วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ผลงานนักเรียนชมรมดนตรี สาธิต มศว ประสานมิตร ฝ่ายมัธยม )


กลุ่มสาระดนตรี - นาฏศิลป์  ส่งนักเรียนประกวดวงปี่พาทยืไม้แข็งในงานบรรเลงดนตรีไทยอโศกสังคีต ครั้งที่5 โดยในการประกวดครั้งนี้ได้รางวัลรองชนะเลิศ ในบทเพลงพันธ์ฝรั่งเถา โดยมรนรายชื่อนักดนตรีดังต่อไปนี้ ด.ช.พฤกษ์  ฉวีกุลรัตน์ ระนาดเอก  ด.ช.ปพน  กัมพลกัญจนา ระนาดทุ้ม  นายนวิติ  คอนชนะ  เครื่องหนัง  นายสิทธิกร บำรุงราษฎร์ ฆ้องวงเล็ก  นายสุทธิชัย  จันทร์งาม ฆ้องวงใหญ่  ด.ญ.สรณ์สิริ  พรหมมา  ฉิ่ง  ด.ญ.ณิชกมล  จินดาวัฒน์  กรับ

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางดนตรี
“ร่วมสมัย บิ๊กแบนด์” (RUAM SMAI BIG BAND)

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มีพันธกิจในการส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่กิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อเพิ่มพูนปัญญาและประยุกต์ใช้ในสังคม ซึ่งเป็นการสร้างความสุนทรีย์และรสนิยมที่ดีให้แก่คนในสังคม การให้โอกาสเยาวชนที่ได้ฝึกฝนดนตรีตามความถนัดของแต่ละคน จึงเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพของคนในประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าว สำนักงาน ฯ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางดนตรี ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เยาวชนนักดนตรีจากทั่วประเทศ อา ยุระหว่าง ๑๒ – ๑๘ ปี สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๐๐ คน เพื่อเข้าค่ายฝึกอบรมดนตรี ประเภทกลุ่มเครื่องสาย (String Section) กลุ่มจังหวะ (Rhythm Section) กลุ่มเครื่องเป่า (Brass Section) และกลุ่มนักร้อง ( Voice Section) เป็นเวลา ๓ วัน ได้มีโอกาสฝึกทักษะและเทคนิคของเครื่องดนตรีตามความถนัด จากนั้นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการคัดเลือกนักดนตรียอดเยี่ยมของแต่ละ เครื่องมือ จาก ๒๐๐ คน ให้เหลือ ๕๐ คน แล้วรวมตัวกันฝึกซ้อมเพลงเป็นวง Big Band โดยกำหนดจัดแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทย ๑ ครั้ง และแลกเปลี่ยนความสามารถทางดนตรีกับเยาวชนในประเทศอาเซียน ๑ ครั้ง ซึ่งเป็นการใช้มิติทางวัฒนธรรมส่งเสริมให้เยาวชนได้มีโอกาสแสดงออกตามความ ถนัด และเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเตรียมความพร้อมให้เยาวชนเพื่อการรวมตัวเป็น ASEAN Community ซึ่งเป็นการรวม ๑๐ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประชาคมอาเซียนจึงต้องเรียนรู้และเคารพในความแตกต่างทางการเมือง สังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของกันและกัน
  ซึ่งในโครงการร่วมสมัยบิ๊กแบนค์มีนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ได้เข่าร่วม ได้แก่ นางสาวกุลธิดา ทัศนสุวรรณ ชั้นม.4 ในเครื่องดนตรีเปียโน และนายกฤษฎา  วงษ์วัฒนากุล ชั้น ม.5/3 ในเครื่องดนตรีแซกโซโฟน
ซึ่งทั้งสองคนได้เข้าร่วมแสดงคอนเสริต์ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยและ jubilee Hall, singapore

โรงเรียนดนตรีที่อาจารย์มนัส ปิติสานต์เรียน


โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ
      หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ รุ่นที่ 1 ตั้งแต่มิถุนายน 2485 หลักสูตร 5 ปี วิชาที่เรียนแบ่งเป็นวิชาสามัญระดับ ม.3 วิชาทฤษฎีดนตรีสากล  วิชาการประสานเสียงและการปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล
             โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ ตั้งอยู่ในบริเวณกองดุริยางค์ทหารอากาศและ กองภาพยนต์ทหารอากาศทุ่งมหาเมฆ  ผู้บังคับบัญชาและอาจารย์คือ
1.         นาวาอากาศเอก  ขุนสวัสดิ์  ทฆัมพร      ผู้อำนวยการกองภาพยนตร์ทหารอากาศ
2.         นาวาอากาศตรี  โพธิ์  ศานติกุล             ผู้บังคับกองดุริยางค์ทหารอากาศ
3.         อาจารย์  พระเจนดุริยางค์                     สอนวิชาทฤษฎีสากล  วิชาการประสานเสียง  และการ         
                                                           ปฎิบัติเครื่องดนตรีสากล
4.         อาจารย์ ทรงสอางค์  ทิฆัมพร                 สอนวิชาภาษาไทยและปฎิบัติหน้าที่อาจารย์ผู้ปกครอง
5.         อาจารย์  อำนวย กลัสนิมิ(เนรมิต)          สอนวิชาเลขคณิต
6.         อาจารย์  ทวี    บางช้าง(มารุฒ)          สอนวิชาภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์
7.         อาจารย์  สวัสดิ์  วาทยะกร                    สอนวิชาภาษาอังกฤษ
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ พุทธศักราช ๒๕๕๒
หลักการ
   
