วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ริชาร์ด วากเนอร์ Richard Wagner 1813 – 1883



ริชาร์ด วากเนอร์
Richard Wagner
1813 – 1883

ชีวิต ที่ต้องระเหเร่ร่อน  ล้มลุกคลุกคลานอยู่ตลอดเวลาก่อนที่จะก้าวขึ้นไปมีชื่อเสียงในโลกของดนตรีคน หนึ่งนั้น  เห็นจะไม่มีใครเกิน ริชาร์ด วาร์กเนอร์  บุคลิกภาพ ชีวิตและงานดนตรี และนักแต่งอุปรากรชื่อก้องโลกผู้นี้ เป็นเรื่องควรแก่การสนใจไม่น้อยเลย จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏโดยทั่วไป ชีวิตของคนเราจะดำเนินไปในแบบใดหรือรูปใดนั้น สิ่งแวดล้อมเป็ยปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะชักนำชีวิตของเราให้เป็นไปแบบนั้น แบบนี้ ชีวิตของริชาร์ด วากเนอร์ก็เช่นเดี่ยวกัน ได้หันเหมาสู่โลกดนตรีโดยสิ่งแวดล้อมชักนำทั้งที่ตัวเองก็ไม่รู้ความ
* วิลเฮล์ม ริชาร์ด วากเนอร์   (Wilhelm Richard Wagner) เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813ที่เมืองไลพ์ซิก (Leipzig)  ประเทศเยอรมันนี  เป็นลูกคนที่ 9 ของคาร์ล ฟริดริค วิลเฮล์ม วากเนอร์ (Karl Friendrich Wilhelm Wagner)  และโจฮันนา  (Johanna)  บิดามีอาชีพเป็นเสมียนอยู่ศาลโปลิสของท้องถิ่น  และได้ถึงแก่กรรมหลังจากที่วากเนอร์เกิดได้ 6 เดือน
(คือตายวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1813)
เมื่อ พ่อตาย  แม่ก็ได้อพยพครอบครัวจากไลพ์ซิก  ไปอยู่เมืองเดรสเดน (Dresden)  เมื่อ ค.ศ. 1814 และที่นี่ แม่ของเขา (โจฮันนา)  ก็ได้แต่งงานใหม่กับลุดวิก เกเยอร์  (Ludwig Gayer) ซึ่งเป็นจิตรกรและนักแสดงละครอาชีพ  ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1814 (เรื่องนี้มีคนสงสัยกันว่า  วากเนอร์อาจเป็นลูกของลุดวิก เกเยอรื  สามีคนที่ 2 ของแม่ก็ได้  แต่ก็เป็นเพียงข้อสงสัยเท่านั้น  ยังพิสูจน์ไม่ได้)
ที่เดรสเดนนี่เอง  วากเนอรื  ได้คลุกคลีอยู่กับวงการละครมาแต่เด็ก ๆ เพราะได้ติดตามเกเยอร์  พ่อเลี้ยงไปชมการแสดงละครอยู่ข้าง ๆ เวทีเสมอ    จึงทำให้เขาชอบละครและอยากจะเป็นนักแต่งบทละครในตอนแรก ๆ และที่เดรสเดนนี้  วากเนอร์ก็ได้เข้าโรงเรียนเป็นครั้งแรก
ต่อ มา ค.ศ. เกเยอร์  พ่อเลี้ยงก็ถึงแก่กรรม (30 กันยายน)  น้องชายของเกเยอร์  จึงได้เป็นผู้อุปถัมภ์วากเนอร์  ให้การศึกษาต่อไป  ในปี ค.ศ. 1822  วากเนอร์  ได้เข้าไปเรียนที่โรงเรียน  Kreuzschule   ที่เดรสเดนเช่นกัน  ปีต่อมา  วากเนอร์ก็เริ่มการศึกษาบทละครของกรีก  (Greek  tragedies)  และเริ่มเรียนเปียโนกับ  Humann แต่มีความสนใจเกี่ยวกับอุปรากร (Opera)  มากเพราะหลังจากที่เขาได้มีโอกาสเข้าชมอุปรากรของเวเบอร์ (Weber)
