โครงงานศึกษาแหล่งอารยธรรมลาว(สปป.ลาว)
ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2558
จากลาวแพน ขับ ลำ
สู่จำปาเมืองลาว
ขับ หรือลำ หรือเพลงฟ้อน
และเครื่องเสพ(ดนตรี)
เกิดมีในสังคมชาวลาวเรามาแต่
โบราณกาล
มันมีบทบาทอิทธิพลสูงส่งต่อชีวิตจิตใจของบุคคล การจัดตั้งสถาบัน และสังคม
จนไม่สามารถขาดได้
กล่าวคือได้หล่อเลี้ยงขับกล่อมชีวิต จิตวิญญาณของคนลาวให้มีเอกลักษณ์
รัฐชาติ
บรรยากาศ วาดวิถีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์
ขับ ลำ เพลง ดนตรี
เดิมทีเป็นประเภทพิธีกรรม ระยะต่อมาเริ่มเล่นแบบไม่เป็นพิธีกรรม
การแสดงแต่ละประเภทก็จะมีรูปแบบ
มีพลัง มีเสน่ห์ ถูกนำมาใช้ได้รับความนิยมแตกต่างกันไป
และได้รับการปกปักรักษาสืบทอดพัฒนากันเรื่อยๆมา
วิถีชีวิตของคนลาวมีบรรยากาศครึกครื้น
รื่นเริงด้วยเสียงลำ
เสียงเพลง เสียงดนตรี
ไม่ขาดหายสิ่งเหล่านี้จากวิถีชีวิตไปได้เลยไม่ว่า
จะสุข
จะทุกข์ จะยากดีมีจน ก็ยังมีการขับ ลำ เพลง ดนตรี
ในการร้องลำทำเพลงแต่เดิมลาวเราคงจะใช้แต่คำว่า
“ร้อง” และ “ขับ” รวมกันเรียกว่า “ขับร้อง” ส่วนการแสดงลีลาท่าทางประกอบขับร้องนั้นเรียกว่า
“เต้น” และ “ฟ้อน” ต่อมาจึงใช้คำว่า “ลำ”ใช้คำว่า”เพลง”(เพง) และใช้คำว่าดนตรีในภายหลัง โดยมีมาในสมัยที่ขอม
เรืองอำนาจในแหลมสุวรรณภูมิ
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 – 12 หรืออย่างช้าที่สุดก็คือกลาง
ศตวรรษที่ 14 สมัยเจ้าฟ้างุ่มมหาราชครองราชอาณาจักรล้านช้าง เพราะในสมัยนี้ลาวเราได้รับ
เอาวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากเขมร รวมทั้งภาษา ศิลปะ นาฏศิลป์และดนตรี
เปล่งเสียงออกมาโดยมีการควบคุมจังหวะ ทำนอง
ให้เสียงที่เปล่งนั้น สูง -
ต่ำ สั้น - ยาว การขับ
ในระยะแรกๆไม่มีเสียงเครื่องเสพ (เครื่องดนตรี) ประกอบใส่ ต่อมาภายหลังจึงมีเสียงเครื่องเสพ
(ดนตรี) มาประกอบใส่การขับ
การควบคุมคำร้องเนื่อร้องให้เป็นไปตามจังหวะ ทำนอง ทิศทาง
และเป็นไปตามจุดประสงค์ที่ต้องการ คนลาวเราล้วนแต่ใช้คำว่า
“ขับ” เป็นกริยา เช่น ขับลำ,
ขับเกวียน,ขับรถ,ขับเรือ,ขับยนต์,ขับไล่,ขับหนีตีส่ง และขับเคลื่อน
เป็นต้น
เพง
(เพลง) เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร รูปเดิมเขียนเป็น
“เพลง” เหมือนกับในภาษาไทย
แล้วอ่านออกเสียงควบ
แต่ลิ้นลาวไม่ชอบเสียงควบจึงเหลือเพียงแต่ “เพง” เหมือนคำว่า”กลอง”
ก็จะเหลือแต่”กอง” คำว่า “ดนตรี” เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต
เมื่อลาวเรานำมาใช้หลายที่เขียน
“ดนตรี” แต่บางที่ก็เขียน “นนตี”
อันที่เขียนว่านนตีคงเนื่องจากการผันเสียงผิด ลาวเรานิยมแผลง
เสียงภาษาเขมร ภาษาสันสกฤต ตามหลักไวยกรณ์ของแนวลาวรักชาติที่มีการตัดตัว
ร. เรือ ออกจาก
