วงอังกะลุงปู่สงวนหวนอดีต สู่มหาดุริยางคร่วมสมัยดนตรีเฉลิมพระเกียรติฯ
เส้นทางวัฒนธรรมดนตรีสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
อังกะลุงปู่สงวน
ถึงวัฒนธรรมดนตรีสัญจร
นักเรียนรุ่นเก่าๆ รุ่นอาคารไม้มีใต้ถุนบ่อน้ำเลี้ยงปลาคงได้เติมโตมากับวงดนตรีอังกะลุงโดยครูผู้สอนดนตรีท่านแรกของสาธิตปู่สงวน
ส่งผ่านต่ออาจารย์รุ่นต่อไป อาจารย์วัฒนา ศรีสมบัติ,ผศ.ดร.รุจี
ศรีสมบัติ,อาจารย์มีกิจ อินทรพิพัฒน์ สู่วงดนตรีไทยกับวัฒนธรรมดนตรีสัญจร ในหลายจังหวัดสุพรรณบุรี พัทลุง นครนายก
ทั้งการแสดงดนตรีไทย ดนตรีสากล นาฎศิลป์ โขน และการสอนแบบปฏิบัติการดนตรี
นาฎศิลป์และการแสดงปิดเส้นทางวัฒนธรรมดนตรีสัญจร
เติบโตพัฒนาสู่งานแสดงในที่ตั้งการแสดงพิพิธทัศนา
พัฒนาโครงการเชื่อมโยงสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ สู่การแสดงโขนและ ดนตรีเฉลิมพระเกียรติ์ฯ
โดยเปิดการแสดงประจำปีทุกเดือนสิงหาคม ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีการแสดงโขนเป็นการแสดงหลัก และการแสดงที่ส่งเสริมความเป็นอัตลักษณ์
ของโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ชุดเปิดรายการของทุกปี
คือการแสดงวงมหาดุริยางคไทยและสากล ไม่น้อยกว่า 200 ชีวิตของนักเรียนสาธิต มศว
ที่ร่วมอยู่วัฒนธรรมดนตรีสาธิตประจำปี
วงมหาดุริยางคไทย
เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อมีการฉลองกรุงรัตนโกสินธ์ 200 ปี โดยกรุงเทพมหานคร
และกรมศิลปรากร วิทยาลัยนาฎศิลป์
มีการรวมนักเรียนดนตรีไทยหลายสังกัดจากวิทยาลัยนาฎศิลป์ 17 แห่ง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนจากกรมสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ
รวม 200 ชีวิต
มาร่วมบรรเลงเป็นวงดนตรีมหาดุริยางคไทยครั้งแรก โดยมีครูประสิทธิ์ ถาวร
ปรับวงดนตรี และคณาจารย์จากโรงเรียนสังกัดที่เข้าร่วมควบคุมการฝึกซ้อม โดยต่อมาวงมหาดุริยางคไทย
ก็เกิดขึ้นในงานสมโภชน์ใหญ่ๆอีกหลายครั้ง อทิเช่น สมโภชน์กรุงรัตนโกสินท์ 225
ปี และวงมหาดุริยางคไทยในดนตรีไทยอุดมศึกษา
วงมหาดุริยางคร่วมสมัย
สาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
ห้องเรียนดนตรี สู่วัฒนธรรมดนตรีในโรงเรียน
ห้องเรียนดนตรีเริ่มจากอาจารย์ 1 ท่าน ถึง 2 ท่าน
ต่อกลุ่มสาระดนตรีทั้งไทย และสากล
จากการเล่าขานแต่เดิมเริ่มจากอาคารเรียนหลังคาใบจาก เรียนวิชาอังกะลุง
สอนโดยปู่สงวน ส่งต่อเป็นห้องเรียนดนตรีไทย โดยอาจารย์ประสิทธิ์(มีกิจ)
อินทรพิพัฒน์ และผศ.ดร.รุจี ศรีสมบัติ
ห้องเรียนดนตรีสากล โดยอาจรย์วัฒนา ศรีสมบัติ จนถึง ปี พ.ศ. 2547
เริ่มเปิดรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนสหศิลป์(ดนตรี)
การเชื่อมโยงกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รับอาจารย์ยงยุทธ
เอี่ยมสอาด เพื่อการเรียนการสอนแผนการเรียนสหศิลป์(ดนตรี) ปี พ.ศ.2551 เปลี่ยนจากแผนการเรียน
เป็นวิชาเอกดุริยางคศิลป์ เริ่มรับนักเรียนบุคคลภายนอก และขยายตำแหน่งในการดูแลกลุ่มเครื่องดนตรีได้หลากหลาย
ได้แก่ ปีพาทย์ไทย อาจารย์วิศรุต สุวรรณศรี อาจารย์ปริทัศน์ เรื่องยิ้ม เครื่องสายไทย อาจารย์วิสุดา อิเกลแซม
เครื่องสายสากลอาจารย์ธีรพงศ์ บำเพ็ญทาน
กีตาร์คลาสิก และเครื่องสตริงคอมโบ อาจารย์ปิติวัตร อินทราศักดิ์
เครื่องวงโยธวาทิต และวงซิมโฟนิคแบนค์ อาจาย์กิตติศักดิ์ ประเสริฐกุล
กลุ่มขับ้องประสานเสียง อาจารย์ ดร.กุลธิดา นาคะเสถียร
และการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติเครื่องมือเอก
ยังได้มีการจัดจ้างอาจารย์พิเศษเฉพาะเครื่องมือเอก อีก 50 กว่าท่าน เช่น