เรื่อง De Freishutz  แล้วก็รู้สึกประทับใจมาก  ประกอบกับ คลารา (Clara) และโรซาลี (Rosaline)  พี่สาวของเขาเป็นนักร้องอุปรากรในคณะนั้นด้วย  ทางด้านการเรียนของเขาก็อยู่ในระดีบดี  จากรายงานการเรียนของวากเนอร์  ปรากฏว่า มีความประพฤติดี  มีความขยันหมั่นเพียรดี  และผลการเรียนก็อยู่ในขั้นดี
ใน ปี ค.ศ. 1826  แม่ได้ปล่อยวากเนอร์อยู่ที่เดรสเดนเพียงคนเดียว  เพราะกำลังเรียนอยู่  ส่วนแม่และพี่สาวได้ย้ายไปยู่กรุงปร๊าค  เขาจึงไม่เอาใส่ต่อการเรียนมากนัก  แลละได้หันมาสนใจกับการแต่งบทละคร   เขาได้พยายามศึกษางานของเชคสเปียร์  เช่นเรื่อง             Hamlet, macbeth,  และ King Lear   อันเป็นบทละครที่มีชื่อเสียง  ในระยะนี้เขาก็ได้ฟังดนตรีของวงดนตรีอันลือชื่อ  ซึ่งได้นำเพลงของเบโธเฟนมาเล่น  ทำให้วากเนอร์เริ่มคิดฝันในหารแต่งเพลง  แทนการเขียนบทละครหรือากรแสดงที่เขาเคยใฝ่ฝันมาแต่ต้น  แต่อย่างไรก็ตามก็แต่งบทละครเรื่อง  Leubald   ไปพร้อมกับศึกษางานของเบโธเฟนและเกอเต้
ปี ค.ศ. 1827  เขาเดินทางมาอยู่กับแม่ที่เมืองไลพ์ซิกอีกครั้งหนึ่ง  และในปี 1828 เข้าศึกษาต่อที่ St.Nicholas  ในไลพ์ซิก  วากเนอร์เริ่มสนใจอย่างจริงจังกับการแต่งเพลง  หลังจากที่ได้ยินเพลงซิมโฟนี่ของเบโธเฟนครั้งนั้นแล้ว   เขาได้ศึกษาเรื่องการแต่งเพลงและประสานเสียง  โดยอาศัยตำราที่ได้ยืมมาจากห้องสมุด Wieck’s Library  แห่งท้องถิ่นนั้น  เริ่มเรียนการเล่นไวโอลินและศึกษาทางด้านทฤษฎีไปด้วย   เขาใช้เวลาศึกษากับสิ่งเหล่านี้อย่างคร่ำเคร่ง
ในปี ค.ศ. 1829  วากเนอร์ได้ฟังเพลงของเบโธเฟนอีกครั้งที่ไลพ์ซิก  มีเพลง  Fidelio  อันมีชื่อเสียงของเบโธเฟนด้วย จึงบันดาลใจให้เขาเขียนเพลง โอเวอร์เจอร์ (Overture) in b – Flat Major  ขึ้นในปี ค.ศ. 1830  และได้นำออกแสดงในปีเดียวกัน  การแสดงครั้งแรกนั้นไม่ได้รับความสนใจมากนัก
ในปี ค.ศ. 1831 วากเนอร์ได้เรียนเรื่องการประสานเสียงกับครูผู้หนึ่งชื่อ ธีโอดอร์  ไวน์ลิก (Theodor Weinlig)   และได้เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยไลพ์ซิก (Leipzig University) และในปีนี้ก็แต่งโอเวอร์เจอร์  (Overture) in D Major   สำเร็จพร้อมกับเพลงอื่น ๆ อีกหลายเพลง