๑. เป็นหลักสูตรการดุริยางค์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหลังมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อพัฒนากำลังพลให้มีความชำนาญเฉพาะด้าน มีคุณธรรม บุคลิกภาพ และเจตคติที่เหมาะสม คำนึงถึงเกียรติยศและเกียรติติศักดิ์ทหาร โดยเน้นความประพฤติเป็นสำคัญ ออกไปปฏิบัติราชการ หรือประกอบอาชีพ ได้ตรงต่อความต้องการของสายวิยาการและสังคม
   
๒. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้เลือกเรียนอย่างกว้างขวาง เน้นความชำนาญเฉพาะด้านสามารถถ่ายโอนผลการเรียน สะสมผลการเรียน เทียบความรู้ และประสบการณ์ จากแหล่งวิทยาการ สถานประกอบการ หรือสถานที่ทำงานได้
   
๓. เป็นหลักสูตรที่สนับสนุนการประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และเอกชน
   
๔. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้สถานศึกษา สายวิทยาการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการ สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม
   
๕. เป็นหลักสูตรที่มุ่งฝึกให้ผู้เรียนมีลักษณะท่าทาง และจิตใจเป็นทหาร มีความมานะอดทน มีพลานามัยสมบูรณ์
   
๖. เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ผู้เรียนใฝ่หาความรู้ ความจริง และเทคนิคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและพัฒนาหน่วยงานต่อไป

จุดหมาย
   
๑. เพื่อให้เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม มีบุคลิกภาพ และมีจิตสำนึก สมชายชาติทหาร มีความซื่อสัตย์สุจริต มีน้ำใจนักกีฬา มีมนุษยสัมพันธ์ คุณธรรม จริยธรรม มีความกล้าหาญ อดทน
   
๒. เพื่อให้มีความตระหนักและมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศ และของโลกปัจจุบัน มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และสำนึกในความเป็นไทย มีความรักชาติ ดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
   
๓. เพื่อให้สำนึกถึงคุณค่าสถาบันครอบครัว ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น รู้จักใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมขาติอย่างมีคุณภาพ และการสร้างสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ดี
   
๔. เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ทั้งสายวิทยาการ และการใช้อาวุธประจำกาย สามารถนำไปปฏิบัติงานในหน่วยงานของภาครัฐบาลหรือเอกชน ดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมกับตน เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ตนเองและสังคม
   
๕. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีความมั่นใจ และภาคภูมิใจในวิชาชีพที่เรียน รักการทำงาน สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี โดยมีความเคารพในสิทธิและหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น
   
๖. เพื่อให้เป็นผู้มีปัญญาในการจัดการ มีความคิดสร้างสรรค์ มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและการงานให้ก้าวหน้าทันสมัยอยู่เสมอ
  
 หลักเกณฑ์การใช้
   
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียน
   
ดุริยางค์ทหารอากาศ
   
พุทธศักราช ๒๕๕๒

   
๑. การศึกษา และฝึกอบรม การศึกษา และฝึกอบรมปฏิบัติดังนี้.-
   
        ๑.๑ การศึกษาและฝึกอบรมให้เป็นตามแผนการเรียนของสาขาวิชา ที่โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศกำหนดขึ้น
   
        ๑.๒ ให้โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ จัดการสอนซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ ที่มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์เป็นรายวิชาตามความเหมาะสม

   
๒. เวลาการศึกษา และฝึกอบรม
   
        ๒.๑ เวลาการศึกษาและฝึกอบรมประมาณ ๓ ปีการศึกษาต่อ ๑ หลักสูตร และปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งภาคเรียนออกเป็น ๒ ภาคเรียน ภาคเรียนละไม่น้อยกว่า ๑๘ สัปดาห์
   
        ๒.๒ การศึกษาวิชาการ ให้โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เปิดทำการสอนสัปดาห์ละ ๕ วัน วันละไม่เกิน ๗ คาบ คาบละ ๕๐ นาที จนครบรายวิชาที่กำหนดไว้ในแผนการเรียน
           
๒.๓ การฝึกอบรมวิชาการทหาร ให้โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เปิดทำการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า ๖๐ คาบ ก่อนเข้ารับการศึกษาภาควิชาการ และเหลือให้ทำการฝึกอบรมหลังเวลาเรียนภาควิชาการตามความเหมาะสม จนครบรายวิชาที่กำหนดไว้ในหลัดสูตร และแผนการเรียน
   
