วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เฟลิกซ์ เมนเดนส์โซห์น Felix Mendelssohn 1809 – 1847



Felix Mendelssohn
เฟลิกซ์  เมนเดนส์โซห์น
Felix Mendelssohn
1809 – 1847 
            เป็นนักดนตรีและคีตกวีที่นับว่าโชคดีกว่าบรรดาคีตกวีและนักดนตรีที่มีชื่อ เสียงทั้งหลาย  ทั้งนี้ก็เพราะว่าเขาเกิดมาในกองเงินกองทอง  มีชีวิตดำเนินไปอย่างราบรื่น  สะดวกสบายและอุดมสมบูรณ์  ไม่เคยรู้จักกับความอดอยากยากจน  โดยที่บิดาเป็นคนร่ำรวยมั่งคั่ง  และมีอาชีพเป็นนายธนาคารใหญ่  แห่งเมืองแฮมเบอร์ก  มีคนนับหน้าถือตาทั่วทุกมุมเมือง  ด้วยความมั่งคั่งสมบูรณ์อย่างล้นเหลือของพ่อของเขานั่นเอง  จึงไม่มีใครคาดฝันเลยแม้แต่น้อยว่าเขาจะดำเนินชีวิตไปในแบบของศิลปินทาง ดนตรี  และประพันธ์เพลงจนมีชื่อเสียงก้องโลก  เพราะผู้ที่ดำเนินชีวิตไปในแบบนี้มักเป็นคนยากจนค่นแค้น  มีความเป็นอยู่อย่างแสนจะลำเค็ญแทบทุกคน
            แต่ลีลาชีวิตของเมนเดลส์โซห์นนั้น  แปลกแตกต่างไปจากคนเหล่านั้น  เขาใช้ความร่ำรวยของเขาไปในทางสร้างสรรความสุขให้แก่มวลมนุษย์ด้วยเสียง เพลง  ชื่อ Felix  ของเขานั้นเป็นคำลาตินแปลว่า  “ความสุข”  ซึ่งก็เป็นมงคลนามเหมาะแก่ตัวเขาอยู่มาก  ขณะที่เขาอายุ  13  ขวบ  เมนเดลส์โซห์นได้เดินทางไปเยี่ยมเกอเต้  (Goethet)  เมื่อเกอเต้เห็นความสามารถในการเล่นดนตรีของเด็กน้อยเมนเดลส์โซห์นแล้ว  ถึงกับกล่าวว่า  “วันหนึ่งข้างหน้าเด็กน้อยคนนี้จะเป็นนักดนตรี และนักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่งเป็นแน่
            ยาขอบ  ลุดวิก  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น บาร์โธลดี้  (Jakob Ludwig felix Mendeissohn – Bartholdy)  เกิดเมื่อวันที่  3  กุมภาพันธ์  ค.ศ.  1809  ที่เมืองแฮมเบอร์ก  (Hamburg)  ประเทศเยอรมนี  เป็นลูกคนที่  2  และเป็นลูกชายคนโตของ  อับราฮัม  เมนเดลส์โซห์น  (Abrahum Mendelssohn)  นายธนาคารผู้มั่งคั่ง  มารดาชื่อ  ลีห์  ซาโลมอน (Leah Salomon)  และเป็นหลานชายของปู่  โมเสส  เมนเดลส์โซห์น  (Moses Mendels – sohn)  ปรัชญาเมธีผู้ชาญฉลาดชนชาติยิว  โมเสสเป็นบุตรชายของเมนเดล  (Mendel)  ชาวยิวที่มีฐานะยากจนคนหนึ่งแห่ง  Dessau  ยังชีพด้วยการคัดลอกหนังสือต่างๆ  และดูแลโรงเรียนสอนภาษาเฮบรู  (Hebrew)  โมเสส  ได้นามสกุล  “เมนเดลส์โซห์น”  (Mendelssohn)  มาจากคำว่า  ‘Son of Mendel’  หรือ  “ลูกของเมนเดล”  นั่นเอง  โมเสสเป็นคนเฉลียวฉลาดเมื่อเติบโตขึ้นเขาก็ศึกษาภาษาต่างๆ  ได้อย่างแตกฉาน  เป็นต้นว่า  ภาษากรีก  ลาติน  เยอรมัน  อังกฤษ  และฝรั่งเศส  เขาได้เรียนหนังสือทางด้านปรัชญาขึ้นหลายเล่ม  จนชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักกันทั่วยุโรป  และได้ให้สมญาเขาว่า  “เยอรมัน  โซเครตีส”  (German Socrates)  งานที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งคือ  ‘Phaedon or the lmmortality of the Soul’  ได้มีผู้แปลออกเป็นหลายภาษาทั่วยุโรป
อับราฮัม  เมนเดลส์โซห์น  เป็นลูกชายคนที่  2  ของโมเสสได้แต่งงานกับลีห์ ซาโลมอน  ลูกสาวของนายธนาคารแห่งหนึ่ง  ในเบอร์ลิน  ผู้เป็นกุลสตรีที่มีความรู้และความเฉลียวฉลาดมากผู้หนึ่ง  เธอได้รับการศึกษาสูง  มีความสามารถในการวาดภาพสีน้ำมัน  และวาดด้วยดินสอดำ  ตลอดจนเล่นดนตรีได้เป็นเยี่ยม  มีรสนิยมในทางศิลปะและวรรณคดีชั้นสูง  เธอสามารถอ่านพูดและเขียนได้หลายภาษา  เป็นต้นว่า  เยอรมันฝรั่งเศสอังกฤษและอิตาเลียน  และมีความรู้ภาษากรีกพอที่จะอ่านวรรณกรรมของโฮเมอร์  (Homer)  ไปผนวกเข้ากับสกุล  ‘Mendelssohn’  จึงกลายเป็น  ‘Mendelssohn – Bartholdy’ 
            อับราอัม เมนเดลส์โซห์น  ได้ให้กำเนิดบุตรคนแรกเป็นหญิงชื่อ  แฟนนี  คาซิลี  (Fanny Cacilie)  เมื่อวันที่  4  พฤศจิกายน  ค.ศ.  1805  และบุตรคนที่  2  เป็นชายชื่อ  ยาขอบ  ลุดวิก  เฟลิกซ์  (Jakob Ludwig Felix)  เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์  ค.ศ.  1809  (ซึ่งเป็นผู้ที่เราจะศึกษาเรื่องราวของเขาต่อไป)  และรีเบคคา  (Rebecka)  เกิดเมื่อวันที่  11  เมษายน  ค.ศ.  1811 
            ภายหลังที่รีเบคคาเกิดได้ไม่นาน  อับราฮัมก็พาลีย์ย้ายภูมิลำเนาจากเมืองแฮมเบอร์กไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่กรุง เบอร์ลิน  ในปี  ค.ศ.  1812  โดยได้รวมหุ้นกับน้องชายตั้งธนาคารขึ้น  และจดทะเบียนตามกฎหมาย  โดยตั้งชื่อธนาคารว่า  “เมนเดลส์โซห์นแอนด์  คอมปานี”  (Mendelssohn and Company)
            ขณะที่อับราฮัม  เมนเดลส์โซห์น  พาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่เบอร์ลินนั้น  ยาขอบ ลุดวิก เฟลิกซ์ ลูกชายของเขามีอายุเพียง  3  ขวบ  บ้านที่เขามาพำนักนั้น  เป็นคฤหาสน์หลังใหญ่ที่เก่าแก่  ชื่อบ้านเมนเดลส์โซห์น”  อันเป็นบ้านที่โมเสสเมนเดลส์โซห์น  ผู้พ่อของเขาได้สร้างไว้ที่  Neue Promenade  อยู่ระหว่าง  Spree  และ  Haaccsche Markt  เมื่อท่านนักปราชญ์โมเสสได้ถึงแก่กรรม  นางโมเสสผู้แม่ก็ปกครองคฤหาสน์หลังนี้ต่อมาและอยู่กับลูกๆ  หลายคน  ภายในคฤหาสน์เก่าแก่หลังนี้ตกแต่งอย่างหรูหรา  มีเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง  ภาพเขียนอันล้ำค่าฝีมือจิตรกรเอกผู้มีชื่อเสียง  และมีห้องสมุดที่ใหญ่โตซึ่งเต็มไปด้วยหนังสือทางปรัชญา  และวรรณคดีชั้นเยี่ยมของนักประพันธ์และจินตกวีผู้มีชื่อเสียง  และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ  แกรนด์เปียโนที่ผู้ดีมีตระกูลทุกบ้านจะต้องมีไว้ประจำบ้าน
            เมื่อมาอยู่คฤหาสน์หลังนี้  ลีห์  ซาโลมอน  และลูกๆ  พอใจมาก  เธอเข้ากับพี่น้องของสามีได้เป็นอย่างดี  และเธอก็ได้เป็นที่พอใจของคุณย่าโมเสสด้วย  เธอใช้เวลาส่วนมากฝึกหัดเปียโนให้แก่แฟนนีลูกสาวอายุ  8  ขวบ  และยาขอบ  ลุดวิก  เฟลิกซ์  ขณะนั้นมีอายุ  4 ขวบ  เด็กทั้งสองนี้มีแววทางดนตรีอยู่มาก  สามารถเรียนเปียโนกับแม่ได้อย่างรวดเร็ว  ต่อมาแม่ได้ให้กำเนิดแก่น้องอีกคนหนึ่งในปี  ค.ศ.  1813  ชื่อ  ปอล  (Paull) 
            บรรดาพี่น้องของเฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์นนั้น  มีพรสวรรค์ทางดนตรีทุกคน  รีเบคคาน้องสาวของเขานั้นมีเสียงดีมาก  สามารถร้องเพลงได้อย่างดีเป็นพิเศษ  ส่วนน้องชายคนที่ชื่อปอลนั้นต่อมาเป็นนักเชลโลสมัครเล่นที่มีชื่อเสียง  ส่วนแฟนนีผู้พี่สาวก็เป็นนักเปียโนที่หาตัวจับได้ยาก
            ค.ศ.  1816  อับราฮัม  เมนเดลส์โซห์นผู้พ่อได้เดินทางไปยังกรุงปารีส  เกี่ยวด้วยเรื่องธุรกิจการเงินที่ประเทศฝรั่งเศสจะต้องชดใช้ค่าปฏิกรรม สงครามให้แก่ปรัสเซีย  เขาได้นำครอบครัวไปด้วยและพักอยู่ที่นั่นเป็นเวลานาน  ขณะนั้น  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์นอายุได้  7  ขวบ  แม่ได้ให้เขาและแฟนนีพี่สาวไปเรียนเปียโนกับมาดามมารีบิโกตฺ  (Mme Marie Bigot)  นักเปียโนที่มีชื่อเสียงอยู่ในปารีส  เรียนอยู่ได้เพียงปีเดียว  พ่อก็เสร็จธุระและพาเดินทางกลับเบอร์ลิน
