วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

วิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิต มศว ประสารมิตร(ฝ่ายมัธยม)

 

วิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม)

โดย อาจารย์ยงยุทธ เอี่ยมสอาด

 



พหุศิลปศึกษา (ARTS EDUCATION)

วิชาเอกดนตรี ก่อตั้งขึ้น ปีการศึกษา 2547 โดยการร่วมมือระหว่างคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) ได้ร่วมสร้างหลักสูตรพหุศิลปศึกษา (ARTS EDUCATION)

          หลักสูตรพหุศิลปศึกษา (ARTS EDUCATION) เป็นวิชาสามัญบังคับและเลือก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ หรือเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ความสามารถและประสบการณ์ชีวิต หลักสูตรพหุศิลปศึกษาไม่ใช่หลักสูตรกวดวิชา เรียนลัด หรือเพื่อการเตรียมตัวสำหรับศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา แต่เป็นวิชาสามัญพื้นฐานเพื่อการพัฒนาสภาพการรู้คิด และศักยภาพทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อเสริมให้หลักสูตรในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความสมบูรณ์ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ยิ่งขึ้น

          คณาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) ร่วมกันพัฒนาหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา สื่อการเรียนรู้ และร่วมกันสอน หลักสูตรพหุศิลปศึกษาแยกเป็น 5 กลุ่มวิชา ดังนี้

1.       กลุ่มศิลปะการแสดง (PERFORMING ART)

2.       กลุ่มวิชานาฏศิลป์ (DANCE)

3.       กลุ่มวิชาดนตรี (MUSIC)

4.       กลุ่มวิชาออกแบบ (DESIGN)

5.       กลุ่มวิชาศิลปะจินตทัศน์ (IMAGIN ATR)

นักเรียนสามารถเลือกเรียนในกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่งตามความถนัด แต่ละกลุ่มวิชามีทั้งวิชาบังคับ และวิชาเลือกทุกภาคเรียน ตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6

 

          ในช่วงเริ่มต้นทดลองการใช้หลักสูตร อาจารย์พูลศักดิ์ เทศนิยม ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) กับอาจารย์สมชาย อัศวโกวิทย์ หัวหน้าสาขาวิชาดุริยางคศาสร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้อำนวยการสอน และร่วมมือกัน โดยการขอยืมตัวอาจารย์พิเศษจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้แก่อาจารย์ยงยุทธ เอี่ยมสอาด เพื่อมาอยู่ประจำและดำเนินการสอนเต็มเวลาหลักสูตรวิชาเอกดนตรีที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ร่วมมือกับอาจารย์วัฒนา ศรีสมบัติ หัวหน้าหมวดดนตรี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจี ศรีสมบัติ ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) ในช่วงเริ่มต้นการจัดการเรียนการสอนรับเฉพาะนักเรียนบุคคลภายใน และมีนักเรียนวิชาเอกดนตรี รุ่นแรก จำนวน 9 คน

                                     ภาพที่1 พหุศิลปศึกษา วิชาเอกดนตรี รุ่น1 ปี พ.ศ. 2547

          ปีการศึกษา 2551 ได้เปลี่ยนชื่อจากกลุ่มวิชาเอกดนตรี เป็นวิชาเอกดุริยางคศิลป์ และเปิดรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับบุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรก เพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ในวิชาเอกดุริยางคศิลป์ โดยสามารถรับนักเรียนได้เต็มจำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน

          เส้นทางสู่การเรียนวิชาเอกดนตรี เริ่มจากวิชาเพิ่มเติมเลือก  วิชาสหวิทยาการ(เตรียมวิชาเอก) และวิชาเอกดุริยางคศิลป์

      สำหรับการเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรี และนาฏศิลป์โขนละคร ก็สามารถที่จะเลือกเรียนต่อเนื่อง 3 ชั้นปี ในรายวิชาเพิ่มเติมเลือก และสหวิทยาการ(เตรียมวิชาเอก) เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการที่เลือกเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่จัดการเรียนการสอน เป็นรายวิชาเอก 29 วิชาเอก ซึ่งรายวิชาเอกดุริยางคศิลป์ และศิลปกรรมการแสดงและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ที่เป็นวิชาเอกเฉพาะทาง  ซึ่งมีเกณฑ์ในการสอบเข้าภาคปฏิบัติ ที่ต้องใช้เวลา ระยะเวลาในการฝึกสะสม ความสามารถในการเรียน เตรียมตัวที่ต้องใช้เวลาระยะยาว เป็นวิชาที่ไม่สามารถมาติวเตรียมสอบ ในระยะเวลาใกล้ๆ หรือระยะสั้น

               ภาพที่2  สาขาสาธิตวิจัยและนิเทศการสอนศิลปกรรม วิชาเอกดุริยางคศิลป์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ์ ชั้น2

หลักสูตรวิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

จุดมุ่งหมายหลักสูตรวิชาดนตรี  รู้และเข้าใจถึงความแตกต่างทางด้านเสียง องค์ประกอบ อารมณ์ ความรู้สึกของบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ มีทักษะในการร้อง บรรเลงเครื่องดนตรี ทั้งเดี่ยวและเป็นวงโดยเน้นเทคนิคการร้องบรรเลงอย่างมีคุณภาพ มีทักษะในการสร้างสรรค์บทเพลงอย่างง่าย อ่านเขียนโน้ต ในบันไดเสียงที่มีเครื่องหมาย แปลงเสียงเบื้องต้นได้ รู้และเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบของผลงานทางดนตรี องค์ประกอบของผลงานด้านดนตรีกับศิลปะแขนงอื่น แสดงความคิดเห็นและบรรยายอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อบทเพลง สามารถนำเสนอบทเพลงที่ชื่นชอบได้อย่างมีเหตุผล      มีทักษะในการประเมินคุณภาพของบทเพลงและการแสดงดนตรี  รู้ถึงอาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีและบทบาทของดนตรีในธุรกิจบันเทิง เข้าใจถึงอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคลและสังคม    