        ๒.๔ การฝึกอบรมวิชาพลศึกษา ให้โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เปิดทำการฝึกอบรมหลังวิชาเรียนภาควิชาการตามความเหมาสม จนครบรายวิชาที่กำหลนไว้ในหลักสูตร และแผนการเรียน
           
๒.๕ กำหนดการ เปิด-ปิด การศึกษา และฝึกอบรมต่างๆ ให้เป็นไปตามคำสั่งโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เรื่อง กำหนดการฝึกอบรม ในแต่ละปีการศึกษา

   
๓. หน่วยกิต
   
        ๓.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี ๑ คาบเรียนต่อสัปดาห์ตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่า ๑๖ คาบเรียน รวมกับเวลาของการวัดผลไม่น้อยกว่า ๑๘ คาบเรียน มีค่า ๑ หน่วยกิต
   
        ๓.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ๒ ๓ คาบเรียนต่อสัปดาห์ ตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่า ๓๒ -๔๘ คาบเรียน รวมเวลาของการวัดผลไม่น้อยกว่า ๓๖ ๕๔ คาบเรียน มีค่า ๑ หน่วยกิต
   
        ๓.๓ รายวิชาที่มีการฝึกงาน หรือการทำโครงงาน หรือการทำโครงการวิชาชีพ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

 บทเรียนหนึ่งที่เราต้องเรียนถ้าเราเรียนดนตรีสากล คือ การอ่านโน้ต ครูจะแนะนำให้เราทำความรู้จักกับเจ้าตัวกลมๆ ดำบ้าง ขาวบ้าง บางตัวก็มีหาง นอนกลิ้ง คว่ำๆ หงายๆ อยู่บนบรรทัดห้าเส้น แล้วครูก็จะบอกให้เราตีสนิทกับตัวหยุด ตัวยืดและเครือญาติ กับกุญแจอีกหลายประเภท สนิทกันเมื่อไหร่ก็จะคุยกันรู้เรื่อง ช่วยให้เราบรรเลงเป็นเพลงได้ถูกต้องสมใจหวัง แต่กับดนตรีไทย (โดยเฉพาะสมัยก่อน) ไม่มีเจ้าตัวป่วน น่ารักๆ แบบนี้ให้สนิทด้วยนะสิคนที่เราต้องเข้าหาเลยไม่ใช่ตัวโน้ต แต่เป็น "ครู"

คนตัวเป็นๆ (ที่ดุบ้างใจดีบ้าง)ของเราเองนี่แหละ เพราะสมัยก่อน "ครู" เป็นศูนย์กลางของการเรียนศาสตร์แทบทุกแขนงของไทยนักเรียนดนตรีไทยสมัยก่อน ต้องไปขอให้ครูรับเป็นศิษย์ แล้วหอบผ้าหอบผ่อนไปกินนอนเรียนดนตรีอยู่บ้านครูกันเลยทีเดียว

การเรียนเพลง หรือที่ศัพท์เทคนิคเค้าเรียกกันว่า "ต่อเพลง" ก็ต่อเอาจากครูท่านครูจะทยอยสอนเพลงให้ จากเพลงพื้นฐานไปจนถึงเพลงสำคัญต่างๆ หรือเพลงที่ครูคิดค้นขึ้นเอง หวังให้ศิษย์รักสืบทอดทางเพลงที่วิจิตรพิศดารก็ว่ากันไป ก็มีครูผู้มีพระคุณนี่ล่ะ ที่ช่วยแนะช่วยติจนเราสามารถพัฒนาทักษะด้านดนตรีได้ถูกต้องเหมาะสม (ถูกต้อง หมายถึง ถูกต้องตามวิธีการเล่น / เหมาะสม หมายถึง เหมาะตามกาลเทศะ ตามธรรมเนียมประเพณีของดนตรีไทย)

ประเด็นคือ ทั้งครูและศิษย์ใช้อะไรเป็นตัวช่วยจำหล่ะ ถึงได้จำได้จำดี เวลาบรรเลงเพลงยาวติดต่อกันเป็นชั่วโมง ก็ไม่ต้องมีกระดาษโน้ตมากางสักแผ่น คำตอบของ จขบ. ก็คือ ใช้ความคุ้นเคยกับ กลอนเพลง จังหวะ และ วิธีบรรเลง เช่น การกรอ ขยี้ สะบัด ช่วยจำทำนองเพลง

