วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2564

การศึกษาอาเซียน : การฟื้นฟูและพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

การศึกษาอาเซียน : การฟื้นฟูและพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ASEAN Studies : The Revival and Development of Lao Classical Music of The Lao People’s Democratic Republic

ยงยุทธ เอี่ยมสอาด1 รุจี ศรีสมบัติ2 มานพ วิสุทธิ์แพทย์3

Yongyuth Eiamsa-ard1 Rujee Srisombat2 Manop Wisuttipat3

 

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการฟื้นฟูและการพัฒนาทำนองเพลงดนตรีลาวเดิม ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อรวบรวมและเรียบเรียงบทเพลงดนตรีลาวเดิม เพื่อฟื้นฟูทำนองและบทเพลงดนตรีลาวเดิมโดยการบันทึกเป็นโน้ตสากล เพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ทำนองดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงของวงเครื่องสายสากล  ได้ผลสรุปดังนี้ดนตรีลาวเดิมเป็นดนตรีในราชสำนักลาวในอดีต ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงตามกรอบแนวคิดการปกครองประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย วงดนตรีลาวเดิมประกอบด้วยวงดนตรี 2 ประเภท ได้แก่ วงปี่พาทย์ วงมโหรี ผู้วิจัยได้ดำเนินการนำทำนองเพลงลาวเดิม จากจำนวน 2 เพลง ได้แก่เพลงโอ้ลาว และเพลงปลาทอง ที่ในสภาพปัจจุบันไม่มีการบรรเลงกันแล้ว นำกลับมาฟื้นฟู และพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม มีการประชุมสัมมนาโดยครูเพลงปัจจุบัน ได้แก่ อาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา,อาจารย์คำแสน พิลาวง,อาจารย์บัณฑิต สะนะสิด,อาจารย์แสงทอง บุดชาดี และอาจารย์ ดร.สมจิต ไสยสุวรรณ(ศิลปินแห่งชาติ)

 

1นิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

1Doctor of Fine and Applied Art in Ethnomusicology, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot  University.

 2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 2Asst. Dr. Thai and Asian Music, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot  University

 3รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 3Assoc. Dr. Thai and Asian Music, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot  University

 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้จนสามารถแปรทำนองเป็นทางเพลงในเครื่องมือระนาดเอก โดยอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา อาจารย์อาวุโสโรงเรียนศิลปะดนตรีแห่งชาติ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งถือได้ว่าเป็นครูเพลงและนักวิชาการการศึกษาคนสำคัญในปัจจุบัน ข้าพเจ้าได้พัฒนาต่อยอดโดยการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการบรรเลงโดยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ตามหลักทฤษฎีดนตรีสากล  การเรียบเรียงการประสานเสียง และทฤษฎีทางมานุษยดุริยางควิทยา

คำสำคัญ :  การฟื้นฟูและพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม / ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ABSTRACT

The aims of this study are as follows: (1) the revival of development of Lao classical music of the Lao People’s Democratic Republic (Lao PDR) through a string orchestra; (2) to compile and compose Lao classical music; and (3) to restore classical Lao melodies by recording them as international notes for the development and creation of classical Lao melodies through international stringed instruments. The results are summarized as follows: Lao classical music was originally played in the royal court of Laos. The Lao classical ensemble consists of two types of bands: Piphat and Mahori. At present, the Lao PDR is developing in terms of social advances, such as economy, politics, governance, national culture, trade and membership in the ASEAN Community. Therefore, the development of old Lao music may promote cultural strength and establish a stable sense of national identity. The researcher used the melody of two Lao classical songs, namely ‘Oh Lao’ and ‘Pla Thong’, which are no longer played, in order to restore and develop the original Lao melody. There was also a symposium among music teachers: Ajarn Bunthieng Sisakda, Ajarn Khamsaen Pilavong, Ajarn Bandit Sanasit, Ajarn Saengthong Butchadi and Dr. Somchit Saiyasuwan (National Artist). An exchange of knowledge allowed the opportunity to transform the melody into a song for the xylophone by Bunthieng Sisakda, Senior Lecturer of the National School of Music and Art of the Lao PDR, which may be considered important by music teachers and scholars. The researcher has developed this by creating harmonies for performance by the string orchestra in accordance with international music theories, and remix and anthropology theory.

Keywords: Lao classical melody, Lao People's Democratic Republic (PDR)

 

บทนำ

ดนตรีลาวเดิม  ดนตรีในราชสำนักของลาวในอดีต ปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม ดนตรีลาวเดิมมีการเปลี่ยนแปลงตามกรอบแนวคิดระบอบการปกครอง ประชานชนมุ่งเน้นเรื่องวิถีความอยู่รอดการดำรงชีวิตประจำวัน ทำนองเพลงดนตรีลาวเดิมในปัจจุบัน ยังใช้ระบบการถ่ายทอดบทเพลงทางดนตรีแบบมุขปาฐะ คือการต่อเพลงจากครูเพลงปากต่อปาก ซึ่งปัจจุบันครูเพลงในราชสำนักยุคสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) แทบจะเสียชีวิตเกือบหมดแล้ว ทำให้ทำนองเพลงดนตรีลาวจำนวนไม่น้อยขาดการถ่ายทอด ต่อเพลง จนเกิดการขาดหายและไม่มีการบรรเลงในบทเพลงนั้นๆได้อีกในปัจจุบัน  เป็นเหตุผลให้ทำนองดนตรีลาวเดิมควรมีการฟื้นฟูเพื่อเก็บเป็นมรดก รักษาสืบเนื่องพัฒนากันต่อไป ผู้วิจัยคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาดังต่อไปนี้ เพื่อรวบรวมทำนองเพลงดนตรีลาวเดิม ที่จะขาดหายนำมาศึกษา แปรทำนองเพลงในเครื่องมือต่างๆ ได้แก่ ระนาดเอก ฆ้องวง ซออี้     จนสามารถบรรเลงเป็นวงมโหรี และวงเครื่องสายสากล (String Orchestra)

