วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โจฮันเนส บราหมส์ Johannes Brahms 1833 - 1897



โจฮันเนส บราหมส์
Johannes Brahms
1833 - 1897

(Johannes  Brahms) เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1833  ณ เมืองแฮมเบอร์ก  ประเทศเยอรมันนี  
เขาเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนและขัดสนเงินทอง  มีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นบ้านที่พำนักพักพิงก็โกโรโกโส
 อยู่ในย่านสลัมอันสกปรกที่สุดของเมืองแฮมเบอร์ก  โจฮันน์ จาคอบ บราพมส์  (Johann Jakob Brahms)  
ผู้เป็นบิดาทำมาหาเลี้ยงครอบครัวอันมีลูก 3 คนด้วยการยึดอาชีพทางดนตรีโดยเป็นนักเล่น  Double Bass
ประจำอยู่ที่โรงละครแฮมเบอร์ก  สตัดท์ เธียเตอร์ (Hamburg Stadt Theater)   มีรายได้จากอาชีพนี้น้อยมาก 

เป็นรายได้ที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง 
ส่วนมารดานั้นชื่อ โจฮันนา นิสเซ่น  ทำงานเย็บปักถักร้อยเล็ก ๆ น้อย ๆ และเลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน  

บราหมส์เป็นลูกคนที่ 2 ในจำนวน 3 คน
            บราหมส์มีแววทางดนตรีปรากฏออกมาตั้งแต่เขายังเป็นเด็กเล็กๆอยู่ โดยสามารถทำ 
เสียงดนตรีได้ตั้งแต่ยังนอนแบเบาะ พอโตขึ้นมาหน่อยก็สามารถประดิษฐ์โน้ตเพลง ขึ้นใช้เป็นเครื่องหมายแทนเสียงดนตรีที่เขาแต่งขึ้นเอง ลงบนกระดาษตามประสา เด็กๆที่คิดจะเลียนแบบผู้ใหญ่
เมื่อพ่อเห็นความเป็นอัจฉริยางดนตรีของลูกชายปรากฏออกมาเช่นนั้น จึงเริ่ม เอาใจใส่ฝึกสอนให้ลูกเล่นไวโอลิน 

เชลโล และฮอร์น  ซึ่งขณะนั้นบรามหมส์มีอายุเพียง 6 ขวบเท่านั้น
            เมื่อค.ศ.  1841 ขณะที่มีอายุ 8 ขวบ  พ่อได้ส่งไปเรียนเปียโนกับครูคนหนึ่งชื่อ  ออตโต ฟรันซ์ คอสเซล  
(OttoFranzCossel)   ซึ่งเป็นครูสอนดนตรีฝีมือดีอยู่ในท้องถิ่นนั้น  บราหมส์เรียนได้รวดเร็วมาก  
คือสามารถเรียนเปียโนกับครูคอสเซลได้หมดทุกเพลง  และคล่องแคล่วมาก  พออายุได้ 10 ขวบ  คือ ใน ค.ศ. 1843 
คอสเซลได้แนะนำให้บราหมส์ไปเรียนเทคนิคตลอดจนทฤษฎีต่างๆในการแต่งเพลงกับเอ ดวดมารุกซเซน
 (EduadMarxsenค.ศ.1806–1887) นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงคน หนึ่งในแฮมเบอร์ก
เขาได้สอนการแต่งเพลงให้กับบราหมส์อย่างเอาใจใส่เป็นอย่างดีในตอนหลัง ๆ เพราะเห็นว่าบราหมส์เรียน