นักดนตรีไทยหลายๆ คนไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่ามันเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ นึกได้อีกทีก็เล่นเป็นเพลงได้ไปหลายเพลงแล้ว.. การที่ครูต่อเพลงให้ ทำให้เรารู้จักกับเจ้า "กลอนเพลง" นี่โดยไม่รู้ตัว "กลอนเพลง" ก็เหมือนกับ "กลอน" ในการประพันธ์ร้อยกรองนั่นแหละ ในทำนองเพลงไทยจะมีการเชื่อมโยงกันของเสียง เสมือนการบังคับสัมผัสนอกสัมผัสใน มีการแบ่งทำนองเป็นวรรค เป็นท่อน เสมือนกับการแบ่งเป็นบาท เป็นบทของร้อยกรอง เล่นดนตรีไทยไปเรื่อยๆ ก็จะคุ้นชินกับสิ่งที่ประกอบกันขึ้นเป็นเพลงไปเอง ทำให้การจำเพลงทั้งเพลง ก็เหมือนการจำกลอนได้เป็นบทๆ เป็นหน้าๆ โดยมีจังหวะ กับเทคนิคการเล่นเครื่องดนตรีนั้นๆ เป็นตัวช่วยอีกแรงค่ะ

ฉะนั้น ถ้าครูรุ่นเก่าๆ ต่อเพลงให้ ครูจะไม่พูดชื่อตัวโน้ตสักตัว โด เร มี คืออะไร ไม่ต้องไปพูดถึง แต่จะต่อเพลงกันโดยการฮำเพลง เช่น "นอย น้อย นอยๆๆๆ" หรือ "ทิง นอยๆ" อะไรประมาณนี้เป็นต้น ตามแต่วิธีฮำเสียงของเครื่องดนตรีที่เรียนกันอยู่ หรือไม่.. ครูจะเล่นให้ฟัง เราได้ยินปุ๊บก็เล่นตามเสียงนั้นได้เลย

ทั้งนี้ นอกจากการรู้จักและเข้าใจกลอนเพลงแล้ว สิ่งสำคัญที่ทำให้นักดนตรีไทยในสมัยก่อนสามารถจำเพลงได้บานตะไท ก็คือ "การฝึกฝน" นั่นเอง   ฝึกกันจนรู้สึกว่ามือมันเล่นเองได้โดยไม่ต้องใช้สมองสั่ง

การฝึกฝนนี่ล่ะ คือเคล็ดลับวิชาดนตรี ในสมัยที่คนไทยยังไม่รู้วิธีบันทึกโน้ต


พระเจนดุริยางค์ครูผู้สอนอาจารย์มนัส ปิติสานต์


พระเจนดุริยางค์ครูผู้สอนอาจารย์มนัส  ปิติสานต์และผู้ก่อตั้งโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ
                เมื่ออายุ 7 ขวบ ท่านเริ่มรับการศึกษาวิชาสามัญที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ในชั้นต้นได้เข้าเรียนในแผนกภาษาฝรั่งเศส จนจบหลักสูตร แล้วจึงได้เข้าเรียนต่อในแผนกวิชาภาษาอังกฤษ รวมเวลาที่อยู่ในโรงเรียนนี้ 11 ปี ระหว่างนี้ท่านก็ได้ศึกษาวิชาดนตรีจากบิดาพร้อมกับพี่ชายอีก 2 คน ซึ่งปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว เมื่อพระเจนดุริยางค์อายุได้ 10 ขวบ ท่านได้ฝึกหัดเชลโล เป็นเครื่องดนตรีประจำตัวต่อไป จากการฝึกหัดอย่างจริงจัง ทำให้ท่านมีความสามารถในการเล่นดนตรีอย่างยอดเยี่ยม และก่อให้เกิดความรักอันซาบซึ้งในดนตรีแบบ คลาสสิค ขึ้นอย่างมาก พออายุ 17 ปี จึงได้หัดเรียนเปียโนโนอีกอย่างหนึ่ง พร้อมกันนี้ท่านก็ได้เริ่มแสวงหาความรู้ทาง "ดุริยางค์ศาสตร์" อย่างกว้างขวาง รวมทั้งเริ่มหัดเครื่องดนตรีชนิดอื่นอีกหลายอย่างเช่น คลาริเนท ฟรุต และทรอมโบน ในปี พ.ศ. 2444 ท่านได้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนอัสสัมชัญ จนถึง พ.ศ. 2445 เป็นครูอยู่ 2 ปีก็ลาออกจากนั้นก็สมัครเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวงแผนกเดินรถ ถึง พ.ศ. 2456 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น "ขุนเจนรถรัฐ" ท่านรับราชการอย่างสามารถอยู่ที่กรมรถไฟหลวงเป็นเวลา 14 ปี ด้วยความอัจฉริยะทางดนตรีอันเป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง จากนั้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2460 รัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไปรับราชการในกรมมหรสพ มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยปลัดกรมกองเครื่องสายฝรั่ง มีหน้าที่ฝึกฝนอบรมนักดนตรีทางการปฏิบัติเครื่องดนตรี สำหรับวงดนตรีฝรั่งหลวงแห่งราชสำนัก แล้วได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "หลวงเจนดุริยางค์" เมื่อได้รับการทาบทามให้ไปอยู่กรมมหรสพนั้นท่านลังเลใจอยู่ เนื่องจากรำลึกถึงคำกำชับของบิดาว่ามิให้ยึดถือและอาศัยวิชาดนตรีที่ท่านได้ให้ไว้นั้นเป็นอาชีพอย่างเด็ดขาด เพราะ 

