ยุคสมัยของดนตรีแจ๊ส
นักวิชาการดนตรียอมรับโดยทั่วกันว่า ช่วงเวลาที่แจ๊สถือกำเนิดขึ้นนั้น อยู่ระหว่างปลายคริสตศตวรรษที่19 กับต้นศตวรรษที่20 โดยมีหลักฐานที่สำคัญคือ นักดนตรีที่บันทึกเสียงดนตรีแจ๊สออกมาเป็นรุ่นแรกในตอนสงครามโลกครั้งที่1
ยุคแรก
แจ๊สในยุคแรกเริ่มต้นจากนิวออลีนส์ สไตล์ไปชิคาโก สไตล์ และสวิงเป็นยุคสุดท้าย
ยุคนิวออลีนส์ (ตั้งแต่ค.ศ.1900)
นิวออลีนส์เมืองท่าบริเวณปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ กลายเป็นแหล่งกำเนิดของดนตรีแจ๊ส แรกเริ่มนักดนตรีแจ๊สล้วนมาจากนิวออลีนส์ที่ซึ่งมีวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างชนผิวขาวชั้นกลาง และกลุ่มทาสที่ระหกระเหินมาจากอัฟริกา กระทั่งแจ๊สนิวออลีนส์ได้ชื่อว่าเป็นแนวดนตรีผสม ปลุกเร้าราตรีของเมืองใหญ่จนเป็นที่รู้จัก
ยุคชิคาโก (ตั้งแต่ค.ศ.1920)
จากการที่สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่1 ทำให้นิวออลีนส์กลายเป็นเมืองท่าสงครามไปโดยปริยาย ผู้บังคับกองเรือสั่งปิดสถานเริงรมย์หลายแห่งดังนั้นนักดนตรีจึงพากันอพยพเข้าไปอยู่ที่ชิคาโกในย่าน ‘เซาธ์ไซด์’ ซึ่งเป็นย่านคนผิวดำที่นั้นคือแหล่งพบปะกันระหว่างนักดนตรีจากนิวออลีนส์และนักร้องเพลงบลูส์ที่มีชื่อเสียง ความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงถือกำเนิดเป็น ‘ชิคาโก สไตล์’
นักดนตรีที่สร้างสีสันให้แก่เมืองนี้แบ่งออกเป็น3กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มนักดนตรีผิวดำจากนิวออลีนส์, กลุ่มนักดนตรีผิวขาวจากนิวออลีนส์ และกลุ่มนักดนตรีผิวขาวที่เป็นชาวชิคาโกท้องถิ่น
ภาพรวมของแจ๊สสไตล์ชิคาโกนับว่าเป็นรูปแบบที่สืบทอดมาจากนิวออลีนส์โดยตรง หากด้วยสีสันใหม่ๆ จากการเรียบเรียงเพลงและปรับปรุงแนวทางการเล่นให้ซับซ้อนขึ้น
ยุคสวิงและบิกแบนด์
สวิงเกิดขึ้นในนิวยอร์ค เป็นคำเดิมที่มีมาก่อนแล้ว แต่ใช้ในความหมายใหม่ ความ
หมายทั่วๆ ไปของคำนี้คือ แกว่ง ความหมายในทางแจ๊สหมายถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ หรือความคงที่ซึ่งบางครั้งดูเหมือนแข็งกระด้าง ส่วนความหมายที่เพิ่มเติมเข้ามาพร้อมๆ กับการใช้คำนี้เรียกแบบแผนของดนตรีนี้ ใช้เรียกชื่อลีลาจังหวะของดนตรี ซึ่งเกิดจากการใช้โน้ตเขบ็ตแบบขืนจังหวะหรือสวิงเอท อย่างเป็นล่ำเป็นสันด้วยเครื่องจังหวะ เช่น สตริง เบส และฉาบไฮแฮท ทำให้การดำเนินจังหวะเลื่อนไหลอย่างมีอิสระ ไม่แข็งกระด้างอย่างเคย ท่วงลีลาอย่างนี้นิยมเล่นกันในวงดนตรีขนาดใหญ่ที่มีนักดนตรีมากกว่า10คน วงดนตรีขนาดนี้ได้ชื่อว่า บิกแบนด์ (ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ 2539) โดยเป้าหมายการบรรเลงของวงชนิดนี้คือเพื่อเต้นรำ
