แนวทางการสอบปฏิบัติเครื่องมือเอก วิชาเอกดุริยางคศิลป์
เครื่องมือเอก คือ
เครื่องดนตรี 1 ชิ้นเครื่องมือ ที่นักเรียนมีความประสงค์จะเลือกเรียน
ต่อเนื่องตลอดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
และเป็นชิ้นเครืองมือเอกที่ต้องใช้ในการสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษาทางดนตรี
ในระดับปริญญาตรีต่อไป (นักเรียนไม่สามารถเปลี่ยนเครื่องมือเรียนภายหลัง หลังจากสอบเสร็จขั้นตอนการสอบ
สอบเครื่องมือไหนต้องเรียนเครื่องมือนั้น)
การสอบปฏิบัติเครื่องมือเอก
นักเรียนจะต้องเลือกบทเพลงเพื่อมาบรรเลงในการสอบ จำนวน 2 เพลง
โดยปกติก็จะเป็นลักษณะของเพลงจังหวะช้า 1 เพลง เพลงจังหวะ
เร็ว 1 เพลง หรืออาจจะเป็นเพลงที่ต่างยุคกัน อย่างละ 1
เพลง
แล้วแต่เงื่อนไขการสอบของแต่ละปีที่จะกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนเปิดรับสมัคร นักเรียนต้องอ่านรายละเอียดแล้วปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดแต่ละปีการศึกษา
การสอบปฏิบัติเคื่องมือเอก
จะมีการเรียกสอบบันไดเสียง(Scale)ไปด้วยเลย บันไดเสียงที่เรียกสอบ เป็นทั้งบันไดเสียงเมเจอร์
และบันไดเสียงไมเนอร์ แบบฮาร์โมนิก และเมโลดิก ของทุกบันไดเสียง 7 ช้าร์ป 7 แฟลต และสำหรับกลุ่มเครื่องดนตรีกีตาร์ไฟฟ้า
ก็จะมีการเรียกบันไดเสียงแจ๊ส เช่น โมดเรียน (Dorian) และโมดมิโซลิเดียน
(Mixolydian)
แนวทางการวัดผลประเมินผล การสอบปฏิบัติเครื่องดนตรี ( Recital ) วิชาเอกดุริยางคศิลป์
Music Ability
|
คุณสมบัติ และเนื้อหาในการประเมิน
|
Melody
|
สามารถเล่นทำนองได้ถูกต้องทั้งหมด มีความสามรถในการจำทำนองได้อย่างถูกต้อง
|
Intonation
|
เล่นระดับเสียงได้ถูกต้องทั้งหมดไม่ผิดเพี้ยน
|
Rythm
|
เล่นได้ถูกต้องตามค่าความสั้นยาวของเสียงและเข้าใจลีลาของจังหวะ
|
Tempo
|
แสดงให้เห็นว่าเข้าใจและเล่นได้ถูกต้องตรงกับเครื่องหมายที่กำหนดไว้มีพัฒนาการทักษะความรู้สึกอย่างดีเกี่ยวกับจังหวะ
|
Articulation
|
สามารถเล่นเพลงได้ต่อเนื่องถูกต้องทั้งเพลงอย่างมั่นใจ
|
Technique/Aceuracy
|
ใช้นิ้วได้อย่างถูกต้องทั้งหมด
และนำเทคนิคที่ได้มาประยุกต์ใช้กับการเล่นดนตรี
|
Dyamic
|
สามารถเล่นระดับความดัง เบา ถูกต้องทั้งหมด แสดงให้เห็นว่ามีความใส่ใจในการเล่นให้ถูกต้อง
|
Tone/Vibrato
|
สามารถผลิตเสียงที่มีคุณภาพตลอดทั้งเพลง รู้จักการฝึกหายใจอย่างเหมาะสม
บรรเลงด้วยความไพเราะ
|
Music/Expression
|
แสดงให้เห็นท่าทางการแสดงออกที่สื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึกในบทเพลงได้ดี
|
Stage Presence/
Professionalism
|
แสดงให้เห็นว่ามีการนำเสนอบทเพลงได้อย่างดี มีความมั่นใจดึงดูดผู้ชม
|
Note Reading
|
มีความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีที่ดี สามารถอ่านโน้ตแบบฉับพลันได้
|
Playing Profreiency
|
มีความสามารถในการบรรเลงอย่างมีคุณภาพ
|
Preference
|
มีความชื่นชอบในงานดนตรีที่หลากหลาย
|
Background
Knowledge
|
มีความรู้ทางดนตรี ทั้งในแง่ประวัติดนตรี การนิยามความหมายการประพันธ์
นักดนตรี สามารถพรรณาออกมาเป็นวาจาและตัวหนังสือได้
|
Aural Discrimination
|
มีความสามารถในการวินิจฉัยเสียงที่ได้ยิน
|
Aural Identification
With note reading
|
มีความสามารถในการร้องจากการอ่านโน้ต และตอบได้ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร
|
Creating/Improvisation
|
มีความคิดสร้างสรรค์ในการบรรเลง
|
Musicality
|
|
ตัวอย่างการสอบบันไดเสียง
ของเครื่องมือเอกต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น