วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

PSM String Chamber

ประวัติชมรม PSM String Chamber
           กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว  ประมาณปี พ.ศ.2545   มีพ่อลูกคู่หนึ่งเริ่มสอนดนตรี(ไวโอลิน)ตอนเช้ากันใต้ตึกโรงเรียน  โดยคุณพ่อครูสอนดนตรีที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มศว  ได้แก่อาจารย์สมชาย  อัศวโกวิท  โดยคุณลูกก็เริ่มชวนเพื่อนๆมาเรียนกัน เพิ่มขึ้น  มากขึ้นจนสามารถแสดงรับเสด็จหน้าพระที่นั่งในงานวันรับปริญญามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร    หลังจากนั้นโครงการดนตรีตอนเช้าก็พัฒนาต่อเนื่องเป็นโครงการเพาะบ่มนักดนตรี (SSO)  ต่อจากนั้นอาจารย์วัฒนา  ศรีสมบัติร่วมมือกับอาจารย์สมชาย  อัศวโกวิท  ขยายโอกาสทางดนตรีมาเปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรีที่โรงเรียนสาธิตมศว ฝ่ายมัธยมในปีพ.ศ. 2546  ถือว่ามีห้องเรียนดนตรีไวโอลินครั้งแรกในโรงเรียนโดยมีอาจารย์ยงยุทธ  เอี่ยมสอาดเป็นครูผู้สอน  ปี พ.ศ.2547  กลุ่มสาระวิชาดนตรีเปิดแผนการเรียนวิชาสหศิลป์ดนตรีหรือแผนการเรียนศิลป์ดนตรีในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ก็คือแผนการเรียนดุริยางคศิลป์ในปัจจุบัน  ซึ่งทำให้เกิดชมรม PSM String Chamber เพื่อเป็นกิจกรรมพิเศษสำหรับเด็กๆที่มีความสามารถพิเศษทางดนตรี สนใจในการเล่นดนตรีแบบแชมเบอร์ มิวสิค  มารวมตัวกันฝึกซ้อมจนสามารถเปิดการแสดงในงานต่างๆ  และเป็นที่ยอมรับของโรงเรียน
            ชมรมPSM String Chamber  มีหัวหน้าวงผ่านมาแล้วหลายต่อหลายรุ่น เช่น รวยชัย แซ่โง้วปัจจุบัน ประสบความสำเร็จป็นนักดนตรีอาชีพวงบางกอกซิมโฟนี  ออเครสตร้า (BSO )  
จนถึงหัวหน้าวงคนปัจจุบัน ณัฐวัฒน์  เลื่อนตามผล  นักดนตรีฝีมือดีอนาคตไกลนักเรียนแผนการเรียนวิทย์ – คณิต  ปัจจุบันเป็นหัวหน้าวงเยาวชนไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเจ้าเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ  เป็นหัวหน้าวง  VMUS Orchestra 
ชมรมPSM String Chamber เป็นชมรมเล็กๆที่พร้อมจะเปิดประตูทางดนตรีให้กับนักเรียนทุกคนของสาธิต ได้มีโอกาสเข้ามาได้สัมผัสบรรยากาศของนักดนตรี  และการแสดงได้เสมอ  และสามารถติดตามผลงานของพวกเราในการแสดงครั้งต่อไปถ้าฟ้าเป็นใจ  ให้เราได้มาพบกัน.....

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

KANON เพลงฮิตตลอดกาล 2

                         นักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน ที่มีความสำคัญอย่างมากคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การดนตรี เขาเกิดเมื่อเดือนสิงหาคม 1653 ที่เมือง Nuremberg ประเทศเยอรมัน เข้าพิธีรับศีลเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1653 เริ่มเรียนดนตรีครั้งแรกกับ Schwemmer ต่อมาได้เรียนการประพันธ์เพลงกับ G. Wecker เขาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย Altdorf พร้อม ๆ กับได้รับตำแหน่งนักออร์แกนประจำโบสถ์ San Lorenzo แต่เนื่องจากฐานะทางการเงินที่ไม่อำนวย ทำให้เขาต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยกลางคัน แต่ได้เข้าศึกษาต่อที่ Gymnasium Poeticum แห่งเมือง Regensburgo ศึกษาการประพันธ์เพลงกับ Kaspar Prentz

ในปี 1673 เขาได้เดินทางไปยังกรุงเวียนนา ซึ่งทางโบสถ์ San Esteban ได้เสนอตำแหน่งนักออร์แกนประจำโบสถ์ให้แก่เขา อีก 4 ปีต่อมาเขาได้รับตำแหน่งนักออร์แกนประจำราชสำนักของ Eisenach ในปี 1690 เขาได้เดินทางไปรับตำแหน่งนักออร์แกนประจำราชสำนักในสตุ๊ทการ์ท จนกระทั่งทหารของฝรั่งเศสได้บุกเข้ายึดเมือง

ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา ทางเมือง Nuremberg ได้เสนอตำแหน่งนักออร์แกนประจำโบสถ์ San Sebaldo ให้แก่เขาในปี 1695 เขาเสียชีวิตลงที่เมืองนี้เอง เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1706 และทำพิธีฝังเมื่อวันที่ 9 มีนาคมปีเดียวกัน

ชีวิตของเขานั้นเต็มไปด้วยความยากลำบากและเต็มไปด้วยความเศร้า ในปี 1683 ภรรยาคนแรกของเขาเสียชีวิตพร้อมกับลูกในท้อง เขาต้องหนีภัยจากการรุกรานของทหารฝรั่งเศสที่เข้ายึดเมืองสตุ๊ทการ์ทเมื่อปี 1692 ต่อมาเขาได้อพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่เมือง Nuremberg และได้แต่งงานเป็นครั้งที่ 2 มีบุตรทั้งสิ้น 7 คน บุตรของเขา 2 คนเป็นนักดนตรีเช่นเดียวกัน บุตรของเขาคนหนึ่งได้เป็นช่างทำเครื่องดนตรีและอีกคนหนึ่งเป็นจิตรกร เขาเป็นนักออร์แกนฝีมือดีและยังเป็นหัวหน้าคณะประสานเสียงอีกด้วย นอกจากนั้นเขายังเป็นนักประพันธ์เพลงสำหรับออร์แกนที่มีผลงานมากมาย รวมทั้งงานเพลงสำหรับฮาร์พสิคอร์ด เพลงร้อง (Arias) แชมเบอร์มิวสิค เพลงสวดในโบสถ์และ Choral motet, Suite chorale variations และ Chorale cantata ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อ Johann Sebastian Bach ในวัยหนุ่ม