วงดนตรี”บิกแบนด์” ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และองค์ประกอบของวงก็เริ่มลงตัว โดยเครื่องดนตรีหลักของวงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแตรซึ่งมีทรัมเปทและทรอมโบนเป็นหลัก จำนวน3-5 คัน กลุ่มที่2คือกลุ่มเครื่องลมไม้มีแซกโซโฟนเป็นหลัก จำนวน 3-5 คันและมักมีคลาริเนต ไว้ให้นักแซกโซโฟนเพื่อให้เล่นสลับกันด้วย กลุ่มที่3คือกลุ่มเครื่องเคาะจังหวะได้แก่ กลองชุดซึ่งมีกลองเพิ่มเติม และกระดึงกับฉาบเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ มีเปียนโน สตริงเบส และกีตาร์ ส่วนแบนโจซึ่งมีมาแต่เดิมนั้นถูกแทนที่ด้วยเปียโน
แจ๊สในยุคแรกเริ่มต้นจากนิวออลีนส์ สไตล์ไปชิคาโก สไตล์ และสวิงเป็นยุคสุดท้าย
ยุคนิวออลีนส์ (ตั้งแต่ค.ศ.1900)
นิวออลีนส์เมืองท่าบริเวณปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ กลายเป็นแหล่งกำเนิดของดนตรีแจ๊ส แรกเริ่มนักดนตรีแจ๊สล้วนมาจากนิวออลีนส์ที่ซึ่งมีวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างชนผิวขาวชั้นกลาง และกลุ่มทาสที่ระหกระเหินมาจากอัฟริกา กระทั่งแจ๊สนิวออลีนส์ได้ชื่อว่าเป็นแนวดนตรีผสม ปลุกเร้าราตรีของเมืองใหญ่จนเป็นที่รู้จัก
ยุคชิคาโก (ตั้งแต่ค.ศ.1920)
จากการที่สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่1 ทำให้นิวออลีนส์กลายเป็นเมืองท่าสงครามไปโดยปริยาย ผู้บังคับกองเรือสั่งปิดสถานเริงรมย์หลายแห่งดังนั้นนักดนตรีจึงพากันอพยพเข้าไปอยู่ที่ชิคาโกในย่าน ‘เซาธ์ไซด์’ ซึ่งเป็นย่านคนผิวดำที่นั้นคือแหล่งพบปะกันระหว่างนักดนตรีจากนิวออลีนส์และนักร้องเพลงบลูส์ที่มีชื่อเสียง ความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงถือกำเนิดเป็น ‘ชิคาโก สไตล์’
นักดนตรีที่สร้างสีสันให้แก่เมืองนี้แบ่งออกเป็น3กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มนักดนตรีผิวดำจากนิวออลีนส์, กลุ่มนักดนตรีผิวขาวจากนิวออลีนส์ และกลุ่มนักดนตรีผิวขาวที่เป็นชาวชิคาโกท้องถิ่น
ภาพรวมของแจ๊สสไตล์ชิคาโกนับว่าเป็นรูปแบบที่สืบทอดมาจากนิวออลีนส์โดยตรง หากด้วยสีสันใหม่ๆ จากการเรียบเรียงเพลงและปรับปรุงแนวทางการเล่นให้ซับซ้อนขึ้น
ยุคสวิงและบิกแบนด์
สวิงเกิดขึ้นในนิวยอร์ค เป็นคำเดิมที่มีมาก่อนแล้ว แต่ใช้ในความหมายใหม่ ความ
