มหาดุริยกวีร่วมสมัยจากคลาสสิกสู่โรแมนติก
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)และ ลุควิก ฟาน เบโธเฟน
นายยงยุทธ เอี่ยมสอาด
ครูหลวงประดิษฐไพเราะ( ศร ศิลปบรรเลง) ได้รับการยกย่องอย่างสูงว่าเป็น
มหาดุริยกวีลุ่มน้ำเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์ เพราะท่านถือกำเนิดอยู่ลุ่มน้ำแม่กลองที่นับเนื่องอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเจริญรุ่งเรืองอยู่ในกรุงเทพฯที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง จากนั้นได้ตระเวนไปตามบ้านเมืองต่างๆในละแวกอุษาคเนย์แล้วได้รับความบันดาลใจจากทำนองเพลงของบ้านเมืองเหล่านั้นมาสร้างสรรค์เพลงไทยได้อย่างหลากหลายสืบทอดมาถึงปัจจุบัน และคงจะยืนยาวต่อไปนิรันดร
ประเทศไทยในรอบร้อยยี่สิบกว่าปี มีคนเกิดมาบนผืนแผ่นดินนี้มากมายเกิดแก่เจ็บตายด้วยกฏอนิจจัง หลายคนจากไปอย่างไร้ร่องรอย หลายคนถูกลืมเลือนด้วยกาลเวลา หลายคนยังอยู่ในความทรงจำ อยู่ในความระลึกนึกถึงของผู้คนร่วมสังคมร่วมยุคสมัยได้ฝากผลงานไว้เป็นอนุสรณ์ให้คำนึงถึง และพลังปัญญา เป็นเส้นทางให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และเติบโตก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ ในจำนวนคนดีมีค่าของแผ่นดินในรอบร้อยยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา มีหลวงประดิษฐไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ๒๔๒๔ - ๒๔๙๗ ) สามัญชนจากลุ่มน้ำแม่กลองสมุทรสงคราม ผู้ที่ควรแก่การได้รับการยกย่องในฐานะมหาดุริยกวีลุ่มน้ำเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์ อยู่ด้วยผู้หนึ่ง ช่วงชีวิตของหลวงประดิษฐไพเราะเป็นช่วงที่คาบเกี่ยวอยู่ในยุคที่ดนตรีไทยรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งในด้านมีนักดนตรีที่ความสามรถสูงเกิดมาแสดงฝีมือให้เห็นเป็นที่ประจักษ์กัน มีดุริยกวีที่ร่วมกันเนรมิตผลงานดนตรีเอาไว้ในแผ่นดินมากมาย มีผู้ฟังและผู้ที่สามารถให้การอุปถัมภ์ค้ำชูนักดนตรีให้มีชีวิตอยู่สุขสบาย มีความมั่นคงในทางเศรษฐกิจและ สังคม ถือเป็นช่วง
๑
อานันท์ นาคคง, อัษฎาวุธ สาคริก,สุจิตต์ วงษ์เทศ.หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)มหาดุริยกวีลุ่มน้ำเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์.(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มติชน,๒๕๔๔)หน้า๑๓,๒๑
ยุคทองของดนตรีไทยทีเดียว ก่อนที่จะล้าแรงและร่วงโรยลงในกาลต่อมา ถ้าคำกล่าวที่ว่าชีวิตคือการเดินทางเป็นจริง บทเพลงนับร้อยนับพันของครูหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) คือบันทึกการเดินทางเล่มใหญ่ที่ควรค่าแก่การศึกษาและจดจำ เป็นบทบันทึกที่ผ่านการกลั่นกรองด้วยความรู้สึกนึกคิด ความสะเทือนใจ ความประทับใจในเบื้องลึกของอารมณ์ศิลปินที่ได้สั่งสมมาตลอดชั่วอายุขัยของคีตกวี ๕ แผ่นดินของท่าน
โลกาภิวัฒน์ – โลกไร้พรมแดน มิใช่พึ่งเกิดเมื่อไม่กี่ปีนี้ หากแต่เริ่มต้นมานานแล้วในยุคที่สยามประเทศเริ่มย่างก้าวเข้าสู่อารยธรรมแผนใหม่และความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก ในช่วงที่หลวงประดิษฐไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง )กำลังรุ่งเรืองทางดนตรีไทยในอีกซีกโลกหนึ่ง โลกดนตรีตะวันตกก็มีคีตกวีท่านหนึ่งได้แก่ ลุควิก ฟาน เบโธเฟน ( Ludwig van Beethoven ) ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน ผู้ยิ่งใหญ่ในโลกดนตรีตะวันตก เป็นผู้นำในรูปแบบใหม่จากยุคคลาสสิกมาสู่ยุคโรแมนติก เบโธเฟน นำเสนอผลงานที่มีลักษณะของความเป็นตัวของตัวเอง เนื้อหาเพลงเต็มไปด้วยการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเด่นชัด ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกแตกต่างไปจากการฟังเพลงตามแนวยุคคลาสสิก
