วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564

ดนตรีในยุตโรแมนติก ep03

 


4.       ด้านศิลปะหรือเรียกว่า สมัยศิลปะจินตนิยม (Romanticism) ใน ค.ศ. 1800-1900 

 

แนวคิดเกี่ยวกับศิลปะสมัยโรแมนติก

 

-  เริ่มในอังกฤษและฝรั่งเศส ที่มีทรรศนะคติที่ต้องการความเป็นอิสระในการแสดงออกที่ศิลปินต้องการมากกว่าการเดินตามกฎเกณฑ์และแบบแผนทางศิลปะ ดังที่ศิลปินลัทธิคลาสสิกใหม่ยังยึดถืออยู่

- เป็นศิลปะที่เน้นอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล มุ่งสร้างสรรค์งานที่ตื่นเต้น เร้าใจ ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้ชม

-  ลักษณะแนวความคิดของศิลปะโรแมนติกนั้นต่างจากพวกคลาสสิกกันคนละขั้ว เพราะโรแมนติกยึดมั่นในเรื่องของจิตใจ ถือว่าจิตเป็นตัวกำเนิดของตัณหา อารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งเป็นความจริงของมนุษย์มากกว่าการยึดมั่นในเหตุผลตามแนวคิดของคลาสสิก พวกศิลปินเชื่อว่า ศิลปะสร้างสรรค์ตัวของมันเองได้ และต้องมีคุณค่าทางอารมณ์มากกว่า

-  ศิลปะต้องสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้เสพและผู้สร้าง มุ่งสร้างศิลปะเพื่อให้กลมกลืนกับชีวิต มุ่งที่ความ กลายเป็น ตัดกับความเป็นอยู่งานทางด้านจิตรกรรมจะแสดงความตัดกันของน้ำหนักแสงและเงา ใช้สีที่ตัดกัน จิตรกรที่สำคัญ ได้แก่ Theodore Gericault, Eugene Deracroix ในงานจิตรกรรมนี้เป็นช่วงเวลาระหว่างค.ศ.1820-1850

-    ศิลปะมักเปลี่ยนแปลงตัวเองให้กลมกลืนกับสภาพชีวิต

-  ในแต่ละยุคสมัย ศิลปะคลาสสิกและโรแมนติก  ยังคงยึดแนวของกรีกและโรมันอยู่ไม่น้อย ศิลปินรุ่นหลังเห็นว่า ศิลปะทั้งสองไม่ได้แสดงความกลมกลืนของชีวิต  ยังคงมีลักษณะความเป็นอุดมคติอยู่ซึ่งไม่ใช่ความจริง

ดังนั้นการสร้างงานในยุคต่อมา ซึ่งเราเรียกกันว่าเรียลลิสม์นั้น จึงสร้างงานตามสภาพความเป็นจริง ศิลปินเชื่อว่าความงามอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะในที่เลิศหรูเช่นพระราชวัง หรือที่เรียบง่ายตามชนบทก็ตาม อีกทั้งยังเชื่อกันว่าศิลปะนั้นสอนกันไม่ได้ เพราะศิลปะเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่แต่ละคนมีความสามารถต่างกัน ศิลปะคือการเลียนแบบตามตาเห็น ศิลปินควรบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในยุคสมัยของตนเอาไว้ ไม่ใช่สร้างงานแบบโบราณนิยม (ถือว่าเป็นการปฏิเสธแนวคลาสสิกและโรแมนติกอย่างเห็นได้ชัด)

ศิลปินอย่างโกยา Francisco Goya อยู่ในช่วงรอยต่อของโรแมนติกและเรียลลิสม์ งานของเขาแสดงออกทั้งความเป็นจริงและแสดงออกถึงความสะเทือนอารมณ์ (โรแมนติก) ไปพร้อมๆกัน โกยาให้ทัศนคติไว้ว่า ในธรรมชาติไม่มีใครเห็นเส้น มีแต่รูปทรงที่สว่างและมืด ระนาบใกล้ ไกล กลวง และยื่นไปออกมา ทัศน์เช่นนี้จะปรากฏได้ชัดในงานยุคหลังถัดจากนี้ไป  เนื่องด้วยในช่วงเวลานี้ยุโรปได้ตกอยู่ในสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจและสังคมชนชั้นแรงงานเพิ่มมากขึ้น ศิลปินจึงสะท้อนภาพความลำบากของชนชั้นเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม ศิลปินที่มีชื่อเสียงได้แก่ โดมิยร์, มิเลท์, กูร์เบท์

