วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564

ดนตรีในยุคโรแมนติก ep01

 

ความเป็นมาและอิทธิพลต่าง ๆ ที่มีต่อดนตรีในยุคโรแมนติก

ประมาณ   .. 1820 – 1900

 

ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศในยุโรปเกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด  เช่น ในด้านวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และด้านการเมืองการปกครอง  ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานเกือบร้อยปี เหตุนี้ทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายความเป็นอยู่แบบเดิมที่ใช้เหตุผลและปัญญา จึงหันมาสนใจกับความรู้สึกที่ไม่อาจควบคุมได้ อันเป็นการก้าวสู่ยุคโรแมนติก ดังจะกล่าวอย่างละเอียดดังนี้

 

1.       การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง วิธีการเปลี่ยนแปลงในการผลิตจากการใช้แรงงานคนแรงงานสัตว์มา

เป็นเครื่องจักรกล ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการผลิต ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

            การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้น 2 ครั้งดังนี้

            ครั้งที่ 1 ระหว่าง   ค.ศ. 1770-1860   ในประเทศอังกฤษ

            ครั้งที่ 2 ระหว่าง   ค.ศ. 1860   เป็นต้นไป มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ

            ก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม สภาพเศรษฐกิจของยุโรปอยู่ในสภาพล้าหลัง การผลิตต่าง ๆ เป็นระบบภายในครอบครัว หรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน ซึ่งมีผลทำให้การผลิตอยู่ในวงแคบ ผลผลิตน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดซึ่งมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

            สาเหตุการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1   มาจากการขยายตัวทางการค้าซึ่งเกิดจากการสำรวจดินแดนและการล่าอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การยกเลิกการค้าแบบผูกขาดโดยสมาคม ทำให้มีเสรีภาพทางการค้า การเพิ่มประชากร การปฏิรูปการเกษตร โดยเปลี่ยนจากการทำนาระบบเปิดโล่ง มาเป็นระบบปิดล้อมรั้วกั้นเขต ทำให้มีการค้นคว้าประดิษฐ์เครื่องมือทางการเกษตรกรรม ปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แรงงานในชนบท เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

 

            สาเหตุที่ทำให้ประเทศอังกฤษกลายเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1

1.       ทุน อังกฤษมีฐานะการเงินและเศรษฐกิจมั่นคง

2.       ตลาด อังกฤษมีอาณานิคมเกือบทั่วโลกซึ่งเป็นทั้งแหล่งทรัพยากรและตลาดรับซื้อสินค้าจากอังกฤษ

เป็นอย่างดี

3.       แรงงาน อังกฤษมีแรงงานมากพอ ซึ่งแรงงานเหล่านี้มีทั้งที่อพยพมาจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรป และ

ยังมีแรงงานที่เหลือจากการปฏิรูปทางเกษตรกรรม

4.       วัตถุดิบ ได้แก่เหล็กกล้าและถ่านหิน ซึ่งจำเป็นในวงการอุตสาหกรรม

5.       ความสามารถทางด้านเทคนิค ชาวอังกฤษมีความสามารถในด้านการค้นคว้า ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ

และเพราะการศึกษาก้าวหน้า

6.       สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะทำให้สะดวกต่อการคมนาคม ประกอบกับมีท่าเรือที่

ดีหลายแห่ง

7.       การเมืองและสังคม  รัฐบาลให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน ส่งเสริมการลงทุนและการค้าขาย

8.       ยุโรปแผ่นดินใหญ่ได้รับความเสียหายมาจากสงครามนโปเลียนระหว่าง ค.ศ. 1793-1815 จึง

จำเป็นต้องพึงพาสินค้าจากอังกฤษ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1
 เริ่มต้นจาการทอผ้าในประเทศอังกฤษ เพราะอังกฤษมีการทอผ้ามาก ด้วยภูมิอากาศที่อบอุ่นชื้นมีผลทำให้ผ้าที่ทอในอังกฤษมีคุณภาพ ทำให้เกิดนักประดิษฐ์จำนวนมากคิดประดิษฐ์เครื่องทอผ้า เช่น จอห์น ประดิษฐ์กระสวยทอผ้าหรือกี่กระตุก  อีไล วิดนีย์ ประดิษฐ์เครื่องแยกเมล็ดฝ้ายจากใยฝ้าย  ทอมัส นิวคอเมนประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำซึ่งใช้ประโยชน์ในการสูบน้ำออกจากเหมืองแร่ เจมส์  วัตต์ คิดผลิตเครื่องจักรไอน้ำโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ซึ่งมีผลทำให้วงการอุตสาหกรรมอื่น ๆเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จอร์จ สตีเฟนสันผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการรถไฟ ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำ ชื่อ Rocket ทำให้มีการเปิดทางรถไฟสายแรกของโลกระหว่างเมืองลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ในประเทศอังกฤษ           