เป็นมีความตั้งอกตั้งใจและเอาใจใส่ในบทเรียนเป็น อย่างมาก  นอกจากนั้นบราหมส์ยังสนใจงานของบาคและเบโธเฟน 
จนสามารถเล่นเพลงบางเพลงของคีตกวีทั้งสองได้เป็นอย่างดี  ค.ศ. 1844 ก็สามารถออกเล่นเปียโนตามสถานที่เต้นรำ 
เพื่อหาเงินมาช่วยเหลือจุนเจือครอบครัวได้บ้าง
            ค.ศ. 1845  อายุได้ 18 ปี  สามารถแต่งเพลงได้แล้ว  และได้แสดงการเดี่ยวเปียโนเป็นครั้งแรก  
ในรายการแสดงการเดี่ยวเปียโนวันนั้นก็มีเพลงของเขารวมอยู่ด้วย ด้วยความขัดสนเงินทองนี่เองทำ
ให้เขาจำเป็นต้องใช้วิชาดนตรีที่ได้ร่ำเรียนมา ช่วยแก้ปัญหานั้น  เขาดำเนินชีวิตด้วยการสอนดนตรี
และรับจ้างเล่นเปียโนตามสถานเต้นรำต่าง ๆ ได้เงินมาช่วยเหลือครอบครัวบ้างพอควร 
ค.ศ. 1847  เดินทางไปพักผ่อนที่เมือง Winsen – an – der Luhe  เขาได้แต่งเพลง ABC และ 

  Postilons Morgenlied  สำหรับให้นักร้องชาย   ค.ศ. 1848  เดินทางไปตากอากาศที่ Winsen  เช่นเคย   
และได้แสดงคอนเสิร์ตเพลง  Fantasy on a favourite Waltz  ที่เขาแต่งขึ้นเองเมื่อวันที่ 21 เมษายน  

นอกจากการแสดงคอนเสิร์ตแล้ว  บราหมส์ได้คร่ำเคร่งกับการแต่งเพลงต่าง ๆ ถึง 150 เพลง
            ค.ศ. 1850 เอดวด แมนยี่  (Eduard Remenyi  ค.ศ. 1830  -  1898)  นักไวโอลินที่มีชื่อเสียง
ชาวฮังกาเรียนได้เดินทางมาหางานำที่แฮมเบอร์ก  จึงได้พบกับบราหมส์และได้เป็นเพื่อนที่สนิทสนมกัน
จนได้ร่วมดำเนินอาชีพด้วย กัน  เรเมนยีเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างมากคนหนึ่งในคณะดนตรีของบราหมส์  
และเขาเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในความเป็นอัจฉริยะของบราหมส์อย่างจริงใจ
            ค.ศ. 1853  บราหมส์และเรเมนยี  ได้ร่วมกันเดินทางตระเวนไปแสดงคอนเสิร์ตตามเมืองต่าง ๆ 
โดยเริ่มเดินทางในเดือนเมษายนไปถึงเมือง Gottengen   ในเดือนพฤษภาคม  ที่นี่ได้รู้จักกับ 
 Joseph Joachim (1831 – 1907)  นักดนตรีชั้นนำคนหนึ่งของยุโรปโดยการแนะนำของเรเมนยี 
เพราะ Joachim  เป็นเพื่อนเก่าแก่ร่วมโรงเรียนและเป็นเพื่อนร่วมชาติกับเรเมนยีด้วย   Joachim   
เป็นนักไวโอลินฝีมือเยี่ยมมากคนหนึ่ง  ซึ่งขณะนี้เป็นผู้กำกับวงดนตรีของ Royal Orchestra 
เมื่อเขารู้จักกับบราหมส์ก็มีความสนิทสนมอย่างรวดเร็ว  ต่อจากนั้นก็ไปยังเมืองไวมาร์  ที่นั่นได้รู้จักกับ
 ฟรันซ์  ลิสท์  (Franz Liszt)  Peter Cornelius  (1824 – 1874)  จินตกวีและนักแต่งเพลงชาวเยอรมัน 
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักแต่งเพลงประกอบอุปรากรประเภท   Comic Opera   และอีกคนหนึ่ง
ชื่อ Joseph  Joachim Raff (1822 – 1882) นักแต่งเพลงชาวเยอรมัน  บราหมส์ได้แสดงคอนเสิร์ตอยู่ในไวมาร์
ถึง 6 สัปดาห์  ลิสท์มีความเสื่อมใสในงานของบราหมส์อยู่ไม่น้อย
            ต่อจากนั้นบราหมส์ก็นำคณะเดินทางไปยังเมืองโคโลญ  (Cologne)  ได้รู้จักกับ  เฟอร์ดินันน์ ฮิลเลอร์ 
 (Ferdinand Hiller 1811 – 1885)  เป็นนักเปียโนชาวเยอรมัน  และ  คาร์ล เฮนริค คาส์สเตน  เรเนคเค 
(Carl Heinrich Carsten Reinecke 1824 – 1910) นักเปียโน, นักไวโอลิน, และนักแต่งเพลงผู้มี่ชื่อเสียงคนหนึ่ง  
ซึ่งขณะนั้นกำลังทำการสอนอยู่ที่  Cologne Conservatory   ออกจากเมืองโคโลญแล้วก็เดินทางไปที่เมือง  Dusseldorf 
รู้จักโรเบอร์ต  ชูมันน์  (Robert Schumann  1810 – 1856)  นักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมัน  