บทเพลงในการฟื้นฟูและพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม ผู้วิจัยได้เลือกบทเพลงโอ้ลาว และปลาทองในการดำเนินการฟื้นฟูและพัฒนา โดยใช้ทำนองหลักจากหนังสือคู่มือลาวเดิม สำลับมโหรี ของรังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974  และแปรทำนองเป็นทางระนาดเอก ก่อนที่จะขยายการแปรทำนองเพื่อเป็นการบรรเลงรวมเป็นวงดนตรีลาวเดิม ประเภทวงมโหรี ทั้งนีสำหรับการแปรทำนองเป็นทางระนาดเอกผู้วิจัยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ สปป.ลาว โดยมีอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา และอาจารย์คำแสน พิลาวง ช่วยกันประชุมปรึกษาหารือ และประดิษฐ์ทำนองเพลงออกมาเป็นทางระนาดเอก

วิธีการตีระนาดเอก จากการแปรทำนองเพลง โอ้ลาว  ทางของอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา เป็นการตีระนาดเอกจะเป็นการตีฉาก คือเป็นการตีเก็บ การตีไม้ระนาดในมือทั้งสองข้างลงไปกระทบระนาด 2 ลูกพร้อมกัน โดยตีลงบนลูกระนาดซึ่งมีเสียงโน้ตตัวเดียวกันแต่อยู่ห่างกันคนระละดับเสียง เช่นเสียง ซอล(ต่ำ) กับเสียง ซอล (สูง) และจากตำแหน่งของคู่เสียงดังกล่าวอยู่ห่างกันเป็นแปดลูกจึงเรียกวิธีตีแบบนี้ว่า “ตีคู่แปด” (Bunthieng, 2018, interview)

หลังจากการจัดการสัมมนากลุ่มย่อยทำนองเพลงลาวเดิม เพื่อการบรรเลงเป็นวงมโหรี ได้แก่ เครื่องดนตรี  ระนาดเอก แคน ซออี้ จเข้ ขิม โดยการควบคุมการสัมมนาและฝึกซ้อมโดยอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา อาจารย์   คำแสน พิลาวง และอาจารย์บัณฑิต สะนะสิด จนสามารถประดิษฐ์กลอนเพลงเป็นทำนองหลัก และสามารถบันทึกเป็นโน้ตสากล ในโปรแกรมโน้ตเพลง Sebelius 7.5 

แนวคิดและการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการพัฒนาดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ผู้วิจัยได้เลือกที่จะพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม จากบทเพลงต้นฉบับหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974  โดยบทเพลงโอ้ลาว ลักษณะเพลงเป็นเพลงเถา จะมีอัตราจังหวะที่ทอนลงมา จาก 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว ลักษณะการดำเนินทำนองคล้ายวิธีการของบทเพลงทยอย  จะมีลูกล้อ ลูกขัด ไล่ล้อสับกันโต้ตอบ ระหว่างเครื่องดนตรีหลัก และเครื่องดนตรีรอง ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการเรียบเรียงเสียงประสานโดยใช้เทคนิคการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) ทฤษฎีดนตรีสากล  การเรียบเรียงการประสานเสียง และทฤษฎีทางมานุษยดุริยางควิทยา

การประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) คือการนำแนวทำนองตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไปไล่ล้อกัน แต่ละแนวทำนองเป็นอิสระในแนวนอน (Melody) แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงประสานตามแบบแผนที่เหมาะสมในแนวตั้ง (Harmony) เป็นเทคนิคการแต่งเพลงที่เฟื่องฟูที่สุดในยุคบาโรก เป็นการเขียนทำนองสอดประสานให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมในแง่ของทำนอง จังหวะ และเสียงประสาน

 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การจัดวงดนตรีลาว

ดนตรีลาวเดิม หมายถึง ดนตรีในราชสำนักลาวในอดีต ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามกรอบแนวคิดระบอบสังคมนิยม ดนตรีลาวเดิมได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีราชสำนักเขมร ตั้งแต่สมัยเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 – 1916) โดยได้มีพัฒนาการและหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมดนตรีของกลุ่มชาติพันธ์ที่มีมาก่อนแล้วเป็นลำดับ โดยเฉพาะวัฒนธรรมดนตรีของลาว เช่น การนำแคนมาบรรเลงร่วมในวงดนตรีประเภทต่างๆ ปัจจุบันวงดนตรีลาวเดิมมีในหัวเมืองใหญ่ เช่น นครหลวงเวียงจันทร์ เมืองหลวงพระบาง โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวงดนตรีของรัฐ และกลุ่มวงดนตรีของเอกชน (เจนจิรา เบญจพงศ์, 2555, pp. 84 - 87) ได้กล่าวถึงวงดนตรีลาวเดิมประกอบด้วยวงดนตรี 2 ประเภท ได้แก่ 1.วงปี่พาด 2. วงมโหรี

วงปี่พาทย์ หมายถึง วงดนตรีหลักในราชสำนักลาว ในปัจจุบันทางภาคเหนือของลาวเรียกว่าพินพาด(พิณพาทย์) ทางภาคใต้ของลาวเรียกว่า ปี่พาด(ปี่พาทย์) สมัยเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ.2347 – 2371)มีการนำเครื่องดนตรีมาบรรเลงรวมวงในลักษณะวงพินพาด ที่จะเป็นพื้นฐานพัฒนาต่อมาเป็นวงพินพาดหรือปี่พาดของลาวเดิมในปัจจุบัน มี 2 อย่างคือ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง กับวงปี่พาทย์ไม้นวม  วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ใช้บรรเลงในพิธีกรรมและประกอบการแสดงพะลัก – พะลาม มีศูนย์กลางของการพัฒนาอยู่ที่ราชสำนักหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทร์ และจำปาสัก เป็นวงดนตรีหลักก่อนจะพัฒนาไปเป็นดนตรีลาวเดิมประเภทอื่นๆ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง มี 3 ขนาด ได้แก่ ปี่พาทย์เครื่องห้า ปี่พาทย์เครื่องคู่ และปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงรวมวงมีลักษณะเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ของไทย แตกต่างเฉพาะวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ที่มีระนาดเหล็กเพียงรางเดียว

