วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Development Of Ethnomusicology In Thailand

Development Of Ethnomusicology In Thailand

           
พัฒนาการมานุษยดุริยางควิทยา

         กรอบแนวคิดทางมานุษยดุริยางควิทยา จากเอกสาร และผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็นความหมายและที่มาของมานุษยดนตรีวิทยาและความสำคัญของงานสนามทางมานุษยดนตรีวิทยา ดังนี้ วาสิษฐ์ จรัณยานนนท์ (ม.ป.ป. : 1) กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของดนตรีวิทยาเปรียบเทียบ (Comparative musicology) คือ การศึกษาดนตรี และเครื่องดนตรีของชนที่ไม่ใช่ชาวยุโรป ทั้งนี้รวมทั้งสังคมโบราณ (Primitive people) และชาติตะวันออกที่มี ดนตรีวิทยาเปรียบเทียบนี้โดยธรรมชาติมักถูกนำไปใช้ในการศึกษาดนตรีตะวันตกบ่อยครั้ง แต่ก็เป็นการศึกษาทางอ้อมเท่านั้น ชื่อคำว่า ดนตรีวิทยาเปรียบเทียบ ไม่ได้บ่งบอกอะไรเด่นชัดนักเพราะไม่ได้ เปรียบเทียบ อะไรๆ มากกว่าทางวิทยาศาสตร์ แขนงอื่น ชื่อที่เหมาะสมที่สุดคือ มานุษยดนตรีวิทยา หรือ ดนตรีวิทยาชาติพันธุ์ (Ethno - musicology) สำหรับมานุษยดนตรีวิทยา (Ethnomusicology) นั้น สุกรี เจริญสุข (2538 : 30) กล่าวไว้ว่า เป็นวิชาที่แยกตัวออกมาจากวิชาดนตรีวิทยา (Musicology) ซึ่งในการศึกษาจะมีขอบเขตต่างกันออกไป ในแง่ของความหมายคำว่า “Ethnomusicology” (Ethnomusicology มาจากคำว่า Ethno + Musicology) กับคำว่า “Musicology” ใช้สื่อความในกรณีที่ชาวตะวันตกทำการศึกษาวัฒนธรรมของตนเอง โดยใช้ภาษาที่ตนเองใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันในทางตรงกันข้าม คำว่า “Ethnomusicology” ใช้สื่อความในกรณีที่ชาวตะวันตกทำกรศึกษาวิจัยวัฒนธรรม ดนตรีอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาของตนเอง
ดนตรีที่มีความเกี่ยวพันกับมนุษย์มาช้านานจนไม่สามารถแยกดนตรีออกจากความเป็นมนุษย์ได้ดังนั้นวิชาการทางด้านดนตรีจึงเป็นวิชาที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับมนุษย์ เช่น ดนตรีวิทยา มานุษยดนตรีวิทยา มานุษยวิทยา เป็นต้น
            มานุษยดนตรีวิทยา (Ethnomusicology) เรียกกันว่า ดนตรีเปรียบเทียบ (Comparative Musicology) ต่อมาในปี ค.ศ. 1950 ยาพ คุนท์ (Jaap Kunst) ตั้งชื่อเรียกใหม่ว่า “Ethnomusicology” ซึ่งปัจจุบันแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน
            1.เป็นการศึกษาดนตรีใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่ดนตรีตะวันตก (Non – Western Art Music) ซึ่งรวมทั้งดนตรียุโรปโบราณ และที่อื่นๆ ที่ยังคงเหลืออยู่
            2.เป็นการศึกษาดนตรีทุกรูปแบบในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง ดนตรีพื้นเมือง ดนตรีของชนกลุ่มน้อย ดนตรีสมัยนิยม ดนตรีเพื่อการค้า ฯลฯ
