วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Franz Schubert 1797 – 1828


ฟรันซ์  ชูเบอร์ต
Franz Schubert

1797 – 1828
ชีวิตของชูเบอร์ต เป็นประเภทที่เกิดมาเพื่อสร้างความจรรโลงให้แก่มวลมนุษย์ของโลก 
แต่ตัวเขาเองนั้น ตลอดชีวิตจะหาความสึขแม้แต่น้อยก็ทั้งยากชีวิตของเขามีแต่ความระทมทุกข์
ความผิดหวังและความเศร้าเขาเป็นคนที่จนทรัพย์ แต่ไม่อับจนปัญญาเขาต้องต่อสู้กับความยากจนไปตลอดชีวิต
แม้แต่จะแต่งงานแบเขาสักทีก็ไม่อาจทำได้เพราะขาดเงิน ในชีวิตอันสั้นของเขา เขาได้แต่งเพลงไว้มากพอควร
แต่เพลงเหล่านั้นไม่ช่วยตัวเขาให้พ้นจากความอดยากยากจนเลยขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
เพราะว่าไม่มีใครสนใจจะเหลียวแล  ซ้ำร้ายบทเพลงยังถูกผู้จัดพิมพ์หน้าเลือดกดราคาเสียอย่างไม่ปราณี
แต่เมื่อชีวิตของเขาหาไม่แล้วนั่นซิ เพลงต่าง ๆ ของเขาจึงเกิดมีคุณค่า 
กลายเป็นสมบัติอันล้ำค่าและเป็นเพลงอมตะอยู่ในโลกทุกวันนี้ โดยที่เจ้าตัวไม่มีวันที่จะได้ชื่นชมกับผลงาน
อันบรรเจิดจ้าของตัวเองเลย  ชีวิตนักดนตรีเอกของโลกผู้นี้ช่างอาภัพเสียจริง ๆ
ฟรันซ์ ซีราฟ ปีเตอร์ ชูเบอร์ต  (Franz Seraph Peter Schubert)   เกิดเมื่อเวลาบ่ายโมงครึ่ง
ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1797(พ.ศ. 2340) ที่หมู่บ้านลิชเทนตัล  (Lichtental) นอกกรุงเวียนนา
บิดาชื่อ ฟรันซ์ ธีโอเดอร์ ชูเบอร์ต (Franz Theodor Schubert) มีเชื้อสายเป็นชาวโมราเวียน(Moravian)
และออสเตรียน ซีเลเซี่ยน  (Austrain – Silesian) เมื่ออายุ 18 ปี  ได้เดินทางมาสู่กรุงเวียนนาเพื่อจะ
มาหาอาชีพทางการเป็นครูสอนหนังสือตามโรงเรียน (School master)  ตอนแรกที่มาสมัครทำงานได้รับตำแหน่ง
เป็นครูผู้ช่วยสอนหนังสือ(Assistant Instructor) ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในลีโอโปลด์สตัดท์ (Leopoldstadt)
ซึ่งเป็นที่ที่พี่ชายของเขาชื่อ คาร์ล (Karl)ได้มาเป็นครูสอนอยู่ที่นี่หลายปีมาแล้ว จากากรทำงานเป็นครูที่นี่
ธีโอดอร์ มีรายได้น้อยมาก จะเลี้ยงตัวเองก็แทบจะไม่พออยู่แล้ว ถึงกระนั้นก็ตาม  ธีโอดอร์ก็ตัดสินใจกับ
มาเรียเอลิซาเบธ วิทย์ (Maria Elizabeth Vietz) ซึ่งเป็นแม่ครัวที่มีแหล่งเดิมอยู่ที่ซุคเมนเดิลในซีเลเซีย
(Zuckmantel in Silesia) และมีอายุแก่กว่าธีโอดอร์ตั้ง 7 ปี  มีลูกด้วยกันทั้งหมด 14 คน
แต่ตายเสียยังเล็ก ๆ อยู่ 9 คน   ที่เหลืออยู่ก็มีคนหัวปีชื่อ อิกเนซ (Ignaz) เฟอร์ดินันด์ (Ferdinand)
คาร์ล (Karl เทเรเซ (Therese)  แล้วก็ฟรันซ์  ปีเตอร์ (Franz Peter) ซึ่งเป็นคนที่ 12
ฟรันซ์ ธีโอดอร์ เลี้ยงลูกเหล่านี้มาด้วยความยากจนข้นแค้นเพราะมีรายได้น้อย 
การดำเนินชีวิตของครอบครัวนี้จึงเป็นเพียงแต่พอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น แต่ถึงกระนั้น    
ธีโอดอร์ ก็ได้ทำตนเป็นพ่อที่ดีของลูก ๆ เสมอ  เขามักจะใช้เวลาว่างมาเอาใจใส่จดจ่อกับลูก ๆ ทุกคน  เช่นการสอนดนตรีให้บ้างเล่นดนตรีให้ลูกฟังบ้างเพราะธีโอดอร์เป็นนักเชล โลสมัครเล่นที่มีฝีมือดีคนหนึ่ง
พ่อเป็นคนแรกที่ปลูกฝังนิสัยทางดนตรีให้แก่ชูเบอร์ต  ขณะที่เขามีอายุได้ 5 ขวบ
พ่อก็เริ่มสอนวิชาเบื้องต้นให้  พออายุได้ 6 ขวบ  ก็เข้าโรงเรียนประถมที่พ่อของเขาสอนอยู่
และได้เริ่มฝีกหัดเปียโนบ้าง   อายุ 8 ขวบ  พ่อก็สอนชูเบอร์ตเล่นไวโอลิน  และทำการฝึกซ้อมให้อย่างสม่ำเสมอ 
ในไม่ช้าชูเบอร์กก็สามารถเล่นเพลงดูเอท (Duet)  อย่างง่าย ๆ ได้เป็นอย่างดี
ส่วนเปียโนนั้น  ชูเบอร์ตได้รับการฝึกอบรมจาก อิกเนซ (Ignaz)  พี่ชายของเขา
ชูเบอร์ตเรียนวิธีเล่นและเทคนิคตลอดจนเพลงต่าง ๆ ที่พี่ชายสอนให้ได้อย่างรวดเร็ว  เรียนอยู่ 2 – 3 เดือน 
พี่ชายก็หมดภูมิที่จะสอนให้ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1806 พ่อจึงส่งไปเรียนร้องเพลง, เปียโน, ออร์แกน
และเคาน์เตอร์ปอยท์ (Counterpoint)กับไมเคิล โฮลเซ่อร์  (Michaeal Holzer) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมนักร้อง
ประจำโบสถ์แห่งลิชเทนดัล จนโฮลเซ่อร์หมดภูมิที่จะสอนให้เช่นเดียวกัยอิกเนซ 
ต่อมากก็ลองให้ชูเบอร์ตร้องเพลงพอโฮลเซ่อร์ได้นินเสียงเพลงของชูเบอร์ตก็ตกตะลึงเพราะว่าเสียงของ
เด็กน้อยชูเบอร์ตนั้นไพเราะแจ่มใสอย่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้นในระหว่างที่หยุดพัก โฮลเซอร์จึงอนุญาตให้หนูน้อย
ชูเบอร์ตเล่นออร์แกน พร้อมกับร้องเพลงสวด (Hymn) คลอไปด้วย  ต่อจากนั้นก็ให้หัดไล่เสียง
สูงต่ำเปลี่ยนคีย์ไปมา และสอนวิธีเล่นไวโอลินและเปียโนเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย  ให้เรียนรู้ตัวโน้ตต่าง ๆ ที่ใช้เล่นไวโอลา
และได้แนะนำให้รู้จักเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีก โฮลเซอร์กล่าวถึงชูเบอร์ตว่า
เป็นเด็กที่มีการประสานเสียงอยู่ในนิ้วอันเรียวเล็กของเขา”  (The lad has harmony in his little finger)
และในตอนนั้นถ้ามีเวลาว่าง  ชูเบอร์ตมักจะไปขอดีดเปียโนไล่เสียงเล่นตามร้านขายเปียโนบ่อย ๆ
ในระยะนี้พอดีมีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งชื่อ วีนเนอร์ ไซตุง  (Weiener Zeitung) 
ประจำวันที่  28 พฤษภาคม ค.ศ. 1808  ได้ลงประกาศแจ้งความว่า อิมพีเรียล ชาเปิล (Imperial Chapel)
ต้องการนักร้องรุ่นจิ๋ว 2 คนเพื่อบรรจุเข้าแทนตำแหน่งนักร้องประจำโบสถ์ที่ว่างลง 