หมายทั่วๆ ไปของคำนี้คือ แกว่ง ความหมายในทางแจ๊สหมายถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ หรือความคงที่ซึ่งบางครั้งดูเหมือนแข็งกระด้าง ส่วนความหมายที่เพิ่มเติมเข้ามาพร้อมๆ กับการใช้คำนี้เรียกแบบแผนของดนตรีนี้ ใช้เรียกชื่อลีลาจังหวะของดนตรี ซึ่งเกิดจากการใช้โน้ตเขบ็ตแบบขืนจังหวะหรือสวิงเอท อย่างเป็นล่ำเป็นสันด้วยเครื่องจังหวะ เช่น สตริง เบส และฉาบไฮแฮท ทำให้การดำเนินจังหวะเลื่อนไหลอย่างมีอิสระ ไม่แข็งกระด้างอย่างเคย ท่วงลีลาอย่างนี้นิยมเล่นกันในวงดนตรีขนาดใหญ่ที่มีนักดนตรีมากกว่า10คน วงดนตรีขนาดนี้ได้ชื่อว่า บิกแบนด์ (ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ 2539) โดยเป้าหมายการบรรเลงของวงชนิดนี้คือเพื่อเต้นรำ
วงดนตรี”บิกแบนด์” ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และองค์ประกอบของวงก็เริ่มลงตัว โดยเครื่องดนตรีหลักของวงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแตรซึ่งมีทรัมเปทและทรอมโบนเป็นหลัก จำนวน3-5 คัน กลุ่มที่2คือกลุ่มเครื่องลมไม้มีแซกโซโฟนเป็นหลัก จำนวน 3-5 คันและมักมีคลาริเนต ไว้ให้นักแซกโซโฟนเพื่อให้เล่นสลับกันด้วย กลุ่มที่3คือกลุ่มเครื่องเคาะจังหวะได้แก่ กลองชุดซึ่งมีกลองเพิ่มเติม และกระดึงกับฉาบเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ มีเปียนโน สตริงเบส และกีตาร์ ส่วนแบนโจซึ่งมีมาแต่เดิมนั้นถูกแทนที่ด้วยเปียโน
ยุคใหม่
แจ๊สยุคใหม่มิได้ปรากฏออกมาอย่างฉับพลันแต่ปรากฏทีละน้อยในผลงานของศิลปินหลาย
คนเช่น ดิซซี กิลเลสปี, ธีโลเนียส มังค์ ด้วยแนวคิดทดลองสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมา
ลักษณะเด่นประการหนึ่งที่ปรากฏชัดในแจ๊สยุคใหม่คือขนาดของวงดนตรี ซึ่งมีขนาดเล็กลง ไม่ว่าจะเรียกชื่อแบบแผนดนตรีอย่างไรก็ตามความนิยมเช่นนี้ เกิดกับวงการเพลงยอดนิยมด้วย อย่างไรก็ตามวงใหญ่ก็มิได้ถึงกับสาบสูญไปหมด เนื่องจากนักดนตรีรุ่นใหม่ๆ หลายคนก็นั่งเล่นดนตรีวงใหญ่กันอยู่เป็นครั้งคราว (ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ 2539)
ยุคบ๊อพ หรือ บีบ๊อพ (ตั้งแต่ค.ศ.1940)
บีบ๊อพ เป็นดนตรีที่ต่อต้านดนตรีแจ๊สประเภทสวิงซึ่งเป็นดนตรีสำหรับการเต้นรำ เน้นไปทางด้านการโฆษณาหรือการค้าจนเกินไปและเป็นดนตรีที่ไม่ค่อยใช้การด้นสด ส่วนบีบ๊อพเป็นดนตรีที่มีลักษณะของโครงสร้างซับซ้อนทั้งทางด้านทำนองการประสานเสียง จังหวะที่แปลกๆ ไม่เป็นไปตามปกติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ฟังเพลงต้องการฟังเพลงอย่างจริงจัง มากกว่าการใช้เป็นเพลงประกอบการเต้นรำ
ที่มาของคำว่า บีบ๊อพ หรือ บ๊อพนั้นสันนิษฐานว่าอาจจะได้ชื่อมาจาก การร้องโน้ต2 ตัวเร็วๆ ซึ่งมักอยู่ช่วงจบของวรรคว่า บีบ๊อพ