 ภาพการอับปางของแพเมดูซา “The Raft of the Medusa”

             โดย เทโอดอร์ เจริโกต์ (Theodore Gericault)

                                           ให้อารมณ์ความรู้สึกกับการเผชิญกับภัยบนแพ ทั้งอ่อนล้า อ้างว้าง หิว

                  ตื่นเต้น เชื่อว่าการมีชีวิตอยู่อย่างเต็มไปด้วยอันตราย หรือมีอะไรน่าหวาดเสียว หรือเหมือนบทละคร

 ภาพเสรีภาพนำประชาชน      Liberty Leading the People, July 28, 1830” ของ ยูจีน    เดอลาครัวซ์ (Eugine Delacroix) จิตรกรชาวฝรั่งเศส ได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ปฏิวัติในฝรั่งเศส สามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึกได้อย่างน่าตื่นเต้น จากเรื่องราว ท่าทาง การจัดภาพ แสงเงา และอารมณ์ทางใบหน้า และดวงตา

 


 

 

 

 

 

 

 




 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

ดนตรีในยุคโรแมนติก ep02

 

   ความเป็นมาและอิทธิพลต่าง ๆ ที่มีต่อดนตรีในยุคโรแมนติก

ประมาณ   .. 1820 – 1900 

 ด้านสังคม  การเมืองและ การปกครอง

            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการปฏิวัติอุตสาหกรรม ดังกล่าวทำให้เมืองต่างๆ ในอังกฤษกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เริ่มแออัด ด้วยคนเข้ามาอาศัยในสังคมเมืองเพื่อหางาน  ทำให้เกิดสังคมเมืองกระทบต่อด้านอื่นๆ ด้วย  ความก้าวหน้าเหล่านี้ขยายขอบเขตของอุตสาหกรรม ซึ่งมีผลทำให้ระบบทุนนิยม (Capitalism) มีอิทธิพลสูงขึ้นมาจนก่อให้เกิดความคิดเป็นปฏิปักษ์ในภายหลัง นอกจากนี้ เกิดกฎหมายเกี่ยวกับการผังเมือง รวมทั้งการจัดสร้างสวนสาธารณะก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน  ยิ่งคนมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นทำให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น  การคมนาคมมีความสะดวกสบายมีการใช้เรือที่มีเครื่องจักรไอน้ำ  มีรถไฟ  การสื่อสารมีการใช้โทรเลข  มีโทรศัพท์  มีกล้องถ่ายรูป  การพัฒนาทางด้านการแพทย์ทำให้โรคภัยไข้เจ็บน้อยลง  ก่อผลสะท้อนที่เป็นปัญหาใหม่ ๆ ขึ้นมาก เช่นปัญหาการว่างงาน  ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ  เกิดลัทธิทุนนิยมและลัทธิสังคมนิยมขึ้น  สำหรับลัทธิสังคมนิยมนี้ เขียนโดย คาร์ล   มากซ์  ผู้เป็นนักเขียนชนชั้นกลางชาวเยอรมันได้แนะวิธีการปฎิรูปสังคมด้วยการปฏิวัติ


ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18  เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสนับเป็นเหตุการณ์สำคัญของโลกและเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสซึ่งไม่เฉพาะแต่ในด้านการปกครองเท่านั้น ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนความคิดเห็นของราษฎร ในด้านการปกครองเป็นการโค่นล้มระบบเก่าหรือเรียกได้ว่าภาคประชาชนลุกขึ้นมาล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช  แล้วแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ซึ่งให้อำนาจประชาชนในการเลือกผู้นำของตนเอง  โดยอาศัยปรัชญาแนวคิดที่ว่าทุกคนควรจะมีความเท่าเทียมกัน  และทุกคนควรจะเติบโตจากตำแหน่งเล็กๆ  ไปสู่ตำแหน่งที่สูงกว่าได้ด้วยความพยายามและความสามารถของคนโดยไม่คำนึงถึงชาติกำเนิดและชนชั้น  การปฏิวัติในฝรั่งเศสนี้เป็นแม่บทของการปฏิวัติต่อมาโดยเฉพาะการปฏิวัติรัสเซีย  