            ค.ศ.  1817  พ่อได้จ้างครูมาสอนวิชาต่างๆ  เพื่อให้การศึกษาแก่ลูกๆ  โดยให้เรียนกันอย่างจริงจัง  ครูที่ว่าจ้างมาสอนก็เป็นผู้มีชื่อเสียงทั้งนั้น  เช่น  คาร์ลเฮยส์  (Karl Heyse)  ผู้ที่มีชื่อว่าบิดาแห่งนวนิยายมาเป็นผู้ดูแล และแนะนำวิชาสามัญทั่วๆ  ไป  โรเซล  (Rosel)  สอนวาดเขียน  ลุดวิก  เบอร์เกอร์  (Ludwig Berger)  เป็นครูสอนเปียโนคาร์ล  เซลเตอร์  (Carl Zelter)  เป็นครูสอนการแต่งเพลงและการประสานเสียง  (Harmony)  คาร์ล  วิลเฮล์มเฮนนิง  (Carl Wilhelm Henning)  สอนไวโอลิน  พ่อแม่ได้เอาใจใส่กวดขันต่อการศึกษาของพวกลูกๆ  มาก  ขณะที่ลูกๆ  กำลังเรียนอยู่ก็จะเฝ้าสังเกตดูตลอดเวลา  และจะต้องให้พวกลูกๆ  ตื่นนอนตั้งแต่ตีห้าเพื่ออ่านหนังสือและทบทวนบทเรียน  พอรับประทานอาหารเช้าแล้วก็ต้องเข้าเรียนต่อไปอีกเกือบตลอดวัน  และต้องเรียนอย่างคร่ำเคร่งตลอดสัปดาห์  มีวันหยุดเฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น  ดังนั้นพอถึงวันอาทิตย์พวกพี่น้องเหล่านี้ต่างพากันดีใจมาก  เพราะไม่ต้องตื่นแต่เช้าอ่านหนังสือ  ไม่ต้องเรียนหนังสือ  มีเวลาพักผ่อนเล่นดนตรีตามใจชอบ  และเป็นอิสระ  การที่พ่อเคร่งครัดและกวดขันเช่นนี้ก็เพื่อให้ลูกๆ  ได้รู้จักคุณค่าของเวลาและเป็นผู้มีระเบียบวินัย  เมื่อโตขึ้นจะได้เป็นนิสัยติดตัวไป  ทำให้เป็นสิ่งผูกพันและเห็นอกเห็นใจรักใคร่กลมเกลียวกันในระหว่างครอบครัว  เพราะทุกคนอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  ปฏิบัติอยู่ในโอวาทของครูเป็นอย่างดีตลอดจนอายุถึง  25  ปี

            ต่อมา  ค.ศ.  1818  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  อายุได้ ขวบ  เขาได้ออกแสดงเปียโนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก  ปรากฏว่าได้รับความชมเชยมาก  ต่อมาวันที่  11  เมษายน  ค.ศ.  1819  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์นได้เข้าศึกษาที่สถาบันการดนตรีชื่อ  Singakademie  ซึ่ง  คาร์ลเซลเตอร์เป็นผู้อำนวยการ  เขาจัดอยู่ในกลุ่มเสียง  Alto  (เสียงร้องเพลงระดับต่ำที่สุดสำหรับผู้หญิง  ซึ่งต่อมาในวันที่  18  กันยายน  ปีนั้นเอง  เขาก็ได้ออกร่วมแสดงในเพลงชุด  Nineteenth Psalm  ที่โรงเรียนจัดขึ้นจากการแสดงคราวนี้ทำให้เขาได้รับการยกย่อง  และได้เข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มนักร้องเสียง  Alto  อยู่หลายปี  จนกระทั่งเสียงเขาเปลี่ยนไปเป็นเสียง  tenor  (เสียงระดับสูงสุดของฝ่ายชาย)  เมื่อเขามีอายุ  16  ปี  ขณะที่เรียนอยู่ในโรงเรียนเมื่อปี  ค.ศ.  1819  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์นก็ได้เริ่มฝึกหัดการแต่งเพลง  พอถึง  ค.ศ.  1820  เขาก็แต่งเพลงได้ถึง  50  เพลง  รวมทั้งเพลงประเภท  trio, Sonatas  สำหรับเปียโน  และสำหรับเล่นไวโอลินคู่กับเปียโน  เพลงสำหรับเล่นออร์แกนเพลง  cantata  นอกจากนั้นยังมีบทละครตลกเล็กๆ  น้อยๆ  อีกด้วย
            ค.ศ.  1821  คาร์ล  เซลเตอร์ ได้พาเฟลิกซ์  เมนเดลโซห์นลูกศิษย์ที่เฉลียวฉลาดเดินทางไปเยี่ยมเกอเต้  เพื่อนเก่าแก่ของเขาที่เมืองไวมาร์  นับว่าเป็นครั้งแรกที่  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  ได้จากบิดามารดาไปท่องเที่ยวไกลๆ  ตามลำพัง  เมื่อเฟลิกซ์  พบกับเกอเต้นักประพันธ์ผู้เฒ่าวัย  72  แล้ว  คนทั้งสองได้สนิทสนมกันอย่างรวดเร็วอย่างน่าประหลาด  แม้จะมีวัยแตกต่างกันมากก็ตาม  ทั้งนี้เพราะคนทั้งสองมีรสนิยมทางดนตรีเหมือนๆ  กัน  เกอเต้ได้ให้เด็กน้อยวัย  12  ขวบ  เล่นเพลงชั้นเยี่ยมของนักดนตรีที่มีชื่อเสียงให้เขาฟัง  เขาพอใจในความสามารถของเฟลิกซ์มากทีเดียวที่สามารถเล่นเพลงยากๆ  ได้อย่างดียิ่ง  เฟลิกซ์เขียนจดหมายถึงบ้านเล่าให้พ่อแม่ฟังว่า  “เวลาบ่ายทุกๆ  วัน  เกอเต้จะมาจัดแจงเปิดฝาเปียโนให้  แล้วบอกว่า  วันนี้ฉันยังไม่ได้ยินเสียงเปียโนของเธอเลยพ่อหนู  โปรดเล่นให้ฉันฟังหน่อยได้ไหมล่ะ”  ดังนั้นทุกๆ  บ่ายเขาจึงต้องเล่นเปียโนให้เกอเต้ฟังเสมอ  เพลงที่เล่นโดยมากก็เป็นเพลงของ  ไฮเดินโมสาร์ทบาค และ  เบโธเฟน  ขณะที่เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น พำนักอยู่กับจินตกวีผู้เฒ่าเพียง  16  วันเท่านั้น  คาร์ลเซลเตอร์ก็พาเดินทางกลับเบอร์ลิน  เมื่อมาถึงบ้านแล้ว  เขาก็เริ่มทบทวนบทเรียนที่ได้ทอดทิ้งไปสองอาทิตย์กว่าอย่างจริงจังอีกครั้ง หนึ่ง  วิชาเหล่านั้นได้แก่  ภาษากรีก  และคณิตศาสตร์  ส่วนวิชาดนตรีนั้นเขาจะต้องไต่ถามและฝึกซ้อมกับพี่สาวและน้องๆ  ที่เรียนเกินหน้าไป  เขากลับมาบ้านได้อยู่ร่วมกับพี่น้องด้วยความสุขกายสบายใจ  และดูเขาคร่ำเคร่งเอาจริงเอาจังขึ้น  และเป็นเด็กที่มีความฉลาดเกินอายุอย่างน่าอัศจรรย์  เพราะปรากฏว่าในปี  ค.ศ.  1821  นี้เอง  ขณะที่เฟลิกซ์มีอายุเพียง 12  ปี  เขาก็สามารถแต่งเพลงซิมโฟนีได้ถึง  5  เพลง  (สำหรับเล่นกับเครื่องดนตรีพวก  String)  Fugue for string – quartet  9  ชิ้น  นอกจากนั้นก็มี  Motets, Songs, piano pieces,  และอุปรากร  2  เรื่อง  ฯลฯ
            ค.ศ.  1822  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  ได้จัดวงคอนเสิร์ตขึ้นบรรเลงในเช้าวันอาทิตย์  คอนเสิร์ตวงนี้เป็นวงของครอบครัว  มีแต่พี่น้องร่วมกันเล่น  โดยมี  เฟลิกซ์เป็นผู้ควบคุมวงดนตรี  ได้จัดแสดงที่สวนภายในคฤหาสน์  “เมนเดลส์โซห์น”  ทุกเช้าวันอาทิตย์  ดังนั้นพอถึงเช้าวันอาทิตย์พวกเพื่อนๆ  นักดนตรี  ตลอดจนเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง  จะพากันมาชุมนุมเพื่อฟังเพลงที่วงดนตรีครอบครัวเมนเดลส์โซห์น  จัดแสดง  อันมีการเล่นเปียโนไวโอล่าและออร์แกน  เพลงที่นำมาเล่นส่วนมากเป็นงานของ   เฟลิกซ์แต่งเองทั้งนั้น
            ค.ศ.  1824  lgnaz Moscheles นักเปียโนที่มีชื่อเสียงโด่งดังคนหนึ่งในขณะนั้นเดินทางมาท่องเที่ยวที่ เบอร์ลิน  เมื่อได้พบปะกับเฟลิกซ์แล้วก็กลายเป็นเพื่อนสนิทกันไปตลอดชีวิต  ถึงแม้เวลาจากกันก็ยังมีจดหมายติดต่อกันเสมอมิได้ขาด  ปรากฏว่าจดหมายติดต่อกันระหว่างเฟลิกส์เมนเดลส์โซห์นกับโมเชเลสนั้น  ได้รวบรวมตีพิมพ์ออกจำหน่ายในปี  ค.ศ.  1888  ได้เล่มโตพอควร  ตลอดเวลาหนึ่งเดือนที่โมเชเลสพักอยู่ที่เบอร์ลิน เขาได้สอนเปียโนให้แก่แฟนนีและเฟลิกซ์  เกี่ยวกับเรื่องนี้โมเชเลสได้บันทึกไว้ว่า  เขาไม่คิดเลยว่าเฟลิกซ์เป็นนักเรียนของเขา  เพราฝีมือเล่นเปียโนของเฟลิกซ์นั้นเทียบได้กับชั้นครูทีเดียว และท่วงทีการเล่นก็เทียบเท่านักเปียโนอาชีพ  แต่บิดาของเฟลิกซ์ก็ยังไม่เชื่อในความสามารถของลูกชาย  จนกระทั่งเขาได้นำลูกชายไปพบเชรูบินี  (Cherubini)  นักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่เพื่อขอความเห็น  ขณะนั้นเชรูบินีเห็นหน่วยก้านทางดนตรีของเฟลิกซ์ก็รู้สึกพอใจมาก  จึงกล่าวกับพ่อของเขาว่า  เด็กคนนี้มีฝีมือไม่เลวเลย  ถ้าไดรับการฝึกฝนอย่างถูกต้องแล้วจะมีอนาคตไปไกลมาก  และจะขอรับฝึกสอนเด็กคนนี้ด้วยความเต็มใจ  พ่อพักอยู่กับลูกชายไม่นานก็ต้องรีบเดินทางกลับบ้านด้วยความเป็นห่วงทาง บ้าน  คงปล่อยให้เฟลิกซ์เรียนดนตรีอยู่กับเชรูบินีที่ปารีสต่อไป  ขณะนั้นเฟลิกซ์มีอายุเพียง  16  ปี