        "คนไทยเราไม่ใคร่สนใจในการดนตรีเท่าใดนัก ชอบทำกันเล่น ๆ สนุก ๆ ไปชั่วคราว แล้วก็ทอดทิ้ง" แต่เนื่องจากเป็นพระบรมราชโองการจึงต้องไป ท่านได้ทุ่มเทเวลาความสามารถทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ฝึกฝนนักดนตรีรุ่นใหม่ได้บังคับบัญชาอย่างกวดขัน ชั่วเวลาเพียง 2 - 3 ปีเท่านั้น วงดุริยางค์สากลวงแรกของไทยก็สามารถออกบรรเลงโชว์ฝีมือในงานพระราชพิธีต่าง ๆ จนได้รับคำชมเชยจากผู้ฟังทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากมาย ถึงกับกล่าวกันว่า เป็นวงเก่งที่สุดในภาคตะวันออก จากความสามารถดังกล่าวนี้เองท่านก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระเจนดุริยางค์" ตำแหน่งปลัดกรมกองดนตรีฝรั่งหลวง เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 24 ทำให้กิจการดนตรีสากลของไทยมีมาขึ้นทัดเทียมกับต่างประเทศ และจากความสามารถในการจัดสร้างวงดุริยางค์สากลได้สำเร็จเป็นอย่างดีขั้นต้น ในปี 2470 ท่านจึงได้ถูกขอร้องให้ไปช่วยเหลือปรับปรุงวงดนตรีของกองทัพเรือ ฃึ่งมีวงโยธวาทิต (แตรวง) และวงดุริยางค์ 

        ปี พ.ศ. 2473 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตสภา ได้ทรงเริ่มจัดการให้พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนากระทรวงวัง เจ้าสังกัดวงปี่พาทย์และโขนหลวง สั่งให้ครูดุริยางค์ดนตรีและผู้ชำนาญการจดโน้ตเพลงมาร่วมกันบรรเลง และบันทึกเป็นตัวโน้ตไว้ทั้งนี้กระทำกัน ณ วังวรดิศ สัปดาห์ละ 2 วัน จนถึง พ.ศ. 2475 ก็หยุดชงักไปชั่วคราว พระเจนดุริยางค์ก็มีส่วนร่วมในการบันทึกโน้ตคือ มีหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการบันทึกโน้ต ซึ่งเป็นผลงานที่ท่านภาคภูมิในยิ่งอีกชิ้นหนึ่ง มาเมื่อปลายปี 2474 พระเจนฯได้พบปะกับเพื่อนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่ผู้หนึ่ง ซึ่งสนิทสนมกันมาก่อนคือ นาวาตรี หลวงวินิจเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ซึ่งเป็นผู้ขอร้องให้พระเจนฯ แต่งเพลงให้บทหนึ่งให้มีทำนองเป็นเพลงที่มีความคล้ายคลึงกับเพลงชาติฝรั่งเศส ท่านก็ตอบว่าไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เพราะเพลงชาติที่มีชื่อ สรรเสริญพระบารมีของเราก็มีอยู่แล้ว นายทหารเรือผู้นั้นก็ตอบว่า อยากจะให้ไทยเรามีเพลงปลุกใจเพิ่มขึ้นอีกบ้าง เพราะเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นเพลงของพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนเพลงของประชาชนนั้นไม่มี พระเจนก็ได้ตอบปฎิเสธไป เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปรากฎว่าเพื่อนคนนั้นได้ร่วมในคณะผู้ก่อการด้วย และขอร้องให้ท่านแต่งทำนองเพลงเพลงชาติให้ได้โดยบอกว่าเป็นความประสงค์ของผู้ก่อการท่านจึงยากที่จะปฏิเสธ และท่านได้ขอให้เวลาสำหรับแต่งเพลงสำคัญนี้ 7 วัน แต่พอจะครบกำหนดท่านก็ยังไม่สามารถแต่งได้จนกระทั่งถึงวันสุดท้าย ขณะที่ท่านกำลังนั่งรถรางสายบางขุนพรหมจะไปทำงานตามปกติ ท่านจึงเกิดนึกทำนองเพลงชาติขึ้นมาได้พอไปถึงที่ทำงานจึงลองเล่นเปียโนดูพร้อมกับจดโน้ตไว้ ปรากฏว่าสามารถใช้ได้ทันการพอดี ดังนั้นท่านจึงได้แต่งทำนองเพลงชาติขึ้นเป็นทำนองเพลงมารช์ใช้ได้คึกคักเร่งเร้าใจ ดังที่เราได้ยินได้ฟังกันอยู่อย่างทุกวันนี้ สำหรับเนื้อร้องของเพลงชาตินั้นเดิมเป็นของขุนวิจิตร มาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) และนายฉันท์ ขำวิไล ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นของ พ.อ. หลวงสารานุประพันธ์ ทั้งร้องอยู่ในปัจจุบัน 

