วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ลักษณะเด่นทางดนตรีในยุคโรแมนติก

ลักษณะเด่นทางดนตรีในยุคโรแมนติก

                  ความหมายของยุคโรแมนติกมาจากวรรณกรรมประเภทโรแมนซ์  เป็นวรรณกรรมซึ่งใช้ภาษาโรแมนซ์ซึ่งเป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาละติน โดยเนื้อเรื่องวรรณกรรมประเภทนี้จะเป็นเรื่องที่แต่งจากจินตนาการไม่ใช่เรื่องจริง  เป็นงานเขียนเชิง Subjetive  คือแต่งขึ้นจากมุมมองของผู้ประพันธ์มักจะเป็นเรื่องจากมุมมองของผู้ประพันธ์ มักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพรหรือดินแดนที่อยู่ห่างไกล โรแมนซ์มักจะเป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับวีรบุรูษผู้กล้า  การผจญภัยความรัก  หรืออิทธิ์ฤทธิ์เหนือธรรมชาติต่างๆ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่ห่างไกลแปลกใหม่ อัศจรรย์
                 เป็นช่วงที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทางการเมือง  สภาพสังคม  วิถีชีวิต
                 มีการปฏิวัติสำคัญในช่วงปลายศตวรรษที่ 18  คือการปฏิวัติในฝรั่งเศสและ การปฏิวัติ  ในสหรัฐอเมริกา  ประชาชนลุกขึ้นล้มล้างระบอบสมบูรณายาสิทธิราช  แล้วแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ซึ่งให้อำนาจประชาชนในการเลือกผู้นำของตนเอง  โดยอาศัยปรัชญาแนวคิดที่ว่าทุกคนควรจะมีความเท่าเทียมกัน  และทุกคนควรจะเติบโตจากตำแหน่งเล็กๆ  ไปสู่ตำแหน่งที่สูงกว่าได้ด้วยความพยายามและความสามารถของคนโดยไม่คำนึงถึงชาติกำเนิดและชนชั้น
                 ในศตวรรษที่  19  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญได้แก่การปฎิวัติอุตสาหกรรม เป็นช่วงเวลาที่เครื่องจักรกลเริ่มเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสมันนั้นอย่างมาก   มีการจัดตั้งโรงงาน  มีการคิดค้นเครื่องจักรกลที่ประหยัดแรงงาน เช่นเครื่องปั่นฝ้าย  เครื่องผลิตเหล็ก  เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า เครื่องผลิตอาหารกระป๋อง  เครื่องใช้สำนักงานต่างๆ  ได้ทำให้วิถีชีวิตของคนมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น       
                 คนมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นทำให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น  การคมนาคมมีความสะดวกสบายมีการใช้เรือที่มีเครื่องจักรไอน้ำ  มีรถไฟ  การสื่อสารมีการใช้โทรเลข  มีโทรศัพท์  มีกล้องถ่ายรูป  การพัฒนาทางด้านการแพทย์ทำให้โรคภัยไข้เจ็บน้อยลง
                 เมื่อมีเครื่องจักรกลเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษยมากขึ้น  คนก็มีเวลาว่างมากขึ้น  คนจึงเรียนและเล่นดนตรี  ฟังคอนเสริต์  เมื่อคนเรียนและเล่นเครื่องดนตรีมากขึ้น  จึงทำให้มีธุรกิจที่เกี่ยวกับดนตรีเกิดขึ้นมากมาย  เช่น มีโรงเรียนดนตรีมากมายเกิดขึ้นในยุโรป  สหรัฐอเมริกา  มีการจัดตั้งโรงงานผลิตเครื่องดนตรี  มีการจัดตั้งสมาคมดนตรีหรือชมรมดนตรี  มีกิจการรับจัดคอนเสริต์  และมีการรับพิมพ์โน้ตดนตรี
                  ดนตรีแต่เดิมจะแต่งขึ้นเพื่อความบันเทิงของเจ้านายและชนชั้นสูง  หรือพิธีกรรมทางศาสนา  แต่ในสมันโรแมนติกเป็นการใช้เพื่อความบันเทิงของคนทั่วไปในสังคม  เป็นการใช้เครื่องดนตรีเพื่อการประกอบอาชีพ