ปี ค.ศ. 1832  เลิกเรียนกับครูที่ชื่อไวน์ลิก  มาสนใจในการแต่งเพลงซิมโฟนี่ (C Major Symphony)  และเพลงโอเวอร์เจอร์
อีก 2 เพลง  พร้อมกับเพลงอื่น ๆ อีกหลายเพลง   จากนั้นเขาก็เดินทางเที่ยวไปยังเวียนนาและกรุงปร๊าค  ที่ปร๊าคนี่เอง  ได้มีการแสดงซิมโฟนี่ของเขา  โดยคณะนักศึกษา  Student of Conservatoire   เขาเริ่มเขียนบทเพลงและโน้ตเพลงอุปรากรเรื่องแรกที่ชื่อว่า ‘Die Hochzeit’  หรือ ‘The Wedding’  ในภาษาอังกฤษ  แต่ไม่สำเร็จ  และเขาก็เลยทำลายมันเสีย  แล้วเริ่มเขียนเรื่องใหม่อีกเรื่องหนึ่งชื่อ  ‘Die Feen’  หรือ ‘The Fairies’  สำเร็จในปี ค.ศ. 1834  ขณะที่วากเนอร์มีอายุ 21 ปีพอดี  และในฤดูใบไม้ร่วงของปีนี้เอง  วากเนอร์ได้เข้าทำงานเป็นหัวหน้าวงดนตรี  ประจำโรงละครที่มักเดบูร์ก (Magdeburg) และได้เขียนอุปรากรเรื่องที่ 3 ชื่อ ‘Das Liebesverbot’  หรือ  ‘Forbidden Love’   และแล้วเขาก็ป่วยเป็นโรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas)   อยู่หลายวัน  ที่โรงละครมักเดบูร์กนี่เอง  ทำให้เขาได้รู้จักกับ มินนา พลันเนอร์  (Minna  Planer)  นักแสดงสาวสวยผู้หนึ่ง  ซึ่งทำให้วากเนอร์หลงรักอย่างจับใจ
ใน ปี ค.ศ. 1835  วากเนอร์ได้นำโคลัมบัส  โอเวอร์เจอร์   (Columbus Overture)   ของเขาออกแสดงที่มักเดบูร์ค 
ต่อมา ค.ศ. 1836   หลังจากได้นำเอา  Das Liebesverbot  ออกแสดงแล้ว  เขาก็ได้แต่งงานกับมินนา  พลันเนอร์  นักแสดงสาวสวยที่เขาหลงรักนั้น  เมื่อแต่งงานแล้ว  ชีวิตสมรสหาได้ราบรื่นอย่างที่หวังกันไว้ไม่  เพราะเท่าที่ทราบกัน  วากเนอร์หนีความยุ่งยากในเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ไม่พ้น  ก่อนแต่งงานก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว  ดังนั้นชีวิตสมรสมันจะราบรื่นไปได้อย่างไร  ในเทื่อขาดองค์ประกอบสำคีญคือเงิน   แม้วากเนอร์จะถืออุดมคติเรื่องความรักว่า  ไม่สำคัญที่เงินก็ตาม  แต่ไม่ใช่เพราะเงินนี่เองหรือที่ทำให้ต้นรักไม่งอกงามเท่าที่ควร   ชีวิตภายในครอบครัวมีแต่เรื่องระหองระแหง  มินนา  เป็นปากเสียงกับเขาเรื่อย ๆ บางครั้งถึงกับประณามวากเนอร์ว่าเป็นนักแต่งเพลงถึงแตก  มีหนี้สินท่วมตัว  ชีวิตของนักแต่งเพลงผู้นี้เข้มข้นเนื่องจากความจนนี่เอง  และความจนนี่อีกเช่นกันที่ผลักดันให้เขาต้องระเหเร่ร่อนไปในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อหลบเจ้าหนี้บ้าง  เพื่อทำมาหากินบ้าง  วากเนอร์มีหนี้สินมากมายอย่างน่าใจหาย
