ประมวลรายวิชา
๑. รหัสวิชา ศ๓๒๑๐๑
๒. รายวิชา ศิลปะพื้นฐาน
๓. จำนวนหน่วยการเรียน ๑ หน่วยการเรียน
๔. หมวดวิชา กลุ่มสาระศิลปะ ( ดนตรี )
๕. สถานศึกษา โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร ( ฝ่ายมัธยม )
๖. ภาคการศึกษา ภาคเรียนที่ ๑
๗. ปีการศึกษา ๒๕๕๔
๘. สถานภาพของวิชา บังคับ
๙. ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๕
๑๐. ชื่อหลักสูตร มัธยมศึกษาตอนปลาย
๑๑. จำนวนคาบเรียน / สัปดาห์ ๒ คาบ / สัปดาห์
๑๒. เนื้อหารายวิชา
๑. วัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์งานดนตรีสากล
- ประวัติความเป็นมาของดนตรีตะวันตก
- เครื่องดนตรีสากลประเภทต่างๆ
๒. ประวัติดนตรีตะวันตกในแต่ละยุค
- ยุคสมัยกลาง
- สมัยรีเนซองส์
- สมัยบาโรก
- สมัยคลาสสิก
- สมัยโรแมนติก
๓. ประวัตคีตกวีดนตรีตะวันตกในยุคสมัยต่างๆ
๔. อิทธิพลของดนตรีสากลที่มีผลต่อสังคมไทยในปัจจุบัน
๑๓. จุดประสงค์ของรายวิชา
๑๓.๑ จุดประสงค์การเรียนรู้ มีดังนี้
๑๓.๑ .๑รู้และเข้าใจถึงการกำเนิดของดนตรีสากลในวัฒนธรรมตะวันตก เข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบของผลงานทางดนตรี องค์ประกอบของผลงานด้านดนตรีกับศิลปะแขนงอื่น และสามารถจำแนกรูปแบบของเครื่องดนตรีและวงสากลแต่ละประเภท
๑๓.๑.๒ รู้และเข้าใจที่มา ความสัมพันธ์ อิทธิพลและบทบาทของดนตรีแต่ละวัฒนธรรมในยุคสมัยต่าง ๆ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดงานดนตรีที่มีความแตกต่างกันในแต่ละยุคและสามารถเปรียบเทียบอารมณ์ ความรู้สึกที่ได้รับจากดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน
๑๓.๑.๓ วิเคราะห์สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ และบรรยายอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อบทเพลง สามารถนำเสนอบทเพลงของนักดนตรีที่ชื่นชอบได้อย่างมีเหตุผล มีทักษะในการประเมินคุณภาพของบทเพลงและการแสดงดนตรี
๑๓.๑.๔ เข้าใจบทบาทของลักษณะเด่นของดนตรีสากลในวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สะท้อนแนวความคิดและค่านิยมของคนในสังคม รู้ถึงอาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีและบทบาทของดนตรีในธุรกิจบันเทิง เข้าใจถึงอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคลและสังคม สามารถนำดนตรีไประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ
๑๓.๒ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
หัวข้อ | จุดประสงค์ที่ | รายละเอียดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม |
๑. วัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์งานดนตรีสากล - ประวัติความเป็นมาของดนตรีตะวันตก - เครื่องดนตรีสากลประเภทต่างๆ | ๑ | ๑. สามารถอธิบายประวัติความเป็นมา ต้นกำเนิดของดนตรีสากลได้ ๒. สามารถจำแนกประเภทของเครื่องดนตรี และประเภทของวงดนตรีประเภทต่างๆได้ อธิบายลักษณะของเครื่องดนตรีสากลประเภทต่างๆได้ถูกต้อง |
