วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

โครงสร้างคอร์ดพื้นฐาน

 

โครงสร้างเทตร้าคอร์ดพื้นฐาน 4 ชนิดที่ใช้ในการสร้างบันไดเสียง

                 บันไดเสียงที่ใช้สร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรีมีหลายรูปแบบแตกต่างตามโครงสร้างของบันไดเสียงนั้น ๆ เดลามอนท์ (Delamont, 1976, 17) ได้กล่าวถึงโครงสร้างของบันไดเสียงว่าโครงสร้างของบันไดเสียงที่แตกต่างกันล้วนสร้างขึ้นมาจากการนำเตตร้าคอร์ดพื้นฐาน (Basic tetrachord) 4 ชนิดมาเรียงต่อกันโดยให้ช่วงที่ต่อห่างกัน 1 เสียงเต็มเตตร้าคอร์ดพื้นฐานทั้ง 4 ชนิดมีแบบแผนการจัดระยะห่างของเสียงแตกต่างกันดังนี้

                            3. 1 เมเจอร์เทตร้าคอร์ด (Major tetrachord) มีการจัดแบบแผนให้โน้ตขั้นที่ 1-2 และขั้นที่ 2-3 มีระยะห่าง 1 เสียงเต็มส่วนขั้นที่ 3-4 มีระยะห่างครึ่งเสียง

                                C             D             E              F


                                                    ภาพที่ 1 แสดงแบบแผนเมเจอร์เตตร้าคอร์ด

 

3. 2 ไมเนอร์เทตร้าคอร์ด (Minor tetrachord) มีการจัดแบบแผนให้โน้ตขั้นที่ 1-2 และขั้นที่ 3-4 มีระยะห่าง 1 เสียงเต็มส่วนขั้นที่ 2-3 มีระยะห่างครึ่งเสียงดังนี้ เทตร้าดอร์ด (Tetrachord) หมายถึงโน้ต 4 เสียงเรียงตามลำดับโน้ตตัวแรกห่างจากโน้ตตัวสุดท้ายขั้นค่ 4 เพอเฟ็คโน้ตที่อยู่ภายในขั้นคู่ 4 เพอเฟ็คมีระยะห่างที่แตกต่างกันตามชนิดของเทตร้าคอร์ดนั้น ๆ เทตร้าคอร์ดที่ใช้เป็นหลักในการสร้างบันไดเสียงมี 4 ชนิดเรียกว่าเตตร้าคอร์ดพื้นฐาน (Basic tetrachord)

                                     C            D           Eb              F

                                                       ภาพที่ 2 แสดงแบบแผนไมเนอร์เตตร้าคอร์ด

                 3. 3 ฟรีเจียนเทตร้าคอร์ด (Phrygian tetrachord) มีการจัดแบบแผนให้โน้ตขั้นที่ 2-3 และขั้นที่ 3-4 มีระยะห่าง 1 เสียงเต็มส่วนขั้นที่ 1-2 มีระยะห่างครึ่งเสียงดังนี้


                                 C            Db           Eb             F

                                                          ภาพที่ 3 แสดงแบบแผนฟรีเจียนเทตร้าคอร์ด


              3. 4 ฮาร์โมนิคเทตร้าคอร์ด (Harmonic tetrachord) มีการจัดแบบแผนให้โน้ตขั้นที่ 1-2 และขั้นที่ 3-4 มีระยะห่างครึ่งเสียงส่วนขั้นที่ 2-3 มีระยะห่าง 1 เสียงครึ่งหรือ 3 ครึ่งเสียงดังนี้

 

                                 C            Db            E             F



                                                      ภาพที่ 4 แสดงแบบแผนฮาร์โมนิคเทตร้าคอร์ด

บันไดเสียงเมเจอร์(Major Scale)

 

บันไดเสียงเมเจอร์ ( Major scale )

การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรี เช่น การประสานเสียง การสร้างแนวทำนองเพลง  อิมพรอไวเซชั่น (Improvisation ) แม้แต่การฝึกดนตรีปฎิบัติ ล้วนต้องอาศัยบันไดเสียงเป็นหลักทั้งสิ้น  บันไดเสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง เปรียบเสมือนหัวใจของการดนตรี นักดนตรีและผู้ศึกษาการดนตรีควรค้นคว้าและหมั่นฝึกให้เกิดทักษะด้านนี้

