วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

โรงเรียนดนตรีที่อาจารย์มนัส ปิติสานต์เรียน


โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ
      หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ รุ่นที่ 1 ตั้งแต่มิถุนายน 2485 หลักสูตร 5 ปี วิชาที่เรียนแบ่งเป็นวิชาสามัญระดับ ม.3 วิชาทฤษฎีดนตรีสากล  วิชาการประสานเสียงและการปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล
             โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ ตั้งอยู่ในบริเวณกองดุริยางค์ทหารอากาศและ กองภาพยนต์ทหารอากาศทุ่งมหาเมฆ  ผู้บังคับบัญชาและอาจารย์คือ
1.         นาวาอากาศเอก  ขุนสวัสดิ์  ทฆัมพร      ผู้อำนวยการกองภาพยนตร์ทหารอากาศ
2.         นาวาอากาศตรี  โพธิ์  ศานติกุล             ผู้บังคับกองดุริยางค์ทหารอากาศ
3.         อาจารย์  พระเจนดุริยางค์                     สอนวิชาทฤษฎีสากล  วิชาการประสานเสียง  และการ         
                                                           ปฎิบัติเครื่องดนตรีสากล
4.         อาจารย์ ทรงสอางค์  ทิฆัมพร                 สอนวิชาภาษาไทยและปฎิบัติหน้าที่อาจารย์ผู้ปกครอง
5.         อาจารย์  อำนวย กลัสนิมิ(เนรมิต)          สอนวิชาเลขคณิต
6.         อาจารย์  ทวี    บางช้าง(มารุฒ)          สอนวิชาภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์
7.         อาจารย์  สวัสดิ์  วาทยะกร                    สอนวิชาภาษาอังกฤษ
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ พุทธศักราช ๒๕๕๒
หลักการ
   
๑. เป็นหลักสูตรการดุริยางค์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหลังมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อพัฒนากำลังพลให้มีความชำนาญเฉพาะด้าน มีคุณธรรม บุคลิกภาพ และเจตคติที่เหมาะสม คำนึงถึงเกียรติยศและเกียรติติศักดิ์ทหาร โดยเน้นความประพฤติเป็นสำคัญ ออกไปปฏิบัติราชการ หรือประกอบอาชีพ ได้ตรงต่อความต้องการของสายวิยาการและสังคม
   
๒. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้เลือกเรียนอย่างกว้างขวาง เน้นความชำนาญเฉพาะด้านสามารถถ่ายโอนผลการเรียน สะสมผลการเรียน เทียบความรู้ และประสบการณ์ จากแหล่งวิทยาการ สถานประกอบการ หรือสถานที่ทำงานได้
   
๓. เป็นหลักสูตรที่สนับสนุนการประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และเอกชน
   
๔. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้สถานศึกษา สายวิทยาการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการ สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม
   
๕. เป็นหลักสูตรที่มุ่งฝึกให้ผู้เรียนมีลักษณะท่าทาง และจิตใจเป็นทหาร มีความมานะอดทน มีพลานามัยสมบูรณ์
   
๖. เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ผู้เรียนใฝ่หาความรู้ ความจริง และเทคนิคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและพัฒนาหน่วยงานต่อไป

จุดหมาย
   
๑. เพื่อให้เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม มีบุคลิกภาพ และมีจิตสำนึก สมชายชาติทหาร มีความซื่อสัตย์สุจริต มีน้ำใจนักกีฬา มีมนุษยสัมพันธ์ คุณธรรม จริยธรรม มีความกล้าหาญ อดทน
   
๒. เพื่อให้มีความตระหนักและมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศ และของโลกปัจจุบัน มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และสำนึกในความเป็นไทย มีความรักชาติ ดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
   
๓. เพื่อให้สำนึกถึงคุณค่าสถาบันครอบครัว ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น รู้จักใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมขาติอย่างมีคุณภาพ และการสร้างสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ดี
   
๔. เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ทั้งสายวิทยาการ และการใช้อาวุธประจำกาย สามารถนำไปปฏิบัติงานในหน่วยงานของภาครัฐบาลหรือเอกชน ดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมกับตน เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ตนเองและสังคม
   
๕. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีความมั่นใจ และภาคภูมิใจในวิชาชีพที่เรียน รักการทำงาน สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี โดยมีความเคารพในสิทธิและหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น
   