               การแสดงคอนเสริต์ในสมัยก่อนมักจะถูกจัดขึ้นในวังหรือโบสถ์ขนาดใหญ่  แต่ในสมัยโรแมนติกมีการสร้างโรงแสดงคอนเสริต์ ( Concert Hall ) ขนาดใหญ่มากมายประกอบกับการคมนาคมการเดินทางที่สะดวกสบายขึ้นทำให้นักดนตรีสามารถเดินทางออกแสดงดนตรี  แสดงคอนเสริต์โดยไม่ต้องแสดงเฉพาะในวังหรือในโบสถ์เท่านั้น  มีหลายครั้งที่นักประพันธ์เป็นผู้จัดคอนเสริต์เองเพื่อให้เป็นที่รู้จักและเป็นแหล่งที่มาของรายได้
               อุดมคติและเป้าหมายของศิลปะในยุคโรแมนติก  คนในยุคโรแมนติกคิดว่าถ้าต้องการค้นหาความหมายของชีวิตต้องมองเข้าไปภายในจิตใจของตนเอง  ศิลปินและคนในสมัยนั้นมีความเห็นว่าเป้าหมายของศิลปะไม่ใช่เพื่อรับใช้ หรือสร้างวความบันเทิงให้กับเจ้านาย  ศิลปินในแต่ละคนควรจะมีอิสระที่จะถ่ายทอดความรู้สึกส่วนตัวผ่านงานศิลปะ  ศิลปินควรจะถ่ายทอดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง งดงาม  ความเชื่อและความรู้สึกที่เป็นส่วนตัวผ่านงานศิลปะของตน  และมีความเชื่อว่ากวี และศิลปินเป็นวีรบุรุษ ( Hero )  และสามารถช่วยเหลือสังคม โดยการช่วยให้สังคมค้นพบคุณค่าที่สูงส่งและช่วยยกระดับจิตใจของมนุษยได้  คนในยุคโรแมนติกเชื่อว่าเราจะเข้าใจโลกได้ดีที่สุดโดยใช้อารมณ์  ความรู้สึก  ไม่ใช่ปัญญาและเหตุผล  คนคิดว่าจินตานาการและความคิดสร้างสรรค์ควรจะถูกนะมาใช้เพื่อสัมผัสใจ  สร้างความประทับใจให้คนดู  เพราะฉนั้นจึงมีความคล้ายคลึงกันระหง่างปรัชญาบาโรคกับ โรแมนติก  ( คลาสสิกความคิดเรียบง่ายสมดุล  ความรู้เป็นเหตเป็นผล  ศิลปะย้อนกลับไปหากรีกโรมันโบราณ )  
                 เบโธเฟ่นเป็นศิลปิน 2 ยุค มีชีวิตช่วงปลายคลาสสิกเพลงที่แต่งนำเราเข้าสู่ยุคโรแมนติก  ชีวิตทุกข์ทรมาน  แสวงหาการยอมรับในสังคม  ต้องการยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับเจ้านายได้โดยไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นคนรับใช้เป็นนักประพันธ์อิสระไม่มีรายได้ประจำ  ซึ่งยังมาหูหนวกทำให้ต้องเลิกอาชีพนักดนตรี  และประพันธ์เพลงเพียงอย่างเดียว  เขาถอนตัวจากสังคมไปอยู่โดดเดี่ยว  เบโธเฟ่นมีชีวิตอยู่เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะด้านดนตรีและ เพื่อคุณค่าของดนตรีที่มีต่อมนุษยชาติ
                 เปียโนเป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีในยุคโรแมนติก  เนื่องจากสะท้อนจิตวิญญาณความโรแมนติก  มีความเป็นเอกเทศเราสามารถบรรเลงเพียงชั้นเดียวได้โดยไม่ต้องบรรเลงเป็นวงก็เป็นเพลงที่ไพเราะแล้ว  สะท้อนอิสรภาพ  เสรีภาพ มีRange เสียงและ  Dynamic  ที่กว้างตั้งแต่เสียงกระชับจนกระทั่งเสียงที่ทรงพลัง ทำให้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้หลากหลาย  สามารถบรรเลงได้ทั้งที่บ้านและ Concert Hall  อีกทั้งการปฎิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดโรงงานมีการพัฒนาเครื่องจักรกล และกระบวนการผลิตทำให้คนจำนวนมากเป็นเจ้าของเปียโนได้