ในช่วงที่เป็นนักออร์แกนในโบสถ์แห่งหนึ่งในเมือง Erfurt เขามีโอกาสได้รู้จักและเป็นเพื่อนกับบิดาของ Bach (Johann Ambrosius) และยังเป็นพ่อทูนหัวของพี่สาวคนหนึ่งของ Bach อีกด้วย นอกจากนั้นเขายังสอนดนตรีให้กับของพี่สาวอีกคนหนึ่งของ Bach รวมถึงสอนดนตรีให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวนี้เช่นกัน เขามีส่วนสำคัญในการพัฒนาสไตล์การเล่นคีย์บอร์ดที่เยี่ยมยอดแบบออสเตรียและการร้องเพลงสวดแบบโปรเตสแตนท์ โรมันคาทอลิคทางตอนใต้ และเพลงสวดทางตอนเหนือของเยอรมันเข้าด้วยกัน

Kanon in D Major
Johann Pachebel เขียนเพลงนี้ขึ้นเมื่อประมาณปี 1680 และถือว่าเป็นเพลงที่มีผู้รู้จักมากที่สุดเพลงหนึ่งในโลก เริ่มต้นด้วยท่องทำนองเสียงเบสง่าย ๆ ที่เล่นซ้ำไปซ้ำมา หรือเรียกว่า "Continuo” ในขณะที่เสียงไวโอลินเริ่มสอดประสานท่วงทำนองดังกล่าวในเสียงที่สูงกว่า Kanon in D Major เป็นบทเพลงที่คงความไพเราะไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัยก็ตาม ว่ากันว่าท่วงทำนองเพลงนี้เป็นเสมือนยาวิเศษ ที่ช่วยขจัดความตึงเครียดในชีวิตได้ดี
Kanon เป็นรูปแบบของการประพันธ์เพลงชนิดหนึ่ง สำหรับเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆและการร้องเพลง ในขณะที่บรรเลงหรือร้องในทำนองใดทำนองหนึ่งแต่คนละจังหวะ คือการเหลื่อมล้ำกัน รูปแบบ Kanon อย่างง่าย ๆ เรียกว่า Catches หรือ Rounds เช่นเพลง Three blind mice หรือ Row, row, row, your boat
คำว่า Kanon ในทางดนตรีหมายถึง "Rule” หรือ “Law” ในการประพันธ์เพลงในแบบ Canon นั้นค่อนข้างมีแบบแผนที่ซับซ้อนและเคร่งครัด

มีภาพยนตร์โฆษณามากมายที่นำเพลง Kanon in D Major ไปใช้ประกอบ รวมถึงภาพยนตร์จอเงินเช่น Father of the Bride และ Ordinary People ภาพยนตร์เกาหลีที่โด่งดังอย่าง The Classic ฯลฯ และในพิธีศพของเจ้าหญิงไดอาน่า                                    

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

FUGUE ดนตรีในยุคบาโร้ค

ฟิวก์ (Fugue)ดนตรีในยุคบาโร้ค
Fugue เป็นรูปแบบของดนตรียุคบาโร้คซึ่งมีผิวพรรณ (Texture) แบบหลายทำนองหรือ polyphony ที่ได้ทราบแล้วคือ Continuo Grosso (ซึ่งมีการบรรเลงทั้งที่เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีบรรเลงสลับกับดนตรีทั้งวงบ้าง และบรรเลงไปพร้อมกันบ้าง) รูปแบบของบทเพลงที่ขึ้นหน้าขึ้นตามากที่สุดแบบหนึ่งของยุคนี้ก็คือ ฟิวก์ (Fugue)
บทเพลงแบบฟิวก์สามารถจะประพันธ์ให้บรรเลงได้ทั้งด้วยเครื่องดนตรีและการขับร้องเป็นกลุ่ม หรือแม้แต่สำหรับบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีชิ้นเดียวอย่าง Harpsichord
Fugue เป็นลักษณะหนึ่งของ Polyphony ที่มีทำนองหลักเพียงทำนองเดียว (ทำนองหลักนี้เรียกว่า “Subject” (เนื้อหา) ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งเครื่องดนตรีไม่ว่าจะเป็นเสียงสูงหรือต่ำตลอดจนเสียงร้อง แต่ละแนวจะบรรเลงทำนองหลักนี้ซ้ำไปซ้ำมาในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทำนองหลักที่บรรเลงในลักษณะต่างๆนี้ ให้ความหมายและความรู้สึกทางอารมณ์และจิตใจไม่เหมือนกัน โดยการบรรเลงในแบบใดเสียงที่ต่างออกไปบ้าง ประสานกับทำนองส่วนอื่นของทำนองหลัก ที่บรรเลงด้วยแนวอื่นบ้างหรือในจังหวะช้า-เร็วต่างกันไปบ้าง
รูปแบบของ Fugue มีหลากหลายและยืดหยุ่นได้ ทำนองที่ตายตัวจะปรากฎอยู่เฉพาะตอนต้นๆเท่านั้น การสังเกตบทเพลงแบบ Fugue ก็คือพิจารณาดูว่า ทำนองตอนต้นของทำนองหลักนี้จะเริ่มต้นและทยอยกันปรากฎออกมาเป็นระยะๆ เสมือนคนหลายคนเล่าเรื่องราวสั้นๆที่ขึ้นต้นการเล่าด้วยข้อความเดียวกัน เช่นคนที่ 1 เล่าว่า กาลครั้งหนึ่งยังมีสิงโตตัวหนึ่ง นอนหลับอยู่ใต้ต้นไม้... ต่อมาคนที่ 2 ก็เล่าเรื่องเดียวกันว่า กาลครั้งหนึ่งยังมีสิงโตตัวหนึ่ง.......คนที่ 3 คนที่ 4 เรื่อยๆไป เป็นต้น (ดังแผนภูมิข้างล่างนี้)