๖. เพื่อให้เป็นผู้มีปัญญาในการจัดการ มีความคิดสร้างสรรค์ มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและการงานให้ก้าวหน้าทันสมัยอยู่เสมอ
  
 หลักเกณฑ์การใช้
   
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียน
   
ดุริยางค์ทหารอากาศ
   
พุทธศักราช ๒๕๕๒

   
๑. การศึกษา และฝึกอบรม การศึกษา และฝึกอบรมปฏิบัติดังนี้.-
   
        ๑.๑ การศึกษาและฝึกอบรมให้เป็นตามแผนการเรียนของสาขาวิชา ที่โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศกำหนดขึ้น
   
        ๑.๒ ให้โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ จัดการสอนซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ ที่มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์เป็นรายวิชาตามความเหมาะสม

   
๒. เวลาการศึกษา และฝึกอบรม
   
        ๒.๑ เวลาการศึกษาและฝึกอบรมประมาณ ๓ ปีการศึกษาต่อ ๑ หลักสูตร และปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งภาคเรียนออกเป็น ๒ ภาคเรียน ภาคเรียนละไม่น้อยกว่า ๑๘ สัปดาห์
   
        ๒.๒ การศึกษาวิชาการ ให้โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เปิดทำการสอนสัปดาห์ละ ๕ วัน วันละไม่เกิน ๗ คาบ คาบละ ๕๐ นาที จนครบรายวิชาที่กำหนดไว้ในแผนการเรียน
           
๒.๓ การฝึกอบรมวิชาการทหาร ให้โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เปิดทำการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า ๖๐ คาบ ก่อนเข้ารับการศึกษาภาควิชาการ และเหลือให้ทำการฝึกอบรมหลังเวลาเรียนภาควิชาการตามความเหมาะสม จนครบรายวิชาที่กำหนดไว้ในหลัดสูตร และแผนการเรียน
   
        ๒.๔ การฝึกอบรมวิชาพลศึกษา ให้โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เปิดทำการฝึกอบรมหลังวิชาเรียนภาควิชาการตามความเหมาสม จนครบรายวิชาที่กำหลนไว้ในหลักสูตร และแผนการเรียน
           
๒.๕ กำหนดการ เปิด-ปิด การศึกษา และฝึกอบรมต่างๆ ให้เป็นไปตามคำสั่งโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เรื่อง กำหนดการฝึกอบรม ในแต่ละปีการศึกษา

   
๓. หน่วยกิต
   
        ๓.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี ๑ คาบเรียนต่อสัปดาห์ตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่า ๑๖ คาบเรียน รวมกับเวลาของการวัดผลไม่น้อยกว่า ๑๘ คาบเรียน มีค่า ๑ หน่วยกิต
   
        ๓.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ๒ ๓ คาบเรียนต่อสัปดาห์ ตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่า ๓๒ -๔๘ คาบเรียน รวมเวลาของการวัดผลไม่น้อยกว่า ๓๖ ๕๔ คาบเรียน มีค่า ๑ หน่วยกิต
   
        ๓.๓ รายวิชาที่มีการฝึกงาน หรือการทำโครงงาน หรือการทำโครงการวิชาชีพ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

 บทเรียนหนึ่งที่เราต้องเรียนถ้าเราเรียนดนตรีสากล คือ การอ่านโน้ต ครูจะแนะนำให้เราทำความรู้จักกับเจ้าตัวกลมๆ ดำบ้าง ขาวบ้าง บางตัวก็มีหาง นอนกลิ้ง คว่ำๆ หงายๆ อยู่บนบรรทัดห้าเส้น แล้วครูก็จะบอกให้เราตีสนิทกับตัวหยุด ตัวยืดและเครือญาติ กับกุญแจอีกหลายประเภท สนิทกันเมื่อไหร่ก็จะคุยกันรู้เรื่อง ช่วยให้เราบรรเลงเป็นเพลงได้ถูกต้องสมใจหวัง แต่กับดนตรีไทย (โดยเฉพาะสมัยก่อน) ไม่มีเจ้าตัวป่วน น่ารักๆ แบบนี้ให้สนิทด้วยนะสิคนที่เราต้องเข้าหาเลยไม่ใช่ตัวโน้ต แต่เป็น "ครู"

