วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โครงการฝึกวินัยด้วยค่ายทหารโรงเรียนนายร้อยจุลจอมเกล้า

โครงการฝึกวินัยด้วยค่ายทหารโรงเรียนนายร้อยจุลจอมเกล้า

        กองทัพบก  มีนโยบายในการส่งเสริมการท่องเที่ยว   โดยใช้สถานที่  และกิจกรรมทางทหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว  ของประชาชน และผู้สนใจได้เข้ามาสัมผัสชีวิต และกิจกรรมทางทหารในสถานที่จริง  คือ  ในหน่วยทหาร   โดยเฉพาะ  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามีแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย เช่น อาคารพิพิธภัณฑ์ จปร.100 ปี,   ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน, น้ำตกวัดพระฉาย, สนามยิงปืนสั้น และอื่น ๆ  กองพันทหารราบ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  ได้ตอบสนองนโยบายของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอม และกองทัพบก โดยริเริ่มโครงการส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว  ภายในหน่วยทหาร มีโครงการกิจกรรมที่จัดขึ้น ดังนี้
  
ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน
ศาลเจ้าพ่อขุนด่านตั้งอยู่บนชะง่อนหินเขาชะโงก ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองจังหวักนครนายก เป็นสถานที่
ศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนเคราพนับถือมาก ตามประวัติเป็นนายด่านเมืองนครนายกสมัยกรุงศรีอยุธยา วีรกรรม
ของท่านคือต้องต่อต้านเขมรแปรพักตร์เมื่อปี พ.ศ. 2130  ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะที่ไทย
ต่อสู่ทำสงครามกับพม่า เขมรได้รุกรานและได้กวาดต้อนผู้คนแถบปราจีนบุรี เพื่อนำไปเป็นเชลย ขุนด่าน
ได้รวบรวมชาวเมืองนครนายกที่เขาชะโงก แล้วยกกำลังขับไล่เขมรออกจากนครนายก จนเขมรแตกพ่าย
และยังมีเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าขุนด่านอีกว่า  ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้นำกำลังพลไป
ตั้งอยู่ที่เขาชะโงกและ ได้ทำลายศาลเจ้าพ่อขุนด่าน  ได้แสดงอภินิหารทำให้ทหารญี่ปุ่น    ล้มตายไปเป็น
จำนวนมาก                                                                                

 กิจกรรมการฝึกอบรมวินัย ค่ายทหาร จำนวน 4 คืน 5 วัน



วินัยนี้มักจะเข้าใจกันในความหมายเชิงลบ คือไปเข้าใจเป็นเครื่องบังคับควบคุม ซึ่งยังไม่ถูกต้อง เรียกว่าเป็นความหมายสำหรับคนที่ยังไม่ได้พัฒนา
ความหมายที่ต้องการของวินัยเป็นความหมายเชิงบวก กล่าวคือวินัยเป็นการจัดสรรโอกาส ทำให้ชีวิตและสังคมมีระบบระเบียบ และมีโอกาสเกิดขึ้น ทำให้ทำอะไร ได้คล่องดำเนินชีวิตได้สะดวก ดำเนินกิจการได้สะดวก ถ้าชีวิตและสังคมไม่มีระเบียบ ไม่เป็นระบบ ก็จะสูญเสียโอกาส ในการที่จะดำเนินชีวิตและทำกิจการของสังคมให้เป็นไปด้วยดี ตลอดจนทำให้การพัฒนาได้ผลดี ทำไมจึงต้องจัดระเบียบ ทำไมจึงต้องมีวินัย
ถ้าชีวิตวุ่นวาย การเป็นอยู่ของมนุษย์สับสนหาระเบียบไม่ได้ โอกาสในการดำเนินชีวิตก็จะหายไป เช่นในที่ประชุมนี้ ถ้าเราไม่มีระเบียบเลย โต๊ะเก้าอี้ก็วางเกะกะทั่วไป คนก็เดินกันไปเดินกันมา อาตมภาพพูดนี่ก็ฟังกันไม่รู้เรื่อง สับสน แม้แต่เมื่ออยู่ในบ้านของเรา ถ้าสิ่งของตั้งวางไม่เป็นระเบียบกระจัดกระจายอยู่ตรงโน้นตรงนี้ แม้แต่จะเดินก็ยาก เดินไปก็เตะโน่น ชนนี่ กว่าจะถึงประตูก็เสียเวลาตั้งหลายนาที แต่พอเราจัดของให้เป็นระเบียบ ตกลงกันว่าตรงนี้เป็นทางเดินก็เว้นไว้เป็นช่องว่างเราเดินพรวดเดียวก็ถึงประตูทำให้สะดวกรวดเร็ว
กิจการต่างๆ ต้องมีระเบียบหรือต้องอาศัยวินัยมาจัดสรรโอกาสทั้งนั้น ที่เห็นได้ง่ายๆ เช่น เมื่อแพทย์จะผ่าตัดศัลยแพทย์จะต้องการวินัยมาก จะต้องจัดระเบียบเครื่องมือที่ใช้ตามลำดับการทำงานอย่างเคร่งครัดทีเดียว ต้องตกลงกันไว้ก่อนว่า ขั้นตอนใดจะใช้เครื่องมือไหน และส่งเครื่องมือให้ถูกต้อง คนนี้ยืนตรงนี้ จังหวะนี้ ถึงเวลาไหนส่งเครื่องอันไหนเพราะอยู่ในช่วงของความเป็นความตาย พยาบาลที่จัดเตรียมเครื่องมือ ต้องพร้อมและต้องจัดให้ถูกลำดับทุกอย่างผิดนิดไม่ได้ เพราะงานนั้นต้องเป็นไปตามเวลาที่จำกัด ฉะนั้นในกิจการที่ยิ่งมีความสำคัญ มีความซับซ้อน มีความเป็นความตายเข้ามาเกี่ยวข้อง วินัยจะยิ่งต้องมีความเคร่งครัดแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ในสังคมวงกว้างออกไป ถ้าชีวิตคนไม่ปลอดภัย สังคมไม่มีความเป็นระเบียบ มีโจร มีขโมย มีการทำร้ายกัน เราจะไปไหนเวลาไหน ก็ไม่สะดวก เพราะกลัวว่าถ้าไปเวลานี้ หรือผ่านสถานที่จุดนั้นแล้ว อาจจะถูกทำร้ายได้ เมื่อคนไม่กล้าเดินทาง มีความหวาดระแวง กิจการงานของสังคมและการ
โดยนัยนี้ วินัยจึงช่วยจัดทำให้เกิดระบบระเบียบในชีวิตและสังคมขึ้น ทำให้เกิดความคล่องตัว จะทำอะไรต่ออะไรก็ได้ผล ฉะนั้น การจัดวางวินัยจะต้องคำนึงถึงความมุ่งหมายนี้อยู่เสมอ เช่นต้องตรวจสอบว่า การจัดวางวินัยของเรามีความมุ่งหมายชัดเจนหรือไม่ ที่จะช่วยให้ชีวิตและกิจการงานเป็นไปได้ด้วยดี เกิดมีโอกาส และทำให้มั่นใจว่า เมือเราจัดระบบระเบียบเรียบร้อยดีแล้ว โอกาสในการพัฒนาชีวิตจะเกิดขึ้น ความเป็นอยู่และกิจการต่างๆ จะเป็นไปด้วยความคล่องตัว นำไปสู่จุดหมายดีงามที่ต้องการ
ในการพัฒนามนุษย์ระยะยาว ถ้าไม่มีวินัยเป็นฐาน ก็จะทำให้เกิดความขัดข้องวุ่นวายสับสน ฉะนั้น เราจึงจัดวางวินัยเพื่อความมุ่งหมายระยะยาว ในการพัฒนามนุษย์ด้วย และด้วยเหตุนี้ วินัยจึงเรื่องสำคัญในสังคมประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยต้องการโอกาสเหล่านี้ ในการที่จะให้มนุษย์มาสื่อมาแสดงออก เพื่อนำเอาศักยภาพของตัวเองออกมาร่วมในการสร้างสรรค์สังคมอย่างได้ผล
สรุปว่า วินัยมีความหมายเชิงบวก คือ เป็นการจัดสรรโอกาสให้ชีวิตและสังคมดำเนินไปโดยสะดวก คล่องตัว ได้ผลมีประสิทธิภาพ และเป็นโอกาสแก่การพัฒนามนุษย์ด้วย