เมื่อพ่อของชูเบอร์ตเห็นข่าวนี้ก็ดีใจและเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะให้ลูกก้าวหน้าในชีวิต
เพราะถ้าใครเป็นนักร้องประจำโบสถ์แล้วจะได้เรียนฟรีอยู่กินก็ไม่ต้องเสียเงินและที่อิมพีเรียล คอนวิคท์
(Imperial Konvikt)  นี้  ถ้าเด็กคนใดที่ร้องเพลงดี  มีความประพฤติและมีการเรียนดีเด่นเป็นที่น่าพอใจ
ถึงแม้ว่าเสียงจะเปลี่ยนไปเพราะโตขึ้นก็มีสิทธิที่จะอยู่ประจำโวสถ์ต่อไปได้อีก
คอนวิคท์ (Konvikt)  ในอดีตนั้นเป็นโรงเรียนเยซูอิท (Jesuit School)  แต่ถูกพระเจ้าโจเซฟที่ 2
สั่งปิดเป็นเวลานาน  เพิ่งจะมาเปิดใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1802  โดยบัญชาของพระเจ้าจักรพรรดิ์ฟรันซ์
(Emperor Franz)   ในความอำนวยการของไพริสท์ (Piarists)  และเป็นสาขาของเยซูอิท  รับนักเรียนชั้นกลางและชั้นสูง
และนักเรียนจะต้องเป็นนักร้องด้วย  มีด้วยกันทั้งหมด 10 คน  ในจำนวนนี้ 8 คน  เป็นผู้ได้รับทุนการร้องเพลง
จากโบสถ์ แอมฮอฟ (Church Amhof)  อีก2 คน รับสมัครจากบุคคลภายนอกโดยการสอบแข่งขัน
ดังนั้น  พ่อจึงนำชูเบอร์ตไปสมัครเพื่อแข่งขันที่คอนวิคท์ตามที่ประกาศนั้น  ขณะนี้ชูเบอร์ตมีอายุ 11 ขวบ
อธิการของคอนวิคท์ชื่อ ฟาเธอ อินโนเซนส์ ลัง (Father Innocenz Lang) เป็นคนเข้มงวดกวดขัน
ในเรื่องระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดถือไม้เรียวคอยเฆี่ยนผู้ฝ่าฝืนกฏข้อบังคับเป็นประจำ
นักเรียนจึงพากันกลัวมากทีเดียว
ต่อมาก็มีการตั้งกรรมการเพื่อจะทำการสอบคัดเลือกนักเรียนที่สมัครเข้าแข่งขันเป็น
นักร้องประจำโบสถ์  ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1808 ในคณะกรรมการการคัดเลือกครั้งนี้ก็มีบุคคลที่สำคัญคนหนึ่ง
ชื่ออันโตนิโอสเลียรี (AntonioSalieri)ซึ่งเป็นบุคคลที่มีคนนับหน้าถือตาตลอดทั่วทั้งเวียนนา
เป็นนักแต่งอุปรากรที่มีชื่อเสียงมีเชื้อชาติอิตาลีเป็นศิษย์เอกยองกลุ๊ค(Gluck) เป็นสหายคนสนิทของไฮเดิน
และครูคนหนึ่งของเบโธเฟน  และเป็นคู่ปรหักษ์กับโมสาร์ท ส่วนคนอื่นในคณะกรรมการนี้ก็มี
ผู้ควบคุมนักร้องชื่อไอย์เบลอร์(Eybler)ฟิลิปคอร์เนอร์(PhilipKorner) ครูสอนร้องเพลงประจำอยู่ที่คอนวิคท์
ชูเบอร์ต  เป็นคนหนึ่งที่ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการพร้อมคนอื่น ๆ ที่เป็นนักร้อง
ประเภทเสียง โซปราโน  (Soprano)  ซึ่งได้แก่ มัลล์เนอร์  (Mullner)  ส่วนประเภทเสียงอัลโต (Alto)
นั้น  ได้แก่แมกซิมิเลี่ยน ไวสส์ (Maximilian Weisse) ชูเบอร์ตได้เข้าไปอยู่ประจำที่คอนวิคท์
ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1808 จากนิสัยขี้อายที่ติดตัวเขามาแต่อ้อนแต่ออกนี้เอง จึงทำให้เขาเข้ากับเพื่อน ๆ
ได้ไม่ค่อยสนิทสนมนัก  และมักจะหลบหลีกเพื่อนเสมอ ๆ เมื่อเขาได้โอกาส
เรื่องอาหารการกินที่นับว่าค่อนข้างจะเลวและอัตคัดขัดสนอยู่สักหน่อย   ชูเบอร์ตทนอดอยาก
อยู่อย่างนั้นมาได้ 4 ปี  ก็คงจะทนต่อไปอีกไม่ไหวจึงได้เขียนจดหมายไปถึงเฟอร์ดินานด์พี่ชาย 
ขอร้องให้พี่ส่งเงินมาให้สักเดือนละ 2 – 3 ครุทเซอร์   (Kreutzer)(1)  เพื่อจะซื้อขนมและแอปเปิ้ลกินแก้หิว
เพราะหลังจากอาหารกลางวันแล้วกว่าจะถึงเวลาอาหารเย็นก็เป็นเวลาห่างกันตั้ง 8 ชั่วโมงครึ่ง  
อาหารกลางวันที่รับประทานก็ไม่ค่อยเต็มเม็ดเต็มหน่วย  จึงทำให้ชูเบอร์ตหิวแสบท้องจนจะทนไม่ไหวอยู่แล้ว
นอกจากนั้นห้องเรียนก็มีอากาศหนาวเยือกเย็นทารุณร้ายกาจที่สุด  แต่กระนั้นห้องดนตรีนี้ก็มีเครื่องดนตรีอยู่พร้อมสรรพ์ 
และเป็นเครื่องดนตรีสำหรับให้นักเรียนฝึกหัดโดยเฉพาะ  ชูเบอร์ตนั่งโต๊ะตัวที่ 2 ของกลุ่มไวโอลิน 
สิ่งนี้เพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่ทำให้เขามีความสุขใจได้
ทุกคืน  ดนตรีวงนี้จะบรรเลงเพลงซิมโฟนี  และปิดรายหารด้วยเพลงโอเวอร์เจ้อ 
ถ้าเป็นในฤดูร้อนโรงเรียนจะเปิดหน้าต่างทิ้งไว้  จึงทำให้คนพากันไปออกันอยู่ที่จตุรัสใกล้ ๆ
กับตึกที่กำลังเล่นดนตรีเพื่อฟังเพลงที่นักเรียนกำลังเล่นกันอยู่  จนทำให้การจราจรติดขัดเดือดร้อน
ร้อนถึงตำรวจจราจรจะต้องมาคอยไล่อยู่บ่อย ๆ ผู้ควบคุมดนตรีวงนี้คือ  เวนเซล รูซิคสก้า  (Wenzel Rusiczka)
เป็นชาวโบฮีเมียน โมราเวียน  ผู้มีความสามารถทางเล่นออร์แกนและเป็นผู้เล่นไวโอลา
ประจำโรงละครฮอพเธียร์เตอร์  (Hoftheater)  เป็นครูสอนไวโอลินและเปียโนประจำคอนวิคท์
เป็นครูที่ดูแลชูเบอร์ตอย่างใกล้ชิด  ชูเบอร์ตจึงเคารพและรักครูผู้นี้มาก
ดนตรีวงนี้ได้เล่นเพลงต่าง ๆ รวมทั้งเพลงไฮเดิน (Haydn) โมสาร์ท (Mozart)  เชรูบินี(Cherubini)
เมอูล (Mehul) และบีโธเฟนบ้าง  ชูเบอร์ตเริ่มเข้าใจในเพลงของนักดนตรีเหล่านี้  ชูเบอร์ตชอบลีลาเพลง
ของไฮเดินตอนที่มีลีลาช้า ๆ อย่างจับใจ  และเพลงที่เขาหลงใหลที่สุดก็คือเพลงของโมสาร์ท  นับว่าเป็นการประหลาด
และอัศจรรย์ไม่น้อยเลยที่เด็กอายุเพียง 12 ขอบ  อย่างชูเบอร์ตจะพรรณนาออกมาว่า  ฟังซิมโฟนี G Minor
ของโมสาร์ททีไรมันสั่นสะเทือนเข้าไปถึงขั้วหัวใจของเขาโดยไม่รู้ว่า  ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น 
ถ้าฟังเพลงตริโอ แบบมินูเอตแล้ว  ท่านจะได้ยินเหมือนกับเสียงร้องเพลงของเทพธิดาสอดแทรกอยู่ในนั้น
ส่วนเพลงโอเวอเจ้อร์ที่มีชื่อ Marriage of Figaro นั้น  เป็นเพลงที่งดงามที่สุดในโลก
และเขากล่าวต่อไปอีกว่า  ฉันเกือบจะลืมกล่าวถึงเพลง Magic Flute  อันแจ่มใสนั้นเสียแล้วซิ
ที่ห้องรียนดนตรีนั้นโต๊ะไวโอลินตัวแรกที่ตั้งข้างหน้าของชูเบอร์ตนั้นเป็นโต๊ะของชายหนุ่ม