                 มีการใช้ Keyboard effect  แบบใหม่  Crescendo  @ Diminuendo  Sforzando  Tremolo Glissando  ที่นักประพันธ์คิดขึ้น  เพื่อให้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของเพลงได้มากขึ้นทำให้มีพัฒนาคุณภาพของเครื่องดนตรีมากขึ้นอีกด้วย  เนื่องจากเปียโนในช่วงศตววษที่ 19  ไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับการบรรเลงที่ทรงพลังของยุคโรแมนติก  “ Pageta mer”  เดิม5 ½  Octave  โครงไม้  ความตึงของสาย 2 ต้น  ก่อนหุ้มด้วยหนัง  เปียโนมีการพัฒนามากขึ้นในช่วงปี 1820 -  1870  ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยี่ในช่วงปฎิวัติอุตสาหกรรม  มีการเสริมเหล็กเข้าไปในในโครงไม้และพัฒนาเป็รโครงเหล็กในช่วงต่อมาเพื่อที่จะให้สามารถใช้สายที่ใหญ่ขึ้นและขึงให้ตรึงได้มากขึ้น่   มีค้อนขนาดใหญ่และหนักมากขึ้นทำให้เสียงเปียโนเต็มและมีพลังมากขึ้น 71/4Octave  โครงเหล็กสายหนา Tension  30 ตันหุ้มค้อนด้วยสักหลากขนแกะ
                 สำหรับนักประพันธ์โรแมนติกแล้วแรงบันดาลใจมีความสำคัญ  นักประพันธ์จำนวนมากที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวรรรกรรมหรืองานเขียนต่างๆ ดนตรีโรแมนติกส่วนใหญ่จึงทำหน้าที่เหมือนดนตรีเล่าเรื่อง Sohumann List
                 นักประพันธ์และผู้คนในยุคโรแมนติกมีความชื่นชมดื่มด่ำกับธรรมชาติมากๆ เมื่อมองธรรมชาติจะก่อให้เกิดความรู้สึกที่หลากหลาย เช่น  ป่าเขา- สวย  ภัยธรรมชาติ- ความอ่อนแอ  สิ้นหวัง  นักประพันธ์มองธรรมชาติว่าเป็นโลกที่มนุษยยังไม่ได้เข้าไปทำให้มีมลทิน  ธรรมชาติเป็นสิ่งที่สะอาดบริสุทธิ์  นักประพันธ์จำนวนมากที่แต่งเพลงโดยได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ
                 นักประพันธ์สนใจเรื่องอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าโครงสร้าง  จึงลดความสนใจ Sonata Form  แต่นักประพันธ์ให้ความสนใจในการแต่ง Character Piece เป็นเพลงสั้นๆจบในตัวถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกเพียงอย่างเดียวในเพลงนั้น  ส่วนมากเป็น Ternary Form มีชื่อเพลงที่ทำให้มองเห็นภาพ  เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ผ่านมาชั่ววูบแล้วเล่าเป็นเพลง P. 94 ล้อเลียนการแต่งเพลงของChopin
-          เพลงโรแมนติกส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากFolk Music เพลงพื้นเมือง
-          ดนตรีคตินิยมปลายทศวรรษที่ 19 ภาคภูมิใจในความเป็นคนชาตินั้นๆส่งถึงความเป็นชาติ
-          Exoticism  สนใจวัฒนธรรมหลากหลาย  ดนตรีตะวันออกและแดนไกล เพลงเพื่อบรรยายดินแดนที่อยู่ห่างไกล






วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเดินทางภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา หลวงพระบาง ชุมชนลื้อบ้านนายาง

บันทึกการเดินทางภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา หลวงพระบาง ชุมชนลื้อบ้านนายาง ภาควิชามานุษยดุริยางควิทยา
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ระหว่างวันที่ 26 – 29 มีนาคม 2560

26 มีนาคม 2560 (วันอาทิตย์)
-        7.00 น. สนามบินดอนเมือง
-        10.30 น. สนามบินหลวงพระบาง ต่อรถตู้ประจำทางเพื่อเดินทางต่อเข้าสู่ตัวเมืองหลวงพระบาง แต่วีนนี้โชคดี ได้พบคนไทยโดยบังเอิญเป็นเพื่อนบ้านจากหมู่บ้านที่สุพรรณบุรีมาเยี่ยมเพื่อนสนิทที่หลวงพระบางเช่นกัน โดยมีรถตู้ของบ้านเพื่อนมารับ จึงเชิญชาวคณะติดรถเข้าตังเมืองมาด้วยกัน เข้าสู่ตัวเมืองหลวงพระบาง
-        11.30 น. เข้าสู่ที่พัก เก็บสัมภาระต่างๆ
-        12.30 น. รับประทางอาหารเที่ยง

-        13.30 น. ดูงานคุ้มเรือนแก้ว ของคุณแก้วมนตรี  ซึ่งเป็นสถานที่ส่งเสริมและแสดงทางวัฒนธรรมหลวงพระบาง ภายในเรือนมีเครื่องดนตรีวงพิณพาทย์  มีพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ ของเก่าเมืองหลวงพระบาง มีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมือง และผ้าต่างๆของหลวงพระบาง บรรยากาศด้วยความกันเอง และคุณแก้วมนตรี ก็จะเป็นผู้นำพาเยี่ยมชมเมืองหลวงพระบางตลอดการเดินทางภาคสนามในครั้งนี้

-        16.00 น. เยี่ยมชมความงดงามวัดเชียงทอง เป็นสถานที่สำคัญในการจัดงานประเพณีสงการณ์ และงานสำคัญอื่นๆ  แต่โชคไม่ดีมีพายุฝนตกโดยกระทันหัน  และบริเวณหอพระก็ปิดแล้ว แต่ก็เดินชมกันต่อไปเพื่อไม่ให้เสียศรัทธาที่มากันแล้ว
-        19.00 น. เดินออกจากวัดเชียงทองมา ฝนก็ตกหนักขึ้นเรื่อยๆ จึต้องมาหยุดพักรอฝนหยุดกันอีก ตรงบริเวณวัดถัดมา ซึ่งก็ได้พบอีกคณะหนึ่งเป็นคนอินเดียที่สนใจและมาดูการสวดมนต์ทำวัดเย็นของพระในวัดกันอยู่ ชาวคณะเราเลยร่วมฟังสวดทำวัดเย็นอยู่บริเวณนั้นด้วย

-        








     20.30 น. ฝนหยุดตกออกจากวัดมาได้ วันนี้เลยรับประทานอาหารเย็นกันดึกหน่อย
                               

-        22.00 น. เข้าที่พักพักผ่อนตามอัธยาศัย
27 มีนาคม 2560 (วันจันทร์)
-        5.00 น. ตื่นเช้ามาเพื่อดูวัฒนธรรมท้องถิ่นการตักบาตราเช้า ซึ่งสมารถดูได้ทุกที่ทุกมุมของตัวเมืองหลวงพระบาง เพราะมีวัดจำนวนมากเรียงรายอยู่ทุกๆถนน และพระก็จะออกมาบินทบาตทีละวัดเดินเรียงเป็นสายๆ ขบวนของแต่ละวัด งดงามมาก

-        6.30 น. อาหารเช้าที่ร้านกาแฟที่ตลาดเช้า โจ๊ก กาแฟ ปาทังโก๋

                                                   

-        8.30 น. เดินทางเยียมชมกองการสังคีต ประจำเมืองหลวงพระบาง เป็นหน่วยงานทางดนตรีของราชการหลวงพระบาง โดยการต้อนรับของผู้อำนยการศูนย์กองการสังคีต หลวงพระบาง ผู้อำนวยการกองการสังตีตแนะนำหน่วยงาน และข้าราชการประจำกองการสังคีต ทั้งนักดนตรีพิณพาทย์ และนักฟ้อนต่างๆของกองการสังคีตฯ ต่อไปเป็นการแสดงแลกเปลี่ยนวัฒณธรรมของหลวงพระบาง ได้แก่ ระบำดอกไม้ ขับซุ้มหลวงพระบาง ฯลฯ
-        การแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดย ผศ.รุจี ศรีสมบัติ ได้แนะนำการรำสีนวล ตามคำขอของนักฟ้อนจากศิลปินกองการสังคีต ผู้อำนวยการกองการสังคีต กล่าวขอบคุณในการมาเยี่ยมเยือน ผศ.ดร.รุจี ศรีสมบัติ มอบของที่ระลึก และร่วมถ่ายรูปร่วมกัน

-        12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวท้องถิ่น
-        13.30 น. เดินทางต่อ วันนี้พวกเราจะไปบ้านนักดนตรีพิณพาทย์ลาว บ้านเชียงแมน เดินเท้าไปท่าเรือข้ามฟากแม่น้ำ  ล่องเรือไปต่อ เพื่อลงท่าเรือบ้านเชียงแมน เดินลัดเลาะผ่านวัด โรงเรียน และ เข้าสู่ถนนบ้านเชียงแมน  ถึงแล้ว บ้านครอบครัวครูดนตรี ครูพันบ้านเชียงแมน และครอบครัวลุงพัน