ความสำคัญของวินัย อยู่ที่การฝึกคนให้มีศีล ศีลนั้นมีความสำคัญมาก เมื่อคนตั้งอยู่ในวินัยอย่างที่เรียกกันว่าเป็นคนมีวินัยแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม ซึ่งมี ๗ ประการด้วยกัน ความมีวินัยหรือศีลนี้เป็นรุ่งอรุณของการศึกษา หรือแสงเงินแสงทองนั้นอย่างหนึ่ง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อพระอาทิตย์จะอุทัย ย่อมมีแสงเงินแสงทองขึ้นมาก่อน ฉันใด ชีวิตที่ดีงามจะเกิดขึ้น โดยมีความถึงพร้อมด้วยศีลหรือความมีวินัยนี้เป็นสิ่งบ่งบอกเบื้องแรกด้วย ฉันนั้น ถ้าคนตั้งอยู่ในวินัยมีศีลแล้ว ก็มั่นใจได้ว่าชีวิตที่ดีงามจะเกิดขึ้น เท่ากับว่าพระพุทธเจ้าตรัสให้คำรับรองไว้ว่าศีลหรือความมีวินัยเป็นรุ่งอรุณของการศึกษา เป็นสัญญาณว่ามนุษย์จะมีการพัฒนาและมีชีวิตที่ดีงามต่อไป






วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การสร้างวินัยในตนเอง พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)

วิธีสร้างวินัยในตนเอง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม
ตัดตอนจาก "วินัยเรื่องที่ใหญ่กว่าที่คิด"
คัดลอกจาก http://www.budpage.com/
ความหมายที่แท้จริงของคำว่า "วินัย"
วินัยเป็นการจัดสรรโอกาส
วินัยนี้มักจะเข้าใจกันในความหมายเชิงลบ คือไปเข้าใจเป็นเครื่องบังคับควบคุม ซึ่งยังไม่ถูกต้อง เรียกว่าเป็นความหมายสำหรับคนที่ยังไม่ได้พัฒนา
ความหมายที่ต้องการของวินัยเป็นความหมายเชิงบวก กล่าวคือวินัยเป็นการจัดสรรโอกาส ทำให้ชีวิตและสังคมมีระบบระเบียบ และมีโอกาสเกิดขึ้น ทำให้ทำอะไร ได้คล่องดำเนินชีวิตได้สะดวก ดำเนินกิจการได้สะดวก ถ้าชีวิตและสังคมไม่มีระเบียบ ไม่เป็นระบบ ก็จะสูญเสียโอกาส ในการที่จะดำเนินชีวิตและทำกิจการของสังคมให้เป็นไปด้วยดี ตลอดจนทำให้การพัฒนาได้ผลดี ทำไมจึงต้องจัดระเบียบ ทำไมจึงต้องมีวินัย
ถ้าชีวิตวุ่นวาย การเป็นอยู่ของมนุษย์สับสนหาระเบียบไม่ได้ โอกาสในการดำเนินชีวิตก็จะหายไป เช่นในที่ประชุมนี้ ถ้าเราไม่มีระเบียบเลย โต๊ะเก้าอี้ก็วางเกะกะทั่วไป คนก็เดินกันไปเดินกันมา อาตมภาพพูดนี่ก็ฟังกันไม่รู้เรื่อง สับสน แม้แต่เมื่ออยู่ในบ้านของเรา ถ้าสิ่งของตั้งวางไม่เป็นระเบียบกระจัดกระจายอยู่ตรงโน้นตรงนี้ แม้แต่จะเดินก็ยาก เดินไปก็เตะโน่น ชนนี่ กว่าจะถึงประตูก็เสียเวลาตั้งหลายนาที แต่พอเราจัดของให้เป็นระเบียบ ตกลงกันว่าตรงนี้เป็นทางเดินก็เว้นไว้เป็นช่องว่างเราเดินพรวดเดียวก็ถึงประตูทำให้สะดวกรวดเร็ว
กิจการต่างๆ ต้องมีระเบียบหรือต้องอาศัยวินัยมาจัดสรรโอกาสทั้งนั้น ที่เห็นได้ง่ายๆ เช่น เมื่อแพทย์จะผ่าตัดศัลยแพทย์จะต้องการวินัยมาก จะต้องจัดระเบียบเครื่องมือที่ใช้ตามลำดับการทำงานอย่างเคร่งครัดทีเดียว ต้องตกลงกันไว้ก่อนว่า ขั้นตอนใดจะใช้เครื่องมือไหน และส่งเครื่องมือให้ถูกต้อง คนนี้ยืนตรงนี้ จังหวะนี้ ถึงเวลาไหนส่งเครื่องอันไหนเพราะอยู่ในช่วงของความเป็นความตาย พยาบาลที่จัดเตรียมเครื่องมือ ต้องพร้อมและต้องจัดให้ถูกลำดับทุกอย่างผิดนิดไม่ได้ เพราะงานนั้นต้องเป็นไปตามเวลาที่จำกัด ฉะนั้นในกิจการที่ยิ่งมีความสำคัญ มีความซับซ้อน มีความเป็นความตายเข้ามาเกี่ยวข้อง วินัยจะยิ่งต้องมีความเคร่งครัดแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ในสังคมวงกว้างออกไป ถ้าชีวิตคนไม่ปลอดภัย สังคมไม่มีความเป็นระเบียบ มีโจร มีขโมย มีการทำร้ายกัน เราจะไปไหนเวลาไหน ก็ไม่สะดวก เพราะกลัวว่าถ้าไปเวลานี้ หรือผ่านสถานที่จุดนั้นแล้ว อาจจะถูกทำร้ายได้ เมื่อคนไม่กล้าเดินทาง มีความหวาดระแวง กิจการงานของสังคมและการ
โดยนัยนี้ วินัยจึงช่วยจัดทำให้เกิดระบบระเบียบในชีวิตและสังคมขึ้น ทำให้เกิดความคล่องตัว จะทำอะไรต่ออะไรก็ได้ผล ฉะนั้น การจัดวางวินัยจะต้องคำนึงถึงความมุ่งหมายนี้อยู่เสมอ เช่นต้องตรวจสอบว่า การจัดวางวินัยของเรามีความมุ่งหมายชัดเจนหรือไม่ ที่จะช่วยให้ชีวิตและกิจการงานเป็นไปได้ด้วยดี เกิดมีโอกาส และทำให้มั่นใจว่า เมือเราจัดระบบระเบียบเรียบร้อยดีแล้ว โอกาสในการพัฒนาชีวิตจะเกิดขึ้น ความเป็นอยู่และกิจการต่างๆ จะเป็นไปด้วยความคล่องตัว นำไปสู่จุดหมายดีงามที่ต้องการ
ในการพัฒนามนุษย์ระยะยาว ถ้าไม่มีวินัยเป็นฐาน ก็จะทำให้เกิดความขัดข้องวุ่นวายสับสน ฉะนั้น เราจึงจัดวางวินัยเพื่อความมุ่งหมายระยะยาว ในการพัฒนามนุษย์ด้วย และด้วยเหตุนี้ วินัยจึงเรื่องสำคัญในสังคมประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยต้องการโอกาสเหล่านี้ ในการที่จะให้มนุษย์มาสื่อมาแสดงออก เพื่อนำเอาศักยภาพของตัวเองออกมาร่วมในการสร้างสรรค์สังคมอย่างได้ผล
สรุปว่า วินัยมีความหมายเชิงบวก คือ เป็นการจัดสรรโอกาสให้ชีวิตและสังคมดำเนินไปโดยสะดวก คล่องตัว ได้ผลมีประสิทธิภาพ และเป็นโอกาสแก่การพัฒนามนุษย์ด้วย
ความสำคัญของวินัย อยู่ที่การฝึกคนให้มีศีล ศีลนั้นมีความสำคัญมาก เมื่อคนตั้งอยู่ในวินัยอย่างที่เรียกกันว่าเป็นคนมีวินัยแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม ซึ่งมี ประการด้วยกัน ความมีวินัยหรือศีลนี้เป็นรุ่งอรุณของการศึกษา หรือแสงเงินแสงทองนั้นอย่างหนึ่ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อพระอาทิตย์จะอุทัย ย่อมมีแสงเงินแสงทองขึ้นมาก่อน ฉันใด ชีวิตที่ดีงามจะเกิดขึ้น โดยมีความถึงพร้อมด้วยศีลหรือความมีวินัยนี้เป็นสิ่งบ่งบอกเบื้องแรกด้วย ฉันนั้น ถ้าคนตั้งอยู่ในวินัยมีศีลแล้ว ก็มั่นใจได้ว่าชีวิตที่ดีงามจะเกิดขึ้น เท่ากับว่าพระพุทธเจ้าตรัสให้คำรับรองไว้ว่าศีลหรือความมีวินัยเป็นรุ่งอรุณของการศึกษา เป็นสัญญาณว่ามนุษย์จะมีการพัฒนาและมีชีวิตที่ดีงามต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เฟรเดริค ฟรังซัวส์ โชแปง Frederic Francois Chopin 1810 – 1849


เฟรเดริค  ฟรังซัวส์  โชแปง
Frederic Francois Chopin
1810 – 1849
โช แปง  นักแต่งเพลงชื่อบันลือโลกผู้นี้  เกิดมาในท่ามกลางพี่น้องซึ่งล้วนแต่เป็นผู้หญิงทั้งนั้น  เขาเป็นลูกคนที่  2 
และเป็นลูกชายคนเดียว  ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงได้รับการทนุถนอมและประคบประหงมเอาใจใส่เลี้ยงดูอย่าง 
 ดีเป็นพิเศษจากพ่อแม่  โชแปงเป็นขวัญใจของพ่อแม่พี่น้องทุกคน  เขามีพี่สาวคนเดียวชื่อหลุยส์  (Louise) 
