วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

คำอธิบายรายวิชา สาขาสาธิตและนิเทศการสอนศิลปกรรม

 

คำอธิบายรายวิชา  สาขาสาธิตและนิเทศการสอนศิลปกรรม

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

1.      ศ.21202 พตล.ไวโอลิน ม.1

2.      ศ.22202 พตล.ไวโอลิน ม.2

3.      ศ.31102 ศิลปะพื้นฐาน8(ดนตรีสากล) ม.4

4.      ศ.32224 ปฏิบัติรวมวง 1 ม.5 วิชาเอกดุริยางค์ศิลป์

5.      ศ.32267 ทฤษฎีดนตรีสากล4(หลักการประสานเสียง) ม.5 วิชาเอกดุริยางคศิลป์

6.      ศ.33223 ดนตรีเพื่อการภาพยนตร์ ม.6 วิชาเอกดุริยางคศิลป์

7.      ศ.33252 ปฏิบัติเครื่องมือเอก 6 ม.6 วิชาเอกดุริยางคศิลป์

 


1.     ศ.21202 พตล.ดนตรี(ไวโอลิน) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

21202            ทักษะดนตรีสากล 1     2 คาบ/สัปดาห์/ภาคเรียน        1.0 หน่วยการเรียน

คำอธิบายสาระการเรียนรู้

          ศึกษาทฤษฎีการดนตรี โน้ตสากล ศัพท์สังคีต ฝึกโสตประสาท  ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลอย่างน้อย 1 ชิ้นตามความถนัด  โดยฝึกบรรเลงเดี่ยวและกลุ่ม  และจัดการแสดงเป็นครั้งคราว  การดูแลรักษาเครื่องดนตรี  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและบรรเลงดนตรีสากลที่ถนัด

โดยกระบวนการสร้างทักษะการปฏิบัติในการถ่ายทอดดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึกทางดนตรีอย่าง    อิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ร้องเพลง และเล่นดนตรีในรูปแบบต่างๆ แสดงความคิดเห็น       เกี่ยวกับเสียงดนตรี  แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ

เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี  มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์  อันได้แก่ รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์  มีวินัย ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน                รักความเป็นไทย  ซื่อสัตย์สุจริต  อยู่อย่างพอเพียง  มีจิตสาธารณะ  มีความเป็นผู้นำและชำนาญเทคโนโลยี

 

หน่วยการเรียนรู้  การปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล 1

หน่วยการเรียนรู้ที 1     ทฤษฎีเพื่อประกอบการบรรเลงเครื่องดนตรีสากล 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2     เทคนิคปฏิบัติเพื่อการบรรเลงเครื่องดนตรีสากลและบันไดเสียง 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3     ปฏิบัติบทเพลงเดี่ยว บทเพลงกลุ่มและการแสดงดนตรี 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4     การดูแลรักษาเครื่องดนตรีและวัฒนธรรมดนตรี 1

 

2.     ศ.22202 พตล.ดนตรี(ไวโอลิน) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

22202   ทักษะดนตรีสากล 3         2 คาบ/สัปดาห์/ภาคเรียน                          1.0 หน่วยการเรียน

คำอธิบายสาระการเรียนรู้

          ศึกษาทฤษฎีการดนตรี โน้ตสากล ศัพท์สังคีต ฝึกโสตประสาท  ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลอย่างน้อย 1 ชิ้นตามความถนัด  โดยฝึกบรรเลงเดี่ยวและกลุ่ม  และจัดการแสดงเป็นครั้งคราว  การดูแลรักษาเครื่องดนตรี  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและบรรเลงดนตรีสากลที่ถนัด

โดยกระบวนการสร้างทักษะการปฏิบัติในการถ่ายทอดดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึกทางดนตรีอย่าง    อิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ร้องเพลง และเล่นดนตรีในรูปแบบต่างๆ แสดงความคิดเห็น       เกี่ยวกับเสียงดนตรี  แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ

เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี  มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์  อันได้แก่ รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์  มีวินัย ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน                รักความเป็นไทย  ซื่อสัตย์สุจริต  อยู่อย่างพอเพียง  มีจิตสาธารณะ  มีความเป็นผู้นำและชำนาญเทคโนโลยี

