วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Development Of Ethnomusicology การจัดหมวดหมู่เครื่องดนตรี

ทฤษฎีการจัดหมวดหมู่เครื่องดนตรี

         การศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องดัง วาสิษฐ์ จรัณยานนท์ (2538 : 29) กล่าวไว้ว่า เครื่องดนตรีเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสร้างความสั่นสะเทือนให้เกิดขึ้นแก่บรรยากาศใกล้เคียง เป็นอุปกรณ์ ที่ประกอบด้วยตัวสร้างความสั่นสะเทือน (Vibrator) และตัวทำกังวาน (Resonator) ตัวทำวิชาการทางดนตรีนั้น จำแนกทางมานุษยวิทยา (Ethnomusicology) ตามหลักของการ ฮอร์นโบสเตล ลัคส์ (Hornbostel – Sachs Classification) ซึ่งมีหลักฐานมาจากสังคีตรัตนาการ ของอินเดีย ได้แก่ 
1. Idiophone เกิดจ่กการกระทำของคนต่อวัตถุที่เกิดเสียงได้ตามธรรมชาติ (ฆนะ)
            2. Aerophone เครื่องลม ส่วนใหญ่เกิดจากท่อ (สุษิระ)
            3. Menbernophone แผ่นขึงตึงหน้าช่องเปิด (อวนัทธะ)
            4. Chordophone สายลวดขึงตึง (ตตะ)
            5. Electrophone เครื่องไฟฟ้า
            การจำแนกข้างต้นนี้ลำดับตามความน่าจะเกิดก่อนหรือหลังขึ้นอยู่กับประวัติเครื่องดนตรี และประวัติการดนตรีก่อนประวัติศาสตร์ สำหรับ Hood . Mantle (1976 : 124) ได้กล่าวไว้ว่าการแบ่งเครื่องดนตรีของจีน แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้
            1. โลหะ                                                                       
2. หิน
            3. ทำจากดิน เช่นตัวเครื่องทำจากดินเหนียว        
4. ไหม
            5. หนัง                                                            
6. เปลือกไม้ เช่น ลูกน้ำเต้า
            7. ไม้ไผ่                                                            
8. ไม้
            จากการศึกษาค้นคว้า Hood. Mantle ได้ทำการแบ่งเครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งได้แบ่งประเภทเครื่องบรรเลงต่างๆ ของอินเดียนั้น มีอยู่ 2 อย่าง คือ ปัญจดุริยางค์ กับสังคีต ส่วน
ปัญจวาทยะนั้น เป็นแต่จำแนกให้เห็นองค์ของดุริยะว่ามีเครื่องดนตรีบรรเลงด้วยกัน 5 สิ่ง ซึ่งเป็นกำเนิดของคำว่า ดุริยางค์ เท่านั้น
            ปัญจดุริยางค์ ได้แก่ สุสิระ , อาตต , วิตต , อาตตวิตต และฆนะ
            สังคีต  ได้แก่ ตตะ , สุษิระ , อวนัทธะ , และฆนะ รวมเป็น 4 ประเภท
            สำหรับการแบ่งประเภทเครื่องสังคีตของไทยเรานั้น ถือเอากิริยาอาการที่ทำให้เกิดเสียงอย่างเดียวเป็นเกณฑ์ ซึ่งจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.     เครื่องดีด สิ่งที่เกิดเสียงด้วยการดีด เช่น จะเข้ และกระจับปี่
2.     เครื่องสี สิ่งที่เกิดเสียงด้วยการสี เช่น ซอต่างๆ
3.    เครื่องตี สิ่งที่เกิดเสียงด้วยการตี เช่น ระนาด ฆ้อง กลอง ฉิ่ง และฉาบ
4.     เครื่องเป่า สิ่งที่เกิดเสียงด้วยการเป่า เช่น ปี่ และขลุ่ย
รวมเรียกย่อๆ ว่า เครื่องดีดสีตีเป่า และใน The new Grove dictionary of music and musician Vol. 4 (1980 : 125) กล่าวไว้ว่า อิทธิพลจากประเทศอินเดีย แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น 4 กลุ่ม ตามรูปแบบของการผลิตเสียงโดยการแบ่งของศรางคเทวะ (Sarngddeva) ซึ่งได้แบ่งเครื่องดนตรีไว้ใน คัมภีร์สังคีตรัตนากร (Sagita - Ratnakara) ในศตวรรษที่ 12 แบ่งออกได้ดังนี้
1.     ตตะ (Tata) หมายถึงคำว่าขึงตึง ซึ่งได้แก่ดนตรีที่ผลิตเสียงจากสายที่ขึงตึง
2.     สุษิระ (Susira) หมายถึง คำว่ารู ซึ่งได้แก่ เครื่องดนตรีที่ผลิตเสียงด้วยลม
3.    อวนัทธะ (Avanaddha) หมายถึง คำว่ารัดตึง ซึ่งได้แก่เครื่องดนตรีทีผลิตเสียงหนังที่ใช้หุ่นกลอง
4.     ฆนะ (Ghana) หมายถึง คำว่าแท่ง หรือแผ่น ซึ่งได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากตัวมันเอง
            ส่วน เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี (2536: 68) กล่าวไว้ว่า ฆะนะ วาทยะ (Ghama Vadaya) เป็น