นอกจากนี้ในศตวรรษนี้ก็มีความขัดแย้งเกิดขึ้นหลายแห่ง เช่นเกิดสงครามไครเมีย ในปี1854-1856 สงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา ปีค.ศ.1861-1865 และสงครามฟรังโก-ปรัสเซียน ในปีค.ศ.1870-1871 

3.  วรรณกรรม งานเขียน ในยุคโรแมนติก

แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19   และยุคสัจนิยม (Realism) กลางคริสต์ศตวรรษที่  19

วรรณกรรมยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19

 

ยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่เข้าสู่สังคมแบบอุตสาหกรรม ทำให้บุคคลกลุ่มหนึ่งในยุคนี้ เริ่มเบื่อหน่ายต่อการเทิดทูนเหตุผลและการใช้ปัญญาความคิด และหันมาให้ความสนใจต่อความรู้สึกที่ไม่อาจควบคุมได้ อารมณ์แห่งความรักและความประทับใจในความงามหรือศาสนา ซึ่งไม่อาจอธิบายได้ด้วยเหตุผล ทั้งนี้ เพราะบุคคลเหล่านี้ต้องการปลดปล่อยจินตนาการของตนเองให้เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และทัศนะที่เห็นธรรมชาติเป็นจักรกล ศิลปินในยุคนี้ ซึ่งเรียกว่า ยุคโรแมนติค (Romanticism) มีแนวคิดที่แตกต่างไปจากเดส์การ์ต โดยเห็นว่า “I feel, therefore I am” – “เพราะฉันรู้สึก ฉันจึงดำรงอยู่พวกเขาได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ ฌอง ฌาคซ์ รุสโซ ชาวฝรั่งเศสที่ว่า มนุษย์สามารถหลีกหนีความสามานย์ของสังคมได้เมื่อหันไปหาธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีงามและศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ ศิลปินในยุคโรแมนติค ยังหันไปหาเรื่องเร้นลับ แปลกประหลาดเหนือธรรมชาติในโลกแห่งจินตนาการ เช่นเรื่องราวในยุคกลางที่เป็นยุคแห่งการผจญภัยและวีรกรรมอาทิเรื่องเกี่ยวกับอัศวินและเวทมนตร์
            ยุคนี้ เป็นยุคที่ประชาธิปไตยเบ่งบานในหลายประเทศ หลังจากที่ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา มีการปฏิวัติใหญ่ ทำให้มีการมุ่งเน้น อุดมคติแห่ง เสรีภาพ ความเสมอภาค และ ภราดรภาพ” (Liberty, Equality, and Fraternity) มากยิ่งขึ้น ซึ่งมีอิทธิพลต่อศิลปินในยุคนี้ ขณะเดียวกัน ความวุ่นวายทางสังคมและการเมืองหลังการปฏิวัติ ทำให้งานเขียนและศิลปะในยุคนี้ มีลักษณะหลีกหนี (escape)” จากความเป็นจริง ไปสู่โลกแห่งจินตนาการ การปฏิวัติฝรั่งเศสทำให้คนชั้นสูงหมดอำนาจลง และ การประกาศอิสรภาพจากอังกฤษในสหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐฯ เป็นอิสระจากการเป็นอาณา-นิคมในปกครองของขุนนางอังกฤษ ส่งผลให้คนชั้นกลางมีอำนาจมากยิ่งขึ้น การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้คนชั้นล่างหลั่งไหลเข้าสู่เมืองใหญ่ คนกลุ่มนี้ มีรสนิยมทางงานเขียนที่แตกต่างไปจากยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการและยุคนีโอคลาสสิกที่ผ่านมา  ดังเช่นผลงานของนักเขียนดังต่อไปนี้

- วิลเลียม  เวิร์ดสเวิร์ท(William Wordsworth: ค.ศ.1770-1850) ชาวอังกฤษ เป็นนักแต่งบทกวีที่ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับชีวิตของคนธรรมดาและเหตุการณ์สามัญที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันในชนบท ซึ่งคนทั่วไปอาจเห็นว่าไม่มีราคาค่างวดใด ๆ เช่น

            บทกวีชื่อ To the Daisy  เขียนถึงดอกเดซีอันเป็นดอกหญ้าที่ต้อยต่ำ แต่เขาทำให้ดอกไม้นี้กลายเป็นดอกไม้ที่มีความหมายขึ้นมา