คนหนึ่งชื่อ โจเซฟ ฤอน สเปาน์ (Josef von Spaun)  ผู้เล่นไวโอลินคนหนึ่งในวงนั้น
มีอายุแก่กว่าชูเบอร์ตถึง 9 ปี  เป็นนักเรียนกฎหมายและปรัชญาที่มาจากเมืองลินซ์ (Linz) 
ได้ให้ความสนิทสนมรู้จักมักคุ้นชอบพอกับชูเบอร์ตจนมิตรภาพระหว่าง 2 คนนี้มีความแน่แฟ้นไปจนตลอดชีวิต
และเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติชีวิตของชูเบอร์ตอยู่ไม่ น้อย   วันหนึ่งในขณะที่เล่นดนตรีอยู่นั้น สเปาน์  ได้ยินเสียงดนตรีที่ไพเราะผิดปกติอยู่ทางเบื้องหลังเขาก็เกิดความสงสัยว่า ใครหนอเป็นผู้ทำเสียงนั้น 
จึงค่อย ๆ หันมากวาดสายตาไปรอบ ๆ ก็พบว่าเพื่อนตัวเล็ก ๆ ใส่แว่นตาหนาเตอะคนนี้เอง 
ที่เล่นได้เสียงไพเราะอย่างน่าพิศวง  และต่อมาเด็กน้อยคนเดียวกันนี้ก็ได้สร้างความประหลาดใจ
แก่เขาอีกครั้งหนึ่งภายในห้องเรียนดนตรี  ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นปานน้ำแข็ง  เพราะเด็กน้อยกำลังเล่นเปียโน
ด้วยเพลงโซตานาของโมสาร์ท  อยู่อย่างคล่องแคล่ว  พอสเปาน์เดินเข้าไปหา  ชูเบอร์ตก็ได้ปรับทุกข์กับเขาว่า
ถึงแม้ว่าจะรักเพลงโซนาตามากเพียงใดก็ตาม  แต่ก็ยังรู้สึกอยู่ว่าเพลงของโมสาร์ทนั้นเล่นยากเอาการอยู่
(นับว่าเป็นข้อสังเกตที่ถูกต้องทีเดียว)
ความเป็นอยู่ของชูเบอร์ตนั้น  อะไร ๆ มันก็ลำเค็ญไปเสียหมด  แม้แต่กระดาษที่จะใช้สำหรับ
ฝึกหัดแต่งเพลงก็หายากเต็มที  เขาจึงหาเก็บกระดาษสีน้ำตาลที่ใช้ห่อของมาตีเส้นเอาเอง
แต่กระดาษอย่างว่านี้ก็หาได้ไม่ง่ายนัก  สเปาน์รู้สึกสงสารเพื่อนคนนี้มาก  เขาจึงได้ซื้อกระดาษให้ชูเบอร์ต
สำหรับแต่งเพลง  จากนั้นชูเบอร์ตก็แต่งเพลงเป็นการใหญ่  แม้แต่ในเวลาของวิชาอื่น ๆ
เขาก็ใช้เวลานั้นแต่งเพลงเสียหมด  แต่ถึงกระนั้นก็ตาม  จากรายงานของโรงเรียนก็ไม่แสดงว่าชูเบอร์ตเป็นเด็กเกเร 
และในใบรับรองที่ผู้อำนวยการได้เซ็นรับรองมาก็เขียนไว้ว่า   ชูเบอร์ต เรียนดีและดีมาก” 
เป็นลำดับมาเกือบทุกวิชา  ที่ยังไม่ค่อยดีก็มีวิชาเลขคณิตและภาษาละตินเท่านั้น
พอพ่อทราบข่าวว่าชูเบอร์ตไม่สนใจในการเล่าเรียนวิชาอื่น  และพ่อก็มีความประสงค์จะให้เรียนทางดนตรี
เป็นเครื่องพักผ่อนอารมณ์เท่านั้นไม่ต้องการให้หมกมุ่นอยู่กับดนตรีจนเกินไปนัก   จึงได้ลงโทษลูกชาย
มิให้กลับบ้านในวันอาทิตย์และวัยหยุดนับว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรงอยู่  เพราะเท่าที่ผ่านมาแล้ว 
ถ้าถึงวันอาทิตย์และวันหยุดทีไร  ชูเบอร์ตเป็นต้องรีบกลับบ้านไปหาพ่อแม่และพี่ๆ  ทุกครั้ง
แล้วเล่นดนตรีกับครอบครัวอย่างสนุกสนาน    แต่ต่อไปนี้จะกลับไม่ได้อีกแล้ว
จากนั้นชูเบอร์ตก็ใช้เวลานั้นในการแต่งเพลงต่าง ๆ มากมาย  มีเพลง Fantasie
สำหรับเปียโน  Four – hand  ซึ่งมีโน้ตยาวถึง 32 หน้า  มีมากกว่า 12  movement 
เพลงนี้เฟอร์ดินานด์พี่ชายของเขาเรียกว่า ‘Lei-chenphantasie’ (Corpse Fantasie) 
และในขณะเดียวกันนั้น  ชูเบอร์ตก็ใช้เวลาว่างอ่านบทกวีของชิลเลอร์บ้างเล็กน้อย
และต่อมาพอถึงวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1811  เขาก็เตรียมที่จะแต่งเพลงอื่น ๆ อีกหลายเพลง
เป็นเพลงที่ใช้สำหรับเล่นกับเครื่องดนตรีหลายชนิด  รวมทั้งเพลง  Overture in D และเพลง Chamber music
อย่างที่เรียกว่า Quartet – Overture และ Quintet – Overture  และในปี 1812 
ก็มีเพลงโซนาตาสำหรับเปียโน  ไวโอลินและเชลโล  เพลง Variation in E flat และ Andant 
สำหรับเปียโน  เพลง Chamber music  อีก 2 เพลงสำหรับใช้กับเครื่องเป่า  เพลง Minuet และ Finale 
สำหรับในการเล่น 8 คน  (Octet)  ใช้เล่นด้วยปีโอโบ  ครารเนท  ฮอร์น  และบาสซูน  อย่างละคู่  
ในปี 1812 นี้เอง   แม่ของชูเบอร์ตได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคไทฟัส (ไข้ประสาท)
นำความโศกเศร้ามาสู่ชูเบอร์ตและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง  เขาแต่งเพลง Funeral Music (Kleine Trauermusik)
ซึ่งเป็นฉบับที่เขียนด้วยลายมือของเขาเองสำหรับบรรเลงในงานศพของแม่ 
พอถึงวันที่  28 พฤษภาคม ค.ศ. 1812  พ่อจึงได้อนุญาตให้ชูเบอร์ตกลับมาเยี่ยมบ้านได้
เพราะพ่อก็เห็นใจและสงสารลูกชายกำพร้าของเขา
ขณะที่อยู่คอนวิคท์  เขาได้แต่งเพลงอื่น ๆ อีก เช่น  Quartets 7 เพลง และ String Quartet 3 เพลง ‘In Changing keys’
จากความสามารถทางดนตรีของชูเบอร์ตนี้เอง  ทางคอนวิคท์ก็ได้เลื่อนอันดับให้เขาจากชั้นสองมาเป็นชั้นหนึ่ง
ของวงดนตรีโรงดรียน  ชูเบอร์ตเรียนอยู่ต่อไปอีกไม่นาน  เขาก็สามารถเรียนอะไร ๆ จากครูผู้สอนได้หมดสิ้น
จนรูซิคสก้า  ครูผู้สอนหมดภูมิที่จะสอนให้เช่นเดียวดันกับอิกเนซ  พี่ชายและโฮเซ่อร์ครูเก่าของเขาได้ประสบมา  ดังนั้นชูเบอร์ตจึงต้องเปลี่ยนไปเรียนกับครูคนใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญทาง ดนตรีสูงขึ้นไปอีก
ชื่อ สเลียรี (Salien) ชูเบอร์ตได้เริ่มต้นเรียนกับครูคนใหม่คนนี้ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1812 
การเรียนครั้งนี้ได้ศึกษาเทคนิคต่าง ๆ ในหารแต่งเพลงเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการแต่งทำนอง
และกลเม็ดต่าง ๆ ของดนตรีด้วย  แต่สเลียรีก็ไม่ได้สอนให้หมดทุกอย่างตามที่เขาขอร้อง 
เพราะต้องการให้ชูเบอร์ตได้ศึกษาค้นคว้าวิธีการต่าง ๆ ต่อไปด้วยตนเอง  เขาเรียนอยู่กับครูคนนี้นานพอควร
และเมื่อเลิกเรียนกับสเลียรีแล้ว  เขาก็ไม่ได้เรียนกับครูคนไหนเลย