สถาน ที่แห่งแรกที่วากเนอร์และภรรยาต้องเนรเทศตัวเองจากไลพ์ซิกไปอยู่คือเมือง ริกา  (Riga)  มินนาร้องเพลงอยู่ที่เมืองนั้น  ส่วนวากเนอร์ได้งานเป็นผู้กำกับวงดนตรีอยู่ในโรงละครอุปรากร ในเมืองนั้นเช่นกัน  สองสามีภรรยาช่วยกันทำมาหากินไปตามกำลังความสามารถของตน  แต่แล้วพายถร้ายแห่งชีวิตก็ก่อตัวขึ้น  พัดคนทั้งสองให้ล่องลอยต่อไปตามยถากรรม  เมื่อวากเนอร์เกิดทะเลาะวิวาทกับผู้จัดการโรงละครอุปรากรแห่งนั้น  วากเนอร์ลาออกและเกิดความเบื่อหน่ายเมืองริกาขึ้นมา   เขาตกอยู่ในภาวะชีพจรลงเท้า”  เสียแล้ว  ดังนั้นในปี ค .ศ. 1839  เขาจึงตัดสินใจลองไปเสี่ยงโชคในนครปารีสดูบ้าง   เผื่อว่าอาจจะมีโอกาสได้งานดีและเหมาะสม  ได้เงินมาเพียงพอแก่การครองชีพต่อไป
เนื่องจากการ ครองชีพบีบคั้นอีกเช่นเคย วากเนอร์และมินนาพร้อมกับรอบเบอร์ (Robber) สุนัขขนาดใหญ่ของเขาได้ลงเรือเล็ก ๆ ลำหนึ่งชื่อ Thetis โดยมีกรุงปารีสมหานครแห่งความสวยงามเป็นจุดหมายปลาย  จุดประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งที่วากเนอร์เลือกไปแสวงหาโชคในกรุงปารีสครั้ง นี้  ก็ด้วยต้องการจะหาชื่อเสียงในการแต่งอุปรากรให้ได้
การ เดินทางครั้งนี้กินเวลาถึง 3 อาทิตย์ครึ่ง  ต้องเผชิญ กับพายุร้ายในทะเลอีก 2 ครั้ง  จนต้องเข้าหลบพายุตามแถบชายฝั่งนอร์เวย์ซึ่งเป้นทางไปสู่อังกฤษ   แต่ในที่สุดแสงแห่งความหวังอันเลือนลางได้ฉายลงมาที่เรือลำนั้น   เมื่อวากเนอร์ได้มีโอกาสฟังนิยายปรำปราจากชาวเรือเล่าถึงชาวฮอลันดาคนหนึ่ง  ถูกสาปให้ต้องแล่นเรือเร่ร่อนไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีวันสิ้นสุดจนกว่าจะสิ้นโลก  หรือพบหญิงคนหนึ่งที่รักเขาอย่างแท้จริงนั่นแหละ  เขาจึงจะพ้นคำสาป  เมื่ออกาสทองมาถึงเช่นนี้แล้ว  วากเนอร์หาได้ปล่อยโอกาสทองนั้นหลุดลอยไปไม่  เขารีบตะครุบไว้ทันที  วากเนอร์ยึดเอานิยายปรำปรานั้นเป็นเค้าโครง (Plot)   เขียนอุปรากรขึ้นมาเรื่องหนึ่งไปเสร็จสมบูรณ์ที่กรุงปารีส  อุปรากรเรื่องนั้นเป็นอุปรากรอมตะที่ยั่งยืนมาตราบเท่าทุกวันนี้  ชื่อของอุปรากรเรื่องนั้นคือ  ‘the Flying Dutchman’