 

หน่วยการเรียนรู้  การปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล 3

หน่วยการเรียนรู้ที 1     ทฤษฎีเพื่อประกอบการบรรเลงเครื่องดนตรีสากล 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2     เทคนิคปฏิบัติเพื่อการบรรเลงเครื่องดนตรีสากลและบันไดเสียง 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3     ปฏิบัติบทเพลงเดี่ยว บทเพลงกลุ่มและการแสดงดนตรี 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4     การดูแลรักษาเครื่องดนตรีและวัฒนธรรมดนตรี 3

 

 

3.     ศ.31102 ศิลปะพื้นฐาน8(ดนตรีสากล)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

31102  ศิลปะ 8             2 คาบ/สัปดาห์/ภาคเรียน               1 หน่วยการเรียน

คำอธิบายรายวิชา

              ศึกษาเปรียบเทียบวิเคราะห์ประเภทและรูปแบบของวงดนตรีสากลในแต่ละยุคสมัยประวัติดนตรีตะวันตก คีตกวี และบทเพลง ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม เทคนิค และการถ่ายทอดอารมณ์เพลงด้วยการร้องบรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยวและรวมวงเกณฑ์ในการประเมินผลงานดนตรี คุณภาพและ คุณค่าของผลงานทางดนตรี การถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของงานดนตรีจากแต่ละวัฒนธรรม ดนตรีกับการผ่อนคลาย  ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์  ดนตรีกับการประชาสัมพันธ์ดนตรีกับการบำบัดรักษา  ดนตรีกับธุรกิจ ดนตรีกับการศึกษา

โดยกระบวนการวิเคราะห์ และกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ในการถ่ายทอดความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรีและ แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีวัฒนธรรม  และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ 

เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา  การใช้ทักษะชีวิต  รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี  มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข     มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  และรักความเป็นไทย 

 

หน่วยการเรียนรู้

หน่วยจัดการเรียนรู้ที่ 1 ดนตรีสากลในแต่ละยุคสมัยและประวัติคีตกวีตะวันตกและบทเพลง        

หน่วยจัดการเรียนรู้ที่2 ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม

หน่วยจัดการเรียนรู้ที่3 ดนตรีกับการนำไปประยุกต์ใช้ในงานอื่นๆ                         

หน่วยจัดการเรียนรู้ที่4 ร้องเพลงและการปฏิบัติเครื่องดนตรี เกณฑ์การประเมินคุณภาพของบท

                                          เพลง

                                                                             

 

4.     ศ.32224 ปฏิบัติรวมวงดนตรี1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ศ32224  ปฏิบัติรวมวงดนตรี1         2 คาบ/สัปดาห์/ภาคเรียน                  1.0 หน่วยการเรียน

คำอธิบายสาระการเรียนรู้

          ฝึกให้รู้จักขอบข่ายของวงดนตรีสากล บทบาทและหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ตลอดจนการใช้เทคนิคการบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดในการบรรเลงรวมวงและสามารถควบคุมวงดนตรีได้

โดยกระบวนการสร้างทักษะการปฏิบัติในการถ่ายทอดดนตรี  และการถ่ายทอดความรู้สึกทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ดนตรีในชีวิตประจำวัน บรรเลงดนตรีในรูปแบบต่างๆ  แสดงความคิดเห็น  เกี่ยวกับเสียงดนตรี  แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ

เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา  การใช้ทักษะชีวิต  รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี  มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

 

 

หน่วยการเรียนรู้

          หน่วยจัดการเรียนรู้ที่ 1    การตั้งเสียงเครื่องดนตรีในวงดนตรี ป๊อบ ออเครสตร้า

ความสมดุลของระดับเสียงในวง (Sound Balance)       

หน่วยจัดการเรียนรู้ที่2  ความกลมกลืนของทำนองและเสียงประสาน ในวงดนตรี

หน่วยจัดการเรียนรู้ที่3   ความเหมาะสมของบทบาทหน้าที่ในแต่ละเครื่องมือในวงดนตรี                       

หน่วยจัดการเรียนรู้ที่4 ความชำนาญและความพร้อม ในการบรรเลงวงดนตรี

 