            ที่ปารีสนี่เอง  เฟลิกซ์ได้รู้จักกับนักดนตรีชั้นนำหลายคน  เช่น  Meyerbeer,  Rossini, Halevy, Onslow, Paer, Herz  และ  Kalkbrenner  เป็นต้น  แต่เขาก็ไม่สู้จะชอบบรรยากาศทางดนตรีที่นี่เท่าใดนัก  เพราะที่นี่ให้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีชั้นเยี่ยมของเยอรมันแก่เขาน้อยมาก เขาอยากจะกลับไปอยู่ที่บ้านมากกว่า  และในปีนี้เองเฟลิกซ์ก็ได้แต่งเพลง  Piano Quartet op. 3  อุทิศแก่เกอเต้ผู้ที่เขาให้ความเคารพและนับถืออย่างสูง
            ภายหลังที่กลับมาจากปารีสไม่นานนัก  พอถึงฤดูร้อนครอบครัวเมนเดลส์โซห์นก็ย้ายจาก  Neue Promenade ไปอยู่ที่บ้านเลขที่  3  Leipzigerstrasse  บ้านหลังใหม่นี้ก็เป็นบ้านที่ใหญ่โตอยู่บนที่ดินบริเวณกว้างขวางมีตึกเล็ก ตึกน้อยอีกหลายตึก  อยู่ใกล้ๆ  กับ  Potsdam Gate  ชานเมืองเบอร์ลิน  บ้านหลังนี้อยู่ใกล้ๆ  กับสวนอุทยานที่สวยงาม  มีเนื้อที่ถึง  10  เอเคอร์  ภายในตัวตึกใหญ่มีห้องที่กว้างขวางพอที่จะแสดงคอนเสิร์ตได้อย่างสบายๆ  และอีกตึกหนึ่งที่อยู่ติดกันนั้นก็สามารถดัดแปลงเป็นที่สำหรับเล่นดนตรี  ซึ่งจุคนฟังได้หลายร้อนคน  ในหน้าร้อนตึกนี้ก็ไม่ร้อนอบอ้าว
            เฟลิกซ์ชอบบ้านหลังใหม่นี้มาก  เพรามันกว้างขวางสะดวกสบายและสวยงาม  มันสร้างบรรยากาศให้เกิดอารมณ์ทางดนตรีเป็นอย่างดี  ในปีแรกที่เขาย้ายมาอยู่ที่นี่เขาก็สามารถแต่งเพลงได้เพลงหนึ่งคือ  Octet in E Flat for Strings op. 20  เสร็จสมบูรณ์  ในปี  ค.ศ.  1825  จากนั้นก็ได้ลงมือแต่งเพลง  Overture  ประกอบบทละคร  เรื่อง  Midsummer Night’s Dream  และเสร็จสมบูรณ์ในฤดูร้อนปี  ค.ศ.  1826  บทละครเรื่อง  Midsummer Night’s Dream เป็นบทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของ  วิลเลียม  เชคสเปียร์  (Wiliam Shakespear)  จินตกวีเอกชาวอังกฤษ  ละครเรื่องนี้มี  5  องก์จบ  เฟลิกซ์ได้แต่งเพลงประกอบบทบาทของตัวละครในเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบและทุกๆ  องก์จะมีเพลงประกอบแทรกอยู่ตลอด  ซึ่งเพลงทั้งหมดมี 30  เพลง  ขณะที่แต่งเพลงชุดนี้เฟลิกซ์มีอายุเพียง  17  ปีเท่านั้น  จากเพลงนี้เองทำให้เขากลายเป็นคีตกวีที่มีชื่อเสียงขึ้นมาอยู่ในชั้นแนวหน้า คนหนึ่ง  เฟลิกซ์สนใจในงานประพันธ์ของเชคสเปียร์มานานแล้ว  เมื่อได้โอกาสเขาจึงสร้างเพลงนี้ขึ้นด้วยใจรัก  จึงมีลีลาที่เต็มไปด้วยความไพเราะลึกซึ้ง  เพลงนี้แต่งขึ้นเพื่อจะใช้เล่นกับวงดนตรีของเขาภายในบ้านซึ่งเล่นร่วมกับพวก พี่ๆ  น้องๆ  และเพื่อนฝูง  แต่ต่อมารเพลงนี้นำไปแสดงตามที่ต่างๆ  หลายต่อหลายแห่ง  และกลายเป็นเพลงอมตะที่ทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี  (เพลงชุดของละครเรื่องนี้  เคยนำออกบรรเลงให้ประชาชนฟังอย่างสมบูรณ์ครบชุดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่  14  ตุลาคม  ค.ศ.  1843    พระราชวัง New Palace  เมืองปอตสดาม  (Potsdam)  เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระเจ้าเฟรเดริค  วิลเลียมที่  4  แห่งรัสเซีย  (Frederich Wiliam IV of Prussia)
            เมื่อเดือนสิงหาคม  ค.ศ.  1825   ที่ผ่านมานั้น  เฟลิกซ์ก็ได้แต่งเพลงประกอบอุปรากรประเภท  Comic Opera  ชื่อ  Die Hochzeit des Camacho (Camacho’s Wedding)  เฟลิกซ์ได้เสนออุปรากรเรื่อง  นี้ต่อสปอนตินี  (Spontini)  ผู้อำนวยการทั่วไปฝ่ายดนตรีของโรงละคร  Royal Opera ในปี  ค.ศ.  1826  เพื่อให้พิจารณานำออกแสดง  แต่เนื่องจากสปอตินีไม่ชอบเฟลิกซ์เป็นการส่วนตัวอยู่บ้าง  จึงได้แกล้งถ่วงบทอุปรากรเรื่องนี้ไว้เป็นเวลาถึงหนึ่งปี  จึงได้นำออกแสดงอย่างเสียไม่ได้ที่โรงละครเล็กๆ  แห่งหนึ่งในกรุงเบอร์ลิน  เมื่อวันที่  29  เมษายน  ค.ศ.  1827  และเปิดการแสดงเพียงครั้งเดียวเท่านั้น  เพราะถือว่าเป็นงานที่ไม่สลักสำคัญอะไรนัก  และเฟลิกซ์ก็ไม่ได้เอาใจใส่กับอุปรากรเรื่องนี้เท่าใดนัก  (ความจริงได้มีการนำอุปรากรเรื่อง Die Hochzeit des Camacho  ออกแสดงเวทีพร้อมกับถือไม้บาตอง  (Baton)  สีขาวซึ่งทำขึ้นเป็นพิเศษ  ครั้นแล้วนายวงดนตรีก็ได้แนะนำเขาให้รู้จักกับนักดนตรีในวงออสเคสตราและผู้ ฟัง  จากนั้น  Symhony  ของเขาก็เริ่มแสดง  เมื่อเพลงจบลงนักดนตรีและผู้ฟังได้ปรบมือแสดงความชื่นชมต่อเขาอย่างกึกก้อง
            ต่อมาเมื่อโน้ตเพลง  Symphony No. 1 in C Minor ได้ตีพิมพ์  เขาได้อุทิศให้แก่สมาคม  London Philharmonic Society  ซึ่งต่อมาทางสมาคมได้เลือกเขาเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
            หลังจากนั้นในวันที่  30  พฤษภาคม  เขาได้นำงานของเวเบอร์  (Weber)  ชื่อ  Concertstuck  ออกแสดงและนับเป็นครั้งแรกที่ได้นำออกแสดงในอังกฤษ  ส่วนเพลงอื่นๆ  ก็มี  Midsummer Night’s Dream Overture และเพลง  concerto in E Flat  ของเบโธเฟน  หลังจากนั้นเขาก็เปิดการแสดงคอนเสิร์ต  เพื่อเก็บเงินบำรุงการกุศลสงเคราะห์แก่ผู้ประสบอุทกภัยในซิเลเซีย  (Silesia)  การแสดงคราวนี้ก็ได้นำเพลง Midsummer Night’s Dream Overture  ออกแสดงซ้ำอีกครั้งหนึ่งในครั้งนี้เฟลิกซืได้แสดงเพลง  Concerto in E สำหรับสองเปียโนซึ่งงานของเขาเองร่วมกับโมเวเลสอีกด้วย  การแสดงคอนเสิร์ตการกุศลครั้งนี้ได้เปิดการแสดงเมื่อวันที่  13  มิถุนายน  ค.ศ.  1829
            ต่อมาในเดือนกรกฎาคม  เฟลิกซ์  และ  Kingemann  ก็พากันเดินทางท่องเที่ยวไปยังสก๊อตแลนด์ยอร์ค  (York)  และเดอร์แฮม  (Durham)  จนถึงเมืองเอดินเบอร์ก  (Edinburgh)  จากนั้นก็เดินทางต่อไปยัง Highlands, Wales,  เมื่อท่องเที่ยวเป็นที่พอใจแล้ว  เฟลิกซ์ก็เดินทางกลับมายังลอนดอนอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อเตรียมตัวจะกลับบ้านเกิดเมืองนอน  พอถือลอนดอนก็ได้รับข่าวจากทางบ้านว่า  แฟนนี่  พี่สาวของเขาจะแต่งงานกับ  วิลเฮล์ม  เฮนเซล  (Wihelm Hensel)  ในวันที่  3  ตุลาคม  เขาคิดว่าจะกลับให้ทันวันแต่งงานของพี่สาวให้ได้  แต่พอถึงวันที่  10  กันยายน  ขณะที่เขานั่งรถม้าไปเที่ยวชมพูมิประเทศนั้น เขาประสบอุบัติเหตุตกลงมาจากรถม้า  หัวเข่าของเขาได้รับบาดเจ็บสาหัส  ต้องเข้ารักษาตัวและนอนแซ่วอยู่บนเตียงเป็นเวลาเกือบ  2  เดือน  เมื่อหายเป็นปกติแล้วเขาจึงเดินทางกลับเบอร์ลินในเดือนพฤจิกายน  เฟลิกซ์ได้บันทึกเกี่ยวกับการมาอังกฤษครั้งนี้ว่า  “....อังกฤษเป็นเมืองสวยงาม  เป็นระเบียบเรียบร้อยน่าอยู่น่าอาศัยมากทีเดียว...การจากอังกฤษครั้งนี้ เหมือนกับเราจากเพื่อนรักที่สนิทสนมไป  เพราะชาวอังกฤษได้ให้ความเป็นมิตร  ความเมตตากรุณาตลอดจนสิ่งประทับใจต่างๆ  แก่เราเป็นอย่างยิ่ง....ลาก่อนนครลอนดอน  เกาะอังกฤษ  จนกว่าเราจะได้พบกันอีก...