ระบบอักษรลาว และนิยมเขียนไปตามเสียง ก็เลยเหลือแต่รูป เช่น
“ดนตี”
แต่เดิมลาวเราเรียกดนตรีนี้ว่า
“เครื่องเสพ” ดังปรากฏในหนังสือวรรณคดีโบราณลาวทุกเรื่อง
เครื่องเสพนี้ได้แก่ เครื่องดีด สี ตี เป่าชนิดต่างๆ เช่น
กระจับปี่ พิณ ซอ ฆ้อง กลอง ปี่ แคน พิณพาทย์
สวานไล แตร ตุค ขลุ่ย สิ่ง แส่ง และอื่นๆ
เพลงคือ”วาด” หรือจังหวะทำนองเสียงขับลำของคน
หรือเสียงดนตรี หรือทั้งเสียงคน
และเสียงดนตรีประกอบกันเข้า พาให้เกิดความรู้สึกสะเทือนใจต่างๆ เช่น
ม่วนชื่นออนซอน
ตื่นเต้น
หรือโศกเศร้า อาวรณ์ เพลงยังหมายถึงลายฟ้อน(ลีลาท่าทาง กระบวนท่าในการฟ้อน
ฟ้อนง้าว
ฟ้อนทวน หรือควงอาวุธต่อสู้)
ลายแคน(จังหวะน้ำเสียงของแคน) หรือหมายถึง
รูปแบบของวิถีการดำรงชีวิตของคนเรา พวกเราเคยได้ยินอยู่เรื่อยๆว่า “เฮ็ดตามวาด”
หรือ
“เฮ็ดตามเพลง”
หรือว่าปล่อยให้มันเป็นไปตามเพลง
เมื่อมีผู้ใดกระทำการอันใดที่ไม่เข้าท่า
เข้าทาง เรามักจะพูดการกระทำแบบนั้นว่า “เฮ็ดตามเพลงบ้า”
เพลงลาวแพนเป็นหนึ่งในเพลงลาวเดิมที่ได้รับความนิยมชมชอบและกล่าวถึงมากที่สุด
เหตุเพราะจากเนื้อเพลงได้พรรณนาถึงชะตากรรมของคนลาวที่ได้รับเคราะห์กรรมในเวลาประเทศ
สูญเสียเอกราช และได้ตกไปเป็นข้อยข้าของคนไทยสยามในระหว่างปี ค.ศ.
1783 - 1828 มีชายฉกรรจ์ไม่ต่ำกว่าห้าพันคนที่ถูกเกณฑ์และกวาดต้อนจากลาวให้ไปใช้แรงงานสรรพทุกข์ที่
บางกอกสร้างเมืองบางกอกเช่นตัดต้นตาลจากสุพรรณบุรีล่องแม่น้ำเจ้าพระยาออกไปสมุทรปราการ
ก่อสร้างหอโรงพระราชวังวัดวาอารามวัดโพธิ์วัดพระแก้วสร้างกำแพงพร้อมป้อมปราการรอบ
กรุงเทพฯ
ขุดคลองต่างๆ
เพลงลาวแพนไม่รู้ว่าใครแต่งเนื้อร้องและทำนอง
แต่คาดว่าคงจะแต่งขึ้นในเวลานั้น
เพราะเนื้อเพลงบรรยายถึงความคับแค้นใจแน่นใจของคนลาวที่ถูกไทยสยามบังคับข่มเหงเอาไว้ว่า
“มาข้อย(ข้าน้อย)
จะกล่าวถึงพวกลาวเป่าแคนแสนเสนาะ มาสอเพาะ(มาเสพ เลาะ) เข้ากับ
แคนแสนขยัน
เป็นใจความยามยากจากเวียงจัน ตกมาอยู่เขตขัณฑ์อยุธยา อีแม่คุณเอย เราบ่เคยตกยาก ตกระกำลำบากแสนยากนี้นักหนา พลัดทั้งที่ดินถิ่นฐานพลัดทั้งบ้านทั้งเมืองมา
พลัดทั้งปู่พลัดทั้งย่าพลัดทั้งตาพลัดทั้งยาย พลัดทั้งแม่ลูกเมียพลัดทั้งเสียลูกเต้า
พลัดทั้งพงศ์พลัดเผ่า
ทั้งลูกเต้าก็หนีหาย
บักไทยมันซ้อมบักไทยมันขังบักไทยมันตี
จนไหล่จนหลังข้อยนี้ลาย จะตาย
เสียแล้วหนาที่ในป่าดงแดน ผ้าทอก็บ่มีนุ่ง ผ้าถุงก็บ่มีห่ม
คาดแต่เตี่ยวเกียวกมหนาวลมนี้เหลือแสน
ระเหินระหกตกยากต้องเป็นคนกากคนแกนมีแต่แคนคันเดียวก็พอได้เที่ยวขอทานเขากิน ตกมาอยู่
ในเมืองต้องถีบกระเดื่องกระด้อย สีข้อยดำต่ำต้อยตะบิดตะบอยบ่รู้สิ้น
ถือแต่เคียวเกี่ยวแต่หญ้า
เอาไปให้ม้าของเพื่อนมันกิน
เที่ยวซมซานไปทุกบ้านทุกถิ่นจะได้กินก้แต่เดน แสนอึดแสนจนเหมือน