Soprano ………subject …………… counter subject__________________

                Tenor ……….subject ………… counter subject ________________

                            Alto ………subject …………counter subject _____________

                                           Bass ……subject ………counter subject ________

หลังจากที่แต่ละแนวทำนองได้บรรเลงทำนองหลัก (subject) จบแล้วจึงจะสามารถจะเล่นทำนองอื่นๆได้ต่อไป ด้วยเหตุนี้เอง Fugue จึงมีความยืดหยุ่นและหลากหลายมาก
นอกจากจะมีทำนองหลักหรือ subject แล้ว ยังมีทำนองรอง (Counter subject) ด้วย ทำนองรองก็คือทำนองเพลงอื่นๆ ที่เล่นควบคู่ไปกับทำนองหลักจะมีเสียงสูงกว่าหรือต่ำกว่าทำนองหลักก็ได้ คีตกวีจะพิจารณาว่าทำนองหลักนั้นๆจะนำมาใช้บ่อยแค่ไหน และเมื่อไร หลังจากจบทำนองหลักก็จะเป็นทำนองอมตะ ที่จะเชื่อมต่อกับการบรรเลงทำนองหลักครั้งต่อไป ทำนองนี้คณะนี้เรียกว่า episodes นอกจากนั้นบางครั้งการประสานเสียงยังใช้วิธีเล่นเครื่องเสียงต่ำด้วยเสียงยาวๆครั้งละนานๆ คล้ายการเหยียบขณะเดี่ยวเสียงต่ำของออร์แกนเรียกเทคนิคนี้ว่า Pedal point
วิธีการแต่งทำนองสำคัญ (Subject) ให้มีความหลากหลายทำได้ 4 วิธีด้วยกันคือ
1.             การบรรเลงกลับหัว (Inversion) ได้แก่ การแต่งทำนองเพลงในทิศทางตรงข้ามกับทำนองหลัก เช่น ถ้าทำนองหลักบรรเลงเสียงสูงขึ้น 1 ขั้น ทำนองใหม่ก็จะต่ำลง 1 ขั้น ตัวอย่างทำนองหลักว่า ด-ร-ม-ซ-ล-ด ทำนองใหม่จะเป็น ดลชมด เป็นต้น
2.             การบรรเลงถอยหลัง (Restoration) คือบรรเลงทำนองหลักจากโน้ตตัวท้ายกลับมาตัวต้น เช่น ทำนองหลักว่า ซมลซ ดลรด ทำนองใหม่จะเป็น ดรลด ซลมซ
3.             การยืดจังหวะ (Augmentation) คือการบรรเลงทำนองหลักให้ช้าลงกว่าเดิม
4.             การย่นจังหวะ (Diminution) คือการบรรเลงทำนองหลักอัตราจังหวะที่เร็วขี้น
ด้วยวิธีการทั้ง 4 และเทคนิคดังกล่าวข้างต้น ทำนองหลักใน Fugue  จะหลากหลายและยืดหยุ่นมาก จนไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว Fugue เป็นบทเพลงที่มีสาระสำคัญไม่มากเท่าใดเลย

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

KANON เพลงฮิตตลอดกาล

บทเพลง  KANON  ของ Johann Pachelble เพลงฮิตตลอดกาล  แต่พอถามนักเรียนว่าเป็นเพลงยุคใด ก็จะมีแต่คนตอบว่าเป็นเพลงยุคคลาสสิก  บทเพลงKanon  เป็นดนตรียุคบาโร้คBaroqueซึ่งเป็นยุคที่เก่าแก่กว่ายุคคลาสิก  ซึ่งอยู่ในราว ค.ศ. 1600-1750  เราลองมารู้จักดนตรีในยุคนี้กันดีกว่า  ยุคที่มีบทเพลงยอดนิยม  หรือ ฮิตตลอดกาลตกค้างอยู่บนโลกผืนนี้นานกว่า 400 ปี
สภาพทางสังคมยุคบาโร้ค
ศิลปะแบบบาโร้คเกิดในระยะเวลาแห่งความรุ่งเรือง การประดับตกแต่ง ความหรูหรา และความสมบูรณ์แบบของศิลปะต่างๆ ระยะเวลาของดนตรียุคบาโร้คตกอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1600-1750 พิเศษระหว่างดนตรีใช้คำว่า บาโร้คเพื่อกำหนดยุคของศิลปะในช่วงเวลานี้ ลักษณะของศิลปะช่วงนี้จะใช้การประดับตกแต่งให้เต็มพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียนสีน้ำมัน การแกะสลักหิน และแม้แต่เสียงดนตรี ทั้งนักดนตรี จิตรกร ช่างปั้นและสถาปนิก ต่างก็ให้ความสนใจในการสร้างงาน ที่ประดิษฐ์ประดอยโดยสมบูรณ์ทั้งชิ้นงานของตน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ ก็คือ การจัดฉากในการแสดงต่างๆ และงานศิลปกรรมอื่นๆ ศิลปินคนสำคัญๆ เช่น Bernini, Rubens และ Rembrandt ต่างก็ใช้วัสดุในการประดับตกแต่งส่วนละเอียดและขยายเนื้อหาของงานศิลปะของเขาโดยการใช้สีสันต่างๆกันบ้าง การประดับประดาให้เป็นส่วนลึกแบบสามชั้นบ้าง เพื่อให้ได้โครงสร้างที่สมบูรณ์แบบในผลงาน
สไตล์หรือรูปแบบงานในลักษณะนี้สร้างความพึงพอใจให้แก่บุคคลชั้นสูงเป็นอย่างมาก เพราะเป็นประสงค์ของประชาชนคนที่สร้างในช่วงเวลานั้นก็คือ การประสมประสานของศิลปะโดยรวม (Total Integrates) ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือ พระราชวังแวร์ซายส์ในราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งเป็นที่รวมของศิลปะทุกสาขาเอาไว้ด้วยกัน ทั้งภาพเขียน ภาพปั้น แกะสลัก สถาปัตยกรรม และเสียงเพลง ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ความฟุ่มเฟือย และอำนาจราชศักดิ์
บทเพลงแบบของบาโร้ค เกิดจากการสร้างงานของโบสถ์ในอันที่จะใช้เรื่องราวของอารมณ์ ความรู้สึก ที่แสดงออกแบบการละครมาใช้ในเพลงสวดเพื่อสร้างศรัทธา ความเชื่อ ความขลังของศาสนายิ่งขึ้นไปอีก ในยุคบาโร้คนี้แม้ว่าศิลปกรรมจะหรูหราฟู่ฟ่ามากก็ตาม แต่ในทางวิทยาการแล้วเป็นจุดแห่งการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยเลย เช่น งานของกาลิเลโอ (ดนตรี) Newton (แรงโน้มถ่วง) ฟรานซิส เบคอน ด้านปรัชญาก็มี ปรัชญาเมธี ที่ให้ความคิดความเห็นกว้างขวางเช่น จอห์น ลอค/เรอเน เดการ์ท/จิตรกรคนสำคัญ ได้แก่ แรมแบรนท์ รูเบน โฮการ์ช นักเขียนคนสำคัญ ได้แก่ จอห์น มิลตัน แดเนียล แดโฟ Gulliver Travel  ฯลฯ วรรณกรรมในยุคนี้จะเป็นเรื่อง Satiro (ล้อเลียน) สังคมอันหรูหราฟู่ฟ่าของคนชั้นสูง ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปยังจมอยู่ในกอบทุกข์และการเอารัดเอาเปรียบ ในจุดต้นๆ ของสมัยบาโร้คนี้ คีตกวีได้เลิกใช้ Texture แบบ Polyphony ไปแล้วเป็นส่วนมาก แต่หันมาใช้บทเพลงที่มี Texture แบบ Monody/Molophony คือมีทำนองสำคัญเพียงทำนองเดียว แล้วมีแนวขับร้องเสียงต่ำเป็นตัวประกอบที่เรียกว่า Basso continuo ลักษณะของ polyphony ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในดนตรีแบบ Fugue ที่บรรเลงด้วยคลาวิคอร์ท ฮาร์พซิคอร์ดและออร์แกน รวมทั้งประเภท Chrale และ Toccata ที่ประพันธ์ขึ้นโดยใช้การประสานทำนอง (Counterpoint)
บทเพลงที่ใช้ในศาสนาในลักษณะต่างๆกันได้แก่ บทเพลงแบบ Oratorio, Mass, Passion, Cantata ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปภายหลัง ลักษณะสำคัญที่ทำให้ดนตรีบาโร้คมีลักษณะเด่นก็คือ ความตรงข้ามหรือการตัดกัน” (Contrasting) เช่น ด้านความเร็ว-ช้า ดัง-ค่อย การบรรเลงเดี่ยว-และทั้งวง ซึ่งจะพบได้ในบทเพลงประเภท Trio-Sonata, Concerto Grosso, Sinfonia และ Cantata ซึ่งจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไปเช่นเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมแบบนี้อย่าให้หาย...2