5.     ศ.32267 ทฤษฎีดนตรีสากล4(หลักการประสานเสียง) ม.5 วิชาเอกดุริยางคศิลป์

ศ32267 ทฤษฎีดนตรีสากล4(หลักการประสานเสียง) 2 คาบ/สัปดาห์/ภาคเรียน  1.0 หน่วยการเรียน

คำอธิบายสาระการเรียนรู้

          ศึกษาลักษณะตัวโน้ตและตัวหยุด  เครื่องหมายกำหนดจังหวะ  ชื่อโน้ตใหม่  การย้ายทำนองเพลง  บันไดเสียงเมเจอร์  บันไดเสียงไมเนอร์  ขั้นคู่เสียง  ตรัยแอ็ดส์และการพลิกกลับ  ศัพท์และเครื่องหมายเพื่อปฏิบัติ ฝึกทักษะการฟัง(Ear Training)

โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์ และกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจองค์ประกอบดนตรี แสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์เกี่ยวกับคุณค่าดนตรี           แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี  แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ

เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา  การใช้ทักษะชีวิต  รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี  มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 

 

หน่วยการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1      บันไดเสียงไมเนอร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2      ขั้นคู่เสียง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3      ตรัยแอ็ดส์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4      การย้ายทำนองเพลง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5      ฝึกทักษะการฟัง

 

 

 

 

6.      ศ.33223 ดนตรีเพื่อการภาพยนตร์ ม.6 วิชาเอกดุริยางคศิลป์

33223   ดนตรีเพื่อภาพยนตร์   2 คาบ/สัปดาห์/ภาคเรียน         1.0 หน่วยการเรียน

คำอธิบายสาระการเรียนรู้

          ศึกษาบทเพลงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์และการละคร วิเคราะห์รูปแบบของบทเพลง การนำบทเพลงมาใช้ การตัดต่อบทเพลงเพื่อประกอบการแสดง

โดยกระบวนการสร้างทักษะการปฏิบัติในการถ่ายทอดดนตรี  และการถ่ายทอดความรู้สึกทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ดนตรีในชีวิตประจำวัน แสดงดนตรีในรูปแบบต่างๆ  แสดงความคิดเห็น  เกี่ยวกับเสียงดนตรี  แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ

เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา  การใช้ทักษะชีวิต  รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี  มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

หน่วยการเรียนรู้

หน่วยจัดการเรียนรู้ที่ 1  ความหมายดนตรีเพื่อการภาพยนต์  ประเภทงานดนตรี

          หน่วยจัดการเรียนรู้ที่ 2   การนำเสนอบทเพลง เนื้อเรื่อง/ภาพสื่อ/ความหมาย ดนตรีเพื่อการภาพยนต์

          หน่วยจัดการเรียนรู้ที่3  การทำภาพประกอบเพลงเพื่อสื่อความตรงกับ

ความหมายของภาพ/บทเพลง/การตีความ/เดโม เพลงรุ่น

หน่วยจัดการเรียนรู้ที่4     หนังสั้นดนตรี  แนวคิดการทำงาน  นำเสนอเนื้อเรื่อง นำเสนอสตอรี่บอร์ค                     

 

 

7.      ศ.33252 ปฏิบัติเครื่องมือเอก 6 ม.6 วิชาเอกดุริยางคศิลป์

ศ.33252  ปฏิบัติเครื่องมือเอก6            2 คาบ/สัปดาห์/ภาคเรียน                    1.0 หน่วยการเรียน

คำอธิบายสาระการเรียนรู้

          ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัดอย่างน้อย 1 ชิ้น โดยบรรเลงเดี่ยวและกลุ่ม จัดการแสดง เป็นครั้งคราว  การดูแลรักษาเครื่องดนตรี

โดยกระบวนการสร้างทักษะการปฏิบัติในการถ่ายทอดดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ร้องเพลง และเล่นดนตรีในรูปแบบต่างๆ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี  แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ

เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี  มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์  อันได้แก่ รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์  มีวินัย ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน                รักความเป็นไทย  ซื่อสัตย์สุจริต  อยู่อย่างพอเพียง  มีจิตสาธารณะ  มีความเป็นผู้นำและชำนาญเทคโนโลยี

