาพ และความคิดรับผิดชอบ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และรักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ
ผลการเรียนรู้
1. มีความรู้ด้านทฤษฎีดนตรีและนำไปใช้ในเชิงบูรณาการ
2. ศึกษา การจัดวางแนวเสียง การนำแนวเสียงการดำเนินคอร์ด การวางคอร์ดและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับเสียงประสานทั้งหลาย
ส่วนที่ 2
ภาพรวมรายวิชา ทฤษฎีดนตรีสากล4(หลักการประสานเสียง)
1. จุดประสงค์รายวิชา
1.1 ด้านความรู้ : เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในหลักการทฤษฎีดนตรีสากล การประสานเสียง
1.2 ด้านทักษะและกระบวนการ : เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเขียนแนวเสียงประสาน 4 Part
1.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ :
1. วินัย
- ตรงต่อเวลา
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
2. ใฝ่เรียนรู้
- ตั้งใจเรียน
- มีความรับผิดชอบ
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
- มีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
- อดทน ขยันหมั่นเพียร
- รู้จักเสียสละและเห็นใจผู้อื่น
2. ขอบข่ายเนื้อหาสาระ (ระบุหัวข้อ หรือประเด็นสำคัญ)
1. บันไดเสียงเมเจอร์,ไมเนอร์
2. ขั้นคู่เสียง
3. ตรัยแอ็ดส์
4. การย้ายทำนองเพลง
5. ฝึกทักษะการฟัง
3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ (ระบุกลวิธีและวิธีและเทคนิคการจัดการเรียนรู้)
การบรรยาย การอภิปราย การนำเสนอ การใช้กระบวนการกลุ่ม การระดมสมอง การสาธิต
การทดลอง กระบวนการแก้ปัญหา การปฏิบัติจริง
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การฝึกทักษะ อื่น ๆ (ระบุ)
4. แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
อัตราส่วนคะแนนเก็บ : คะแนนสอบ = 75 : 25
การประเมิน ประเมินผลการเรียนรู้ คะแนน
การวัดประเมินการเรียนรู้ เครื่องมือ
1 จุดประสงค์ระหว่างเรียน แบบฝึกหัด 20
2 สอบกลางภาค แบบฝึกหัด 20
3 จุดประสงค์ก่อนปลายภาค แบบฝึกหัด 20
4 สอบปลายภาค แบบฝึกหัด 30
5 จิตพิสัย แบบสังเกต 10
รวม 100 %
เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน ผลการเรียน
79.5 – 100 4
74.5 – 79.4 3.5
69.5 – 74.4 3
65.5 – 69.4 2.5
59.5 – 64.4 2
54.5 – 59.4 1.5
49.5 – 54.4 1
0 – 49.4 0
5. กระบวนการเรียนการสอน
สัปดาห์ ครั้งที่ เนื้อหา หมายเหตุ
1 1 แนะนำการเรียนการสอน ข้อพึงปฎิบัติ สอบ P.Tests 2 คาบ
2 2 บันไดเสียง ขั้นคู่เสียง ขั้นคู่เสียงผสม คู่เสียงกลมกล่อม กระด้าง คู่พลิกกลับ 2 คาบ
3 3 คอร์ด ตรัยแอด คอร์ดที่ประกอบด้วยโน้ต4 ตัว คอร์พิเศษ 2 คาบ
4 4 การสร้างแนวทำนอง การสร้างทำนองเพลงจากคอร์ด 2 คาบ
5 5 เคเดนส์ เพอร์เฟ็ค อิมเพอเฟ็ค พเลกัล ดีเซพทีฟ และรูปแบบเคเดนส์สำเร็จรูป 2 คาบ
6 6 การดำเนินคอร์ด การเคลื่อนโดยอิทธิพลของคอร์ด V7 การเคลื่อนคอร์ดชุด คอร์ดแทน 2 คาบ
7 7 การย้ายบันไดเสียง การเปลี่ยนคีย์ใหม่โดยตรง การเปลี่ยนคีย์โดยใช้คอร์ดร่วม 2 คาบ
สอบกลางภาค
8 8 การเปลี่ยนคีย์โดยอาศัยคอร์ด ii7 V7 การเปลี่ยนคีย์โดยใช้บันไดเสียงสัมพันธ์ 2 คาบ
9 9 การสร้างท่อนนำIntroduction ท่อนดนตรีบรรเลงinterlude ท่อนจบending 2 คาบ
10 10 การเขียนเสียงประสานแบบ 2 แนว
Two part writing 2 คาบ
11 11 การเขียนเสียงประสานแบบ 4 แนว
เสียงประสานแบบแนวปิด แนวเปิด การเกลาแนวเสียงประสาน 2 คาบ
12 12 การสร้างชิ้นงานเสียงประสาน 4 แนว รายบุคคล 1 (นำเสนอโดยวงดนตรีจริง) 2 คาบ
13 13 การสร้างชิ้นงานเสียงประสาน 4 แนว รายบุคคล 2 (นำเสนอโดยวงดนตรีจริง) 2 คาบ
14 14 การสร้างชิ้นงานเสียงประสาน 4 แนว รายบุคคล 3 (นำเสนอโดยวงดนตรีจริง) 2 คาบ
สอลปลายภาคตามตารางสอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น