                ใช้ ส.ค.ส. ที่ฝรั่งพิมพ์ขายอย่างสวยงาม บางแผ่นก็มีหลายชั้น สามารถยืดได้และพับได้   ใช้กระดาษเปล่าเขียนคำอวยพร และเซ็นชื่อข้างท้ายคล้ายกับการเขียนจดหมาย เท่าที่พบจะเป็นคำถวายพระพรรัชกาลที่ ๕ จากขุนนาง หรือจากเจ้านายชั้นสูง  ใช้วิธีการอัดรูป หรือข้อความลงในกระดาษอัดรูป การอัดรูปทำ ส.ค.ส. นี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีการทำกันในราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ ๙ ก็เคยนิยมทำกัน   สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นสมัยที่เกิดคำว่า ส.ค.ศ. หรือ ส่งความศุข ขึ้น การส่ง ส.ค.ส. ในรัชสมัยนี้ นิยมส่งกันตั้งแต่ต้นๆ รัชกาล ช่วงเวลาที่ส่งก็คือช่วงเดือนเมษายน เพราะเราเคย ขึ้นปีใหม่ในเดือนนั้น ซึ่งแตกต่างจากของฝรั่ง ไทยเริ่มมาขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ มกราคม ตามอย่างฝรั่ง เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓
             การส่งบัตร ส.ค.ส. หรือบัตรอวยพรของคนไทยได้รับความนิยมเรื่อยๆมา . . . จนถึงปัจจุบัน ในยุคปัจจุบันนี้ ส.ค.ส.ได้เปลี่ยนจากรูปแบบและลักษณะจากสมัยอดีต มาเป็น รูปวาด รูปถ่าย และรูปจากวัสดุสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ซึ่งจะมีสีสันสวยสด และมีรูปแบบหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ส.ค.ส.  วาดด้วยมือ
              โบราณที่สุดไทยยึดถือเอา วันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย (ระยะเดือนธันวาคม ) เป็นวันขึ้นปีใหม่ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อ ๓๐๐ ปีก่อน ก็ยังถือแบบนี้   ต่อมาจะเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ไทยได้รับอิทธิพลของพราหมณ์ โดยยึดถือเอา วันขึ้น๑ ค่ำ เดือน ๕ ( ระยะเดือนเมษายน ) มาเป็นวันขึ้นปีใหม่แทน    เดิมเรายึดวันทางจันทรคติเป็นหลัก ซึ่งระบบแบบจันทรคติออกจะยุ่งยากในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯให้ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดให้ใช้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ไปเสียเลย โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นต้นมา 
              ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๘ ทางราชการได้ประกาศให้ใช้ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ( แทนที่จะรอจนถึงวันที่ ๑ เมษายน ซึ่งเป็นแบบเก่า ) ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่า จะได้ยกเลิกอิทธิพลพราหมณ์ และให้สอดคล้องกับประเพณีไทยโบราณ ที่มีการยึดถือช่วง เดือนอ้าย ( ใกล้ถึงเดือนมกราคม ) เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเราก็ได้ยึดหลักเกณฑ์นี้จนถึงปัจจุบัน และเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสากลอีกด้วย .
               ในวันขึ้นปีใหม่ของทุกๆปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพรปีใหม่ ๒๕๕๒ แด่พสกนิกรชาวไทย   ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สากลสีน้ำตาลอ่อน ผ้าปักพระกระเป๋าสีฟ้าสดใส ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว ทรงผูกเนคไทสี
                  ฟ้าอ่อน ประทับบนพระเก้าอี้ ทรงฉายกับคุณทองแดง สุวรรณชาด ที่นั่งอยู่ข้างพระเก้าอี้ และคุณนายแดง แม่ของคุณทองแดง ที่หมอบเฝ้าอยู่อีกข้างหนึ่ง ฉากหลังของ ส.ค.ส. เป็นสนามหญ้าในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มีต้นไม้ใหญ่ และต้นชวนชมดอกสีชมพู  มุมบนด้านซ้าย มีตราสัญลักษณ์ 2 ตรา คือ ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และผอบทอง ระหว่างตราสัญญลักษณ์ทั้งสอง มีตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า ส.ค.ส. ๒๕๕๒ ใต้ลงมามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2009 มุมบนด้านขวา มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมี...ความสุข...ความเจริญ ด้านล่างขวา มีตัวเลขสีแดง ระบุวันเดือนปีที่ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ว่า 2008 12 17 / 17 : 11  กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพหน้าคนเล็กๆ เรียงกันด้านละ ๓ แถว ทุกหน้า มีแต่รอยยิ้ม  ในกรอบด้านล่าง มีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 192231 ธค. 51 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing , D Bramaputra, Publisher  ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรปีใหม่และ ส.ค.ส.พระราชทาน ปี ๒๕๕๒ แก่ปวงชนชาวไทยนั้น คุณทองแดง สุวรรณชาด ได้หมอบเฝ้าอยู่แทบพระบาทหลังพระเก้าอี้ตลอดเวลา