 

หน่วยการเรียนรู้

     หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  ฝึกไล่ Scale ที่มี 2 ช้าปและ 2 แฟลต ในบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์

     หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  ฝึกทักษะการฟังเพื่อการปฏิบัติ

     หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  ฝึกปฏิบัติเพลงเดี่ยวตามที่กำหนด ที่ไม่เกิน 2 ช้าป 2 แฟลต

     หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  ฝึกปฏิบัติรวมวง

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เพิ่มเติมเลือก ไวโอลิน 06 เทคนิคการผลิตเสียงแบบต่างๆ (Bowing

 เพิ่มเติมเลือก ไวโอลิน 06 เทคนิคการผลิตเสียงแบบต่างๆ (Bowing )

 


    Detache Bowing
Detache เป็นคำในภาษาฝรั่งเศส เป็นเทคนิคการเล่นพื้นฐาน ซึ่งการลากคันชักแต่ละครั้งจะเล่นแยกโน้ตกัน การสร้างโทนเสียงของแต่ละโน้ตไม่ควรจะต่อเนื่อง กัน แต่ในบางครั้งอาจจะแยกโน้ตแต่ละตัวออกจากกันเล็กน้อย หรือเน้นเสียงของโน้ต (Accent) แต่ละตัว โดยปกติแล้วเทคนิค Detache จะเเสดงด้วยเส้นที่อยู่ด้านบนหรือข้างล่างโน้ตแต่ละตัว

Martele Bowing
เทคนิค Martele (หมายถึงค้อนในภาษาฝรั่งเศส หรือ Martelato ในภาษาอิตาลี) จะแสดงด้วยหัวลูกศรหรือจุด (ขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์จะกำหนด) อยู่ด้านบนหรือด้านล่างของตัวโน้ตนั้นๆ เทคนิคการสร้างเสียงที่มีพลังและไม่ต่อเนื่องนี้ สามารถทำได้โดย เพิ่มน้ำหนักกดที่คันชักด้วยมือขวาและนิ้วชี้ หลังจากนั้นจึงผ่อนน้ำหนักทันทีและลากคันชักผ่านสายต่อไป หยุดคันชักอย่างรวดเร็วและกดน้ำหนักอีกครั้ง โดยให้คันชักอยู่บนสายตลอด เทคนิคการฝึกแบบนี้สามารถใช้ได้กับทุกส่วนของคันชัก (โคน, กลาง, ปลายคันชัก)



 


    Legato Bowing
Legato เป็นคำในภาษาอิตาลี หมายถึงการใช้คันชักแบบต่อเนื่อง ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ การสีคันชักขึ้น (Up-bow) และการสีคันชักลง (Down-bow) ซึ่ง Frog จะลากออกห่างจากสาย ในขณะที่การสีคันชักขึ้น Frog จะเลื่อนเข้าหาสาย การเปลี่ยนคันชัก (จากทิศทางของการลากคันชักอันหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง) ควรจะทำแบบต่อเนื่องไม่ให้เกิดช่องว่างหรือขาดช่วง โดยปกติแล้วการสีคันชักลงจะให้น้ำเสียงที่หนักแน่นกว่าการสีคันชักขึ้น พยายามรักษาความสมดุลของการใช้คันชักเพื่อไม่ให้ได้ยินความแตกต่างของการเปลี่ยนคันชัก Legato (ตรงข้ามกับ Staccato) ซึ่งหมายถึงความต่อเนื่องของการใช้คันชัก นอกจากนั้นยังหมายถึงการเล่นโน้ตมากกว่า 1 ตัวด้วยการสีคันชักเพียงครั้งเดียวด้วยเครื่องหมายโยงเสียง (Slur)



 