1.       ความหมายของบันไดเสียง

                     พระเจนดุริยางค์ (2509, 3) นิยามบันไดเสียงว่าคือเสียงที่มีระดับสูง-ต่ำต่างไล่กันลำดับเป็นขั้น ๆ ตามแบบแผนที่กำหนดไว้

                      เลิฟลอค (Lovelock, 1984, 39) ให้ความหมายว่าอนุกรมของเสียงที่จัดเรียงตามลำดับจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูงหรือจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำโดยมีช่วงเสียงไม่น้อยกว่าระยะขั้นคู่ 8

                       ริชิลีอาโน (Riciglino, 1978, 15) กล่าวว่าคืออนุกรมของเสียงที่ต่อเนื่องตามลำดับจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูงหรือจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำโดยเริ่มจากโนดสำคัญคือโน้ตตัวโทนิคหรือคีย์โน้ต

2.       ประเภทของบันไดเสียง

            บันไดเสียงเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่กำหนดความแตกต่างของผลงานดนตรีชนกลุ่มต่าง ๆ สร้างดนตรีโดยมีบันไดเสียงเป็นของตนบันไดเสียงจึงมีความหลากหลายกลายเป็นเอกลักษณ์ทางดนตรีของแต่ละสังคมเลิฟลอค (Lovelock, 1984, 64) แบ่งบันไดเสียงทางตะวันตกเป็น 2 ประเภทคือ

3.      1 บันไดเสียงไดอาโทนิค (Diatonic Scale) เป็นบันไดเสียงที่มีชื่อระดับเสียงไล่เรียงตามลำดับขั้นไม่ซ้ำกันในระยะขั้นคู่ 8 แบ่งออกเป็น 8 ขั้นโดยจัดให้แต่ละขั้นมีระยะห่างครึ่งเสียง (Semitone) หนึ่งเสียงเต็ม (Tone) และหนึ่งเสียงครึ่ง (Three semitone

แตกต่างตามแบบแผนของบันไดเสียงแต่ละชนิดบันไดเสียงไดอาโทนิค

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด  2. 1. 1 บันไดเสียงไดอาโทนิคเมเจอร์ (Diatonic major scale)

                                            2.. 2 บันไดเสียงไดอาโทนิคไมเนอร์ (Diatonic minor scale) มีรูปแบบแตกต่างกัน 3 ลักษณะ

                              1) บันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ (Natural minor scale) หรือบันไดเสียงเพียวไมเนอร์ (Pure minor scale)

                                       2) บันไดเสียงฮาร์โมนิคไมเนอร์ (Harmonic minor scale)

                                       3) บันไดเสียงเมโลดีกไมเนอร์ (Melodic minor Scale)

             2. 2 บันไดเสียงโครมาติค (Chromatic Scale) เป็นบันไดเสียงที่มีระยะห่างครึ่งเสียงตลอดในระยะขั้นคู่ 8 แบ่งออกเป็น 12 ขั้นดังนั้นชื่อระดับเสียงในแต่ละขั้นจึงซ้ำกันเช่น C-C ชาร์ป B แฟลท-B เนเจอรัลหรือ G แฟลท-G ดับเบิลแฟลทเป็นต้นบันไดเสียงโครมาติคแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

                            2. 2. 1 บันไดเสียงฮาร์โมนิคโครมาติด (Harmonic chromatic scale).

                                    2. 2 บันไดเสียงเมโลดิกโครมาติค (Melodic chromatic scale) ข้อสังเกตบันไดเสียงไดอาโทนิคเมเจอร์และบันไดเสียงไตอาโทนิคไมเนอร์นิยมเรียกสั้น ๆ ว่าบันไดเสียงเมเจอร์และบันไดเสียงไมเนอร์ทั้งนี้เพราะบันไดเสียงโครมาติดไม่มีคำว่าเมเจอร์และไมเนอร์ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเฉพาะบันไดเสียงไดอาโทนิคที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเสียงประสานส่วนบันไดเสียงโครมาติคจะได้กล่าวในหนังสือทฤษฎีดนตรีสากลและเพื่อความเข้าใจเรื่องการแบ่งประเภทและชนิดของบันไดเสียงให้ดูแผนภูมิการจำแนกประเภทบันไดเสียงประกอบ  

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เพลงศิลปะ (Art Song)

 

พลงศิลปะ (Art song)  