ผู้เดี่ยวดนตรีมักจะเป็นผู้เป่าแซ็กโซโฟนหรือทรัมเปท โดยมีกลุ่มให้จังหวะคือเปียโน เบส กลอง และเครื่องเคาะอื่นๆ ซึ่งเป็นวงไม่ใหญ่โตนัก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยวที่บรรเลงทำนองหรือกลุ่มเครื่องทำจังหวะ จะเน้นจังหวะในที่ต่างๆ ไม่เป็นตามกฎเกณฑ์ใดๆ ทั้งสิ้น เรียกว่า บอมบ์ ทำให้กลุ่มเครื่องทำจังหวะมีบทบาทมากขึ้นกว่าดนตรีแจ๊สประเภทแรกๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเพียงการบรรเลงจังหวะที่เป็นรูปแบบตามอัตราจังหวะเท่านั้น การประสานเสียงมักใช้คอร์ดประเภท 6 หรือ7 เสียงมากกว่าคอร์ดประเภท 5 หรือ 6 เสียง รูปแบบการบรรรเลงเพลงประเภทบีบ๊อพมักเริ่มต้นและจบด้วยทำนองหลักซึ่งบรรเลงโดยเครื่องดนตรีเดี่ยวหนึ่งหรือสองชิ้น ส่วนที่เหลือในช่วงกลางทั้งหมดจะเป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีเดี่ยวชนิดต่างๆ โดยการด้นสดจากโครงสร้างของทำนองหรือการประสานเสียง
บทเพลงที่บรรเลงมีทั้งการนำทำนองจากเพลงที่มีอยู่แล้วมาบรรเลง และประพันธ์ขึ้นมาใหม่ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงและมีฝีมือ ได้แก่ ชาร์ลี พาร์คเกอร์ นักแซกโซโฟนและนักทรัมเปท ดิซซี กิลเลสปี ทั้งคู่จัดเป็นบุคคลสำคัญของการบุกเบิกบีบ๊อพขึ้นมา
ยุคคูลแจ๊ส, ยุคเวสต์โคสต์ และยุคฮาร์ดบ๊อพ (ตั้งแต่ปลายค.ศ.1940)
คูลแจ๊ส เป็นแจ๊สอีกประเภทหนึ่งที่พัฒนาตามบีบ๊อพขึ้นมา แต่แจ๊สประเภทนี้มีความนุ่มนวล ช้าๆกว่าบีบ๊อพ ท่วงทำนอง จังหวะตลอดจนการบรรเลงของคูลแจ๊สฟังดูสบายเรียบๆ เป็นเพลงที่มีความยาวกว่าบีบ๊อพ มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ก่อนบรรเลง และมักใช้เครื่องดนตรีที่แตกต่างจากแจ๊สยุคก่อนๆเช่น ใช้ฮอร์น ฟลูท และเชลโล่ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้แก่ ไมล์ เดวิด, แสตน เกส ,เลสเตอร์ ยังค์ มีนักดนตรีกลุ่มหนี่งสนใจและเล่นดนตรีคูลแจ๊ส ได้แก่ นักดนตรีจากฝั่งตะวันตกหรือ เวสต์โคสต์ นักดนตรีส่วนมากเป็นคนผิวขาว กลุ่มนักดนตรีกลุ่มรับนี้ได้รับอิทธิพลจากไมล์ เดวิด, ลี โคนีสต์และ เลสเตอร์ ยังค์ แต่ดนตรีของพวกเขาฟังดูนุ่มนวล เยือกเย็นและผ่อนคลายกว่าเล็กน้อย หลังปี1950 คูลแจ๊สทางฝั่งตะวันตกเริ่มมีคุณสมบัติที่ชัดเจนคือ บางเบา เหมาะสมสำหรับการบรรเลงในห้องโถงอย่างแชมเบอร์มิวสิคของยุโรป นักดนตรีคูลแจ๊สทางฝั่งตะวันตกที่มีผลงานที่น่าสนใจคือ เดฟ บรูเบคและ จิมมี จุฟเฟร ในเวลาเดียวกันนั้น บ๊อพก็ยังได้รับความนิยมอยู่ ท่วงทำนองทรัมเปทของดิซซี กิลเลสปี แฟทซ์ นาวาโร และ คลิฟฟอร์ด บราวน์ ได้ส่งผลต่อเคนนี ดอรัม ทำให้ดอรัมรักษาแบบแผนของบ๊อพไว้อย่างมั่นคง และคลี่คลายไปเป็นฮาร์ดบ๊อพดดยกลุ่มผู้ร่วมบุกเบิกสำคัญหลายคนเช่น ซอนนี โรลลินส์ นักแซกโซโฟนเทอร์เนอร์ , เจ.เจ.จอร์นสัน นักทรอมดบน และ แมกซ์ โรช มือกลอง