            โครงการเดินทางท่องเที่ยวระยะยาวของ  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  ยังคงจะมีต่อไปอีก  หลังจากที่เขามาพักอยู่กับครอบครัวที่เบอร์ลินชั่วระยะหนึ่ง  การท่องเที่ยวในระยะที่สองนี้เขาจะต้องไปยังดินแดนที่ห่างไกลทางภาคใต้ของ ยุโรปจนถึงเมืองเนเปิลส์  (Naples)  ในอิตาลี  แล้วก็วกมาทางเหนือจนถึงนครปารีส  และการไปท่องเที่ยวคราวนี้  เขาคิดว่าคงจะมีใครสักคนในครอบครัวเดินทางไปด้วย  อย่างน้อยที่สุดก็มีพ่อหรือแม่  แต่ในระยะนี้แม่ของเขาเกิดป่วยเป็นโรคหัด (Measles)  จำให้เขาจำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการเดินทางไปจนกระทั่งปลายฤดูสปริง  แต่สำหรับฤดูหนาวในบ้านเลขที่  3  Liezigerstrasse นั้น  มีความผาสุกดีกว่าฤดูอื่นๆ  เขาพอใจที่จะอยู่กับบ้านใกล้ชิดกับครอบครัว  และดีใจที่ได้พบกับแฟนนี่ผู้พี่สาวตลอดจนสามีของเธอ  ซึ่งพำนักอยู่ในบ้านที่  Garden House อันอยู่ไม่ไกลกันนัก  สามีของพี่สาวก็เคยเป็นเพื่อนเก่าแก่กันมาแต่เล็กแต่น้อย  เคยเป็นเพื่อนร่วมวงดนตรีอย่างสนุกสนาน  และขณะที่อยู่มหาวิทยาลัยเบอร์ลินก็สนิทสนมกันดีเป็นพิเศษอีกด้วย
            ในระหว่างฤดูหนาวนั้นเฟลิกซ์ได้แต่งเพลง  Simphony in D หรือที่เรียกกันว่า ‘Reformation’ Symphony และได้นำออกแสดงเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวันครบรอบปีของ  Augzburg Confession เมื่อวันที่  25  มิถุนายน  ค.ศ.  1830  นอกจากนั้นก็มีเพลง  Fantasy for piano, F – Sharp Minor Op. 28  และยังมีเพลงสั้น ๆ  อีกหลายเพลง  เข้าใจกันว่าคงจะมีเพลงในชุด ‘Song Without Words’  ตอนแรกๆ  รวมอยู่ด้วย
            ต่อมาวันที่  13  พฤษภาคม  ค.ศ.  1830  เฟลิกซ์ก็ได้เริ่มเดินทางท่องเที่ยวไปยังอิตาลี  พ่อติดตามไปด้วยแต่ไม่ได้ไกลนัก็ต้องกลับบ้าน  คงปล่อยให้เขาเดินทางต่อไปคนเดียว  เฟลิกซ์ได้เดินทางไปถึงเมืองไวมาร์และได้ไปเยี่ยมกวีผู้เฒ่าเกอเต้อีกครั้ง หนึ่ง  เขาพบว่าเกอเต้ไม่เปลี่ยนแปลงไปเท่าใดนัก  เมื่อพบกันเกอเต้ยินดีมาก  เฟลิกซ์จะใช้เวลาในตอนเช้าเล่นเปียโนให้เกอเต้ฟัง  จนถึงวันสุดท้ายที่เขาจะต้องอำลาท่านกวีผู้เฒ่าไป  เกอเต้รู้สึกอาลัยเขามาก  เพราะเขาทำให้กวีผู้เฒ่ามีความสุข  เกอเต้มีความพอใจในตัวเฟลิกซ์มากทีเดียว  ดังจะเห็นจากการที่เกอเต้ได้อุทิศหน้าหนึ่งในต้นฉบับของบทละครเรื่อง  Faust ให้แก่  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  เขาได้เขียนคำจารึกไว้ว่า  ‘To my dear young friend F.M.B., strong and subtle master of piano, to remind him of happy May days in 1830. J.W.V. Goethe’
            เฟลิกซ์เดินทางต่อไปถึงเมืองมูนิค  (Munich)  เมื่อวันที่  6 มิถุนายน  ในปี ค.ศ.  1830  นั่นเอง  และพำนักอยู่ที่มูนิคประมาณ  1  เดือน  ขณะที่พักอยู่ที่นี่เขาได้เอาเปียโนไปตั้งไว้ในห้องพักด้วย  ใช้เวลาในตอนเช้าฝึกซ้อมเปียโนและแต่งเพลง  ส่วนเวลาในตอนบ่ายเขามักจะออกไปเที่ยวข้างนอก  ใช้เวลาอยู่กับการสเก็ชภาพทิวทัศน์มุมต่างๆ  ของเมืองนี้  ภาพที่วาดก็มักจะใช้สีน้ำ  และภาพสเก็ชด้วยดินสอดำ  (Crayons)  ก็มี  พอตอนเย็นเขาก็จะไปพบปะสังสรรค์กับบรรดาเพื่อนฝูงร่วมอาชีพ  ซึ่งมีทั้งนักเขียนและนักดนตรีที่มีชื่อเสียงตามสมาคมต่างๆ  เนื่องจากเฟลิกซ์เป็นนักดนตรีหนุ่มอายุ  21  ปี  และร่ำรวยด้วย  ประกอบกับเป็นผู้มีอุปนิสัยใจคอดี  มีนิสัยตรงไปตรงมาและคบคนง่าย  เพราะได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดี   จึงทำให้เขามีเพื่อนฝูงมากมาย  ไปที่ไหนใครๆ  ก็ให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดี  ถึงแม้เขาจะเดินทางท่องเที่ยวไปตามลำพังคนเดียว  ก็ไม่ทำให้เขาหงอยเหงาเท่าใดนัก
            ออกจากเมืองมูนิค  เฟลิกซ์ก็เดินทางต่อไปยังกรุงเวียนนานครหลวงของออสเตรีย  และถึงที่นั่นเมื่อวันที่  13  สิงหาคม  ค.ศ.  1830  พักอยู่ระยะเวลาหนึ่ง  จากนั้นก็เดินทางต่อไปยังเมืองเวนิสเมื่อวันที่  9  ตุลาคม  พักอยู่ที่นั่นสิบกว่าวันแล้วก็เดินทางต่อไปถึงเมืองฟลอเร็นซ์  เมื่อวันที่  22  ตุลาคม  และในที่สุดก็ถึงกรุงโรม  นครหลวงอิตาลี  เมื่อวันที่  1  พฤศจิกายน ค.ศ.  1830  ใช้เวลาพำนักอยู่ในกรุงโรมตลอดฤดูหนาว  จนกระทั่งถึงวันที่  10  เมษายน    ค.ศ.  1831  ขณะที่พักอยู่ในโรมนั้น  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  พักอยู่ที่บ้านเลขที่  5  Piazza di Spagan  และขณะที่อยู่ในโรมนั้น  เขาใช้เวลาส่วนมากสนใจอยู่กับการท่องเที่ยวชมธรรมชาติ  ศิลปกรรม  และสถาปัตยกรรมต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ภาพเขียน  ภาพปั้น  ภาพแกะสลักต่างๆ  อันล้ำค่า  ภายในวิหารเซนต์ปีเตอร์  และทิวทัศน์รอบๆ  บริเวณนั้นด้วย
            และที่โรม  เฟลิกซ์ก็แต่งเพลง  Overture  ชื่อว่า  Hebrides  (หรือ Fingal’s Cave)  Overture  ซึ่งเริ่มแต่งเมื่อกลางปีที่แล้วก็ได้มาสำเร็จที่นี่  เพลง  Hebrides  นี้  เฟลิกซ์ใช้จินตนาการจากการท่องเที่ยวทางทะเล  และความทรงจำที่เขาได้พบเห็นที่  Fingal’s cave  ในคราวท่องเที่ยวไปยังหมู่เกาะ  Hebrides  นอกฝั่งสก๊อตแลนด์เมื่อครั้งไปอังกฤษครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว  ในเพลงนี้ตอนที่ไพเราะที่สุด  ได้แก่ตอนที่พรรณนาถึงอุโมงค์อันโค้งใหญ่  ตลอดจนเสียงนกทะเลร้องเรียกเพรียกหาคู่อยู่แซงแซ่  สอดแทรกด้วยเสียวหวิวๆ  ของสายลมครวญ  และความเวิ้งว้างของท้องทะเลหลวงอันมีเสียงคลื่นกระทบฝั่งและโขดหินซู่ซ่า อยู่ไม่ขาดระยะ
            ที่โรมนี้เอง  เฟลิกซ์ได้เริ่มลงมือแต่ง  Symphony ขึ้นใหม่อีกพร้อมๆ  กันถึง  2  เพลง  คือ  ‘Scotch’  และ  ‘ltalian’ Symphonies  นอกจากนี้ยังมีเพลง  Walpurgis Nacht  อีกเพลงหนึ่ง เฟลิกซ์ได้พบและรู้จักแบร์ลิโอซที่นี่
            จากโรมก็เดินทางไปยังเมืองเนปิลส์  พฤษภาคมนั่นจนถึงเดือนพฤษภาคม  แล้วก็กลับมาโรมอีกครั้งหนึ่ง  พักอยู่เป็นเวลา  2  สัปดาห์  ครั้นแล้วก็เดินทางต่อไปอย่างไม่รีบร้อน  คือ  ผ่านที่ไหนก็แสดงดนตรีไปเรื่อยๆ  จนถึงเมืองเยนัว  (Genoa)  มิลาน  (Milan)  เที่ยวทะเลสาบในอิตาลี  (ltalian Lakes)  เยนีวา  (Geneva)  และถึงเมืองลูเซิน  (Lucerne)  ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์  แล้วเดินทางไปเมืองมูนิค  (Munich)  อีกครั้งหนึ่งในฤดูใบไม้ร่วง  และเปิดการแสดงเปียโนด้วยเพลง  Piano Concerto, G Minor, Op. 25  เป็นครั้งแรกในมูนิค  เมื่อวันที่  17  ตุลาคม  ค.ศ.  1831  ที่นี่เขาได้รับค่าจ้างในการแต่งเพลงประกอบอุปรากรให้แก่โรงละคร  Munich Thertre
            เดือนธันวาคม  เฟลิกซ์ก็เดินทางมาถึงปารีส  ครั้งนี้เป็นการมาปารีสเป็นครั้งที่  2  และเป็นเมืองสุดท้ายของการท่องเที่ยวคราวนี้ด้วย  ที่ปารีส  เฟลิกซ์ใช้เวลาส่วนมากในโรงละคร  เพราะพ่อได้แนะนำมาทางจดหมายซึ่งมีการติดต่อกันอยู่เสมอว่า  ควรจะศึกษาเกี่ยวกับละครดีๆ  ของฝรั่งเศสไว้บ้าง  เพื่อจะได้แนวคิดนำมาดัดแปลงในการแต่งเพลงประกอบละครในโอกาสต่อไป
            ต่อมาสมาคม  ‘Societe des Concerts ที่ปารีสได้เปิดการแสดงเพลง  Midsummer Night’s Dream Overture ขึ้น  ในวันที่  19  กุมภาพันธ์  ค.ศ.  1832  ต่อมานั้นก็ได้มีการแสดงคอนเสิร์ตเพลงอื่นๆ  อีกในวันที่  18  มีนาคม  และเฟลิกซ์ได้เล่นเพลง  Concerto in G.  ของเบโธเฟน  โดยวงออร์เคสตราของสมาคมนั่นเองภายในเวลาไม่นานนักเพลงของเขาก็ได้รับความ นิยมแพร่หลายในปารีส  ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนด้วย
            ที่ปารีส  เฟลิกซ์ได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งชื่อ  เฟอร์ดินันท์  ฮิลเลอร์  (Ferdinand Hiller)  นักเปียโนนักแต่งเพลงผู้กำกับวงดนตรีที่มีชื่อเสียงชาวเยอรมัน  ฮิลเลอร์ได้แนะนำให้เขารู้จักกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงที่กำลังพำนักอยู่ใน ปารีสในระยะนั้น  เป็นต้นว่า  ฟรันซ์  ลิสท์  (Franz Liszt)  โชแปง  (Chopin)  เมเยอร์บีร์  (Meyerbeer)  และโอล  บูลล์  (Ole Bull)  เขามักจะใช้เวลาร่วมสมาคมและสังสรรค์กับนักดนตรีเหล่านี้บ่อยๆ  และผู้ที่เขาสนิทสนมเป็นพิเศษ  ได้แก่  โชแปง  เพราะเขามีความเลื่อมใสในการเล่นเปียโนและเทคนิคในการแต่งเพลงของโชแปงมาก
            สัปดาห์สุดท้ายที่ในปารีสนั้น  เขาได้รับข่าวที่น่าสลดใจจากทางบ้านว่า  เอดเวิร์ด  ริทซ์  (Edward Ritz)  เพื่อนรักของเขาคนหนึ่งได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว  และต่อมาอีกไม่นานความโศกเศร้ายังไม่ทันจะจางหายไป  เขาก็ได้รับข่าวร้ายตามมาอีกว่า  เกอเต้  ผู้ที่เขาเคารพนับถือนั้นได้ถึงแก่กรรมแล้วที่ไวมาร์  เมื่อวันที่  22  มีนาคม  ค.ศ.  1832