นักเรียนไวโอลิน ก็จะได้เรียนกับ ผศ.ดร.ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร นักเรียนเครื่องมือเอกเปียโน ก็จะได้เรียนกับ
ดร.ปวัตน์ชัย สุวรรณคังคะ ผศ.ดร.นัฎฐิกา สุนทรธนผล นักเรียนวิชาเอกกีตาร์คลาสิก
ก็ได้เรียนกับผศ.ดร.เอกราช เจริญนิตย์ เป็นต้น
ชมรมดนตรี เพื่อวัฒนธรรมดนตรีในโรงเรียน
นอกการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศิลปะพื้นฐาน
วิชาเอกดุริยางคศิลป์
แล้วทางกลุ่มสาระดนตรียังจัดกิจกรรมเสริมนอกหลักสูตรเพื่อรองรับนักเรียนทั่วไปที่สนใจกิจกรรมทางดนตรีเพิ่มเติม
โดยจัดเป็นกิจกรรมชมรมดนตรีต่างๆ อีกหลายชมรม ได้แก่ ชมรมดนตรีไทย ชมรมแชมเบอร์
ออเครสตร้า (PSM
String Chamber) ชมรมขับร้องประสานเสียง ชมรมกีตาร์คลาสสิก
และชมรมวงโยธวาทิต โดยจัดกิจกรรมชมรมทุกบ่ายวันพฤหัสบดี ตลอดปีการศึกษา
โดยมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ เข้าสู่สังคมคนดนตรี ไม่น้อยกว่า 500คน
เป็นวัฒนธรรมดนตรีในโรงเรียน
งานประเพณีในโรงเรียนสู่การแสดงทางวัฒนธรรมดนตรี
ทุกๆปีการศึกษา
โรงเรียนจะจัดงานการแสดงประเพณีของโรงเรียนเป็นประจำ ได้แก่ งานสายสัมพันธ์ ก็จะเป็นการแสดงของแต่ละระดับชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่
1 -6 และงานแสดงพิธีเปิด – ปิดงาน
ก็จะเป็นการจัดการแสดงของกลุ่มสาระดนตรีรับผิดชอบ
ก็จะเป็นที่มาของการเปิดเวทีให้นักเรียนชมรมดนตรีต่างๆ
ด้มีโอกาสการแสดงความสามารถทางดนตรีกันอย่างหลากหลาย หลายประเภทวงดนตรี เช่น
วงโยธวาทิต วงซิมโฟนิคแบนค์ วงแชมเบอร์ออเครสตร้า วงสตริงคอมโบ งปี่พาทย์ไทย
วงเครื่องสายไทย ปีหลังๆก็พัฒนามาเป็นวงโป่งราง วงลูกทุ่ง
จากจุดเริ่มจากงานประเพนีในโรงเรียน ทางโรงเรียนเริ่มเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรม
โดยเริ่มโครงการร่วมมือกับสำนักานวัฒนธรรมแห่งชาติ การจัดงานโขนเฉลิมพระเกียรติ์
โดยจัดการแสดงโขน และดนตรี ที่ศูนย์วัฒนธรรแห่งประเทศไทย
ถือได่ว่าเป็นเวทีใหญ่ให้นักเรียนในกรร่วมแสดงออกความสามารถทางดนตรี และวัฒนธรรมดนตรีในโรงเรียนสู่สายตาประชาชนทั่วไปทั้งในรั้วและนอกรั้วโรงเรียนอย่างเป็นเกีรยติอย่างยิ่ง
โขนเฉลิมพระเกียรติ์ พัฒนาสู่ดนตรีมหาดุริยางค์
โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม)
จากการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ
ทุกครั้งช่วงเปิดการแสดงโหมโรง (Overture) ทางกลุ่มสาระดนตรีได้พัฒนาชุดการแสดงเพื่อสามารถรองรับนักเรียน
และความสามารถทางดนตรี ครบทุกชมรมและหลากหลายเครื่องดนตรีทั้งทางไทย และสากล ทำให้เกิดวงดนตรีมหาดุริยางค์
ที่เป็นการรวมวงดนตรีทั้งดนตรีไทย และดนตรีสากล ได้แก่ วงดนตรีมโหรีเครื่องใหญ่
ร่วมกับวงดนตรีออเครสตร้า รวมกันกว่า 200 ชิ้นเครื่องดนตรี
สำรับบทเพลงการแสดงก็ได้มีการนำบทเพลงไทยเดิม
มารียบเรียงเสียงประสานใหม่สำหรับวงดนตรีมหาดุริยางค์ เช่น เพลงลาวแพน
โหมโรงมหาราช ฯลฯ
วัฒนธรรมดนตรีสาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) คือทุกสิ่ง
ทุกอย่างที่โรงเรียนสร้างขึ้นมา เพื่อทนุบำรุงขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการดนตรี และเทคโนโลยีต่าง ๆ
อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์
คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้
เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ และผลสำฤทธิ์เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนระบบโรงเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น