วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

OPERA

                 โอเปรา (Opera) หรือ อุปรากร เป็นละครที่มีเพลงและดนตรีเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่องราว โอเปราจึงเป็นผลรวมของศิลปะนานาชนิดเข้าด้วยกัน ตั้งแต่วรรณกรรม คือ บทร้อง เครื่องละคร การแสดง การเต้นรำ การร้องและการเล่นดนตรี ตลอดระยะเวลาร่วม 400 ปีที่เกิดมีโอเปราขึ้นมานั้น รูปแบบของโอเปรามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอยู่เสมอโอเปราจึงมีหลายประเภท
                                  1. โอเปรา ซีเรีย (Opera seria) หรือ Serious opera หรือ Grand opera ซึ่งเป็นโอเปราที่ผู้ชมต้องตั้งใจดูอย่างมากเพราะการดำเนินเรื่องใช้บทร้อง ไม่มีการพูดสนทนา ซึ่งจัดว่าเป็นศิลปะดนตรีชั้นสูง เช่นเดียวกับการเข้าถึงศิลปะแขนงอื่น ๆ การชมโอเปราประเภทนี้จึงต้องมีพื้นความรู้และมีความเข้าใจในองค์ประกอบของโอเปรา โดยเฉพาะด้านดนตรีเพื่อความซาบซึ้งอย่างแท้จริง เรื่องราวของโอเปราประเภทนี้มักจะเป็นเรื่องของความเก่งกาจของพระเอกหรือตัวนำ หรือเป็นเรื่องโศกนาฏกรรม (Heroic or tragic drama)                                  2. โคมิค โอเปรา (Comic Opera) คือ โอเปราที่มักจะมีเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน ตลกขบขันล้อเลียนคน หรือเหตุการณ์ต่างๆ มักมีบทสนทนาที่ใช้พูดแทรกระหว่างบทเพลงร้อง โอเปราประเภทนี้จะดูง่ายกว่าประเภทแรก เนื่องจากเนื้อเรื่องสนุกสนาน มีบทสนทนาแทรก ดนตรีและเพลงที่ฟังไพเราะไม่ยากเกินไป
                                  3. โอเปอเรตตา (Operetta) จัดเป็นโอเปราขนาดสั้นมีแนวสนุกสนานทันสมัยอาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก โอเปเรตตาใช้การพูดแทนการร้องในบทสนทนา
                                  4. คอนทินิวอัส โอเปรา (Continuous opera) เป็นโอเปราที่ผู้ประพันธ์ใช้ดนตรีเชื่อมโยงเรื่องราวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ มิใช่เป็นการร้องหรือสนทนาที่เป็นช่วง ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Sacred Music

                 เพลงศาสนา (Sacred Music)
                 ออราทอริโอ (Oratorio) คือ บทเพลงที่ประกอบไปด้วยการร้องเดี่ยวของนักร้องระดับเสียงต่างๆ การร้องของวงประสานเสียง และการบรรเลงของวงออร์เคสตรา ซึ่งบทร้องเป็นเรื่องราวขนาดยาวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ แสดงในโรงแสดงคอนเสิร์ตหรือในโบสถ์ โดยไม่มีการแต่งตัวแบบละคร ไม่มีการแสดงประกอบ และไม่มีฉากใด ๆ ในขณะแสดง ลักษณะของออราทอริโอ (Oratorio) คล้ายกับโอเปราที่ไม่มีฉากและการแสดงประกอบนั่นเอง ลักษณะเด่นที่ต่างไปจากเพลงโบสถ์อื่น ๆ ได้แก่ การประพันธ์บทร้องที่คำนึงถึงดนตรีประกอบมิได้มุ่งถึงบทร้องที่นำมาจากบทประพันธ์ของวัดแต่ดั้งเดิม ดังเช่นเพลงโบสถ์ลักษณะอื่น ๆ นอกจากนี้ออราทอริโอยังเป็นเพลงที่มีความยาวมาก ออราทอริโอบางบทถ้าแสดงโดยสมบูรณ์อาจจะยาวถึง 4-6 ชั่วโมง ในปัจจุบันการแสดงเพลงประเภทนี้จึงมีการตัดเพลงบางท่อนออกไปเพื่อลดเวลาการแสดงให้เหมาะสมกับโอกาส