วงมโหรี หมายถึง วงดนตรีลาวที่เกิดขึ้นใหม่ หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2518 เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและความเท่าเทียม ลดช่องว่างระหว่าง ราชสำนัก กับชาวบ้าน ให้เป็นของมวลชนตามกรอบแนวคิดระบอบสังคมนิยม มีการเอาเครื่องดนตรีพื้นเมืองของลาวที่ได้รับความนิยม หรือเป็นสัญลักษณ์ของคนลาว เช่น แคน กระจับปี่(พิณ) เข้ามาผสมร่วมในวงดนตรีลาวเดิมหรือดนตรีราชสำนักที่มีมาแต่เดิม และเรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า วงมโหรี

วงมโหรี ใช้บรรเลงขับกล่อมหรือเพื่อคงความบันเทิง เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอโอ้    ซออี้ ซอแหบ นางนาดเอก นางนาดทุ้ม นางนาดเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงน้อย กระจับปี่ ขลุ่ย แคน กลองปิง(วางบนตัก ตีทั้ง 2 หน้า) และฉิ่ง

ทฤษฎีดนตรีสากลด้านการประพันธ์เพลง

          ณัชชา  โสคติยานุรักษ์ (2548, p. 1)ลีลาสอดประสานแนวทำนอง หรือลีลาสัมพันธ์ (Countterpoint) เป็นการแต่งทำนองหลายแนวที่เป็นอิสระในแนวนอน แต่สามารถสอดประสานในลีลาที่สัมพันธ์กันได้เป็นอย่างดีในแนวตั้ง คำว่า Countterpoint อ่านว่า เคาน์เตอร์พอยน์ท มาจากภาษาละตินว่า Contrapunctum อ่านว่า คอนตราปุงค์ตุม แปลว่า Against note หรือ Against point ศัพท์คำรี้พบเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในบทเพลง ดิสคานต์ (Discant) ซึ่งเริ่มใข้เทคนิคการแต่งทำนองรองให้กับทำนองที่มีอยู่แล้ว แนวใหม่ที่เกิดขึ้นเรียกว่า แนวทำนองสอดประสาน สำหรับคำว่า ดิสคานต์ ในเวลาต่อมาเป็นลีลาอย่างหนึ่ง หมายถึงลีลาเพลงร้องที่มีการประสานเสียงแบบโน้ต 1 ตัวต่อเนื้อร้อง 1 พยางค์

            นพพร  ด่านสกุล (2548, p. 14)บันไดเสียงเพนตาโทนิก ในรูปแบบธรรมชาติธรรมดาอันเป็นพื้นเสียงที่ปรากฏอยู่ในหลายภูมิภาคของโลก เช่นบทเพลงอันไพเราะงดงามของชาวสก๊อตที่มีอยู่มากมาย เป็นพื้นเสียงในบทเพลงชาวจีน ญี่ปุ่น กลุ่มชนอินเดียโบราณที่อาศัยอยู่บนภูเขา กลุ่มชนอัฟริกันหลายกลุ่ม และกลุ่มชนอเมริกันอินเดียบางกลุ่ม เป็นต้น จึงกล่าวสรุปได้ว่า บันไดเสียง 5 โน้ต หรือที่มักเรียกกันว่าบันไดเสียงเพนตาโทนิก เป็นสมบัติร่วมกันของกลามชนหลากหลายชาติพันธ์ ต่างกับ โหมด ที่เชื่อว่าเป็นพื้นเสียงในวัฒนธรรมดนตรีกรีก

            วาเลรี รีซาเยฟ and อรรถกร  ศุขแจ้ง (2562, p. 7)การเรียบเรียงเครื่องดนตรีสำหรับวงออเคสตราไม่เป็นเพียงแค่การเลือกสีสันให้กับตัวดนตรี แต่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบ เช่นเดียวกับทำนอง เสียงประสาน การพัฒนาทำนอง และอื่นๆ ของโครงสร้างดนตรี นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อประพันธ์เพลงให้วงออเคสตรา ผู้ประพันธ์ต้องสามารถจินตนาการได้ด้วยว่า texture ของเพลง ทำนอง และเสียงประสาน จะให้ออกมาเป็นอย่างไร

            บรรจง  ชลวิโรจน์ (2545, p. 7)นักเรียบเรียงเสียงประสานไม่นิยมใช้เสียงสูงสุดหรือต่ำสุดของขอบเขตเสียง แต่จะเลือกใช้ขอบเขตเสียงที่สามารถขับร้องหรือบรรเลงได้สะดวก และไพเราะเหมาะสมกับคุณลักษณะของเสียงแต่ละแนว เช่น แนวเสียงโซปราโน เป็นแนวเสียงสูง นักเรียบเรียงเสียงประสานสามารถใช้ระดับเสียงสูงสุดของขอบเสียงได้ เพื่อแสดงคุณลักษณะของแนวเสียงโซปราโน แต่จะไม่ใช้เสียงต่ำสุดของแนวเสียง เพราะระดับเสียงดังกล่าวเป็นคุณลักษณะของเสียงอัลโต ดังนั้นการเลือกใช้ช่วงเสียงที่เหมาะสมแต่ละแนวเสียงจึงเป็นสิ่งสำคัญอีกประการที่นักเรียบเรียงเสียงประสานต้องตระหนัก