-        14.30 น. สนทนา สัมภาษณ์ ครอบครัวลุงพัน และลูกชายผู้จะสืบทอดวงดนตรีลาวเดิมบ้านเชียงแมน 
-        ลุงพันและครอบครัวแสดงบทเพลงวงพิณพาทย์ลาว ได้แก่ ขับซุ้มหลวงพระบาง โอ้ดวงดอกไม้ ขับแผ่เมตตาพุทธคุณ และอีกหลายๆเพลง

-        16.00 น. เดินทางต่อไปเยี่ยมชมศูนย์วัฒนธรรมเด็ก (ศวดด.) เป็นหน่วยงานราชการ ดูแลเรื่องกิจกรรมส่งเสริม เผยแพร่ และสอนศิลปวัฒนธรรม แก่เด็กๆชาวหลวงพระบางที่สนใจทางดนตรี  การฟ้อน และกิจกรรมวัฒนธรรมอื่นๆที่ทางศูนย์วัฒนธรรมจัดให้ตามโปรแกรมประจำปี
-        ผู้อำนวยการศูนย์กล่าวต้อนรับและแนะนำศูนย์วัฒนธรรมเด็ก
-        การแสดงวงพิณพาทย์  โขน และการฟ้อนของเด็กๆศูนย์วัฒนธรรมเด็

                                                      

-        19.00 น. ชมการแสดงพะลักพะลาม  เป็นการแสดงโขนหลวงพระบาง
-        ภาคกลางคืน ขณะที่ชาวคณะเข้าที่พักผ่อนตามอัธยาศัย เราขอมาเยี่ยมชมบ้านครูแอร์น้อย วงพิณพาทย์สี่แยกคอกวัว ซึ่งไม่อยู่ในรายการดูงานของครั้งนี้ วงพิณพาทย์สี่แยกคอกวัว ของครูแอร์น้อย เป็นวงพิณพาทย์ที่รวมรวมเด็กๆคนรุ่นใหม่ มาฝึกฝนฝีมือ ทั้งดนตรี และการฟ้อนต่างๆ  ซึ่งถือได้ว่าเป็นอนาคตทางวัฒนธรรมของหลวงพระบางเลยทีเดียว ที่วันรุ่นเหล่านี้จะไม่ทอดทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมดนตรี และการฟ้อนต่างๆหลวงพระบาง

                                            

28 มีนาคม 2560 (วันอังคาร)
-        7.00 น. อาหารเช้า และเก็บสัมภาระต่างๆเพื่อเตรียมเดินทางไกล มุ่งสู่ชุมชนลื้อบ้านนายาง ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง ตามที่คุณแก้วมนตรี ให้ข้อมูลไว้
-        8.00 น. เดินทางโดยรถตู้ท้องถิ่น ไปชุมชนลื้อบ้านนายาง รถมุงออกนอกเมืองลัดเลาะภูเขา และแม่น้ำ
-        15.00 น. เข้าสู่หมู่บ้านชุมชนลื้อบ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก  เข้าที่พักนำสัมภาระต่างๆขึ้นเรือน
-        15.30 น. ป้าเจ้าของบ้าน พาเดินสำรวจหมู่บ้าน  วัด และไหว้พระหลวงพ่อประจำหมู่บ้าน

-        16.00 น. ชมกิจกรรมวัฒนธรรมตามวิถีชุมชนเผ่าลื้อ ได้แก่  การทอผ้า การปั่นฝ้าย การย้อมสีผ้าฝ้ายตามขั้นตอนต่างๆ
-        19.00 น. รับประทานอาหารเย็น โดยเมนูอาหารท้องถิ่น แกงท้องถิ่น และน้ำพริกหวาย
-        20.30 น. พิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยผู้เฒ่า ผู้แก่ และสมาชิกชุมชนหมู่บ้านนายาง โดยหมอทำขวัญประจำหมู่บ้าน

-        21.30 น. การแสดงวัฒรธรรมชุมชนเผ่าลื้อบ้านนายาง ได้แก่ การขับลื้อ ในบทเพลงต่างๆ และ การแสดงวัฒธรรมแลกเปลี่ยน โดยการร้องเพลงไทยเดิม