ชูมันน์ได้ให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดี  และต่อจากนั้นบราหมส์ก้รู้จักชอบพอกับครอบครัวของชูมันน์ 
ทั้งนี้ก็เพราะเขามีจดหมายแนะนำตัวและฝากฝังจาก
Joachim มาด้วย   ประกอบกับชูมันน์นิยมในความเป็นอัจฉริยะของบราหมส์ด้วย   จากบันทึกในไดอารี่ของชูมันน์

ประจำเดือนกันยายน ค.ศ. 1853  มีตอนหนึ่งกล่าวว่า “—บราหมส์มาหาฉัน  เขาเป็นนักดนตรีและนักแต่งเพลงผู้อัจฉริยะ” 
  จากการที่ชูมันน์ได้รู้จักกับบราหมส์และได้ฟังเพลงของเขาแล้ว  ทำให้ชูมันส์รู้สึกประทับใจในตัวเขาตลอดจนงาน
ของเขาเป๋นอย่างยิ่ง  จนถึงกับเขียนบทความยกย่องบราหมส์ลงในนิตยสารดนตรีที่ชื่อฉบับหนึ่ง 
 ชื่อ  ‘The Neue Zaitschrift fur Musik’  ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1853   ภายใต้หัวเรื่องว่า 
  Neue Bahnen (New Paths)  ข้อความนั้นมีตอนหนึ่งกล่าวว่า  “—บราหมส์ นักดนตรีหนุ่มวัย 20 ปี  
เขาเป็นนักแต่งที่สามารถที่สุดผู้หนึ่ง  และสักวันหนึ่งข้างหน้านี้โลกจะต้องยอมรับในความยิ่งใหญ่ของเขา    
ทั้งในทางเพลงที่ใช้ร้องและบรรเลงด้วยวงดนตรี  เขาสามารถทั้งสองอย่าง”   จากบทความชิ้นนี้เองมำให้
ชื่อบราหมส์เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการ ดนตรีของยุโรป  ไม่ว่าเขาจะไปที่ใดก็ได้รับการต้อนรับ
และเป็นที่เชื่อถือกันในวงการทั่วไป   นับว่าคำทำนายของชูมันน์กำลังจะกลายเป็นจริงแล้ว  
และจากความศรัทธาอย่างแรงกล้าของชูมันน์นั่นเองทำให้เขาเขียนจดหมายติดต่อไป
 ยังสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงเช่น Breitkopf  และ Hartel  เพื่อชักชวนให้เป็นผู้จัดพิมพ์งานของบราหมส์  
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันตายของชูมันน์คือ 3 ปี       หลังจากนั้น  บราหมส์ให้ความเคารพนับถือในตัวชูมันน์
อย่างไม่มีอะไรเปรียบ  และได้สนิทสนมกันมากเป็นพิเศษ  คือเข้านอกออกในในบ้านของชูมันน์ได้อย่างสบาย 
และที่สำคัญที่สุดก็คือรู้จักชอบพอกับคลารา ชูมันน์ (Clara Schumann)     ภรรยาของชูมันน์เป็นอย่างดี

และบราหมส์ก็ให้ความเคารพอย่างสูงแก่เธอด้วย
จากนั้นก็เดินทางต่อไปยังเมืองไลพ์ซิก  ที่นี่บราหมส์ก็ได้พบกับ  Hector Berlioz ( 1803 – 1869) 

นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส   และได้แสดงคอนเสิร์ตด้วยเพลงของเขาเอง 2 เพลง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1853
            ค.ศ. 1854 บราหมส์ได้กลับมาที่  Dusseldorf   อีกครั้งหนึ่ง  พอดีกับระยะนี้ โรเบอร์ต      ชูมันน์ 
ผู้ที่เขาเคารพนับถือเกิดอาการวิกลจริตขึ้นและพยายามจะฆ่าตัวตายหลายครั้ง 
บราหมส์ต้องคอยดูแลช่วยเหลือคลารา ชูมันน์  เกี่ยวกับเรื่องยี้อยู่จนกระทั่งชูมันน์ถึงแก่กรรม
 ในปี ค.ศ. 1856  ค.ศ. 1855  บราหมส์ได้หางานทำโดยเป้นครูสอนดนตรีอยู่ใน Dusseldorf   ค.ศ. 18756 
ได้หาโอกาสเดินทางไปกรุงบอนน์และได้ไปแสดงคอนเสิร์ตที่โคโลญ  (Cologne)   
 และกรุงบอนน์ร่วมกับ Julius Stockhausen นักร้องที่มีชื่อเสียง  เมื่อชูมันน์ถึงแก่กรรมแล้ว 
บราหมส์ยังคงอยู่ใกล้ชิดสนิสนมกับคลาราเช่นเคย   ความสนิทสนมระหว่างคนทั้งสองนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
 ในตอนนี้เองก็มีเสียงซุบซิบนินทากันทั่วไปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับ คลารา  
เรื่องซุบซิบนินทานั้นได้แพร่สพัดไปในทางอกศุลว่า  ทั้งสองคนนี้มีความสัมพันธ์กันฉันท์ชู้สาว 
และลือกันว่าบราหมส์คือพ่อของลูกคนสุดท้ายของคลาราแต่ใครจะลืออย่างไรก็ตาม  ทั้งสองคนยังคงรักษามิตรภาพ
ไว้โดยไม่สะทกสะท้านต่อข่าวอกุศลเหล่านั้น  ความจริงแล้วความสัมพันธ์ของคนทั้งสองนั้นมีความรักต่อกันอย่างคนที่เคารพ 
 นับถือกันอย่างแท้จริง  คลารามีอายุแก่กว่าบราหมส์ถึง 14 ปี
ค. ศ. 1857  บราหมส์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายวงดนตรีให้แก่  Prince Lippe – Dermold  
 งานในหน้าที่ของเขาเป็นงานไม่หนักมากนัก  เขาจึงมีเวลาพอที่จะแต่งเพลงต่าง ๆ ขึ้นมาหลายเพลง 
เป็นต้นว่าเพลงสำหรับเล่นกับวงออร์เคสตรา  ซึ่งได้แต่งขึ้นเป็นครั้งแรก  นอกจากนั้นยังมีเพลง  Serenade 2  เพลง
, และเพลง  Piano concerto No.I, in D minor   และยังมีเพลงอื่น ๆ อีกนอกจากนั้น  
บราหมส์ยังได้เป็นครูสอนเปียโนให้แก่เจ้าหญิงเฟรเดริค  (Princess Friderike)   และได้กำกับวงดนตรีให้แก่สมาคม 
‘The Choral Society’  อีกด้วย  ค.ศ. 1858  เดินทางไปตากอากาศที่  Gottinggen
            ค.ศ. 1859  บราหมส์ได้นำเพลง Piano Concerto No.I, in D minor  ออกแสดงที่         แฮโนเวอร์  (Hanover)    และ ที่ไลพ์ซิก (Leipzig)   โดยวงดนตรีของ Gewahdhaus Orchestra  เมื่อวันที่ 22 มกราคม และ 27 มกราคม ค.ศ. 1859  
แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ  ต่อจากนั้นบราหมส์ก็ได้ตำแหน่งผู้กำกับวงดนตรีให้แก่ Women’s Choir  ที่เมืองแฮมเบอร์ก
  พอถึงฤดูใบไม้ร่วงเขาก็เดินทางกลับมาปฏิบัติหน้าที่ที่เดทโมลด์ (Detmold)   ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้  
พอถึง ค.ศ. 1860  บราหมส์ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้กำกับวงดนตรีของเจ้าชาย Lippe – Detmold 
แล้วเดินทางออกจากเดทโมลด์ในเดือนมกราคมไปยังแฮมเบอร์ก  และใช้เวลาอยู่ที่นั่น 2 ปี  
และได้เป็นผู้กำกับวงดนตรีให้แก่  Women’s Choir  อีกครั้งหนึ่ง 
พอถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 1862  ก็เดินทางไปเวียนนาเป็นครั้งแรก  และค.ศ.  1863   เขาเดินทางมาเวียนนาอีกครั้ง