วัฒนธรรมส่งความสุขแบบนี้ อย่าให้หาย

                                   วัฒนธรรมส่งความสุขนี้แบบนี้...  อย่าให้หาย
                                                                                         นายยงยุทธ  เอี่ยมสอาด
                 สวัสดีปีใหม่ครับ  เดือนมกราคมนี้ยังเป็นเดือนที่สามารถสวัสดีปีใหม่  ส่งความสุขให้กันและกันได้อยู่นะครับ  ในค่ำคืนวันส่งท้ายปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่  ได้มีการบันทึกสถิติการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือที่มีข้อความวิ่งผ่านเครือข่าย ๑๖๖ ล้านข้อความในเวลา ๒๔ ชั่วโมง  เฉลี่ยตกวินาทีละ ๑,๙๐๐ ข้อความ  แน่นอนครับในโลกไร้พรมแดน  โลกที่ต้องการความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร  โลกาภิวัฒน์  วิวัฒนาการใหม่ๆเกิดขึ้นย่อมมีผลหรือเป็นผลต่อวัฒนธรรมเก่าๆที่เคยเป็นธรรมเนียมปฎิบัติกันมา 
               การส่งบัตรอวยพร...  วัฒนธรรมส่งความสุขโดยบัตรอวยพรต้องช่วยกันรักษาหน่อยนะครับ...อย่าให้หาย   ผมยังรู้สึกทราบซึ้งหรือยังคงเต็มอิ่มเอิบกับการที่จะได้รับบัตรอวยพรในเทศกาลปีใหม่มากกว่าวิธีอื่นๆ  การส่งบัตรอวยพรจริงๆมีรายละเอียดที่ในแต่ละขั้นตอนในการเตรียมที่จะส่ง  ต้องมีการเลือกบัตรที่ต้องใช้วิจารณญาณ  รสนิยมทางศิลปะ ต้องเลือกสรรข้อความที่บ่งบอกความปราถนาดีต่างๆ ถือได้ว่าต้องมีการเตรียมทั้งกาย  ทั้งใจต่อการส่งความสุขความปราถนาดี  ซึ่งผมคิดว่าน่าเป็นวัฒนธรรมที่ควรรณรงค์ให้ดำรงค์อยู่ไว้..  อย่าให้หายไปนะครับ         
บัตรอวยพรมีมาแต่โบราณ
                การส่งบัตรอวยพรของต่างประเทศ เริ่มมีมามากกว่า ๒๐๐ ปี แล้ว ในหนังสือ The Oxford Companion to the Decorative Arts หน้า ๖๓๓ ๖๔๔ ) ได้อธิบายถึงเรื่องรูปการ์ดต่างๆไว้ว่า รูปแบบของบัตรอวยพรที่นิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ แบบแรกที่สุดจะเป็นบัตรเยี่ยม ( Visiting Card ) ซึ่งเริ่มมีใช้กันเมื่อ ราวกลางศตวรรษที่ ๑๘ หรือประมาณปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตอบเรื่องวัฒนธรรม
                บัตรเยี่ยมนี้จะใช้เขียนข้อความเพื่อเยี่ยมเยียนกัน มีขนาดเท่าไพ มีลวดลายประดับแบบคลาสสิกพิมพ์ลงไปให้ดูสวยงาม บางทีก็พิมพ์รูปอาคารโบราณต่างๆ ต่อมาก็มีการทิ้งบัตรเขียนแสดงความชื่นชมในเทศกาลปีใหม่ไว้ที่บ้านของผู้ที่ตนไปเยี่ยมเยียน ( ในวันขึ้นปีใหม่ ) ซึ่งแสดงได้ว่าเริ่มมี ส.ค.ส.เกิดขึ้นแล้ว
                 หนังสือเล่มเดิมได้อธิบายต่อไปอีกว่า ในราวช่วง๑๐ ปีหลังของ พ.ศ. ๒๓๐๓ หรือ ก่อนที่ไทยจะเสียกรุงครั้งที่ ๒ ไม่นาน มีการพิมพ์บัตรอวยพรปีใหม่ที่มีการเขียน โคลง กลอน โรแมนติก หรือข้อความสำเร็จรูปออกจำหน่าย จากบัตร ส.ค.ส. ต่อมาก็มีบัตรวาเลนไทน์ และมีการทำซองจดหมายสวยๆ ไว้ สำหรับส่งในวันคริสต์มาส ฯ ล ฯ จนกระทั่งมีบัตรอวยพรมากมาย หลากหลายรูปแบบเกิดขึ้นในปัจจุบัน สำหรับบัตร ส.ค.ส. และบัตรคริสต์มาสนั้น หลังจากปี พ.ศ. ๒๔๐๓ มีการพิมพ์จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย เพราะในช่วงนี้มีความนิยม และความต้องการกันอย่างสูง 
             บัตรอวยพรแบบไทย สำหรับบัตรอวยพรของไทยนั้น เราได้รับธรรมเนียมมาจากฝรั่ง เช่นเดียวกับการพิมพ์นามบัตร หรือพิมพ์การ์ดเชิญต่างๆ บัตรอวยพรที่เก่าแก่ที่สุด หรือแบบแรกที่สุด คือ บัตรอวยพรปีใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงทำขึ้นเป็นพระองค์แรกเมื่อ๑๒๐กว่าปีก่อน บัตรอวยพรนอกจากนี้ได้แก่ บัตรอวยพรวันคริสต์มาส วันเกิด และ วันมงคลต่างๆ รัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ติดต่อกับประเทศตะวันตก และเรียนรู้ขนบธรรมเนียมตลอดจนวิทยาการของชาวตะวันตกหลายๆอย่าง การส่งบัตรอวยพรของพระองค์นั้นเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอนชัดเจนแต่ได้มีสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ ( พ.ศ. ๒๔๐๙ ) ของพระองค์ ซึ่งพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษปรากฏอยู่ใน น.ส.พ. THE BANGKOK RECORDER ( ฉบับภาษาอังกฤษ ) ของหมอบรัดเลย์ แปลความได้ว่า ทรงขอส่งบัตรตีพิมพ์คำอวยพรนี้ถึงบรรดากงสุลเจ้าหน้าที่กงสุลชาติต่างๆ และชาวต่างประเทศที่ทรงคุ้นเคยโดยทั่วถึงกัน
                บัตรอวยพรในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีตัวอย่างในหอจดหมายเหตุแห่งชาตินับร้อยๆแผ่น เรียกว่ามากพอสมควร  ซึ่งสามารถแยกออกเป็นประเภทต่างๆ คือ   ใช้นามบัตรแผ่นเล็กๆ เป็น ส.ค.ส. นามบัตรที่ว่านี้จะเล็กกว่าปัจจุบันนี้เล็กน้อย ส่วนใหญ่จะมีแต่ชื่อไม่มีสถานที่ บางบัตรก็เป็นบัตรที่ใช้พิมพ์ บางบัตรก็ใช้ปากกาเขียนคำว่า ส.ค.ส ปีนั้น ปีนี้ลงไป   