       คือเพลงที่มีคุณลักษณะด้านโครงสร้างค่อนข้างสมบูรณ์มีความต่อเนื่องอย่างสมเหตุสมผลและมีความลึกซึ้งทางด้านเนื้อหาสาระ ความจริงเพลงประเภท Art song นี้ มีการประพันธ์และขับร้องกันมาตั้งแต่สมัยกลาง (ประมาณ ค.ศ. 800) ซึ่งเป็นประเภทฆราวาสหรือเพลงนอกโบสถ์ และวิวัฒนาการมาในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาหรือเรเนซอง สมัยบาโร้ค สมัยคลาสสิค และสมัยโรแมนติค ตามลำดับ สำหรับเพลง  Art song

สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1.      เพลงอมตะ  รู้จักกันในนามเพลงคลาสสิค

2.      เพลงร่วมสมัย (Contemporary  Music) เป็นเพลงศิลปะยุคปัจจุบันนี้ซึ่งมีโครงสร้าง

ค่อนข้างสมบูรณ์คล้ายเพลงอมตะเพียงแต่แตกต่างกันทางยุคสมัยและพัฒนาการทางดนตรี โดยเฉพาะทางด้านรูปแบบ การประพันธ์ บันไดเสียง และเสียงประสาน

เพลงศิลปะ (Art song) คือเพลงที่มีคุณลักษณะด้านโครงสร้างค่อนข้างสมบูรณ์มีความต่อเนื่องอย่างสม เหตุสมผลและมีความลึกซึ้งทางด้านเนื้อหาสาระ แบ่งเป็น
1. เพลงอมตะ รู้จักกันในนามเพลงคลาสสิค
2. เพลงร่วมสมัย (Contemporary Music)เป็นเพลงศิลปะยุคปัจจุบันซึ่งมีโครงสร้างค่อนข้างสมบูรณ์คล้าย เพลงอมตะเพียงแต่แตกต่างกันทางยุคสมัยและพัฒนาการทางดนตรี โดนเฉพาะทางด้านรูปแบบ การประพันธ์ บันไดเสียง และ เสียงประสาน
(ข้อมูล จากหนังสือ สานฝันด้วยเสียงเพลงของครูดุษฎี)

เพลงร้องอมตะหรือเพลงร้องศิลป์ (Art Song)

เพลง ร้องอมตะหรือเพลงร้องศิลป์ (Art Song) คือเพลงร้องแบบหนึ่งซึ่งมักใช้ภาษาเยอรมันเพลงแบบนี้ คือ ลีเดอร์ (Lieder) ประพันธ์โดยอัฉริยะชาวเยอรมัน เช่น ฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) , โรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) , โยฮันเนส บรามส์ (Johannes Brahms) , ริคาร์ด ชเตราส์ (Richard Strauss) จึงเป็นภาษาเยอรมัน ดั้งเดิมนั้นนิยมร้องหรือเล่นกันในห้องโถงเล็กๆ เป็นเพลงที่ไพเราะน่าฟัง เกิดขึ้นและเป็นที่นิยมกันในสมัยโรแมนติก ในศตวรรษที่ 18 ยังนิยมร้องและเล่นกันมาจนปัจจุบันนี้

เพลง Lieder ภาษาอังกฤษแปลว่า Art Song ต่อมาได้ใส่คำร้องเป็นภาษาอื่นๆ ด้วย เพลงประเภทนี้จะประกอบด้วยนักร้องหนึ่งหรือสองคน โดยมีเปียโนเล่นคลอ เพลง Lieder นี้ ผู้ร้องและผู้เล่นเปียโนคลอ ถือว่ามีความสำคัญเท่าเทียมกัน ทั้งเนื้อร้อง ทำนอง วิธีการร้อง วิธีการเล่นเปียโนคลอ จะต้องมีความผสมผสานกลมกลืน สอดใส่ทั้งความไพเราะ อารมณ์ ต้องใช้เทคนิคต่างๆ ที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจอย่างยิ่ง นักเปียโนไม่เพียงแต่คอยช่วยเหลือนักร้องและผู้เล่นอื่นๆ เท่านั้น แต่ต้องมีไหวพริบด้วย ในกรณีที่นักร้องร้องผิดหรือข้ามจะหวะไปบ้าง นักเปียโนจะช่วยกลบเกลื่อนให้การบรรเลงนั้นดำเนินไปเป็นปกติที่สุด ถ้าผู้เล่นเปียโนเกิดความลังเลไม่แน่ใจก็อาจทำให้การแสดงนั้นล้มเหลวได้