และได้แสดงคอนเสิร์ตด้วยเพลง Piano Quarte, Op.25  ซึ่งเป็นของเขาเอง
จากนั้นก็เดินทางไปเยี่ยม  ริชาร์ด  วากเนอร์  (Richard Wagner)  ที่ Penzing  เมื่อวันที่ 6 มกราคม 

พอถึงฤดูใบไม้ผลิเขาก็ได้รับเชิญให้มาเป็นผู้กำกับวงดนตรีของ  Singakademie  ในเวียนนา  
เขาจึงตกลงใจที่จะทำงานเป็นหลักแหล่งที่นี่ในเดือนสิงหาคม   หลังจากที่ได้ผิดหวังจากตำแหน่งผู้อำนวยการดนตรีของ 
 Hamburg Philharmoni  Orchestar  มาแล้ว
            ปีรุ่งขึ้นคือ ค.ศ. 1864  บราหมส์ก็ลาออกจากตำแหน่งผู้กำกับวงดนตรี Singakademie  
 แต่ก็ยังคงพำนักอยู่ในเวียนนา  พอถึงฤดูร้อนก็เดินทางไปยัง Barden – Baden  คลารา  ชูมันส์เดินทางมาพบเขาที่นั่นด้วย
ค.ศ.1865 ได้ทราบข่าวว่าแม่บังเกิดเกล้าได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ ที่เมืองแฮมเบอร์ก 

ข่าวนี้ทำความเศร้าใจมาสู่เขาไม่น้อย พอถึง หน้าร้อนก็เดินทางไปพักผ่อนที่Baden–Baden เช่นเคย
 และใช้เวลาในฤดูใบไม้ ร่วงและฤดูหนาวออกตระเวน
แสดงคอนเสิร์ตไปเรื่อย ๆ และไปถึงเมือง  Karlsruhe   ในปี ค.ศ. 1866  และได้เริ่มแสดงเพลงประเภท  

Choral work  ซึ่งนับเป็นเพลงที่ยิ่งใหญ่เพลงหนึ่งชื่อ   Ein Deutsches Requiem (German Requiem)
ซึ่งเป็นเพลง Opus 45   ไปแต่งเสร็จเอาที่เมือง Baden – Baden    ในเดือนสิงหาคม  แต่ยังคงเหลือ No.5   

ที่ยังแต่งค้างอยู่  จากนั้นก็ตระเวนแสดงคอนเสิร์ตไปกับ   Joachim  ในเดือนตุลาคม
  แล้วก็เลยแวะไปเยี่ยมพ่อที่เมืองแฮมเบอร์ก  กลับมาถึงเวียนนาในเดือนพฤศจิกายนในปีเดียวกัน
  พอถึงปี 1867  ก็เดินทางตระเวนไปแสดงคอนเสิร์ตที่ออสเตรีย  และปูดาเปส  ฮังการี (Budapest, Hungary) 
ในฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูใบไม้ร่วง  กลับมาถึงเวียนนาในเดือนธันวาคม  แล้วนำบางตอนของเพลง   Requiem  