มีน้องสาวอีก คน  คือ  อิสซาเบลลา  (Isabella)  และเอมีเลีย  (Emilia)  พวกพี่น้องรักใคร่ 
เล่นหัวสนิทสนมกลมเกลียวกันเป็นอย่างดี
            พ่อของโชแปง  ชื่อ  นิโคลาส  โชแปง  (Nicolas Chopin)  เป็นชาวฝรั่งเศส  เกิดที่เมืองนองชี  (Nancy) 
ในแคว้นลอร์เรน (Lorraine)  แล้วเดินทางมาหากินที่กรุงวอร์ซอร์ (Warsaw)  นครหลวงแห่งโปแลนด์ 
ตั้งแต่อายุประมาณ 17 – 18  ปี  ตอนแรกได้สมัครทำงานเป็นพนักงานบัญชีในโรงงานยาสูบ 
ต่อมาภายหลังได้สมัครเข้าอยู่ในหน่วยรักษาดินแดน (National guard)  ร่วมกับชาวโปล  
เพื่อทำการต่อต้านขัดขวางการรุกรานของปรัสเซีย  ออสเตรีย  และรุสเซีย  ที่ทำต่อโปแลนด์ 
และได้เข้าครอบครองดินแดนของโปแลนด์บางส่วนแล้วกำลังเตรียมการที่จะแบ่งดิน แดนที่เหลือออกเป็นส่วนๆ 
ชาวโปแลนด์ผู้รักชาติทั้งหลาย  จึงได้รวบรวมกำลังส่วนหนึ่งเข้าต่อต้านอย่างเต็มที่  ได้ทำการสู้รบกันอย่างหนักหลายคราว 
แต่ในที่สุดชาวโปแลนด์  ก็ต้องพ่ายแพ้อย่างยับเยิน 
ในปี  ค.ศ.  1749  กษัตริย์โปแลนด์ต้องสละราชสมบัติ  นิโคลาสได้รับยศทางทหารครั้งสุดท้ายเป็นร้อยเอก 
และหลังจากนั้นอีก  12  ปี  นิโคลาส  ก็ได้แต่งงานกับซุสตินา  กริตซีซานอฟสกา   (Justina Krzyanowska) 
ซึ่งเป็นลูกสาวผู้ดีตระกูลเก่าแก่แห่งโปแลนด์  และเป็นคนสนิทของเคาน์เตสคนหนึ่งในปี  ค.ศ.  1806
            เฟรเดรค  ฟรังซัวส์  โชแปง (Frederic Francois Chopin)  เกิดในตอนค่ำของวันที่  22 กุมภาพันธ์  ค.ศ.  1810    บ้านตำบลเซลาโซวา  โวลา
(Zelazowa Wola)    ห่างจากรุงวอร์ซอร์ประมาณ  30  ไมล์  ว่ากันว่าขณะที่ซุสตินา  กำลังจะคลอดโชแปงนั้น  
มีบ้านใกล้ๆ  มีการแต่งงานกัน  จึงมีเสียงดนตรีกระหึ่มยู่ตลอดวัน
เมื่อ โชแปง  มีอายุได้  7  ขวบนั้น  นิโคลาส  ได้สมัครเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศสที่  Warsaw Lyceum  
อันเป็นสถานศึกษาชั้นสูง  (ขั้นมหาวิทยาลัย)  แห่งหนึ่งในกรุงวอร์ซอร์  จากนั้นก็ได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ  
แต่รายได้ก็ไม่พอเพียงสำหรับครอบครัว  เพราะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาอีก  2  คน  นิโคลาส 
จึงได้เปิดโรงเรียนประจำขึ้นที่บ้านรับเด็กๆ  ลูกผู้ดีมาสอน  ตอนนี้โชแปงมีเพื่อนฝูงรุ่นราวคราวเดียวกันมากมาย
แต่ เล็กแต่น้อยมาแล้ว  โชแปง  เป็นคนบอบบาง  ผิวเผือด  มีนิ้วมือเรียวงาม  รูปร่างงามสง่าๆ
  นิสัยอ่อนโยนเหมือนผู้หญิง  ชอบดนตรีและละครมากกว่าอย่างอื่น  อารมณ์อ่อนไหว  
ถ้าได้ยินเสียงเพลงที่เพราะๆ  จะทำให้เขาน้ำตาซึมออกมาบ่อยๆ  การแต่งเนื้อแต่งตัวก็เรียบร้อยหมดจดเป็นผู้ดี 
ความสามารถพิเศษของโชแปงตอนเด็กๆ  นั้นคือ  สามารถล้อเลียนแบบและท่าทางต่างๆ  ของพระเอกละครได้เป็นอย่างดี  
โชแปงเริ่มเรียนเปียโนขณะอายุได้  4  ขวบ  และเมื่ออายุ  6  ขวบ  พ่อให้ไปเรียนเปียโนกับ 
อดาลเบอร์ตซิวนี่  (Adalbert Zywny)  ครูเปียโนฝีมือดีชาวโบเฮเมียน  (Bohemian)  จึงทำให้เขาเล่นเปียโนเป็นชั่วโมงๆ  
ทีเดียว  จนรู้เทคนิคต่างๆ  อย่างช่ำชอง  ได้รับความชมเชยจากครูว่าเล่นได้ดีมาก  
อัจฉริยภาพทางดนตรีได้ปรากฏขึ้นในตัวเขาอย่างเด่นชัด  จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่บ้านนักดนตรีที่มีความชำนาญ
โช แปง  ออกโรงแสดงฝีมือทางเปียโนครั้งแรกเมื่ออายุได้  8  ขวบ  ร่วมกับวงดนตรีของกิโรเวทส์  (Gyro wetz)  
เพื่อเก็บเงินบำรุงการกุศล  ปรากฏว่าผู้คนชื่นชมในความสามารถของเขาเป็นอย่างยิ่ง  
วันแสดงนั้นแม่แต่งตัวให้อย่างสวยงาม  ซื้อคอปกเสื้อสีขาวให้ใหม่  เมื่อกลับจากการแสดงดนตรีมาถึงบ้านแล้ว  
แม่ถามว่าคนดูเขาชอบอะไรมากจ๊ะ  โชแปงตอบอย่างดีใจว่า  “แหม  ใครๆ  
เขาพากันดูปกเสื้อของหนูกันเป็นการใหญ่เลยครับ
ใน ปี  ค.ศ.  1820  ขณะนั้นโชแปงมีอายุเพียง  10  ขวบ  ได้ไปอยู่ที่วอร์ซอร์ในความดูแลของนักร้องคนหนึ่ง
  ชื่อ  แองเกลิคา  คาตาลานี  (Angelica Catalani)  เขาได้เขียนเพลงมาร์ชขึ้นเพลงหนึ่แล้ว
อุทิศให้แกรนด์  ดยุคคอนสแตนติน  (Grand Duke Constantine)  ท่านแกรนด์  ดยุค  พอใจมาก 
และยอมรับคำอุทิศนั้น  แต่นั้นมาก็เชิญโชแปงน้อยไปเล่นเพลงมาร์ชนั้นให้ฟังเสมอๆ  ความจริงชีวิตของโชแปงตอนนี้ก็มีอะไรๆ  คล้ายโมสาร์ทตอนเด็กๆ  อยู่หลายอย่าง
ค.ศ.  1822  โชแปงอายุได้ 12  ขวบ  พ่อส่งไปเรียนการประสานเสียง  และการแต่งเพลงกับครูคนหนึ่งชื่อ 
โจเซฟ  เอลสเน่อร์  (Joseph Elsner)  ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสอนดนตรีที่สถาบันการดนตรี
แห่งกรุงวอร์ซอร์  (Director of Warsaw Conservatoire)  การเรียนที่นี่ทำให้โชแปงได้เรียนเทคนิคต่างๆ  ของดนตรี 
อยู่ระดับสูงและยาก  แต่ถึงจะยากเพียงใดก็ตาม  ก็ไม่เหลือวิสัยของโชแปงไปได้  เพราะมีพรสวรรค์ทางนี้อย่างหาตัวจับยาก 
ประกอบกับความอดทนและความพยายามของเขา  จึงทำให้เขาเรียนทุกแง่ทุกมุมของดนตรีได้อย่างรวดเร็วจากบันทึกรายงาน 
การเรียนของเขา  ครูได้บันทึกไว้ว่า  “เฟรเดริค  โชแปง  นักเรียนปีที่  3  มีความสามารถอย่างน่าอัศจรรย์
และมีอัจฉริยภาพทางดนตรี
ใน ปี  ค.ศ.  1825  ขณะที่เขามีอายุได้  15  ขวบ  ได้แสดงคอนเสิร์ตเพื่อเก็บเงินบำรุงการกุศลอีก  พระเจ้าซาร์  
แห่งรัสเซียทรงพอพระทัยในการเล่นเปียโนของเขามาก  ถึงกับพระราชทานแหวนเพชรให้เป็นรางวัล  
และในปีเดียวกันนี้เอง  โชแปงได้เขียนเพลงขึ้นเพลงหนึ่ง  คือ Op. 1. Rondo in C Minor 
และได้ตีพิมพ์จำหน่ายด้วย  เพลงนี้เขาได้อุทิศให้แก่ภรรยาอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนที่เขาเรียกอยู่นั้น  
นอกจากนั้นยังได้เขียนเพลงชนิด  Mazurka ขึ้นอีก  2 เพลง  และ  Polonaise  อีก  1 เพลง  
ซึ่งนับเป็นเพลงที่อยู่ในขั้นดี  จากนั้นเขาก็เดินทางไปพักผ่อนตามที่ต่างๆ  ในชนบทตามคำสั่งของแพทย์  
เพราะสุขภาพของเขาไม่ค่อยดี  ระหว่างที่เดินทางไปพักผ่อนนั้น  เขาได้รับความเพลิดเพลินจากธรรมชาติ
และจากจดหมายของเพื่อนๆ  ที่ส่งไปถึงเขาเสมอๆ  และในการไปคราวนี้ก็ได้รู้จักกับเจ้าชายรัดซิวิลล์ 