            ในปลายปี ค.ศ. 1812 นี้ เสียงของชูเบอร์ตได้เริ่มเปลี่ยน  เพราะเขาเป็นหนุ่มขึ้น  ซึ่งตามธรรมดาแล้ว
เขาจะอยู่ที่คอนวิคท์ต่อไปอีกไม่ได้  แต่ทางโรงเรียนก็ไม่ขัดข้องที่จะให้เขาอยู่ต่อไป
และในปีนี้เอง เขาได้เขียนซิมโฟนีเป็นครั้งแรกและสำเร็จ   ซึ่งเป็นงานชิ้นสุดท้ายในสำนักนี้ 
เพราะในที่สุดเขาก็อำลาคอนวิคท์ไปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1813  เขามีอายุ 16 ปีเศษ
            เมื่อลาออกจากโรงเรียนคอนวิคท์แล้วก็มาอาศัยอยู่กับพ่อที่บ้าน  ใช้เวลาแต่งเพลง
ได้หลายเพลง คือ C, B และ D Falt  ได้แสดงกันในหมู่ครอบครัว  แล้วแต่งเพลง String 30 minutes
กับเพลง  Trio  ให้อิกเนซพี่ชายของเขา  ในระยะนี้พ่อของเขาก็ได้แต่งงานใหม่กับแอนนา  เคลเยนบอค  (Anna Kleyenbock) 
เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1813   แม่เลี้ยงคนนี้กับชูเบอร์ตก็ดูเหมือนจะลงรอยกันดี
พอถึงเดือนกันยายน  ค.ศ. 1813 ถึงวันคล้ายวันตั้งชื่อของธีโอดอร์ผู้พ่อ  ชูเบอร์ตก็ได้แต่งเพลง Cantata
อันเป็นเพลงร้องประกอบกับกีต้าร์  เพื่อแสดงในงานนี้ด้วย   อายุของชูเบอร์ตพอดีกับการเกณฑ์ทหารของกองทัพออสเตรีย 
ซึ่งเด็กชายอายุในระหว่างนี้จะต้องเข้ารับราชการทหารทุกคน  โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ 
นอกจากทางเดียวเท่านั้นที่ทางราชการจะผ่อนผันและยกเว้นให้คือผู้ที่เป็นครู  ดังนั้นชูเบอร์ตก็เห้นอยู่ทางเดียวเท่านั้น
ที่จะไม่ต้องเป็นทหาร  จึงสมัครเป็นครูในตำแหน่งผู้ช่วยสอนอยู่ในโรงเรียนเดียวดับพ่อคือที่โรงเรียน Anna Gasse
มีรายได้เพียงปีละ 40 กุลเดนเท่านั้น  ส่วนการกินอยู่นั้นอาศัยพ่อ
            ในระหว่างที่เป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียน St. Anna  นี้เขาก็ได้แต่งเพลงขึ้นอีกหลายเพลงได้แก่เพลง  Mass  ต่าง 
และได้เขียนอุปรากรขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย  เพลง Mass ที่สำคัญ ๆ ของชูเบอร์ตในระยะนี้มี 2 เพลง
เพราะเขาแต่งเพื่อให้แสดงในวันที่ระลึกครบรอบร้อยปีของโบสถ์ ลิชเทนตัล  ในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1814
และนับเป็นความภาคภูมิใจของคนที่เมืองลิซเทลตัลนี้มาก  เพราะผู้แต่งเพลง  Mass  แสดงครั้งนี้แต่งโดย
เด็กหนุ่มอายุ 17 ปี  ซึ่งเป็นลูกหลานของลิซเทนตัลเอง  และเป็นผู้ควบคุมวงดนตรีเองอีกด้วย  ส่วนโฮลเซ่อร์
ครูเก่าของเขาเป็นผู้นำร้องหมู่นักร้องเด็ก ๆ  นักร้องเสียงโซปราโนเป็นเด็กหญิงชื่อ เทเรซา โกรบ (Therase Grob)
เธออายุอ่อนกว่าชูเบอร์ตเพียงปีเดียวเท่านั้น  เป็นลูกสาวของพ่อค้าผ้าไหมในลิชเทนตัลนี่เอง
และเพลง Mass ชุดนี้ก็ได้นำออกแสดงอีกครั้งหนึ่งที่โบสถ์เซนต์ ออกุสติน  (St.Augustine)
และแสดงที่ฮอฟบูกร์อีก (Hofburg)  การแสดงครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นและศรัทธาแก่ผู้เข้าชมโดยทั่วไป
สเลียรี  ครูคนสุดท้ายของเขาก็รู้สึกภูมิใจไม่น้อย  เพราะผู้แต่งเพลงและกำกับวงเป็นลูกศิษย์ของเขาเอง  
ทางฝ่ายครอบครัวของชูเบอร์ตก็พากันดีใจมาก  พ่อนั้นไม่เคยมีครั้งใดจะภูมิใจเท่าครั้งนี้เลย
            หลังจาการแสดงผ่านไป  ชูเบอร์ตเกิดหลงรักนักร้องสาวเทเรซา โกรบ  อย่างจับใจ 
นับเป็นความรักครั้งแรกในชีวิตของเขา   บ้านของเทเรซานั้นอยู่ไม่ห่างจากบ้านชูเบอร์ตเท่าใดนัก
ความจริงเธอก็ไม่ได้สะสวยอะไรนักหนา  แต่ชูเบอร์ตก็รักเธออย่างจริงจัง  เขาปรารถนาอย่างยิ่งที่จะแต่งงานกับเธอ 
แต่จะทำอย่างไรล่ะ  เขาไม่มีทุนรอนพอที่จะเป็นครอบครัวได้  รายได้แม้จะเลี้ยงตัวเองก็แทบจะไม่รอดอยู่แล้ว
อนิจจา!  ชูเบอร์ต...สุดท้ายเทเรซาก็จึงไปแต่งงานกับพ่อค้าขายขนมผู้หนึ่งชื่อ เบอร์กแมน  (Bergman) 
ส่วนชูเบอร์ตนั้นก็ได้แต่รำพึงรำพันว่าเขายังรักเธออยู่  และกล่าวว่าเป็นปรัชญาอย่างน้อยเนื้อต่ำใจว่า
ความจริงแล้ว  เธอมิได้เกิดมาสำหรับเป็นของเขา
            ในด้านอุปรากร  ชูเยอร์ตก็มีความสนใจมาตั้งแต่ครั้งยังเรียนอยู่ที่คอนวิคท์ 
เขาเคยไปดูการแสดงอุปรากรที่โรงละคร  Kamtner Tor  อันเป็นโรงละครหลสงและใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น  
สเปาน์ได้ชวนเขาไปดูในวันหยุดบ่อย ๆ อุปรากรที่ชูเบอร์ตได้ชมเป็นครั้งแรกคือเรื่อง  Die Schweizerfamilie
ของโจเซฟ  ไวเกิล  (Joseph Weigl)  เปาลีน แอนนา มิลเดอร์ (Pauline Anna Milder)
และโจฮันน์ ไมเกิล โวเกิล (Johann Micheal Vogl)  เป็นนักร้องตัวชูโรงสำคัญ
(ต่อมานักร้องทั้งสองก็รู้จักกับชูเบอร์ตกละเป็นเพื่อที่นสนิทสนมกัน)  นอกจากนั้นชูเบอร์ตยังได้เคยฟังอุปรากรเรื่อง 
Vestale ของ Spontini Medea ของเชรูบินี, Jean de Paris ของ  Boieldieu และIphigenia in Tauris
ของกลุ๊ค (Gluck)  สำหรับของกลุ๊คนี้เขาสามารถรู้สึกชอบมากเป็นพิเศษ  จึงทำให้เขาศรัทธาในตัวกลุ๊คอยู่มาก
            ค.ศ. 1814  ชูเบอร์ตได้แต่งเพลงต่าง ๆ อีกมาก  ที่นับว่าสำคัญในจำนวนนี้ได้แก่  Gretchen am spinnrade
ซึ่งแต่งจากเค้าเรื่องของ Faust  ของเกอเต้
            ค.ศ. 1815 ในตอนบ่ายวันหนึ่ง  ขณะที่สเปาน์ได้ไปเยี่ยมชูเบอร์ตที่บ้าน
เขาเห็นชูเบอร์ตกำลังถือหนังสือแล้วอ่านโครงที่ชื่อ  Der Erlkonig  ออกเสียงดัง ๆ เดินวนเวียนอยู่ในห้อง
แล้วนั่งลงที่โต๊ะเขียนถ่ายถอดคำโคลงเป็นโน้ตลงบนกระดาษอย่างรวดเร็ว  พอเขียนเสร็จแล้ว
ก็ไม่มีเปียโนจะลองเพลงใหม่นี้  เขาแต่งในปีนี้ถึง 145 เพลง (เพลงของชูเบอร์ตทั้งหมดในชีวิตมี 600 เพลง)