ออกแสดง บราหมส์ออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตไปกับ  Julius  Stockhausen 
ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1768  ได้เปิดการแสดงเพลงร้องที่ยิ่งใหญ่ของเขาชื่อ  Ein Deutsches Requiem (German Requiem)  การแสดงครั้งนี้เป็นการแสดงเพลงที่สมบูรณ์ทุกตอนของ German Requiem   นอกจาก  No.5เท่านั้น 
ซึ่งนับเป็นการแสดงครั้งแรก ณ เมือง  Bremen  เมื่อวันที่ 10 เมษายน  นอกจากแสดงเพลง  Requiem   แล้วยังมีเพลงร้องเด่น ๆ อีกหลาย ๆ เพลง เช่น  Rinaldo, the Liebeslieder (Love Songs) the Alto Rhapsody, the Schicksakslied
(Song of Destiny)  ต่อมาปี ค.ศ. 1869  ได้เปิดการแสดง  German Requiem   

ที่เสร็จสมบูรณ์ทุกตอนเป็นครั้งแรกที่   Gewanhaus  ในไลพ์ซิก  กำกับดนตรีโดย  Reinecke  
 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์  เพลงนี้เองทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก
            อีก 2 ปีต่อมาคือ ค.ศ. 1871  บราหมส์ก็ได้แต่ง Triumphlied (Song of  Triumph) Op.55 
ขึ้นเพื่อเป็นการฉลองชัยชนะของเยอรมันที่ทำสงครามกับ France – Prussain  
เมื่อเปิดการแสดงที่ใดประกฏว่ามีคนเข้าชมกันอย่างเนืองแน่นเกินความคาดหมาย
ปีต่อมาพ่อของบราหมส์ได้ถึงแก่กรรมที่แฮมเบอร์กเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1872  

นำความสลดใจมาสู่เขาอีกครั้งหนึ่ง  หลังจากไปพักผ่อนที่ Baden – Baden  แล้ว  บราหมส์ก็เดินทางมายังเวียนนา  และได้เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการดนตรีของ
Gesellschaft der Musik freunde (SocietyoftheFriendsofMusic) สืบต่อจากRubinstein
            บราหมส์  ได้แต่งเพลงสำหรับบรรเลงกับวงออร์เคสตราขึ้นเป็นครั้งแรก  คือ  Variations on a Theme of Haydn   ได้นำออกแสดงให้ประชาชนฟังเป็นครั้งแรกที่เวียนนา  เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน  ค.ศ. 1873  
โดยวงดนตรีเวียนนา ฟิลฮาร์โมนิค  (Vienna Philharmonic)  ปรากฏว่าได้รับความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ  
จากความสำเส็จในครั้งนี้จึงเป็นสิ่งจูงใจให้เขาพยายามสร้างสรรเพลงประเภทที่ ใช้บรรเลงกับวงออร์เคสตราขึ้นอีก
            ค.ศ. 1874  บราหมส์ได้เดินทางไปยังเมืองไลพ์ซิก  ได้รู้จักกับ   Heinrich von Herzogenberg 
 (1853 – 1900)  นักเปียโนและนักแต่งเพลงชาวออสเตรียน และ Spitta  ตลอดจนคนอื่น ๆ อีกหลายท่าน  
พอถึงหน้าร้อนก็เดินทางไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์แถบใกล้ ๆ เมือง ซูริค (Zurich)
            บราหมส์ได้ลาออกจากผู้กำกับวงดนตรีของ Gesellschaft der Musikfreunde  ในปี ค.ศ. 1875 
จากนั้นก็ได้เริ่มแต่งเพลง   Symphony   ขึ้นเป็นเพลงแรก  และไปเสร็จเอาในปี ค.ศ. 1876  
ซึ่งนับว่าเป็น Symphony No.1  และเป็น Symphony   ที่มีความสำคัญมากที่สุดเพลงหนึ่ง  
ที่ได้แต่งขึ้นภายหลังเบโธเฟน  เพลง Symphony No.1  นำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่  Karlsruhe  
 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน โดย Dessoff  เป็นผู้กำกับดนตรีและต่อมาก็ได้นำออกแสดงที่  Mannheim  
 และ Munich  โดยบราหมส์เป็นผู้กำกับดนตรีเอง
            จากความสามารถของบราหมส์  ทางมหาวิทยาลัยเครมบริดจ์  (University of Cambridge)  
 ได้เสนอมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (Honorary doctor’s degree)   ให้แก่เขาในปี ค.ศ. 1877  
แต่บราหมส์ปฏิเสธและในปีนี้เขาเริ่มแสดงเพลง  Symphony No. 2  ขณะที่พักตากอากาศในฤดูร้อนที่ทะเลสาบ 
  Worth  เมือง Portshach  และไปเสร็จที่เมือง  Lichtenthal  ใกล้ ๆ กับ  Baden – Baden ในฤดูใบไม้ร่วง  
ได้เปิดการแสดงขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงเวียนนา  โดยวงดนตรีของเวียนนา  ฟิลฮาร์โมนิค  เมื่อวันที่ 30 ธันวา โดยมี Richter  
  เป็นผู้กำกับวงดนตรี
            ค.ศ. 1878  บราหมส์ได้เดินทางไปอิตาลี และได้ใช้เวลาในฤดูร้อนตากอากาศที่ Portschach 