    Sautille Bowing & Spiccato Bowing
Sautille ( Bounced ในภาษาฝรั่งเศส หรือ Saltando ในภาษาอิตาลี) เป็นเทคนิคการใช้คันชักแบบกระเด้งไปมาบนสาย แทนค่าด้วยสัญลักษณ์จุด เล่นในจังหวะที่เร็วโดยใช้บริเวณกลางคันชัก ซึ่งคันชักจะอยู่ค่อนข้างใกล้กับสาย เเม้ว่าในแต่ละคันชักจะกระเด้งออกจากสายเล็กน้อย เทคนิคนี้จะใช้ในโน้ตที่เร็วๆ ซึ่งโน้ตแต่ละตัวแยกจากกัน ส่วนเทคนิค Spiccato ( Detached ในภาษาอิตาลี) เป็นเทคนิคการใช้คันชักแบบเดียวกัน ใช้เครื่องหมายแบบเดียวกัน แม้ว่าโดยปกติแล้วจะช้ากว่าเล็กน้อยและควบคุมได้ง่ายกว่า



 

 

    Ricochet Bowing
Ricochet (หรือ Jete ในภาษาฝรั่งเศส) สามารถทำได้โดยการสบัดด้ามคันชักด้านบนประมาณสามส่วนสี่ (ซึ่งจะเขียนให้ใช้คันชักสีลง) สีลงบนสาย และสามารถเล่นโน้ตต่อเนื่องอย่างรวดเร็วเป็นชุดได้ ส่วนใหญ่จะเล่นประมาณ 3-4 ตัวโน้ต แต่สามารถเล่นมากกว่า 10 โน้ตในคันชักเดียวได้



 


    Arpeggio Bowing
Arpeggio คือการเล่นคันชักเเบบแตกคอร์ด โดยการกระเด้งคันชักข้ามสายต่างๆ ซึ่งโน้ตแต่ละตัวจะเล่นบนสายที่ต่างกัน

Tremolo Bowing
เทคนิค Tremolo มักจะใช้ในวงอร์เคสตร้า สิ่งสำคัญก็คือการใช้คันชักสั้นๆ สีขึ้นและลงอย่างรวดเร็วบนโน้ตตัวเดิม

Sul Ponticello Bowing
Sul Ponticello ในภาษาอิตาลีหมายถึง บนหย่องเป็นเทคนิคที่ให้สุ้มเสียงที่ค่อนข้างกระด้าง โดยการสีคันชักให้คันชักให้ใกล้ๆ กับหย่อง

Sul Tasto (Sulla Tastiera, Flautando) Bowing
การใช้คันชักเหนือฟิงเกอร์บอร์ด ให้สุ้มเสียงที่นุมนวลและล่องลอย ในบางครั้งจะคล้ายกับเสียงฟลุ้ต (Hence Flautando) โดยปกติจะใช้คันชักไม่เกิน 1-2 นิ้วหรือประมาณ 3-5 ซม. เหนือฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อสร้างน้ำเสียงดังกล่าว

Col Lengo Bowing
เป็นเทคนิคที่ใช้ด้ามคันชักเเทนการใช้หางม้า ในบางครั้งจะผสมผสานทั้งการใช้ด้ามคันชักและหางม้าเพื่อสร้างเสียงแบบ Col Lengo ซึ่งจะให้เสียงที่แตกต่างออกไป

 


    Loure Bowing
Loure ( Portato ในภาษาอิตาลี) เทคนิคนี้ โน้ตหลายๆ ตัวจะถูกแบ่งจากการโยงเสียง (Slur) โดยการหยุดเพียงเล็กน้อยในระหว่างที่ใช้คันชักหรือการเน้นโน้ตแต่ละตัวโดยไม่ต้องเปลี่ยนทิศทางของคันชัก และจะใช้ในเพลงที่เป็น Cantibile (อ่อนหวานและเหมือนเสียงร้องเพลง)
   
Staccato Bowing
เป็นเทคนิคการใช้คันชักซึ่งจะให้ผลลัพธ์ของเสียงที่คล้ายกับเทคนิค Martele หลายๆ ตัวต่อเนื่องกันในการสีคันชักเดียวกัน สามารถเล่นได้ทั้งสีคันชักขึ้นหรือสีคันชักลง ซึ่งการสีคันชักขึ้นจะง่ายกว่า และสามารถทำให้คันชักเด้งออกห่างจากสายเล็กน้อยซึ่งจะเกิดเทคนิคที่เรียกว่า Staccato Volante หรือ Flying Staccato