วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ประมวลรายวิชาปฏิบัติเครื่องมือโท

 ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)

ส่วนที่ 1

1. รหัสวิชา ศ31246

2. รายชื่อวิชา ปฎิบัติเครื่องมือโท

3. จำนวนหน่วยกิต 1.0 หน่วยการกิต

4. จำนวนคาบเรียนต่อสัปดาห์ 2

5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ สาขาสาธิตและนิเทศการสอนศิลปกรรม

6. ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

7. ประเภทวิชา วิชาบังคับเลือกวิชาเอก

8. ภาคเรียน/ปีการศึกษา 1/2565

9. ชื่อผู้สอน 1. อ.ยงยุทธ เอี่ยมสอาด

คำอธิบายรายวิชา

ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล เครื่องดนตรีไทย หรือการขับร้อง ตามเครื่องมือเอกของนักเรียน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเทคนิคการบรรเลงบทเพลงที่เหมาะสมกับธรรมชาติของเครื่องดนตรีตามเครื่องมือเอก การฝึกแบบฝึกหัด (Exercise, Etude) การฝึกเล่นบันไดเสียงต่าง ๆ (Scales) โดยไม่ต่ำกว่า 2ชาร์ป 2แฟลต เมเจอร์ไมเนอร์ ฝึกการอ่านโน้ตในจังหวะรูปแบบต่าง ๆ ฝึกทักษะการฟัง สำหรับเครื่องมือเอกดนตรีไทยอาจใช้การฝึกเทคนิควิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยทุกเครื่องมือเอกต้องจัดการแสดงในปลายภาคเรียนในรูปแบบ Recital โดยมีการบรรเลงประกอบหรือเครื่องประกอบจังหวะตามความเหมาะสมโดยกระบวนการสร้างทักษะการปฏิบัติในการถ่ายทอดดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ร้องเพลง และเล่นดนตรีในรูปแบบต่างๆ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี  แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ

เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การแก้ปัญหา เกิดทักษะวิเคราะห์ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการผลิตภาพ และความคิดรับผิดชอบ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และรักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ


ผลการเรียนรู้

1. สำหรับดนตรีสากล สามารถเล่นบันไดเสียงต่าง ๆ (Scales) โดยไม่ต่ำกว่า 2 ชาร์ป 2 แฟลต  

   เมเจอร์ไมเนอร์ สำหรับดนตรีไทย สามารถฝึกเทคนิคอื่นที่ช่วยพัฒนาทักษะดนตรีให้ดีขึ้น

2. มีทักษะการฟังเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง

3. สามารถปฏิบัติแบบฝึกหัดแบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

4. สามารถปฏิบัติเพลงที่กำหนดได้อย่างถูกต้องตามหลักการและสามารถทำการแสดงในรูปแบบ Recital ได้

ส่วนที่ 2 

ภาพรวมรายวิชา ปฎิบัติเครื่องมือโท


1. จุดประสงค์รายวิชา 

1.1 ด้านความรู้ : เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในหลักการการฝึกปฏิบัติการบรรเลงเครื่องดนตรีตาม         

                     เครื่องมือโท

1.2 ด้านทักษะและกระบวนการ : เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการบรรเลงเครื่องดนตรีตามเครื่องมือ  

                                                    โท

1.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ : 

1. วินัย

      - ตรงต่อเวลา 

      - ปฏิบัติตามกฎระเบียบ

2. ใฝ่เรียนรู้

      - ตั้งใจเรียน

      - มีความรับผิดชอบ

3. มุ่งมั่นในการทำงาน

      - มีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน

      - อดทน ขยันหมั่นเพียร

      - รู้จักเสียสละและเห็นใจผู้อื่น


2. ขอบข่ายเนื้อหาสาระ (ระบุหัวข้อ หรือประเด็นสำคัญ)

1. ฝึกไล่ Scale  ที่ยากขึ้น

2. ฝึกทักษะการฟังเพื่อการปฏิบัติ

3. ฝึกปฏิบัติแบบฝึกหัด

4. ฝึกปฏิบัติเพลงที่กำหนด


3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ (ระบุกลวิธีและวิธีและเทคนิคการจัดการเรียนรู้) 

  การบรรยาย   การอภิปราย   การนำเสนอ   การใช้กระบวนการกลุ่ม   การระดมสมอง   การสาธิต

  การทดลอง   กระบวนการแก้ปัญหา   การปฏิบัติจริง

  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์   การฝึกทักษะ   อื่น ๆ (ระบุ)


4. แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 

อัตราส่วนคะแนนเก็บ : คะแนนสอบ = 75 : 25

การประเมิน ประเมินผลการเรียนรู้ คะแนน

การวัดประเมินการเรียนรู้ เครื่องมือ

1 ฝึกไล่ Scale  แบบฝึกหัด 20

2 ทักษะการฟังเพื่อการปฏิบัติ แบบฝึกหัด 5

3 ปฏิบัติแบบฝึกหัด แบบฝึกหัด 20

4 ปฏิบัติเพลงที่กำหนด แบบฝึกหัด 40

5 จิตพิสัย แบบสังเกต 5

6 พัฒนาการ แบบสังเกต 10

รวม 100 %


เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน ผลการเรียน

79.5 – 100 4

74.5 – 79.4 3.5

69.5 – 74.4 3

65.5 – 69.4 2.5

59.5 – 64.4 2

54.5 – 59.4 1.5

49.5 – 54.4 1

0 – 49.4 0









5. กระบวนการเรียนการสอน


1.