        พ.ศ. 2477 กิจการของวงดนตรีสากลได้ย้ายไปสังกัดในกรมศิลปากร งบประมาณถูกตัดโดยทางราชการมีข้อเสนอให้เลือก 2 ประการคือ ให้ปลดนักดนตรีออกครึ่งหนึ่ง และให้ลดเงินเดือนของแต่ละคนออกครึ่งหนึ่ง ซึ่งพระเจนฯ ไม่สามารถจะเลือกปฏิบัติแต่อย่างใดได้เลย พอปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ส่งท่านไปดูงานดนตรีในต่างประเทศ เมื่อท่านกลับมาแล้วในพ.ศ. 2483 ได้ไปประจำอยู่กองทัพอากาศ

  เพื่อจัดตั้งวงดนตรีของกองทัพอากาศขึ้น เพื่อบรรเลงเพลงประกอบภาพพจน์ด้วย พอถึง พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรก็เรียกตัวท่านคืน กิจการดนตรีสากลของกรมศิลปากรเมื่อถูกตัดงบประมาณลงไปแล้ว ทำให้ทรุดโทรมเรื่อยมา นักดนตรีบางพวกก็แยกย้ายกระจัดกระจายกันไปอยู่ที่อื่น เช่นไปอยู่กับคณะละครของกรมศิลปากรไปอยู่กับวงดนตรีแจ๊สของกรมโฆษณากร (กรมประชาสัมพันธ์) ตัวคุณพระเองก็ถูกปลดจากตำแหน่งหัวหน้ากองดุริยางค์ศิลปากรไปรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดดนตรีสากล แต่พอโรงเรียนฝึกหัดครูดนตรีสากลล้มเลิกไป ท่านก็ได้ตำแหน่งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาการดนตรีประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้น พ.ศ. 2490 ทางราชการได้มีคำสั่งให้พระเจนฯ ย้ายไปประจำกองการสังคีต กรมศิลปากร เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุงวงดุริยางค์สากลให้ได้มาตรฐานดีเช่นเดิม แต่ท่านก็ได้พบอุปสรรค์มากมาย จึงเสนอขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาดนตรีขึ้น เพื่อผลิตนักดนตรีใหม่แต่ไม่เป็นผลท่านจึงได้ลาออกจากกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2497 รวมเวลาที่ท่านได้รับราชการในกรมมหสพและกรมศิลปากรเป็นเวลา 37 ปี เต็ม หลังจากออกจากราชการแล้ว ท่านก็ยังคงทำงานในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญแผนกดุริยางค์สากลของกรมศิลปากรอยู่อีกต่อไป ในบั้นปลายของชีวิตท่านถูกขอยืมตัวจากกรมศิลปากร ไปอยู๋ในกรมตำรวจ ท่านจัดตั้งวงดุริยางค์ตำรวจให้กับโรงเรียนพลตำรวจในภาคต่าง ๆ รวมทั้งโรงเรียนพลตำรวจนครบาล พร้อมกันนี้ท่านก็ได้รวบรวมตำราแบบเรียน แบบฝึกหัด สำหรับอบรมนักดนตรีในโยธวาทิตเพื่อทำหน้าที่เป็นครูฝึกนักดนตรีอีกด้วย ด้วยผลงานที่ท่านปฏิบัติมาก เป็นเหตุให้กรมตำรวจขอโอนท่านจากกรมศิลปากรมารับราชการในกรมตำรวจในตำแหน่งผู้อำนวยการฝึกสอนดนตรีและผู้เชี่ยวชาญวิชาดนตรี ประจำกองดุริยางค์ตำรวจ จนกระทั่งถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2511

        พระเจนดุริยางค์ได้แต่งบทเพลงอันไพเราะไว้มากพร้อมทั้งแยกเสียงประสาน เพื่อใช้เล่นกับวงดุริยางค์สากลได้อีกด้วย บทเพลงเหล่านี้ได้แก่ เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องบ้านไร่นาเรา เรื่องพระเจ้าช้างเผือก และบทเพลงในมหาอุปรากรเรื่อง "มหาดารณี" เป็นต้นนอกจากนี้ท่านยังได้นำเพลงไทยเดิมแยกประสานเสียง สำหรับบรรเลงด้วยวงดุริยางค์สากลหลายเพลงเช่น เพลงเขมรไทรโยค แขกเชิญเจ้า ต้นบรเทศ สุธากันแสง มหาฤกษ์ มหาชัย เป็นต้น ท่านได้แต่งตำราวิชาการดนตรีสากลไว้หลายเล่ม ซึ่งล้วนมีคุณค่าสำหรับประเทศไทย เช่น การดนตรี หลักวิชาการดนตรี และการขับร้อง แบบเรียนวิชาการประสานเสียงเล่ม 1 และ เล่ม 2 แบบเรียนดุริยางค์สากล ท่านได้อบรมลูกศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถในเรื่องดนตรีสากลเป็นจำนวนมากมายหลายคนกำลังเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงหรือหัวหน้าวงที่มีชื่อเช่น เอื้อ สุนทรสนาน ,สง่า อารัมภีร์, ชลหมู่ ชลานุเคราะห์, สุรพล แสงเอก และเรืออากาศโท ประกิจ วาทะยากร (บุตรของท่านเอง)