            Marriam Alan (1964 . อ้างถึงใน ปัญญา รุ่งเรือง . 2541 : 120) กล่าวไว้ว่า ในการศึกษาเรื่องราวทางดนตรี ของมนุษย์ เราจำเป็นต้องมีความรู้เรื่อง ดนตรี เสียก่อน แล้วจึงจะเข้าด้านความสัมพันธ์ระหว่าดนตรีกับวัฒนธรรม ทั้งนี้เป็นเพราะว่าดนตรีเป็นผลผลิตที่มีลักษณะเฉพาะเป็นผลงานของมนุษย์ที่มีความเป็นเอกภาพ (Unique) ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีการร่วมกันระหว่าง ผู้คนในสังคม ไม่ใช่อยู่โดดเดียวเฉพาะตัวดนตรีเอง ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์กันใน 3 ประเด็น คือ
            1.ความคิดรวบยอดทางดนตรี
            2.พฤติกรรมของผู้คนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับดนตรี
            3.ตัวดนตรี
            สำหรับความสำคัญของงานสนามทางมนุษยดนตรีวิทยา ผู้วิจัยได้ค้นคว้าทางข้อมูลเอกสาร และงานบทความทางวิชาการ ดังนี้ ปัญญา รุ่งเรือง (2541 : 120) กล่าวไว้ว่า ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยดุริยางควิทยา (Ethnomusicologicl research) มีเป้าหมายในการศึกษาพฤติกรรม แลผลิตกรรมของมนุษย์โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งต้องพึ่งพาทั้งการศึกษางานภาคสนามและการดำเนินงานในสำนักงานและการดำเนินการทั้งกระบวนการนั้นจะอุบัติตามผลการศึกษาในภาคสนาม ดังที่ Merriam (1944) ให้แง่คิดเกี่ยวกับเป้าหมายในการศึกษางานภาคสนามไว้สามประการซึ่งผู้ที่ออกภาคสนามจำเป็นต้องตัดสินใจให้แน่นอนเสียก่อน กล่าวคือ
            1.เป้าหมายในการวิจัยควรเป็นการบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลทางดนตรี หรือเข้าใจดนตรีในแง่ของพฤติกรรมมนุษย์
            2.ศึกษาแบบเจาะลึก หรือศึกษาโดยส่วนรวม
            3.ศึกษาเพื่อความรู้ในสิ่งนั้นๆ ปรือศึกษาเพื่อการปฏิบัติ (คือ รู้เรื่อดนตรีเพื่อเล่นดนตรี)
            ส่วนของหลักสำคัญที่สุดของงานสนาม และเป้าหมายในการศึกษางานาคสนาม ได้ค้นคว้าโดยกล่าวไว้ดังนี้ งามพิศ สัตย์สงวน (2542 : 63) กล่าวไว้ว่า หลักการสำคัญที่สุดของงานวิจัยสนามของมานุษยวิทยาคือ การสังเกตมีส่วนร่วม (Participant observation)
            งานสนามเป็นสิ่งสำคัญในงานสังคมวิทยา มานุษยวิทยา และมานุษยดนตรีวิทยา นำไปสู่การยอมรับทางการศึกษาจากโต๊ะทำงานนางมานุษยวิทยาทางดนตรีมีการบันทึกเสียง สัมภาษณ์ ถ่ายรูป และการสังเกตตีความจากตัวโน้ต ในการรวบรวมข้อมูลต้องใช้ประสบการณ์ต่างๆ มากมายในงานภาคสนาม ในอดีตงาส่วนใหญ่แค่รวบรวมเอกสารจากห้องสมุด แต่นักมานุษยดนตรีวิทยาในทุกวันนี้ต้องรวบรวมวัสดุ ข้อมูล จากแหล่งข้อมูลจริงๆ ได้สัมผัสจริงๆ มรการบันทึกโน้ตตามวิธีที่เชื่อถือได้ มีการสอบสวนประวัติศาสตร์โดยการสัมภาษณ์ ล้วนแล้วแต่หาความจริงจากแห่งข้อมูลโดยตรง สำหรับนักมานุษยดนตรีวิทยาในการลงสนาม ต้องใช้ความสามารถในภูมิศาสตร์ และภาษาศาสตร์ด้วย การลงสนามแต่ละครั้งนั้นไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ สิ่งที่เป็นรูปแบบทั่วไปของการลงภาคสนามมีดังนี้
            1.ผู้ให้ข้อมูล (Informer) เป็นบุคคลที่สนับสนุนเรื่องราวต่างๆ ที่เขาอยากรู้ คำบอกเล่าต่างๆ อาจจะยากในการศึกษาข้อมูล เราต้องคุยให้มีความใกล้ชิดเหมือนคุยกับเพื่อน ทำผู้ให้ข้อมูลมีส่วนร่วมกับการสัมภาษณ์ ข้อมูลจะดีหรือไม่ดี ผู้ให้ข้อมูลมีส่วนสำคัญมาก ผู้คนในงานภาคสนามเหล่านี้จะเป็นผู้บอกเราเกี่ยวกับการเป็นอยู่และดนตรีของเขา