เช่นเดียวกับเมื่อปีที่แล้ว ต่อมา ค.ศ. 1879 ได้เปิดการแสดงเพลงไวโอลินคอนเซอร์โตที่ Gewandhaus
ในไลพ์ซิกร่วมกับ  Joachim และในปีนี้เองทางมหาวิทยาลัยเบรสลือ  (University of Breslau)  
 ได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาปรัชญา   (Honorary degree of Doctor of Philosophy)  
 เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาสืบไป 
ในปริญญาบัตรนั้นเขียนไว้ว่า ‘The foremost living German master of the art of strict composition’
            บราหมส์ได้แต่งเพลงโอเวอร์เจอร์ชื่อ  Academic Festival Overture   
โดยอาศัยเค้าโครงจากเพลงของนักศึกษาเยอรมันในมหาวิทยาลัยแห่งนั้น  และอีกเพลงหนึ่งคือ  Tragic Overture 
  และได้นำออกแสดง ณ หอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัย Breslau   เมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1881  
หลังจากนั้นก็เดินทางไปยังฮอลแลนด์และฮังการีในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์  ขณะที่อยู่ในปูดาเบสนั้น  
บราหมส์ได้พบกับลิสท์อีกครั้งหนึ่ง  พอถึงฤดูใบไม้ผลิเขาก็เดินทางไปยังซิซิลี  
และได้ไปพักตากอากาศในฤดูร้อนที่เมือง Pressbaum   ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากนครเวียนนาเท่าใดนัก   
จากนั้นก็เดินทางต่อไปยังสตุทการ์ทและได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตด้วยเพลง  Piano Concert No.2   
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1881  โดยบราหมส์เป็นผู้เดี่ยวเปียโน  และในปีรุ่งขึ้นเขาก็ได้นำเพลงนี้ไปแสดงตามที่ต่าง ๆ 
อีกหลาย ๆ แห่ง   พอถึงเดือนกันยายน  ค.ศ. 1882  ก็เดินทางไปอิตาลี  จากนั้นบราหมส์ก็ได้แต่งเพลง 
Symphony No.3  เสร็จภายในฤดูร้อนปีนั้นเองที่เมือง Wiesbaden   และได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรกโดยวงดนตรี
  Vienna Phiharmonic Society   เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1883   ในความควบคุมของ Richter
ค. ศ. 1884   บราหมส์ได้ลงมือแต่งเพลง  Symphony No.4  ในระหว่างฤดูร้อนที่เมือง  Murz Zuschlag 
 ใน  Styria  (ออสเตรีย)  และได้เสร็จสมบูรณ์ในระหว่างที่พักผ่อน ณ ที่แห่งนั้นเอง  ใน ค.ศ. 1885  
ได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่  Meiningen  ในความควบคุมวงดนตรีของ  Hans Von Bulow   
จากนั้นก็ได้เปิดการแสดงเพลงซิมโฟนี่  หมายเลข 4 ที่เวียนอีกในการอำนวยโดย  Richter  
 เมื่อวันที่17 มกราคม และที่ไลพ์ซิกในวันที่  18   กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886  และต่อมา
วันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1886  ที่เมืองแฮมเบอร์กโดยบราหมส์เป็นผู้ควบคุมวงดนตรีด้วยตัวเขาเอง  