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ได้มีการนำความก้าวหน้าจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 มาประยุกต์ คิดค้นเพิ่มขึ้น เช่น มีการนำเอาพลังงานใหม่ ๆ มาใช้ เช่นก๊าซธรรมชาติน้ำมัน พลังงานไฟฟ้า และการทำเหล็กให้เป็นเหล็กกล้า โดยเฮนรี่ เบสสิเมอร์    จนเรียกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็กกล้า นับตั้งแต่นั้นมาเหล็กกล้าได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญ เช่นในอุตสาหกรรมและการคมนาคมทุกประเภทและยังมีการสร้างหอคอยไอเฟล ด้วยเหล็กล้วน โดย อเล็กซานเดอร์ กุสตาฟ ไอเฟล จากการการปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ครั้งที่ 1 เรื่อยมาถึงครั้งที่  2 ส่งผลให้เกิด มีรถไฟ เรือกลไฟ การผลิตเหล็กกล้า ไฟฟ้า โทรเลข โทรศัพท์ การผลิตอาหารกระป๋อง การแพทย์  ฯลฯ 

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหล่านี้แผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด   การเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลผลักดันให้เกิดการขยายตัวของแรงงานอย่างมหาศาล ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่มากมายมหาศาลและการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล รวมทั้งเกิดารจัดระบบงานในโรงงานและขั้นตอนการผลิตและการจัดการแบบใหม่  ทำให้เกิดการผลิตได้ครั้งละมาก ๆ ที่เรียกว่า การผลิตแบบ mass production และในกระบวนการปฏิวัติอุตสหากรรมดังกล่าวยังทำให้เกิดนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน เช่น อาร์คไรท์ โบลตัน โคร์ต ครอมพ์ตัน ฮาร์กรีฟส์ เคย์  เป็นต้น

สรุปผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

            ผลทางเศรษฐกิจ

            1. เกิดระบบโรงงาน

            2. เกิดระบบนายทุน

            3. เกิดการขยายตัวทางการค้า

            4. การค้าระหว่างประเทศก้าวหน้า

            5.  เกิดการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจ

            6.  เกิดประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา

ผลทางสังคม

            1.  ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น

            2.  เกิดเมืองใหญ่และปัญหาทางสังคม

                        3.  เกิดปัญหาการทำงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และความทุกข์ยากของกรรมกร

                        4. เกิดการใช้เครื่องจักรเป็นเครื่องมือทำสงคราม คือชนชั้นใหม่ ได้แก่ ชนชั้นกลางและชนชั้นกรรมาชีพ และเกิดช่องว่างระหว่างชนชั้น

                        ผลทางการเมือง

1.       ชนชั้นกลางได้อำนาจทางการเมือง

2.       กรรมกรเลื่อนฐานะเป็นกำลังสำคัญทางการเมืองภายหลังการก่อตั้งสหภาพแรงงานหรือ

สหบาลกรรมกร

3.       รัฐบาลเข้าควบคุมการทำงานของกรรมกร

4.       เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม

5.       การสร้างกองทัพและแสนยานุภาพ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ

ผลทางสติปัญญา

1.       กำเนิดลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) โดย อดัม สมิธ

2.       กำเนิดลัทธิสังคมนิยม(Socailism) โดย คาร์ล มาร์ก และ ฟรีดิช เองเกิลส์

3.       เกิดงานเขียนประเภทสัจนิยม (Realism)

4.       เกิดการเขียนภาพจิตรกรรม ที่เรียนกว่า อิมเพรสชันนิสม์ (Impreessionism)

5.       กำเนิดวิชาเศรษฐศาสตร์

6.    




 

 






6.    กำเนิดวิชาจิตวิทยา โดยนายแพทย์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ชาวออสเตรีย

7.       กำเนิดวิชาสังคมวิทยา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น