       มรณกรรมของคุณพระเจนดุริยางค์ ปรมาจารย์ทางดนตรีสากล เจ้าของทำนองเพลงชาติไทย อันเร้าใจและอมตะ และเป็นผู้วางรากฐานทางดนตรีสากลในเมืองไทยให้เป็นหลัก นับเป็นการสูญเสียงครั้งยิ่งใหญ่ในการดนตรีไทย แม้ว่าตัวของท่านจะจากไป แต่ผลงานอันเป็นอมระของท่านก็ยังคงอยู่ในความทรงจำของพวกเราชาวไทยตลอดไป 

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

คุณครูมนัส ปิติสานต์ ศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรีไทยสาก


ประวัติการเรียนดนตรีอาจารย์มนัส ปิติสานต์
เรียนหนังสือที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ แล้วย้ายมาเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนเนติศึกษา ย่านราชวัตร จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ย้ายไปเรียนที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ เป็นลูกศิษย์ของพระเจนดุริยางค์ รุ่นเดียวกับสง่า อารัมภีร ปรีชา เมตไตรย์ และชลหมู่ ชลานุเคราะห์ และเข้ารับราชการ เป็นนักดนตรีของกองดุริยางค์ทหารอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 จนเกษียณอายุราชการ
รายชื่อ นักเรียนดุริยางค์ทหารอากาศรุ่นที่อาจารย์มนัส ปิติสานต์เรียน รุ่นที่ 1
รุ่นที่ ๑ พ.ศ.๒๔๘๕ บรรจุตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๘๕ จำนวน ๕๗ คน เป็นชาย ๔๓ คน หญิง ๑๔ คน (หลักสูตร ๒ ปี) 
     ๑. นักเรียนดนตรี ระแวง เกิดคล้าย(พินิจ) ๒. นักเรียนดนตรี วงศ์ เกิดคล้าย ๓. นักเรียนดนตรี จรูญ วาทยะกร
๔. นักเรียนดนตรี พร้อม พูลระผลิน๕. นักเรียนดนตรี ละเอียด นาคสุวรรณ(ดนัย)๖. นักเรียนดนตรี อารี สุขะเกศ
๗. นักเรียนดนตรี ลักษณ์ สุหิตพันธ์ ๘. นักเรียนดนตรี วิพัธ รัตนางสุ ๙. นักเรียนดนตรี ปรีชา เมตไตรย์
๑๐. นักเรียนดนตรี มนัส ปิติสานต์ ๑๑. นักเรียนดนตรี ประเสริฐ จุลเกตุ(หัวหน้าชั้น) ๑๒. นักเรียนดนตรี ฉัตร บุญลาภ
๑๓. นักเรียนดนตรี ประทาน นันทประไพ ๑๔. นักเรียนดนตรี นรินทร์ โหมาสชิน ๑๕. นักเรียนดนตรี สถิตย์ วงศ์ศิริ
๑๖. นักเรียนดนตรี ไพโรจน์ ฮวบสกุล (ดุริยางค์เศรษฐ)๑๗. นักเรียนดนตรี ฑีฆา โพธิเวส ๑๘. นักเรียนดนตรี สุวิช อินธำรงค์
๑๙. นักเรียนดนตรี จำนงค์ สวัสดิกิจ ๒๐. นักเรียนดนตรี ทองดี ศรีเสนาะ ๒๑. นักเรียนดนตรี สมทรัพย์ จักษุดี
๒๒. นักเรียนดนตรี ณรงค์ วงษ์รักษ์ ๒๓. นักเรียนดนตรี จำนงค์ ไวทยะนันท์ ๒๔. นักเรียนดนตรี วิบูลย์ อินทรตุล
๒๕. นักเรียนดนตรีอุดม ปิ่นทอง ๒๖. นักเรียนดนตรี บุญแสม ทองอยู่ ๒๗. นักเรียนดนตรี ประยูร จันทรพัฒน์
๒๘. นักเรียนดนตรี เผชิญ พราหมณ์สุทธิ ๒๙. นักเรียนดนตรี สนิท พงษ์โชติ ๓๐. นักเรียนดนตรี สมใจ ม่วงคุ้มประสิทธิ์
๓๑. นักเรียนดนตรี สมพร ศิริสัมพันธ์ ๓๒. นักเรียนดนตรี สุวรรณ์ ทองนิ่ม๓๓.นักเรียนดนตรี สุนทร พงษ์กาญจนสิงห์
๓๔. นักเรียนดนตรี ชลหมู่ ชลานุคราะห์ ๓๕. นักเรียนดนตรี สวัสดิ์ บุญกังวาล ๓๖. นักเรียนดนตรี ประพันธ์
๓๗. นักเรียนดนตรี เรวัตร ๓๘. นักเรียนดนตรี แขไข ๓๙. นักเรียนดนตรี สมชาย จันทพวงศ์(บุหงา)
๔๐. นักเรียนดนตรี จำรัส ๔๑. นักเรียนดนตรี กิจจา ๔๒. นักเรียนดนตรี ญวง
๔๓.นักเรียนดนตรี จำรัส ๔๔. นักเรียนดนตรีหญิง ประสมจิตต์ วาทยะกร(ประสาน)๔๕. นักเรียนดนตรีหญิง ประถม น้อยรอด
๔๖. นักเรียนดนตรีหญิง สุดา จัตตุรัส ๔๗. นักเรียนดนตรีหญิง ประนอม วาทะนันท์ ๔๘. นักเรียนดนตรีหญิง กาญจนา
๔๙. นักเรียนดนตรีหญิง อุตสาห์ ๕๐. นักเรียนดนตรีหญิง เฉลา วิบูลรัตน์ ๕๑. นักเรียนดนตรีหญิง เรณู พักร้อง
๕๒. นักเรียนดนตรีหญิง แฉล้ม ๕๓. นักเรียนดนตรีหญิง บรรจง มุขะวาทิน ๕๔. นักเรียนดนตรีหญิง บุหงา ฉินโฉม(พราหมณ์สุทธี)
๕๕. นักเรียนดนตรีหญิง มรว.แขไข ๕๖. นักเรียนดนตรีหญิง สุรีย์ รอดหมู ๕๗. นักเรียนดนตรีหญิง เสาวณีย์ พรหมประภัสศร
      หมายเหตุ หมายเลข ๓๔ - ๕๗ ลาออกก่อนได้รับการบรรจุเป็น พลดุริยางค์ 