๒. ประวัติดนตรีตะวันตกในแต่ละยุค - ยุคสมัยกลาง - สมัยรีเนซองส์ - สมัยบาโรก - สมัยคลาสสิก - สมัยโรแมนติก | ๒ | ๑. สามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของดนตรีสากลได้ ๒. สามารถอธิบายรูปแบบและพัฒนาการของดนตรีสากลในยุคสมัยต่างๆได้ |
๓. ประวัตคีตกวีดนตรีตะวันตกในยุคสมัยต่างๆ | ๓ | ๑. สามารถนำเสนอประวัติคีตกวีดนตรีและผลงานเพลงที่โดดเด่นในยุคต่างๆได้ |
๔. อิทธิพลของดนตรีสากลที่มีผลต่อสังคมไทยในปัจจุบัน | ๔ | ๑. สามารถบอกถึงประโยชน์ของดนตรีและนำเสนออิทธิพลของดนตรีสากลที่มีผลต่อสังคมในด้านต่างๆได้ |
๑๔. วิธีจัดการเรียนการสอน
๑. การบรรยายของผู้สอน
๒. การทำงานร่วมกันป็นกลุ่ม
๓. การทำงานเป็นรายบุคคล
๔. การนำเสนอผลงานของผู้เรียน
๑๕. สื่อการสอน
๑. ใบความรู้
๒. สื่อ Power Point
๓. รูปภาพคีตกวีในยุคสมัยต่างๆ
๔. วิดิโอ/คลิปการแสดงและบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นในแต่ละยุค
๑๖. การวัดผลและประเมินผลการเรียน
เนื่องด้วยรายวิชาศิลปะพื้นฐาน รหัสวิชา ศ๓๒๑๐๑ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ แบ่งกลุ่มการเรียนเป็น ๓ ฝ่าย โดยมีคะแนนรวมเป็น ๑๐๐ คะแนน ดังนี้
๑. ฝ่ายศิลปศึกษา ( ๓๔ คะแนน )
๒. ฝ่ายดนตรี ( ๓๓ คะแนน )
๓. ฝ่ายนาฏศิลป์ ( ๓๓ คะแนน )
รายละเอียดการวัดและการประเมินผลการเรียน ( ฝ่ายดนตรี ) มีดังนี้
๑. อัตราส่วนระหว่างภาคเรียนกับคะแนนปลายภาคเรียน
คะแนนระหว่างภาคเรียน / คะแนนปลายภาคเรียน
๒๐ / ๑๓
๒. คะแนนระหว่างภาคเรียน ๒๐ คะแนน ได้แก่คะแนนที่มาจาก
๒.๑ การวัดผลรายจุดประสงค์สอบกลางภาค ได้แก่คะแนนที่มาจาก
- วัดผลจุดประสงค์ที่ ๑ = ๒๐ คะแนน
๓. คะแนนปลายภาคเรียน ๑๓ คะแนน ได้แก่คะแนนที่มาจาก
๓.๑ วัดผลจุดประสงค์ที่ ๒ = ๑๐ คะแนน
๓.๒ คะแนนจิตพิสัย ๓ คะแนน
- ความรับผิดชอบในการทำงาน ได้แก่ การส่งงาน การสอบรายบุคคล การสอบกลุ่ม
- พฤติกรรมการเรียน ได้แก่ การเข้าเรียนตรงเวลา ความตั้งใจ การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การมีสัมมาคารวะ การมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน
** คะแนนระหว่างภาคเรียน ๒๐ คะแนน มาจาก
- รูปแบบบทเพลง และวงดนตรีตะวันตกในแต่ละยุคสมัย ๕ คะแนน
- คีตกวี และประวัติเพลงสากล ๕ คะแนน
- บทความเรื่องบทบาทของดนตรีสากลต่อสังคม ๕ คะแนน
- การปฏิบัติดนตรีเบื้องต้นและดูและรักษาเครื่องดนตรี ๕ คะแนน
** คะแนนปลายภาคเรียน ๑๓ คะแนน มาจาก
- การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน ๕ คะแนน
- ความคิดสร้างสรรค์ของรูปแบบการนำเสนอ ๕ คะแนน
** คะแนนจิตพิสัย ๓ คะแนน
โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดังนี้
คะแนน | ระดับผลการเรียน |
๐-๔๙ | ๐ |
๕๐-๕๔ | ๑ |
๕๕-๕๙ | ๑.๕ |
๖๐-๖๔ | ๒ |
๖๕-๖๙ | ๒.๕ |
๗๐-๗๔ | ๓ |
๗๕-๗๙ | ๓.๕ |
๘๐-๑๐๐ | ๔ |
17. เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา
สัปดาห์ที่ | คาบที่ | หัวข้อและกิจกรรมการสอน | หมายเหตุ |