เพลง ประเภทมีการดัดแปลง อย่างเช่นเพลงที่แต่งไว้สำหรับวงดนตรีใหญ่ทั้งวงเพื่อคลอเครื่องดนตรีที่ เล่นเดี่ยวนั้น ผู้เล่นเปียโนคลอในเพลงประเภทนี้ต้องมีความสามารถมาก เนื่องจากต้องพยายามเลียนแบบการเล่นทั้งวงมารวมไว้ในวิธีการเล่นเพียงอย่าง เดียว นักเปียโนจะต้องมีความสามารถในการปรับระดับเสียงดังค่อยให้เหมาะสม มีความว่องไว พยายามศึกษาถึงจุดประสงค์สำคัญของผู้ประพันธ์ซึ่งประพันธ์ไว้สำหรับบรรเลง ทั้งวง ดังนั้น นักเปียโนที่เล่นคลอจึงจะต้องจดจำข้อปลีกย่อย และต้องเล่นให้ดีที่สุด โดยคิดไปด้วยว่า ผู้เดี่ยวกำลังเล่นอะไรต้องบังคับตัวเอง เพื่อที่จะทำให้เกิดความใกล้ชิดกับฝ่ายนั้น ถ่ายทอดความรู้สึกของผู้เดี่ยวเข้ามาหาตัวผู้เล่นคลอให้มากที่สุด นักเปียโนที่ดีต้องมีความจำที่ดีมาก หรือสายตาว่องไวคือ เพียงชำเลืองดูโน้ตก็เก็บรายละเอียดปลีกย่อยได้หมด ดั้งนั้น ผู้ที่มีความสามารถจริงๆ ฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอจริงๆ จึงมีความจำดี ซึ่งการเล่นโดยความจำจะสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทัน ท่วงที

Art Song หรือ German Lied นี้ ถือว่าเป็นการพัฒนาด้านเพลงขนาดใหญ่ ในสมัยโรแมนติกตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนักประพันธ์เพลงร้องที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีนักแต่งเพลงท่านอื่นๆ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการแต่งเพลง Art Song เช่น Zumsteeg (1760-1802) , Zelter (1758-1832) และ Reichardt (1752-1814) ซึ่งถือว่าท่านทั้งสามก็สามารถสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมไว้มากด้วยเหมือนกัน นอกจากนี้ ยังมีนักแต่งเพลงท่านอื่นๆ ซึ่งเป็นชาวอิตาลี สวิส เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย เป็นต้น ที่แต่งเพลงซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ German Lied หรือ Art Song อีกด้วย

เกี่ยว กับเพลงร้องนี้ ถ้าผู้ฟังได้ให้ความสำคัญของคำร้องและดนตรีประกอบกันเข้าจะทำให้ผู้ฟังรับ อรรถรสที่ลึกซึ้งได้ยิ่งขึ้น เนื่องจากคำร้องที่มีทำนองและดนตรีที่ดีประกอบจะเป็นการเสริมความไพเราะ และให้ความหมายที่กินใจอย่างมาก ดั้งนั้น ถ้าหากผู้ฟังต้องการจะวิเคราะห์เพลงร้อง จึงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ซึ่งเกี่ยวกับดนตรี ซึ่งนอกเหนือไปจากความหมายและความไพเราะของเนื้อร้อง คือ

1.ความไพเราะของเสียง (Tone)

2.โครงสร้างและการจัดสัดส่วนของเพลง (Shape)

3.จังหวะจะโคน (Rhythm)

4.อารมณ์และความรู้สึกที่แสดงออก (Emotion, Expression)

5.การเขียนเสียงประสาน ซึ่งมักเล่นด้วยเปียโน (Accompaniment) ซึ่งต้องมีความสมดุลและเหมาะสม และผู้เล่นต้องมีความสามารถดีด้วยชุดร้องเพลง(Song Cycle) หรือ ลีเดอร์ซือคลูส (Liedercyclus)

ชุดร้องเพลง(Song Cycle) หรือ ลีเดอร์ซือคลูส (Liedercyclus)

ชุด ร้องเพลง(Song Cycle) หรือ ลีเดอร์ซือคลูส (Liedercyclus) คือกลุ่มของเพลงร้องและประกอบดนตรีคลอ ต่อเนื่องหลายๆเพลง โดยมีความหมายของเนื้อเพลง เกี่ยวข้องหรือเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่ง Song Cycle ก็มีการประพันธ์ในแบบของ Art Song หรือ German Lied ด้วย เช่นบทประพันธ์ของฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชื่อเพลง”The Beautiful Maid of the Mill” (1823) โดย ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน(Ludwig van Beethoven) ชื่อเพลง “ To the distant Beloved”( 1816) “Winter Journey “ (1827) และ “ Swan Song” โดย โรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) ชื่อเพลง “A Poet’s Love 1844 , และ “Woman’s Love and Life”(1843)