 (Prince Radziwill)  ข้าหลวงแห่งเมืองโปเซน  (Posen)  ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งในการให้ความอุปถัมภ์แก่นักดนตรี
ขณะ ที่มีอายุ  16  ปี  (ค.ศ.  1826)  โชแปงได้ประพันธ์เพลงและใช้บทร้องประกอบด้วย 
ชื่อ  La ci darem la mano Variation  เขาสำเร็จการศึกษาจาก  Warsaw Conservatoire
เมื่อ  ค.ศ.  1827  และในปีนี้เอง  เอมิเลียน้องสาวของเขาได้ถึงแก่กรรมด้วยวัณโรค 
เขารู้สึกเศร้าสลดใจมากพอถึงเดือนกันยายน  ค.ศ.  1828  เขาได้เดินทางไปเบอร์ลินพร้อมกับเพื่อนของพ่อ 
และได้ผ่านไปแวะเยี่ยมเจ้าชายรัดซิวิลล์  (Radziwill)  ณ วังชนบท  ในขณะที่อยู่เบอร์ลินเขาได้เห็น
เมนเดลส์โซห์น  (Felix Bartholdy Mendelssohn)  สปอนตินิ  (Spontini) และบรรดานักดนตรีที่มีชื่อเสียงอื่นๆ 
อีกหลายคน  แต่เขาก็ได้พลาดโอกาสสำคัญในการที่จะความรู้จักกับท่านเหล่านี้  เพราะไม่มีใครแนะนำให้รู้จัก  
โชแปงเป็นคนขี้อายเกินไปที่จะแนะนำตัวเอง  เขาใช้เวลา  2  สัปดาห์ขณะที่พักในเบอร์ลิน  
ฟังเพลง Ode on St. Cecilia’s Day  ของ Handel ซึ่งเขามีความรู้สึกประทับใจมากที่สุด  
หลังจากที่กลับจากการท่องเที่ยวแล้วเขาก็ได้แต่งเพลงขึ้นอีกหลายเพลง  ในระหว่าง  ค.ศ.  1828 – 1829  
ได้ฟังการแสดงคอนเสิร์ต  งานของฮัมเมล  (Hummel)  และปกานินี  (Paganini)   ซึ่งได้บันดาลใจให้โชแปงสเกิด
ความพยายามที่จะสร้างสรรดนตรีให้ดียิ่งขึ้น  เขาได้เดินทางไปเวียนนาอีก  พักอยู่เป็นเวลานาน  
และที่เวียนนาบทเพลง  La ci darem la mano Variation  ก็ได้จัดพิมพ์โดยฮัลลิงเยอร์  (Haslinger) 
แม้ว่าเพลงนี้จะยังไม่สมบูรณ์ดีนักก็ตาม  โชแปงดีใจมาก
ต่อมาเพื่อนฝูงที่เวียนนาได้พากันสนับสนุนให้โชแปงเปิดการแสดงเปียโนขึ้นใน วันที่ 11  สิงหาคม ค.ศ.  1829 
  โรงอุปรากรหลวง  รายการวันนั้นประกอบด้วยเพลง  โอเวอเจ้อร์ของเบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven)
  เพลง  La ci darem  และเพลง  Rondo  ของเขาเอง  ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากผู้ฟังเป็นอย่างมาก 
และก่อนที่จะจากเวียนนาไป  เขาได้ถูกขอร้องให้แสดงเปียโนอีกเป็นครั้งที่  2  เพื่อการกุศล  
โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเลย  แต่เขาก็ได้รับความนิยมชมชอบจากชาวเวียนนาและชนชั้นสูง  เช่น 
เจ้าชายลิคนอบสกี้  ผู้เคยอุปถัมภ์เบโธเฟนก็ได้ความเอื้อเฟื้อต่างๆ  หลายอย่าง  
ตลอดจนแสดงความชื่นชมต่อเขาอย่างจริงใจ
ใน ระหว่างที่เดินทางกลับจากเวียนนา  เขาได้ผ่านกรุงปร๊าค,  Teplitz, Dresen,  และ  Breslau
และได้แวะชมอุปรากรตามเมืองต่างๆ  ที่ผ่านมาหลายเรื่อง นอกจากนั้นยังแวะชมภาพตามหอศิลป  (Picture – gallery)
ในบรรดาเพื่อนๆ  ของโชแปง  ที่สนิทสนมกันและกันมากที่สุดเห็นจะไม่มีใครเกิน  ติตุส  (Titus Wojciechowski) 
เพราะขณะที่โชแปงเที่ยวไปในที่ต่างๆ  ถ้าติตุสไม่ได้ไปด้วยเขาทั้งสองก็จะมีจดหมายติดต่อกันอยู่เสมอ  
ใครมีความลับคับอกอะไรก็ได้ระบายความในใจให้กันฟัง  เป็นต้นว่า  ครั้งหนึ่งในระหว่าง  ค.ศ.  1828 – 1830 
ขณะที่โชแปงเกิดหลงรักนักร้องสาวคนหนึ่ง  ชื่อ  คอนสตันจา  แกล๊ดคอฟสกา  (Constantia Gladkowska)  
อันเป็นความรักครั้งแรก  เขาหลงใหลเธอมาก  ทั้งนี้เพราะเธอมีเสียงไพเราะ  รูปร่างงดงาม  
จากความรักครั้งนี้ทำให้เขาเกิดมีความหม่นหมองและปวดร้าวใจมาก  ทางฝ่ายคอนสตันจาก็ไม่รู้  
เพราะโชแปงขี้อายเหลือเกินที่จะบอกรักกับเธอ  เขาได้แต่ระบายความอัดอั้นตันใจในความรักของเขา
ครั้งนี้ให้ติตุสเพื่อนรัก ของเขาฟังโดยทางจดหมาย เขาคร่ำครวญกับติตุสว่าเขาใฝ่ฝันถึงหล่อนเหลือเกินทั้งในเวลาหลับ
และตื่น  ความรักนี่เองมาบันดาลใจให้เขาเขียนรำพันความรักและความปรารถนาจากดวงใจของ 
 เขาใส่ลงในเพลงคอนเชอร์โต  และเขาไม่เคยบอกใครเลยนอกจากเพื่อนรักของเขาคือติตุส    
เพลงที่ว่านี้คือ  F – Minor concerto Waltz Opus 70. No. 3  เพลงนี้ได้นำออกแสดงให้ประชาชนฟังครั้งแรก
ที่กรุงวอร์ซอร์  เมื่อวันที่  17  มีนาคม ค.ศ.  1830  ได้นำเพลง  Concerto in E Minor อันเป็นเพลงใหม่ของเขา
พร้อมกับเพลงแฟนตาเซีย (Fantasia) ในแบบโปลออกแสดง  คอนสตัจาได้ร่วมการแสดงด้วย  
เธอได้ร้องเพลงบางเพลงจากอุปรากรเรื่อง  ‘Lady of the Lake’  ของรอสสินี  (Gioacchino Antonio Rossini)
ทำให้โชแปงดีใจมากและมีความสุขใจมากที่ได้อยู่ใกล้ชิดคอนสตันจา  การแสดงครั้งนี้ได้รับผลเป็นที่พอใจมีคน
เข้าชมการแสดงอย่างคับคั่ง
ภาย หลังการแสดงคอนเสิร์ตครั้งนี้แล้ว  โชแปงได้ตัดสินใจที่จะจากวอร์ซอร์  เพื่อไปแสวงโชคในเวียนนาและที่อื่นๆ 
ต่อไปอีก  การจากโปแลนด์คราวนี้จึงเป็นที่อาลัยของครู โจเซฟ เอลสเนอร์  และเพื่อนๆ  ของเขาเป็นอย่างยิ่ง 
ต่างพากันสังหรณ์ใจว่าโชแปงจะไม่ได้กลับมาโปแลนด์อีก  จึงชวนกันทำพิธีมอบถ้วยเงินที่บรรจุก้อนดินของโปแลนด์
ให้โชแปง  เพื่อให้เป็นเครื่องระลึกถึงประเทศโปแลนด์อันเป็นที่รักยิ่งของเขาอยู่เสมอ  โชแปงออกจากวอร์ซอร์ 
เดินทางไปยังเวียนนา  เมื่อวันที่  1  พฤศจิกายน  ค.ศ.  1830
โดยมีติตุส  (Titus)  เพื่อนสนิทได้ร่วมเดินทางไปด้วย  การเดินทางครั้งนี้ผ่านไปทางเบรสลา  (Breslau) 
เดรสเดน  (Dresden)  กรุงปร๊าคถึงเวียนนา 
ในวันที่  23  พฤศจิกายน  ค.ศ.  1830
การ เดินทางมาเวียนนาครั้งนี้  โชแปงได้รับความผิดหวังหลายอย่าง  เป็นต้นว่า  อัสลิงเยอร์  (Haslinger)  
ได้สัญญากับเขาไว้ว่าจะจัดพิมพ์บทเพลง 
Sonata in C Minor Op. 4  และ  Schweizerbub Variation  ก็ยังไม่ได้จัดพิมพ์จำหน่าย  
มิตรสหายทั้งหลายที่เคยรู้จักกันดีพากันล้มหายตายจากไปบ้าง  ไปหากินที่อื่นบ้าง  ข่าวทางวอร์ซอร์ก็ปรากฏขึ้นว่า 
ประชาชนลุกฮือขึ้นจับอาวุธต่อต้านกับรัสเซียเป็นไปอย่างรุนแรงที่สุด  ติตุสได้รับข่าวนี้ด้วยจึงต้องรีบกลับมายังวอร์ซอร์
เพื่อร่วมการต่อต้าน ด้วย  การจากไปของติตุสทำให้โชแปงหงอยเหงาเปล่าเปลี่ยวใจมาก  จึงคิดจะกลับบ้าน