สัปดาห์ที่/

คาบที่ สาระการเรียนรู้

(เนื้อหา) กิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการวัดผล/

ประเมินผล

ระหว่างเรียน

1 แนะนำการเรียนการสอน ข้อพึงปฎิบัติ สอบ P.Tests อธิบาย สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

2 สาธิตการจับถือคันชักโดยใช้มือขวาจับคันชักขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง  โดยนิ้วทุกนิ้วต้องอยู่ในรูปตัวซีโดยไม่เกร็ง

อธิบาย แบบฝึกหัด 

ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

3 สาธิตการวางไวโอลินบนบ่าอย่างถูกต้อง

ฝึกการใช้คางหนีบไวโอลินให้ตั้งอยู่บนบ่าได้

สาธิตท่านั่ง และยืนเพื่อความสมดุลย์ของน้ำหนักตัว โดยมีไวโอลินวางบนบ่า อธิบาย  แบบฝึกหัด  ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

4 ให้แบบฝึกหัดการใช้คันสีบนสายเปล่าทั้งสี่สายผู้สอนจะแนะนำส่วนต่างๆของไวโอลินิและคันชัก การเช็ดถูสาย และตัวไวโอลินเมื่อเลิกใช้งานอธิบายระดับคู่เสียงที่เทียบสายห่างเป็นคู่ห้าสำหรับสายแต่ละเส้นเรียกชื่อสาย  โดยผู้เรียนชี้หรือดีดสายเส้นนั้นผู้สอนชี้ไปยังสายเส้นใดเส้นหนึ่งแล้วให้ผู้เรียนบอกชื่อสายนั้นๆ อธิบาย  แบบฝึกหัด  ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

5 บันไดเสียงอธิบายระดับคู่เสียงที่ใช้ในระบบดนตรีสากลสำหรับบันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ คีย์ซิกเนเจอร์ Time Signature อธิบาย  แบบฝึกหัด  ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

6 ค่าตัวโน้ตชนิดต่างๆ และการนับจังหวะ

การวางนิ้วตำแหน่งที่ ๑  ในการวางมือซ้าย อธิบาย  แบบฝึกหัด สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

7 ให้ฝึกกดและยกนิ้วที่ละนิ้วโดยจะเริ่มจากนิ้วที่หนึ่ง  สอง  สามตามลำดับเมื่อสามารถกดและยกได้อย่างถูกต้องแล้วจึงใช้คันสีเพื่อตรวจสอบระดับเสียง อธิบาย  แบบฝึกหัด  ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

8 เมื่อมีความคล่องแล้ว จึงให้ฝึกการกดยกข้ามสาย  โดยใช้การเคลื่อนไหวของศอกซ้ายเพื่อช่วยในการข้ามสายฝึกวางตำแหน่งมือขวาสำหรับการดีดฝึกการดีดสายให้ได้เสียงที่มีน้ำหนัก แบบทดสอบกลางภาคเรียน ตรวจข้อสอบ

9 การผสมกันระหว่างน้ำหนักมือ และตำแหน่งการใช้คันชักลงบนการสีให้เกิดเสียงที่มีคุณภาพถูกต้องเสียงที่ไม่พึงให้เกิดจากการสี อธิบาย  แบบฝึกหัด  ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

10 สอบปฏิบัติกลางภาค สอบ บันทึกคะแนน

11 อธิบายความแตกต่าง และความสำคัญของคุณภาพเสียงที่แตกต่างกันสาธิตการใช้คันชักในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน อธิบาย  แบบฝึกหัด  ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

12 ให้นักเรียนฝึกการสีบนสายเปล่าให้นักเรียนจำจังหวะจากVariation A และ B  และ C โดยที่ครูบรรเลงบนสายเปล่าจากนั้นจึงให้ผู้เรียนปรบมือจังหวะตาม  แล้วให้บรรเลงบนไวโอลิน อธิบาย  แบบฝึกหัด  ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

13 เพิ่มการกดสายตามทำนอง โดยมีครูบรรเลงตาม หรือบรรเลงทำนองหลักควบคู่ไปด้วย อธิบาย  แบบฝึกหัด  ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

14 ให้ผู้เรียนใช้คันชักขึ้น และลงตามจังหวะชุดสั้น  สั้น ยาวบนสายเปล่าก่อน  โดยให้สีระหว่างปลาย และโคนคันชักแล้วจึงให้บรรเลงตามบทเพลง อธิบาย  แบบฝึกหัด  ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

15 ให้ผู้เรียนฝึกการบรรเลงบันไดเสียง และอาเพจิโอ  ในรูปแบบ Detace อธิบาย  แบบฝึกหัด  ใบงาน สังเกต  ซักถาม  ตรวจการบ้าน

16 สอบปฏิบัติปลายภาค สอบปลายภาคเรียน ตรวจข้อสอบ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น