สำหรับ โครงสร้างหรือรูปแบบการแต่งเพลงแบบ Song Cycle นี้ค่อนข้างจะเป็นรูปแบบอิสระที่เรียกว่า Through Composed โดยมากจะเป็นไปตามเนื้อร้อง (lyrics และ poem ) ซึ่งเนื้อร้องนี้อาจจะเป็นบทที่นักประพันธ์เพลงนำมาจากผู้แต่งเนื้อ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวที่ต่อเนื่องกัน หรือนำมาจากหลายบท แต่มีเนื้อร้องที่ให้อารมณ์ ความรู้สึกและความหมายคล้ายคลึงกันก็ได้ ผู้แต่งบทกลอนที่มีชื่อเสียง จนกระทั้งนักประพันธ์เพลงเกิดความประทับใจและนำมาแต่งทำนองประกอบเข้าไป ทำให้เกิดความประทับใจยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในสมัยโรแมนติก เช่น Scott,Goethe,Heine และ Loeweเป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผู้ประพันธ์อีกมากมายซึ่งผูอ่นควรศึกษาและค้นคว้าในโอกาสต่อไป

หมายเหตุ

ความ จริงเพลงประเภท Art Song นี้ มีการประพันธ์และขับร้องกันมาตั้งแต่สมัยกลาง(ประมาณ ค.ศ.800) ซึ่งเป็นประเภทฆราวาสหรือเพลงนอกโบสถ์ (secular) ตัวอย่างเช่น คอนดักตัส (conductur), กันโซนา (canzona) , และแมดริกัล (madrigal) และวิวัฒนาการมาในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาหรือ เรอเนซอง สมัยบาโรก สมัยคลาสสิก และสมัยโรมันติก ดังกล่าวตามลำดับ


Baroque - Classical Period 1600-1750,1750-1820

 

ยุคบาโรก (Baroque period)

ดนตรียุคบาโรก (Baroque music) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง ค.ศ. 1600-1750 เกิดขึ้นหลังดนตรียุคเรอเนสซองซ์ คำว่า บาโรก ไม่ใช่ชื่อยุคทางดนตรีเท่านั้น หากแต่เป็นยุคที่แบ่งเรื่องของ ศิลปะทั้งหมด

ในยุคนี้ผู้ประพันธ์เพลงและผู้แสดงจะใช้องค์ประกอบทางด้านดนตรีที่ซับซ้อนมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบเสียงและได้พัฒนาการเล่นเครื่องดนตรีแบบใหม่ ดนตรียุคบาโรกได้ขยับขยายขนาด ความกว้าง ความซับซ้อนของการแสดงเครื่องดนตรี

ลักษณะดนตรียุคบาโรก

1.        เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีหรือเสียงร้องประชันกัน

2.       เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยว ตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม

3.       เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และหลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น

4.       นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major) และไมเนอร์ (Minor) แทนโมด (Mode)

5.       เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) เป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้ โฮโมโฟนี มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

6.       มีการระบุความเร็ว ช้า และหนัก เบา ลงไปในผลงาน เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น

7.       เทคนิคของการด้นสด Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด

8.       มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ

9.       มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์(คำศัพท์ทางดนตรี)

10.   เริ่มมีการแต่งเพลงให้เสียงคนร้องนำฟังชัดเจนและมีการเล่นดนตรีคลอตามเป็นเสียงพื้นหลัง เป็นจุดแรกเริ่มของการเกิดละครเพลง อุปรากร (Opera) 

คีตกวีที่สำคัญในยุคบาโรก

1.       โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach 1685-1750 )

·       คีตกวีชาวเยอรมัน

·       เมื่ออายุได้ 15 ปี เขาก็เริ่มเลี้ยงตัวเองโดยการเป็นนักออร์แกนและหัวหน้าวงคอรัสตามโบสถ์ในเยอรมัน

·       ผลงานของบาคกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคบาโรก และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตกในยุคต่อมา

·       ผลงานเพลงมีความเป็นอมตะจนถึงปัจจุบัน

·       การถึงแก่กรรมของในปี ค.ศ. 1750 เป็นเครื่องหมายของการสิ้นสุดดนตรีสมัยบาโรก