เพื่อร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวโปลเพื่อต่อสู้กับศัตรู  แต่ใจหนึ่งก็มาคิดดูสังขารตัวเองซึ่งบอบบางขี้โรค  
เห็นจะทนความสมบุกสมบันไม่ไหว  จึงระงับความคิดที่จะไปบ้าน  ทนอยู่ที่เวียนนาต่อไป  
แต่การเงินก็ชักร่อยหรอลงทุกวัน  เขาคิดไปด้วยความปวดร้าวใจ  เพราะครอบครัวของเพื่อนๆ
 กำลังตกอยู่ในท่ามกลางสงครามโชแปงทนอยู่ในเวียนนา ด้วยความลำบากยากเข็ญหลายอย่าง  เมื่อเข้าตาจนจริงๆ 
เขาก็ได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตขึ้นที่เวียนนา  และพร้อมๆ  กับการแสดงนี้  เขาได้ทราบข่าวว่าติตุสเพื่อนรักยิ่ง
ของเขาเสียชีวิตในสงคราม  ข่าวนี้ทำลายจิตใจเขามากจนไม่มีกะจิตกะใจที่จะเล่นดนตรีเลย 
แต่ก็จำใจเล่นเพราะได้ทำไปแล้ว  การแสดงครั้งนี้จึงเป็นไปอย่างเลื่อนลอยและผิดพลาด 
เมื่อการแสดงเสร็จสิ้นลง  ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ ไปหลายแง่หลายมุม  แต่สรุปแล้วก็เป็นอันว่าได้รับการตำหนิ
หลัง จากผิดหวังจากการแสดงคอนเสิร์ตแล้ว  โชแปงก็คิดที่จะเดินทางไปยังกรุงลอนดอน 
แต่ไม่ได้รับความสะดวกในการทำพาสปอร์ต  เพราะเขาเป็นชาวโปแลนด์  ก็เลยต้องงด  
จึงเปลี่ยนแผนการเดินทางไปยังมูนิค  เยอรมันนี  โชแปงอำลากรุงเวียนนาเมื่อวันที่  20  กรกฎาคม  1831 
เมื่อถึงมูนิค  ก็ได้แสดงคอนเสิร์ตด้วยเพลง  E Minor concerto  และเพลง  Fantasia Op. 13  และเพลงอื่นๆ 
อีกหลายเพลง  จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังสตุทท์การ์ท  (Stuttgart)  ในวันที่  8  กันยายน  1831  
พอถึงสตุทท์การ์ท  ก็ได้รับข่าวร้ายว่า  รัสเซียยึดกรุงวอร์ซอร์ไว้โดยสิ้นเชิงแล้ว  เขารู้สึกเหมือนหัวใจถูกทุบเป็นเสียงๆ 
เพราะได้รับความกระทบกระเทือนใจอย่างหนัก  จากเหตุการณ์อันนี้เอง  บันดาลใจให้เขาแต่งเพลง 
 Revolutionary Wtude, Opus 10, No. 12  ขึ้นและแล้วในที่สุดโชแปงก็เดินทางต่อไปยังปารีส  
ในปลายเดือนกันยายน  1831  นั่นเอง
ปารีสได้ให้ความเป็นมิตรต่อ ชาวโปลดีกว่าที่เวียนนา  และที่สำคัญที่สุดก็คือโชแปงได้พบกับเชรูบินิ  (Cherubini) 
และ  รอสซินิ  (Rossini)  นักดนตรีผู้มีชื่อเสียง  และเมื่อได้เห็นวิธีเล่นเปียโนของคาล์คเบรนเนอร์  (Kalkbrenner) 
ทำให้เขาเลื่อมใสในฝีมือเปียโนของคาล์คมาก  และเขาได้ยกย่องคาล์คว่า  “เป็นนักเปียโนชั้นเยี่ยมในยุโปร”  
 (The first pianist in Europe)  เมื่อได้รู้จักกับคาล์คแล้ว  คาล์คยกย่องโชแปงว่ามีแววทางเปียโนดี 
และได้แนะนำว่าถ้าได้เรียนวิธีการและเทคนิคการเล่นจากเขาเพิ่มเติมสัก  2 – 3  ปีแล้ว  โชแปงจะเป็นนักเปียโน
ที่หาตัวจับได้ยาก  โชแปงก็อยากจะเรียนเพิ่มเติมเหมือนกัน  จึงได้ลองปรึกษากับเอลสเนอร์ครูเก่าที่เขายังนับถือ
อยู่ถึงเรื่องนี้  ครูไม่เห็นด้วย  เพราะอยากให้โชแปงเป็นตัวของตัวเองจะดีกว่า  ส่วนพ่อของโชแปงนั้นก้ไม่ขัดข้อง
แล้วแต่โชแปงจะตัดสินใจ  แต่ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจเรียนกับคาล์คเบรนเนอร์  เพื่อนของโชแปงในปารีสที่รู้จักมักคุ้น
กันใหม่ก็มีเมนเดลส์โซห์นลิสท์  และฮิลเล่อร์  เพื่อนเหล่านี้ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนเปียโนของโชแปงว่า
 โชแปงควรจะเป็นตัวของตัวเองมากกว่า  เพราะการลอกแบบการเล่นของคนอื่น  จะทำให้คุณค่าของนักดนตรีด้วย
ลงไปถนัด  ความจริงลักษณะท่าทางและการแสดงออกทางเปียโนของโชแปงก็มีอะไรเด่นๆ  
จะเหนือกว่าคาร์ลเบรนเน่อร์ด้วยซ้ำไป  จากข้อคิดเห็นเหล่านี้ทำให้โชแปงเลิกเรียนกับคาร์ลหลังจากที่เรียนไปได้ไม่ 
 นานนัก แต่โชแปงกับคาล์คก็ยังติดต่อกันอยู่อย่างฉันท์มิตรที่สนิทสนม  และได้ร่วมกันแสดงคอนเสิร์ตเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส  เมื่อเดือนกุมภาพันธ์  ค.ศ.  1832  ในการแสดงครั้งนี้ก็มีเพลง  Quintet for String, Opus 29  ของเบโธเฟน  Vocal Duet Concerto in F Minor ของโชแปงเอง 
 Operatic Aria, Grand Polonaise  สำหรับเปียโนฟอร์เต้  6  เครื่อง  ของคาล์คเบรนเนอร์  นอกจากนั้นก็มี 
 Operatic Aria, Oboe Solo; La ci darem Variations  ของโชแปง การแสดงครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 
แต่ทว่าการเล่นเปียโนของโชแปง ได้รับการยกย่องจากนักดนตรีที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย  เป็นต้นว่า  เมนเดลส์โซห์น
ลิสท์  และฮิลเลอร์  ส่วนทางด้านหนังสือพิมพ์ก็มีนักวิจารณ์ดนตรี  ได้แสดงความชื่นชมในตัวของเขาออกมาอย่างจริงใจว่า
  “โชแปงใส่วิญญาณลงในทำนองเพลงของเขาด้วย  จึงทำให้เกิดลีลาอันงดงามไพเราะอย่างประหลาด”  
บางคนก็เขียนว่า  “เขาเล่นได้สละสลวย  คล่องแคล่ว  นุ่มนวล  และมีความสามารถในการที่จะบันดาลเสียงต่างๆ  
อันงดงามสดใส  สอดแทรกลงไปในทำนองเพลงของเขาเท่าที่เครื่องดนตรีสามารถอำนวยให้
นคร ปารีส  สมัยนั้นคล้ายๆ  เป็นแหล่งกลางสำหรับพบปะหารือกันของบรรดานักปราชญ์  คนสำคัญ  นักดนตรี 
นักวรรณคดีและศิลปิน  ที่มาจากส่วนต่างๆ  ของโลก  ทั้งนี้เพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ให้เสรีภาพแก่คนทุกคน  
และเป็นแหล่งอารยะทางศิลปะและวัฒนธรรม  จึงมักจะพบบุคคลสำคัญแขนงต่างๆ  ในปารีสเป็นส่วนมาก  
เมื่อโชแปงก้าวเข้าสู่ปารีสใหม่ๆ  ก็ได้ติดต่อคบหาสมาคมกับบุคคลทั่วๆ  ไป  ด้วยมรรยาทอันงดงามและสุภาพ  
ประกอบกับท่าทางเป็นผู้ดีของเขา  จึงเป็นที่ชอบพอของคนทั่วไป  ด้วยเหตุนี้เขาจึงเข้ากับคนได้ทุกชั้น 
นับตั้งแต่คนธรรมดาสามัญจนถึงเจ้านาย  เสนาบดี  นักปราชญ์  ศิลปิน  นักดนตรี  โชแปงรู้จักกับนักร้องที่มีชื่อเสียงหลายคน  เช่น  มาลิแบรน  (Malibran) เวียร์ดอท การ์เซีย (Viardot – Garcia)  รูบีนี  (Reini)  และลาบลาเช  (Lablache) เป็นต้น
ภายหลัง จากแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกแล้ว  ประมาณ  3  เดือน  เจ้าชาย  เดอลา  มอสโควา  (Prince de la Maskowa)
  ได้เชิญโชแปงให้แสดงคอนเสิร์ตอีกเป็นครั้งที่  2  เพื่อเก็บเงินบำรุงการกุศล  การแสดงครั้งนี้โชแปงได้เล่นเฉพาะ
