ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
ส่วนที่ 1
1. รหัสวิชา ศ32201
2. รายชื่อวิชา เพิ่มเติมเลือกดนตรี(ไวโอลิน)
3. จำนวนหน่วยกิต 0.5 หน่วยการกิต
4. จำนวนคาบเรียนต่อสัปดาห์ 2
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ สาขาสาธิตและนิเทศการสอนศิลปกรรม
6. ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
7. ประเภทวิชา วิชาเลือก
8. ภาคเรียน/ปีการศึกษา 1/2565
9. ชื่อผู้สอน อ.ยงยุทธ เอี่ยมสอาด
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาทฤษฎีการดนตรี โน้ตสากล ศัพท์สังคีต ฝึกโสตประสาท ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลอย่างน้อย 1 ชิ้นตามความถนัด โดยฝึกบรรเลงเดี่ยวและกลุ่ม และจัดการแสดงเป็นครั้งคราว การดูแลรักษาเครื่องดนตรี เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและบรรเลงดนตรีสากลที่ถนัด
โดยกระบวนการสร้างทักษะการปฏิบัติในการถ่ายทอดดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึกทางดนตรีอย่าง อิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ร้องเพลง และเล่นดนตรีในรูปแบบต่างๆ แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเสียงดนตรี แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ
เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี มีทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อันได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ มีความเป็นผู้นำและชำนาญเทคโนโลยี
ผลการเรียนรู้
1. เพื่อสามารถบรรเลงทักษะดนตรีเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อสามารถบรรเลงร่วมกับผู้อื่นได้
ส่วนที่ 2
ภาพรวมรายวิชา เพิ่มเติมเลือกดนตรี(ไวโอลิน)
1. จุดประสงค์รายวิชา
1.1 ด้านความรู้ : เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในหลักการการฝึกปฏิบัติการบรรเลงเครื่องดนตรีไวโอลิน
1.2 ด้านทักษะและกระบวนการ : เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการบรรเลงเครื่องดนตรีไวโอลิน
1.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ :
1. วินัย
- ตรงต่อเวลา
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
2. ใฝ่เรียนรู้
- ตั้งใจเรียน
- มีความรับผิดชอบ
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
- มีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
- อดทน ขยันหมั่นเพียร
- รู้จักเสียสละและเห็นใจผู้อื่น
2. ขอบข่ายเนื้อหาสาระ (ระบุหัวข้อ หรือประเด็นสำคัญ)
1. ทฤษฎีเพื่อประกอบการบรรเลงเครื่องดนตรีสากล 3
2. เทคนิคปฏิบัติเพื่อการบรรเลงเครื่องดนตรีสากลและบันไดเสียง 3
3. ปฏิบัติบทเพลงเดี่ยว บทเพลงกลุ่มและการแสดงดนตรี 3
4. การดูแลรักษาเครื่องดนตรีและวัฒนธรรมดนตรี 3
3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ (ระบุกลวิธีและวิธีและเทคนิคการจัดการเรียนรู้)
การบรรยาย การอภิปราย การนำเสนอ การใช้กระบวนการกลุ่ม การระดมสมอง การสาธิต
การทดลอง กระบวนการแก้ปัญหา การปฏิบัติจริง
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การฝึกทักษะ อื่น ๆ (ระบุ)
4. แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
อัตราส่วนคะแนนเก็บ : คะแนนสอบ = 75 : 25
การประเมิน ประเมินผลการเรียนรู้ คะแนน
การวัดประเมินการเรียนรู้ เครื่องมือ
1 จุดประสงค์ระหว่างเรียน แบบฝึกหัด,บทเพลง 20
2 สอบกลางภาค บทเพลง 20
3 จุดประสงค์ก่อนปลายภาค แบบฝึกหัด,บทเพลง 20
4 สอบปลายภาค บทเพลง 25
5 จิตพิสัย แบบสังเกต 5
6 พัฒนาการ แบบสังเกต 10
รวม 100 %
เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน ผลการเรียน
79.5 – 100 4
74.5 – 79.4 3.5
69.5 – 74.4 3
65.5 – 69.4 2.5
59.5 – 64.4 2
54.5 – 59.4 1.5
49.5 – 54.4 1
0 – 49.4 0
5. กระบวนการเรียนการสอน
สัปดาห์ ครั้งที่ เนื้อหา หมายเหตุ
1 1 เมื่อสามารถกดและยกได้อย่างถูกต้องแล้วจึงใช้คันสีเพื่อตรวจสอบระดับเสียง/บทเพลง 2 คาบ
2 2 เมื่อมีความคล่องแล้ว จึงให้ฝึกการกดยกข้ามสาย โดยใช้การเคลื่อนไหวของศอกซ้ายเพื่อช่วยในการข้ามสาย/บทเพลง 2 คาบ
3 3 ฝึกวางตำแหน่งมือขวาสำหรับการดีด/บทเพลง 2 คาบ
4 4 ฝึกการดีดสายให้ได้เสียงที่มีน้ำหนัก/บทเพลง 2 คาบ
5 5 อธิบายเรื่องการผสมกันระหว่างน้ำหนักมือ และตำแหน่งการใช้คันชักลงบนสาย/บทเพลง 2 คาบ
6 6 สาธิตการสีให้เกิดเสียงที่มีคุณภาพถูกต้อง/บทเพลง 2 คาบ
7 7 สาธิตตัวอย่างเสียงที่ไม่พึงให้เกิดจากการสี/บทเพลง 2 คาบ
สอบกลางภาค
8 8 อธิบายความแตกต่าง และความสำคัญของคุณภาพเสียงที่แตกต่างกัน/บทเพลง 2 คาบ
9 9 สาธิตการใช้คันชักในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน/บทเพลง 2 คาบ
10 10 ให้นักเรียนฝึกการสีบนสายเปล่าจำจังหวะจากVariation A และ B และ C โดยที่ครูบรรเลงบนสายเปล่าจากนั้นจึงให้ผู้เรียนปรบมือจังหวะตาม แล้วให้บรรเลงบนไวโอลิน/บทเพลง 2 คาบ
11 11 เพิ่มการกดสายตามทำนอง โดยมีครูบรรเลงตาม หรือบรรเลงทำนองหลักควบคู่ไปด้วย/บทเพลง 2 คาบ
12 12 ให้ผู้เรียนใช้คันชักขึ้น และลงตามจังหวะชุดสั้น สั้น ยาวบนสายเปล่าก่อน โดยให้สีระหว่างปลาย และโคนคันชักแล้วจึงให้บรรเลงตามบทเพลง/บทเพลง 2 คาบ
13 13 ให้ผู้เรียนฝึกการบรรเลงบันไดเสียง และอาเพจิโอ ในรูปแบบ Detace /บทเพลง 2 คาบ
14 14 ทดสอบบทเพลงไวโอลิน 2 คาบ
สอบปลายภาคตามตารางสอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น