-        23.00 น. เข้าที่พักพักผ่อนตามอัธยาศัย ไปไหนไม่ได้
29 มีนาคม 2560 (วันพุธ)
-        ตื่นนอน อาหารเช้า
-        ป้าเจ้าของบ้านมาส่งเพื่อเดินทางต่อ ผศ.รุจี ศรีสมบัติ กล่าวขอบคุณ และมอบของที่ระลึก
-        8.30 น. เดินทางออกจากหมู่บ้านชุมชนลื้อ บ้านนายาง เมืองน้ำบาก โดยรถตู้ท้องถิ่น เข้าสู่ตัวเมืองหลวงพระบางอีกครั้งนึง

-        14.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง และแวะเยี่ยมเยือนบ้านวงดนตรีพิณพาทย์ครูแอร์น้อย สี่แยกคอกวัว  เดินเยี่ยมชมตลาดของฝากประจำเมือง  และวัด สุดท้ายกลับมาพักที่เรือนพวงแก้ว เพื่อรอเวลาไปสนามบิน
-        16.00  น. เดินทางไปสนามบินหลวงพระบาง
-        18.00 น. กลับสู่สนามบินดอนเมือง ประเทศไทยโดยสวัสดิภาพ
     ขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.รุจี ศรีสมบัติ ผู้พาพวกเราเปิดโลกกว้าง พิสูจน์ทฤษฎีการถ่ายโยงทางวัฒนธรรม
     ขอขอบพระคุณ คุณแก้วมนตรี ผู้ดูแล และแนะนำเส้นทางการเดินทางตลอดรายการภาคสนาม





วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเดินทางภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา ภาควิชามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประเทศฟิลิบปินส

บันทึกการเดินทางภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา ภาควิชามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประเทศฟิลิบปินส์
ระหว่างวันที่ 29  เมษายน - 6 พฤษภาคม 2560
Fieldwork Ethnomusicology @ Sukiap,Lubuagan,Kalinga,Philippines


29 เมษายน 2560 (วันเสาร์)
-        5.30 น. สนามบินสุวรรณภูมิ TG 620
-        10.30 น. สนามบินมนิลา เดินทางต่อมหาวิทยาลัยฟิลิบปินส์ ( UP Center For Ethnomusicology )
-        ฟังยรรยายตารางกิจกรรมภาคสนาม บริบทหมู่บ้านกาลิงก้า และข้อแนะนำเบื้องต้นในการปฏิบัติ การเป็นอยู่ในหมู่บ้านกับผู้คนชุมชน
-        เดินทางท่ารถประจำทาง บขส. เพื่อเดินทางเข้าสู่อำเภอ Lubuagan, Kalinga ใช้เวลาเดินทาง เป็นเวลา 11 ชั่วโมง  30 นาที ( 18.00 – 5.30 )
 30 เมษายน  2560 (วันอาทิตย์)
-        รับประทานอาหารเช้า ร้านข้าวท้องถิ่นบริเวณท่ารถ Lubuagan
-        เตรียมนั่งรถท้องถิ่นเพื่อเข้าสู่ แขวง Kalinga


-        ซื้อของใช้จำเป็นที่ต้องใช้ในหมู่บ้าน ได้แก่ น้ำดื่มแบบถังลิตร  2 ถัง และขวดเล็กส่วนบุคคล ไก่เป็นๆ อาหารแห้ง ขนมปัง ขนมอื่นๆ
                                       

-        นั่งรถท้องถิ่นเข้าหมู่บ้าน Sukiap
-        พักทานอาหารกลางวัน
-        เข้าพบผู้ว่าเทศบาลประจำเขต Sukiap

-        เดินทางเข้าหมู่บ้าน โดยรถท้องถิ่น ใช้เวลา 3  ชั่วโมง โดยประมาณ
-        ถึงปากทางเข้าหมู่บ้านต้องเดินเท้า ไต่เขาและแบกสัมภาระส่วนตัว ส่วนรวมต่างๆเพื่อเข้าหมู่บ้าน โดยใช้เวลาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาทีโดยประมาณ
                                                              

-        14.30 น. ถึงหมู่บ้าน Sukiap ชุมชน Kalinga โดยการต้อนรับ อาจารย์เบนนี่ และครอบครัว
-        นำสัมภาระขึ้นบ้านที่พักแรม แบบบ้านชุมชนท้องถิ่น
-        15.30 น. เข้ากลุ่มเรียนเครื่องดนตรีท้องถิ่น Bamboo Music กิจกรรมดนตรี 1 Tongaton

-        18.00 น. รับประทานอาหารเย็น และเป็นอาหารมื้อแรกในหมู่บ้าน Sukiap
-        19.00 น. เข้าร่วมกิจกรรมการแสดง งานวันสุกดิบงานประจำปีของหมู่บ้าน Sukiap
-        23.30 น. เข้าที่พักนอน
1 พฤษภาคม 2560 (วันจันทร์)
-        6.00 น. ตื่นนอน อาหารเช้า กาแฟท้องถิ่น
-        กิจกรรมเรียนเครื่องดนตรี 2 Tambi



-        รับประทานอาหารเที่ยง
-        เข้าร่วมงานประจำปีของหมู่บ้าน Sukiap  ณ. ที่โบสถ์และลานกีฬาประจำหมู่บ้าน ดังนี้ การแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น เครื่องดนตรีและรำท้องถิ่น (รำท่านกกาลิงก้า ) เด็กวัยรุ่นผู้ชายจะเล่นกีฬาบาสเกตบอล เด็กๆวัยรุ่นผู้หญิงจะเล่นกีฬาวอลเล่ย์บอล
และ การพูดให้โอวาทจากผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสทั้งหลายประจำหมู่บ้าน

-        16.00 น. ครูโหน่ง (รศ.ดร.มานพ วิสุทธิแพทย์) พาเป็นอาบน้ำตามวิถีท้องถิ่นที่แม่น้ำ โดยต้องเดินเท้าไต่ภูเขาและริมแม่น้ำไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง
-        18.00 น. รับประทานอาหารเย็น
-        19.30 น. กิจกรรมเรียนเครื่องดนตรี 3 Saggeypo



-        22.00 น. เข้าที่พักพักผ่อนตามอัธยาศัย

2 พฤษภาคม 2560 (วันอังคาร)
-        ตื่นนอน อาหารเช้า กาแฟท้องถิ่น
-        9.00 น. กิจกรรมดนตรี 4 Kulitong
                                                         


-        12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
-        13.00 น. กิจกรรมเดินเท้าเยี่ยมเยือนหมู่บ้านริก ริก เส้นทางเดินเท้าไตหน้าผา ภูเขา เลาะริมแม่น้ำ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30 ชั่วโมง ได้แค่ครึ่งทาง ถึงตรงสะพานข้ามแม่น้ำทางเชื่อมระหว่างภูเขา ครูโหน่งตัดสินใจยุติการเดินทาง เพราะเย็นนี้มีกิจกรรมสอบการแสดงเครื่องดนตรีท้องถิ่นต้งมาเตรียมงานและฝึกซ้อมการแสดง
                              

-        15.00 น. กิจกรรมเครื่องดนตรี 5 Kalsa (การตีกังสะ)




-        16.00 น. ซ้อมการแสดง และตกแต่งสถานที่ เพื่อเตรียมสอบการแสดงดนตรีชนเผ่าที่ได้เล่าเรียนมาทั้งหมด และสุดท้ายการแสดงเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒรธรรม ด้วยบทเพลงและรำวงมาตราฐานแบบไทย
-        รับประทานอาหารเย็น
-        19.00 น. สอบการแสดงดนตรีชนเผ่า  และการแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สุดท้ายด้วยกิจกรรมดนตรีปะทะสังสรรค์ กับผู้ชม ชุมชนในหมู่บ้านด้วยการตีกังสะ ระนกประจำท้องถิ่น การร้องเพลงตอบโต้กันสองฝั่งระหว่างบ้านในชุมชน
                                        

-        24.00 น. จบกิจกรรม เข้าที่พักพักผ่อนตามอัธยาศัย
3 พฤษภาคม 2560 (วันพุธ)
-        ตื่นนอน อาหารเช้า กาแฟ
-        รู้สึกตื่นเต้นและใจหาย ต้องเก็บสัมภาระเพื่อเดินทางออกจากหมู่บ้าน จบภาระกิจการเรียนรู้กิจกรรมต่างๆในหมู่บ้าน
-        บรรยากาศอำลาอาลัย มิตรภาพ น้ำตา ฯลฯ พรรณาไม่หมด ไม่นึกเลยว่าผู้คนในชุมชนจะมีมิตรภาพที่ดีเยี่ยมให้กับคณะพวกเรามากขนาดนี้
                                