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บราห์เชลโล่โซนาต้า (Op 38 )

บราห์มส์กับเชลโล่โซนาต้า (Op 38) เหมือนกับการพูดคุยกับระหว่างเพื่อนสองคน โดยบรรยายผ่านเชลโล่-เปียโน เชลโล่บรรเลงโดย Jacqueline du Pre เปียโนโดย Daniel Barenboim นั้นเป็นสามีภรรยาที่กำลังคุยกัน หรือเป็นการเจรจาของคู่รักเมื่อยามแรกพบ สัมพันธภาพนั้นยาวนาน  ความอ่อนหวานนั้นระบายบนสีสันของชีวิตคู่ตั้งแต่แรกพบจนแต่งงาน (ตามประวัติ CD แผ่นนั้นบันทึกเสียงปี 1968 หลังจากทั้งสองแต่งงานกัน 1 ปี หลังจากนั้น 3 ปี ความป่วยไข้ของ Jacqueline du Pre พาเธอหลุดพ้นจากความมีสติ แผ่นนี้ถือว่าเป็นเพชรน้ำเอกในบรรดาผลงานลำดับที่ 38 ของบราฮ์มส์)  อาจจะมีบางเวลาที่ผมคิดว่า เชลโล่นั้นเป็นสรรพเสียงที่บ่งถึงความเศร้า และความเดียวดาย แต่ก็ต้องหนักแน่นและเผชิญบนเส้นทาง ในความหมายของความสุขอาจจะบางที ..ผ่านเรื่องราวในชีวิตมากขึ้น.. บางเวลาที่อยู่คนเดียว ผมฟังงานดนตรีคลาสสิกที่มีชลโล่เป็นพระเอกมากขึ้นทุกที.

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปีใหม่นี้น้องน้ำมาเดี๋ยวน้องน้ำก็ไปเอง พาเรียนรู้ประวัติเพลงปีใหม่