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

คุณครูมนัส ปิติสานต์ ศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรีไทยสากล ประจำปี 2555


มนัส ปิติสานต์ (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 - ) เป็นนักดนตรี และนักแต่งเพลง ที่มีชื่อเสียง เกิดที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของนายมูล และนางจำเริญ ปิติสานต์ บิดารับราชการจึงติดตามบิดามาเรียนหนังสือที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ แล้วย้ายมาเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนเนติศึกษา ย่านราชวัตร จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ย้ายไปเรียนที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ เป็นลูกศิษย์ของพระเจนดุริยางค์ รุ่นเดียวกับสง่า อารัมภีร ปรีชา เมตไตรย์ และชลหมู่ ชลานุเคราะห์ และเข้ารับราชการ เป็นนักดนตรีของกองดุริยางค์ทหารอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 จนเกษียณอายุราชการ
มนัส ปิติสานต์ มีโอกาสได้ร่วมงานกับสง่า อารัมภีร และปรีชา เมตไตรย์ เล่นดนตรี และแต่งเพลงร้อง เพลงละครเวที ให้กับคณะศิวารมณ์ของหม่อมหลวงทรงสอางค์ ฑิฆัมพร ต่อมาทั้งสามท่านได้ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรีกระชับมิตร ในปี พ.ศ. 2520
ครูมนัส ปิติสานต์ มีผลงานแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงเช่น เพลง "เสน่หา" (แต่งเมื่อ พ.ศ. 2507 ขับร้องโดยสุเทพ วงศ์กำแหง เมื่อ พ.ศ. 2509) "เหมือนคนละฟากฟ้า" (แต่งเมื่อ พ.ศ. 2503 คำร้องโดย จงรัก จันทร์คณา ขับร้องโดยธานินทร์ อินทรเทพ เมื่อ พ.ศ. 2506) "ระฆังใจ" "คืนนั้น" "ไม่มีเสียงเรียกจากใจ" "เพื่อเธอที่รัก" "เปลวไฟรัก"
ผลงานเพลงของครูมนัส ที่เป็นเพลงประกอบละครโทรทัศน์ ที่มีชื่อเสียง ได้แก่เพลง "พิภพมัจจุราช" (ชับร้องโดย วิเชียร ภู่โชติ [1]) "คืนคำรัก" "หุ่นไล่กา" "เพื่อเธอที่รัก" "ปอบผีฟ้า" "แม่นาคพระโขนง" "สิงหไกรภพ" "สี่ยอดกุมาร" "เสน่หาอาลัย" "ฝนรักฝนเศร้า" "เธอก็รู้" "ดาวพระศุกร์"
ผลงานเพลง "เหมือนคนละฟากฟ้า" ที่ครูมนัสแต่งคำร้อง ขับร้องโดยธานินทร์ อินทรเทพ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ครั้งที่ 1 ประเภทนักร้องชายชนะเลิศ เพลงไทยสากล ประเภท ก ประจำปี พ.ศ. 2507