ลักษณะเด่นของฮาร์ดบ๊อพประการหนึ่งคือ มีทำนองที่ funky, earthy และมีเสียงประสานที่ปรับมาจากดนตรีศาสนา (ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ 2539)
ยุคฟรีแจ๊ส (ตั้งแต่ค.ศ.1960)
รูปแบบดนตรีฟรีแจ๊สเกิดขึ้นโดยโคลแมน ซึ่งมีความคิดที่ไม่ต้องการยึดรูปแบบแจ๊สดั้งเดิมคือ การมีทำนองหลักและการบรรเลงโดยการด้นสดจากทำนองหลัก จึงรวบรวมวงซึ่งมี8คน บรรเลงเพลงโดยอิสระทั้งในด้านทำนอง รูปแบบ และการประสานเสียง ซึ่งมีโครงสร้างของเพลงเพียงคร่าวๆเท่านั้น โคลแมนยังใช้การด้นสดของทำนอง และจังหวะ และมักเน้นจังหวะตบหรือการรักษาความเร็วจังหวะน้อยกว่าแจ๊สยุคก่อนๆ ส่วนเครื่องดำเนินจังหวะ และแนวเบสได้รับการเน้นให้มีอิสระในการบรรเลงมากขึ้น
ประมาณ ค.ศ.1970 ความหมายของฟรีแจ๊สก็ขยายกว้างขีฃึ้นเนื่องจากนักดนตรีจำนวนมากได้รับอิทธิพลดนตรีของชาติอื่นๆมาปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาติที่มีวัฒนธรรมแตกต่างจากชาวตะวันตก ดนตรีเหล่านี้ได้แก่ดนตรีของอินเดีย แอฟริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น
ยุคฟิวชั่นแจ๊ส (ตั้งแต่ปลายค.ศ.1960)
ในช่วงปลายทศวรรษ1960เพลงร็อคมีอิทธิพลมากขึ้น ทำให้เกิดแจ๊สรูปแบบใหม่ขึ้น คือ แจ๊สร็อคหรือฟิวชั่นแจ๊ส ลักษณะของดนตรีรูปแบบนี้คือ การผนวกการด้นสดในการบรรเลงดนตรี โดยการใช้รูปแบบจังหวะ และสีสันของเพลงร็อค เครื่องดนตรีในวงฟิวชั่นมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีดั้งเดิม และเครื่องดนตรีไฟฟ้า หรืออีเลคโทรนิค กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะมักจะใหญ่กว่าแจ๊สยุคก่อนๆ และมักมีเครื่องดนตรีต่างชาติร่วมบรรเลงด้วย เช่น เครื่องดนตรีจากอัฟริกา ลาตินอเมริกา หรืออินเดีย ลักษณะเฉพาะอีก2ประการของฟิวชั่นแจ๊สคือ แนวทำนองของอีเลคโทรนิคเบสและการซ้ำทวนของจังหวะ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงเช่น ชิค โคเรีย มือคีย์บอร์ด
โดยสรุปแจ๊สเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนผิวดำ ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมาจากดนตรีพื้นเมืองของชาวอัฟริกันตะวันตก ดนตรีของอเมริกันเอง และดนตรีจากยุโรป จากแรคไทม์ และบลูส์ ในช่วงปลายศตวรรษที่19 ต่อช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 แจ๊สเริ่มมีวิวัฒนาการขึ้น โดยกำเนิดที่เมืองนิวออลีนส์ แจ๊สยุคนั้นเรียกว่าดิกซีแลนด์ ลักษณะของแจ๊สคือ การบรรเลงแบบด้นสด จากทำนองหลักที่มีอยู่และใช้จังหวะขัด การประสานเสียงแปลกๆทำให้ดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เด่นขัด และแจ๊สก็มีการพัฒนาเรื่อยๆมาจากยุคแรกทำให้เกิดแจ๊สในรูปแบบต่างๆกันได้แก่ สวิง หรือบิกแบนด์ บีบ๊อพ คูลแจ๊ส ฟรีแจ๊สและฟิวชั่น
แจ๊สยุคใหม่มิได้ปรากฏออกมาอย่างฉับพลันแต่ปรากฏทีละน้อยในผลงานของศิลปินหลาย
คนเช่น ดิซซี กิลเลสปี, ธีโลเนียส มังค์ ด้วยแนวคิดทดลองสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมา
ลักษณะเด่นประการหนึ่งที่ปรากฏชัดในแจ๊สยุคใหม่คือขนาดของวงดนตรี ซึ่งมีขนาดเล็กลง ไม่ว่าจะเรียกชื่อแบบแผนดนตรีอย่างไรก็ตามความนิยมเช่นนี้ เกิดกับวงการเพลงยอดนิยมด้วย อย่างไรก็ตามวงใหญ่ก็มิได้ถึงกับสาบสูญไปหมด เนื่องจากนักดนตรีรุ่นใหม่ๆ หลายคนก็นั่งเล่นดนตรีวงใหญ่กันอยู่เป็นครั้งคราว (ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ 2539)
ยุคบ๊อพ หรือ บีบ๊อพ (ตั้งแต่ค.ศ.1940)
บีบ๊อพ เป็นดนตรีที่ต่อต้านดนตรีแจ๊สประเภทสวิงซึ่งเป็นดนตรีสำหรับการเต้นรำ เน้นไปทางด้านการโฆษณาหรือการค้าจนเกินไปและเป็นดนตรีที่ไม่ค่อยใช้การด้นสด ส่วนบีบ๊อพเป็นดนตรีที่มีลักษณะของโครงสร้างซับซ้อนทั้งทางด้านทำนองการประสานเสียง จังหวะที่แปลกๆ ไม่เป็นไปตามปกติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ฟังเพลงต้องการฟังเพลงอย่างจริงจัง มากกว่าการใช้เป็นเพลงประกอบการเต้นรำ
ที่มาของคำว่า บีบ๊อพ หรือ บ๊อพนั้นสันนิษฐานว่าอาจจะได้ชื่อมาจาก การร้องโน้ต2 ตัวเร็วๆ ซึ่งมักอยู่ช่วงจบของวรรคว่า บีบ๊อพ
ผู้เดี่ยวดนตรีมักจะเป็นผู้เป่าแซ็กโซโฟนหรือทรัมเปท โดยมีกลุ่มให้จังหวะคือเปียโน เบส กลอง และเครื่องเคาะอื่นๆ ซึ่งเป็นวงไม่ใหญ่โตนัก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยวที่บรรเลงทำนองหรือกลุ่มเครื่องทำจังหวะ จะเน้นจังหวะในที่ต่างๆ ไม่เป็นตามกฎเกณฑ์ใดๆ ทั้งสิ้น เรียกว่า บอมบ์ ทำให้กลุ่มเครื่องทำจังหวะมีบทบาทมากขึ้นกว่าดนตรีแจ๊สประเภทแรกๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเพียงการบรรเลงจังหวะที่เป็นรูปแบบตามอัตราจังหวะเท่านั้น การประสานเสียงมักใช้คอร์ดประเภท 6 หรือ7 เสียงมากกว่าคอร์ดประเภท 5 หรือ 6 เสียง รูปแบบการบรรรเลงเพลงประเภทบีบ๊อพมักเริ่มต้นและจบด้วยทำนองหลักซึ่งบรรเลงโดยเครื่องดนตรีเดี่ยวหนึ่งหรือสองชิ้น ส่วนที่เหลือในช่วงกลางทั้งหมดจะเป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีเดี่ยวชนิดต่างๆ โดยการด้นสดจากโครงสร้างของทำนองหรือการประสานเสียง
บทเพลงที่บรรเลงมีทั้งการนำทำนองจากเพลงที่มีอยู่แล้วมาบรรเลง และประพันธ์ขึ้นมาใหม่ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงและมีฝีมือ ได้แก่ ชาร์ลี พาร์คเกอร์ นักแซกโซโฟนและนักทรัมเปท ดิซซี กิลเลสปี ทั้งคู่จัดเป็นบุคคลสำคัญของการบุกเบิกบีบ๊อพขึ้นมา
ยุคคูลแจ๊ส, ยุคเวสต์โคสต์ และยุคฮาร์ดบ๊อพ (ตั้งแต่ปลายค.ศ.1940)
คูลแจ๊ส เป็นแจ๊สอีกประเภทหนึ่งที่พัฒนาตามบีบ๊อพขึ้นมา แต่แจ๊สประเภทนี้มีความนุ่มนวล ช้าๆกว่าบีบ๊อพ ท่วงทำนอง จังหวะตลอดจนการบรรเลงของคูลแจ๊สฟังดูสบายเรียบๆ เป็นเพลงที่มีความยาวกว่าบีบ๊อพ มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ก่อนบรรเลง และมักใช้เครื่องดนตรีที่แตกต่างจากแจ๊สยุคก่อนๆเช่น ใช้ฮอร์น ฟลูท และเชลโล่ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้แก่ ไมล์ เดวิด, แสตน เกส ,เลสเตอร์ ยังค์ มีนักดนตรีกลุ่มหนี่งสนใจและเล่นดนตรีคูลแจ๊ส ได้แก่ นักดนตรีจากฝั่งตะวันตกหรือ เวสต์โคสต์ นักดนตรีส่วนมากเป็นคนผิวขาว กลุ่มนักดนตรีกลุ่มรับนี้ได้รับอิทธิพลจากไมล์ เดวิด, ลี โคนีสต์และ เลสเตอร์ ยังค์ แต่ดนตรีของพวกเขาฟังดูนุ่มนวล เยือกเย็นและผ่อนคลายกว่าเล็กน้อย หลังปี1950 คูลแจ๊สทางฝั่งตะวันตกเริ่มมีคุณสมบัติที่ชัดเจนคือ บางเบา เหมาะสมสำหรับการบรรเลงในห้องโถงอย่างแชมเบอร์มิวสิคของยุโรป นักดนตรีคูลแจ๊สทางฝั่งตะวันตกที่มีผลงานที่น่าสนใจคือ เดฟ บรูเบคและ จิมมี จุฟเฟร ในเวลาเดียวกันนั้น บ๊อพก็ยังได้รับความนิยมอยู่ ท่วงทำนองทรัมเปทของดิซซี กิลเลสปี แฟทซ์ นาวาโร และ คลิฟฟอร์ด บราวน์ ได้ส่งผลต่อเคนนี ดอรัม ทำให้ดอรัมรักษาแบบแผนของบ๊อพไว้อย่างมั่นคง และคลี่คลายไปเป็นฮาร์ดบ๊อพดดยกลุ่มผู้ร่วมบุกเบิกสำคัญหลายคนเช่น ซอนนี โรลลินส์ นักแซกโซโฟนเทอร์เนอร์ , เจ.เจ.จอร์นสัน นักทรอมดบน และ แมกซ์ โรช มือกลอง
ลักษณะเด่นของฮาร์ดบ๊อพประการหนึ่งคือ มีทำนองที่ funky, earthy และมีเสียงประสานที่ปรับมาจากดนตรีศาสนา (ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ 2539)
ยุคฟรีแจ๊ส (ตั้งแต่ค.ศ.1960)
รูปแบบดนตรีฟรีแจ๊สเกิดขึ้นโดยโคลแมน ซึ่งมีความคิดที่ไม่ต้องการยึดรูปแบบแจ๊สดั้งเดิมคือ การมีทำนองหลักและการบรรเลงโดยการด้นสดจากทำนองหลัก จึงรวบรวมวงซึ่งมี8คน บรรเลงเพลงโดยอิสระทั้งในด้านทำนอง รูปแบบ และการประสานเสียง ซึ่งมีโครงสร้างของเพลงเพียงคร่าวๆเท่านั้น โคลแมนยังใช้การด้นสดของทำนอง และจังหวะ และมักเน้นจังหวะตบหรือการรักษาความเร็วจังหวะน้อยกว่าแจ๊สยุคก่อนๆ ส่วนเครื่องดำเนินจังหวะ และแนวเบสได้รับการเน้นให้มีอิสระในการบรรเลงมากขึ้น
ประมาณ ค.ศ.1970 ความหมายของฟรีแจ๊สก็ขยายกว้างขีฃึ้นเนื่องจากนักดนตรีจำนวนมากได้รับอิทธิพลดนตรีของชาติอื่นๆมาปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาติที่มีวัฒนธรรมแตกต่างจากชาวตะวันตก ดนตรีเหล่านี้ได้แก่ดนตรีของอินเดีย แอฟริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น
ยุคฟิวชั่นแจ๊ส (ตั้งแต่ปลายค.ศ.1960)
ในช่วงปลายทศวรรษ1960เพลงร็อคมีอิทธิพลมากขึ้น ทำให้เกิดแจ๊สรูปแบบใหม่ขึ้น คือ แจ๊สร็อคหรือฟิวชั่นแจ๊ส ลักษณะของดนตรีรูปแบบนี้คือ การผนวกการด้นสดในการบรรเลงดนตรี โดยการใช้รูปแบบจังหวะ และสีสันของเพลงร็อค เครื่องดนตรีในวงฟิวชั่นมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีดั้งเดิม และเครื่องดนตรีไฟฟ้า หรืออีเลคโทรนิค กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะมักจะใหญ่กว่าแจ๊สยุคก่อนๆ และมักมีเครื่องดนตรีต่างชาติร่วมบรรเลงด้วย เช่น เครื่องดนตรีจากอัฟริกา ลาตินอเมริกา หรืออินเดีย ลักษณะเฉพาะอีก2ประการของฟิวชั่นแจ๊สคือ แนวทำนองของอีเลคโทรนิคเบสและการซ้ำทวนของจังหวะ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงเช่น ชิค โคเรีย มือคีย์บอร์ด
โดยสรุปแจ๊สเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนผิวดำ ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมาจากดนตรีพื้นเมืองของชาวอัฟริกันตะวันตก ดนตรีของอเมริกันเอง และดนตรีจากยุโรป จากแรคไทม์ และบลูส์ ในช่วงปลายศตวรรษที่19 ต่อช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 แจ๊สเริ่มมีวิวัฒนาการขึ้น โดยกำเนิดที่เมืองนิวออลีนส์ แจ๊สยุคนั้นเรียกว่าดิกซีแลนด์ ลักษณะของแจ๊สคือ การบรรเลงแบบด้นสด จากทำนองหลักที่มีอยู่และใช้จังหวะขัด การประสานเสียงแปลกๆทำให้ดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เด่นขัด และแจ๊สก็มีการพัฒนาเรื่อยๆมาจากยุคแรกทำให้เกิดแจ๊สในรูปแบบต่างๆกันได้แก่ สวิง หรือบิกแบนด์ บีบ๊อพ คูลแจ๊ส ฟรีแจ๊สและฟิวชั่น
แจ๊สเป็นดนตรีประเภทหนึ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของชนผิวดำอเมริกันและมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยมาเรื่อยๆจนถึงยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าถึงดนตรีชนิดนี้ผู้ศึกษาควรที่จะศึกษาถึงประวัติและองค์ประกอบของดนตรีชนิดนี้ รวมถึงการฝึกหัดฟัง ทำความเข้าใจไปด้วย เพื่อพัฒนาความซาบซึ้งของตนเองให้ถึงระดับเดียวกับการนำเสนอของผู้สร้างสรรค์ จึงจะทำให้ได้รับอรรถรสของการฟังแจ๊สอย่างครบถ้วนสมบูรณ์....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น