            ณัชชา  โสคติยานุรักษ์ (2546, p. 215) การวางคอร์ด (Harmonization) เป็นการเลือกใช้คอร์ดสำหรับทำนองที่กำหนดให้ซึ่งมักปรากฎอยู่ในแนวโซปราโน เมื่อเลือกคอร์ดที่เหมาะสมได้แล้วจึงเขียนเสียงประสานให้ครบสี่แนว การวางคอร์ดเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการเขียนเสียงประสานสี่แนว ขั้นตอนของการเขียนเสียงประสานอาจพบปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยนคอร์ดที่วางไว้แล้วในที่สุด กระบวนการวางคอร์ดเป็นขบวนการซับซ้อนจนยากที่จะลำดับขั้นตอนควรเป็นอย่างไร และเมื่อเกิดปัญหาก็ยากที่จะชี้ชัดลงไปตายตัวว่าควรแก้ไขปัญหาในจุดใดก่อนและควรแก้อย่างไร 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

กานต์  สุริยาศศิน (2562, pp. 16-30)ได้ทำวิจัยเรื่องบทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ประสานเสียงดุริยะสำเนียง สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและกลวิธีการประพันธ์บทเพลงร่วมสมัย ที่ผสมผสานอัตลักษณ์ของดนตรีไทยเข้ากับกลวิธีการประพันธ์เพลงตามแบบแผนตะวันตก บทประพันธ์แบ่งเป็น 4 กระบวน ใช้เวลาบรรเลง 30 นาที โดยศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีของดนตรีไทยทั้งในระดับโครงสร้างและอัตลักษณ์เฉพาะทางบรรเลงเครื่องมือประเภท เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า และนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้เป็นวัตถุดิบในการประพันธ์บทเพลง นอกจากนี้ผู้ประพันธ์ยังนำความรู้ด้านดนตรีแจ๊สมาเป็นแรงบันดาลใจร่วมในการประพันธ์อีกด้วย กลวิธีประพันธ์ทำนองและเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงประสานดุริยะสำเนียง ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงสร้างดนตรีตามอย่างดนตรีไทย ร่วมกับกลวิธีประพันธ์เพลงร่วมสมัย ทำให้เกิดบทเพลงที่สะท้อนอัตลักษณ์ของดนตรีไทยโดยไม่ใช้เครื่องดนตรีไทยร่วมบรรเลงประกอบเป็นกลวิธีการประพันธ์เพลงร่วมสมัยที่เป็นของไทย ชื่อประสานดุริยะสำเนียง และสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาผลงานดนตรีสร้างสรรค์ชิ้นอื่นๆต่อไป

นวเทพ  นพสุวรรณ (2562, pp. 82-83)ได้ทำวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์บทเพลงร่วมสมัยจากบทเพลงทยอยและฟิวก์ ผลการวิจัยพบว่าบทเพลงประเภททยอยและฟิวก์เป็นบทเพลงที่มีความสลับซับซ้อน แสดงถึงความสามารถในการบรรเลงของนักดนตรีและการสร้างสรรค์บทเพลงของผู้ประพันธ์ ถือได้ว่าเป็นบทเพลงชั้นสูงของทั้งสองวัฒนธรรม ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสาน  การสร้างสรรค์บทเพลงโดยใช้ลักษณะทางดนตรีของเพลงประเภททยอยและฟิวก์ บรรเลงด้วยเครื่องสาย เพื่อให้เห็นถึงลักษณะต่างๆของการตั้งกระทู้(ทำนองเอก) และกระบวนการเลียนทำนองในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นบทเพลงที่ผสมผสานและหลอมรวมองค์ความรู้ทางด้านดนตรีทั้งสองวัฒนธรรม นำเสนอในรูปแบบที่เป็นสากล มีการบันทึกเป็นโน้ตเพลงสากล ซึ่งสามารถสื่อสารได้เข้าใจและสามารถนำบทเพลงไปบรรเลงในเวทีสากล

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.         พื่อรวบรวม และเรียบเรียงทำนองดนตรีลาวเดิม ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

2.         เพื่อฟื้นฟูทำนองดนตรีลาวเดิม โดยการบันทึกเป็นโน้ตสากล

3.         เพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ทำนองดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงของวงเครื่องสายสากล



 

วิธีดำเนินการวิจัย

การศึกษาการฟื้นฟูและการพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงด้วยวงดนตรีเครื่องสายสากล ซึ่งเป็นทำนองเพลง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากการภาคสนาม ด้วยการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาซึ่งจะได้นำเสนอตามลำดับดังนี้

ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อฟื้นฟู และพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม ที่โรงเรียนศิลปะดนตรีแห่งชาติลาว นครเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โรงเรียนดนตรีศิลปะแห่งชาติลาว ประกอบไปด้วย 5 สาขาวิชา ได้แก่ ฟ้อนพื้นเมืองลาวเดิม ฟ้อนพื้นฐานชนชาติ ชนเผ่า ดนตรีพื้นเมืองลาวเดิม ดนตรีสากล (ดนตรีคลาสสิก) และทฤษฎีซ่อนแพรการฟื้นฟู และการพัฒนาทำนองเพลงดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงของวงเครื่องสายสากล โดยได้รับการร่วมมือ และสนับสนุนจากอาจารย์โรงเรียนศิลปะแห่งชาติ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยครูเพลงสาขาดนตรีพื้นเมือง และดนตรีสากล (ดนตรีคลาสสิก) ได้แก่ อาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา อาจารย์บัณฑิต สะนะสิต อาจารย์คำแสน พิลาวง อาจารย์แสงทอง บุดชาดี และอาจารย์ ดร.สมจิต ไสยสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ)