            บทกวีชื่อ She Dwelt among the Untrodden Ways กล่าวถึงหญิงสาวธรรมดาที่ชื่อลูซี่ที่มีชีวิตอยู่ทามกลางธรรมชาติในชนบท

            บทกวีชื่อ I Wandered Lonely as a Cloud ได้พรรณนาว่าการปลดปล่อยอารมณ์ให้เพลิดเพลินไปกับธรรมชาติรอบตัว ทำให้หัวใจเปี่ยมสุขและโลดเต้นไปกับดอกเดฟโฟดิลที่เริงระบำอย่างร่าเริงอยู่ในสายลม

            นอกจากนี้วิลเลียม  เวิร์ดสเวิร์ม ยังชอบเขียนถึงความเรียบง่ายที่มีความอ่อนหวานและไร้เดียงสาของเด็กเป็นพิเศษ ดังงานเขียนที่ชื่อ Intimations of Immortality from Recollection of Early Childhood ซึ่งเขาแสดงความชื่นชมว่าเด็กเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์และดีงาม

- แวมวล เทย์เลอร์ โคลริดจ์(Samuel Taylor Coleridge:ค.ศ.1772-1834)ชาวอังกฤษ มีลักษณะต่างจากบทกวีของวิลเลียม  เวิร์ดสเวิร์ม คือ เขาชอบเขียนเรื่องเร้นลับเหนือธรรมชาติที่มีอยู่ในโลกแห่งจินตนาการและเรื่องในอดีตที่ไกลตัวดังเช่น บทกวีชื่อ The Rime of the Ancient Mariner ซึ่งเขียนในรูปแบบของบัลลาด เนื้อเรื่องกล่าวถึงกะลาสีเรือแก่ที่ต้องประสบเคราะห์กรรมกลางทะเลลึก เพราะเขาทำลายธรรมชาติโดยฆ่านกอัลบาทรอสซึ่งเป็นตัวแทนของธรรมชาติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกวีที่ยาวที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของแวมวล เทย์เลอร์ โคลริดจ์

-  เซอร์วอลเตอร์  สกอต(Sir  Walter  Scott : ค.ศ.1771-1832) ชาวอังกฤษ เขียนนวนิยายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอัศวินยุคกลาง การเล่าเรื่องจะออกในแนวผจญภัยที่ระทึกใจของยุคสมัยที่ผ่านมาแล้ว ตัวละครในเรื่องจะมีหญิงงามที่เศร้าสร้อยและมีวีรบุรุษรูปงามและกล้าหาญ ท่ามกลางเวียงวัง ปราสาท ผลงานของเขาอย่างเช่น Ivanhoe    และ The Talisman

- วิกตอร์ อูโก (Victor Hogo:ค.ศ.1802-1855) เป็นนักเขียนยุคโรแมนติกที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขียนทั้งนวนิยาย บทกวี และบทละคร ผลงานของเขาที่สำคัญเช่น นวนิยายเรื่อง ไอ้ค่อมแห่งนอตรดาม         (The Haunchback of Notre Dame) และเรื่องที่สำคัญคือ เหยื่ออธรรม (Les Miserables) ทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องของสามัญชนที่ถูกอำนาจคุกคาม และต้องทุกข์ทน ตัวเอกของเรื่องเป้นผู้กล้าหาญและยอมสละทุกสิ่งให้ผู้ที่ตนรักได้

-  วอชิงตัน  เออร์วิง (Washington  Irving: ค.ศ. 1783-1859) เป็นนักเขียนชาวอเมริกัน ผลงานของเขาเสียดสีสังคมอย่างมีอารมณ์ขัน ถึงจะเป็นเรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติแต่ก็ไม่น่ากลัวเพราะเขาจะสอดแทรกอารมณ์ขันเข้าไปด้วย ซึ่งแตกต่างกับนักเขียนในแถบยุโรป เช่นเรื่องเกี่ยวกับผู้ชายกลัวเมีย  ผู้หญิงขมขู่สามี ซึ่งตัวละครค่อนข้างมีชีวิตชีวา        เรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ เรื่อง ริป แวน วิงเคิล(Rip Van Winkle) เกี่ยวกับชายชื่อริปไปพบพวกคนแคระแลโดนคนแคระให้ดื่มเครื่องดื่มชนิดหนึ่งทำให้หลับไปถึง 20 ปี ระหว่างนั้นสังคมอเมริกันเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง  ซึ่งชายคนนี้ไม่ทราบเรื่องอะไรเลยเปรียบได้กับคนที่ไม่ยอมรับรู้เรื่องอะไรในสังคมของตนเองในขณะนั้นเลย