อย่างคนตกนรก มือฝนตกเที่ยวหยกๆหกคะเมน
ถือข้องส่องกบจับกบทุ่งพระเมรุ เปื้อนเลนเปื้อนตม
เหม็นขมเหม็นคาว จับทั้งอ่างจับทั้งขิงจับทั้งอึ่งท้องเขียว
จับทั้งเหนี้ยวจับทั้งปูจับทั้งหนูท้องขาว
จับเอามาให้สิ้นต้มกินกับเหล้า
เป็นกรรมของพวกเราเพราะอ้ายเจ้าเวียงจัน เพื่อนเอย”
เพลงลาวแพน หมายถึง
เพลงสำเนียงลาวหลายทำนอง ที่เอามาร้อยต่อกันเป็นพืดยืดยาว
ให้มีลีลาหลากหลายกว้างขวางอย่างเสรี
แพน
เป็นคำเก่าแก่ดั้งเดิม แปลว่า แผ่กว้างออกไป, เป็นแผ่น, ต่อกันเป็นพืด (เหมือนแพ)
มีใช้ในชีวิตประจำวันของคนแต่ก่อน เช่น ลำแพน เป็นคำเรียกเสื่อซึ่งสานด้วยตอกไม้ไผ่เหลาบางๆ
ได้ขนาด เอาใช้แผ่ปูพื้น หรือกรุห้องกั้นฝาเรือน ว่าเสื่อลำแพน (ภาษาพูดของคนภาคใต้ว่า
“เรือเป็นแพน” หมายถึง เรือต่อกันเป็นพืด มีในพจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พ.ศ. 2525 พิมพ์โดยสถาบันทักษิณคดีศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)แต่นานเข้าความหมายของแพน
ก็ขยายขอบเขตเป็นอย่างอื่นด้วย
คำร้องบทเพลงลาวแพน
บทเพลงลาวแพนมีคำร้องแพร่หลายต่างกันอย่างน้อย
2 สำนวน คือ สำนวนตีเวียงจัน กับสำนวนพระลอ.
สำนวนตีเวียงจันพรรณนาความทุกข์ยากของบรรดาเชลยลาวที่ถูกกวาดต้อนจากเวียงจันมาอยู่กรุงเทพฯ
คราวศึกเจ้าอนุเวียงจันสมัย รัชกาลที่ 3 ไม่ทราบผู้แต่ง
แต่เดากันว่าแต่งในกรุงเทพฯ และไม่เป็นสำนวนลาวสองฝั่งโขง
เพราะฉันทลักษณ์ใกล้กลอนเพลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา และถ้อยคำก็กลายจากลาวใกล้ไทยกรุงเทพฯ
มากแล้ว มีร่องรอยน่าสงสัยว่าคำร้องสำนวนนี้ จะแต่งโดยคีตกวีวังหน้า สมัยรัชกาลที่
3 จนถึงรัชกาลที่ 4 เพราะในบทละครเรื่องพระลอนรลักษณ์มีกลอนตอนหนึ่งว่า “ซอขับรับแพนแสนเสนาะ
ฟังเพราะสำเนียงเสียงดีเหลือ”ใกล้เคียงกับคำร้องลาวแพนขึ้นต้นว่า “มาข้อยจะกล่าวถึงลาวเป่าแคนแสนเสนาะ
ฟังเพราะ (มาสอเพาะ) เข้ากับแคนแสนขยัน…..” ฯลฯ
หรือ ดังที่กล่าวขับ ลำ บทร้องลาวแพน
สำนวนตีเวียงจัน ทั้งหมดไปแล้วในเบื้องต้น
สำนวนพระลอ พรรณนาความทุกข์โศกของพระลอที่ออกจากบ้านเมืองของตนไปกลางดงป่า
ข้ามน้ำกาหลงไปหาพระเพื่อนพระแพงที่อยู่อีกเมืองหนึ่ง เป็นพระนิพนธ์กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
สมัยรัชกาลที่ 5 ยังมีสำนวนอื่นๆหลังจากนี้อีกแต่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
บทร้องฟ้อนแพนสำนวนพระลอ
"ศศิธรส่องสว่างกระจ่างฟ้า ชาวประชาเริงรื่นชื่นใจแสนจะดูไหนงามสิ้นทั้งดินแดน
เหมือนเมืองแมนแดนด้าวชาวเทวาโอ้ว่าพวกเราเอ๋ย ใครบ่เคยเห็นบ้างดวงจันทร์แจ่มกระจ่าง แลสว่างเวหาขอเชิญพวกเราพี่น้อง มารำมาร้องกันเถิดหนามาชมแสงจันทร์แจ่มฟ้า ใช่ชื่นอุรา
ร่าเริงมาร่วมบันเทิงกันเถิดเหนอ