 

 

                                     ภาพที่3 โปสเตอร์การแสดงผลงานนักเรียนวิชาเอกดุริยางคศิลป์

รายนามอาจารย์ประจำกลุ่มสาระดนตรี และอำนวยการสอนวิชาเอกดุริยางคศิลป์

1.       อาจารย์ ดร.กุลธิดา นาคะเสถียร    Vocal Instrument

2.       อาจารย์ยงยุทธ เอี่ยมสอาด          String Instrument

3.       อาจารย์วิศรุต สุวรรณศรี             Thai Classical Instrument

4.       อาจารย์กิตติศักดิ์ ประเสริฐกุล       Military Band

5.       อาจารย์วิสุดา อิงเกลแซม             Thai Classical Instrument

6.       อาจารย์ธีรพงศ์  บำเพ็ญทาน         String Instrument

7.       อาจารย์ปิติวัตร  อินทราศักดิ์         Guitar Instrument

8.       อาจารย์ปริทัศน์  เรืองยิ้ม             Thai Classical Instrument

Theory of Multiple Intelligences   ค้นพบความเก่งทางดนตรีสร้างได้ที่นี่

 

อาจารย์พิเศษ รายวิชาปฏิบัติเครื่องมือเอก

String Instrument

ผศ.ดร.ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์

อ.พงศกร มณีรัชยากร

อ.ยุทธศักดิ์ ชุมสาย ณ อยุธยา

อ.พงศธร สุรภาพ

Vocal

อ.ชุติมา แต้มคุณ

อ.ธิดารัตน์ มหาอุดมนพรัตน์

 

 

Piano

ผศ.ดร.นัฎฐิกา สุนทรธนผล

อ.ดร.ปวัตรชัย สุวรรณคังคะ

อ.จุมพฏ กอวัฒนา

Woodwind Instrument

อ.กีรติ สมพืช

อ.ศุภมงคล เกษมจิตวัฒน

อ.ปาจารรีย์ สงวนประเสริฐ

Brass Instrument

อ.ปดินทร์ แสงสุริยัน

อ.พงศ์ศิริ แซ่ว่อง

Electic Guitar

อ.จารุ ลิ่มศิรา

อ.คุณากร ศรีสมบัติ

อ.ไม้มงคล อมรรังสฤษฏ์

Clasiccal Guitar

ผศ.ดร.เอกราช เจริญนิตร์

อ.ภูวิศ ทรงอุดมวัฒนา

ดนตรีไทย

อ.มีกิจ อินทรพิพัฒน์

อ.ธเนตร  แสงศิลป์

อ.นัฐชา โพธิ์ศรี

อ.ขวัญดาว  ปุณยลภัสกุล


                                                ภาพที่ 4 โปสเตอร์การสอบการแสดงดนตรี (RECITAL)

          หลักสูตรวิชาเอกดุริยางคศิลป์ เริ่มเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีการศึกษา 2547 จนถึงปัจจับัน เป็นหลักสูตรที่เปิดมา แล้ว 17 ปี นักเรียนที่จบหลักสูตรวิชาเอกดุริยางคศิลป์สามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ได้เป็นอย่างดี และนักเรียนวิชาเอกดุริยางคศิลป์ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนไปแล้วสามารถประสปความสำเร็จ สร้างชื่อเสียงในวงการบันเทิง และดนตรี อทิเช่น ฟอร์จูน ปัณฑิตา คุณทวี CMG48, อิ้งค์ วรันธร เปานิล,กันต์ ชุณหวัตร,ซี ดี กันต์ธีร์ ปิติธัญ,     มาตัง ระดับดาว ศรีระวงศ์ เดอะสตาร์ และศิษย์ปัจจุบันที่กำลังศึกษาอยู่วิชาเอกดุริยางคศิลป์ ได้แก่ น้องอ๊ะอาย กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ 4EVE, เนเน่ ณัฐวลัญช์ ตาคะนานันท์ ทศเกิร์ล เป็นต้น

มีคำกล่าวที่ว่า การค้นพบตัวตนได้เร็ว จะทำให้เราสนุกกับการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ เมื่อค้นพบตัวตน ค้นหาความฝันเจอแล้ว จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าไม่ลงมือทำให้เกิดขึ้นจริง และทำให้สำเร็จ หมั่นเติมไฟให้ตัวเองว่า เราโชคดีแค่ไหนที่ได้ทำในสิ่งที่รัก ได้เจองานที่ใช่ ลงมือทำและทุ่มเทให้คุ้มค่ากับความฝัน ทำให้เต็มที่ในทุกวัน และทำให้ดีที่สุดในทุกโอกาส วิชาเอกดุริยางคศิลป์ เป็นประตูสู่อารยะทางสายศิลป์ ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกท่านสู่โลกดนตรี

 

 

อ้างอิง

ยงยุทธ เอี่ยมสอาด.(2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการฝึกซ้อมของนักเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรี โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม ),กรุงเทพฯ

ยงยุทธ เอี่ยมสอาด. (2563).การประเมินหลักสูตรวิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) โดยใช้ CIPP Model, กรุงเทพฯ

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น