ปีใหม่นี้น้องน้ำมาเดี๋ยวน้องน้ำก็ไปเอง   พาเรียนรู้ประวัติเพลงปีใหม่

 
                 น้องน้ำมาเดี๋ยวน้องน้ำก็ไป  มักเป็นคำปลอบโยนที่ได้ยิน 
แต่มันป็นคำที่น่ารำคาญใจมากสำหรับประชาชน ชุมชนชาวพุทธมนฑลสาย 4  สาย 5 ชาวบางบัวทอง ที่น้ำยังท่วมอยู่อย่างไม่รู้ชะตากรรมว่าจะลดเมื่อไหร่  เมื่อไหร่น้ำจะลดแน่ๆ  ในยุคสมัยพ.ศ.2485 เป็นยุคที่รัฐบาลเข็มแข้ง ยุคที่รัฐบาลเปลี่ยนผ่านปรับปรุงวัฒนธรรมให้เทียบเท่านานาอารยะประเทศ  จนมีคำกล่าวที่ว่าเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย  ในสมัยปัจจุบันถ้านับคะแนนเสียงในสภา ความเข็มแข็งไม่น่าแพ้ในยุคก่อน  แต่คงไม่อาจใช้คำว่าเชื่อผู้นำชาติพ้นภัยได้แน่นอน..
สวัสดี ปีใหม่แล้ว ผองไทยจงแคล้วปวงภัย ช่วยกันรับขวัญปีใหม่ เถลิงฤทัยไว้มั่น
สุขศรีปีใหม่หมาย สุขใจและกาย รวมกัน สำราญ สำเริง บันเทิงมั่น สุขสันต์ ยิ้มกันไว้ก่อน..."
จะว่าไปแล้ว เพลงปีใหม่เพลงแรกที่มีเนื้อร้อง ทำนอง รวมทั้งขับร้องและบรรเลงตามอย่างสากล นั่นก็คือ เพลงเถลิงศก ของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ซึ่งแต่งขึ้นในระยะที่รัฐบาลส่งเสริมให้มีการจัดงานรื่นเริงปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายนทั่วทั้งประเทศในราวปี 2477-2479 เพลงนี้มีสร้อยเพลงที่ติดหูคนฟังว่า
"...ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสราญบานใจ ขอให้สวัสดี.."
ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ไปเป็นวันที่ 1 มกราคมเพลง ๆ นี้ก็คงเสื่อมความนิยมไปด้วยเหตุที่เนื้อร้องในช่วงต้นที่ว่า "..วันที่หนึ่งเมษายน ตั้งต้นปีใหม่ แสงตะวันพร่างพรายใสสว่างแจ่มจ้า..." นั้นไม่เข้ากับเหตุการณ์อีกต่อไป
พอมาถึงในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีการประกาศพระบรมราชโองการให้ถือวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ ในสมัยนั้นจอมพล ป. ได้ดำเนินการหลายอย่างเพื่อสร้างชาติ และสร้างวัฒนธรรมเมืองแบบใหม่ มีการออกประกาศรัฐนิยม 12 ฉบับในระหว่าง พ.ศ. 2482-2485 ที่สำคัญก็เช่น เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นประเทศไทย การเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อสร้างวัฒนธรรมอันดีและวางแนวทางประพฤติปฏิบัติแก่ประชาชนให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวทั้งประเทศ  รัฐบาลขณะนั้นก็ประสงค์จะให้คนไทยทั้งชาติมีวันขึ้นปีใหม่ในวันเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่นิยมยึดถือกันในนานาอารยประเทศ และ จอมพล ป. นั้นมีสื่อสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ใช้ในการสนับสนุนเผยแพร่นโยบายของท่านอย่างเป็นผล นั่นก็คือ เสียงเพลง และในขณะนั้นค่ายเพลงของรัฐมีอยู่สองหน่วยงาน คือกรมศิลปากร และกรมโฆษณาการเป็นกำลังสำคัญร่วมกันในการผลิตเพลงสนับสนุนนโยบายรัฐบาลอย่างแข็งขัน
...กรมศิลปากรมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นมันสมอง โดยมีวงดนตรีสากลของกรมศิลปากรที่โอนมาจากวงเครื่องสายฝรั่งหลวง กรมมหรสพ ซึ่งพระเจนดุริยางค์ฝึกฝนไว้เป็นกำลังสำคัญ   ส่วนกรมโฆษณาการนั้นมีขุนศึกทางเพลง อย่างพระราชธรรมนิเทศ จมื่นมานิตนเรศน์ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ครูเวส สุนทรจามร ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และมีวงดนตรีของกรมที่ประกอบด้วยนักดนตรีเอกภายใต้การควบคุมวงของครูเอื้อ สุนทรสนาน
             เมื่อรัฐบาลประกาศเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่เป็น 1 มกราคม กรมศิลปากร และกรมโฆษณาการก็น่าจะมีส่วนช่วยประชาสัมพันธ์ด้วยเสียงเพลงอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะกรมโฆษณาการ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์นั้น กำลังเริ่มโด่งดังอย่างยิ่งควบคู่กันกับชื่อวงสุนทราภรณ์ ด้วยเหตุที่ทั้งหัวหน้าวง นักร้อง นักดนตรี และผู้แต่งเพลงของทั้งสองวงนี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นวง ๆ เดียว กันนั่นเอง
             เพลงปีใหม่ของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ หรือวงสุนทราภรณ์นั้น แม้จะยังไม่พบหลักฐานชัดเจนว่าแต่งขึ้นในปีใด แต่เมื่อพิจารณาเนื้อเพลงแล้ว ก็น่าจะแต่งขึ้นในยุคของการประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ 2484 ซึ่งอยู่ในยุคของการปลุกใจด้วย เช่น ชโยปีใหม่ ซึ่งมีเนื้อเพลงดังนี้
          ไชโยปีใหม่ ร้องอวยชัยชาติไทยไชโย (ไชโย) ไชโยขานโห่ ร้องไชโยให้ไทยรุ่งเรือง (ไชโย)
          ศุภฤกษ์ดิถี ศุภศรีมงคล เฉลิมปวงชน ร่าเริง เถลิงปีใหม่ ชาติไทย
         ขอให้ชาติรุ่งเรือง ให้กระเดื่องแดนไกล ให้อำนาจเกริกไกร ให้เป็นใหญ่ไพบูลย์ ให้ไทยวัฒนา       ให้ประชาสมบูรณ์ ให้สุขเสริมเพิ่มพูน ให้จำรูญจำเริญไกล
         ไชโยขานโห่ ร้องไชโยให้พร้อมเพรียงกัน (ไชโย) อวยชัยเสียงสนั่น พร้อมเพรียงกันให้ไทยเจริญ (ไชโย)
วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์หรืออีกนัยหนึ่งวงสุนทราภรณ์นั้นนับเป็นเจ้าตำรับเพลงปีใหม่ของไทยเลยทีเดียว ทั้งโดยจำนวนเพลงซึ่งทยอยแต่งขึ้นในปีต่าง ๆ จนนำมารวมเป็นแผ่นเสียงลองเพลย์ได้ครบหนึ่งแผ่น (ประมาณ 12 เพลง) และทั้งโดยความนิยมจากประชาชนซึ่งนำเพลงเหล่านี้มาใช้ขับร้องบรรเลงในเทศกาลปีใหม่ โดยเฉพาะเพลงสวัสดีปีใหม่ จนกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยไปแล้ว
           อย่างไรก็ตามเพลงปีใหม่ที่สำคัญที่สุดของประชาชนชาวไทย ได้แก่ เพลง "พรปีใหม่" เพลงนี้มีความเป็นมาเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะพระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรเป็นบทเพลงในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่พุทธศักราช 2494 ต่อ 2495 จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" ขึ้น เมื่อพระราชนิพนธ์เสร็จแล้วได้พระราชทานให้วงดนตรีนำออกบรรเลงทางสถานีวิทยุ อ.ส. ทรงพระกรุณาให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ทรงเป่าแซกโซโฟนช่วงแรก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป่าช่วงที่สองสลับกันไป ในคืนวันที่ทรงพระราชนิพนธ์เพลงพรปีใหม่นั้นมีเวลาจำกัด จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่วงดนตรีได้เพียงสองวง คือ วงของนิสิตจุฬาลงกรณ์ฯ และวงดนตรีสุนทราภรณ์

            ก็ได้แต่หวังว่าจะไม่แก้ปัญหาน้องน้ำ ด้วยแต่เพียง MV เพลงปลอบใจกันไปวัน วัน....นะครับ

เชลโล่

เชลโล 
 
 เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง เครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน ไวโอลิน วิโอลา เชลโล่ ดับเบิลเบส
เชลโล เป็นเครื่องดนตรีที่มีรูปร่างที่นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส เชลโลเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกับไวโอลิน มีโน้ตเพลงที่เขียนไว้สำหรับเชลโลโดยเฉพาะอยู่หลายบทเพลง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม ถึงอย่างไรก็ตามยังมีการเล่นเชลโลกับดนตรีประเภทแจ๊ส บลูส์ ป๊อป ร็อก ฯลฯประวัติ
Cello คือชื่อย่อของ Violoncello ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายที่มีความโค้งมนเช่นเดียวกับไวโอลินและวิโอล่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เชลโลมีพัฒนาการของรูปทรงที่หลากหลายกว่าจะเป็นดังเช่นที่เห็นในปัจจุบัน และต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็นที่ยอมรับในฐานะเครื่องดนตรีสำหรับการแสดงเดี่ยวหลายคนเชื่อว่า เชลโล มีที่มาจากคำว่า Viol ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เชลโลเริ่มปรากฏขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุคบารอค จากเครื่องสายในตระกูลไวโอลิน ในขณะที่เครื่องดนตรีต่างๆ ที่มีรูปทรงคล้ายไวโอลินในสมัยนั้นมีแพร่หลายอยู่แล้ว เช่น ซอ Viol และ Rebec แต่ไวโอลินเป็นตระกูลเครื่องสายที่แยกออกมาจากเครื่องดนตรีเหล่านั้น
ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาเชลโลมีการเปลี่ยนแปลงขนาดมาโดยตลอด แต่องค์ประกอบโดยทั่วไปแล้วแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย Antonio Stradivari เป็นช่างทำไวโอลินคนแรกที่กำหนดขนาดมาตรฐานของเชลโลสมัยใหม่ขึ้น เชลโลในยุคก่อนๆ นั้นมีขนาดความยาวประมาณ 80 ซม. ซึ่งไม่สะดวกต่อการเล่นเท่าใดนัก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1707 เขาใด้ปรับขนาดเชลโลให้สั้นลงเหลือเพียง 75 ซม. ซึ่งทำให้เล่นได้สะดวกขึ้น
โครงสร้างเชลโล  หัวเชลโล (Scroll)  ลูกบิด (Pegbox)  คอ (Neck)  หย่อง (Bridge)  ช่องเสียง (f-holes)
หางปลา (Tailpiece)  ตัวเชลโล (Body)  เหล็กขาตั้ง (Spike)

