วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ดนตรีแจ๊ส (JAZZ MUSIC)

ดนตรีแจ๊ส (Jazz Music )
              ดนตรีเป็นภาษาสากลอย่างหนึ่งที่คนทุกชาติ สามารถที่จะสื่อสารกันเข้าใจได้ และสามารถขจัดอุปสรรคทางภาษา วัย ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพราะภาษาดนตรีจะสื่อความหมายให้ทุกคนเข้าใจเป็นอย่างเดียวกัน ดนตรีจึงเป็นสื่อที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน แม้ว่าเป็นจะเป็นคนละชาติ คนละภาษา หรือต่างศาสนากันก็ตาม ดังพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า " การดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่สามารถก่อให้เกิดความปีติ ความสุข ความยินดี ความพอใจได้มากที่สุด หน้าที่ของนักดนตรีนั้นนอกจากจะสร้างความบันเทิงแล้ว ควรแสดงในสิ่งที่จะเป็นทางสร้างสรรค์ เช่น ชักนำให้คนเป็นคนดีด้วย "
ดนตรีแจ๊ส ( jazz music ) เป็นดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรด ประเภทของดนตรีแจ็สที่ทรงทโปรดนั้นคือ ดนตรีแจ๊สดิกซีแลนด์ ซึ่งเป็นสไตล์ชาวอเมริกันแห่งเมืองนิวออลีนส์ เป็นแจ๊สที่มีจังหวะตื่นเต้นครึกครื้นและสนุกสนานเร้าใจ เปิดโอกาสให้ผู้เล่นระบายอารมณ์และความรู้สึกออกมาเป็นทำนองเพลงได้อย่างเสรี นอกจากนี้ยังตั้งวงได้ง่ายเพราะใช้เครื่องดนตรีเพียงไม่กี่ชิ้นก็สามารถเล่นได้ เหมาะสำหรับนักดนตรีสมัครเล่นที่จะจับกลุ่มตั้งวงขึ้นในหมู่มิตรสหายที่คุ้นเคยได้เป็นอย่างดี และได้ทรงฝึกเครื่องดนตรีได้แก่เครื่องเป่าต่าง ๆ เช่น คลาริเน็ท , แซ็กโซโฟน ทรงได้รับการฝึกตามแบบฉบับการศึกษาวิชาดนตรีอย่างแท้จริง ทรงสนพระทัยศึกษาประวัติเหล่านักดนตรีที่มีชื่อเสียง และทรงเปรียบเทียบฝีมือการเล่นดนตรีต่าง ๆ จากแผ่นเสียงที่บรรเลงโดยนักดนตรีเหล่านั้น แล้วจึงทรงบรรเลงสอดแทรกพร้อมกับแผ่นเสียงของนักดนตรีที่มีชื่อเสียงตามสไตล์ที่โปรด เช่น สไตล์การเป่าโซพราโน แซ็กโซโฟน ของ ซิดนีย์ บิเชด, อัลโต แซ็กโซโฟน ของ จอร์นนี่ ฮอร์ด , เปียนโนและวงดนตรีของ ดุ๊ก เอลลิงตัน เป็นต้น ในครั้งหนึ่งนักข่าวชาวอเมริกันได้กราบบังคมทูลถามว่า พระองค์ทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สจริงหรือไม่ และโปรดดนตรีประเภทใดมากที่สุด มีพระราชดำรัสตอบว่า " ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า จะเป็นแจ๊สหรือไม่ใช่แจ๊สก็ตาม ดนตรีล้วนอยู่ในตัวคนทุกคน เป็นส่วนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตคนเรา สำหรับข้าพเจ้า ดนตรี คือ สิ่งประณีตงดงามและทุกคนควรนิยมในคุณค่าของดนตรีทุกประเภท เพราะว่าดนตรีแต่ละประเภทต่างก็มีความเหมาะสมตามแต่โอกาส และอารมณ์ที่ต่าง ๆ กันไป เมื่อพูดถึงการเล่นดนตรี ก็ต่างกันอีก ถ้าข้าพเจ้าเล่นเพลงคลาสสิค และมีใครทำเสียงดังอย่างงี้ ก็เป็นการรบกวน เพราะว่าดนตรีคลาสสิคต้องเล่นอย่างตั้งใจจริงจัง ข้าพเจ้าไม่ได้พักผ่อนเท่าไรนัก ต้องคอยระวังไม่ให้ผิดโน้ต และไม่ให้ใครมารบกวนข้าพเจ้า ถ้าหากว่าข้าพเจ้าต้องเล่นเพลงแจ๊ส ก็ดีกว่า เพราะว่าข้าพเจ้าเล่นทำนองได้ตามใจชอบ ตามที่รู้สึกในขณะนั้น ตามแต่อารมณ์และความนึกคิดของข้าพเจ้าจะพาไป ถ้าใครมาทำเสียงดังเวลานั้น ข้าพเจ้าก็ถือว่าเป็นเสียงประกอบ และถ้าข้าพเจ้าเล่นผิดโน้ต ก็เท่ากับว่า ข้าพเจ้าแต่งทำนองนั้นขึ้นเองในปัจจุบัน" จะเห็นได้ว่าสำหรับนักดนตรีบางคนนั้น คุณค่าของดนตรีมิได้อยู่ที่ความไพเราะระรื่นหูของจังหวะหรือความอ่อนหวานของท่วงทำนองเพียงอย่างเดียว แต่แท้ที่จริงแล้วคือความรู้สึกท้าทายที่เกิดจากเสียง *'บลูส์' ที่แปลกใหม่และจังหวะแจ๊สที่ขัดแย้งเร้าใจ
ดนตรีแจ๊สเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก "


แม้ในประเทศรัสเซียซึ่งเป็นประเทศคู่อริกับประเทศอเมริกาซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สก็ยังมีคนชมชอบดนตรีชนิดนี้ แจ๊สสืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นยุคสมัยตั้งแต่ยุคนิวออลีนส์จนถึงปัจจุบันนี้ เป็นแจ๊สยุคใหม่หรือที่เรียกว่าฟิวชั่นแจ๊ส (Fusion jazz) เพราะฉะนั้นการเข้าใจดนตรีแจ๊สทั้งทางด้านประวัติ และองค์ประกอบต่างๆของดนตรีแจ๊สจะทำให้เราเข้าใจดนตรีชนิดนี้มากขึ้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น