ในการสืบค้น ค้นหาชื่อบทเพลง และทำนองเพลงลาวเดิมสภาพปัจจุบัน โรงเรียนศิลปะแห่งชาติ       นครหลวงเวียงจันทร์ มีการสืบทอดบทเพลงจากประมวลรายวิชาการสอน สาขาวิชาดนตรีพื้นเมือง นักเรียนเครื่องปี่พาทย์ ทั้ง 7 ชั้นปี มีการต่อเพลงในหลักสูตรทั้งหมด 63 เพลง แต่ไม่มีเพลงทั้ง 7 เพลง ในการสืบทอดของโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ ซึ่งตรงกับข้อมูลการการสัมภาษณ์ครูเพลง ได้แก่ อาจารย์บัณฑิต สะนะสิต อาจารย์เดช เหมือนสนิท และอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา ของรายชื่อบทเพลงหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของรังสี สุตทัมมา ค.ศ. 1974 จากทำนองบทเพลงทั้งหมด 64 เพลง ครูเพลงทั้ง 3 ท่าน  ว่ามีทำนองเพลงลาวเดิม จำนวน 7 เพลง ได้แก่ เพลงสี่บท เพลงหกบท เพลงแปดบท เพลงปลาทอง เพลงสร้อยมะยุรา เพลงโอ้ลาว และเพลงสุทากันแสง ที่ให้ความเห็นตรงกันว่าไม่มีการบรรเลงแล้วในสภาพการบรรเลงวงดนตรีลาวเดิมในปัจจุบัน อีกทั้งไม่มีบทเพลงเหล่านี้ในหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ ของนักเรียนดนตรีสาขาวิชาดนตรีพื้นเมืองของทั้ง  7 ชั้นปี ที่เป็นโรงเรียนที่มีหน้าที่ในการสืบทอดและถ่ายทอด มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เป็นโรงเรียนที่จะผลิตศิลปิน นักวิชาการทางศิลปะ นักดนตรีสายวิชาชีพ (Bunthieng, 2018, interview) ในการสืบค้น ค้นหาชื่อบทเพลง และทำนองเพลงลาวเดิมสภาพปัจจุบัน ผู้วิจัยได้จัดการประชุมสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) โดยมีอาจารย์ผู้สอนสาขาดนตรีพื้นเมือง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของสาขาวิชาดนตรีพื้นเมือง ผลจากการสัมมนากลุ่มย่อยคณาจารย์ผู้มีความรู้ทางดนตรีทั้งหมด มีความคิดเป็นไปในแนวทางเดียวกันและลงความเห็นชอบได้คัดเลือก บทเพลง โอ้ลาว และบทเพลงปลาทอง เพื่อการฟื้นฟู ทำนอง และบทเพลงดนตรีลาวเดิม

 

 

ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย

การสร้างสรรค์ผลงานโดยการเรียบเรียงเสียงประสาน เพื่อการพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม  นำมาเรียบเรียงด้วยวิธีการ และทฤษฎีทางดนตรีสากล เพื่อการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ผู้วิจัยได้เลือกบทเพลงลาวเดิม จำนวน 2 บทเพลง นำมาเรียบเรียงเสียงประสานด้วยวิธีการ และทฤษฎีทางดนตรีสากล เพื่อการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล (string orchestra) ได้แก่ บทเพลงโอ้ลาว และบทเพลงปลาทอง

การพัฒนาและสร้างสรรค์ทำนองเพลงลาวเดิม บทเพลงโอ้ลาว

การเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการพัฒนาดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ผู้วิจัยได้เลือกที่จะพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม จากบทเพลงต้นฉบับหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974  โดยบทเพลงโอ้ลาว ลักษณะเพลงเป็นเพลงเถา จะมีอัตราจังหวะที่ทอนลงมา จาก 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว ลักษณะการดำเนินทำนองคล้ายวิธีการของบทเพลงทยอย จะมีลูกล้อ ลูกขัด ไล่ล้อสลับกันโต้ตอบ ระหว่างเครื่องดนตรีหลัก และเครื่องดนตรีรอง ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการเรียบเรียงเสียงประสานโดยใช้เทคนิคการประพันธ์ดังต่อไปนี้

1.    Solo exposition

2.    Counterpoint

3.    Pizzcato and Arco

4.    Cannon

5.    Round

6.    Syncopation

7.    Slur

8.    Pizzcato

9.    Variation

 

 

ตัวอย่างที่ 1 เทคนิคการประพันธ์ แบบ Solo exposition

ได้แก่ การเสนอทำนองหลักโดยกลุ่มเครื่องดนตรีเดียว ได้แก่ การขึ้นต้นด้วยแนวไวโอลิน ในห้องเพลงที่ 1 - 6



ภาพประกอบ 2  บทเพลงโอ้ลาว ห้องเพลงที่ 1 – 6  เทคนิค Solo exposition

ตัวอย่างที่ 2  เทคนิคการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint)

การนำแนวทำนองตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไปไล่ล้อกัน แต่ละแนวทำนองเป็นอิสระในแนวนอน (Melody) แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงประสานตามแบบแผนที่เหมาะสมในแนวตั้ง (Harmony) เป็นเทคนิคการแต่งเพลงที่เฟื่องฟูที่สุดในยุคบาโรก เป็นการเขียนทำนองสอดประสานให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมในแง่ของทำนอง จังหวะ และเสียงประสาน

จากภาพจะเห็นได้ว่า แนวทำนองที่1 ดำเนินตามแนวนอนอย่างอิสระมาก่อน จำนวน 6 ห้องเพลงแล้วถึงจะมีแนวทำนองที่ 2 ได้แก่เครื่องดนตรี วิโอล่า ไล่ล้อตามมาในห้องเพลงที่ 7 เป็นต้นไป เพื่อให้เกิดการไล่ล้อกันระหว่างทำนองเพลง และการประสานเสียงกันในทำนองเพลงด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นในห้องเพลงที่ 12 ก็มีแนวไวโอลิน 2 บรรเลงตามมาอีกในห้องเพลงที่ 12 ซึ่งเป็นการไล่ล้อกันของแนวที่ 3 และมีการประสานเสียงในแนวตั้ง (Harmony) ด้วยเช่นกัน