            เฟลิกซ์ได้เดินทางออกจากปารีส  ไปถึงลอนดอนเมื่อวันที่  8  เมษายน  ค.ศ.  1832  นับเป็นการเยี่ยมอังกฤษเป็นครั้งที่  2  ชาวลอนดอนให้การต้อนรับเขาอย่างอบอุ่นเช่นเคย  และได้รับเชิญให้ไปแสดงคอนเสิร์ตตามที่ต่างๆ  หลายแห่ง  พอถึงวันที่  22  เมษายน  เขาไปพักอยู่ที่  เกรต  ปอร์ตแลนด์ สตรีท  (Great Portland Street)  ซึ่งเป็นที่ให้ความสะดวกสลายในการติดต่อกับเพื่อนฝูง  ดีกว่าที่พักเมื่อคราวมาเยี่ยมอังกฤษครั้งแรก  และในขณะที่พักอยู่ในลอนดอนเขาก็ได้รับจดหมายจากพ่อว่า  เซลเตอร์  ได้เคยปรารภว่าอยากให้เขากลับบ้านเพื่อจะได้มาเป็นผู้อำนวยการ  Singakademie ก็ได้  ถ้าหากเขาไม่ต้องการตำแหน่งผู้อำนวยการ  ก็ควรเลือกเอาตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง  เฟลิกซ์ได้ให้เหตุผลว่า  การที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการนั้นเขาจะสมัครเข้าแข่งขันด้วยตัวเขาเอง  ไม่ใช่ว่าครูเซลเตอร์พอใจจะเอาลูกศิษย์ของตัวเองก็เลือกเอาไปเลยนั้นไม่ได้  ถึงแม้ว่าจะเป็นผลดีก็ไม่ควรทำ  ส่วนทางบ้านและเพื่อนของเขาชื่อ  Devrient  ที่เบอร์ลินนั้นก็เห็นดีด้วยในการที่จะมาสมัครแข่งขันด้วยตัวเขาเอง  ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะทำตามความปรารถนาของครูเซลเตอร์เท่านั้น  แต่เป็นการรักษาให้สถาบัน  Singakademie ยืนหยัดดำรงอยู่ต่อไปอีกชั่วกาลนาน
            เฟลิกซ์นั้นยังไม่มีการมีงานทำเป็นหลักฐานเลย  การเดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานานๆ  ทุกครั้งนั้น  ก็ได้รับทุนอุดหนุนจากพ่อทั้งหมด  โดยพ่อได้ส่งให้ทางไปรษณีย์เป็นงวดๆ  แต่ก็ไม่เป็นการเดือดร้อนอะไร  เพราะว่าพ่อเป็นคนมีเงินมีทองเหลือเฟือ
            ที่ลอนดอน  เฟลิกซ์ไดนำเพลง  ‘Hebrides’ Overture  ออกแสดงโดยวงดนตรีฟิลฮาร์มอนิค  (Philharmonic)  และเขาเป็นผู้กำกับดนตรีเอง  เมื่อวันที่  14  พฤษภาคม  นอกจากนั้นเขายังได้เดี่ยวเปียโนด้วยเพลง  G Minor Concerto ซึ่งเป็นเพลงของเขาเอง  เมื่อวันที่  28  พฤษภาคม  และ  18  มิถุนายน  พอถึงวันที่  10  มิถุนายน  เขาได้ไปเล่นออร์แกน ณ โบสถ์เซนต์  ปอล (St. Paul)  และได้เล่นเพลง  Capriceio Brilante B Minor
            หลังจากนั้นไม่นานนักเขาก็ได้จัดพิมพ์เพลง  Midsummer Night’s Dream Overture  และรวบรวมเพลงชุด  Song Without Words  รวมทั้งหมด  6  ของชุด    Song Without Words  ในเล่มแรก  ได้แก่    Sweet Souenir. Regret;  Hunting Song in a major;  Confidence; Restlessness; Venetian Boat Song in G minor
            เฟลิกซ์ใช้เวลาเยี่ยมอังกฤษครั้งนี้เป็นเวลา  3  เดือนกว่า  จากนั้นก็เดินทางกลับเบอร์ลินบ้านเกิดเมืองนอนในเดือนกรกฎาคม  ค.ศ.  1832  นับว่าเป็นการสิ้นสุดการตระเวนการท่องเที่ยวในระยะที่สอง
            ต่อมาในปี  ค.ศ.  1833  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  ได้รับคำเชิญให้ไปกำกับวงดนตรีในงานมหกรรมดนตรีแห่ง  โลเวอร์  ไรน์  (Lower Rhine Musical Festival)  ที่เมืองดุสเซลดอร์ฟ  (Dusseldorf)  ในเดือนพฤษภาคม  แต่ก่อนที่เขาจะเดินทางไปดุสเซลอดอร์ฟตามคำเชิญก็ได้ออกเดินทางไปกรุง ลอนดอน  ซึ่งนับเป็นครั้งที่  3  ในเดือนเมษายน  ทั้งนี้เพื่อไปเยี่ยมเพื่อนที่ชื่อโมเชลเลส  ซึ่งมีกิจธุระบางอย่างเกี่ยวกับทางครอบครัว  และที่ลอนดอนเขาก็ได้เปิดการแสดงเพลง  Italian Symphony  เป็นรอบปฐมทัศน์โดยวงดนตรีฟิลฮาร์มอนิค  ออร์เคสตรา  (Philharmonic Orchestra)  ในวันที่  13  พฤษภาคม  และเขาสะกดผู้ฟังให้จังงังอยู่กับที่ด้วยเพลง  Concerto in D Mincr  ของโมสาร์ท  วันนั้นหลังจากการแสดงดนตรีแล้ว  เขาก็รีบเดินทางมายังดุสเซลดอร์ฟทันที  เพื่อเตรียมตัวเกี่ยวกับงานมหกรรมดนตรีซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันที่  26  พฤษภาคม  ในงานนี้  อับราฮัม  เมนเดลส์โซห์น  ได้เดินทางมายังดุสเซลดอร์ฟ  เพื่อชมการกำกับดนตรีของลูกชายด้วย
            สถานที่แสดงดนตรีในงานมหกรรมดนตรีที่เมืองดุสเซลดอร์ฟครั้งนี้  ได้จัดให้มีขึ้น    หอประชุมแห่งหนึ่งที่ถนน  Berlin Road  ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเพียงไมล์เศษๆ  เท่านั้น  หอประชุมแห่งนี้ได้ตกแต่งสวยงามเป็นพิเศษ  เนื้อที่หนึ่งในสามของหอประชุมนั้นจัดไว้สำหรับวงดนตรีและนักร้อง  และมีเก้าอี้นั่งสำหรับผู้เข้าฟังถึง  1,300  ที่  สามารถต้อนรับประชาชนประเทศข้างเคียงที่มาร่วมในงานนี้อย่างเพียงพอ  นอกจากนั้นบริเวณรอบๆ  หอประชุมได้จัดสวนประดับตกแต่งอย่างสวยงาม  มีเก้าอี้สนามให้ผู้ฟังนั่งใต้ร่มไม้อันร่มรื่นอีกด้วย
            พอถึงวันแสดงฝูงชนได้พากันหลั่งไหลมาทั่วสารทิศ  รวมทั้งประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงก็พากันมาร่วมในงานนี้  หลายคนได้พากันเดินทางมาเป็นระยะทางถึง  20  กว่าไมล์  เพื่อฟังดนตรี  เพลงที่เฟลิกซ์ได้กำกับในครั้งนี้ได้แก่เพลง  Passion ของ  Bach  และเพลงของเขาเอง  อันมีเพลง  Walpurgis Nacht; Night’s Dream Overture และ Hebrides Overture  นอกนั้นยังมีเพลง  Israel in Egypt ของ  Handel, Pastoral Symphony ของเบโธเฟน  Overture to Leonora และ  Overture in C op. 101  หรือที่เรียกว่า  ‘Trumpet’ Overture ซึ่งเป็นงานของเขาเอง  การกำกับวงดนตรีในครั้งนี้  เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  ได้รับความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง  เขาได้รับการยกย่องสรรเสริญจากผู้ฟังโดยทั่วไป  จนกลายเป็นขวัญใจประชาชน  ซึ่งทำให้เขาภูมิใจมาก
            เมื่องานดนตรีมหกรรมสิ้นสุดลง  เฟลิกซ์ก็ได้รับเชิญให้เป็นผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมดนตรีแห่งดุสเซลดอร์ฟ  (Association for the Promotion of Music in Dusseldorf)  เป็นเวลา  3  ปี  โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นรายปีๆ  ละ  600  Thalers ($ 500)  ซึ่งก็นับว่าเป็นรายได้ดีไม่น้อยสำหรับในสมัยนั้น  เขาตกลงรับเชิญในตำแหน่งนี้  กันยายนทำงานในเดือนกันยายน  แต่ในระยะนี้เขากับพ่อจะเดินทางไปเยี่ยมกรุงลอนดอนอีกครั้งหนึ่ง  (ครั้งที่  4)  ที่ลอนดอนเฟลิกซ์ได้พบปะกับเพื่อนฝูงเก่าๆ  และได้เล่นดนตรีร่วมกัน  และในครั้งนี้เขาก็ได้รับเชิญให้ไปแสดงออร์แกนที่วิหารเซนต์  ปอล  เช่นเดียวกับคราวก่อน
เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  เข้ามารับตำแหน่งในดุสเซลดอร์ฟในฤดูใบไม้ร่วงของปี  ค.ศ.  1833  เขาได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งสมกับอยู่ในวันหนุ่มซึ่งมีอายุเพียง  24  ปี  โดยได้เริ่มปรับปรุงงานทางด้านดนตรีต่างๆ  ที่อยู่ในของข่ายที่เขาอำนวยการอยู่  เช่น  ปรับปรุงนักร้องประจำโบสถ์  และได้นำเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาที่มีชื่อเสียงมาบรรเลง  เช่น  เพลง  Mssses  ของเบโธเฟน  และ  เชรูบินี  เพลง Motets  ของปาเลสตินา  เพลง  Cantatas  ของบาค  นอกจากจะเข้มแข็งเกี่ยวกับงานในหน้าที่แล้ว  เขายังมีปลีกเวลาว่างมาแต่งเพลงต่างๆ  ขึ้นอีกหลายเพลง  เช่น  เพลง  Overture  ชื่อ  Die schone Melusine  และเริ่มแต่งเพลง Oratorio  ขึ้นเพลงหนึ่งชื่อ  St. Paul
เฟลิกซ์  เมนเดลส์โซห์น  ได้รับเลือกให้เข้าเป็นสมาชิกของ  Berlin Academy of Fine Arts  ในฤดูสปริง  ค.ศ.  1834  ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติแก่เขาเป็นอย่างยิ่ง  ต่อมาในเดือนมิถุนายน  ค.ศ. 1835  เขาได้รับเชิญให้ไปกำกับวงดนตรีในงานมหกรรมดนตรีที่  โลเวอร์ไรน์    เมืองโคโลญ  (Lower Rhine Festival at Cologne)  ในระหว่างวันที่  7 – 9  มิถุนายน  เขาได้นำเพลงต่างๆ  ออกแสดงมากมาย  รวมทั้งเพลง  Solomon  ของ  Handel  ด้วย  เขาได้รับความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในการกำกับวงดนตรีในครั้งนี้
หลัง จากนั้น  เมนเดลส์โซห์น  กับพ่อก็เดินทางกลับกรุงเบอร์ลินและพักอยู่ที่บ้านกับครอบครัวจนถึงเดือน สิงหาคม  ในระหว่างนี้พ่อแม่ก็เกิดมีอันเจ็บป่วยขึ้นมาพร้อมๆ  กัน  แต่อาการก็ไม่ร้ายแรงอะไรนัก  เขาจึงได้เดินทางไปเมืองไลพ์ซิกในเดือนกันยายน   เพื่อไปรับตำแหน่งใหม่ในการกำกับวงดนตรี  Gewandhaus concerts  ตามคำเชิญ  การมารับตำแหน่งใหม่ของเขาครั้งนี้มิได้เกิดเป็นผลดีเฉพาะส่วนตัวของเขาเท่า นั้น  อาจกล่าวได้ว่ามีชื่อเสียงโด่งดังเกือบทั่วยุโรปทีเดียว  ประชาชนพากันเกิดความเลื่อมใสและนิยมชมชอบในตัวเขาอย่างรวดเร็ว  เพราะเขาเป็นผู้กำกับที่หนุ่ม  กำลังคล่องแคล่วว่องไวมาก  เขาทำหน้าที่ได้หลายอย่างทั้งกำกับวงดนตรี  แต่งเพลง  และเล่นดนตรีทุกอย่างอยู่ในชั้นดีเยี่ยม  ซึ่งนับว่าเป็นนักดนตรีที่มีความอัจฉริยะมากทีเดียว  ขณะที่เขาทำงานอยู่ที่ไลพ์ซิกนั้นดูเขามีความสุขใจสุขกายมากกว่าอยู่ที่ เมืองดุสเซลดอร์ฟเสียอีก  และที่ไลพ์ซิกก็เป็นบ้านของบูรพาจารย์ที่เคารพบูชามากที่สุดคนหนึ่ง  คือ โจฮันน์  ซีบาสเตียน  บาค  บาคพำนักอยู่ที่เมืองนี้จนกระทั่งวาระสุดท้าย  เหตุนี้เองจึงทำให้เมนเดลส์โซห์นชอบเมืองนี้เป็นพิเศษ  ขณะที่ทำงานอยู่ที่นี่เขาได้รวบรวม  Song Without Words.  ขึ้นอีกเป็นเล่มที่  2  และเพลงที่รวมในเล่มนี้มี  6  เพลงได้แก่  Contemplation; Without Repose; Consolaton;  The Estray: The Brook;  Venetian Boat song No. 2