-  เจมส์ เฟนิมอร์ คูเปอร์ (James Fenimore Cooper:ค.ศ. 1789-1851) นักเขียนชาวอเมริกัน นวนิยายเรื่องเยี่ยมที่สุดมีความนิยมทั้งในอเมริกาและยุโรป คือ เรื่องเดอร์สปาย(The Spy) เป็นนิยายการผจญภัยของอเมริกาสมัยปฏิวัติ ซึ่งเกี่ยวกับชายหนุ่มผู้รักชาติ 

- นาทาเนียล ฮอว์ทอร์น (Nathaniel Hawthorne:ค.ศ.1804-1864) ชาวอเมริกันเขียนนวนิยายแนวไสยศาสตร์และเขียนเรื่องสั้นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความหน้าไหว้หลังหลอกของมนุษย์ที่มีให้กัน แต่ก็ยังมีการเขียนเกี่ยวกับเรื่องแปลก ๆ ลึกลับที่เต็มไปด้วยจินตนาการจนได้รับการยกย่องในเรื่องการใช้สัญลักษณ์และตัวละครที่มีจิตใจซับซ้อน มีการต่อสู้ระหว่างความดีและความชั่วในตัวของมนุษย์

-  เอ็ดการ์ แอลลันโพ (Edgar  Allan Poe:ค.ศ.1809-1849) ชาวอเมริกัน มีความสารถในการเขียนหลายประเภท ทั้งกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น และวรรณคดีวิจารณ์ บทกวีของเขาได้รับอิทธิพลจากกวียุโรป งานของเขาจึงมีเนื้อหาที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรยากาศแห่งความตายและความลึกลับน่ากลัวในดินแดนของการจินตนาการ เช่นงานกวีชื่อ The City in the sea  นอกจากนี้ยังเขียนทฤษฎีการเขียนเรื่องสั้นขึ้นเป็นคนแรก ซึ่งปัจจุบันก็ยังนำมาใช้เป็นหลักในการเขียนเรื่องสั้น 

            กวีและนักเขียนโรแมนติกอเมริกันแม้จะได้รับอิทธิพลจากยุโรป แต่ผลงานก็ยังมีความเป็นเอกลักษณ์ต่างจากยุโรป เช่นผลงานของนักเขียนกลุ่มทรานเด็นทัลลิสม์(Transccendentalism) โดยมีราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน(Ralph Waldo Emerson:ค.ศ.1803-1882) เป็นผู้นำ นักคิดกลุ่มนี้เน้นเรื่องปัจเจกบุคคล สามัญสำนึกและเชื่อว่ามนุษย์สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดไปสู่ภาวะที่เหนือเหตุผล ซึ่งช่วยให้เข้าถึงสัจธรรมและความรู้อันยิ่งใหญ่ได้ด้วย สัญชาตญานของตนเอง กลุ่มนี้จึงเป็นคตินิยมโรแมนติกแนวปรัชญา เช่นงานเขียนของเอเมอร์สัน งานเขียนจะเน้นความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เขากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณของมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเน้นความคิดมากกว่าสุนทรียรส ทุกสิ่งทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันไม่มีสิ่งใดดีงามได้เพียงลำพัง ทุกสิ่งล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของ ความสมบูรณ์แบบ ดังเช่นนกก็จะร้องเพลงได้ไพเราะเมื่ออยู่ตามธรรมชาติ หากพรากมันจากธรรมชาติเสียงเพลงของนกก็หมดความไพเราะ

 ยุคสัจนิยม (Realism) กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19

ยุคนี้เริ่มปฏิเสธการเน้นอารมณ์หวือหวาเพ้อฝันของกวีและเริ่มถ่ายทอดภาพชีวิตอย่างที่เป็นจริง ไม่พยายามหลีกเร้นจากโลกแห่งความจริงไปสู่ดินแดนในจินตนาการ แนวการเขียนแบบนี้เริ่มเป็นที่นิยมทั้งในยุโรปและอเมริกาดังเช่น