เพื่อนเกลอพี่น้องร้องรำเอ๋ย สูเพื่อนเอย"
บทร้องนี้เป็นที่นิยมกันมากในกรมศิลปากรใช้ประกอบการฟ้อนแพนที่ทางกรมศิลปากรได้รื้อฟื้นขึ้นมาใช้ใส่ไว้ในการเล่นละครพันทางของหลวงวิจิตรวาทการ
โดยได้ให้ ครูเฉลย ศุขะวณิช ครูลมูล ยมะคุปต์ และครูมัลลี คงประภัสสร์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำให้เข้ากับทำนองเดี่ยวจะเข้ของครูละเมียด
จิตตเสวี (นางสนิทบรรเลงการ) ซึ่งเป็นคนจะเข้คนสำคัญของกรมศิลปากรในขณะนั้น
จะเห็นได้ว่าเปลี่ยนอารมณ์เพลงโดยเฉพาะในช่วงขับร้องนั้นให้แตกต่างไปจากบทเดิมที่เป็นเรื่องของ
ความทุกข์ยาก
กลายมาเป็นความสุขความงามท่ามกลางแสงจันทร์ได้อย่างน่าอัศจรรย์
เมื่อจะเข้รับขึ้นมาก็สนิทสนมกลืนกันดีและดำเนินทำนองออกไปในทางสุขสมรื่นเริงจนกระทั่งจบลงที่ซุ้มลาวมีการกำหนดทำนองชัดเจนว่าจะสั้นยาวเพียงไรและเป็นเช่นไรจึงจะเข้ากับท่ารำในแต่ละช่วง
อย่างลงตัวผู้เดี่ยวจะไม่สามารถมีอิสระที่จะดีดด้นอะไรก็ได้อีกแล้วเพราะถูกกำหนดด้วยความยาวของท่ารำและคนจะเข้ต้องเรียนรู้ว่าท่ารำแต่ละช่วงนั้นเข้ากับทำนองอย่างไรเมื่อไรจะต้องออกลาวแพน
น้อยเมื่อไรจะลงซุ้มแล้วเมื่อไรจะต้องลงจบเป็นต้น
ฟ้อนแพนนี้สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นครั้งแรกจากการแสดงละครพันทาง
เรื่องพระลอ บทพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ตอนพระลอลงสรงในแม่น้ำ
กาหลงซึ่งบทร้องนี้ก็ยังใช้ร้องประกอบการเดี่ยวลาวแพนอยู่แทนบทร้องเดิมที่พรรณาถึงความยาก
ลำบากของชาวลาวที่มีมาแต่ครั้งรัชกาลที่3
ท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นการนำลีลาท่าฟ้อนทางภาคเหนือมาผสมผสานกับท่ารำไทย
และดัดแปลงให้เหมาะสมกับท่วงทำนองเพลง แต่เดิมเป็นการรำคนเดียว คือ ฟ้อนเดี่ยว
ต่อมาครูลมุล ยมะคุปต์ ได้นำมาใช้ในการฟ้อนหมู่โดยเพิ่มเติมลีลาการฟ้อนให้มากขึ้น
มีทั้งผู้แสดงหญิงล้วน และผู้แสดงชาย – หญิง โดยมีบทร้องประกอบ ซึ่งประพันธ์โดยพลตรี
หลวงวิจิตรวาทการ จัดแสดงครั้งแรกที่โรงเรียนศิลปากร แผนกนาฏดุริยางค์ (ปัจจุบัน
คือ วิทยาลัยนาฏศิลป)เมื่อประมาณปี2500ไม่มีหลักฐานว่าเดิมทางเดี่ยวที่ใช้สำหรับฟ้อนแพนในเรื่องพระลอนั้นมีลักษณะเช่นไรแต่ถ้าให้สันนิษฐานก็คงใกล้เคียงกับการฟ้อนในยุคหลังของกรมศิลปากรเพราะท่ารำที่กรมศิลปากรนำมาใช้นั้นก็ดัดแแปลงมาจากของเก่าทั้งสิ้น
ประกอบกับการฟ้อนแพนนี้ เป็นที่นิยมในตำหนักพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ซึ่งเป็นนักจะเข้สำคัญพระองค์หนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่6 ในตำหนักลาวนี้มีการตั้งวงเครื่องสายและหัดเด็กหญิงชาวเหนือกันอย่างเป็นล่ำ
