เพิ่มเติมเลือก ไวโอลิน ตำแหน่งมือซ้าย และการเปลี่ยนโพสิชั่น
ตำแหน่งของมือซ้ายและการเปลี่ยนโพสิชั่น
เทคนิคการเปลี่ยนโพสิชั่นอาจทำให้นักไวโอลินรู้สึกหวั่นๆ
หรือสับสนได้ โดยเฉพาะนักไวโอลินมือใหม่
ในโพสิชั่น 1 ซึ่งกดนิ้วชี้บนโน้ตตัวแรกที่เสียงสูงกว่าสายเปล่า
ถือเป็นโพสิชั่นปกติทั่วๆ ไป แต่สิ่งที่อาจจะทำให้คุณสับสนได้ก็คือ กุญแจเสียง (Key
signature) นิ้วชี้ของคุณที่กดบนสายในโพสิชั่นเดิมอาจจะสูงกว่าหรือต่ำกว่าก็ได้
ตัวอย่างเช่น ตัวโน้ตที่อยู่ถัดจากสายเปล่าสาย D อาจจะเป็น
Eb หรือ E natural ก็ได้ ซึ่งถือว่าเป็นโพสิชั่น
1 ทั้งคุ่
เมื่อคุณเล่นโพสิชั่น 2 นิ้วชี้ของคุณจะอยู่บนโน้ตตัวที่
2 ซึ่งถ้าเป็นโพสิชั่นที่ 1 คุณต้องกดโน้ตตัวนี้ด้วยนิ้วกลาง
บนสาย D โน้ตตัวนี้เป็นได้ทั้ง F natural หรือ F# อธิบายง่ายๆ ก็คือ
นิ้วชี้ของคุณจะวางอยู่บนโน้ตตัวที่ 2 เหนือสายเปล่าในกุญแจเสียงนั้นๆ
ถ้าจะอธิบายในแง่ของเทคนิคเเล้ว เมื่อคุณกดนิ้วชี้ลงบนโน้ตตัว Gb
ซึ่งเป็นโน้ตเสียงเดียว (Enharmonic) กับ F#
ถือเป็นโพสิชั่น 3 ‘ต่ำ’ ในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณเล่นโน้ต G# ด้วยนิ้วชี้ นั่นหมายถึงคุณกำลังเล่นในโพสิชั่น
3 แต่ถ้าคุณเล่นโน้ต Ab ซึ่งเป็นโน้ตเสียงเดียว
(Enharmonic) กับ G# นั่นหมายถึงคุณกำลังเล่นในโพสิชั่น
4 ยังมีเรื่องกุญแจเสียงให้คุณต้องศึกษาอีกมาก รวมถึง ‘ชื่อ’ ของโน้ตแต่ละตัว
เคล็ดลับในการหาโพสิชั่นต่างๆ
วิธีง่ายๆ ในการจดจำโพสิชั่นต่างๆ
โดยไม่ต้องกังวลใจเรื่องกุญแจเสียง และไม่ต้องนับว่าจากสายเปล่าจนถึงนิ้วชี้ว่ามีการเปลี่ยนตัวอักษรทั้งหมดกี่ตัว
ตัวอย่างเช่น สาย D โน้ต D-E เป็นการเปลี่ยนตัวอักษร
1 ตัวในโพสิชั่น 1 (ไม่นับ #,
natural หรือ b ของโน้ตนั้นๆ) D-E และ E-F เป็นการเปลี่ยน 2 ตัวอักษรและเป็นโพสิชั่นที่
2 และถ้านิ้วชี้ของคุณกดบนโน้ตตัว B บนสาย
D และให้นับ D-E, E-F, F-G, G-A, A-B นั่นหมายถึงคุณกำลังเล่นในโพสิชั่น 5
Half-Position
คือชื่อของโพสิชั่นที่อยู่ใกล้กับสายเปล่ามากที่สุด ไม่มีการเปลี่ยนตัวอักษรระหว่างสายเปล่าและนิ้วชี้
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังเล่นคีย์ E major (ซึ่งประกอบด้วย
F#, C#, G#, D#) บนสาย D และต้องการเล่นโน้ต
D# ด้วยนิ้วชี้ เล่นโน้ตตัว E ด้วยนิ้วกลาง
เล่นโน้ตตัว F# ด้วยนิ้วนาง และ G# ด้วยนิ้วก้อย
จากสายเปล่าไปจนถึงโน้ตที่เล่นด้วยนิ้วชี้นั้นไม่มีการเปลี่ยนตัวอักษร ซึ่งไม่สามารถเรียกชื่อเป็นโพสิชั่น
0 ได้ แต่เรียกว่า “Half Position”
|
|
|
การเปลี่ยนโพสิชั่น 6 แบบ
1. การเปลี่ยนนิ้วไปเล่นในโพสิชั่นที่สูงขึ้นโดยใช้นิ้วเดิม
2. การเปลี่ยนนิ้วไปเล่นในโพสิชั่นที่ต่ำกว่าโดยใช้นิ้วเดิม
3. การเปลี่ยนจากนิ้วที่ต่ำกว่าไปเล่นด้วยนิ้วที่สูงกว่า เช่น เปลี่ยนจากนิ้วชี้ไปเล่นด้วยนิ้วกลางในโพสิชั่นที่สูงขึ้น
4. การเปลี่ยนจากนิ้วที่สูงกว่าไปเล่นด้วยนิ้วที่ต่ำกว่า เช่น เปลี่ยนจากนิ้วนางไปเล่นด้วยนิ้วกลางในโพสิชั่นที่ต่ำกว่า
5. การเปลี่ยนนิ้วไปเล่นในโพสิชั่นที่ต่ำกว่าโดยเปลี่ยนจากนิ้วที่ต่ำกว่าไปเล่นด้วยนิ้วที่สูงกว่า
6. การเปลี่ยนนิ้วไปเล่นในโพสิชั่นที่สูงขึ้นโดยเปลี่ยนจากนิ้วที่สูงกว่าไปเล่นด้วยนิ้วที่ต่ำกว่า
การเปลี่ยนนิ้วในแบบที่ 1 และ 2 นั้นค่อนข้างเป็นธรรมชาติมากกว่า ส่วนการเปลี่ยนนิ้วในแบบที่ 3 และ 4 พัฒนามาจาก 2 แบบแรก
ซึ่งการฝึกจะเเบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ประกอบด้วย
- ขั้นแรก แบบที่ 1 (สำหรับแบบที่ 3)
หรือแบบที่ 2 (สำหรับแบบที่ 4) เปลี่ยนโพสิชั่นโดยใช้นิ้วที่กดโน้ตตัวเดิมเลื่อนไปกดโน้ตที่ต้องการ และ
- ขั้นที่สอง การกดด้วยนิ้วที่สูงกว่า (สำหรับแแบบที่ 3) หรือการยกปล่อยนิ้วที่สูงกว่า (สำหรับแบบที่ 4) ไปหาเสียงของโน้ตที่ต้องการในทันทีที่นิ้วอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
ในแบบที่ 5 และ 6 นั้น
ค่อนข้างยากสำหรับนักไวโอลินทั่วๆ ไปหรือแม้แต่มืออาชีพก็ตามที่จะทำให้ได้ดี
ทั้ง 2 แบบต้องใช้มือข้างซ้ายและการร่นระยะห่างของนิ้วก่อนที่จะเปลี่ยนโพสิชั่นเพื่อให้ระยะทางระหว่างโพสิชั่นสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ในกรณีของ แบบที่ 5 และ เเบบที่ 6 ซึ่งอาศัยความต่อเนื่องของนิ้วต่างๆ
เช่น การเปลี่ยนจากนิ้วกลางไปยังนิ้วชี้เพื่อขึ้นไปเล่นในโพสิชั่นที่สูงกว่า ก่อนเปลี่ยนโพสิชั่นให้เลื่อนนิ้วไปใกล้ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
และเลื่อนนิ้วผ่านนิ้วที่เหลือ อาจจะใช้เเขนเลื่อนนำไปก่อนเพื่อให้การเลื่อนนิ้วง่ายขึ้น
|
|
|
การเปลี่ยนโพสิชั่นของไวโอลิน