โอโนเร เดอ บัลซัก (Honore de Balzac:ค.ศ.1799-1852) ชาวฝรั่งเศส เขียนนวนิยายและเรื่องสั้นจำนวน 90 เรื่องในหนังสือ สุขนาฏกรรมแห่งชีวิต (The Human Comedy) เนื้อเรื่องส่วนให้ เกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงในสังคม มีการโจมตีคนที่มีความละโมบโลภมาก เอาแต่ได้

กุสตาฟ โฟลแบร์ต (Gustave  Flaubert: 1821-1880)  ชาวฝรั่งเศส เป็นนักเขียนที่สะท้อนความขัดแย้งระหว่างความจริงที่น่าเบื่อหน่ายกับความฝันแบบโรแมนติก เช่นนวนิยายเรื่อง มาดามวารี (Madame Bovary) เป็นเรื่องของหญิงสาวที่เบื่อหน่ายชีวิตการแต่งงานของตนเองกับหมอที่บ้านนอกไม่มีความโรแมนติก ต่างจากพระเอกในนิยายประโลมโลกที่เธอชอบอ่านเป็นเหตุให้เธอนอกใจสามี  จากเรื่องนี้ทำให้ กุสตาฟ โฟลแบร์ต ถูกรัฐบาลฝรั่งเศสสั่งปรับข้อหาละเมิดศาสนาและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน

ชาลส์  ดิกเกนส์ (Charles Dickens: ค.ศ.1812-1870) ชาวอังกฤษ เป็นนักเขียนที่ถือว่าเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคม โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กที่ถูกกดขี่แรงงานในสังคมอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังเน้นสภาพสังคมโรงพยาบาลและบ้านเด็กอนาถาของลอนดอน  ถึงจะมีอารมณ์ขันแต่ก็แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน บางเรื่องก็เกี่ยวกับการปฏิรูปสังคม เช่นนวนิยายเรื่องโอลิเวอร์ ทวิสต์ (Oliver Twist) ซึ่งตีแผ่ชีวิตเด็กสลัม

ทอมัส ฮาร์ดี (Thomas  Hardy:ค.ศ.1840-1928) ชาวอังกฤษ เขียนนวนิยายส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นการมองโลกในแง่ร้าย และกล่าวถึงเรื่องทางเพศ ความรัก และศีลธรรม อย่างเปิดเผย ซึ่งเป็นนวนิยายโศกนาฏกรรมของมนุษย์ผู้ต้องต่อสู้ดิ้นรนอยู่ในโลก เช่น เรื่อง Far From the Madding Crowd

อิวาน  เตอร์เกอเนฟ (Ivan Turgenev:ค.ศ. 1818-1913) ชาวรัสเซีย นวนิยายเรื่อง A  Sportsman’s  Sketches ซึ่งกล่าวถึงชะตากรรมของชาวนายากจนผู้เป็นทาสติดที่ดิน

เลโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy:ค.ศ.1828-1910) ชาวรัสเซีย  นวนิยายเรื่อเยี่ยมที่สุดคือ สงครามและสันติภาพ (War  and  Peace) ที่อิงประวัติศาสตร์สมัยนโปเลียนยกทัพมารุกรานในรัสเซีย

            วรรณกรรมในยุคโรแมนติกมีทั้งบทกวี นวนิยาย เรื่องสั้นและบทวิจารณ์ โดยเริ่มจากอังกฤษ และขยายไปยังประเทศแถบยุโรปและอเมริกา ต้น ๆ ของยุคเนื้อหาจะเกี่ยวกับความเฟ้อฝัน จินตนาการ ความลี้ลับ ผจญภัย หลีกหนีความจริงในสังคม กล่าวถึงธรรมชาติ ชีวิตที่ราบเรียบ หากแต่ปลาย ๆ ของยุคนิยมเขียนเกี่ยวกับเรื่องที่มีแง่มุมชีวิตจริงของมนุษย์ สะท้อนสภาพชีวิตสังคมในยุคที่มีการปฏิรูปสังคม ในหลาย ๆ ด้าน และความสลับซับซ้อนของตัวละครที่คล้ายกับชีวิตจริงของมนุษย์ 

 

 

 

 

ดนตรีในยุคโรแมนติก ep01

 