ในท่อนแรกของเพลง  F Minor Concerto  ของเขาเท่านั้น  แม้ว่าเขาจะไม่ได้ค่าแสดงเลย  แต่ก็นับว่าเป็นประโยชน์
ที่ได้แนะนำตัวเองให้ประชาชนชาวปารีสได้รู้จัก  ซึ่งต่อมาก็ได้รับความนิยมจากชาวปารีสเป็นอย่างดี
ฐานะ ทางการเงินของโชแปงไม่สู้จะดีนัก  เพราะเขาไม่เคยหาเงินได้ด้วยตัวเองเลย  เงินที่จับจ่ายใช้สอยอยู่ก็ได้มาจากพ่อ
  เมื่อพ่อสงให้ไม่ได้เพราะกำลังวุ่นวายกับศึกสงครามอยู่  จึงทำให้   โชแปงฝืดเคืองลงเรื่อยๆ  ซึ่งตามปกติโชแปงเป็นคน
ที่แต่งตัวดี  ใช้เสื้อผ้าราคาแพงๆ  ทั้งนั้น  เขาขบคิดอยู่ไปมาว่าจะทำอย่างไรดี  เขาคิดว่าสามารถจะหาเงินได้ด้วย
ความสามารถทางเปียโน  จึงได้เปิดการสอนเล่นเปียโนให้แก่ลูกผู้ดี  และได้เงินใช้พอสมควร  ถึงแม้ว่าเขาไม่ชอบการ
เป็นครูสอนดนตรีเลย  แต่ก็ด้วยความจำเป็น ในระหว่างที่อยู่ในความขัดสนเงินทองนี้  เขาได้เขียนจดหมายไปบอกพ่อแม่
ทางบ้านว่า  เขาจะเดินทางไปอเมริกา  ซึ่งเป็นที่เขาคาดว่าจะสามารถสร้างชื่อเสียงและหาเงินทองได้ด้วยความสามารถ
 ทางดนตรีของเขา  เมื่อพ่อได้รับข่าวก็มีความตกใจมาก  ตลอดจนพวกเพื่อนๆ  ของเขาที่ปารีสก็ไม่เห็นดีด้วยกับแผนการนี้
  ขณะที่อยู่ในระหว่างการตัดสินใจนั้น  วันหนึ่งขณะที่เขาเดินย่ำอยู่ที่ถนนแห่งหนึ่งได้พบกับเจ้าชาย  วาเลนติน  รัดซิวิลล์ 
(Prince Valentin Radziwill)  โดยบังเอิญ หลังจากที่ได้ทักทายปราศรัยกันพอสมควรแล้ว  คืนนั้นเจ้าชายได้ชักชวนโชแปง
ให้ไปคุยกันที่บ้านของ  บารอน  เดอ  รอธไชลด์  (Baron de Rothschid)  และมีการเล่นดนตรีกัน 
เหตุนี้จึงทำให้จุดหมายปบลายทางชีวิตของโชแปงเปลี่ยนไป  คือเขาเลิกคิดที่จะไปอเมริกา 
เพราะเจ้าชายให้ความอุปถัมภ์แก่เขา  และนำเขาไปสู่วงการสมาคมต่างๆ  มีนักเรียนมาเรียนเปียโนกับเขามากขึ้น
 มีรายได้สูง  ถึงกระนั้นก็ดีโชแปงก็ยังมีความยากลำบากในเรื่องเงินอยู่  เพราะมีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายให้พอเหมาะ
กับฐานอันมีเกียรติของเขา จากการเล่นเปียโนตามที่ต่างๆ  ในปารีส  ทำให้เขามีชื่อเสียงเด่นขึ้น  มีเพื่อนมากขึ้น 
แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่สามารถจะทำให้โชแปงเลิกคิดถึงบ้านได้
โช แปง ได้แสดงเปียโนร่วมกับลิสท์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1833 และในปีเดียวกันนั้น  โชก็ได้แสดงร่วมกับลิสท์และฮิลเลอร์ 
นักเปียโนผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง  เล่นเพลงของบาค  โดยใช้เปียโนฟอร์เต้  การแสดงครั้งนี้นับว่ามโหฬารอยู่ 
 เพราะนักเปียโนมือชั้นเยี่ยมทั้งสามคนได้แสดงร่วมกัน  และปีเดียวกันนี้เอง เขาก็ได้มีโอกาสรู้จักกับแฮคเตอร์ แบร์ลิโอช์ 
 (Hector Berlioz)  นักประกันธ์เพลงและนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส  และอีกคนหนึ่ง คือ วินเชนโช แลลินี
  (Vincenzo Bellini)  นักแต่งอุปรากรชื่อดังชาวอิตาเลียน  โชแปงได้แสดงฝีมือทางเปียโนอีกครั้งหนึ่ง  
เพื่อเป็นเกียรติแก่แบร์ลิโอช์และเฮนเรียทตา  สมิทชัน  สองสามีภรรยาเพื่อนใหม่ของเขา
ในฤดูร้อน ค.ศ. 1835  โชแปงได้เดินทางไปพบพ่อและแม่ที่ได้เดินทางมาพักอยู่ ณ เมืองคาร์ลสบัด (Karisbad) 
ซึ่งไดม่ได้พบกันมาตั้ง  5  ปีแล้ว  นับแต่เขาจากไป เมื่อพ่อแม่ลูกได้พบกันอีกครั้งหนึ่ง  ก็มีความดีใจสุดที่จะประมาณ 
ต่างเต็มไปด้วยความตื้นตันจนน้ำตาไหล  โชแปงมีความสุขมากที่สุดที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับพ่อแม่  พอถึงเดือนกันยายน 
เขาก็จากพ่อแม่เดินทางไปสู่เมืองเดรสเดนเพื่อเยี่ยมครอบครัวเพื่อนเก่าที่ รู้จักกันตั้งแต่ครั้งครั้งเรียนอยู่ที่โรงเรียนประจำ
ที่พ่อของเขาเปิดสอน เมื่อเขายังเด็ก ๆ กันอยู่  ครอบครัวนี่ได้มาพักอยู่ที่เดรสเดนชั่วคราว  เขาได้ใช้เวลาพักอยู่กับ
ครอบครัวนี้  3 สัปดาห์ จนทำให้เกิดความสนิทสนมกันขึ้นกับมารี  ว้อดชินสก้า  (Marie Wodzinska)  
น้องสาวเพื่อนของเขานั่นเอง  จึงทำให้เขาเกิดมีความรักอีก   หลังจากที่เคยรักผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ  
คอนสตันจาและเธอได้แต่งงานไปแล้วเมื่อ ค.ศ. 1831  ความรักครั้งใหม่นี้เป็นอย่างรวดเร็ว  ขณะนั้นโชแปงมีอายุ  25  ปี 
และมารี  มีอายุได้  19  ปี  แต่ในที่สุดเขาก็จะต้องอำลาเธอไปเพราะถึงกำหนดที่โชแปงกลับไปปารีสก่อนที่จะ จากไป 
เขาได้แต่งเพลงวอลทช์ (Waltz)  มอบให้แก่เธอเพลงหนึ่งชื่อ  E Flat Nocturne. Opus. 69 , No.1  
ซึ่งมารี  ว้อดชินสก้า  ก็ได้เก็บรักษาและทนุถนอมไว้เป็นอย่างดี
โช แปงเดินทางกลับปารีส  โดยผ่ายทางไลพ์ซิก  (Leipzig)  เพื่อไปพบเมนเดลส์โซห์นที่นั่น  เมนเดลส์โซห์นพาเขาไปรู้จัก
กับโรเบอร์ต  ชูมันน์  (Robert Schumann)  และคลารา  วิค ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้แต่งงานกับชูมันน์  คลารานิยมชมชอบ
งานของโชแปงมาก  ชูมันต์ได้สอนให้เธอเล่นเปียโนจนสามารถเล่นเพลง  R Minor Sonata. Opus11  ของชูมันน์ 
และบางท่อนของเพลงคอนเซอร์ดตของโชแปงไปด้วย
ใน ฤดูร้อน ค.ศ. 1836 โชแปงได้เดินทางไปเยี่ยมครอบครัวของมารี  ว้อดชินสก้าซึ่งมาพักอยู่ที่มารีนบาด  (Maarienbad)
ชั่วคราว  พหอถึงปลายเดือนสิงหาคม  ครอบครัวนี้ก็กลับไป่ยังเดรสเดนตามเดิม  โชแปงก็ติดตามไปด้วย
และพักอยู่ที่นั่น  2 สัปดาห์  ก่อนที่เขาจะอำลาไปสู่ปารีสเขาได้ขอแต่งงานกับมารี  และเธอก็ตกลงรับปากกับเขา 
ฝ่ายเคานท์เตสผู้เป็นแม่ก็เห็นใจและยินยอม  เพราะเขาทั้งสองรักกันมาก แต่ในที่สุดความรักก็ต้องสลายลงอย่างขมขื่น 
เพราะท่านเคานท์ผู้พ่อไม่ยินยอมและได้คัดค้านอย่างแข็งแรง  แม่ว่าเขาทั้งสองจะพลาดหวังไป แต่ก็ยังมีเยื่อใยต่อกันอยู่ 
โดยได้ติดต่อกันทางจดหมายอยู่เสมอ  (จดหมายที่มารีมีไปถึงโชแปงนี้  ได้ค้นพบเมื่อโชแปงตายแล้ว 
จดหมายเหล่านั้นผูกเป็นมัด  รวมกันอยู่กับซอง  ใส่ดอกกุหลายที่มารีได้มอบให้เขาเมื่อวันอำลาจากเดรสเดนครั้งนั้นด้วย
  ผูกไว้กับริบบิ้น  และมีคำจารึกบนซองนั้นเป็นภาษาโปลว่า  ‘Moia bieda’  ซึ่งหมายความว่า  (My Sosrrow)
มารีได้แต่งงานกับทานเคานท์โจเซฟ  สคาร์เบค  (Count Joteph Skarbek)  ในปี ค.ศ. 1841 