เดือนตุลาคม  ขณะที่เขาพำนักอยู่ในไลพ์ซิกนั้น  โชแปงเพื่อนของเขาคนหนึ่งเดินทางผ่านมาและแวะเยี่ยมเขา  เขาเป็นคนนำโชแปงไปรู้จักกับโรเบอร์ต  ชูมันน์  และคลาราวิค  ซึ่งขณะนั้นคลาราวิคมีอายุเพียง  16  ปี  ยังไม่ได้แต่งงานกับชูมันน์  โชแปงสนิทสนมกับครอบครัวของชูมันน์เป็นอย่างดีในโอกาสต่อมา  พอถึงกลางเดือนพฤศจิกายน  เหตุการณ์อันเขาไม่คาดฝันก็บังเกิดขึ้นแก่ครอบครัวของเขานั่นเอง  คือ  พ่ออันเป็นที่รักของเขาได้ถึงแก่กรรมโดยปัจจุบันทันด่วน  เมื่อวันที่  19  พฤศจิกายน  ค.ศ.  1835  เมื่อได้รับข่าวนี้ทำให้เขาตกใจแทบซ๊อค  เพราะมันเป็นข่าวที่ร้ายแรงที่สุดเป็นครั้งแรกในชีวิตของเขา  เขามีความสะเทือนใจอย่างรุนแรง  ขณะนั้นเขามีอายุเพียง  26  ปี  เท่านั้น
ขณะ ที่เมนเดลส์โซห์นเป็นผู้นำวง  Gewandhaus Orchestra  อยู่ที่ไลพ์ซิกนั้น  เขาได้ปรับปรุงวงดนตรีนี้ให้มีชีวิตชีวาอีกมาก  และเขาได้เชิญเฟอร์ดินันด์  เดวิด  (Ferdinand David)  นักไวโอลินผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมาเป็นผู้ช่วยอีกแรงหนึ่ง  จึงทำให้ดนตรีวงนี้มีชื่อเสียงกระฉ่อนทั่วไป  จนทำให้ไลพ์ซิกขณะนั้นกลายเป็นศูนย์กลางทางดนตรี  ทั้งนี้ก็ด้วยความสามารถและความเอาใจใส่ของเมนเดลส์โซห์นนั่นเอง  ดังนั้น  ทางมหาวิทยาลัยไลพ์ซิกจึงได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เกียรนิยม  สาขาปรัชญา  (Ph. D)  เพื่อเป็นเกียรติยศแก่เขาสืบไป
การที่ เมนเดลส์โซห์น  ทำหน้าที่อยู่ที่ไลพ์ซิกนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าที่นี่จะผูกมัดให้เขาทำงาน ให้แต่เพียงแห่งเดียว  เขายังคงใช้เวลาบางส่วนไปกำกับวงดนตรีต่างๆ  ที่เชิญเขามาอยู่เรื่อยๆ  และเมื่อวันที่  22  พฤษภาคม  ค.ศ.  1836  เขาก็ได้รับเชิญให้ไปกำกับวงดนตรีที่แสดงในงานมหกรรมดนตรีของเยอรมัน  (German Festivals)   ซึ่งจัดให้มีขึ้นในโลเวอร์ไรน์  ที่เมืองดุสเซลดอร์ฟ อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้เขาได้นำเพลง  Orarorio ชื่อ St. Paul  ซึ่งพึ่งแต่งเสร็จในปีนี้เองออกแสดงเป็นครั้งแรก  ในระหว่างนี้  โจฮันน์  เซลเบิล  (Johann Schelble)  ผู้กำกับวงดนตรีที่มีชื่อเสียงของ  Caecilian Society of Frankfurt  ได้เกิดล้มป่วยลง  ไม่มีผู้กำกับวงดนตรี  เมนเดลส์โซห์นจึงได้รับเชิญให้ไปช่วยกำกับที่นั่นด้วย  ดังนั้น  เขาจึงเดินทางไปยังแฟรงเฟิร์ตในหน้าร้อน  อยู่ที่นั่นเป็นเวลา  6  สัปดาห์  และสิ่งหนึ่งที่จูงใจให้เขามาแฟรงเฟิร์ตนั้นก็คือ  เขาอยากจะพบปะสังสรรค์กับบรรดานักดนตรีและนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง  ซึ่งพำนักอยู่ที่นั้นหลายคน  เช่น  เฟอร์ดินันด์ ฮิลเลอร์  (Ferdinand Hiller 1811 – 1885)  รอสซินี  (Rossini)  ก็ได้เดินทางมาแวะที่นั่น  นอกจากนั้นยังมีคนอื่นๆ  อีก
ในวัยหนุ่มที่ผ่านมาของเมน เดลส์โซห์นนั้น  ไม่ปรากฏว่าเขาไปยุ่งเกี่ยวกับเพศตรงข้ามเลย  เขาอยู่ในความอบอุ่นของครอบครัวอันมีพ่อแม่และพี่สาวซึ่งให้ความรักแก่เขา ตลอดเวลา  และเขาใช้เวลาส่วนมากไปในการท่องเที่ยวเพื่อหาความรู้ความชำนาญประดับตัวไว้ ก่อน  แต่แล้วขณะที่เขามาเยี่ยมแฟรงเฟิร์ตในครั้งนี้  กามเทพได้แผลงศรปักดวงใจเขาเสียแล้ว  นั้นคือเขาได้พบดรุณีนางหนึ่งที่สวยมีเสน่ห์ตรึงใจยิ่งนัก  จนทำให้เขาหลงรักเธออย่างดูดดื่ม  เธอมีนามว่า  ซีซิล  ชาร์ลอตเต  โซฟี ยีนเรนอด  (Cecile Charlotte Sophie Jeanrenaud)  มีเลือดฝรั่งเศส  เธอเป็นบุตรีของหมอสอนศาสนาชาวฝรั่งเศสนิกายโปรเตสแตนท์  (Protestant)  เธอมีอายุอ่อนกว่าเขาถึง  10  ปี  เขามีอายุ  27  ปี  เธอมีอายุเพียง  17  ปี  ได้มีการประกอบพิธีหมั้นกันในเดือนกันยายน  ค.ศ.  1836  และได้ทำพิธีแต่งงานกันวันที่  28  มีนาคม  ค.ศ.  1837  ชีวิตสมรสของทั้งสองดำเนินไปอย่างราบรื่น  เพราะต่างมีความรักกันอย่างดูดดื่ม  และเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี
งาน ทางด้านแต่งเพลงของเขาก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  ในระยะนี้ก็ได้แต่งเพลงต่างๆ  ขึ้นหลายเพลง  ได้แก่  Trauermarsch, A Minor  ซึ่งแต่งให้แก่วงดนตรีกองทัพบกในปี  ค.ศ.  1836  เพลงสำหรับเปียโนก็มีเพลง  Concerto No. 42, As the Hart pants  ซึ่งเป็นเพลงสำหรับใช้ร้อง  และเพลงสำหรับเดี่ยวเปียโน  คือ  Albumblatt, E Minor; Barcarolle, A Major และยังได้รวบรวมเพลง  Song Without Words เป็นเล่มที่  3  ซึ่งมีทั้งหมด  6  เพลงได้แก่  The Evenning Star; Lost Happiness; The Poet’s Harp; Passion: Duetto เพลงที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นเพลงที่แต่งและรวมรวมขึ้น  ในปี  ค.ศ.  1837  (สำหรับเพลง Duetto  นั้นเขาแต่งขึ้นในแบบ  love – song  เพื่อเล่นในพิธีหมั้นของเขา)
เมนเดลส์โซห์นได้เดินทางไป ลอนดอนอีกครั้งหนึ่งในเดือนสิงหาคม  ค.ศ.  1837  และในการไปครั้งนี้เขาได้เป็นผู้กำกับวงดนตรีในงานมหกรรมดนตรีที่จัดขึ้นที่ เมืองเบอร์มิงแฮม  (Birmingham Festival)  ตั้งแต่วันที่  19 - 21  กันยายน  ค.ศ.  1837  เขาได้นำเพลง  Oratorio ขึ้น St. Paul ออกแสดงด้วย
ค. ศ. 1838  เขาได้แต่งเพลง  String quartets ขึ้น  3  เพลง  ได้แก่  No. 3, D Major: No 4, E Minor: No 5, E Flat Major นอกจากนั้นยังมีเพลง  Sonata, B Flat  สำหรับเปียโนและเชลโล  No. 1  เพลง  Psalm 95,  Come let us sing  เพลง  Sonata สำหรับไวโอลิน  เพลง  Serenade and Allegro giojoso, B Minor สำหรับเปียโน  และสำหรับวงออร์เคสตราใน  op. 43  ในปีเดียวกันนี้เขาก็ได้แต่งเพลง  Violin Concerto  ชูมันน์ส่งเพลง Symphony C Major  ของชูเบอร์ตที่ค้นพบที่เวียนนามาให้เขาในฤดูใบไม้ร่วง
ค. ศ. 1839  ได้แต่งเพลง  Overture ชื่อ  Ruy Blas C Minor; Psalm 114  ชื่อ  When lsrael out fo Egypt came เพลง  Trio in D Minor สำหรับไวโอลินและเชลโล  No. 1  ต่อมา  ค.ศ.  1840  เขาก็ผลิตเพลงต่างๆ  ออกมาอีกหลายเพลง  เช่น  Lobgesang (Hymn of  Praise, Symphony – Cantata), B Flat Major  และ Festgesang  พอถึงเดือนกันยายนเขาก็ได้เดินทางไปเยี่ยมอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง  และในคราวนี้ได้นำเพลง  Hymn of Praise ออกร้องในงานมหกรรมดนตรีที่เมืองเบอร์มิงแฮมในวันที่  23  กันยายน  จากนั้นก็เดินทางกลับมายังไลพ์ซิกมาทำงานในหน้าที่อย่างเข้มแข็งต่อไป
เมื่อ วันที่  7  มิถุนายน  ค.ศ.  1840  พระเจ้าเฟรเดริค  วิลเลียมที่  4  (Frederick Wiliam IV)  ได้ขึ้นครองราชยสมบัติเป็นกษัตริย์คนใหม่ของปรัสเซีย  (Prussia)  ต่อจากพระเจ้าเฟรเดริค             วิลเลียมที่  3  พระราชบิดาของพระองค์กษัตริย์องค์ใหม่นี้ทรงโปรดปรานการดนตรีมาก  ทรงพอพระทัยในตัวของเมนเดลส์โซห์น  และมีพระราชประสงค์จะให้เขาจากไลพ์ซิกมาอยู่ที่เบอร์ลิน  เพราะพระองค์มีโครงการที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยทางศิลป  (Academy of Arts)  ขึ้น  และมีแผนกต่างๆ  ในวิทยาลัยนี้ถึง  4  แผนก  คือ  แผนกจิตรกรรม  (Painting)  ประติมากรรม (Sculpture)  สถาปัตยกรรม  (Architecture)  และดนตรี  (Music)  พระองค์ทรงมอบหมายตำแหน่งผู้อำนวยการ  (Director)  แผนกดนตรีให้แก่เมนเดลส์โซห์น  เขาได้เข้ารับหน้าที่เป็นทางการในวันที่  14  ธันวาคม  ค.ศ.  1840  ได้รับพระราชทานเงินปีละ  3,000  ธาเลอร์  (หรือประมาณ  2,200  เหรียญอเมริกัน)  นอกจากนั้นเขายังจะต้องทำหน้าที่ดูแลองค์การเกี่ยวกับดนตรีทั้งหมดที่มีอยู่ ในเบอร์ลิน  ต่อมาก็ได้รับมอบหมายให้ดูแลและกำกับวงดนตรี  Royal Orechestra ตลอดจนอุปรากรด้วย 
ในระหว่างนี้เขาก็ได้แต่ง เพลงอยู่เป็นประจำมิได้ขาด  เช่น  athalia  และ  Antigone ได้นำออกแสดงที่เมืองปอตสดาม  (Potsdam)  เมื่อวันที่  28  ตุลาคม  ค.ศ.  1841  นอกจากนี้ก็ได้แต่งเพลง  Variations seneuses สำหรับเปียโน  และได้รวบรวมเพลง  Song without Words  ขึ้นเป็นเล่มที่  4  ซึ่งมี  6  เพลง  ได้แก่  On the Seashore;  The Fleecy Cloud; Agitation: Sadness of Soul; Song of Triumph;  The Flight.
