4.
ด้านศิลปะหรือเรียกว่า สมัยศิลปะจินตนิยม (Romanticism) ใน ค.ศ. 1800-1900
แนวคิดเกี่ยวกับศิลปะสมัยโรแมนติก
- เริ่มในอังกฤษและฝรั่งเศส
ที่มีทรรศนะคติที่ต้องการความเป็นอิสระในการแสดงออกที่ศิลปินต้องการมากกว่าการเดินตามกฎเกณฑ์และแบบแผนทางศิลปะ
ดังที่ศิลปินลัทธิคลาสสิกใหม่ยังยึดถืออยู่
-
เป็นศิลปะที่เน้นอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล มุ่งสร้างสรรค์งานที่ตื่นเต้น เร้าใจ
ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้ชม
- ลักษณะแนวความคิดของศิลปะโรแมนติกนั้นต่างจากพวกคลาสสิกกันคนละขั้ว
เพราะโรแมนติกยึดมั่นในเรื่องของจิตใจ ถือว่าจิตเป็นตัวกำเนิดของตัณหา อารมณ์
ความรู้สึก
ซึ่งเป็นความจริงของมนุษย์มากกว่าการยึดมั่นในเหตุผลตามแนวคิดของคลาสสิก
พวกศิลปินเชื่อว่า ศิลปะสร้างสรรค์ตัวของมันเองได้
และต้องมีคุณค่าทางอารมณ์มากกว่า
-
ศิลปะต้องสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้เสพและผู้สร้าง
มุ่งสร้างศิลปะเพื่อให้กลมกลืนกับชีวิต มุ่งที่ความ “กลายเป็น”
ตัดกับความเป็นอยู่งานทางด้านจิตรกรรมจะแสดงความตัดกันของน้ำหนักแสงและเงา
ใช้สีที่ตัดกัน จิตรกรที่สำคัญ ได้แก่ Theodore Gericault, Eugene
Deracroix ในงานจิตรกรรมนี้เป็นช่วงเวลาระหว่างค.ศ.1820-1850
-
ศิลปะมักเปลี่ยนแปลงตัวเองให้กลมกลืนกับสภาพชีวิต
- ในแต่ละยุคสมัย ศิลปะคลาสสิกและโรแมนติก ยังคงยึดแนวของกรีกและโรมันอยู่ไม่น้อย
ศิลปินรุ่นหลังเห็นว่า ศิลปะทั้งสองไม่ได้แสดงความกลมกลืนของชีวิต
ยังคงมีลักษณะความเป็นอุดมคติอยู่ซึ่งไม่ใช่ความจริง
ดังนั้นการสร้างงานในยุคต่อมา ซึ่งเราเรียกกันว่าเรียลลิสม์นั้น จึงสร้างงานตามสภาพความเป็นจริง ศิลปินเชื่อว่าความงามอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะในที่เลิศหรูเช่นพระราชวัง หรือที่เรียบง่ายตามชนบทก็ตาม อีกทั้งยังเชื่อกันว่าศิลปะนั้นสอนกันไม่ได้ เพราะศิลปะเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่แต่ละคนมีความสามารถต่างกัน ศิลปะคือการเลียนแบบตามตาเห็น ศิลปินควรบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในยุคสมัยของตนเอาไว้ ไม่ใช่สร้างงานแบบโบราณนิยม (ถือว่าเป็นการปฏิเสธแนวคลาสสิกและโรแมนติกอย่างเห็นได้ชัด)
ศิลปินอย่างโกยา Francisco Goya อยู่ในช่วงรอยต่อของโรแมนติกและเรียลลิสม์ งานของเขาแสดงออกทั้งความเป็นจริงและแสดงออกถึงความสะเทือนอารมณ์ (โรแมนติก) ไปพร้อมๆกัน โกยาให้ทัศนคติไว้ว่า ในธรรมชาติไม่มีใครเห็นเส้น มีแต่รูปทรงที่สว่างและมืด ระนาบใกล้ ไกล กลวง และยื่นไปออกมา ทัศน์เช่นนี้จะปรากฏได้ชัดในงานยุคหลังถัดจากนี้ไป เนื่องด้วยในช่วงเวลานี้ยุโรปได้ตกอยู่ในสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจและสังคมชนชั้นแรงงานเพิ่มมากขึ้น ศิลปินจึงสะท้อนภาพความลำบากของชนชั้นเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม ศิลปินที่มีชื่อเสียงได้แก่ โดมิยร์, มิเลท์, กูร์เบท์
ภาพการอับปางของแพเมดูซา “The Raft of the Medusa”
โดย เทโอดอร์ เจริโกต์ (Theodore Gericault)
ให้อารมณ์ความรู้สึกกับการเผชิญกับภัยบนแพ
ทั้งอ่อนล้า อ้างว้าง หิว
ตื่นเต้น
เชื่อว่าการมีชีวิตอยู่อย่างเต็มไปด้วยอันตราย หรือมีอะไรน่าหวาดเสียว
หรือเหมือนบทละคร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น