การแต่งเพลงของเขาไม่เลือกเวลาและสถานที่  แม้บางครั้งกำลังรับประทานอาหารอยู่ในร้าน
เผอิญนึกเพลงขึ้นมาได้แต่ไม่มีกระดาษเขียน  เขาก็ใช้กระดาษเช็ดมือนั้นเองเขียนไว้ก่อน 
เพลงที่เขาแต่งส่วนมากก็มักได้เค้าเรื่องมาจากวรรณคดีชั้นสูงของนักประพันธ์และจินตกวีที่มีชื่อเสียง
เช่น เชคส์เปีย เกอเต้ และคนอื่น ๆ อีก  ในปีนี้เองเขาก็ได้เขียนซิมโฟนี  B Flat Major และ D Major
            ค.ศ. 1816  ได้เขียนเพลง Mass ขึ้นหลายเพลง และเพลง Mass in C   เขาแต่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
และอุทิศเพลงนี้ให้  Michael HolZer  ครูเก่าแก่ของเขานั่นเอง  ส่วนเพลงเป็นโนก็มี Ecossaises, Deutsche
และ Variaations ต่าง ๆ   เพลง Addagio in G, Sonatas และ String  quartets อีกจำนวนมาก
            ขณะนี้เขายังเป็นครูอยู่ที่เดิม  แต่การสอนของเขาไม่ค่อยเต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก
เพราะเขาไม่ค่อยชอบประการหนึ่ง  และใช้เวลาส่วนมากแต่งเพลง  แม้บางครั้งขณะตรวจสมุดการงานของเด็ก
ชูเบอร์ตมักจะเผลอเขียนตัวโน้ตเพลงลงไปบ่อย ๆ จึงได้รับการต่อว่าจากพ่อแม่และผู้ปกครองนักเรียน 
ชูเบอร์ตจึงลาออกจากครูเสีย  จากนั้นชูเบอร์ตก็เดินทางไปอยู่ในกรุงเวียนนา  อาศัยอยู่กับ  Schober
สหายผู้หนึ่งและได้แต่งเพลง  ‘Der Wanderer’ ‘Harper’ และ ‘Mignon’
            ค.ศ. 1818  พอถึงฤดูสปริง  ชูเบอร์ตก็ตกอยู่ในภาวะที่แร้นแค้นมาก  เพราะเขาไม่ได้ทำงานเลย
เงินจึงไม่มี  เขาอาศัยอยู่กับเพื่อนฝูงต่อไปอีกไม่ได้  จะต้องหาการหางานทำเสียที 
พอดีกับ  โจฮันน์ อังเกอร์   (Johann Unger)   พ่อของนักร้องสาวที่ชื่อ คาโรลีน อังเกอร์  (Caroline Unger) 
ได้ชักชวนเขาให้ไปเป็นครูสอนเปียโนแก่บตรี 2 คนของท่านเคาน์ โจฮันน อิสเตอร์ฮาซี (Count Johann Esterhazy) 
แห่งเมือง Galantha  ชูเบอร์ตรีบรับปากทันที  แม้ว่าเขาไม่ชอบการเป็นครูสอนไม่ว่าวิชาอะไรทั้งนั้น
แต่คราวนี้เกิดความจำเป็นทางการเงินดังกล่าวแล้ว  ตามธรรมดาอิสเตอร์ฮาซีมักจะพักอยู่ในกรุงเวียนนาในฤดูหนาว
ต่อพอถึงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงก็พาครอบครัวไปพักอยู่ที่เมืองเซลิซ (Zseliz)
ซึ่งอยู่ติดพรมแดนฮังกาเรียนสดลวาเกียน(Hungarian– Slovakian)  ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงเวียนนาเท่าใดนัก
แต่ว่าให้อยู่กินฟรี  ลูกสาวท่านเคานท์ที่ชูเบอร์ตสอนเปียโนให้นี้ชื่อ มาเรีย และคาโรไลน์  มีอายุ 13 และ 11 ปีตามลำดับ
ขณะที่เขาพักอยู่กับครอบครัวนี้เขามีเวลาพอที่จะแต่งเพลงได้อีกมากมาย และที่เซลิซนี้เขาก็ได้รู้จักกับ
คาร์ล ไฟรแฮรร์ ฟอน ซันสไตน์  (Karl Freiherr von Schonstein)   ซึ่งในเวลาต่อมาได้เป็นผู้ร้องเพลงต่าง ๆ
ของชูเบอร์ต  ที่ทำให้ฟรันส์ลิสท์  นักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่งเมื่อได้ฟังเขาร้องเพลงของชูเบอร์ตที่ไรน้ำตาไหลออกมาทุกที
ทั้งนี้เพราะเสียงของเขามีความไพเราะเป็นพิเศษ  สามารถเรียกคนฟังได้
            พอเดือนพฤศจิกายนก็ย่างเข้าหน้าดูหนาวครอบครัวของอิสเตอร์ฮาซี่ก็พากันกลับเวียนนา
ชูเบอร์ตดีใจมากที่จะได้กลับมาสู่เวียนนาถิ่นที่เขาชอบที่สุดชูเบอร์ตได้ไปพักพิงอยู่กับเพื่อนคนหนึ่ง
ชื่อ  Mayrhofer และ Josef Huttenbrenner ซึ่งได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านเดียวกัน Huttenbrenner 
เป็นผู้พยายามรวบรวมเพลงต่าง ๆ  ของชูเบอร์ตที่กระจัดกระจายอยู่ให้ครบ แต่คงรวบรวมได้ราว ๆ 100 เพลงเท่านั้น
            ค.ศ. 1819  ชูเบอร์ตได้แต่งเพลงอีกชื่อ Die Zwillingbruder (The Twin Brothers) 
เขายังคงพักอยู่กับ Mayrthofer และได้ใช้เวลาแต่งเพลงทั้งกลางวันและกลางคืน  ชนิดที่เรียกว่าหามรุ่งหามค่ำ 
ชูเบอร์ตได้ส่งเพลง 3 เพลงไปให้เกอเธ่ แต่ไม่ได้รับคำตอบขอบใจจากเกอเต้เลย ต่อมาโวเกิล(Vogl)
นักร้องอุปรากรที่มีชื่อเสียงซึ่งบัดนนี้ได้เป็นเพื่อนคู่หูของชูเบอร์ตแล้ว ได้ชวนชูเบอร์ตไปเที่ยวเมือง Upper Austria  
จากนั้นก็เดินทางไปยัง  Kremsmunstr  และเมือง Linz, Steyr  อันเป็นบ้านเกิดของสเปาน์  Stadler และ Mayrhofer
เพื่อน ๆ ที่เขาชอบพอมากนั้นเอง  และในระหว่างนี้เขาก็ได้แต่งเพลงที่เรียกกันส่า เพลง ‘Trout’ Quinter 
  สำหรับเปียโน, ไวโอลิน, ไวโอลา, เชลโล  และ doble bass และได้แต่งเพลง  Variations
สำหรับเปียโนเล่น Four – hand และแต่งเพลงฝรั่งเศสเพลงหนึ่งชื่อ   Reposez – vous, bon chevalier
เพลงนี้แต่งที่เมือง Zseliz และได้อุทิศให้แก่ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน  ผู้ที่ชูเบอร์ตเคารพและเลื่อมใสในเพลง
ของเขามากที่สุดผู้หนึ่ง
            อาจสรุปได้ว่าระยะ 12 ปีที่แล้วมานี้  เขาได้แต่งเพลงเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ มากกว่า 100 เพลง 
ซิมโฟนี  6 อุปรากรและเพลงร้องจำนวน  Masses 4, เพลงสำหรับใช้ร้องในโบสถ์อีกมาก
แต่เป็นเพลงสำหรับผู้ชายร้อง  Overture 7, เปียโน โซนาต้า 12 เพลง  เพลงสำหรับเต้นรำอีกนับไม่ถ้วน 
String quarters 11 แต่เพลงเหล่านี้ทางสำนักพิมพ์ต่าง ๆ มิให้ความสนใจเลยแม้แต่น้อย
            ค.ศ. 1820  ชูเบอร์ตได้นำอุปรากรเรื่อง ‘Die Zwillingsburuder’  ออกแสดง ณ โรงละคร  Karntner-Tor