(Der fliegende Hollander)  เมื่อมาอยู่ในกรุงปารีส  การดำเนินชีวิตของสองสามีภรรยาคู่นี้ยังแร้นแค้นเช่นเคย  อุปรากรเรื่อง ‘The Flying Ducthman’   ก็ยังไม่มีใครรับแสดง  แต่วากเนอร์ก็ยังคงไม่ละความพยายามในการเขียนอุปรากร  เขาได้เขียนอุปรากรสำเร็จอีกเรื่องหนึ่งชื่อ  Rienzi   ซึ่งเริ่มเขียนเมือ ค.ศ. 1838  วากเนอร์ก็พยายามวิ่งเต้นจะนำออกแสดงให้ได้  เพราะเขาร้อนเงินเหลือเกิน  แต่ก็ยังไม่มีวี่แววเลยว่า  การวิ่งเต้นของเขานั้นจะสัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมาย
แต่แล้วในที่สุด  สวรรค์ก็ยังมีเมตตานักแต่งเพลงและนักเขียนอุปรากรผู้นี้อยู่  ทั้งนี้โดยราชสำนักกษัตริย์แห่งแซกโซนี่
(King of  Saxony) จะได้อุปถัมภ์ให้วากเนอร์ได้เป็นผู้นำวงดนตรีของราชสำนักในโอกาสต่อไป
โชค ดีที่สวรรค์หยิบยื่นให้แก่เขาครั้งนี้  เนื่องมาจากโรงละครอุปรากรในแดรสเดนได้นำอุปรากรของเขาไปแสดง  และได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม  นั่นเป็นก้าวแรกที่พาวากเนอร์ผู้พเนจรก้าวต่อไปถึงราชสำนักของกษัตริย์แห่ง แซกโซนี่  อุปรากรที่นำออกแสดงที่ได้รับความสำเร็จอย่างงดงามคือ  The Flying Dutchman  และ Rienzi  ซึ่งแสดงในปี  1843
ต่อ จากนั้น วากเนอร์ได้แต่งเพลงและอุปรากรอีกหลายชิ้น  ได้รับความนิยมบ้าง  ไม่ได้รับบ้าง จนมีผู้กล่าวกันว่า  เพลงและอุปรากรที่วกเนอร์แต่งขึ้นนั้นมีขึ้นลงเหมือนชีวิตของผู้แต่งเองไม่ มีผิด  ซึ่งวากเนอร์เองย่อมรู้ความจริงข้อนี้ดี  แต่เขาก็คิดเสมอว่าจะไปเอาอะไรแน่นอนกับสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้  เรามีหน้าที่อย่างเดียวคือมุ่งหาความสำเร็จให้ได้ ผลจะออกมารูปใดก็ช่างสวรรค์ปะไร  ความคิดเช่นนี้เอง  ที่ทำให้วากเนอร์ไม่ยอมสยบหัวให้แก่โชคชะตา เขาแต่งเพลงและอุปรกรของเขาต่อไป  อุปรากรชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง  ซึ่งเขาได้แต่งขึ้นคือเรื่อง ทัน์ฮอยส์เออร์” (Tannhauser) สำเร็จในปี ค.ศ. 1845  นำออกแสดงที่เครสเดนในปีนั้นแต่ไม่ประสบผลสำเร็จดังหวังไว้
แต่ อย่างไรก็ตาม  ชีวิตในตอนนี้ของวากเนอร์รู้สึกว่าปลอดโปร่งขึ้นบ้าง  เขาได้รับความสำเร็จทั้งในด้านการงานและความเป็นอยู่  โดยที่ฐานะของเขาค่อยดีขึ้นเป็นลำดับ ค.ศ. 1847  วากเนอร์ได้เขียนอุปรากรอีกเรื่องหนึ่งชื่อ  Lohengrin  แต่แล้วโดยที่วากเนอร์ได้เข้าร่วมกับฝ่ายปฏิวัติต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล  ซึ่งถ้าฝ่ายปฏิวัติชนะเขาก็คงเป็นใหญ่เป็นโตเสียที  และจะได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนให้โลกรู้เสียบ้าง  แต่แล้วเหตุการณ์ณ์ไม่เป็นไปตามความคาดคะเนของเขา  วากเนอร์จึงต้องตกที่นั่งลำบากอีก  ทั้งนี้เพราะฝ่ายปฏิบัติแพ้  การกระทำทุกอย่างของเขาจึงผิดกฎหมาย  ดังนั้น เขาจึงต้องพามินนาไปหาลิสท์  (Liszt)  ที่ไวมาร์  และลิสท์พาเขาหนีออกไปสู่สวิตเซอร์แลนด์  เพื่อลี้ภัยการเมืองที่ตัวเขาได้ก่อขึ้นนั่นเอง