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

SONATA

                 โซนาตา (sonata) เป็นเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยว เช่น เปียโนโซนาตา ก็คือ บทเพลงสำหรับเดี่ยวเปียโน ไวโอลินโซนาตา เป็นบทเพลงสำหรับเดี่ยวไวโอลิน อนึ่งเพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่เปียโนจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบซึ่งมักเป็นเปียโน บทบาทของเครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบในสมัยแรก ๆ จะเป็นแนวสนับสนุนเท่านั้น แต่ในสมัยต่อ ๆ มา เครื่องดนตรีประกอบจะเปลี่ยนบทบาทเป็นการบรรเลงร่วมกันหรือโต้ตอบกันมากกว่า ความสำคัญของบทบาทใกล้เคียงกันมากขึ้น บทประพันธ์ ประเภทโซนาตามักประกอบด้วย 3 หรือ 4 ท่อนเพลง ท่อนแรกมักอยู่ในอัตราจังหวะเร็ว ท่อนที่ 2 อยู่ใน อัตราจังหวะช้า ท่อนที่ 3 มักอยู่บรรยากาศที่ร่าเริงสนุกสนานในจังหวะเต้นรำแบบมินูเอต
                 ลักษณะของโซนาตาในสมัยคลาสสิกตอนต้นยังมีลักษณะไม่แน่นอนอาจจะมีเพียงท่อนเดียว หรือสามท่อน (เร็ว ช้า - เร็ว) รูปแบบพัฒนามาเรื่อยจนมีรูปแบบแน่นอน คือ มีลักษณะคล้ายซิมโฟนี คือ มี 4 ท่อน หรือ คล้ายคอนแชร์โต คือ มี 3 ท่อน

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ซิมโฟนี (Symphony)


              ซิมโฟนี (Symphony) เป็นบทเพลงที่เป็นรูปแบบและนิยมประพันธ์ในสมัยคลาสสิก (1750-1820) ในระยะแรกๆ นั้น ซิมโฟนียังมีรูปแบบที่ไม่แน่นอนนัก แต่ก็มีความแตกต่างจากเพลง
ในสมัยบาโรค (Baroque) ต่อมาได้มีการปรับปรุงจนมาถึงสมัยคลาสสิกทุกอย่างเริ่มมีแบบแผนมากขึ้น มีมาตรฐานที่เห็นชัดเจนขึ้น ปัจจุบันบทเพลงซิมโฟนีที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยคลาสสิกถือว่าเป็นต้นแบบของบทเพลงประเภทนี้ และบทเพลงจำนวนมากประพันธ์โดย ไฮเดิน (..1732-1809) คีตกวีชาวออสเตรียนเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งซิมโฟนีฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (FranZ Joseph Haydn)

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ดนตรียุคศตวรรษที่ 20 ( 1910 - World War 2 )

ดนตรียุคศตวรรษที่ 20  ถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  ( 1910 – World War 2 )
 เริ่มจากปี ค.ศ. 1900 จนถึงปัจจุบัน ดนตรีในยุคนี้มีความหลากหลายมาก เนื่องจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ คีตกวีพยายามที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา มีการทดลองการใช้เสียงแบบแปลกๆ การประสาน ทำนองเพลงมีทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ คีตกวีเริ่มเบื่อและรู้สึกอึดอัดที่จะต้องแต่งเพลงไปตามกฎเกณฑ์ที่ถูกบังคับ โดยระบบกุญแจหลักและบันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ จึงพยายามหาทางออกต่างๆ กันไป มีการใช้เสียงประสานอย่างอิสระ ไม่เป็นไปตามกฎของดนตรี จัดลำดับคอร์ดทำตามความต้องการของตน ตามสีสันของเสียงที่ตนต้องการ ทำนองไม่มีแนวที่ชัดเจนรัดกุม เหมือนทำนองยุคคลาสสิค หรือโรแมนติค ฟังเพลงเหมือนไม่มีกลุ่มเสียงหลัก ในครึ่งหลังของสมัยนี้ การดนตรีรุดหน้าไปอย่างไม่ลดละ นอกจากมีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ทางด้านทฤษฎีแล้ว ยังมีการใช้เครื่องไฟฟ้าเข้ามาประกอบด้วย เช่น มีการใช้เสียงซึ่งทำขึ้นโดยระบบไฟฟ้า เป็นสัญญาณเสียงในระบบอนาล็อกหรือดิจิตอล หรือใช้เทปอัดเสียงในสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาเปิดร่วมกับดนตรีที่แสดงสดๆ บนเวที และเสียงอื่นๆ อีกมากยุคนี้จึงเป็นสมัยของการทดลองและบุกเบิก