ความเป็นมาและอิทธิพลต่าง ๆ ที่มีต่อดนตรีในยุคโรแมนติก

ประมาณ   .. 1820 – 1900

 

ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศในยุโรปเกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด  เช่น ในด้านวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และด้านการเมืองการปกครอง  ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานเกือบร้อยปี เหตุนี้ทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายความเป็นอยู่แบบเดิมที่ใช้เหตุผลและปัญญา จึงหันมาสนใจกับความรู้สึกที่ไม่อาจควบคุมได้ อันเป็นการก้าวสู่ยุคโรแมนติก ดังจะกล่าวอย่างละเอียดดังนี้

 

1.       การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง วิธีการเปลี่ยนแปลงในการผลิตจากการใช้แรงงานคนแรงงานสัตว์มา

เป็นเครื่องจักรกล ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการผลิต ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

            การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้น 2 ครั้งดังนี้

            ครั้งที่ 1 ระหว่าง   ค.ศ. 1770-1860   ในประเทศอังกฤษ

            ครั้งที่ 2 ระหว่าง   ค.ศ. 1860   เป็นต้นไป มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ

            ก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม สภาพเศรษฐกิจของยุโรปอยู่ในสภาพล้าหลัง การผลิตต่าง ๆ เป็นระบบภายในครอบครัว หรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน ซึ่งมีผลทำให้การผลิตอยู่ในวงแคบ ผลผลิตน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดซึ่งมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

            สาเหตุการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1   มาจากการขยายตัวทางการค้าซึ่งเกิดจากการสำรวจดินแดนและการล่าอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การยกเลิกการค้าแบบผูกขาดโดยสมาคม ทำให้มีเสรีภาพทางการค้า การเพิ่มประชากร การปฏิรูปการเกษตร โดยเปลี่ยนจากการทำนาระบบเปิดโล่ง มาเป็นระบบปิดล้อมรั้วกั้นเขต ทำให้มีการค้นคว้าประดิษฐ์เครื่องมือทางการเกษตรกรรม ปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แรงงานในชนบท เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

 

            สาเหตุที่ทำให้ประเทศอังกฤษกลายเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1

1.       ทุน อังกฤษมีฐานะการเงินและเศรษฐกิจมั่นคง

2.       ตลาด อังกฤษมีอาณานิคมเกือบทั่วโลกซึ่งเป็นทั้งแหล่งทรัพยากรและตลาดรับซื้อสินค้าจากอังกฤษ

เป็นอย่างดี

3.       แรงงาน อังกฤษมีแรงงานมากพอ ซึ่งแรงงานเหล่านี้มีทั้งที่อพยพมาจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรป และ

ยังมีแรงงานที่เหลือจากการปฏิรูปทางเกษตรกรรม

4.       วัตถุดิบ ได้แก่เหล็กกล้าและถ่านหิน ซึ่งจำเป็นในวงการอุตสาหกรรม

5.       ความสามารถทางด้านเทคนิค ชาวอังกฤษมีความสามารถในด้านการค้นคว้า ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ

และเพราะการศึกษาก้าวหน้า

6.       สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะทำให้สะดวกต่อการคมนาคม ประกอบกับมีท่าเรือที่

ดีหลายแห่ง

7.       การเมืองและสังคม  รัฐบาลให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน ส่งเสริมการลงทุนและการค้าขาย

8.       ยุโรปแผ่นดินใหญ่ได้รับความเสียหายมาจากสงครามนโปเลียนระหว่าง ค.ศ. 1793-1815 จึง

จำเป็นต้องพึงพาสินค้าจากอังกฤษ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1
 เริ่มต้นจาการทอผ้าในประเทศอังกฤษ เพราะอังกฤษมีการทอผ้ามาก ด้วยภูมิอากาศที่อบอุ่นชื้นมีผลทำให้ผ้าที่ทอในอังกฤษมีคุณภาพ ทำให้เกิดนักประดิษฐ์จำนวนมากคิดประดิษฐ์เครื่องทอผ้า เช่น จอห์น ประดิษฐ์กระสวยทอผ้าหรือกี่กระตุก  อีไล วิดนีย์ ประดิษฐ์เครื่องแยกเมล็ดฝ้ายจากใยฝ้าย  ทอมัส นิวคอเมนประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำซึ่งใช้ประโยชน์ในการสูบน้ำออกจากเหมืองแร่ เจมส์  วัตต์ คิดผลิตเครื่องจักรไอน้ำโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ซึ่งมีผลทำให้วงการอุตสาหกรรมอื่น ๆเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จอร์จ สตีเฟนสันผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการรถไฟ ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำ ชื่อ Rocket ทำให้มีการเปิดทางรถไฟสายแรกของโลกระหว่างเมืองลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ในประเทศอังกฤษ           