ภาพประกอบ 3  บทเพลงโอ้ลาว ห้องเพลงที่ 7 -12  เทคนิค Counterpoint

ตัวอย่างที่ 3 เทคนิคการประพันธ์แบบ Pizzcato and Arco

เป็นเทคนิคเฉพาะสำหรับการบรรเลงโดยกลุ่มเครื่องสายสากล คือเป็นการบรรเลงระหว่างการดีด (Pizzcoto) สลับเป็นการสี ( Arco) ในห้องเพลงต่อไปทันที จะให้ความรู้สึกที่ชักดเจนสำหรับการบรรเลงแบบล้อกัน



ภาพประกอบ 4  บทเพลงโอ้ลาว ห้องเพลงที่ 18 -  23 เทคนิค Pizzcato and Arco

ตัวอย่างที่ 4 เทคนิคการประพันธ์แบบ Cannon

บทเพลงไล่เลียน รูปแบบเพลงที่มีหลายแนวหรือ โพลิโฟนี่ (Polyphony) แต่ละแนวมีทำนองเหมือนกัน แต่เริ่มไม่พร้อมกัน แต่ละแนวจึงมีทำนองที่ไล่เลียนกันไป

ห้องเพลงที่ 37 – 39 แนววิโอล่า และเชลโล่ ดำเนินการบรรเลงแบบลูกล้อ ลูกรับ  ก็คือเพลงทำนองวน เพลงที่ประกอบด้วยทำนองอย่างน้อย 2 แนว ไล่เลียนทำนองเดียวกัน แต่ต่างเวลาหรือจังหวะ และเล่นไล่กันไปมาได้อย่างต่อเนื่อง หรือวนทำนองเดิมกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีก โดยแนวไวโอลิน 1และ ไวโอลิน 2 ดำเนินเป็นแนวจังหวะพื้น สอดรับ



ภาพประกอบ 5  บทเพลงโอ้ลาว ห้องเพลงที่ 48  -  53 เทคนิค Cannon 

ตัวอย่างที่ 5  เทคนิคการประพันธ์แบบ Round 

เป็นการบรรเลงแบบวนทำนองไล่เลียน นั้นก็เป็นเทคนิคการบรรเลงคล้ายคลึง ของดนตรีคลาสิกที่เรียกว่า ราวน์ (Round) ก็คือเพลงทำนองวน เพลงที่ประกอบด้วยทำนองอย่างน้อย 2 แนว ไล่เลียนทำนองเดียวกัน แต่ต่างเวลาหรือจังหวะ และเล่นไล่กันไปมาได้อย่างต่อเนื่อง หรือวนทำนองเดิมกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีก



ภาพประกอบ 6  บทเพลงโอ้ลาว ห้องเพลงที่ 54  - 59  เทคนิค Round

          ตัวอย่างที่ 6 เทคนิคการประพันธ์แบบ Syncopation

เป็นเทคนิคการบรรเลงกลุ่มเครื่องสาย เป็นการบรรเลงก่อนจังหวะตก หรือ ใช้ควบคู่ประกอบ กับเทคนิค การ Slur เป็นการเน้นในส่วนจังหวะรองซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี คือ  ใช้เครื่องหมายโยงเสียงข้ามไปที่ส่วนจังหวะหลัก ใช้เครื่องหมายเน้นที่จังหวะรองหรือระหว่างจังหวะ ใช้ตัวหยุด ณ ที่ตัวหยุดจังหวะหลัก ใช้โน้ตที่มีค่ายาวกว่าที่จังหวะรอง จังหวะที่ไม่เน้นเสียงแรกเริ่มของวลีหรือบทเพลงมักจะอยู่ที่จังหวะสุดท้ายของห้อง ห้องเพลงที่ 74 – 80 แนวบรรเลงไวโอลิน 1 และไวโอลิน 2 เริ่มการบรรเลงแบบไล่ล้อทำนองหลักกันไปมา แนววิโอล่า เชลโล่ ดับเบิ้ลเบส สอดรับจังหวะตก



ภาพประกอบ 7  บทเพลงโอ้ลาว ห้องเพลงที่ 76  -  81 เทคนิค Syncopation

 

ตัวอย่างที่ 7 เทคนิคการประพันธ์แบบ Pizzcato

เป็นเทคนิคการบรรเลงเฉพาะของกลุ่มเครื่องสาย คือการใช้นิ้วดีด ใช้กับเครื่องสาย ให้ใช้นิ้วดีดสายแทนการใช้คันชักสี บางครั้งใช้คู่กับ Arco

            ห้องเพลงที่ 118 – 122 แนววิโอล่า ไวโอลิน 2 และแนวเชลโล่ ดำเนินทำนองแบบลูกล้อ ลูกขัดกัน โดยแนวไวโอลิน 1 จะดำเนินทำนองเพลงหลัก เพื่อพรรณนาทำนองเพลง และแนวเชลโล่ และเบส ใช้เทคนิคการบรรเลงแบบดีด (Pizzicato) เพื่อลองรับจังหวะกับการดำเนินทำนอง

            


ภาพประกอบ 8  บทเพลงโอ้ลาว  ห้องเพลงที่ 137  - 142 เทคนิค Pizzcato   

ตัวอย่างที่ 8 เทคนิคการประพันธ์แบบ Slur

เป็นเทคนิคเฉพาะการบรรเลงกลุ่มเครื่องสาย เป็นเทคนิคการเชื่อมเสียง เส้นโค้งที่พาดจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังอีกโน้ตตัวหนึ่ง มีผลทำให้โน้ตมีเสียงต่อกันตั้งแต่โน้ตตัวแรกถึงโน้ตตัวสุดท้าย