ในกรุงเวียนนา  เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน  และได้นำอุปรากรเรื่อง  ‘Melodrama,  Die Zauberharfe 
ออกแสดงที่โรงละคร  Wien   เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม  ในกรุงเวียนนาเช่นกัน
            ค.ศ. 1821  ชูเปบร์ตมีอายุครบเบญจเพศพอดี (25ปี)  เขาได้ไปพักอยู่กับเพื่อนคนที่ชื่อ Schober
ที่ Gottweiger Hof  ใน Spiegel Gasse  และได้นำอุปรากรเรื่อง Erkonig (Erlking) ออกแสดงให้ประชาชนเป็นครั้งแรก
โดยมีโวเกิลเป็นผู้ร้องเพลง   จากนั้นก็ได้ไปเที่ยวที่    Castle of Ochesenburg  เพื่อเป็นการพักผ่อนในฤดูร้อน
และราว ๆ เดือนสิงหาคม  1821  ชูเบอร์ตก็ได้แต่งเพลงซิมโฟนี  in E major  ขึ้นอันหนึ่งมีทั้งหมด 4 ตอน
แต่ไม่สำเร็จ  เพลงนี้เองที่รู้จักกันในชื่อว่า  ‘Sketch Symphony’
            แต่เพลงที่โลกพากันกล่าวขวัญถึง ‘Unfinished Symphiny’ ของเขานั้นหมายถึง Symphony in B Minor  
ซึ่งได้แต่งขึ้นในปี ค.ศ.1822 (ลงวันที่กำกับไว้ว่า 30 ตุลาคม 1822) และแต่งที่เมือง Spiegel Gasse;
Unfinished  Symphony  อันนี้ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเหตุใดเขาจึงไม่แต่งต่อให้เสร็จ 
ซิมโฟนี่  Unfinished  ได้นำออกแสดงที่กรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 1865 (ภายหลังที่ชูเบอร์ตตายไปแล้วถึง 37 ปี)
เพลงนี้ปรากฏว่าเป็นที่ยกย่องจากประชาชนว่าเป็นงานชิ้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
            และในปี ค.ศ. 1829  นี้เช่นกัน  ชูเบอร์ตได้แต่งอุปรากรเรื่อง  Alfonso und Estrella 
และรู้จัก คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ นักดนตรีและนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมันผู้หนึ่ง
และได้ไปเยี่ยมบ้านของเบโธเฟน
            ค.ศ. 1823  ชูเบอร์ตได้แต่งอุปรากรเรื่อง Fierrabras  และ Rosamunde
และได้นำออกแสดงที่โรงละคร Theater an der Wien  ในกรุงเวียนนา  เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม
และขณะเดียวกันก็ได้แต่งอุปรากรเรื่อง Die Schone Mullerin  ไปด้วย  สำหรับอุปรากรเรื่อง   Rosamunde  นั้น
เป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของชูเบอร์ตและได้อาศัยเค้าเรื่องจากบทละครเรื่อง  Rosamunde 
เจ้าหญิงแห่งไซปรัส  (Princess of Cyprus)  อุปรากรเรื่องนี้ได้นำออกแสดงเพียง 2 ครั้ง เท่านั้น 
มีผู้นิยมชมชอบในเพลงมากพอสมควร  จากเพลงนั้นเพลงนี้ก็เงียบหายไปจากความทรงจำ
            ชีวิตของชูเบอร์ตตั้งแต่เกิดมาจนถึงบัดนี้ ค.ศ.1823 พบแต่ความอดอยากแร้นแค้น ตอนนี้สุขภาพ
ของชูเบอร์ตกำลังเริ่มจะเลวลงแต่ถึงอย่างไรเขาก็ไม่ค่อยจะเอาใจใส่กับมันเท่าใดนัก
แต่การป่วยคราวนี้ไม่ใช่ป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเคยอาการป่วยของเขาหนักมากทีเดียว 
จนต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลาแรมเดือนและขณะที่พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลก็แต่งเพลง
แบบ Folk song หลาย ๆ เพลงออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ยังรู้สึกปวดหัว เวียนศีรษะและงุนงงอยู่
ความดันโลหิตสูงก็มีอยู่บ่อยๆ เขาได้รับการรักษาจากนายแพทย์ Dr.Waldermar Schweisheimer
ชาวเยอรมันและแพทย์คนอื่น ๆ อีกหลายคน
            เกี่ยวกับการพิมพ์โน้ตเพลงชูเบอร์ตได้ติดต่อกับสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง ได้ให้ค่าลิขสิทธิ์บทเพลง
ของเขาชุดหนึ่งเพียง 800 กุลเดนเท่านั้น ซึ่งนับว่าไม่ให้ความเป็นธรรมแก่เขาเลย
เพราะว่าบทเพลง  Wanderer Fantasie  เพียงชิ้นเดียวเท่านั้นก็ทำรายได้ให้แก่สำนักพิมพ์ได้ถึง 27000 กุลเดนแล้ว
แต่ให้ชูเบอร์ตราว 20 กุลเดนเท่านั้น  ชูเบอร์ตมีเงินติดกระเป๋า 2 – 3 ร้อยกุลเดน  ซึ่งเขาจะต้องประหยัดอย่างยิ่ง
แต่เขาก็ต้องใช้จ่ายเป็นค่าตั๋วเข้าชมคอนเสิร์ตที่แสดงโดยปากานินี  (Paganini)  นักไวโอลินเอกของโลกคนหนึ่ง
แม้ว่าระยะนี้จะมีความเจ็บป่วย  ความช้ำใจต่าง ๆ บังเกิดขึ้นแก่เขา  ชูเบอร์ตก็มิได้ย่อท้อ
เขาได้แต่งเพลงขึ้นอีกหลายเพลงด้วยกัน  และที่จัดว่าเป็นเพลงที่มีชื่อเสียงมีถึง 23 เพลง
เพลงที่มีชื่อเสียงเพลงหนึ่งคือ  Mullerlieder  ซึ่งเขาได้แต่งอุทิศให้แก่  Baron Schonstein 
นอกจากนั้นยังได้แต่งเพลงอื่น ๆ อีกเช่น  Auf dem Wasser singen  และ Du bist die Ruh,
Dass sie hier gewesen และเพลงไวโอลาที่ได้จากบทละครเรื่อง Der Zwerg
ซึ่งได้แต่งขณะที่ไปเยี่ยม  Randhartinger   เพื่อนคนหนึ่งของเขา  และในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกันนี้
ชูเบอร์ตได้แต่งเพลงเปียโนโซนาตา  ขึ้นหลายเพลง  และที่รู้จักกันในบัดนี้ก็คือ เพลง Aminor, Opus 143
            พอถึงหน้าร้อนปี ค.ศ.1824 ชูเบอร์ตได้เดินทางไปเยี่ยมครอบครัวของอีสเตอร์ฮาซี (Esterhazy) 
ที่เซลิซอีก  และได้แต่งเพลง  Chamber music   เป็นเพลงประเภท Octet  สำหรับเล่นกับ Clarinet Bassoon, horn 
และได้แต่ง String quintet   ซึ่งเพลงนี้ชูเบอร์ตได้อุทิศให้แก่ Count Troyer   นักเป่าคาริเนทสมัครเล่นคนหนึ่ง
            ค.ศ. 1825  ชูเบอร์ตได้รู้จักกับนางละครของ Burgtheater  คนหนึ่งชื่อ  Sofie Muller 
เธอเป็นนักร้องด้วย  ชูเบอร์ตกับโวเกิลและเพื่อน ๆ ได้ไปหาเธอที่บ้าน  แล้วพากันร้องเพลงที่ชูเบอร์ตแต่งเสมอ ๆ