ต่อมาวันที่  10  มกราคม  ค.ศ.  1842  เขาได้เปิดการแสดงเพลง  St. Paul  ขึ้นที่เบอร์ลินตามโองการของพระเจ้าเฟรเดริค  วิลเลียมที่  4  การแสดงครั้งนี้ได้รับการต้อนรับอย่างเย็นชาจากผู้ฟัง  จากนั้นเขาก็นำเพลง  Scotch Symphony  ที่เพิ่งแต่งเสร็จในต้นปี  1842  ออกแสดงที่ไลพ์ซิกในวันที่  3 มีนาคม  ค.ศ.  1842  และอีก  3  เดือนต่อมา  เมนเดลส์โซห์นก็ได้รับเชิญให้ไปกำกับดนตรีในงานมหกรรมที่โลเวอร์  ไรน์  ที่เมืองดุสเซลดอร์ฟอีก  ซึ่งนับเป็นครั้งที่  6  ในเดือนพฤษภาคม  หลังจากนั้นเขาก็นำภรรยาของเขาเดินทางไปพักผ่อนที่ประเทศอังกฤษในเดือน มิถุนายน  และกรกฎาคม   แต่แทนที่จะได้พักผ่อนดังที่หวังไว้กลับมีงานยุ่งมากขึ้นอีก  เพราะมีผู้เชิญให้ไปแสดงดนตรีตามที่ต่างๆ  หลายแห่ง  และเป็นผู้กำกับวงดนตรีให้แก่  Philharmonic Society concert  นำเพลงต่างๆ  ออกแสดงที่กรุงลอนดอนในวันที่  13 มิถุนายน  ต่อมาเมื่อวันที่  20  มิถุนายน  เขาก็ได้รับเชิญจากเจ้าชายอัลเบอร์ต   (Prince Albert)  และเจ้าชายคอนสอร์ต  (Prince Consort)  ทอดพระเนตร  ปรากฏว่าการแสดงออร์แกนในครั้งนี้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระราชินีวิคตอ เรีย  และเจ้านายชั้นสูงในราชสำนักเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อพระราชินีได้ทรงฟังเพลงจากออร์แกนที่เขาเล่นแล้วก็ทรงเคลิบเคลิ้ม  และตรัสชมเชยในความสามารถของเขา  เขารู้สึกภาคภูมิใจมากที่สุดกว่าครั้งใดๆ  ที่เคยได้รับมา
จาก อังกฤษเขาและภรรยาก็ได้ร่วมเดินทางไปกับปอล  (Paul)   น้องชายของเขาสู่สวิตเซอร์แลนด์ในเดือนสิงหาคม  เพื่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง  แล้วจึงมาปฏิบัติหน้าที่ในเบอร์ลินต่อไป  พอมาถึงก็ได้รับมอบหมายจากพระเจ้าเฟรเดริค  วิลเลียมที่  4  แห่งปรัสเซียให้จัดดนตรีในโบสถ์  โดยให้เป็นผู้จัดหาตัวบุคคลมาเป็นนักร้อง  “ซึ่งต่อมานักร้องคณะที่เขาคัดเลือกนี้  กลายเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงโด่งดัง  คือ  คณะนักร้อง  ‘Domchor’  (cathedral choir)
ในปลายปี ค.ศ.  1842  หลังจากลาออกแล้วเขาก็เดินทางจากเบอร์ลินกลับไปทำงานที่ไลพ์ซิกตามเดิม  ต่อมาในเดือนธันวาคม  ค.ศ.  1842  แม่ของเขาก็ถึงแก่กรรมนำความเศร้าสลดใจมาสู่เขาสุดที่ประมาณได้  เพราะเมื่อพ่อถึงแก่กรรมไปยังมีแม่เหลือยู่อีกคนหนึ่งที่คอยให้คำแนะนำบาง สิ่งบางอย่างแก่เขาอยู่เสมอ แต่บัดนี้เขาก็สูญเสียผู้มีพระคุณไปถึง คนแล้ว
เมนเดลส์โซห์นใช้เวลาตลอดฤดูใบไม้ร่วงของปี  ค.ศ.  1842  ในการวางโครงการจัดตั้งสถาบันการดนตรีแห่งใหม่ที่เมืองไลพ์ซิก  (Conservatory of Music at Leipzig) โดยการร่วมมือของโรเบอร์ต  ชูมันน์  (Robert Schumann)  และเฟอร์ดินันด์  เดวิด  (Ferdinand David)  ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์แซกโซนี่  (King of Saxony)  สถาบันแห่งนี้ได้เปิดทำการสอนในวันที่  13  เมษายน  ค.ศ.  1843  มีการเปิดสอนทางดนตรีเกือบทุกสาขาเมลเดลส์โซห์น  ได้สอนเปียโนและการแต่งเพลงด้วยตัวเขาเอง  นอกเหนือไปจากหน้าที่อื่นๆ  ซึ่งมีอยู่หลายอย่าง  ส่วนคนอื่นๆ  ที่ได้ช่วยเขาก็มีโรเบอร์ต  ชูมันน์  นอกจากนั้นก็มีศาสตราจารย์อีกหลายท่าน  ซึ่งทำหน้าที่ไปคนละอย่าง  เป็นต้นว่า  ศาสตราจารย์  มอริทซ์  ฮอพท์มันน์  (Moritz Hauptmann)  สอน  harmony  และ  counter point เฟอร์ดินันด์  เดวิดสอนไวโอลินและการประสานเสียงวงออร์เคสตา  คาร์ล  เฟอร์ดินันด์  เบคเคอร์  (Carl Ferdinand Becker)  สอนออร์แกน
เกี่ยวกับการ แสดงดนตรีนั้น  เมนเดลส์โซห์นก็นำเพลง  Midsummer Night’s Dream พร้อมกับเพลงโอเวอร์เจอร์อื่นๆ  ที่แต่งเมื่อ  15  ปี  มาแล้ว  และเพลงแต่งขึ้นใหม่ๆ  อีกหลายเพลงออกแสดงที่ปอตสดาม  เมื่อวันที่  2  ตุลาคม  ค.ศ.  1843  ในปีนี้เขาได้แต่งเพลง  Psalm 2, ชื่อ  Why rage fiercely the Heathen?  สำหรับการร้องคู่  และ  Psalm 98,  ชื่อ  Sing to the Lord a New – made Song เพลง Sonata, D Major  สำหรับเปียโนและเชลโลซึ่งเป็นเพลง  No. 2 op. 58
เมนเดลส์โซ ห์น  เดินทางไปเยี่ยมลอนดอนอีกในเดือนพฤษภาคม  และอยู่ที่นั้นจนถึงเดือนมิถุนายน  ค.ศ.  1844   ซึ่งนับเป็นครั้งที่  8  ในการไปอังกฤษคราวนี้เขาได้กำกับวงดนตรี  Philharmonic Society  แสดงคอนเสิร์ตถึง  5  ครั้ง  นอกจากนั้นเขายังเล่นเปียโนร่วมกับวงดนตรีอื่นๆ  อีกหลายครั้ง  ทุกแห่งที่เขาไปเปิดการแสดงปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างสูง
เมน เดลส์โซห์น  แต่งเพลง  Violin Concerto in E Minor op. 64 ที่นับว่าเป็นเพลง ไวโอลินคอนเซอร์โตที่ยิ่งใหญ่เพลงหนึ่ง  ซึ่งเขาได้เริ่มแต่งตั้งแต่ปี  ค.ศ.  1838  และสำเร็จลงในเดือนกันยายน  ปี ค.ศ.  1844  ที่  Soden  ได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรกโดยวงดนตรี  Gewandhaus concert  เมื่อวันที่  13  มีนาคม  ค.ศ.  1845  ซึ่งเฟอร์ดินันท์  เดวิด  เป็นผู้เดี่ยวไวโอลิน  ทั้งนี้  ก็เพราะว่าเมนเดลส์โซห์นไม่ได้มาร่วมการแสดงด้วย  ขณะนั้นเขากำลังอยู่ในแฟรงเฟริตและสุขภาพของเขาไม่ค่อยดีนัก อีกเพลงหนึ่งที่แต่งเสร็จในปี  ค.ศ.  1844  นั้นได้แก่เพลง  Responsorium and Hymnus  ที่ชื่อว่า  Hear My Payer. Hymn  ซึ่งเป็นเพลงสำหรับนักร้องชาย และใช้เล่นออร์แกนคลอไปด้วย  นอจากนั้นก็มีเพลง  Psalm 22, ชื่อ My God, My God  สำหรับร้องสองคน และ  Psalm  43,  ชื่อ  Judge me, O God
ต่อมาเดือนกันยายน  ค.ศ.  1845  เมนเดลส์โซห์นก็ได้กลับมาเป็นผู้กำกับวงดนตรี  Gewandhaus concert  ที่เมืองไลพ์ซิอีกครั้งหนึ่ง  และพร้อมกันนี้เขาก็ได้เป็นครูสอนเปียโนและการแต่งเพลงที่  Leipzig Concervatory  เขาเป็นผู้อำนวยการอยู่ที่นี่ด้วย  เพลงที่ได้แต่งขึ้นในปีนี้มีหลายเพลง  ที่สำคัญๆ  ได้แก่ Trio C Minor  สำหรับเปียโน  ไวโอลินและเชลโล  No. 2  เพลง String Quartet, B Flat Major เพลง Song With out Words D Major  สำหรับเชลโล  และเปียโน  นอกจากนี้ก็ได้รวบรวมเพลง  Song Without Words  ขึ้นเป็นเล่มที่  5  ซึ่งมีทั้งหมด  6  เพลง  ได้แก่  May; Breezes;  The Departure; Funeral March; Morning Song; Venetian Boat Song. No. 3; Spring Song และอีกเล่มหนึ่งซึ่งรวบรวมเพลง  Song Without Words ที่เขาได้แต่งขึ้นในระหว่างปี  ค.ศ.  1843 – 1845  ซึ่งนับเป็นเล่มที่  6  ก็ได้จัดพิมพ์ในปีเดียวกัน  และมีทั้งหมด  6  เพลง  เช่นเดียวกัน  ได้แก่  Meditation; Lost Illusions; Song of the Pilgrim; The Spinning Wheel The Sheapherd’s Complaint; A Cradle Song.