ภาพประกอบ 9  บทเพลงโอ้ลาว ห้องเพลงที่ 174  - 179 เทคนิค Slur              



ภาพประกอบ 10  บทเพลงโอ้ลาว ห้องเพลงที่ 256  - 261 เทคนิค Slur         

ตัวอย่างที่  9 เทคนิคการประพันธ์แบบ Variation  

คือการแปรทำนอง เป็นการทำทำนองให้แปรเปลี่ยนให้แปลกออกไป การแปรอาจมีการเปลี่ยนทำนอง จังหวะ เสียงประสาน หรือสีสันเสียง ห้องเพลงที่ 253 – 274  แนววิโอล่า ดำเนินทำนองหลักขึ้นมา ห้องเพลงที่ 257 แนวไวโอลิน 1 และแนวไวโอลิน 2 ดำเนินทำนองหลักตอบรับทำนองหลักเดิม และแนววิโอล่า เปลี่ยนวิธีการดำเนินทำนองเป็นการกระจายโน้ตเพลงจากทำนองหลัก (Variation) จนถึงห้องเพลงที่ 261 แนวไวโอลินเริ่มดำเนินทำนองหลัก และมาจับคู่กับแนวไวโอลิน 1 ในห้องเพลงที่ 264 เพื่อดำเนินทำนองหลัก และไล่ล้อกับแนววิโอล่า แนวเชลโล่ และดับเบิ้ลเบส ดำเนินทำนองเป็นโครงจังหวะ โดยเริ่มจากโน้ตตัวดำเพื่อเป็นจังหวะหลัก จนขยายเปลี่ยนมาเป็นโน้ตเสียงสั้น ในจังหวะยก (Upbeat)



ภาพประกอบ 11  บทเพลงโอ้ลาว ห้องเพลงที่ 275  - 280 เทคนิค Variation 

สรุปผลการวิจัย

การฟื้นฟูทำนองและบทเพลงลาวเดิม สื่อสัญลักษณ์ทางดนตรีจากการบันทึกโน้ตระบบเชอเวร์ หนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของรังสี สุตทัมมา แม้จะประสบภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ดนตรีลาวเดิม ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข เมื่อดนตรีลาวเดิมได้ถูกลดบทบาทและมีการปรับเปลี่ยนภาระกิจ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และอุดมการณ์ทางการเมืองปกครองในระบอบสังคมนิยม วัฒนธรรมดนตรีลาวเดิมก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เครื่องดนตรี บทเพลงทำนองลาวเดิมที่เคยบรรเลงก็มีการขาดหายทั้งทางด้านบทเพลง เทคนิคการบรรเลง การขับร้อง ทักษะการผลิตเครื่องดนตรี แต่ได้มีการบันทึกสัญลักษณ์ทางดนตรีเป็นระบบโน้ตเชอเวร์ จากหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของรังสี สุตทัมมา ปี ค.ศ.1974 ก่อนเกิดเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้ปัจจุบันสามารถสืบค้นบทเพลงเพื่อการฟื้นฟูทำนองเพลงลาวเดิมที่ไม่มีการบรรเลงแล้วในปัจจุบันได้  ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถบันทึกทางระนาดเอก บทเพลงโอ้ลาว และเพลงปลาทอง เป็นการบันทึกโน้ตสากลด้วยโปรแกรมเพลง Sebelius 7.5 เพื่อเป็นสื่อสัญลักษณ์ทางดนตรีสืบต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับ กันหา สีกุนวง (2559, น. 75 – 76 ) ได้ทำวิจัยเรื่องฮางฮดสรง : สื่อสัญลักษณ์สุนทรียภาพ พิธีกรรม และความเชื่อในแขวงหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทร์ และแขวงจำปาสัก ฮาดฮดสรงเป็นงานพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าความงาม และความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จึงจำเป็นต้องมีการพลวัติตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องและการดำรงอยู่ที่คนกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป การนำสัญลักษณ์แฝงอยู่ในฮางฮดสงไปเป็นแนวทางการสร้างสรรค์เป็นงานศิลปกรรมประเภทอื่นๆ ทั้งในด้านทัศนศิลป์และพาณิชย์ศิลป์ อาทิ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม และผลิตภัณฑ์อื่นๆให้มีคุณภาพ เพื่อสอดรับกับความต้องการของตลาดในสังคมโลกาภิวัฒน์ต่อไป เพื่อถ่ายทอดต่อสังคมทั่วโลกให้รับรู้การแสดงออกในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทรงคุณค่า