เป็นสันโดยมีพระยาประสานดุริยศัพท์และครูสังวาลย์กุลวัลกีมาเป็นครูฝึกหัดทางเพลงลาวแพนที่สอนกันในตำหนักของท่านนั้นจึงเป็นทางแบบโบราณที่เหมาะกับการฟ้อนยิ่งนักปัจจุบันมีการสืบทอดมายัง
เจ้าโสภาเพ็งพุ่ม(ณเชียงใหม่)ซึ่งใกล้เคียงมากกับทางที่ครูละเมียดจิตตเสวีได้ใช้ประกอบการฟ้อนแพนของกรมศิลปากรลาวแพนที่ประกอบการฟ้อนแพนนี้
จะประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก คือ ต้นลาวแพน ลาวแพนใหญ่ ท้ายลาวแพน
ลาวแพนน้อย และซุ้มลาว ซึ่งมีการร้อยเรียงให้เข้ากับท่าฟ้อนอย่างลงตัวแต่ละส่วนจะซ้ำแค่สองครั้งยกเว้นลาวแพนน้อยนั้น
เล่นเที่ยวเดียวแล้วตัดจังหวะแบบทันทีเมื่อท่ารำพร้อมจะเข้าซุ้มเพื่อไม่ให้ช่างฟ้อนอยู่ในท่าเดิมๆซ้ำกันอยู่นาน
และเป็นการเปลี่ยนหน้าทับจากหน้าทับลาวสองชั้น เป็นการตีส่ายชั้นเดียว
ซุ้มที่ใช้ในการฟ้อนแพนนั้นจะเป็นซุ้มลาวซึ่งท่ารำจะเปลี่ยนไปเป็นแบบเซิ้ง ก่อนที่จะทอดลงเป็นสองชั้นในตอนกลางแล้วขมวดเร็วเป็นชั้นเดียวอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนเป็นท่าเดินออกจากเวทีไปในตอนจบ
การนำเพลงลาวแพนนี้ไปใช้ประกอบการฟ้อนแพนทำให้เกิดทางเดี่ยวลาวแพนที่มีอัตลักษณ์จำเพาะโดยกำหนดโครงสร้างไว้ชัดเจนให้สอดคล้องกับท่ารำไม่สามารถใช้ลาวแพนทางอื่นไปบรรเลง
ประกอบการฟ้อนได้สนิทเท่า
และเนื่องจากทางเดี่ยวนี้ก็มีความไพเราะในตัวเอง
นักจะเข้ทั่วไปจึงนิยมไปใช้บรรเลงเดี่ยวอวดฝีมือด้วยแม้ว่าจะไม่มีการฟ้อนประกอบ
เมื่อมีการสอนและถ่ายทอดในวิทยาลัยนาฏศิลป์ไปอย่างแพร่หลาย
ทางเดี่ยว"ลาวแพน"นี้
จึงกลายเป็นทางเดี่ยวมาตรฐานสำหรับนักจะเข้ในประเทศไทยไปโดยปริยาย
โดยที่หลายท่านอาจจะเรียกว่าทางกรมศิลป์ทางครูทองดีสุจริตกุล หรือจะเรียกว่าเป็น
ทางเดี่ยวลาวแพนของครูละเมียดแบบตัดหรือแบบฟ้อนแพนก็เป็นได้
ทำนองเพลงลาวแพนเพลงลาวแพนบางทีเรียกเพลงลาวแพนใหญ่(คู่กับเพลงลาวแพนน้อย)เป็นเพลงมีสำเนียงลาวอีสาน (ไม่เป็นลาวเหนือหรือลาวล้านนา) ครูมนตรีตราโมทบอกว่า“แม้เพลง
พื้นเมืองของภาคอีสานในสมัยนี้ก็ยังมีคล้ายคลึงกับลาวแพนหรือลาวแพนใหญ่นี้”เพลงลาวแพน
บรรเลงเดี่ยว(เช่นเดี่ยวจะเข้เพลงลาวแพน)ผู้รู้ดนตรีไทยอธิบายว่าประกอบด้วยเพลงสำเนียงลาวหลายเพลงเข้ามาต่อกันเป็นเรื่องราวเช่นเพลงลาวสมเด็จ,ลาวแพนน้อยเป็นต้นแรกเริ่มประดิษฐ์ทำนอง
สำหรับเดี่ยวปี่ในเท่านั้น ต่อมาแผ่ขยายถึงจะเข้และเครื่องมืออื่นๆ
หลากหลายไม่มีขีดจำกัด
ต่อมาใช้บรรเลงเดี่ยวประกอบรำมีเพลงสำเนียงลาวร้อยต่อกันเป็นชุดให้เข้ากับท่ารำที่กำหนด
คือ ลาวแพนใหญ่, ลาวสมเด็จ, ลาวแพนน้อย, ลาวลอดค่าย, แล้วออกซุ้มลาวแพน (คำว่า
ซุ้ม บางทีจะกร่อนจากซุมแซวแปลว่าอึกทึกสนุกสนาน)ทั้งหมดนี้สอดคล้องกับชื่อและความหมาย
เพลงลาวแพนหมายถึงเพลงสำเนียงลาวหลายเพลงที่เอามาร้อยต่อกันเป็นพืดยืดยาวและมีลีลาทำนองหลากหลายกว้างขวางอย่างเสรี