กลุ่มของเครื่องดนตรีที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุที่เป็นแท่งเป็นท่อน การสั่นสะเทือนของวัตถุจนเกิดเป็นเสียงนั้นอาจจะเกิดจากการกระทบกันระหว่างเครื่องดนตรีด้วยกันเอง เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ หรืออาจจะเกิดจากการใช้วัตถุตีลงบนเครื่องดนตรี เช่น โหม่ง เกราะโกร่ง
            เฉลิมศักดิ์  พิกุลศรี (2536:  81-82) กล่าวไว้ว่า ตามทฤษฎีทางดนตรีของอินเดีย ชาว
อินเดียเชื่อว่า เสียง หรือ นาทะ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ อาหตะ และ อนาหตะ อาหตะเป็นเสียงที่เกิดจากการกระทบกันของวัตถุสิ่งของ และจากเสียงร้องของมนุษย์ เสียงในลักษณะนี้จะมีจุดเริ่มและจุดจบซึ่งมนุษย์สามารถที่จะรับรู้ได้ เสียงในลักษณะนี้เป็นเสียงที่เกี่ยวข้องกับดนตรี เป็นเสียงที่ให้ความสุข ความไพเราะ และความเพลิดเพลินเจริญใจแก่มนุษย์ ส่วนเสียงอนาหตะนั้นเป็นเสียงที่เกิดจากการสั่นนะเทือนจากเบื้องบนที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เสียงชนิดนี้มนุษย์ธรรมดาไม่อาจสัมผัสได้ เว้นแต่ได้รับการฝึกปฏิบัติธรรมชั้นสูงจนเป็นโยคีบุคคล และใช้เป็นสื่อติดต่อกับพระเจ้า เสียงชนิดนี้จะไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ  กับเรื่องดนตรี แต่จะมีความสัมพันธ์เฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
            เสียงประเภทอาหตะที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์นั้นเกิดจากองค์ประกอบ 3 ประการ
คือ ความเข้มของเสียง (Intensity) ขั้นคู่ (Interval) และคุณลักษณะของเสียง (Timbre) สำหรับคุณลักษณะหรือแหล่งของเสียงประเภท อาหตะ นั้น ตำราสังคีตมกะรันทะ ซึ่งเป็นตำราดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้กล่าวว่าเสียงสามารถเกิดได้ใน 5 ลักษณะวิธีคือ
            1.เกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย
            2.เกิดจากการใช้ลมเป่า
            3.เกิดจากวัตถุเป็นก้อนที่กระทบกัน
            4.เกิดจากการสั่นสะเทือนของหนัง
            5.เกิดจากเสียงร้องของมนุษย์
            เมลวิน  เบอร์เกอร์  (ม.ป.ป.: 32 - 3) กล่าวไว้ว่า นักดนตรีคนแรกๆ ที่สุดอาจเคาะหรือตีขอนไม้กลวงหรือหนังสัตว์ที่ขึงตึง  พวกเขาใช้การเคาะหรือการตีเหล่านี้ส่งสัญญาณให้จังหวะในการทำงาน สร้างความฮึกเหิมในการต่อสู้ และให้จังหวะในการร้องเพลงหรือเต้นรำ
            เครื่องกระทบทุกชนิดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่สามารถให้ระดับเสียงที่แน่นอน
กับ กลุ่มที่สามารถให้ได้ เครื่องดนตรีในกลุ่มแรกนั้นไม่สามารถให้ระดับเสียงที่แน่นอนได้เพราะ เครื่องดนตรีเหล่านี้สั่นสะเทือนอย่างสลับซับซ้อน และไม่เป็นระเบียบ  คลื่นเสียงที่เกิดขึ้นไม่มีรูปแบบที่แน่นอนเมื่อเปรียบเทียบกับคลื่นเสียงที่เกิดขึ้นซ้ำรูป และเรียบง่ายกว่าของเสียงที่มีระดับเสียงที่แน่นอน
            ดนตรีเป็นผลิตผลของสังคม ซึ่งมีวัฒนธรรมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นดนตรีอะไร
แบบไหนล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคนจะเป็นต่างเวลาต่าวสถานที่ก็แล้วแต่ สังคมก็สามารถผลิตดนตรีหรือ
มีดนตรีอยู่ด้วย ดนตรีบางอย่างมีความคงรูปดั้งเดิมไว้ยาวนาน ดนตรีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป
ตามเงื่อนไขของสังคม ของวิถีชีวิต ความเชื่อ เศรษฐกิจการเมือง การเปลี่ยนแปลงในระดับต่างๆ
ของคน ดนตรีบางอย่างสามารถดำรงตนเป็นสถาบันหนึ่งของสังคมได้ สังคมที่เป็นปึกแผ่นมีความ
เข้มแข็ง  ดนตรีก็จะสะท้อนความเข้มแข็งของสังคมออกมา  แต่ถ้าหากสังคมอ่อนแอก็จะมีผลกระทบ
ต่อดนตรีอาจรุนแรงถึงการสูญหายของวัฒนธรรมขึ้นได้ เพราะฉนั้นสังคมต้องมีวิธีการต่างๆนานา
เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่เชื่อว่าดีงามให้คงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและเหมาะสม
            วิชาที่เรียกว่ามานุษยดุริยางควิทยา คือวิชาที่ศึกษาหลายศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกัน  ไม่ว่า
จะเป็นดนตรีวิทยา จิตวิทยา สังคมดนตรีวิทยา ดนตรีศึกษา วัฒนธรรมศึกษา คติชนวิทยา

ภาษาศาสตร์ ฟิสิกส์ดนตรี เทคโนโลยีดนตรี ธุรกิจดนตรี ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น