อยู่ด้วยกันประมาณปี  ก็เลิกร้างกัน  มารีก็ได้แต่งงานใหม่กับชาวโปลคนหนึ่งในเวลาต่อมา
ขอ กล่าวถึงโชแปง  หลังจากผิดหวังในการแต่งงานกับมารีแล้ว  เขาก็เดินทางผ่านมาไลพ์ซิก 
เพื่อพบกับชูมันน์อีก  และครั้งนี่เขาได้นำเพลง  G Minor Ballade  มาเล่นให้ชูมันน์ฟังด้วย  เมื่อชูมันน์ได้ฟังเพลงนี้แล้ว 
ก็เขียนวิจารณ์ว่า  “เป็นงานที่มีลักษณะพิเศษงดงามมาก”  ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเพียงงานชิ้นเล็กๆ ชิ้นหนึ่งของโชแปงก์ตาม 
แต่ก็เป็นเพลงที่ชูมันน์ชอบมากที่สุดเพลงหนึ่ง
ค. ศ. 1837  ความรักเก่าก็ยังไม่จางหายไป  ลิสท์ก็ได้แนะนำให้โชแปงรู้จักกับ  จอร์ช  ซองด์  (George Sand) 
นักประพันธ์สตรีชื่อดังของฝรั่งเศสสมัยนั้น ก่อนอื่นเราควรทราบประวัติของ  จอร์ช  ซองด์  พอสังเขปเสียก่อน    
จอร์ช  ซองด์  เป็นนามปากกาเท่านั้น  แต่ชื่อจริงนั้นคือ  Amandine Aurore Lucile Dupin  หรือเมื่อแต่งงานแล้วคือ
มาดาดู  เดอวองท์  (Dudevant)  มีนิสัยเป็นผู้ชาย ชอบใช้ชื่อแบบผู้ชาย  สมาคมกับผู้ชาย  ชอบขี่ม้าและเล่นกีฬา 
แต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุ  18  ปี  กับ บารง  กาซีมีร์  ดู  เดอวองท์  (Baron Casimir Dudevant  มีลูกด้วยกัน  3  คน 
ต่อมาก็ได้แยกทางกันแต่ยังไม่หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย  ซองด์ได้แต่งงานกับซุลซองโล  (Juies Sandeau)  แล้วแยกทางกัน  ซองด์แต่งงานอีกกับมุสเซ  (Musset)  ซึ่งมีอายุน้อยกว่าเธอตั้ง  7  ปี  (ซองด์มีอายุ  30  ปี  มุสเซมีอายุ  23 ปี) 
อยู่ร่วมกันประมาณ  2  ปีก็เลิกกัน  ซองด์ไปแต่งงานใหม่กับ  ปาเซลโล  (Pegello)  ซึ่งเป็นนายแพทย์ 
แล้วเลกกันอีก  ซองด์มาอยู่กับมุสเซเป็นครั้งที่  2  เมื่อ  ค.ศ. 1835  แต่แล้วก็เลิกกันอีก  ตอนนี้ซองต์มาหา 
บารง ดู เดอวองท์  สามีคนแรก  และเกิดทะเลาะกันรุนแรง  จึงทำการฟ้องหย่ากันตามกฎหมาย
ซองด์ได้ลูกไปอยู่ด้วย  2  คนและเธอนำไปฝากกับเพื่อนไว้ชั่วคราวก่อน  ต่อมา  ค.ศ. 1836  ซองด์พาลูก  2  คน
 เดนทางไปสวิตเซอร์แลนด์และพักอยู่กับมารี  ดากูลท์ 
(Marie  D’Agoult)  ซึ่งเป็นภรรยาลับ ๆ ของลิสท์  (frantz Liszt)  นักดนตรีที่มีชื่อ  รู้จักกันเพราะมุสเซ  
สามีคนหนึ่งของเธอแนะนำให้รู้จักเมื่อปีก่อน  และมารี  ดากูลท์  มีความนิยมในตัว  จอร์ช ซองด์  อยู่มาก 
ดังนั้นจึงได้เชิญซองด์มาพักอยู่ด้วยกันที่โรงแรง เดอ ลุนียง  (Hotel De L’Union) พร้อมกับลูกสองคนของเธอด้วย 
ครั้นลูกโตพอที่เข้าโรงเรียนได้แล้ว  ซองด์ได้พาลูกไปเข้าโรงเรียนในปารีส  ครั้นตอมาลิสท์และมารี ดากูลท์
 ก็ย้ายมาสู่ปารีสและพักอยู่ทีโฮเต็ล  เอ  ฟรังช์  (Hotel De France)  ดังนั้นซองด์จึงได้ไปมาหาสู่กับลิสท์และ มารี  ดากูลท์  
บ่อย ๆ ลิสท์ได้เล่าเรื่องต่าง ๆ ของโชแปงให้ซองด์ฟังอยู่เสมอ  จึงทำให้ซองด์เกิดความสนใจและอยากจะพบกับโชแปง 
และในที่สุดก็พบกันโดยลิสท์เป็นผู้แนะนำให้รู้จักกับโชแปงดังกล่าวแล้ว
ค. ศ. 1838  โชแปงขณะนั้นกำลังมีชื่อเสียงในการเล่นเปียโนและแต่งเพลง  ซึ่งเป็นที่นิยมกันในหมู่ชนทุกชั้น 
ชูมันต์ได้อุทิศเพลงของเขาชื่อ  Kreisleriana  ให้แก่โชแปง  เขาได้เล่นเพลงนั้นที่ราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์  ฟิลิปส์
 (Luise Phillppe)  เมื่อลิสท์แนะนำให้รู้จักกับจอร์ช  ซองต์  ในตอนแรก ๆ โชแปงรู้สึกรังเกียจซองด์อยู่ไม่น้อยเพราะ
ซองด์เป็นแม่หม้ายลูกติด  และก็ผ่านการแต่งงานมาหลายครั้งหลายคราว  อายุหรือก็มากกว่าเขาตั้ง  6  ปี 
(โชแปงอายุ  26  ปี จอร์ช  ซองด์อายุ  32 ปี)  แต่วองด์เป็นผู้หญิงที่มีจิตใจเข้มแข็งและมีความรักอย่างร้อนแรง 
จึงเอาชนะใจโชแปงได้โดยสิ้นเชิง    เพราะโชแปงเป็นคนมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย  ดังนั้น  ท้องสองจึงตกลงแต่งงานกัน 
แล้วได้เดินทางไปฮันนี่มูลกันที่มาจอร์ก้า  (Mauerice) ลูกชายคนโตซึ่งป่วยออด    แอด ๆ อยู่นั้นต้องการพักผ่อนใน
ที่มีอากาศอบอุ่น  ซองด์จึงได้ถือโอกาสเอาไปมาจอร์ก้าด้วย  พากันออกเดินทางไปโดยเรือง  Phenician  
ไปสู่บาร์เซโลนา  (Barcelona)  ในสเปญ  แล้วเดินทางลงเรือไปสู่มาจอร์ก้าอีกทีหนึ่ง  เมื่อไปถึงมาจอร์ก้าแล้ว  
ได้รับความลำบากมากเพราะไม่มีโรงแรมดี ๆ พัก  ไม่มีอาหารดี ๆ จะกิน  นอกจากนั้นยังราคาแพงมากอีกด้วย  
ฝนก็ตกหนักโชแปงเริ่มเป็นหวัด  สุขภาพทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว อาการป่วยทรุดหนักขึ้น  ในที่สุดก็ต้องเดินทางกลับมาพัลมา
  (Palma)  อีก  และที่นี่โชแปงไอมีเลือดไหลออกมาด้วย  จึงเดินทางลงเรือมายังบาร์เซโลนาอีกในวันต่อมา 
เลือดได้ไหลออกมาอีกอย่างน่าวิตก  แพทย์ประจำเรือได้ช่วยรักษาให้เลือดหยุดจึงทุเลา  พอที่จะเดินทางมายังกรุงปารีสได้
เมื่อ มาถึงปารีส  อาการป่วยดีขึ้นมาก  จนสามารถเล่นเปียโนและเดินเที่ยวเล่นได้  นอกจากนั้นโชแปงยังอุตส่าห์
ไปเล่นออร์แกนในพิธีฝังศพนักร้องมีชื่อคนหนึ่ง ชื่อ  อดอล์ฟ  นูริ  (Adolphe Nourrit)  ซึ่งฆ่าตัวตายที่เนเปิลส์ 
แล้วนำศพกลับมาฝังที่มาร์เชลล์  (Marseilles)  จากนั้นโชแปงกับซองด์ก็ได้ไปเที่ยวเนยัว  อิตาลี  
ทำให้โชแปงสุขภาพดีขึ้นมาก  เมื่อกลับจากการท่องเที่ยว  ทั้งสองก็ได้ไปพักอยู่ที่โนออง  (Nohant)  
ซึ่งเป็นชนบทแห่งหนึ่งที่ซองด์มีบ้านพักร้อนอยู่ที่นั่น  โชแปงชอบบ้านนี้มาก  เขาได้เขียนจดหมายไปชวนเพื่อนคนหนึ่ง
ชื่อ  ครุซีมาลา  (Grzymala)  มาพักด้วย  ส่วนซองด์ก็ได้ชวนนักวาดภาพที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ 
เดลาครัว (Delacroix)  มาพักด้วย  ชีวิตที่นี่ทำให้โชแปงมีความสุขไปวันหนึ่ง ๆ จอร์ช  ซองด์ก็สอนหนังสือให้ลูก ๆ 
โชแปงก็เล่นเปียโนให้ซองด์ฟัง  พอถึงหน้าหนาวก็พากับกลับมาอยู่ในปารีส  ลูกสาวคนเล็กที่ชื่อโซลองด์  (Solange) 
ของซองด์นั้นก็ส่งเข้าไปอยู่โรงเรียนประจำส่วนมอรีชลูกชายอยู่กับแม่ที่ บ้าน  ที่ปารีสนี้โชแปงใช้เวลาส่วนมากแต่งเพลง