อย่างไรก็ดีความเหมือนในสองคีตกวีของสองซีกโลก ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านได้มีแนวทางเป็นตัวของตัวเองโดยเด่นชัดจึงสามารถสร้างจุดเปลี่ยนทางดนตรีได้ อทิเช่น หลวงประดิษฐไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) กับการประชันระนาดครั้งสำคัญโดยการเชิดต่อตัวได้สร้างจุดเปลี่ยนในการตีระนาดเอก
๒
กล่าวคือการตีระนาดเอกที่เป็นแบบแผนโบราณอย่างพระยาเสนาะดุริยางค์หรือนายแช่มที่ตีระนาดไหวแบบเก่าคือ ตีในลักษณะแม่มือที่เป็นคู่ ๘ ประกอบกับการรักษาความเจิดจ้าชัดเจนของเสียงระนาดไม่ยอมตีระ หรือเกลือกให้เสียเสียง ยิ่งตีไหวจ้ามากขึ้นเท่าใดก็ต้องใช้กำลังแขนไหล่มากขึ้นเท่านั้น แต่หลวงประดิษฐไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง )ได้สร้างจุดเปลี่ยนในการตีระนาดแบบใหม่โดยการตีระนาดที่ใช้ไหวพริบเปลี่ยนทางเพลงได้รวดเร็วและไพเราะ ตั้งแต่นั้นมาทางระนาดแบบโลดโผนวิจิตรพิสดารคือการสะบัด รัวขยี้ แบบต่างๆของหลวงประดิษฐไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) ก็ได้รับความนิยมแพร่หลายมากกว่าจนถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนยุคสมัยในความนิยมการตีระนาดก็ว่าได้ นอกเหนือจากการคิดค้นวิธีการตีระนาดอย่างที่กล่าวมาแล้วยังเป็นผู้สร้างเพลงตีระนาดด้วยวิธี “กรอ” อย่างอ่อนหวานเป็นแบบฉบับอีกด้วย
๓
อานันท์ นาคคง, อัษฎาวุธ สาคริก,สุจิตต์ วงษ์เทศ.หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)มหาดุริยกวีลุ่มน้ำเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์.(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มติชน,๒๕๔๔)หน้า๖๕
ตารางการเปรียบเทียบมหาคีตกวีร่วมสมัยหลวงประดิษฐไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) และ ลุควิก ฟาน เบโธเฟน
ยุคคลาสสิก ค.ศ. ๑๗๕๐ - ๑๘๒๐ Classical Period | ยุคโรแมนติก ค.ศ. ๑๘๒๐ - ๑๙๐๐ Romantic Period | ||
หลวงประดิษฐไพเราะ( ศร ศิลปบรรเลง ) พ.ศ.๒๔๒๔ –๒๔๙๗ | บรรเลงระนาดเอกถวายสมเด็จกรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดชต่อมาประทานยศเป็นจางมหาดเล็ก | บรรเลงระนาดแบบใหม่โดยการตีระนาดที่ใช้ไหวพริบเปลี่ยนทางเพลงได้รวดเร็วและไพเราะ ตั้งแต่นั้นมาทางระนาดแบบโลดโผนวิจิตรพิสดารคือการสะบัด ขยี้ แบบต่างๆ ก็ได้รับความนิยมแพร่หลายมากกว่าจนถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนยุคสมัยในความนิยมการตีระนาดก็ว่าได้ | |
ลุควิก ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven ) ค.ศ. ๑๗๗๐ - ๑๘๒๗ | เติบโตมากับสภาพแวดล้อมทางดนตรีจึงทำให้รักและเรียนรู้ดนตรีเป็นอาชีพจนได้รับความสำเร็จสูงสุดในการแสดงคอนเสิร์ต | เบโธเฟนเป็นผู้นำในการประพันธ์เพลงในรูปแบบใหม่ในลักษณะดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้ประพันธ์ ไม่จำเป็นต้องมีกฏเกณฑ์แน่นอนตายตัว ดนตรีในยุคนี้จึงมีทั้งดนตรีบริสุทธิ์ และดนตรีบรรยายเรื่องราว เป็นผู้นำดนตรีในรูปแบบใหม่จากยุคคลาสสิกมาสู่ยุคโรแมนติก |
เช่นเดียวกันกับ เบโธเฟนเป็นผู้นำในการประพันธ์เพลงในรูปแบบใหม่ในลักษณะดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้ประพันธ์ ไม่จำเป็นต้องมีกฏเกณฑ์แน่นอนตายตัวดังยุคคลาสสิกอีกต่อไป ดนตรีในยุคนี้จึงมีทั้งดนตรีบริสุทธิ์ ( Absolute Music ) และดนตรีบรรยายเรื่องราว
( Program Music ) เป็นผู้นำดนตรีในรูปแบบใหม่จากยุคคลาสสิกมาสู่ยุคโรแมนติก