-        เดินเท้าพร้อมทั้งสัมภาระส่วนตัว ส่วนกลาง  ออกจากหมู่บ้านไปปากทางท่ารถท้องถิ่น โดยทางเดินไต่ภูเขา ขึ้นมาปากทาง ใช้เวลาเดินออกจากหมู่บ้าน 1.30 ชั่วโมง สะบักสะบอมพร้อมเหงื่อ ลมหายใจที่หอบเหนื่อย
-        ถึงปากทางท่ารถหมู่บ้านเดินทางด้วยรถท้องถิ่นเพื่อไปท่ารถเขตแขวง  kalinga เพื่อต่อรถเดินทางต่อเข้าสู่เมืองหลวง  Manila
-        17.30 น. ท่ารถ บขส. ใช้ชีวิตบนรถอีกทั้งคืน เป็นเวลา 11.30 ชั่วโมง ท่ารถไม่ติดระหว่างทางเขา คงจะถึงแค่เช้าๆ แต่ถ้ารถติดก็ ยาวๆกันไป
-        5.30 น. ถึงท่ารถ บขส. Manila เดินทางต่อไปที่มหาวิทยาลัยฟิลิบปินส์ ( UP Center For Ethnomusicology)
4  พฤษภาคม  2560 (วันพฤหัสบดี)
-        - 5.30 น. จากท่ารถ บขส. เดินทางต่อไปที่มหาวิทยาลัยฟิลิบปินส์ ( UP Center For Ethnomusicology)
-        เข้าที่พักหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยฟิลิบปินส์ ( UP Center For Ethnomusicology)
-        รับประทานอาหารเช้า ที่โรงอาหารมหาวิทยาลัย
-        10.00 น. พาเที่ยวชมเมือง ห้างสรรพสินค้าในเมืองมนิลา
-        16.00 น. จัดเตรียมสถานที่ และซ้อมบทเพลงบรรเลง พิธีลำลึก  100  ปี maceda

               


-        20.00 น. รับประทายอาหารเย็น โรงอาหารมหาวิทยาลัย เข้าที่พักพักผ่อนตามอัธยาศัย
5 พฤษภาคม 2560 (วันศุกร์)
-        ตื่นนอน อาหารเช้าส่งถึงที่  แต่มาช้า ข้าวหน้าเนื้อ ไก่ หมู ร้านดัง
-        10.oo น. UP Center For Ethnomusicology จัดเตรียมสถานที่ และซ้อมพิธีไหว้ครูงานลำลึก 100 Year Maceda
-        พาเยี่ยมชมภาควิชาดนตรีของมหาวิทยาลัย ภาควิชาดนตรีศึกษา ภาควิชามานุษยดนตรีวิทยา
ห้องเรียนดนตรีต่างๆ ห้องสมุด สำนักงานคณบดี ห้องสมุดดนตรี ห้องทำงาน ดร.ซานโตส และห้องเก็บผลงานทั้งภาพ และเสียง เครื่องดนตรีทางมานุษยดนตรี



                                              
-        รับประทานอาหารเที่ยง
-        13.00 น. พาเยี่ยมชมเมืองมานิลา 02
-        16.00 น. เข้าร่วมงานพิธีกรรมไหว้ครู และลำลึก  100 ปี Maseda อ่านบทไหว้ครูไทย ปาเจราจาริยาโหนติฯลฯ  กล่าวคำลำลึกโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยฟิลิบปินส์ และรศ.ดร.มานพ วิสุทธิแพทย์ ,ดร.รามอน ปากายอน ซานโตส
-        ร่วมรับประทานอาหารเย็น ระหว่างคณาจารย์ นิสิตนักศึกษาจากประเทศไทย และนักศึกษาUP Center for Ethnomusicology
-        กลับที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
6 พฤษภาคม 2560 (วันเสาร์)
-        ตื่นนอน อาหารเช้า เก็บสัมภาระเพื่อเดินทางกลับประเทศไทย
-        เยี่ยมชมโบสถ์ประจำเมืองมนิลา
-        12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
-        13.30 น. เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ และคุกใต้ดิน

-        16.00 น. เดินทางไปนามบิน เพื่อกลับประเทศไทย
-        22.30 น. ภึงประเทศไทยดดยสวัสดิภาพ จบการภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา ประเทศฟิลิบปินส์ ประจำปีการศึกษา 2560 ภาควิชามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



-        ขอบพระคุณ รศ.ดร. มานพ วิสุทธิแพทย์ ที่พาพวกเราชาวคณะเดินทางเปิดโลกทัศน์ความเป็นนักมานุษยดุริยางควิทยา
-        ขอบคุณ โรอาน ฟิลิบส์ และคณาจารย์ นักศึกษา UP Center For Ethnimusicology ให้การต้อนรับและดูแลตลอดการเดินทางภาคสนาม ขอบคุณครับ