การฟื้นฟูและพัฒนาทำนองเพลงดนตรีลาวเดิม จากการลงพื้นที่ภาคสนาม ณ นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  โดยได้รับความร่วมมือจากครูเพลงดนตรีลาวเดิม ได้แก่ อาจารย์บุญเที่ยง สีสักดาและคณาจารย์ อาจารย์โรงเรียนศิลปะแห่งชาติ อาจารย์บุญเที่ยง สีสักดาเป็นอาจารย์อาวุโสสาขาวิชาดนตรีพื้นเมือง เครื่องดนตรีถนัดระนาดเอก   ได้ฟื้นฟูเพลงดนตรีลาวเดิมจากการค้นพบเพลงดนตรีลาวเดิมที่ในสภาพปัจจุบันที่ไม่มีการบรรเลงแล้ว ได้นำกลับมาแปรทำนองเพื่อประดิษฐ์กลอนระนาดเอกและเพื่อเป็นแนวทางในการที่จะบรรเลงเป็นวงมโหรีต่อไป การประดิษฐ์กลอนระนาดเอก ได้นำทำนองหลักจากหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี  สุตทัมมา ค.ศ.1974 มาเพื่อดำเนินการแปรทำนอง วิธีการตีระนาดเอก จากการแปรทำนองเพลง โอ้ลาว  ทางของอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา  การตีระนาดเอกจะเป็นการตีฉาก คือเป็นการตีเก็บ การตีไม้ระนาดในมือทั้งสองข้างลงไปกระทบระนาด 2 ลูกพร้อมกัน โดยตีลงบนลูกระนาดซึ่งมีเสียงโน้ตตัวเดียวกันแต่อยู่ห่างกันคนระละดับเสียง เช่นเสียง ซอล(ต่ำ) กับเสียง ซอล (สูง) และจากตำแหน่งของคู่เสียงดังกล่าวอยู่ห่างกันเป็นแปดลูกจึงเรียกวิธีตีแบบนี้ว่า “ตีคู่แปด”  การตีกวาด และการตีแบบลูกล้อลูกขัด การบรรเลงระนาดเอกโดยการตีแบบลูกล้อ ลูกขัด มีมากในเพลงประเภททยอย เพลงเหล่านี้สามารถทำให้เห็นฝีมือของคนระนาดได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับอมรมาศ  มุกดาม่วง ( 2561, น. 50 – 61 ). ได้ทำการวิจัยเรื่องศาสตร์และศิลป์แห่งการประพันธ์เพลง ผลการวิจัยพบว่าการประพันธ์ดนตรี ถือเป็นศาสตร์ทางเสียงที่เกิดจาการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นด้วยหลักการโครงสร้าง และองค์ประกอบทางดนตรีที่ผู้ประพันธ์เป็นผู้กำหนด นอกจากนี้ยังเป็นศาสตร์หนึ่งทางดนตรีที่ผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับการเรียนทางทฤษฎีดนตรีหลายด้าน ประกอบกับเทคนิคเฉพาะสำหรับการประพันธ์ซึ่งต้องได้รับการฝึกหัดอย่างต่อเนื่องร่วมกับทักษะพื้นฐานด้านการปฏิบัติดนตรี เพื่อสามารถพัฒนาชิ้นงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ทักษะด้านการประพันธ์ดนตรีและการสร้างสรรค์ทางดนตรี เป็นทักษะการปฏิบัติชั้นสูงในด้านการปฏิบัติดนตรี การสร้างสรรค์หรือทดลองทางดนตรีนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาและต่อยอดผลงานชิ้นใหม่ๆได้อย่างหลากหลาย ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญหนึ่งที่สำคัญสำหรับกิจกรรมทางสังคม เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ การพัฒนากลุ่มคนไปสู่การพัฒนาชาติในแต่ระดับอย่างกว้างขวางต่อไป

การพัฒนาและสร้างสรรค์ทำนองดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงของวงเครื่องสายสากล(String Orchestra) ผู้วิจัยได้เลือกที่จะพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม จากบทเพลงต้นฉบับหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974  โดยบทเพลงโอ้ลาว ลักษณะเพลงเป็นเพลงเถา จะมีอัตราจังหวะที่ทอนลงมา จาก 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว ลักษณะการดำเนินทำนองคล้ายวิธีการของบทเพลงทยอย จะมีลูกล้อ ลูกขัด ไล่ล้อสับกันโต้ตอบ ระหว่างเครื่องดนตรีหลัก และเครื่องดนตรีรอง ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการเรียบเรียงเสียงประสานโดยใช้เทคนิคการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) และแบบราวน์ (Round) ซึ่งสอดคล้องกับ นวเทพ  นพสุวรรณ (2562, น.82-83). ได้ทำวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์บทเพลงร่วมสมัยจากบทเพลงทยอยและฟิวก์ ผลการวิจัยพบว่าบทเพลงประเภททยอยและฟิวก์เป็นบทเพลงที่มีความสลับซับซ้อน แสดงถึงความสามารถในการบรรเลงของนักดนตรีและการสร้างสรรค์บทเพลงของผู้ประพันธ์ ถือได้ว่าเป็นบทเพลงชั้นสูงของทั้งสองวัฒนธรรม ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสาน  การสร้างสรรค์บทเพลงโดยใช้ลักษณะทางดนตรีของเพลงประเภททยอยและฟิวก์ บรรเลงด้วยเครื่องสาย เพื่อให้เห็นถึงลักษณะต่างๆของการตั้งกระทู้(ทำนองเอก) และกระบวนการเลียนทำนองในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นบทเพลงที่ผสมผสานและหลอมรวมองค์ความรู้ทางด้านดนตรีทั้งสองวัฒนธรรม นำเสนอในรูปแบบที่เป็นสากล มีการบันทึกเป็นโน้ตเพลงสากล ซึ่งสามารถสื่อสารได้เข้าใจและสามารถนำบทเพลงไปบรรเลงในเวทีสากล

การวิจัยเรื่องการฟื้นฟูและพัฒนาทำนองเพลงดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงของวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) เป็นการฟื้นฟูและพัฒนา ศิลปะดนตรีลาวเดิมให้กลับสู่สังคม ก่อนที่บุคคลากรทางดนตรีคนสำคัญ และทักษะการบรรเลงทำนองดนตรีลาวเดิมจะล้มหายตายจากไปจากสังคม อีกทั้งมีการบักทึกเป็นโน้ตเพลงสากล ทางระนาดเอก ของอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา ในบทเพลงโอ้ลาว และปลาทอง เพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม

 

ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป

1. จัดการฟื้นฟูและพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม จากหนังสือเพลงลาวเดิม สำรับมโหรี ของรังสี สุตทัมมา ที่เหลืออีก 5 เพลง

2. จัดการพัฒนาโครงการการแสดงร่วมกันระหว่างวงดนตรีมโหรีลาวเดิม ร่วมกับวงเครื่องสายสากล(String Orchestra) ในบทเพลงลาวเดิมทั้ง 7 เพลง ของหนังสือเพลงลาวเดิม สำรับมโหรี ของรังสี สุดทัมมา

3.  ศึกษาวิจัยเปรียบเทียบดนตรีลาวเดิมหลวงพระบาง เวียงจันทร์ และจำปาสัก

4.  ศึกษาเปรียบเทียบดนตรีราชสำนักระหว่าง ลาว กัมพูชา และไทย

References

Bunthieng Sisakda. (2018, July 15). Teacher at the National Music of Laos. Interview.

Bandid Sanasit. (2018, July 15). Teacher at the National Music of Laos. Interview.

Natchar Socatiyanurak. (2007). Four-part writing. Bangkok : Chulalongkorn University.

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น