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ได้มีการนำความก้าวหน้าจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 มาประยุกต์ คิดค้นเพิ่มขึ้น เช่น มีการนำเอาพลังงานใหม่ ๆ มาใช้ เช่นก๊าซธรรมชาติน้ำมัน พลังงานไฟฟ้า และการทำเหล็กให้เป็นเหล็กกล้า โดยเฮนรี่ เบสสิเมอร์    จนเรียกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็กกล้า นับตั้งแต่นั้นมาเหล็กกล้าได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญ เช่นในอุตสาหกรรมและการคมนาคมทุกประเภทและยังมีการสร้างหอคอยไอเฟล ด้วยเหล็กล้วน โดย อเล็กซานเดอร์ กุสตาฟ ไอเฟล จากการการปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ครั้งที่ 1 เรื่อยมาถึงครั้งที่  2 ส่งผลให้เกิด มีรถไฟ เรือกลไฟ การผลิตเหล็กกล้า ไฟฟ้า โทรเลข โทรศัพท์ การผลิตอาหารกระป๋อง การแพทย์  ฯลฯ 

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหล่านี้แผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด   การเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลผลักดันให้เกิดการขยายตัวของแรงงานอย่างมหาศาล ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่มากมายมหาศาลและการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล รวมทั้งเกิดารจัดระบบงานในโรงงานและขั้นตอนการผลิตและการจัดการแบบใหม่  ทำให้เกิดการผลิตได้ครั้งละมาก ๆ ที่เรียกว่า การผลิตแบบ mass production และในกระบวนการปฏิวัติอุตสหากรรมดังกล่าวยังทำให้เกิดนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน เช่น อาร์คไรท์ โบลตัน โคร์ต ครอมพ์ตัน ฮาร์กรีฟส์ เคย์  เป็นต้น

สรุปผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

            ผลทางเศรษฐกิจ

            1. เกิดระบบโรงงาน

            2. เกิดระบบนายทุน

            3. เกิดการขยายตัวทางการค้า

            4. การค้าระหว่างประเทศก้าวหน้า

            5.  เกิดการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจ

            6.  เกิดประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา

ผลทางสังคม

            1.  ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น

            2.  เกิดเมืองใหญ่และปัญหาทางสังคม

                        3.  เกิดปัญหาการทำงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และความทุกข์ยากของกรรมกร

                        4. เกิดการใช้เครื่องจักรเป็นเครื่องมือทำสงคราม คือชนชั้นใหม่ ได้แก่ ชนชั้นกลางและชนชั้นกรรมาชีพ และเกิดช่องว่างระหว่างชนชั้น

                        ผลทางการเมือง

1.       ชนชั้นกลางได้อำนาจทางการเมือง

2.       กรรมกรเลื่อนฐานะเป็นกำลังสำคัญทางการเมืองภายหลังการก่อตั้งสหภาพแรงงานหรือ

สหบาลกรรมกร

3.       รัฐบาลเข้าควบคุมการทำงานของกรรมกร

4.       เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม

5.       การสร้างกองทัพและแสนยานุภาพ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ

ผลทางสติปัญญา

1.       กำเนิดลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) โดย อดัม สมิธ

2.       กำเนิดลัทธิสังคมนิยม(Socailism) โดย คาร์ล มาร์ก และ ฟรีดิช เองเกิลส์

3.       เกิดงานเขียนประเภทสัจนิยม (Realism)

4.       เกิดการเขียนภาพจิตรกรรม ที่เรียนกว่า อิมเพรสชันนิสม์ (Impreessionism)

5.       กำเนิดวิชาเศรษฐศาสตร์

6.    




 

 






6.    กำเนิดวิชาจิตวิทยา โดยนายแพทย์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ชาวออสเตรีย

7.       กำเนิดวิชาสังคมวิทยา