จุดเปลี่ยนทางดนตรีของสองคีตกวีสองซีกโลกอย่างหนึ่งที่เห็นได้เด่นชัดก็คือลีลาของดนตรี ( Style ) ลีลาของดนตรีที่สื่อความหมายความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ความไม่เหมือนใคร ความเป็นส่วนตัว ในส่วนของดนตรีนั้นความหมายของคำว่าลีลามักจะเข้าใจกันว่า หมายถึงลีลาของนักดนตรี – นักร้องแต่ละคนอย่างไรก็ตาม หากพิจราณาถึงความหมายของคำในเชิงดนตรี โดยยึดหลักอักษรศาสตร์แล้วคำว่าลีลาจะมีความหมายครอบครุมไปถึงลักษณะพิเศษของการเล่นดนตรีของศิลปินแต่ละคน ลักษณะดนตรีของแต่ละสกุล ( School ) และลักษณะของดนตรีในแต่ละยุคสมัย ( Period )
Oxford Advanced Learner’s Dictionary of Current English ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า Style ไว้อย่างกะทัดรัดดังนี้ Manner of Writing or Speaking, manner of doing anything, esp. when it is characteristic of an artist or a period of art. ซึ่งหมายถึงลักษณะลีลาของการเขียนหรือการพูด ลักษณะท่าทีของการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปินเป็นรายบุคคล หรือยุคสมัยของศิลปะสมัยใดสมัยหนึ่ง
ลีลาของผู้ประพันธ์เพลงนั้น รู้จักกันในหมู่นักดนตรีไทยว่า “ทางครู” หรือลีลาของการประพันธ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของครูผู้ประพันธ์เพลงคนใดคนหนึ่ง ฉะนั้น “ทางครู” ในดนตรีไทยสามรถเปรียบเทียบได้กับ “สำนวนประพันธ์” ในส่วนของงานสร้างสรรค์ด้านวรรณกรรมนั่นเอง เพลงไทยที่ขับร้องและ บรรเลงสืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้มีเพลงไทยจำนวนหนึ่งที่มีชื่อเป็นเพลงเพลงเดียวกัน แต่มีคนแต่งมากกว่าหนึ่งคน การที่มีผู้แต่งมากกว่าหนึ่งคนนั้น ไม่ใช่เป็นการแต่งร่วมในผลงานชิ้นเดียวกัน แต่เป็นผลงานคนละชิ้นที่แยกกันแต่ง โดยผลงานเพลงที่แยกกันแต่งนั้นจะมีโครงสร้างหลักของเพลงที่เท่ากัน มีความยาวของเพลงที่เท่ากัน และใช้จังหวะหน้าทับเดียวกัน เช่นเพลงพม่าห้าท่อน แขกลพบุรีและเชิดจีนเป็นต้น
ทางเพลงของครูดนตรีไทยที่นักดนตรีในปัจจุบันนำมาขับร้องและบรรเลงกันโดยทั่วไปในหนึ่งทางที่ไม่เคยจางหายจากความนิยมได้ก็คือทางเพลงของครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) มหาดุริยกวีลุ่มน้ำเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์ เช่นเดียวกันในระยะ ๕๗ ปี ของชีวิตเบโธเฟน กล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในรูปแบบใหม่จากคลาสสิกสู่โรแมนติก ด้วยความตั้งใจจริงผนวกกับความมีอัจฉริยะภาพ ทำให้เบโธเฟนเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล บทเพลงของเบโธเฟนยังคงเป็นที่นิยมฟังและนิยมบรรเลงกันตลอดมา จึงสามารถกล่าวได้ว่าหลวงประดิษฐไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง )และ ลุควิก ฟาน เบโธเฟนเป็นมหาดุริยกวีร่วมสมัยจากคลาสสิกสู่โรแมนติก
บรรณานุกรม
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย.( ฉบับปรับปรุง ). พิม์ครั้งที่ ๒ . กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๒.
ณรุทธิ์ สุทธจิตต์. สังคีตนิยมความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก ( ฉบับปรับปรุงแก้ไข ).พิมพ์ครั้งที่ ๔
กรุงเทพฯ : สำนักพิพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๖
ปัญญา รุ่งเรือง. ประวัติการดนตรีไทย( ฉบับปรับปรุง ). พิพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๖.
ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทยภาคีตะ – ดุริยางค์ ( ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ).
พิพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕.
อานันท์ นาคคง, อัษฎาวุธ สาคริก,สุจิตต์ วงษ์เทศ.หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)
มหาดุริยกวีลุ่มน้ำเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มติชน , ๒๕๔๗.
Engine by igetweb.com. การแบ่งยุคสมัยทาประวัติศาสตร์ไทย. ๒๕๕๑.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น