และดนตรี  มีเพื่อฝูงมาห้อมล้อมอย่างเคย  ต่อมาพระเจ้าหลุยส์  ฟิลิปป์  ได้เชิญโชแปงไปเล่นดนตรีในวังอีก  
โดยให้เล่นร่วมกับ  Moscheies  แต่ละคนก็เล่เพลงของตัวเองและร่วมกันเล่นเพลงโซนาตาของโมสาร์ทด้วย 
การแสดงคราวนี้ได้รับความชื่นชมจากบรรดาเจ้านายชั้นสูงมาก
ค. ศ. 1841  โชแปงได้แสดงคอนเสิร์ตที่ Salle Pleyel  ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี  จากนั้นเขาได้แสดงไปเรื่อย ๆ 
และมีการแสดงครั้งใหญ่อีกในเดือนมกราคม  1841  การแสดงครั้งนี้  ซองด์มาฟังด้วย  เพลงที่แสดงคราวนี้เป็นเพลง
ที่เขาได้แต่งขึ้นใหม่ ๆ  เช่น F Major Ballade Opus 38  เพลง  Mazurka, Etude, Nocturne 
รวมทั้งเพลง  Preludes, Impromptus ด้วย  การแสดงครั้งนี้ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม  
และการแสดงดนตรียังคงแสดงในปารีสต่อไปเรื่อย ๆ ค.ศ. 1842  ได้แสดงคอนเสิร์ตร่วมกับ Viardot-Garcia 
อีกครั้งหนึ่ง  จากนั้นโชแปงก็ไปพักผ่อนที่โนออง  (Nohant)
เดือน พฤษภาคม  ค.ศ.  1844  โชแปงได้รับข่าวร้ายแรง  คือข่าวว่าพ่ออันเป็นที่รักของเขาได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว
ที่โปแลนด์ จากข่าวนี้ทำความกระทบกระเทือนใจให้แก่เขาอย่างรุนแรง  เขามีความอาลัยอย่างสุดที่จะประมาณ  
และมีความกังวลใจเรื่อย ๆ มา สุขภาพจึงทรุดโทรม  ซองด์ได้ส่งข่าวการาเจ็บป่วยของโชแปงไปถึงญาติพี่น้องของเขา
ในวอร์ซอว์  ดังนั้น  พอถึงเดือนสิงหาคม  หลุยส์  พี่สาวของเขากับสามีก็ได้เดินทางมาเยี่ยมโชแปงที่โนออง 
จากนั้นอาการป่วยของโชแปงก็พอทุเลาและดีขึ้นตามลำดับ  แต่ความคับอกคับใจในเรื่องยุ่ง ๆ 
ของครอบครัวก็เป็นเรื่องทำให้โชแปงปวดหัวไม่ใช่น้อย  เพราะซองด์กับลูก ๆ ของเธอเกิดไม่กินเกลียวกัน 
และมอริชลูกชายของซองด์กไม่กินเส้นกับโชแปงมากขึ้นทุกที  ในที่สุดความแตกร้าวระหว่างโชแปงกับซองด์ก็เกิด่ขึ้น 
และเป็นไปอย่างรุนแรงจนทำให้ความรักสลายลงในปี  ค.ศ. 1847  ความสัมพันธ์ระหว่างซองด์กับโชแปงก็สิ้นสุดลง
สุขภาพของโชแปงได้ทรุดโทรมลงอีก  แต่ถึงอย่างไรก็ตามาโชแปงก็ได้พยายามจัดแสดงคอนเสิร์ตขึ้นอีก  
ครั้งหนึ่งในกรุงปารีส  เมื่อวันที่  16  กุมภาพันธ์ 1848  ซึ่งเป็นการแสดงครั้งสุดท้ายในปารีส 
การแสดงครั้งนี้ได้เล่นเพลงเซลโล  โซนาตา  (Cello  sonata)  ของเขาร่วมกับ Franchomme  
บัตรเข้าชมการแสดงขายได้หมดและการาแสดงครั้งนี้ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่าง ดี
การ ปฏิวัติได้เริ่มขึ้นในปารีสในเดือนกุมภาพันธ์  พระเจ้าหลุยส์  ฟิลิปป์  ต้องสละราชบัลลังก์  
ลูกศิษย์ของโชแปงคนหนึ่งชื่อ  เจน  สเตอร์ลิง (Jand  Stirling)  ซึ่งเป็นสตรีสาวชาวสก๊อตผู้มั่งคั่งได้ชวนโชแปง่
เข้าไปยังประเทศอังกฤษ  เขาก็ตกลงรับคำทันทีและได้เดินทางไปสู่กกรุงลอนดอนเป็นครั้งแรก 
ได้พักอยู่ที่นั่น  2 – 3 อาทิตย์  และได้แสดงดนตรีหลายคราว  ซึ่งก็มีคนให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับที่ปารีส 
ต่อจากนั้นก็เดินทางไปยังสก๊อตแลนด์  ด้วยความอุปถัมภ์ของเจนสเตอร์ลิง  ในระหว่างนี้ก็ได้แสดงดนตรีที่ 
แมนเชสเตอร์ (Manchester)  กลาสโกว์( Glasgow)  และเอดินเบอร์ก (Edinburgh) 
ได้นำไปรักษาที่บ้านเป็นเวลา  5 วัน  จากนั้นโชแปงก็ได้ไปเยี่ยมดยุคแห่งแฮมิลตัน (Duke of Hamilton) 
ที่วังแฮมิลตัน  แล้วก็เดินทางมาลอนดอนในวันที่  31 ตุลาคม  1848  และที่ลอนดอนก็ได้
แสดงคอนเสิร์ตอีกครั้งหนึ่งที่  London Guildhall  เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสงครามชาวโปแลนด์พี่น้องร่วมชาติของเขา  
นี่คือการแสดงต่อประชาชนครั้งสุดท้ายของโชแปง  เพราะจากนั้นเขาอ่อนเพลียหมดเรี่ยวแรง 
และที่ลอนดอนนี้เขาเป็นหวัดอย่างแรงหายใจด้วยความยากลำบาก
โช แปงเดินทางมาถึงปารรีสในปลายเดือนพฤศจิกายน  และได้ไปเช่าบ้านพักอยู่ที่ Square d’ Orieans  
 จนถึงเดือนมิถุนายน  ค.ศ. 1849 และได้ย้ายไปอยู่ที่ใหม่คือบ้านเลขที่  74  Rue  Chaillot ด้วยค่าเช่าราคาแพงมาก
  สุขภาพเลวลงมากอย่างน่าวิตก  เพื่อนบ้านได้ส่งข่าวไปบอกหลุยส์  พี่สาวของเขาที่วอร์ซอว์ให้ทราบ 
และเธอก็ได้เดินทางมาถึงในวันที่  9  สิงหาคม  พบโชแปงอยู่ในอาการกะปลกกระเปลี้ยเต็มที 
 พูดจาอะไรก็ไม่ค่อยได้ ต่อจากนั้นราวกลางเดือนกันยายน เพื่อน ๆ ก็ได้นำเขาไปอยู่ที่บ้านแห่งใหม่ที่เพลช เวนดัม 
(Place Vendome) ตอนนี้ลูกศิษย์ลูกหาตลอดจนมิตรสหายมาเยี่ยมเขาอยู่มิได้ขาด การเงินต่าง ๆ 
ที่เป็นค่ารักษาและค่าเช่าที่พักอาศัยนั้น เจนสเตอร์ลิง ลูกศิษย์ของเขาและเคานท์เตสส โอเบรสคอฟฟ์ 
(Countess Obreskoff) เป็นผู้จ่ายไปทั้งสิ้น ประมาณ, ฟรัง และบอกให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องถือเป็นความลับ 
 อย่าบอกให้โชแปงรู้

เมื่อ ใกล้จะตาย โชแปงได้ขอร้องให้เอาก้อนดินจากโปแลนด์ที่ครูและเพื่อน ๆ ให้มาเมื่อวันจากวอร์ซอว์นั้นมาจูบ
เป็นครั้งสุดท้าย และขอให้ทำพิธีต่าง ๆ ทางศาสนาแบบคริสเตียน ได้ขอร้องให้เพื่อน ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดตอนนี้ให้พิมพ์
บทเพลงของเขาที่ยังไม่ได้พิมพ์นั้นด้วย เวลาตายแล้วให้เล่นเพลง Requiem ของโมสาร์ท ในงานศพของเขาด้วยกับ
ให้เล่นเพลง Funeral March from the Sonata , Opus  the E Minor และ B Minor Preludes โดยใช้ออร์แกน
โช แปงทนทรมานอยู่จนเกือบใกล้รุ่งของวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ.1849 จึงได้สิ้นใจด้วยวัณโรคท่ามกลางความอาลัยรัก
ของญาติมิตรสหายและลูกศิษย์ ศพของเขาฝังไว้ที่ Pere – Lachaise พร้อมกับก้อนดินของโปแลนด์อันนั้น
เฟร เดริค ฟรังซัวส์ โชแปง ได้ฝากมรดกไว้ให้แก่โลกดนตรีมากมาย เพลงอมตของเขายังก้อนกระหึ่งไปทั่วโลก
อยู่จนทุกวันนี้ เพลงชนิดต่าง ๆ ที่เขาแต่งมีมีอยู่มากมาย รวมแล้วประมาณ 200 กว่าเพลง
 แทบทั้งหมดเป็นเพลงสำหรับเปียโน เพลงของเขามีเสน่ห์ไพเราะหมดจดงดงาม
 ลึกล้ำกว่าเพลงเปียโนของผู้อื่นใด และเพลงของเขาก็จัดอยู่ในประเภทโรแมนติคทั้งสิ้น 
 นี่แหละคือชีวิตของนักเปียโนผู้ยิ่งใหญ่