ขับ
ลำ จำปาเมืองลาว
โอ้ดวงจำปา
เวลาซมดอก (น้อง) นึกเห็นพันซ่อง มองเห็นหัวใจ
เฮานึกขึ้นได้
ในกลิ่นเจ้าหอม เห็นสวนดอกไม้บิดาปลูกไว้
ตั้งแต่นานมา
เวลาง่วมเหงา เจ้าซ่วยบรรเทา เฮาหายโศกา เจ้า ดวงจำปาคู่เคียงเฮามาแต่ยามน้อยเอย
กลิ่นเจ้าสำคัญ
ติดพันหัวใจ เป็นน่าฮักใคร่ แพงไว้เซยซม
ยามเหงาเฮาดม
โอ้ ดวงจำปา (โอ้จำปาหอม) เมื่อดมกลิ่นเจ้า
ปานพบเพื่อนเก่า ที่พรากจากไป
(ซู้เก่า หรือ ชู้เก่า) เจ้าเป็นดอกไม้
ที่งามวิไลตั้งแต่ใดมา เจ้าดวงจำปา
มาลาขวัญฮักของเฮียมนี้เอย
โอ้ดวงจำปา
บุปผาเมืองลาว งามดั่งดวงดาว
ซาวลาวเพิ่งใจ
เกิดอยู่ภายใน
แดนดินล้านซ้าง ถ้า (เมื่อ)ได้พลัดพราก หนีไปไกลจาก
(ออกหนีไปจาก) บ้านเกิดเมืองนอน
เฮียมจะเอาเจ้า เป็นเพื่อนบรรเทาเท่าสิ้นซีวา เจ้าดวงจำปา มาลางามยิ่งมิ่งเมืองลาวเอย
ที่ขับมาด้านบนนี้ก็คือเนื้อเพลง จำปาเมืองลาว นั่นเอง
เพลงนี้
ประพันธ์เนื้อร้อง โดยท่านมะหาพูมิ จิดพง และทำนองโดยอุตมะ จุลามณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว โดยใช้ทำนองขับทุ้มแบบหลวงพระบาง
มาเป็นแนวทำนองหลักของเพลง ประพันธ์ขึ้นในปี 1942 (พ.ศ. 2485)
เมื่อครั้งที่ท่านเข้าร่วมการต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส
เนื้อร้องในภาษาลาว เท่าที่ผู้เขียนสืบค้น พบว่ามีหลายสำนวน แต่ละสำนวนมีจุดแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย
ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า สำนวนใดเป็นสำนวนเก่าดั้งเดิมจริง (original)
เนื้อหาของเพลงพูดถึงการพลัดบ้านพลัดถิ่น
(เพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส) ถ้อยคำที่ใช้ ซื่อใส เรียบง่ายแต่มีเสน่ห์ เหมือนเพลงลาวอีกหลายสิบเพลง เป็นที่น่าสังเกตว่า
เพลงนี้ใช้ “ดวงจำปา”หรือดอกลั่นทมมาเป็นสัญลักษณ์ของถิ่นฐานบ้านเกิดหรือมาตุภูมิทั้งที่ในยุคที่ประพันธ์
เพลง
ทางการประเทศลาวยังไม่ได้ยกฐานะของดวงจำปาให้เป็นดอกไม้ประจำชาติของลาวด้วยซ้ำ
แต่ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ดวงจำปา หรือดอกลั่นทม เป็นดอกไม้ยอดฮิตที่จะพบเห็นได้ทั่วไป
ตั้งแต่เหนือสุดที่พงสาลีจรดใต้สุดที่จำปาศักดิ์ ปากเซ ทำให้ภายหลังเมื่อประเทศลาว
ได้ชัยชนะในสงครามเหนือสหรัฐอเมริกา สถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขึ้น
จึงได้ยกฐานะให้“ดวงจำปา”เป็นดอกไม้ประจำชาติอย่างเป็นทางการเชื่อว่าผู้นำประเทศคงได้รับอิทธิพลจากบทเพลงนี้ไม่น้อย
ดอกไม้
“ดวงจำปา” คนไทยเรียกดวงจำปาว่าดอกลั่นทม
คนอีสานก็เรียกจำปาขาว คนเหนือเรียกว่า จำปาลาว คนใต้เรียก จำปา เขมรเรียก จำไป
หรือ จำปาซอ คนมาเลย์เรียก บุหงากัมโพซาคนชวาเรียกกัมโพชานักทางพฤกษศาสตร์ว่าไว้ว่าเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแม็กซิโกและลาตินอเมริกา