ต่อจากนั้นก็นำออกแสดงที่เมือง Thun  ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง
            ค.ศ. 1887  บราหมส์ได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลีกับ  Kirchner 
และ Simrock ไปจนถึงเมือง Thun  สวิสเซอร์แลนด์ในฤดูร้อน  ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ.1888  
บราหมส์ได้พบกับไชคอฟสกี้ (Tchaikovsky)  จากนั้นเขาใช้เวลาในฤดูใบไม้ผลิเดินทางท่องเที่ยวไปยังอิตาลี 
แล้วได้เดินทางไปพักตากอากาศในฤดูร้อนที่เมือง  Thun  อีกครั้งซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3
            จากความสามารถในการแต่งเพลงต่าง ๆ มากมายจนมรชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วยุโรป 
จึงทำให้จักรพรรดิฟรังซิส  โจเซฟที่ 1  (Emperor Francis Joseph I 1830 – 1916)   แห่งออสเตรีย  
ได้ทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  ออร์เดอร์  ออฟ ลีโอโปลด์  (Order of Leopold)  ให้แก่ บราหมส์ในปี ค.ศ. 1889   ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติยศอย่างสูงที่นักดนตรีพึงจะได้รับ
            ในระหว่าง ปี ค.ศ. 1890 – 1893  บราหมส์ก็ใช้เวลาว่างท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ 
อยู่ระหว่างอิตาลีกับ  Ischi ค.ศ. 1895  เขาได้ตระเวนไปเยอรมันกับ Muhlfeld  แล้วก็เดินทางไปพักผ่อนในฤดูร้อนที่ Ischi  แล้วเดินทางไปยัง Meiningen, Franlfert, และสวิสเซอร์แลนด์
            เมื่อ ค.ศ. 1896  เดือนพฤษภาคม   บราหมส์ได้รับโทรเลขจากเมือง  Frankfert am Main 
เป็นโทรเลขของ Marie Schumann ลูกสาวคนโตของคลารา และ โรเบอร์ต ชูมันน์  ซึ่งเธอได้แจ้งว่า
คุณแม่คลาราได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว”   เมื่อได้รับข่าวนี้แล้ว  บราหมส์ก็ต้องรีบเดินทางไปยังเมือง  Frankfert  
  เพื่อร่วมในพิธีฝังศพของคลารา ชูมันน์  ศพของคลาราได้ฝังไว้เคียงข้างหลุมศพของ    ชูมันน์ผู้เป็นสามี  
บราหมส์ได้เป็นคนโปรยดินลงในหลุมฝังศพจนเสร็จเรียบร้อย
            หลังจากพิธีฝังศพคลาราแล้ว  บราหมส์รู้สึกไม่สบายและปวดศีรษะเล็กน้อย  เขารีบเดินทางกลับไปที่เวียนนา 
จากนั้นสุขภาพของเขาก็ทรุดโทรมลงมาก  บราหมส์ได้เดินทางไปยังเมือง  Carlsbad  ในเดือนกันยายน  
เพื่อให้หมอตรวจสุขภาพ   เมื่อหมอทำการตรวจร่างกายของเขาแล้ว  ก็พบว่าเขาเป็นโรคมะเร็งในตับซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรง 
เขารู้สึกตกใจมาก  จากนั้นก็ได้เดินทางกลับมาถึงกรุงเวียนนาในเดือนตุลาคม  ถึงเขาจะเสียกำลังใจอย่างมากก็ตาม  
บราหมส์ก็ยังได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง 
ในวันที่ 7 มีนาคม  การแสดงคราวนี้นับว่าเป็นการปรากฏตัวต่อประชาชนเป็นครั้งสุดท้าย 

เพราะหลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์  บราหมส์ก็ได้ถึงแก่มรณกรรมที่เวียนนาในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1897  
ด้วยโรคมะเร็งในตับ  รวมอายุได้ 64 ปี  ศพของเขาได้กระทำพิธีฝังไว้ที่สุสาน Central Cemetery  
อยู่เคียงข้างหลุมศพของชูเบอร์ตนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น