เมื่อ ลางร้ายมาแบบนี้  ความยุ่งเหยิงมันก็มักจะยกขบวนตามกันมาเรื่อย ๆ เมื่อวากเนอร์ลี้ภัยทางการเมืองมาอยู่สวิตเซอร์แลนด์นั้น  เขาก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนใหม่ 2 คน คือ มาธิลเด (Mathilde)  และ  ออตโต เวเซนด้งค์ (Otto Wesendonk)  ซึ่งช่วยจัดสถานที่ให้พักอาศัย  มาธิลเดเป็นหญิงสาวสวย  ดังนั้น  วากเนอร์จึงเริ่มแสดงความเจ้าชู้ออกมาทันที โดยไม่คำนึงว่าการกระทำเช่นนั้น ของตนจะทำให้มินาคู่ทุกข์คู่ยากมาตั้งแต่ต้นจะช้ำใจเพียงใด  วากเนอร์อาจจะคิดว่าการแสดงบทรักต่อมาธิลเดนั้น  เป็นการแสดงความกตัญญูต่อมาธิลเด  ในการที่เธอจัดหาที่พักให้ก็ได้  อย่างไรก็ตาม  มินนาได้พยายามขัดขวางทุกวิถีทาง  จนกระทั่งคนทั้งสองไม่อาจร่วมหอลงโรงกันได้
แต่ อย่างไรก็ดี  เรื่องชู้สาวของวากเนอร์ยังคงดำเนินต่อไป  ซึ่งเกือบจะเกิดการหย่าร้างกับมินนาเสียแล้ว  ขณะที่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์นั้นเงินทองที่สะสมไว้ก็ชักจะร่อยหรอลงไป  เขาจึงเดินทางไปฝรั่งเศสบ้างเป็นบางครั้งบางคราว  ในขณะที่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์  ทั้งนี้ก็เพื่อหาเงินมาเป็นทุนสำรองต่อไป  แต่คราวใดที่วากเนอร์ไปฝรั่งเศส  เรื่องชู้สาวเป็นต้องตามมาถึงหูของมินาทุกคราว  ซึ่งเธอก็ได้แต่นั่งกลืนน้ำตาอยู่อย่างช่วยอะไรไม่ได้
เรื่อง ชู้สาวของวากเนอร์ยังไม่จบอยู่แค่ฝรั่งเศสเท่านั้น  มันดำเนินต่อไปจนถึงจุดยุติเอาในเยอรมันบ้านเกิดเมืองนอนของตนเข้าทำนอง  “กลับไปตายรัง”  เรื่องมีอยู่ว่า ก่อนที่วากเนอร์จะลีภัยการเมืองไปอยู่สวิตเซอร์แลนด์นั้น  เขาได้มอบอุปรากรเรื่อง Lohengon  ให้ลิสท์นักดนตรีเอกนำออกแสดง  ซึ่งลิสท์ก็จัดการไปตามความประสงค์ของเขาทุกอย่าง  ลิสท์มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อ โคสิมา (Cosima) โคสิมาผู้นี้แหละที่รักวากเนอร์อย่างแท้จริง   แต่ในที่สุดโคสิมาก็ต้องแต่งงานกับผู้กำกับดนตรีวคนหนึ่ง
ชื่อ แฮนส์  ฟอน บือโลว์  (Hans Von Bulow) ถึงแม้ทั้งสองต่างคนต่างมีคู่ครองแล้วก็ตาม  ก็ยังรักกันอย่างดูดดื่มเสมอ  โคสิมาเองนั้นเคยเป็นกำลังใจให้วากเนอร์แต่งเพลงและอุปรากรที่มีชื่อเสียง หลายเพลงหลายเรื่อง