แพร่หลายเข้ามาทางอินเดีย และต่อเข้ามายังกัมพูชา หรือขอม ที่เคยรุ่งเรืองในอดีต
ต่อมาจึงแพร่หลายไปทั่วอินโดจีน แม้แต่ชื่อเรียกในภาษามาเลย์และชวา
ก็เป็นการยอมรับอยู่โดยปริยายว่า เป็นดอกไม้จากกัมพูชา ในส่วนของลาวเอง
มีประวัติว่า พระเจ้าฟ้างุ้มแห่งอาณาจักรล้านช้างมีพระมเหสีเป็นธิดาเจ้าเมืองเขมร
เป็นผู้นำดวงจำปาเข้ามาปลูกในราชวังทรงชื่นชอบดอกไม้ชนิดนี้มากจึงโปรดให้ปลูกดอกไม้ชนิดนี้
ทั่วอาณาจักรของตน
เนื้อเพลง“จำปาเมืองลาว”นี้เนื้อร้องพร่ำรำพันถึงความคิดถึงบ้านโดยใช้ดวง(ดอก)จำปา
ที่บิดาปลูกไว้เป็นสื่อ
เพื่อปลุกระดมน้ำใจรักชาติบ้านเกิดเมืองนอนของประชาชนลาวให้เป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน
ด้วยท่วงทำนองที่เรียบง่ายแต่งดงามด้วยลูกเอื้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของการขับทุ้มแบบ
หลวงพระบาง
ฟังได้ไพเราะแม้จะมีเพียงแนวทำนองหลักโดยไม่มีท่อนแยก และด้วยคำร้องที่กินใจ
ด้วยถ้อยคำซื่อๆใสๆไม่ปรุงแต่งจนเกินเลยทำให้เพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายต่อหลาย
เวอร์ชั่นในหลายหลากภาษาถ้านับจากปีที่เพลงนี้ถูกประพันธ์ขึ้นจนถึงวันนี้เพลงจำปาเมืองลาวได้
พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามันมิใช่เป็นเพียงดอกไม้และบทเพลงประจำชาติลาวเพียงลำพังอีกต่อไป
หากแต่ “ดวงจำปา”ได้คลี่กลีบสล้างอวดกลิ่นขจรจนกลายเป็นบุปผชาติและบทเพลงแห่งภูมิภาคอินโดจีน
ไปแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย
เมืองหลวงพระบาง บางทีก็เรียกว่า " ขับทุ้มหลวงพระบาง "
รูปแบบการเล่นแตกต่างจากขับสําเนียงอื่นคือแทนที่จะใช้แคนหรือปี่ประกอบก็ใช้เครื่องพิณพาทย์
มโหรีบรรเลงแทน ในช่วงเปลี่ยนตัวผู้ขับ
ดนตรีมีการตั้งทํานองใหม่และเปลี่ยนเสียงให้เหมาะกับผู้ขับ
ขับทุ้มมีจังหวะและทํานองสนุกสนาน โดยเฉพาะการลงท้าย " ว่าดอก " เช่น
" เจ้าดอกเอ๋ย เจ้าดอกสบันงา นับแต่อ้ายนี้เห็นคนมา ก็บ่งามคือเจ้า "
และคําที่ลูกคู่ร้องรับว่า " ตาตีโยนเป็ง " ถือเป็นลักษณะเฉพาะ
ที่มีผู้นําไปประยุกต์เป็นทํานองเพลงต่างๆ
ส่วนเนื้อหาเป็นการขับแบบด้นสดเกี่ยวกับการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว
จากลาวแพน ขับ ลำ สู่จำปาลาว
ถือได้ว่าเป็นดนตรีลาวเดิมสมัยการต่อสู้เพื่อเอกราช
(ค.ศ. 1954 – 1975 ) ดนตรีลาวเดิมสมัยการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลัง
จากฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่นาซีเยอรมันในยุโรป
ญี่ปุ่นได้เข้ายึดอำนาจการปกครองบริหารในอินโดจีน แต่
เมื่อญี่ปุ่นต้องพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ลาวก็ต้องกลับมาอยู่ในการอารักขาของฝรั่งเศสดังเดิม
