วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

การอยู่ร่วมยุคสมัย


 การอยู่ร่วมยุคสมัย ได้หยิบกรณีครอบครัวไทยในกรุงเทพมหานครมานำเสนอ 2 กรณีด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างสังคมในกรุงเทพมหานครนั้นโดยทั่วไปเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่มาจากการ
สร้างฐานะยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองโดยเฉพาะจากการอยู่รวมกับครอบครัว หรืออยู่ในแหล่งชุมชนแออัดไปสร้างคอบครัวตนเองในแหล่งที่อยู่ใหม่ซึ่งเป็นทาวน์เฮ้าส์หรือบ้านจัดสรรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นในขณะเดียวกันสังคมกรุงเทพมหานครได้กลายเป็น สังคมแห่งวุฒิการศึกษาที่ผู้คนจำนวนมากต่างมุ่งสู่การเรียนในนอกเวลาทำงานปกติเพื่อหวังเพิ่มวุฒิการศึกษาให้กับตนเองเพราะเหตุว่าวุฒิการศึกษานั้นได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการเลื่อนชั้นทางสังคม นอกจากนี้ในกลุ่มผู้หญิงก็มีความนิยมในการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มคุณวุฒิให้กับตนเองมากขึ้น เพราะนอกเหนือจากการเลื่อนฐานะทางสังคมแล้วการปรับตำแหน่งหน้าที่ทางการงานแล้วยังเป็นการสร้างโอกาสให้แก่ตนเองในเรื่องของการมีคู่ครองโดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสที่จะได้รู้จักกับผู้ชายที่เป็นระดับ
ผู้บริหารและนำไปสู่การได้แต่งงานกับผู้บริหารอันเป็นเส้นทางที่จะทำให้ตนเองประสบความสำเร็จ
ในชีวิตเหนือคนอื่น ๆ   
โลกาภิวัตน์บทนี้ชี้ให้เห็นว่าการขยายตัวของโลกาภิวัตน์นั้นไม่ได้มีแค่เพียงสินค้าทางธุรกิจ
เท่านั้น แต่ครอบครัว และชีวิตมนุษย์ก็เกิดปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสิงคโปร์และไต้หวัน ที่มีการจ้างคนรับใช้หรือแม่บ้านจากชาติอื่นๆ ในเอเซียมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงการรับสะใภ้ต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่นขึ้นมากสะใภ้ชาวต่างชาติในไต้หวันมักต้องแบกรับภาระในการเลี้ยงดูบุตรทำงานบ้านและดูแลพ่อแม่ที่สูงอายุของฝ่ายชายด้วยสำหรับในประเทศสิงคโปร์ซึ่งมักมีการจ้างคนรับใช้จากต่างชาติพบว่า ในขณะเดียวกันก็เกิดการปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อคนรับใช้ชาวต่างชาติ ซึ่งมักเป็นชาวอินโดนีเซียที่พูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง โดยมักถูกใช้ให้ทำงานบ้านนาน ๆ ไม่มีวันหยุด และถูกใช้ให้ทำงานอัตราย เช่น ทำความสะอาดกระจกบนตึกสูง เป็นต้น จนรัฐบาลต้องเจ้ามาช่วยเหลือ และกำหนดโทษแก่นายจ้างที่ทำรุนแรงกับคนรับใช้ชาวต่างชาติเหล่านั้น ส่วนในประเทศไทยก็มีการจ้างแรงงานจากต่างชาติเช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นชาวเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา แต่ชาวเมียนมาร์จะมีมากที่สุด งานที่จ้างชาวต่างชาติทำมักเป็นงานประเภท งานอันตราย งานหนักและงานสกปรกซึ่งมักหาจ้างคนไทยด้วยกันทำได้ยากมาก ทั้งนี้แรงงานเมียนมาร์ในประเทศไทยนั้นมีมากกว่า 500,00 – 1,000,000 ล้านคนซึ่งมีทั้งถูกกฎหมาย และที่ลักลอบเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย แต่ย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างคนไทยกับลูกจ้างชาวมียนมาร์มักเป็นไปด้วยดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น