ความรักย่อมหาทาองได้เสมอ”  จะเป็นคำพูดของท่านผู้ใดก็ตาม  รู้สึกว่ามีความจริงอยู่เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ทีเดียว  เพราะวากเนอร์และโคสิมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว  ด้วยการที่คนทั้งสองได้แต่งงานกันในที่สุด  แม้ว่าจะต้องกินเวลานานบ้างก็ตาม  โดยที่ฝ่ายโคสิมาได้หย่ากับสามีผู้กำกับวงดนตรีเสีย  และมินนาของวากเนอร์ก็เผอิญมาตายไปก่อน  วากเนอร์ได้แต่งงานกับโคสิมาเมื่อ ค.ศ. 1870  ขณะที่เขามีอายุ  57  ปี  และมีบุตรด้วยกัน คน  ในวันเกิดของโคสิมาปีหนึ่ง วากเนอร์ได้แต่ง  Siegfriec dyll  ให้เป็นของขวัญแก่เธอ  ซึ่งเป็นเพลงที่ไพเราะมากที่สุด  ยิ่งเมื่อได้โคสิมามาอยู่ข้าง ๆ เช่นนี้วากเนอร์ก็ยิ่งแต่งเพลงและอุปรากรมากยิ่งขึ้น  จนกระทั่งชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วเยอรมัน  เป็นผลให้เขาได้กลับไปบ้านเกิดเมืองนอนของตนได้
ใน จำนวนอุปรากรทั้งหลายที่เขาแต่งขึ้นนั้น Tannhauser นับว่าเป็นอุปรากรที่ยิ่งใหญ่แล้ว แต่นักดนตรีและผู้รักดนตรีส่วนมากก็เห็นว่าอุปรากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ วากเนอร์นั้นมีอีก  2  เรื่อง คือ ตรีสตาน  และอีโซลเดอร์  (Tristar and isolce)
สำหรับบุคลิกภาพ อุปนิสัยใจคอของวากเนอร์นั้น ดังที่ได้กล่าวมาบ้างแล้ว  วากเนอร์เป็นคนมีหัวริเริ่ม ชอบปฏิวัติสิ่งเก่า ๆ ให้ดีขึ้น  ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขาเคยร่วมกับคณะปฏิวัติจนต้องระเหเร่ร่อนไปอยู่ต่าง ประเทศ  ในทางดนตรีเขาก็ตั้งหน้าตั้งตาปฏิวัติให้ดีขึ้นตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสม  ได้รับความนิยมบ้าง  ไม่ได้รับบ้าง  ลักษณะประการหนึ่งที่เด่นชัดในตัวของวากเนอร์ก็คือ  การเอาแต่ใจตัวเอง  เขาถือว่าเพลงที่เขาแต่งขึ้นมาก็ดี  และอุปกรกาที่เขาเขียนขึ้นก็ดี  มันได้รับการกลั่นกรองมาเป็นอย่างดีแล้ว  ดังนั้นในปี ค.ศ. 1845  เมื่อผู้แสดงเป็นตัววินัส  (Venus)  ในอุปรากรเรื่อง Tannhauser  พูดกับวากเนอร์ว่า เธอเองยอมรับว่าวากเนอร์นั้นเป็นนักแต่งเพลงที่อัจฉริยะคนหนึ่งจริง  แต่เพลงที่วากเนอร์แต่งนั้นเธอไม่อาจร้องได้  เพราะมันไม่เหมือนกับที่คนอื่น ๆ แต่ง  ซึ่งคำพูดของผู้แสดงเป็นวีนัสคนนี่เองที่ชี้ให้เห็นว่าวากเนอร์ได้เริ่ม ปฏิวัติทางดนตรี  มีการพูดกันโดยทั่วไปในวงการละครอุปรากรทั่วโลกว่า เพลงที่วากเนอร์แต่งนั้นไม่เหมือนคนอื่น  เพราะมันยากจนนักร้องร้องไม่ได้