อย่างไรก็ตามในระยะนี้ได้เกิดการต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสโดยการนำของกลุ่มแนวรักชาติ
ภายใต้การสนับสนุนของเวียดนามเหนือและกลุ่มชาติสังคมนิยม พัฒนาการด้านดนตรีลาวเดิมในยุคนี้
ปรากฎหลักฐานการประพันธ์เพลงเพลงปฎิวัติ
เพื่อปลุกระดมมวลชนในการขับไล่มหาอำนาจ
สหรัฐอเมริกา
โดยบทเพลงที่นำมานั้นมีทั้งที่ประพันธ์ขึ้นมาใหม่
และการนำทำนองเพลงลาวเดิมมาใช้
แต่ใส่คำร้องใหม่ทั้งนี้ยังมีการพยายามส่งเสริมให้วงดนตรีลาวเดิมในเขตอิทธิพลของกลุ่มฝ่ายซ้าย
อีกด้วย
จนการโจมตีสู้รบจากกองกำลังฝ่ายซ้ายกลุ่มแนวรักชาติลาวในวันที่ 2 ธันวาคม 1975
ได้ประสบชัยชนะโค่นล้มรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรถือว่าได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ โดยกลุ่มฝ่ายซ้าย
เข้ามาบริหารประเทศ
ได้มุ่งพัฒนาประเทศตามแนวทางระบอบสังคมนิยมที่มุ่งไปเพื่อความเสมอภาค
เท่าเทียม และเพื่อมวลชน
ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ในสาธารณประชาธิปไตย
ประชาชนลาว
การเข้มงวดนี้เริ่มผ่อนคลายลงเมื่อการล่มสลายของประเทศสังคมนิยมในยุโรป
ตะวันออก
จิราภรณ์ วิญญรัตน์,กาญจนี ละอองศรี,ปรียา แววหงษ์. 2556. ประวัติศาสตร์ลาว.
กรุงเทพฯ. : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,มูลนิธิ
โตโยต้าแห่งประเทศไทย.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. 2551. ดนตรีลาวเดิม. ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นัฏฐิกา สุนทรธนผล.
2557.
ดนตรีอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กริดส์ ดีไซน์ แอนด์
คอมมูนิเคชั่น จำกัด.
ไม้จัน, ทองแถม นาถจำนง. 2557. ขับ ลำ เพลงลาวมาจากไหน. กรุงเทพฯ
:
สำนักพิมพ์ทางอีศาน.
วิพร เกตุแก้ว. 2553. การเมืองในลาว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศุภชัย สิงห์บุศย์และคณะ. โครงการสารคดีลาวตอนล่าง. กรุงเทพฯ : โครงการอาณา
บริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค,สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุขปรีดา พนมยงศ์. 2552. เรียนรู้ประวัติศาสตร์ลาวผ่านชีวิตเจ้าสุพานุวง. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แม่คำผาง.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. 2553. ดนตรีไทยมาจากไหน. นครปฐม : สำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. 2553. เครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณ. นครปฐม :
สำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สังคีต จันทนะโพธิ.
2555.
ตำนานลาวร่มขาว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยามบันทึก.