วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมายดนตรีแจ๊ส

ความหมายของ"แจ๊ส" [Jazz]
แจ๊ส [jazz] เป็นแนวดนตรีที่ยากสำหรับการหาคำจำกัดความ ทั้งนี้เพราะแจ๊สมีหลายประเภทเช่น บีบ๊อบ, คูลแจ๊ส, ฟรีแจ๊ส เป็นต้น ผู้ที่จะคำจำกัดความคำว่าแจ๊สนั้นไม่สามารถนำแจ๊สทุกประเภทมารวมกันแล้ว
ให้คำจำกัดความเป็นเพียงแค่อย่างเดียวได้และเป็นเพราะแจ๊สนิยมเล่นกันก่อนแล้วถึงมาจดโน้ตกันทีหลังซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้เลย
คำจำกัดความของคำว่าแจ๊สในพจนานุกรมไทยวัฒนาพานิช, สอ; เสถบุตร:jazz n.a.v.i. ดนตรีเต้นรำเล่นลัดจังหวะ, เล่นดนตรีชนิดนี้, เต้นรำ เข้ากับดนตรีชนิดนี้ (วิทูลย์ สมบูรณ์ 2542) สำหรับพจนานุกรมฉบับของ อ๊อคฟอร์ดให้คำจำกัดความไว้ว่า "เป็นดนตรีที่ถือกำเนิดจากชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันซึ่งมีจังหวะชัดเจนที่เล่นอย่างอิสระโดยการประสานกันขึ้นเองของนักดนตรีในขณะที่กำลังบรรเลง" และมีคำกล่าวที่ว่า"Jazz is not a feeling more than anything else" หรือ "Jazz is not what you play but how you play it" คำกล่าวนี้กล่าวถึงจังหวะที่เรียกกันว่าสวิง ในหมู่นักดนตรีแจ๊สเขาถือว่าใครที่เล่นสวิงไม่ได้ถือว่าเล่นแจ๊สไม่เป็น นอกจากนั้นยังปรากฎในเพลงเปรียบเปรยของ ดุ๊ก เอลลิงตั้น นักเปียนโน นักแต่งเพลง และหัวหน้าวงบิกแบนด์ที่มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลต่อดนตรีแจ๊สอย่างมากคนหนึ่งของโลก ในช่วงทศวรรษที่1930 - 1950 ในเรื่องสวิงว่า"It don't mean a thing (if it ain't got that swing)" ซึ่งจังหวะสวิงเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของดนตรีแจ๊ส.
  ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊ส
จากคำจำกัดความและคำพูดที่กล่าวมในตอนก่อน ๆ นี้ ทำให้ผู้อ่านความเข้าใจความหมายของคำว่า แจ๊ส เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ในตอนต่อไปจะกล่าวถึงต้นกำเนิดของดนตรีชนิดนี้ว่ามีที่มาอย่างไร
เพียงชั่วเวลาไม่ถึงศตวรรษ ศิลปะการดนตรีที่เรียกกันว่า''แจ๊ส'' (Jazz) ได้พัฒนาและเปลี่ยนผ่านสาระสำคัญในตัวเองอย่างไม่หยุดนิ่ง กระทั่งอาจจะทำให้ผู้นิยมในดนตรีแขนงนี้ที่ยึดติดหรือชมชอบเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเป็นการส่วนตัว ไม่สามารถติดตามเชื่อมโยงความต่อเนื่องในรูปแบบใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้ทันด้วยซ้ำไป เหตุนี้เอง แจ๊สจึงได้ชื่อว่าเป็นดนตรีสำหรับผู้มีจิตใจกว้างขวางโดยพื้นฐาน โดยมีจุดกำเนิดจากเพลงบลูส์, เพลงแรกไทม์, เพลงมาร์ชและเพลงพ๊อพ และกลายไปเป็นแจ๊สสไตล์ต่างๆในเวลาต่อๆมา
3.1 เพลงบลูส์
บลูส์ [Bluse] เป็นดนตรีที่เริ่มรู้จักกันในราวปี 1890 ลักษณะสำคัญคือ การใช้เสียงร้องหรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนไปจากเสียงในบันไดเสียงปรกติ ซึ่งเรียกว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต (b5) และการไสลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในไทม์ซิกเนเจอร์ สี่/สี่ (4/4) ใน 1 ท่อนเพลงจะมี 12 ห้องเพลง (12 Bar Bluse ) การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี แบสซี สมิธ(Bassie Smith)เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการร้องเพลงบลูส์นี้

3.2 เพลงแรคไทม์
แรกไทม์ เป็นดนตรีที่นิยมกันในช่วงระหว่าง 1890 - 1915 ลักษณะของแรคไทม์คือดนตรีสำหรับเปียโนที่ใช้จังหวะขัดเป็นหลัก เป็นเพลงในอัตราไทม์ซิกเนเจอร์ สอง/สี่ (2/4)หรือจังหวะมาร์ช ในขณะที่การบรรเลงเปียนโนโดยมือขวาเป็นแนวทำนองที่ใช้จังหวะขัด มือซ้ายจะรักษาจังหวะตบในลักษณะของเพลงมาร์ช ผู้ที่จัดเป็นราชาเพลงแรกไทม์คือ สก็อต จ๊อปลิน(Scott Joplin) เขาเป็นผู้ผสานเพลงแรกไทม์ เพลงพ็อพยุคนั้นกับเพลงคลาสสิกเบาๆเข้าไว้ด้วยกัน

3.3 เพลงมาร์ช
วงดนตรีที่ใช้นำขบวนแห่ต่างๆตามถนนในเมืองนิวออลีนส์ในช่วงต่อระหว่างศตวรรษนั้น ล้วนแต่เป็นวงโยธวาธิตหรือมาร์ชิงแบนด์ทั้งสิ้น ดังนั้นดนตรีประเภทมาร์ชจึงเป็นดนตรีหลักของวงเหล่านั้น และเป็นวัตถุดิบสำหรับวงคอมโบทั้งหลายด้วย นอกจากนี้ มาร์ชยังเป็นต้นแบบของแจ๊สในด้านเครื่องดนตรีประเภทเครื่อง.... และวิธีตีกลอง ตลอดจนวิธีการผสมวงขนาดใหญ่ในภายหลังอีกด้วย

3.4 เพลงยอดนิยมหรือเพลงพ็อพ (POP)
เพลงยอดนิยมของชนต่างๆที่อยู่ในนิวออลีนส์ คือ วัตถุดิบอีกกลุ่มหนึ่งสำหรับดนตรีแจ๊ส ทำนองของเพลงเหล่านี้จำนวนมาก เป็นต้นแบบสำหรับการด้น (อิมโพไวท์เซชั่น) ซึ่งทำให้จำนวนหนึ่งกลายเป็นบทบรรเลงที่งดงามและสำคัญยิ่งกว่าทำนองเดิมด้วย


ดนตรีทั้ง 4 แบบที่กล่าวมานี้มีบทบาทต่อวิวัฒนาการของแจ๊สมากน้อยไม่เท่ากัน แบบที่ถือว่าเป็นที่มาหลักเสมือนกระดูกสันหลังของแจ๊ส ได้แก่ 2 แบบแรก คือ ดนตรีบลูส์ และ ดนตรีแรคไทม์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น