            พอถึงเดือนมีนาคม ค.ศ.1825 โวเกิล ได้ชักชวนชูเบอร์ตเดินทางไปพักผ่อนและท่องเที่ยว
ที่เมือง Upper Austria การเดินทางครั้งนี้นับว่าเป็นการเดินทางไกลที่สุดในชีวิตของช฿เบอร์ต
และชูเบอร์ตได้นำเพลงที่เขาแต่งเสร็จและที่ยังค้างอยู่ติดตัวไปด้วย ได้แก่เพลงที่แต่งจาก
เรื่อง  Lady of the Lake ของ Walter Scott  และเพลง A Minor เปียโน โซนาต้า  และอีกเพลงหนึ่ง  In C Major 
ซึ่งต่อมาก็รู้จักในชื่อ Reliquie เขาได้เดินทางไปที่ต่างๆ เช่น St.Florian,Kremsmunster, Steyr  และGmunden
และได้ไปเล่นดนตรีที่บ้านของ Hofrat Von Schiller ชูเบอร์ตและโวเกิลได้ร้องเพลง  The Lady of the Lake
ออกจาก Gmunden ไปยังเมืองลินซ์  (Linz) เพื่อเยี่ยมสเปาน์แล้วกลับไป Steyr สู่  Salzburg
และต่อไปยัง Lieeg Pass และ Bad Gastein ที่Bad Gastein โวเกิลต้องการที่จะพักผ่อนเป็นเวลาหลายวัน
ก่อนที่จะแยกจากันเดินทางต่อไปยังอิตาลี  และที่นี่ชูเบอร์ตมีเวลาที่จะแต่งเพลง Piano Sonata in Dmajor
ต่อจนเสร็จสมบูรณ์ เพลงนี้นับเป็นเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพลงหนึ่งของชูเบอร์ตนอกจากนั้นยังมีเพลง
จากเรื่อง Heimweh และ Die Allmacht ของ Ladislaus Pyrker   ก็สำเร็จลงที่นั่นด้วย 
และเป็นที่เข้าใจกันว่าชูเบอร์ตได้เขียนซิมโฟนี่  ‘Gastein’ Symphony  อันมีชื่อเสียงนั้นเสร็จที่เมืองนี้
แต่ก็ยังหาหลักฐานแน่นอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ได้เพราะ  Score หาย  แม้ว่าผู้รู้จักมักคุ้นกับชูเบอร์ตหลายคน
จะบอกว่าเขาเขียนในฤดูร้อนปี ค.ศ.  1825   แสดงที่สดมสร  Friends of Music 
แต่เรื่องนี้ก็ยังคงลึกลับมาจนทุกวันนี้  จากนั้นชูเบอร์ตก็เดินทางมาสู่เมืองลินซ์และกลับสู่กรุงเวียนนา
ในฤดูใบไม้ร่วง  พอถึงเวียนนา   Matthias Artaria   เจ้าของสำนักพิมพ์ก็ติดต่อขอพิมพ์เพลง  The Lasy of the Lake 
  ชูเบอร์ตได้ค่าลิขสิทธิ์เพลงนี้ 200 ฟลอลินซ์ ($100)  ซึ่งนับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่พอสมควรสำหรับชูเบอร์ต
เขาได้จัดการชำระหนี้สินที่ยังคั่งค้างอยู่จนหมดสิ้น  สรุปแล้วเฉพาะในปี ค.ศ. 1825 ชูเบอร์ตได้แต่งเพลงทั้งหมด 18 เพลง
            ในปีค.ศ. 1826  ตำแหน่งผู้นำวงดนตรีประจำโรงละคร Karmtner Tor   ได้ว่างลง
และกำลังประกาศรับสมัครอยู่   Franz Lachner   ได้แนะนำชูเบอร์ตสมัครเข้าแข่งขันกับคนอื่น ๆ ในการสมัคร
แข่งขันนี้มีระเบียบอยู่ว่า  ผู้สมัครเข้าแข่งขันจะต้องเสนอบทเพลงพิเศษเพื่อที่จะใช้ประกอบกับละคร
ส่งไปให้เนาทท์ เชคเน่อร์  (Nanette Schechner)  ซึ่งเป็นนักร้องประจำอยู่ที่นั่น  ชูเบอร์ตได้ปฏิบัติตาม
เงื่อนไขทุกประการ  เมื่อเชคเน่อร์นำบทเพลงของชูเบอร์ตไปดูแล้ว  จึงขอเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมบางตอน 
ชูเบอร์ตไม่ยอม    เขาจึงขอบทเพลงนั้นคืนแล้วเดินออกจากโรงละครนั้นไป  หลังจากนั้นชูเบอร์ตใช้เวลาประมาณ 10 วัน
ในเดือนมิถุนายนแต่งเพลง  Quartet in G Major  ซึ่งเป็นเพลง  String quartet  ชิ้นสุดท้าย
และได้แสดงที่บ้านของสองพี่น้อง  Karl  และ Franz Hacker   พร้อมกับเพลง  quartet อื่น ๆ อีกหลายเพลง
นอกจากนั้นชูเบอร์ตยังได้แต่งเพลง  Trio in B – Flat Major  ซึ่งเป็นเพลงที่งดงามมากเพลงหนึ่ง
ใช้เล่นกับเปียโน  และไวโอลิน  เพลง  G Major สำหรับเปียโนโซนาต้า 
(ต่อมาได้ตีพิมพ์จำหน่ายโดย Tobias Haslinger ภายใต้ชื่อว่า   Fantasie)  เพลง  D Minor
จากเรื่อง Death and the Maiden, เพลง Hark hark, the Lark และ Who is Sylvia? Fischerweise
และ Totengraberweise, และ Der Wanderer an den Mond
            ในปีนี้ชูเบอร์ตได้มอบให้สำนักพิมพ์หลายแห่งพิมพ์โน้ตเพลงของเขาจำหน่าย 
เขาถูกพวกสำนักพิมพ์เหล่านั้นกดราคามาก  แต่เขาก็จำยอมเพราะต้องการเงินมาใช้จ่ายบ้าง
            ค.ศ. 1827  ชูเบอร์ตมีอายุได้ 30 ปี  ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม ลุดวิก ฟาน บีโธเฟน
ได้ถึงแก่กรรม  ชูเบอร์ตได้ไปถือคบเพลิงร่วมในพิธีฝังศพเบโธเฟนด้วย  เมื่อกลับจากการฝังศพแล้ว
ก็แวะเข้าไปที่ร้านกาแฟพร้อมกับเพื่อน ๆ บางคน  ชูเบอร์ตชูแก้วขึ้นดื่มให้แก่บีโธเฟนผู้ที่เขาพึ่งไปฝังมา
และดื่มอีกครั้งให้แก่ผู้ที่จะจากไปในอันดับต่อไป
            ต่อมาในเดือนกันยายน  Karl Pachler  ทนายความผู้มีความรักดนตรีและภรรยาของเขา
Maria Leopoldine Koschak   นักเปียโนฝีมือดี  เคยได้รับการยกย่องจากเบโธเฟนมาแล้ว 
ได้เชื้อเชิญให้ชูเบอร์ตเดินทางไปเยี่ยมเขาและภรรยาที่บ้าน  ณ เมือง  Graz  เพราะ Maria Koschak
ต้องการจะรู้จักกับชูเบอร์ต  เมื่อกลับจากการเยี่ยม  Karl   Pachler  แล้วก็แต่งเพลง Winterreise cycle
และ Trio in E – Flat  ที่แต่งเทื่อปี 1826  (เพลง E – Flat สำนักพิมพ์ให้ค่าลิขสิทธิ์เขาเพียง 20 กุลเดนเท่านั้น) 
นอกจากนี้ยังมีเพลง Chamber of music ชุดเพลง Fantasie  สำหรับไวโอลินและเปียโน  กับ Variations 
ในเพลง Seimir gegrusst   และมีเพลง Mements musicaux  สำหรับเปียโน
            พอถึงฤดูหนาว ชูเบอร์ตมีเงินติดกระเป๋าเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีเลย  แม่เลี้ยงที่แสนดีต่อเขา
เคยแบ่งเงินเล็ก ๆ น้อย ที่เธอสะสมให้เขาไว้นั้น  บัดนี้เธอก็ได้ย้ายไปอยู่กับพ่อที่ Rassau เสียแล้ว
ก่อนที่จะสิ้นปีนี้  ทาง Gesellschaft de Musik freunde   ได้เลือกชูเบอร์ตเป็นผู้แทนของสมาชิกสมาคม 