2.       อันโตนิโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi, 1678-1741)

·       ผู้ประพันธ์เพลงและนักไวโอลินชาวอิตาเลียน

·       เพลงที่วิวัลดีแต่งโดยมากมักเป็นเพลงสำหรับร้องและเล่นด้วยเครื่องดนตรีประเภทสตริง (String)

·       เป็นผู้สร้างงานขึ้นมาด้วยความประณีตบรรจง สามารถทำให้ผู้ฟังปล่อยอารมณ์ไปตามเนื้อและทำนองเพลงได้โดยไม่รู้ตัว 

ยุคคลาสสิก (Classical period) 

ยุคคลาสสิก (Classical period) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง ค.ศ.1750-1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และแจ่มชัดในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่น ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลางของดนตรี

ลักษณะดนตรียุคคลาสสิก

1.       นิยมการใส่เสียงประสานแบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือการเน้นทำนองหลักเพียงแนวเดียว โดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะมากขึ้น

2.       มีแนวประสานเป็นคอร์ดหลายแนวที่มีจังหวะคล้ายกัน

3.       ความสำคัญของการด้นสด (Improvisation) เริ่มหมดไป

4.       ดนตรีส่วนมากมีการเขียนเสียงประสานครบถ้วน คีตกวีจะระบุวิธีการบรรเลงอย่างชัดเจน

5.       เกิดคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ๆ ขึ้นในยุคนี้ คือ

5.1   โซนาตา (Sonata) เป็นงานดนตรีสำหรับการบรรเลงเดี่ยว ประกอบด้วยท่อนต่างๆ สามหรือสี่ท่อน

5.2   คอนแชร์โต (Concerto) คือการบรรเลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ประทะกับวงดุริยางค์ทั้งวง

5.3   ซิมโฟนี (Symphony) คือการบรรเลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีทุกชนิดในวงดุริยางค์ หรือ ออร์เคสตรา สลับกันบรรเลงประสานกันไปมา

6.       ลักษณะการผสมวงมีกำหนดแน่นอนว่าเป็นวงเล็ก(แชมเบอร์มิวสิก) หรือวงใหญ่ (ออร์เคสตรา)

7.       นิยมประพันธ์เพลงบรรเลงมากขึ้น

8.       โอเปร่า เป็นที่นิยมมาก เน้นเรื่องศิลปะการแสดงมากขึ้น

คีตกวีที่สำคัญในยุคคลาสสิก

1.       โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart 1756-1791)

·       คีตกวีชาวออสเตรีย

·       มีชื่อเสียงในงานประพันธ์ดนตรีประเภทซิมโฟนีเชมเบอร์ มิวสิกและโอเปร่า

·       เขียนซิมโฟนีชิ้นแรกเมื่ออายุ 8 ปี

·       เป็นนักดนตรีอิสระคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ชีวิตโดยไม่ขึ้นกับราชสำนักหรือผู้อุปถัมถ์ใด ๆ

·       เป็นนักประพันธ์คนเดียวในประวัติศาสตร์ที่เขียนเพลงอย่างประณีตทุกรูปแบบของดนตรีตลอดชีวิตของเขา

2.       ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven 1770 - 1827)

·       คีตกวีชาวเยอรมัน

·       มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเปียโนที่มีความสามารถด้านเปียโนสดได้เก่งที่สุดแห่งยุค ต่อจากโมสาร์ท

·       เป็นคนที่มีความทะเยอ ทะยานสูง หยิ่ง เจ้าอารมณ์ และรักอิสระ

·       มักได้รับการตำหนิจากปรมาจารย์อาวุโส ว่า แต่งเพลงแหกกฎเกณฑ์ทางดนตรี

·       ผลงานของเขาเป็นต้นกำเนิดของ ยุคโรแมนติก (Romantic Period)

ยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance Period) 1400-1600

 

ยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance Period)

 

            ยุคเรอเนสซองส์ในส่วนของดนตรี จะอยู่ในช่วงประมาณปี ค.. 1400-1600 และเป็นช่วงปีเดียวกับที่มีการคิดค้นการพิมขึ้น ชาวยุโรปถือว่ายุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ คำว่า “Renaissance” แปลว่า rebirth หมายถึง การเกิดใหม่ของลัทธิปรัชญากรีกโบราณ เกิดทัศนะในการมองโลกที่แตกต่างจากยุคกลาง อันมีผลมาจาก

