วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เพิ่มเติมเลือก ไวโอลิน 05 เทคนิคการเล่นไวโอลิน

 

   เพิ่มเติมเลือก ไวโอลิน 05  เทคนิคการเล่นไวโอลิน



การเตรียมร่างกาย
ในตอนเริ่มต้นฝึกไวโอลินใหม่ๆ นั้น มักจะมีปัญหาเดียวกันคือ ความยืดหยุ่นของร่างกาย ดังนั้น ควรเริ่มต้นฝึกโดยไม่ใช้ไวโอลินก่อน
ส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย 2 ส่วนที่ควรยืดกล้ามเนื้อก่อนเล่นไวโอลินก็คือ คอ และไหล่ ซึ่งเป็นส่วนของร่างกายที่ต้องรับแรงกดจากไวโอลิน

ควรบริหารด้วยการหมุนคอไปรอบๆและเอนคอไปด้านข้าง พยายามทำอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อฉีกขาด

การบริหารข้อมือ
หมุนข้อมือทั้ง 2 ข้างไปรอบๆ ในทิศทางเดียวกัน หลังจากนั้นจึงทำในทิศทางตรงข้าม ทำพร้อมๆ กันทั้ง 2 ข้าง โดยเริ่มต้นทำอย่างช้าๆ ก่อน

ฝึกการหายใจ
- นับ 1 (หายใจเข้า) - นับ 2 (หายใจเข้า) - นับ 3 (หายใจเข้า)
- นับ 4 (กลั้นหายใจ)
- นับ 5 (หายใจออกช้าๆ)
- นับ 6 (หายใจออกช้าๆ)
- นับ 7 (หายใจออกช้าๆ)




    การบริหารนิ้วและข้อมือ



 

Vibrato: การเปลี่ยนระดับเสียงลงอย่างรวดเร็ว
เมื่อเริ่มฝึกใหม่ๆ ให้ฝึกด้วยนิ้วนางก่อนเพราะจะง่ายที่สุด ควรจะฝึกพร้อมๆ กับเครื่อง Metronome ตั้งจังหวะ (Tempo) อย่างช้าๆ ที่ประมาณ 80

โยกนิ้วไปข้างหลังและข้างหน้าอย่างช้าๆ ในตอนแรกอาจจะใช้จังหวะของโน้ตตัวดำหรือโน้ตตัวขาวก่อน สิ่งสำคัญคือการโยกนิ้วให้ตรงจังหวะ ในตอนแรกเสียงอาจจะยังไม่เพราะนัก ค่อยๆ ทำอย่าใจร้อน ถ้าฝึกบ่อยๆ ก็จะทำได้เอง ให้เริ่มจากทำช้าๆ ก่อนและค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้นตามลำดับ


ตั้งจังหวะ (Tempo) ช้าๆ ที่ประมาณ 80


 

ข้อดี 6 ประการของการเล่นไวโอลิน

1.ตั้งเป้าหมาย
การตั้งเป้าหมายจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการเล่นระดับที่สูงได้เร็วกว่าการเล่นโดยไร้จุดหมาย ก่อนอื่นคุณต้องตั้งเป้าหมายที่ต้องการเสียก่อน หลังจากนั้นจึงวางแผนการฝึกเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น เราต้องตัดสินใจว่าจะฝึกหนักแค่ไหนและระดับไหนที่ถือว่าเป็นไปไม่ได้ เช่น การฝึกหนักวันละ 12 ชั่งโมง ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

2. การฝึกอย่างถูกต้อง
ถ้าเราไม่สามารถฝึกไวโอลินวันละ 12 ชัวโมงได้จริง เราควรจะทำอย่างไรดี? เราจึงต้องเรียนรู้เรื่องการฝึกอย่างถูกต้อง โดยใช้เวลาเพียงวันละ 30 นาทีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อคุณมีเป้าหมายในใจเรียบร้อยแล้วพร้อมๆ กับแผนงานที่เตรียมไว้ ขั้นต่อไปเป็นการก้าวไปทีละขั้นเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่คุณวางไว้ การฝึกอย่างถูกต้อง เพียงวันละ 30 นาทีจะได้ประโยชน์มากกว่าการฝึกวันละ 2 ชั่วโมงโดยปราศจากเป้าหมายที่ชัดเจน และเมื่อคุณฝึกอย่างถูกต้องตามวิธี จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณติดนิสัยการเล่นที่ไม่ดีทั้งหลายซึ่งเกิดจากการฝึกฝนที่ไร้ระเบียบ

3. สมาธิและความตั้งใจ
การเรียนไวโอลินนั้นคือการฝึกฝนที่ต้องอาศัยทั้งความตั้งใจและสมาธิเพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้ เพราะคุณต้องคอยแก้ปัญหาแล้วปัญหาเล่าที่เกิดขึ้นไม่จบสิ้น การเล่นที่ถูกต้องของมือทั้ง 2 ข้างพร้อมๆ กับเตรียมตัวเล่นในสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป ทักษะซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กับความมีสติเป็นสิ่งที่มีคุณค่าซึ่งประเมิณค่าไม่ได้เลย ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาอื่นๆ ในชีวิตได้เป็นอย่างดี

4. การทำงานเป็นทีม
ในหลายๆ อาชีพต้องการการทำงานที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สำหรับการเล่นดนตรีนั้น เมื่อเราเข้าเล่นในวงดนตรี เช่น ในวงอร์เคสตร้าหรือวงแชมเบอร์ เรามีโอกาสที่จะพัฒนาทักษะการเข้าสังคมควบคู่กันไปด้วย แต่ถ้าคุณยังเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา คุณมีโอกาสดีที่จะเข้าค่ายดนตรีหรือเข้าร่วมประชุมเชิงการปฏิบัติการในสาขาดนตรี นับเป็นโอกาสอันดีที่ไม่อาจประเมิณค่าได้เลย คุณควรจะหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

5. การเเสดงออกทางอารมณ์
ดนตรีคือเครื่องมือที่ใช้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งถือเป็นรากฐานของทุกๆ วัฒนธรรมและศาสนาในโลกมาตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ดนตรีคือวิธีการที่ทรงพลังซึ่งเราสามารถใช้สื่อสารกับผู้อื่นได้ และเป็นวิถีทางในการแสดงออกถึงพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

6. เรียนรู้การเเก้ปัญหา
ว่ากันว่าไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่เรียนยากและเล่นยากที่สุดชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่าปริมาณสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวมีมากพอๆ กับสมองที่ควบคุมระบบประสาทการทำงานของร่างกาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการไวโอลินคือหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษย์ เราจะได้ประโยชน์จากประสบการณ์ทุกๆ สิ่งที่เราตั้งใจจะทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น