โดยทั่วไปแล้ว การเปลี่ยนโพสิชั่นควรทำอย่างรวดเร็วและนุ่มนวลที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
โดยใช้การเคลื่อนไหวของเเขนตั้งแต่ข้อศอก ส่วนในโพสิชั่นสูงๆ ของสาย G ถ้าจำเป็นก็ให้ใช้ไหล่และข้อมือด้วย น้ำหนักของนิ้วที่กดลงบนสายในจังหวะที่เปลี่ยนโพสิชั่นควรจะนุ่มนวลไม่ติดขัดและเล่นข้ามสายได้อย่างนุ่มนวล
คล้ายๆ กับการขึ้นเลงของเฮลิคอปเตอร์
คุณไม่ต้องกังวลมากนักเรื่องเสียงครูดของโน้ตหรือเสียงแปลกๆ ระหว่างเปลี่ยนโพสิชั่น
ซึ่งจะเกิดขึ้นในระหว่างที่คุณฝึกเปลี่ยนโพสิชั่น โดยเฉพาะการเปลี่ยนในแบบที่ 3
และ 4 แต่เสียงแปลกๆ เหล่านี้จะหายไปเมื่อคุณฝึกได้คล่องเเคล่วดีเเล้ว
หรืออย่างน้อยก็ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถจับเสียงนั้นได้ และคุณอาจจะสังเกตว่าผู้ฟังชอบเสียงสไลด์เล็กน้อยระหว่างโน้ต
2 ตัวด้วยเสียงที่ถูกต้องมากกว่าการเปลี่ยนโพสิชั่นโดยไม่มีเสียงสไลด์เลยแต่เปลี่ยนแล้วเสียงเพี้ยน
ถ้าคุณต้องเปลี่ยนโพสิชั่นในท่อนที่เร็วๆ และมีโน้ตที่มีอัตราความยาวของโน้ตต่างกัน
เช่น โน้ตประจุด ให้เลือกเปลี่ยนโพสิชั่นที่โน้ตตัวที่มีอัตราจังหวะสั้นกว่า วิธีนี้จะทำให้คุณมีเวลาเพียงพอที่จะเปลี่ยนโพสิชั่นโดยการลดความยาวของโน้ตตัวที่มีอัตราจังหวะยาวกว่าโดยไม่เปลี่ยนแปลงจังหวะของเพลง
ถ้าคุณกำลังเล่นโพสิชั่น 3 หรือสูงกว่า ให้อุ้งมือซ้ายของคุณสัมผัสกับด้านข้าง
(Rib) ไวโอลิน เพื่อให้เป็นเสมือนหลักยึดของมือซ้าย และช่วยทำให้คุณจดจำความรู้สึกของตำแหน่งโพสิชั่นสูงๆ
ได้ดีกว่า พยายามวางตำแหน่งของมือซ้ายในขณะที่เปลี่ยนขึ้นไปเล่นในโพสิชั่น 3
ในจังหวะเดียวกับที่อุ้งมือซ้ายสัมผัสกับด้านข้างไวโอลิน ซึ่งจะทำให้คุณอยู่ในตำเเหน่งของโพสิชั่น
3 อย่างถูกต้อง เช่น การเล่นโน้ตตัว G ด้วยนิ้วชี้บนสาย D
|
|
|
การแก้ปัญหาของมือซ้ายในการเล่นเทคนิคที่ยากๆ
ถ้าเราต้องเจอกับบทเพลงที่มีช่วงที่ยากๆ มีปัจจัย 2 ประการที่ปิดกั้นเราจนไม่สามารถเล่นเทคนิคที่ยากๆ นั้นได้ ประการเเรกก็คือจิตใจของเราที่บอกตัวเองว่า
“ฉันยังไม่อยากเล่นตรงนี้ ข้ามไปก่อนก็แล้วกัน” ซึ่งทำให้เราเกิดความกังวลและเกิดความวิตก ปัจจัยประการที่สองก็คือ
ปัจจัยทางกายภาพของตัวเราเอง เช่น ความคิดที่ว่านิ้วของเราจะเล่นข้ามสายให้เป็นธรรมชาติได้อย่างไร?