            2.งานภาคสนามที่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรี และวัฒนธรรม (เกี่ยวกับพิธีกรรม ประเพณี และความเป็นอยู่) และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เช่น การสัมภาษณ์ การสนทนา การบันทึก การตัดต่อต่างๆ เพื่อช่วยให้งานสะดวกขึ้น
            3.การจดบันทึกในรูปแบบของการบันทึกภาคสนาม มีการบันทึกเสียงดนตรี การสัมภาษณ์ลงเทป การถ่ายภาพนิ่ง การบันทึกวีดีทัศน์ รวบรวมงานภาคสนามที่พบลงในสมุด การบันทึกเครื่องดนตรี การบรรเลง โดยรูแบบส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ในงานมานุษยดนตรีวิทยา คือ การเก็บบันทึกข้อมูล และการรักษาข้อมูล รวมถึงการถ่ายข้อมูลไปที่ทำงาน บ้าน หอเอกสาร
            จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมในเรื่องมนุษยดนตรีวิทยาทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของสาขาที่ได้ให้ความหมายของวิชามานุษยดนตรีวิทยานี้ไว้ว่า เป็นวิชาที่แยกตัวออกจากดนตรีวิทยา (Musicology) นิชาดังกล่าวเป็นการศึกษาเฉพาะดนตรีที่มีอยู่สังคมของชาวตะวันตก แต่ในทางดนตรีมานุษยวิทยา (Ethnomusicology) เป็นการศึกษาดนตรีที่อยู่นอกวัฒนธรรมของชาวตะวันตกแม้ว่าเราจะอยู่นอกวัฒนธรรมตะวันตกก็ตามแต่เราก็ยังใช้ชื่อมานุษยดนตรีวิทยาในการเรียกชื่อวิชาที่ศึกษาถึงดนตรีที่อยู่นอกวัฒนธรรมของเรา เช่น ดนตรีชาวเขา ดนตรีพื้นบ้าน ฯลฯ สำหรับความเกี่ยวข้องของงานภาคสนามกับวิชามานุษยดนตรีวิทยา (Ethnomusicology) นั้นกล่าวโดยสังเขป คือ งานสนามเป็นหัวใจของดนตรีมานุษยวิทยาก็ว่าได้ เพราะงานสนามเป็นหนทางของข้อมูลที่นำมาศึกษาวิจัย โดยงานสนามมุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมในสังคมเพื่อความเข้าใจ การจดบันทึก และทำความเข้าใจกับดนตรีในแง่ต่างๆ เช่น พฤติกรรมของสังคมที่มีต่อดนตรี ความสำคัญของตัวดนตรีที่มีต่อวัฒนธรรม ฯลฯ

            (ธรรมนูญ จิตตรีบุตร . 2543 : 3) ดนตรีเผ่าพันธุ์ (Ethnic Music) ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเป็นศิลปะอันรงคุณค่า มีความงาม มีความเป็นสุนทรียศาสตร์ ภายในตัวเอง ในแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชนนั้นๆ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมอื่น คุณค่า ความงาม และสุนทรียศาสตร์ ในศิลปวัฒนธรรมของพวกเขา ก็ไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมอื่น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ นั้นกำลังสูญหายไป ถ้าทุกวันนี้เรายังนิ่งนอนใจไม่ได้ให้ความสำคัญ กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมในด้านต่างๆ ความรู้และศิลปะอันทรงคุณค่าของกลุ่มวัฒนธรรมในด้านต่างๆ สิ่งที่ตามมาคือ ความรู้ภูมิปัญญาที่ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านั้นจะสูญเสียวัฒนธรรมของตนเองไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น