วากเนอร์ ไม่แคร์อะไรทั้งสิ้น  เขาถือว่าเพลงที่เขาแต่งนั้นเขากลั่นกรองออกมาจากมันสมอง  เมื่อนักร้องคนหนึ่งไม่อาจร้องได้เขาก็หาคนอื่นมาร้องแทน  เพราะเขาถือว่านักร้องเป็นเพียงเครื่องมือใหม่มารแทน
วากเนอร์ เป็นคนที่ไม่ค่อยยอมลงกับใคร  หรือยกเว้นให้แก่ใครง่าย ๆ แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นพ่อแม่ เพื่อนผู้ร่วมงาน  หรือแม้กระทั่งกษัตริย์ก็ตาม  เพราะฉะนั้น เพลงแต่ละเพลง  อุปรากรแต่ละเรื่องของเขาในศตรวรรษที่ 19  จึงฟังดูพิลึก ๆ ชอบกล
ชีวิต ในบั้นปลายของวากเนอร์เป็นในทำนองต้นร้ายปลายดี  เพราะเขาได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญกับโคสิมา  จนกระทั่งเธอตายในวันเกิดครบรอบ  59  ปี ของวากเนอร์นั่นเอง  ชาวเยอรมันได้วางศิลาฤกษ์โรงละคร  Festival Theater  ขึ้นในเมือง Bayreuth และบ้าน Wahnfried สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่วากเนอร์  และให้เป็นที่อยู่ของเขา เพราะชาวโลกได้ยอมรับแล้วว่า  วากเนอร์เป็นนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของโลก  วากเนอร์มีชีวิตอยู่ทันชมอุปรากรเรื่อง Parsifal  ที่เขียนสำเร็จในเดือนมกราคม ค.ศ.  1882  อันเป็นอุปรากรเรื่องสุดท้ายของเขา  ซึ่งเปิดแสดงเป็นปฐมฤกษ์ที่โรงละคร  Festival Theater  แห่งเมือง   Bayreuth  เมื่อวันที่  26  กรกฎาคม  ค.ศ. 1882  ได้ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง
(ซึ่งพอถึงวันนี้  โรงละครนี้จะนำอุปรากรของวากเนอร์มาแสดงทุกปี เพิ่งมาหยุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่  2  นี่เอง)  หลังจากไปชมอุปรากรของตนในวันนี้แล้ววากเนอร์ก็ล้มป่วย  เขาจึงเดินทางไปเวนิส (Venice)  พร้อมด้วยครอบครัว  และได้จบชีวิตลงด้วยโรคหัวใจวายอย่างกระทันหัน  เมื่อวันที่  13  กุมภาพันธ์  ค.ศ. 1883  ที่เมืองเวนิส  ประเทศอิตาลี  เขามีอายุได้  70  ปี ศพของวากเนอร์ได้ฝังไว้ที่สวนในบ้าน Wahnfried  ของเขาในเมือง  Bayreuth  เมื่อวันที่ 18  กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1883  ต่อมา ค.ศ. 1930  จึงได้นำศพภรรยาคนที่ 2 ของเขามาฝังไว้ข้างเคียงกันที่นั่นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น