ถ้าเราลองพิจารณาปัจจัยทั้ง 2 ประการนี้
จะเห็นได้ชัดว่าในหลายๆ ครั้งนั้นเทคนิคการเล่นของเราถือว่าถือว่าใช้ได้ เป็นเรื่องปกติที่ความสามารถในการทำความเข้าใจเทคนิคการเล่นของเรายังไม่ลึกซึ้งและยังไม่รวดเร็วเพียงพอที่จะให้ทันกับความคิดที่เร็วกว่าการเล่นของมืออยู่ก้าวหนึ่ง
ฝึกซ้อมเเละเล่นให้ถูกต้องทุกๆ ครั้ง
วิธีหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้คือ พยายามเล่นเเต่ละช่วงของบทเพลงให้ถูกต้องทุกๆ
ครั้ง เหตุผลในการเเก้ปัญหานี้ก็คือ จะได้ไม่มีการเล่นที่ผิดพลาดให้เราต้องจดจำ
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อเล่นไปถึงช่วงที่เป็นปัญหาสำหรับเรา คุณจะได้รู้สึกผ่อนคลายและเทคนิคการเล่นของคุณ
(ที่เกิดจากการฝึกซ้อม) จะทำให้คุณผ่านมันไปได้ด้วยดี ทุกๆ
ครั้งที่คุณเล่นไวโอลินไม่ว่าจะเป็นเพลงใดก็ตาม สมองของคุณได้สร้างการจดจำซึ่งสามารถดึงออกมาใช้ได้อย่างไม่จำกัดในทุกๆ
ครั้งที่คุณฝึกซ้อมหรือเล่นพลงนี้ในวันข้างหน้า ไม่เพียงแค่นั้น เทคนิคที่คุณได้เรียนรู้จากการฝึกซ้อมเพลงนั้นๆ
ยังสามารถถ่ายทอดไปยังเพลงอื่นๆ ที่มีเทคนิคคล้ายคลึงกันได้อีกด้วย
นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า การเรียนรู้เทคนิคที่เหมาะสมตั้งแต่ช่วงแรกๆ
นั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งน่าจะดีกว่าบทเพลงหรือเทคนิคที่เรายังไม่เคยเรียนรู้มาก่อน
นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ครูสอนไวโอลินบางคนจะเริ่มสอนนักเรียนตั้งแต่ “พื้นฐาน” แล้วคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ครูผู้สอนไม่ได้สอนไปตามอำเภอใจหรือเป็นสิ่งที่ครูสอนแบบนี้กับนักเรียนทุกคน
นี่อาจเป็นเหตุผลที่ไม่มีข้อสรุป แต่สำหรับคนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้กับครูที่เก่งๆ
ย่อมจะทราบดี แม้ว่าบางครั้งจะรู้สึกท้อแท้และน่าเบื่อบ้าง แต่คุณก็ต้องฝึกฝนต่อไปเพื่อก้าวไปสู่การเป็นนักไวโอลินที่ดี
คุณจะจดจำความผิดพลาดในช่วงที่เล่นผิดพลาดได้ดี เช่น ถ้าคุณเล่นผิดในห้องที่
34 เมื่อคุณเล่นมาถึงห้องนี้ก็จะจดจำได้ทุกครั้ง ซึ่งมันไม่ได้อยู่แค่ในจิตสำนึกของคุณ
แต่มันอยู่ใต้จิตใต้สำนึกของคุณเลยทีเดียว และเมื่อคุณต้องเล่นซ้ำที่เดิมอีก 100
ครั้งและทำผิดพลาดแบบเดิมถึง 50 ครั้งหรือกว่านั้น
นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการฝึกฝนซ้ำๆ จึงเป็นวิธีเดียวที่ใช้แก้ไขข้อผิดพลาดได้
เมื่อคุณมีเทคนิคที่เหมาะสมอยู่แล้ว เราจะเล่นเทคนิคที่ยากมากๆ ให้สมบูรณ์ได้อย่างไร?
คำถามนี้มีคำตอบอยู่ 2 ข้อคือ ความรอบคอบและความถูกต้องแม่นยำ
โปรดจำไว้ว่าไม่ได้หมายถึง “เล่นให้ช้า” แต่อย่างใด แต่หมายถึงการเล่นอย่างพินิจพิเคราะห์ ความแตกต่างก็คือคุณยังคงเล่นอย่างถูกต้องในจังหวะที่รวดเร็ว
แน่นอนว่าคุณไม่สามารถเล่นช้าลงในจังหวะที่เร็วได้ การเล่นจังหวะที่เร็วให้ช้าลงจะทำเฉพาะในการฝึกเท่านั้นเพื่อฝึกความถูกต้องและความแม่นยำ
นั่นหมายถึงว่า ถ้าคุณเล่นอยางช้าๆ ให้ใช้ช่วงเวลานั้นพิจารณาไตร่ตรองข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับเทคนิคที่คุณต้องการ
เช่น ควรจะเปลี่ยนโพสิชั่นตรงนี้ มีโน้ตตัวจรตรงนี้ ให้เปลี่ยนสายตรงนี้ เป็นต้น
หลังจากนั้นจะทำให้คุณเล่นได้ตามจังหวะที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงโดยไม่ขาดช่วง
การเล่นช่วงที่ยากๆ โดยไม่ขาดตอนด้วยจังหวะและพลังที่เหมาะสม ซึ่งความแม่นยำในการเล่นจะตามมาภายหลัง
ในช่วงแรกๆ อาจจะยังเป็นสิ่งที่ยาก แต่ทักษะสามารถพัฒนาขึ้นได้ตามการฝึกฝนที่มากขึ้น
เเละถือเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณต้องไปเล่นในวงออร์เคสตร้า ในวง Royal
Conservatory of Music ต้องการนักดนตรีที่ผ่านการทดสอบ sight-read
ระดับ 2-3 RCM Grade ทีเดียว
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น