-          การศึกษา ในปีค.ศ. 1440 ได้เกิดการพิมพ์ขึ้น ส่งผลต่อการแพร่กระจายของแขนงสาขาวิชาต่างๆ

-          มีการคิดค้นดินปืน และได้ทำลายระบบอัศวินลง

-          เริ่มมีการสร้างเข็มทิศ เกิดการค้นคว้าไปในโลกกว้าง แสดงให้เห็นว่ามนุษย์เริ่มคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น

เหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์ที่สำคัญได้แก่

1.       การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล ในปีค.. 1452

2.       การค้นพบแผ่นดินใหม่ของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ในปีค.. 1492

3.       มีศิลปินเกิดขึ้นมากมายได้แก่ เลโอนาโดร์ ดาวินซี และไมเคิล แองเจโล ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่ยิ่งใหญ่มากมาย

 

ลัทธิมนุษยนิยมกลายมาเป็นรากฐานที่มั่งคงในปรัชญาของศตวรรษที่ 16 ในทางศาสนา คริสตศาสนายังคงเป็นแกนหลักอยู่ แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงคือไม่แข็งแรงเท่ายุคกลาง เนื่องมาจากผู้ดำเนินการศาสนาได้ทำให้ศาสนามีรูปลักษณ์เปลี่ยนไป ซึ่งดูเหมือนจะเสื่อมลง ส่งผลให้เกิดศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนขึ้นในค.. 1517 ก่อตั้งโดยมาร์ติน ลูเธอร์ พระชาวเยอรมัน เพลงร้องในโบสถ์ถูกปรับให้ร้องง่ายขึ้น เพื่อให้คนได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมและใกล้ชิดกันศาสนามากขึ้นด้วย

สภาพสังคมที่มีอิทธิพลต่อดนตรีในยุคเรอเนสซองส์   

            ผู้คนในศตวรรษที่ 15 ได้พยายามที่จะสร้างโลกใหม่ที่มั่นคงหลังจากการที่ศาสนาอ่อนแอลงด้วยอุบายทางการเมือง และความหายนะต่างๆ นักวิชาการพยายามที่จะเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับอารยธรรมกรีกโบราณโดยมีเหตุผล มิใช่ความเชื่อเพียงอย่างเดียว ความพยายามที่จะใช้ดนตรีเป็นสื่ออารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานดนตรี ดนตรีส่วนใหญ่ยังเกี่ยวข้องกับการขับร้อง และศาสนา ในขณะเดียวกันได้มีการยกย่องความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี

ดนตรีในสมัยนี้ได้แบ่งเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกัยยุคกลางคือ ดนตรีในวัดและดนตรีชาวบ้าน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันมากขึ้น หลังจากการเสื่อมอำนาจของพระสันตะปาปาในช่วงศตวรรษที่ 14 ผู้อุปถัมภ์ดนตรีคือ ขุนนางในราชสำนักต่างก็คาดหวังให้นักดนตรีสร้างงานทั้งเพื่อ การศาสนา และ ความบันเทิงของคนในราชสำนัก

ยุคเรอเนสซองส์ตอนต้นและตอนกลาง ดนตรีจะค่อนข้างยืดหยุ่น มีแนวโน้มของการแสดงออกที่ค่อนข้างสงบ ในช่วงสุดท้ายของยุค ดนตรีได้ถูกเบี่ยงเบนไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น 

ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดการพิมพ์โน้ตเพลงแบบโพลีโฟนี (คือ ดนตรีที่ประกอบด้วยทำนองอิสระตั้งแต่สองแนวขึ้นไป ) ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.. 1501 ทำให้เกิดการแพร่หลายของดนตรีออกไปสู่โลกกว้าง แต่ละเชื้อชาติก็ต้องการดนตรีที่เป็นภาษาของตนเอง ทำให้การสร้างสรรค์งานผลงานดนตรีกลายมาเป็นของชาวบ้านมากขึ้น และยังเกิดการประดิษฐ์เครื่องดนตรีอันส่งผลให้ผู้ประพันธ์เพลงได้เขียนบทเพลงที่เป็นสำเนียงสำหรับเครื่องดนตรีโดยเฉพาะ และได้มีการแบ่งกลุ่มเครื่องดนตรีแต่ละประเภทอย่างชัดเจนขึ้นด้วย

ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 16

             ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถือเป็น “ยุคทองของเรอเนสซองส์ คือมีการพัฒนาจนมั่นคงและเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งความสำเร็จของมวลมนุษยชาติ ในด้านดนตรีนั้น เพลงร้องแบบโพลีโฟนีได้พัฒนามาถึงจุดสูงสุดของประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก 

การปฏิรูปดนตรีในศตวรรษที่ 16

1.       ดนตรีในวัด

1.1   การปฏิรูปในประเทศเยอรมันนี

การปฏิรูปศาสนาได้เกิดขึ้นในเยอรมันตั้งแต่สมัยของมาร์ติน ลูเธอร์ ในปี ค.. 1517  

ลูเธอร์เชื่อว่าคุณค่าของดนตรีนั้นอยู่ที่การสักการะ และแนวความคิดที่จะนำประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา เกิดบทเพลงสรรเสริญพระเจ้าซึ่งเป็นบทประพันธ์ที่วำคัญเรียกว่า คอราล “chorale”  นำมาจากบทสวดที่ถูกดัดแปลงใหม่ หรือเพลงชาวบ้านภาษาเยอรมันที่มีอยู่ก่อนการปฏิรูป คอราลในระยะแรกจะเป็นการประสานเสียง 4 แนวแบบง่ายๆ เพื่อแสดงโดยนักร้องคอรัส โดยมีทำนองอยู่แนวบนสุด 

1.2   การปฏิรูปในประเทศอังกฤษ

หลังจากเกิดการล้มล้างนิกายคาธอลิก ได้นำไปสู่นิกายอังกลีกัน รูปแบบบทประพันธ์ส่วนใหญ่ได้รับมาจากนิกายคาธอลิก โดยใช้คำร้องภาษาอังกฤษแทนภาษาละติน แนวทำนองได้ถูกเรียบเรียงใหม่ เรียกว่า  เพลงแมส (Mass) และโมเต็ท (Motet)

2.       ดนตรีชาวบ้าน

มีรูปแบบเป็นเพลงร้องที่ประสานเสียงกันตั้งแต่ 4 แนวขึ้นไป ทำนองค่อนข้างชัดมีความเหมาะสมกับเนื้อร้อง บทกวีที่ใช้มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆนิยมเพลงที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน จังหวะสนุกสนาน ชอบเล่นเสียงคำ เสียงสระ เทคนิคอีกอย่างที่เป็นที่นิยมคือการวาดภาพของคำ (word painting) และการเลียนเสียงธรรมชาติเช่น เสียงนก ได้แก่ เพลงประเภท แมดริกัล (Madrigal)

3.       ดนตรีสำหรับการบรรเลง 

ในยุคเรอเนสซองส์จะไม่มีบทบาทมากนัก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่จะใช้เครื่องดนตรีเฉพาะในการสื่อแต่ละบทเพลง มีลักษณะสำคัญคือ

-          ดนตรีสำหรับบรรเลงมักถูกจำกัดด้านช่วงเสียงร้อง โดยใช้เครื่องดนตรีแสดงแทน

-          การบรรเลงแบบด้นสด (improvisation) มีบทบาทมากขึ้นในการแสดง

-          เทคโนโลยีด้านการพิมพ์ทำให้เกิดการตีพิมพ์โน้ตเพลงสำหรับเครื่องดนตรีแพร่หลายมากขึ้น

-          มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบการเต้นรำของชนชั้นสูง ดนตรีจึงเน้นหนักในเรื่องจังหวะ

-          ชื่อผลงานได้แก่ แฟนตาเซีย (fantasia) เพรลูด (prelude) แวริเอชั่น (variations)

                                                                                                                                   

เครื่องดนตรีในสมัยเรอเนสซองส์ จัดแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.       เครื่องสาย

1.1   เครื่องสายที่ใช้คันชัก

-          วิโอล (viol) เป็นบรรพบุรุษของไวโอลินในสมัยศตวรรษที่ 17

1.2   เครื่องสายที่ใช้ดีด- ลูท (Lute) เป็นเครื่องดนตรีที่มีเฟร็ท มี6สาย ใช้การดีดสายเพื่อให้เกิดเสียง มีรูปทรงเหมือนลูกแพร์

2.     เครื่องเป่า

2.1   รีคอร์ดเดอร์

2.2   ทรัมเปต

2.3   ทรอมโบน

3.       ออร์แกน ขนาดใหญ่ที่สุดถูกสร้างในยุคเรอเนสซองส์นี้เองมีท่อประมาณ 2,500อัน ใช้ สำหรับประกอบการขับร้องเท่านั้น