เมนเดลส์โซห์นได้แต่ง เพลง  Oratorio  ที่นับว่ายิ่งใหญ่ขึ้นอีกเพลงหนึ่งชื่อ  Elijah เสร็จสมบูรณ์ในเดือนกรกฎาคม  ค.ศ.  1846  และเพลงนี้จะต้องใช้เวลาประมาณ  2  ชั่วโมงเศษในการแสดง  จากนั้นเขาก็เดินทางไปยังประเทศอังกฤษอีกเป็นครั้งที่  9  และคราวนี้เขาได้นำเพลง  Elijah  ที่พึ่งแต่งเสร็จออกแสดงเป็นครั้งแรก  ในงาน  Birmingham Festival เมื่อวันที่  26  สิงหาคม  ค.ศ.  1846  ปรากฏว่าได้รับความสำเร็จอย่างน่าภาคภูมิใจกว่าทุกครั้งที่เคยแสดงคอนเสิร์ต ในกรุงลอนดอน  พอแสดงเสร็จเขาก็รู้สึกอ่อนเพลียมากและมีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว  จึงต้องรีบเดินทางกลับไลพ์ซิกทันที  แต่พอกลับถึงบ้านแล้วแทนที่เขาจะพักผ่อนบ้าน  กลับทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม  โดยได้แต่งเพลง  Festgesang, An die Kunstler  ซึ่งเป็นเพลง  Canlata  นอกจากนี้ยังมีเพลงอื่นๆ  อีกหลายเพลง  จากการตรากตรำในงานมากเกินไป  ทำให้เขาอ่อนเพลียมากขึ้น  เขาจึงตัดสินใจลาออกจากผู้กำกับวงดนตรี  Gewanhaus Orchestra  และตำแหน่งผู้อำนวยการสอนแผนกเปียโนของ  Conservatory  เสียแล้วเขาก็ได้เชิญโมเชเลส  (Moscheles)  เพื่อนที่สนิทของเขาคนหนึ่งจากลอนดอนให้มารับตำแหน่งแทนเขา
ค. ศ.  1847  เมนเดลส์โซห์นได้เริ่มแต่งเพลงประกอบอุปรากรเรื่อง  Lorelei   ซึ่งเขียนบทโดย  Geibel  ได้เริ่มแต่งเพลง  Oratorio   ขึ้นใหม่อีกเพลงหนึ่งชื่อ  Christus  (เพลงนี้แต่งไม่สำเร็จ)  เมนเดลส์โซห์นได้เดินทางไปกรุงลอนดอนอีกนับเป็นครั้งที่ 10  และเป็นครั้งสุดท้าย  เมื่อเดือนเมษายน  ค.ศ.  1847  คราวนี้  Joachim  เดินทางร่วมไปกับเขาด้วย  ครั้งนี้ก็ได้นำเพลง Elijah  ซึ่งเขาได้แก้ไขใหม่ออกแสดงถึง  6  ครั้งนี้ก็คือ แมนเชสเตอร์และเบอร์มิงแฮม  และได้รับเชิญให้ไปแสดงที่พระราชวังบัคกิงแฮม  เพื่อถวายแด่พระราชินีวิคตอเรีย  และเจ้าชายอับเบอร์ต  ซึ่งใช้เวลาในการแสดงถึง  2  ชั่วโมง วงดนตรีที่ใช้ในการแสดงครั้งนี้ก็คือ Philharmonic concert  ที่เขาเคยแสดงที่อังกฤษทุกครั้งนั้นเอง  การแสดงครั้งนี้ได้เปิดขึ้นในวันที่  26  เมษายน  ค.ศ.  1847  ปรากฏว่าเป็นที่ประทับพระราชหฤทัยของพระราชินีวิคตอเรีย  และเจ้าชายอัลเบอร์ตแห่งอังกฤษยิ่งนัก
ก่อนเดินทางออกจาก ประเทศอังกฤษ  เขาได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตตามที่ต่างๆ  อีกหลายแห่ง  เมนเดลส์โซห์นทำงานหนักโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพของตนเอง  สุขภาพของเขาอยู่ในสภาพทรุดโทรม  การไปอังกฤษครั้งนี้เพื่อนๆ  ชาวอังกฤษเห็นสารรูปของเขาผิดหูผิดตาไปมาก  คือผอมและใบหน้าซีดเผือดแก่เกินวัย  ดูท่าทางอิดโรยมาก  แต่กำลังใจยังเข้มแข็งอยู่  จากการทำงานโดยไม่มีเวลาพักผ่อนทำให้เพื่อนๆ  ในอังกฤษพากันเป็นห่วงในสุขภาพของเขามาก  และต่างพากันพูดว่าอาจะเห็นเขาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายก็ได้
จาก อังกฤษก็เดินทางมายังเมืองแฟรงเฟิร์ต  โดยตั้งใจว่าจะมาพักผ่อนอยู่ที่นั่นให้เต็มที่  แต่เมื่อเขาเดินทางมาถึงเมืองแฟรงเฟิร์ตในเดือนพฤษภาคม  ค.ศ.  1847  ได้เพียง  2 – 3  วัน  เขาก็ได้รับข่าวร้ายแรงมากกว่าแฟนนี่  (Fanny)  พี่สาวคนเดียวของขาได้ถึงแก่กรรมเสียแล้วด้วยโรคลมปัจจุบัน  ขณะที่เธอกำลังควบคุมนักร้องสมัครเล่นร้องเพลงอยู่ในโบสถ์ เมื่อวันที่  14  พฤษภาคม  ค.ศ. 1847
ทันทีที่ทราบข่าวนั้นเขาถึงกับทรุดลง นั่งกับพื้น  หน้ามืด  ลักษณะเหมือนกับคนที่ถูกยิงทะลุหัวใจ  เขาเป็นลมสลบอยู่เป็นนาน  ทั้งนี้ก็เพราะเขารู้สึกสะเทือนใจอย่างรุนแรง  และเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต  ครั้งแรกสูญเสียพ่อ  ก็ยังเหลือแม่กับพี่สาว  ต่อมาแม่ตายก็ยังเหลือพี่สาวซึ่งเป็นผู้ที่เขารักมาก  เป็นผู้คอยแนะนำเขามาแต่เล็กแต่น้อย  เมื่อเธอจากไปอย่างกระทันหันเช่นนี้  จึงทำให้เขาโศกสลดมากที่สุดที่จะประมาณ  จากนั้นภรรยาของเขาซึ่งเดินทางมาด้วยก็พาเขาเดินทางไปยังเมืองบาเคน บาเดน  (Baden – Baden)  เป็นครั้งแรก  พอถึงหน้าร้อนก็เดินทางไปยังสวิตเซอร์แลนด์  พักผ่อนอยู่ที่นั่นหลายวัน  แต่สุขภาพของเขาไม่ดีขึ้นเลยแต่น้อย  มีแต่ทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ  เขาจึงตัดสินใจเดินทางกลับบ้านที่ไลพ์ซิกในเดือนกันยายน  พอถึงบ้านก็ล้มป่วยลงนอนแบอยู่กับเตียง  หมอพยายามให้การรักษาอย่างเต็มที่  แต่ในที่สุดก็ถึงแก่กรรมลงในตอนเย็นของวันพฤหัสบดีที่  4  พฤศจิกายน  ค.ศ.  1847  ที่บ้านของเขาในเมืองไลพ์ซิก  ขณะที่มีอายุ  38  ปี
เมื่อ ข่าวการมรณกรรมของเมนเดลส์โซห์นได้แพร่สะบัดออกไป  ประชาชนทั้งเมืองได้พากันไว้ทุกข์เพื่อแสดงความเศร้าสลดใจและอาลัยในตัวเขา  มีการทำพิธีสวดส่งวิญญาณให้แก่เขาเกือบทั่วเยอรมัน  แม้แต่ในประเทศอังกฤษก็ได้ทำเช่นเดียวกัน
หลังจากเขาสิ้นใจ ได้ไม่นานนัก  ก็ได้มีการแห่ศพของเขาไปทำพิธีทางศาสนา    โบสถ์  Pauliner Church  แห่งไลพ์ซิก  ในขณะที่ทำพิธีนั้นก็ได้นำเพลง  St. Paul ของเขามาร้อง  เอาแต่เฉพาะตอนที่ชื่อว่า  ‘Happy and blest’  และนำเพลง  St. Matthew Passion  ของบาคมาร้องด้วย  หลังจากทำพิธีทางศาสนาเสร็จแล้วศพของเขาก็ถูกนำไปกรุงเบอร์ลิน  เพื่อทำพิธีฝังไว้ที่สุสานของตระกูลซึ่งมีหลุมฝังศพของพ่อ  แม่  และพี่สาวของเขาอยู่นั้น  สุสานแห่งนี้มีชื่อว่า  Trinity Churchyard ซึ่งอยู่ใกล้ๆ  กับ Hall Gate
ในด้านชีวิตครอบครัวของเมน เดลส์โซห์นนั้น  เมื่อเขาได้แต่งงานกับ  Cecile Jeanrenaud  แล้ว  ชีวิตสมรสของเขาก็มีความสุขด้วยกันตลอดมา  มีบุตรและธิดาด้วยกันถึง  5  คน  ชาย  3  คน  หญิง  2  คน  ดังนี้ :  คาร์ล (Carl)  เกิด  7  กุมภาพันธ์  1838 มารี  (Marie)  เกิด  3  ตุลาคม  1839  ปอล  (Paul)  เกิด  18  มกราคม  1841  เฟลิกซ์ (Felix)  เกิด  1  พฤษภาคม  1843  และลิลลี่  (Lilli)  เกิด  19  กันยายน  1845  ภรรยาของเมนเดลส์โซห์นได้ถึงแก่กรรมด้วยวัณโรคที่เมืองแฟรงเฟิร์ต  เมื่อวันที่  25 กันยายน  ค.ศ.  1853  หลังจากที่เขาตายไปแล้ว  6  ปี
เมน เดลส์โซห์น  ได้ชื่อว่าเป็นนักดนตรีและคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ในดนตรีประเภทโรแมนติค  ในชั่วชีวิตอันสั้นของเขานั้นก็ได้ผลิตผลงานที่มีคุณค่าออกมาไม่ยิ่งหย่อน กว่าใคร  งานที่นับว่ามีชื่อเสียงเด่นๆ  ก็มี  ซิมโฟนี่  3  เพลง   (Italian, Scotch  และ  Reformation)  เพลงที่ใช้เล่นด้วยออร์เคสตรา  เช่น  Midsummer Night’s Dream;  เพลง  Concerto in E Minor สำหรับไวโอลินและออร์เคสตรา  เพลง  Oratorio  ที่รู้จักกันดีเกือบทั่วโลกคือเพลง Elijah  เพลงชุด Song Without Words รวมเป็นเล่มได้  8 เล่ม  นอกจากนี้ก็มีงานเบ็ดเตล็ดอื่นๆ  อีกมากมาย  ซึ่งเป็นเพลงสำหรับเปียโนและเพลงประเภท  Chamber – music
ขณะ ที่พวกนาซีกำลังเรืองอำนาจในเยอรมันนีนั้น  พวกยิวถูกกำจัด  ผลงานต่างๆ  ที่พวกหรือคนที่มีเชื้อสายยิวสร้างไว้  ก็จะถูกกำจัดและทำลายไปให้หมดสิ้นด้วย  จากความบ้าระห่ำของพวกนาซีนี่เองเป็นผลให้อนุสาวรีย์ของเมนเดลส์โซห์น  ผู้ซึ่งมีเชื้อสายยิวถูกทำลายอย่างย่อยยับ  ต้นฉบับเพลงต่างๆ  อันเป็นผลงานของเขาถูกนำไปเผาหมดสิ้น  และมีคำสั่งห้ามเด็ดขาดมิให้นำเพลงของเมนเดลส์โซห์น  ผู้ซึ่งมีเชื้อสายยิวถูกทำลายอย่างย่อยยับ  ต้นฉบับเพลงต่างๆ  อันเป็นผลงานของเขาถูกนำไปเผาหมดสิ้น  และมีคำสั่งห้ามอย่างเด็ดขาดมิให้นำเพลงของเมนเดลส์โซห์นออกแสดงในเยอรมัน นี  จากเหตุการณ์ทางการเมืองนี้เอง  ทำให้โลกต้องสูญเสียสิ่งที่มีค่าทางดนตรีไปอย่างน่าเสียดายที่สุด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น