คนตัวเป็นๆ (ที่ดุบ้างใจดีบ้าง)ของเราเองนี่แหละ เพราะสมัยก่อน "ครู" เป็นศูนย์กลางของการเรียนศาสตร์แทบทุกแขนงของไทยนักเรียนดนตรีไทยสมัยก่อน ต้องไปขอให้ครูรับเป็นศิษย์ แล้วหอบผ้าหอบผ่อนไปกินนอนเรียนดนตรีอยู่บ้านครูกันเลยทีเดียว

การเรียนเพลง หรือที่ศัพท์เทคนิคเค้าเรียกกันว่า "ต่อเพลง" ก็ต่อเอาจากครูท่านครูจะทยอยสอนเพลงให้ จากเพลงพื้นฐานไปจนถึงเพลงสำคัญต่างๆ หรือเพลงที่ครูคิดค้นขึ้นเอง หวังให้ศิษย์รักสืบทอดทางเพลงที่วิจิตรพิศดารก็ว่ากันไป ก็มีครูผู้มีพระคุณนี่ล่ะ ที่ช่วยแนะช่วยติจนเราสามารถพัฒนาทักษะด้านดนตรีได้ถูกต้องเหมาะสม (ถูกต้อง หมายถึง ถูกต้องตามวิธีการเล่น / เหมาะสม หมายถึง เหมาะตามกาลเทศะ ตามธรรมเนียมประเพณีของดนตรีไทย)

ประเด็นคือ ทั้งครูและศิษย์ใช้อะไรเป็นตัวช่วยจำหล่ะ ถึงได้จำได้จำดี เวลาบรรเลงเพลงยาวติดต่อกันเป็นชั่วโมง ก็ไม่ต้องมีกระดาษโน้ตมากางสักแผ่น คำตอบของ จขบ. ก็คือ ใช้ความคุ้นเคยกับ กลอนเพลง จังหวะ และ วิธีบรรเลง เช่น การกรอ ขยี้ สะบัด ช่วยจำทำนองเพลง

นักดนตรีไทยหลายๆ คนไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่ามันเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ นึกได้อีกทีก็เล่นเป็นเพลงได้ไปหลายเพลงแล้ว.. การที่ครูต่อเพลงให้ ทำให้เรารู้จักกับเจ้า "กลอนเพลง" นี่โดยไม่รู้ตัว "กลอนเพลง" ก็เหมือนกับ "กลอน" ในการประพันธ์ร้อยกรองนั่นแหละ ในทำนองเพลงไทยจะมีการเชื่อมโยงกันของเสียง เสมือนการบังคับสัมผัสนอกสัมผัสใน มีการแบ่งทำนองเป็นวรรค เป็นท่อน เสมือนกับการแบ่งเป็นบาท เป็นบทของร้อยกรอง เล่นดนตรีไทยไปเรื่อยๆ ก็จะคุ้นชินกับสิ่งที่ประกอบกันขึ้นเป็นเพลงไปเอง ทำให้การจำเพลงทั้งเพลง ก็เหมือนการจำกลอนได้เป็นบทๆ เป็นหน้าๆ โดยมีจังหวะ กับเทคนิคการเล่นเครื่องดนตรีนั้นๆ เป็นตัวช่วยอีกแรงค่ะ

ฉะนั้น ถ้าครูรุ่นเก่าๆ ต่อเพลงให้ ครูจะไม่พูดชื่อตัวโน้ตสักตัว โด เร มี คืออะไร ไม่ต้องไปพูดถึง แต่จะต่อเพลงกันโดยการฮำเพลง เช่น "นอย น้อย นอยๆๆๆ" หรือ "ทิง นอยๆ" อะไรประมาณนี้เป็นต้น ตามแต่วิธีฮำเสียงของเครื่องดนตรีที่เรียนกันอยู่ หรือไม่.. ครูจะเล่นให้ฟัง เราได้ยินปุ๊บก็เล่นตามเสียงนั้นได้เลย

ทั้งนี้ นอกจากการรู้จักและเข้าใจกลอนเพลงแล้ว สิ่งสำคัญที่ทำให้นักดนตรีไทยในสมัยก่อนสามารถจำเพลงได้บานตะไท ก็คือ "การฝึกฝน" นั่นเอง   ฝึกกันจนรู้สึกว่ามือมันเล่นเองได้โดยไม่ต้องใช้สมองสั่ง

การฝึกฝนนี่ล่ะ คือเคล็ดลับวิชาดนตรี ในสมัยที่คนไทยยังไม่รู้วิธีบันทึกโน้ต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น