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อ่านโน้ตไม่ยาก

Piano to Brain Method เป็นวิธีการสอนแบบใหม่สำหรับการอ่านโน้ตเปียโน วิธีนี้จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ในการอ่านโน้ตได้โดยธรรมชาติ และทำให้เกิดความเครียดน้อยที่สุด มีนักเรียนหลายคนต้องเลิกเรียนเปียโนเพราะเห็นว่าการเล่นเปียโนเป็นเรื่องที่ไม่สนุก โดยที่ไม่รู้ว่าแท้จริงปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการอ่านโน้ต เนื่องจากว่าเพลงเริ่มแรกจะมีความยาวแค่หนึ่ง-สองบรรทัด นักเรียนส่วนใหญ่จิงใช้วิธีจำโน้ตเป็นหลัก พอเจอเพลงที่ยาวขึ้น ประสิทธิภาพในการจำก็จะน้อยลง ความผิดพลาดให้การเล่นก็จะมากขึ้น ทำเด็กรู้สึกว่าการเล่นเปียโนเป็นสิ่งที่ยาก และเลิกเล่นไปในที่สุด
โน้ตดนตรีก็เปรียบเสมือนภาษาหนึ่งภาษา การอ่านโน้ตก็เหมือนการอ่าน ก-ไก่ ข-ไข่ ตอนที่เรายังเป็นเด็ก เชื่อว่าโรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่จะให้เด็กเล็ก เรียนอักษรไทยไม่เกินครั้งละ 3 ตัว แล้วนำกลับไปคัดที่บ้าน ตัวอักษรละหลายๆหน้า เพื่อให้เด็กค่อยๆจำได้
ดิฉันเคยมีโอกาสไปฟังสมมนากับอาจารย์สอนเปียโนที่มีชื่อเสียงในการแต่งเพลงท่านหนึ่ง หัวข้อของการสมมนาคือ วิธีการสอนเด็กเล็ก ในวันนั้นท่านได้อธิบายถึงส่วนของสมองต่างๆ สมองชั้นในสุดจะใช้ในเรื่องของ long term memory (ความจำระยะยาว) สมองนี้จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อเราได้ยินเรื่องใดเรื่องนึงซ้ำๆ การเห็นภาพซ้ำๆ การกระทำในสิ่งเดิมๆซ้ำๆ สมองส่วนนี้ก็จะถูกใช้ เราจะจำเรื่องๆนั้นได้เอง โดยที่เราไม่ได้พยายามจำมันเลย
ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร “D” ในภาษาอังกฤษ เมื่อเราเห็นอักษร “D” แล้ว เราสามารถบอกได้ว่านี่คืออักษร “D” โดยแทบที่เราไม่ต้องนึกถึงว่านี่คืออักษรอะไร อยู่ลำดับที่เท่าไหร่ ไม่ต้องไล่จากA, B, C, D
ในหลักสูตรนี้จะช่วยคุณได้ใช้สมองส่วนลึกในการจำตัวโน้ต โดยการเจอภาพซ้ำๆ ค่อยๆเพิ่มตัวโน้ตใหม่ๆทีละตัว เหมือนตอนที่เรายังเป็นเด็ก คุณครูใจดีค่อยๆ เพิ่มตัวอักษร ทีละน้อย จนเราสามารถอ่านออกเขียนได้ ช่วยเราในการอ่านหนังสือใหม่ๆ เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เหมือนกับเปียโน เมื่อคุณมีพื้นฐานการอ่านโน้ตที่ดี คุณก็จะเรียนรู้เปียโนได้งายขึ้น การอ่านจิงเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการฝึกเปียโนค่ะ

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิโอล่า ( Viola ) ซินเดอร์เรลล่าแห่งเครื่องสาย

วิโอล่า (Viola) ซินเดอร์เรลล่าแห่งเครื่องสาย
เรื่องราวของเครื่องดนตรีชนิดนี้ช่างคล้ายคลึงกับเทพนิยายเรื่องซินเดอเรลล่าเมื่อเทียบกับเครื่องสายในตระกูลเดียวกันViola ในภาษาอิตาเลี่ยนหมายถึงซอวิโอล (Viol)
ในช่วงศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17 มักจะพบเครื่องดนตรีที่ชื่อ da gamba หรือ da braccio ซึ่งแสดงถึงเครื่องสายที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีตระกูลเดียวกัน วิโอล่าก็เช่นเดียวกับไวโอลิน ปรากฎอยู่ในภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วิหาร Saronno Cathedral ซึ่งเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1535 ต่อมาในศตวรรษที่ 16 วิโอล่าได้พัฒนาตัวเองเป็นเครื่องดนตรีเสียง Alto หรือ Tenor ในตระกูลไวโอลิน
โครงสร้างของวิโอล่า
วิโอล่าจำนวนมากจากยุค Renaissance ตอนปลายและต้นยุค Baroque ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่ามีการสร้างขึ้นแตกต่างกันหลายขนาด รวมถึงวิโอล่าขนาดเล็กเพื่อให้มีโทนเสียงที่สูงขึ้นเพื่อเล่นในวง Ensemble และวิโอล่าขนาดใหญ่สำหรับเล่นโทนเสียงต่ำ
วิโอล่าจะตั้งสายต่ำกว่าไวโอลินคือ C-G-D-A ซึ่งเป็นคู่ 5 เช่นเดียวกัน ปัจจุบันวิโอล่าก็ยังคงมีขนาดที่หลากหลายมากที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกัน เพื่อให้การสะท้อนเสียงสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับไวโอลิน วิโอล่าจำเป็นต้องลดขนาดความยาวลงอีกครั้งหนึ่ง จากภาพเขียนในอดีตจะเห็นว่ามันไม่สามารถวางเล่นบนไหล่ได้ ผลของการประนีประนอมดังกล่าว ทำให้วิโอล่ามีขนาดความยาวอยู่ที่ 38 ถึง 45 ซม. (15-18 นิ้ว) ทำให้บทบาทของวิโอล่าในฐานะที่เป็นเครื่องดนตรีแสดงเดี่ยว ช้ากว่าไวโอลินและเชลโลซึ่งเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกัน

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เพลงยาวพยากรณ์อยุธยา พาเรียนรู้เพลงพรปีใหม่ ฝักใฝ่หาสามัคคีชุมนุม

เพลงยาวพยากรณ์อยุธยา   พาเรียนรู้เพลงพรปีใหม่   ฝักใฝ่หา  สามัคคีชุมนุม
                                                                     ๑
                                                                     นายยงยุทธ  เอี่ยมสอาด
              กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย  น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม  ปริศนาธรรมจากพระพุทธทาสภิกขุมนุษย์ทั้งหลายไม่เลือกโคตรศักราชชาติภาษามักจะมีความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับลางสังหรณ์ รวมทั้งความฝัน ถ้าลางสังหรณ์เกิดกับไพร่บ้านพลเมืองระดับกระจิบกระจอกสิ่งที่จะเกิดตามมาก็เป็นเรื่องเฉพาะตนไม่เกี่ยวกับสังคมส่วนรวม แต่ถ้าลางสังหรณ์เกิดกับผู้มีบุญวาสนากำชะตาบ้านเมืองไว้ ท่านว่าผลของลางสังหรณ์นั้นจะมีผลต่อบ้านเมืองส่วนรวม ลางสังหรณ์บางอย่างมีผู้คนเห็นกันทั่วบ้านทั่วเมืองทั้งไพร่ผู้ดี ท่านก็ว่าลางเช่นนั้นจะมีผลกระทบถึงชนทั่วหน้า อย่างคราวที่โรคห่าระบาดครั้งรัชกาลที่ ๒ ก่อนหน้าห่าจะลงท้องฟ้าเกิดอาเพศ หรือคราวเกิดดาวหางพาดกลางท้องฟ้าเมื่อรัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แคนอนของพาเคลเบล (อังกฤษ: Pachelbel's Canon)

  แคนอน ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์ (อังกฤษ: Canon in D major) (PWC 37, T. 337, PC 358) เป็นผลงานประพันธ์ดนตรีบาโรกที่มีชื่อเสียงที่สุดของโยฮันน์ พาเคลเบล คีตกวีชาวเยอรมัน สกอร์ดนตรีดั้งเดิมแต่งขึ้นสำหรับบรรเลงด้วยไวโอลินสามตัว โดยมีการเดินเบสจับคู่กับจังหวะแบบกิกา (gigue) ในระดับเสียงเดียวกัน
ต้นฉบับผลงานชิ้นนี้สูญหายไปหลายปีเช่นเดียวกับผลงานชิ้นอื่นๆ ของพาเคลเบลและศิลปินคนอื่นในศตวรรษที่ 17 เพิ่งถูกค้นพบในศตวรรษที่ 20 และเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1919 โดยกุสตาฟ เบกมานน์ [1] ได้รับการบันทึกเสียงเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1940 จากการบรรเลงโดยวงบอสตันป็อปสออร์เคสตรา อำนวยเพลงโดยอาร์เทอร์ ฟิดเลอร์ [2]
นักประวัติศาสตร์ตั้งสมมุติฐานว่า ผลงานชิ้นนี้อาจจะแต่งขึ้นสำหรับใช้บรรเลงในงานแต่งงานของโยฮันน์ คริสทอฟ บาค พี่ชายคนโตของโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1694

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แชมเบอร์มิวสิก (Chamber Music)

                   แชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music) เป็นเพลงบรรเลง (Instrumental  Music) ประพันธ์ขึ้นสำหรับบรรเลงด้วยวงดนตรีกลุ่มเล็กๆ คำว่า chamber หมายถึงห้อง แสดงให้เห็นว่าเป็นวงดนตรีที่มีขนาดเล็กจนสามารถจัดการแสดงในห้องได้  ในการบรรเลงจะใช้ผู้บรรเลง 1 คนในแต่ละแนวทำนอง  แชมเบอร์มิวสิคมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับซิมโฟนี (symphony) คือ ประกอบด้วยท่อนเพลง (movement) 4 ท่อน ซึ่งแต่ละท่อนจะมีลีลาจังหวะแตกต่างกัน คือ เร็ว ช้า เร็วปานกลาง และเร็ว ในยุคคลาสิค แชมเบอร์มิวสิคได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นกลางและ ชนชั้นสูง เราสามารถที่จะบอกจำนวนผู้บรรเลงแชมเบอร์ มิวสิคได้จากชื่อเพลง เช่น ทริโอ ควอเตท ควินเตท เป็นต้น


วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เดี่ยวระนาดเอก เพลง พญาโศก ๓ ชั้น โดยอาจารย์วิศรุต

ชีวิตที่เลือกเอง (อ.วิศรุต)


             ลานท้องทุ่งสู่ลานวัด  ทุ่งนาเมืองพิษณุโลกเป็นที่วิ่งเล่นสำหรับเด็กทั่วๆไป  เด็กชายวิศรุต  ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่วิ่งเล่นตามท้องทุ่งนากว้างๆ  เลี้ยงควาย  ยิงนก  ตบปลา  ตามประสาลูกชาวนาและวิถีท้องถิ่น  และแล้ววันนึงหลวงพ่อวัดยางเอนได้รับอุปการะครอบครัวครูดนตรีไทยมาอาศัยอยู่ที่วัดและได้ทำการซื้อเครื่องดนตรีไทยพร้อมทั้งป่าวประกาศให้ลูกๆหลานๆ ชาวบ้าน ชาวนาในชุมชนมาฝึกหัดดนตรีไทยกันที่ลานวัดยางเอน  ในช่วงแรกๆได้มีเด็กๆมาเล่นด้วยกันมากเป็นจำนวนได้สามสิบคน  เครื่องมือชิ้นแรกเด็กชายวิศรุตเรียนคือฆ้องวงใหญ่เพลงแรกที่เรียนคือเพลงสาธุการ