การฝึกเครื่องสายสำหรับผู้เริ่มต้น
โดย อาจารย์ยงยุทธ
เอี่ยมสอาด
คำถามยอดฮิตก่อนเรียน ลูกเรียนดนตรีแล้วเมื่อไหร่จะเล่นเป็นเพลง ลูกเรียนดนตรีแล้วเมื่อไหร่จะเก่ง ต้องซื้อเครื่องดนตรีก่อนเรียนหรือเรียนแล้วเป็นแล้วค่อยซื้อ ครูที่นี่สอนเก่งมั๊ย จบจากไหน สอนมานานหรือยังเลือกครูผู้สอนแต่ไม่เลือกที่จะชม
จะดูตอนคูณลูกซ้อมดนตรีคือวิชาดนตรีเด็กๆที่จะเก่งดนตรีหรือไม่นั้น ไม่ได้มาจากเพียงครูผู้สอนเท่านั้น แต่ต้องอาศัยจากคนทางบ้านคุณพ่อ คุณแม่
วัฒนธรรมดนตรีในครอบครัว
การฟังดนตรีในบ้าน คุณพ่อคุณแม่เคยฟังคุณลูกซ้อมดนตรีที่บ้านหรือไม่ เคยชื่มชมเวลาลูกซ้อมมั๊ย ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของการเรียนของเด็กๆ การชมเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก
พ่อแม่ที่เคยเรียนดนตรีจะรู้ดีว่าตอนเริ่มเรียนใหม่ๆ
การที่จะควบคุมให้เสียงดนตรีออกมาให้ได้อรรถรสนั้นแล้วมันเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา
และพัฒนาการที่สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
การเรียนดนตรี
การเรียนดนตรีในโรงเรียน ในหลักสูตรพื้นฐานเป็นการเรียนดนตรีที่ล้มเหลวเพราะเริ่มต้นจากการเรียนภาคความรู้ ภาคทฤษฏีตามมาตรฐานการเรียนรู้ ทำให้เด็กๆไม่มีโอกาสที่จะได้เล่นเครื่องดนตรีจริงๆในชั่วโมงเรียนวิชาดนตรีในโรงเรียน
ก็เหมือนกับความล้มเหลวของการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของเด็กไทยเพราะในหลักสูตรเน้นการเรียนไวยกรณ์
ก่อนการเรียนที่จะพูดจริงๆในชีวิตประจำวัน
เพราะฉะนั้นการเรียนภาคทฤษฎีดนตรีในหลักสูตร ในโรงเรียนมากเกินไป ทำให้เด็กๆต้องไปหาความเก่งทางดนตรี การเรียนภาคปฎิบัติเครื่องดนตรีตามโรงเรียนนอกหลักสูตรสถานศึกษาหรือที่คุ้นชินกับการที่เรียกว่าโรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนพิเศษ
ถ้าลูกๆคุณๆอยากเก่งดนตรีก็ต้องเรียนดนตรีนอกสถานศึกษาพื้นฐาน
โรงเรียนนอกสถานศึกษาได้แก่ โรงเรียนสอนพิเศษดนตรีสยามกลการ โรงเรียนดนตรีKPN โรงเรียนดนตรีมีฟ้า จินตการดนตรี
ซึ่งเป็นโรงเรียนดนตรีที่มีความหลากหลายของหลักสูตรและความถนัดในการสอน โดยอาศัยการโฆษณาโรงเรียนจากโรงเรียนแม่
แล้วขยายกิจการแยกย่อยอีกมากมาย
โรงเรียนดนตรีเฉพาะทาง ( Conservatory)
เป็นโรงเรียนที่สถาบันการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆมาเปิดเป็นโครงการสอน เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
มหาวิทยาลัยรังสิต
มหาวิทยาลัยศิลปรากร เปิดเป็นโครงการพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสได้เรียนดนตรีอีกทางหนึ่งเช่นศูนย์ความเป็นเลิศทางดนตรี
(MEC.)เพื่อการพัฒนาหลักสูตร Mix Metod Violin นักเรียนก็จะได้มีโอกาสที่จะเรียนกับอาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัย
ได้แก่ อาจารย์ประพันธ์ศักดิ์
พุ่มอินทร์ อาจารย์ดร.แมสเธียส โบกเนอร์
ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีก่อนที่นักเรียนระดับมัธยมจะตัดสินใจในการเลือกเรียนวิชาชีพในระดับที่สูงกว่า
วัฒนธรรมดนตรีในครอบครัว
การชื่นชมหลังการเรียน การฝึกซ้อมเพื่อสร้างกำลังใจ วัฒนธรรมการฟังเพลง คุณพ่อคุณแม่ฟังเพลงอะไร ถ้าจะสร้างบรรยากาศและความเข้าใจต้องเริ่มสร้างและเพิ่มการฟังเพลงคลาสสิกและเพลงในบทเรียนเข้าไปอีกหนึ่งอย่างในครอบครัว วัฒนธรรมการดูการชมดนตรีคลาสสิกหรือบทเพลงที่เรียน สื่ออินเตอร์เนต ชมคอนเสริต์จริงๆอย่างน้อยปีละครั้ง การสร้างเป้าหมายในการเรียน ระหว่างผู้เรียน ผู้ปกครอง
กิจกรรมสร้างสรรค์ทางดนตรี การเล่นร่วมกับเพื่อน
การเล่นรวมเป็นวงดนตรี การแสดงดนตรี การสร้างแรงบันดาลใจ ดนตรีสร้างระเบียบวินัย
ค่านิยมการเรียนดนตรีครอบครัวแบบเก่า
-
เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
-
เพื่อเป็นหน้าเป็นตาของครอบครัวชั้นดี
-
เพื่อชดเชยสิ่งที่พ่อแม่ไม่มีโอกาสในตอนวัยเยาว์
ค่านิยมการเรียนดนตรีครอบครัวแบบใหม่
-
พ่อ แม่ เคยเรียนดนตรีมาแล้ว
-
เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
-
เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กให้เติมเต็มชีวิตสมบูรณ์
-
เพื่อพัฒนาศักยภาพทางดนตรีอย่างจริงจัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น