ชูเบอร์ตรู้สึกว่ามีเกียรติยศมากมาย  และเขาได้ให้คำสาบานว่า  จะซื่อสัตย์และให้ความร่วมมือด้วยดี
แต่ทว่า เกียรติยศ”  อันนี้ไม่สามารถจะซื้ออาหารมาแก้หิวได้  เขาจึงมีความเป็นอยู่อย่างอด ๆ อยาก ๆ 
ถึงกระนั้นก็ดี  ในระหว่างมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 1828  เขาก็ได้แต่งเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
เท่าที่เขาเคยทำมานั่นคือ   ซิมโฟนีอันยิ่งใหญ่และเป็นชิ้นสุดท้ายในชีวิตของเขา  ‘Great Symphony’ in C Major 
(ลงวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1828) นอกจากนั้นยังมีเพลงอื่น ๆ อีก เช่น เพลง Cantata Miriam’s Siegesgesang
เพลงโซนาต้า 3 เพลง In A, C minor  และ B Flat เพลง String quintet in C Major (สำหรับ 2 เชลโล)
และเพลง  Mass in E Flatเป็นต้น
            ชูเบอร์ตเริ่มป่วยอีก  มีอาการปวดหัว  และวิงเวียนหน้าเช่นเดียวกับที่เคยเป้นเมื่อคราวก่อน 
หมอจึงได้แนะนำให้เขาไปพักผ่อนนอกเมืองแถวใกล้  ๆ เพื่อจะได้รับอากาศสดชื่น  ดังนั้น  เขาจึงได้ไปพัก
อยู่กับเฟอร์ดินันท์พี่ชายของเขาที่  Firmian Gasse   แต่บ้านนั้นพึงสร้างเสร็จใหม่ ๆ ความชื้นยังมีอยู่
ชูเบอร์ตพักผ่อนอยู่กับพี่ชายตั้งแต่เดือนกันยายน  พอถึงเดือนตุลาคมสุขภาพดีขึ้นบ้างเล็กน้อย
ถึงกระนั้นเขาก็ยังอุตส่าห์ชวนพี่ชายและเพื่อนอีก 2 คน  เดินทางด้วยท้าไปไอเซนสตัดท์  (Eisenstadt)
ไปเป็นระยะทางถึง 25 ไมล์  เพื่อไปเยี่ยมคำนับหลุมฝังศพของไฮเดิน  ซึ่งใช้เวลาตั้ง 5 วัน ในการเดินทางไปกลับ 
พอกลับมากถึงที่พักอาการป่วยก็กำเริบหนักขึ้น  วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1828  ขณะที่รับประทานอาหารเย็น
ร่วมกับเพื่อน ๆ ที่ร้านแห่งหนึ่งซึ่งชูเบอร์ตเคยชอบมาก  เขาทิ้งซ่อมลงบนพื้นและอุทานออกมาว่า
อาหารที่เขากินนั้นเต็มไปด้วยยาพิษ  แล้วก็ไม่กินอีกต่อไป  ทุกคนคาดไม่ถึงว่าเขาจะป่วยหนักขึ้นขนาดนั้น
ต่อมาอีก 2 – 3 วัน  ทั้งที่เขาไม่สบายและมีอาการอ่อนเพลียมาก  แต่เขาก็ยังอุตส่าห์หอบสังขาร
เดินไปที่โบสถ์  Hernals  ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมง   เพื่อฟังเพลง  Requiem  ที่เฟอร์ดินันด์พี่ชายของเขาเป็นผู้ร้อง
และเพลง  Requiem  ที่เฟอร์ดินันด์ร้องนี้เอง  เป็นเพลงที่เขาได้ฟังเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต
เมื่อกลับมาจากการฟังเพลงแล้ว  เขาก็ต้องนอนแซ่วอยู่บนเตียงด้วยความอ่อนเพลีย 
พอถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน  จึงได้พยายามพยุงกายขึ้นนั่งเพื่อเขียนจดหมายไปถึง สโคเบอร์  (Schober)  
เพื่อนคนหนึ่งของเขาว่า  “ฉันกำลังป่วย  และไม่ได้กินอะไรมาตั้ง 11 วันแล้ว  รู้สึกอ่อนเพลียเหลือเกิน
แต่พอจะคลานจากเตียงไปยังเก้าอี้ได้”    และในจดหมายนี้มีตอนหนึ่งที่เขาบอก
สโคเบอร์ว่า  “เพื่อนกรุณาหาหนังสืออะไรดี ๆ มาให้ฉันอ่านบ้างได้ไหม 
ฉันเคยอ่านหนังสือของคูเปอร์  นอกจากเรื่องเหล่านี้  ขอได้โปรดเอาไปฝากไว้ที่ร้าน
ของบ๊อกเนอร์ด้วยแล้วเฟอร์ดินันด์พี่ชายของฉันจะเอามาให้ฉันเอง”   จากนั้นอาการป่วย
ของชูเบอร์ตก็ทรุดหนักลงอย่างรวดเร็ว  หมอลงความเห็นว่าเขาป่วยเป็นไข้ประสาท (Nerve Fever หรือ  Typhus) ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ได้พรากเอาแม่ของเขาไปขณะที่กำลังเรียนอยู่ที่คอน วิคท์นั่นเอง
วันที่ 17 พฤศจิกายน  ชูเบอร์ตนอนซมซานด้วยพิษไข้  เมื่อสร่างไข้เขาก็พูดถึงอุปรากรเรื่องใหม่ของเขา
ที่ยังค้างอยู่  เขาพยายามจะแก้ไข  แม้เขาจะรู้ว่าไม่อาจจะทำได้แล้ว  บางครั้งเขาก็ไม่ได้สติเพ้อพูดถึงเรื่องต่าง ๆ
และขอร้องให้เฟอร์ดินันด์พี่ชายเขาว่า  อย่าทิ้งเขาไว้ใต้พื้นดิน  เฟอร์ดินันด์ก็บอกเขาว่า
เขากำลังนอนอยู่ในห้องของเขาเอง  ชูเบอร์ตก็บอกว่า  ไม่ใช่  ไม่เป็นความจริง
เบโธเฟนไม่ได้นอนอยู่ที่นี่ (No, that’s not true; Beethoven is not here)   หมอได้พยายามที่จะพูดกับเขา
ทันใดนั้นเขาก็หันหน้าเข้าฝาห้อง  และก็เพ้อออกมาอย่างน่าสงสารว่า นี่ นี่คือวาระสุดท้ายของฉัน
วาระสุดท้ายได้มาถึงเขาแล้ว  เขาจากไปขณะที่กำลังเพ้ออยู่ 
วันนั้นคือตอนบ่ายของวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1828 ณ กรุงเวียนนา
หลังจากที่เขาตายไปแล้ว  พ่อของเขาได้เขียนจดหมายจากโรงเรียน Rossau
ถึงเฟอร์ดินันด์ว่ามันเป็นวันที่นำความเศร้าสลดใจอย่างใหญ่หลวงมาสู้พวกเราทุกคน
วันที่ 22 พฤศจิกายน  คือหลังจากที่ชูเบอร์ตตายไปได้ 3 วัน  ก็มีการทำพิธีฝังศพ
เหนือหลุมศพมีอักษรจารึกไว้ว่า ฟรันส์ ปีเตอร์ ชูเบอร์ต  ถึงแก่กรรมวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ.1828
เวลา 14 นาฬิกา ด้วยโรคไข้ประสาท  ฝังในวันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1828”
ในชั่วชีวิตอันสั้นเพียง 31 ปี ของชูเบอร์ตนี้  เขาได้ทิ้งมรดกตกทอดมาให้แก่โลกอย่างมากมายที่สุด
และอีก 60ปีต่อมา  หลังจากที่เขาตายไปแล้ว  ก็ได้ขุดศพของเขาไปฝังไว้เคียงข้างหลุม
ฝังศพของเบโธเฟน  ณ สุสาน  Wabring Cemetery  ตามความปรารถนาของเขา  เหนือหลุมฝังศพนี้มีคำจารึกไว้ว่า
Music has buried here a rich treasure, but fairer hopes.
Franz Schubert lies here, born on Jan 31, 1797.  died  on Nov. 19, 1828, thirty – one years old’


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น