๑ | ๑-๒ | ๑. วัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์งานดนตรีสากล - ความหมายและการฟังดนตรี กิจกรรมการเรียน ๑. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียน ๒. ครูพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ พื้นฐานและประสบการณ์ดนตรีสากลของนักเรียนแต่ละคน ๓. ครูอธิบายเนื้อหา ความหมายของคำว่าดนตรี การฟังดนตรีแบบต่างๆ ความสำคัญของดนตรี และอิทธิพลของดนตรีที่มีอยู่ในสังคมด้านต่างๆ ๔. ครูให้นักเรียนแต่ละคนออกมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับดนตรีของตน แสดงความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนวิชาดนตรีสากล และดนตรีมีผลต่อชีวิตประจำวันของตนอย่างไร ๕. ครูสั่งงานให้นักเรียนหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทต่างๆคนละ 1 ชนิด | |
๒ | ๓-๔ | ๒. ประวัติความเป็นมาของดนตรีตะวันตก การเกิดดนตรี ลักษณะสังคมเริ่มจากยุคกลางและเรอเนสซองส์ - เครื่องดนตรีสากลประเภทต่างๆ กิจกรรมการเรียน ๑. ครูแจ้งชื่อและจุดประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ ๒. ครูอธิบายเนื้อหาประวัติความเป็นมาของดนตรีตะวันตก การเกิดดนตรี ลักษณะสังคมเริ่มจากยุคกลางและเรอเนสซองส์ ๓. ครูยกตัวอย่างคีตกวีและวิดีโอผลงานเพลงที่โดดเด่นให้นักเรียนชม ๔. ครูให้นักเรียนเขียนสรุปประวัติการเกิดดนตรีในยุคกลางและเรอเนสซองค์ตามความเข้าใจ | |
๓ | ๕-๖ | ๓. ประวัติดนตรีตะวันตกในยุคสมัยบาโรก กิจกรรมการเรียน ๑. ครูแจ้งชื่อและจุดประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ ๒. ครูให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ๔-๕คน แต่ละกลุ่มออกมารับใบความรู้เกี่ยวกับประวัติดนตรี คีตกวีและผลงานเพลงในยุคบาโรก ๓. ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลในใบความรู้ตามที่แต่ละกลุ่มได้เป็นเวลา10นาที ๔.ครูเก็บใบความรู้คืน และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอข้อมูลที่กลุ่มตนได้ศึกษา โดยครูชี้แนะเพิ่มเติมกรณีที่ไม่ครอบคลุม ๕. ครูให้นักเรียนทุกคนเขียนสรุปประวัติดนตรี คีตกวี และผลงานที่โดดเด่นในยุคบาโรกตามที่ได้ฟังรายงานจากกลุ่มเพื่อน ๖. ครูให้นักเรียนกลุ่มเดิมจับฉลากหัวข้อคีตกวีและผลงาน เพลงที่โดดเด่นในยุคสมัยคลาสสิกและโรแมนติกเพื่อมานำเสนอหน้าชั้นเรียนในคาบต่อไป | |
๔ | ๗ – ๘ | ๔. ประวัตคีตกวีดนตรีตะวันตกในยุคสมัยคลาสสิกและโรแมนติก กิจกรรมการเรียน ๑. ครูแจ้งชื่อและจุดประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ ๒. ครูให้นักเรียนนำเสนอประวัติและผลงานของคีตกวีในยุคคลาสสิกและโรแมนติกตามลำดับ ตามกลุ่มที่จับฉลากได้ในคาบเรียนที่แล้ว ๓. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มประเมินวิธีการนำเสนอและความรู้ที่ได้รับจากกลุ่มที่ออกมานำเสนอหน้าชั้น ๔. ครูทบทวนและสรุปประเด็นสำคัญ ๕. ครูให้นักเรียนเขียนสรุปความแตกต่างของดนตรีในยุคสมัยคลาสสิกและโรแมนติกตามความคิดเห็นของตนเอง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น