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระบรมราโชวาททางดนตรี

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า  จะเป็นแจ๊สหรือไม่แจ๊สก็ตาม  ดนตรีล้วนอยู่ในตัวคนทุกคน  เป็นส่วนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตคนเรา  สำหรับข้าพเจ้า  ดนตรีคือสิ่งประณีต
งดงาม  และทุกคนควรนิยมในคุณค่าของดนตรีทุกประเภท  เพราะว่า
ดนตรีแต่ละประเภทต่างก็มีความเหมาะสม  ตามแต่โอกาส 
และอารมณ์ที่แตกต่างกันไป

การฝึกซ้อมวงดนตรีเพื่อสร้างแรงจูงใจ

เด็กเก่งดนตรีสร้างได้  การฝึกซ้อมรวมวงดนตรีเพื่อช่วยสร้างแรงจูงใจ.....

          ในการที่ต้องตอบคำถามว่าเรียนดนตรีอย่างไรให้ลูกเก่ง  ให้ประสบความสำเร็จ  ถึงจะเป็นคำตอบที่ตอบได้ยาก  และมีหลายมิติ  หลากหลายประเด็นที่จะต้องวิเคราะห์แจกแจง  มีประเด็นทางสังคม  สภาพแวดล้อมที่โรงเรียน  สภาพแวดล้อมครอบคัว  พรสวรรศ์พรแสวงแต่ละบุคคล  แต่อย่างไรก็ต้องตอบกันไปเรื่อยๆ  บ่อยๆ เพราะว่ามีคนถามว่าเรียนยังไงถึงเก่งย่อมดีกว่าไม่มีใครถามเลย
การฝึกซ้อมรวมวงดนตรีเพื่อสร้างแรงจูงใจ   
ในขณะที่วงดนตรีไวโอลินบางครั้งอาจจะเป็นงานที่น่ากลัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เริ่มต้นที่กำลังมองหาเพื่อพัฒนาทักษะของพวกเขามีจำนวนของง่ายเคล็ดลับอย่างรวดเร็วและกลยุทธ์ที่สามารถทำให้ชีวิตของคุณมากขึ้นเมื่อมันมาถึงการปรับปรุงความสามารถของคุณ Quartet   ไวโอลิน . กุญแจสำคัญคือการมีความเข้าใจบทบาทของไวโอลินในวงซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังเล่นไวโอลินสามารถแตกต่างกันไป บางครั้งไวโอลินจะใช้สำหรับเวลาอื่น ๆ ทํานองในขณะที่คุณเล่นของบทบาทความสามัคคีหรือจังหวะ ที่นี่สนุกจะง่ายสามเคล็ดลับคุณสามารถใช้เพื่อให้ figuring ของคุณออกบทบาท Quartet ไวโอลินในเพลงมากขึ้นและง่ายขึ้น
ก่อนปิดการรักษาเสียงของแต่ละคนในวงเหมือนเป็นการแสดงผลวงดนตรี Quartet โครงสร้างของเลียนแบบที่วงดนตรีสตริงของห้องที่มีสองไวโอลิน, ไวโอล่าและเชลโลดังนั้นคุณจึงควรวิธีอะไรที่คุณเล่นกับความคิดเดียวกับวงดนตรีสตริงในห้อง เพลง Violin Quartet มักจะเกี่ยวข้องกับการแสดงในเพลงระหว่างสองไวโอลินสลับทำนองต่อกันในขณะที่ไวโอล่าและเชลโล่จะถูกใช้เป็นจังหวะและความสามัคคี แต่รู้ว่าบทบาทของคุณให้เหมาะสมได้เช่นเดียวกับในวงดนตรีห้อง Play Musicถัดไป, เข้าใจว่าคุณกำลังเล่นหรือมีทำนองความสามัคคี สายไพเราะมีความชัดเจนและเปิดและควรจะเล่นกับความเข้มในขณะที่ความสามัคคีควรจะเห็นตัวเองเป็นสนับสนุนโครงสร้างของทำนอง หากคุณเป็นไวโอลินครั้งแรกคุณเป็นหลักจะต้องมุ่งเน้นการเป็นนักร้องของกลุ่มที่ในขณะที่ไวโอลินที่สองเพลงฟังก์ชั่นการเล่นไวโอลินมากขึ้นเป็นนักร้องวงสำรองมากที่สุดของเวลา ทราบว่าบทบาทที่คุณมีการเปลี่ยนแปลงและวิธีการทำงานของคุณในวงดนตรีไวโอลิน สุดท้ายปรับแต่งมันขึ้นและให้จังหวะคับเมื่อเล่นดนตรี Quartet ไวโอลิน เมื่อปฏิบัติคุณด้วยตัวคุณเองคุณจะทำงานกับเทคนิคการ fingering และตำแหน่งมือเพื่อปรับแต่งเสียงของคุณเอง แต่ในการฝึกซ้อมหรือการปฏิบัติคุณจะต้องฟังการออกเสียงสูงต่ำและจังหวะของคุณกับความสัมพันธ์กับผู้เล่นอื่น ๆ นี่คือความแตกต่างที่สำคัญและไม่สามารถมองข้าม คุณไม่สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องฟังเสียงรอบตัวคุณและถ้าคุณเล่นดนตรี Quartet ไวโอลินโดยไม่ต้องฟังจังหวะของคุณจังหวะสัมพันธ์และการออกเสียงสูงต่ำกับผู้เล่นอื่นคุณจะสามารถมองเห็นการซ้อมจุดประสงค์ของการรักษามันเหมือนของคุณเอง ห้องซ้อม ให้การฝึกซ้อมการผลิตโดยเน้นการออกเสียงสูงต่ำและจังหวะการเต้นของกลุ่มเมื่อเล่นในกลุ่ม