วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การสอนรายวิชาทฤษฎีดนตรีสากลในโรงเรียน

การสอนรายวิชาทฤษฎีดนตรีสากลในโรงเรียน
1.ต้องสอนอะไร  เป้าหมายตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กระทรวงศึกษาธิการมีจุดหมายในการสอนดังนี้
1.1 สอนคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมอันพึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฎิบัติตนตามหลักธรรม
1.2 มีความรู้เป็นสากล มีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
1.3 สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
1.4 มีความรักชาติ พลเมืองไทย พลเมืองโลก
1.5 จิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิ่งแวดล้อม จิตสาธารณะ
- สอนให้ผ่านเกณฑ์จุดประสงค์ช่วงชั้น
- สอนให้สมารถเลือกแผนการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
2. เทคนิคการสอนเบื้องต้น
การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการพูดบอกเล่า อธิบายเนื้อหาเรื่องราวที่ผู้สอนได้เตรียมการศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับฟัง อาจจะมีการจดบันทึกสาระสำคัญในขณะที่ฟังบรรยาย หรืออาจมีโอกาสซักถามแสดงความคิดเห็นได้บ้างถ้าผู้สอนเปิดโอกาส วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ฟังจำนวนมาก และผู้บรรยายซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ต้องการนำเสนอเนื้อหาสาระจำนวนมากในลักษณะคมชัดลึก โดยใช้เวลาไม่มากนัก จึงเป็นการเรียนรู้ที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

2. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method) คือ กระบวนการที่ผู้สอนมุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือที่กลุ่มมีความสนใจร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบ แนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน การจัดการเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน และชื่นชมผลงานร่วมกัน

3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 4-8 คน ให้ผู้เรียนในกลุ่มมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น ประสบการณ์ในประเด็นหรือปัญหาที่กำหนด และสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของกลุ่ม

4. การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method) คือ กระบวนการที่ผู้สอนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการแสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆ กับการบอก อธิบาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการขั้นตอนการสาธิตนั้นๆ แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต การจัดการเรียนรู้แบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนของการปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา นาฏศิลป์ ศิลปศึกษา เป็นต้น

5. การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) คือ กระบวนการที่ผู้สอนกำหนดหัวข้อเรื่องปัญหาหรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้คล้ายกับสภาพความเป็นจริง แล้วให้ผู้เรียนสวมบทบาท หรือแสดงบทบาทนั้นตามความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของผู้เรียนที่คิดว่าควรจะเป็น ภายหลังของการแสดงบทบาทสมมติจะต้องมีการอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงออกทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมของผู้แสดงเพื่อการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

6. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาและบทละครที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงบทบาทหรือสมมติว่าตนเองเป็นหรือแสร้งทำเป็นตัวเขาเองหรือบุคคลอื่นหรือตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง โดยจะต้องแสดงบทบาทการใช้ภาษา แสดงสีหน้า ท่าทางกับการเคลื่อนไหวประกอบการสนทนาตามบทละครที่แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว และผู้แสดงจะไม่นำบุคลิกภาพและความรู้สึกนึกคิดของตนเองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งจะมีส่วนทำให้เกิดผลเสียหายต่อการแสดงบทบาทนั้นๆ วิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการที่จะเข้าใจในความรู้สึก เหตุผล และพฤติกรรมของผู้อื่น และจะสามารถจดจำเรื่องราวนั้นได้นาน

7. การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่สร้างขึ้นมา ซึ่งสถานการณ์นั้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพความจริงมากที่สุด ทั้งสภาพแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์ โดยมีการกำหนดบทบาท ข้อมูลและกติกาไว้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผู้เรียนจะต้องใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับประกอบกับวิจารณญาณของตนเองให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสถานการณ์นั้นให้ดีที่สุด ซึ่งการเรียนรู้แบบสร้างสถานการณ์จำลองนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโยงการเรียนได้ดี และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้

8. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่นเกมที่มีกฎเกณฑ์กติกา เงื่อนไข หรือข้อตกลงร่วมกันที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้เกิดความสนุกสนาน ร่าเริง เป็นการออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น โดยมีการนำเนื้อหา ข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่นและผลการเล่นเกมมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปผลการเรียนรู้

9. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียน "วิธีการเรียนรู้" อย่างเป็นขั้นตอน หรือเป็นกระบวนการ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้คิด ผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ผู้สอนเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนมีการปฏิบัติ ฝึกฝนจนเกิดทักษะ สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้ และรับรู้ขั้นตอนทั้งหมดจนสามารถนำไปใช้ได้อย่างอัตโนมัติ และนำไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ต่างๆ

10. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับความรู้จากการลงมือร่วมกันปฏิบัติเป็นกลุ่ม กลุ่มจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน และสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มก็มีอิทธิพลและปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน

11. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค (Team Games Tournament) คือ การเรียนรู้แบบร่วมมืออีกรูปแบบหนึ่งคล้ายกันกับเทคนิค STAD ที่แบ่งผู้เรียนที่มีควาสามารถแตกต่างกันออกเป็นกลุ่มเพื่อทำงานร่วมกัน กลุ่มละประมาณ 4-5 คน โดยกำหนดให้สมาชิกของกลุ่มได้แข่งขันกันในเกมการเรียนที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้แล้ว ทำการทดสอบความรู้โดยการใช้เกมการแข่งขัน คะแนนที่ได้จากการแข่งขันของสมาชิกแต่ละคนในลักษณะการแข่งขันตัวต่อตัวกับทีมอื่น นำเอามาบวกเป็นคะแนนรวมของทีมผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคการเสริมแรง เช่น ให้รางวัล คำชมเชย เป็นต้น ดังนั้นสมาชิกกลุ่มจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อความสำเร็จของกลุ่ม

12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw) คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิดการต่อภาพ โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกัน ผู้สอนจะแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะให้เรียนรู้ออกเป็นหัวข้อย่อยเท่ากับจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าคนละหัวข้อ ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ตนได้รับมอบหมายให้ศึกษาจากกลุ่ม สมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันก็จะทำการศึกษาค้นคว้าร่วมกัน จากนั้นผู้เรียนแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอธิบายความรู้ เนื้อหาสาระที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง เพื่อให้เพื่อนสมาชิกทั้งกลุ่มได้รู้เนื้อหาสาระครบทุกหัวข้อย่อยและเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระทั้งเรื่อง

13. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration) คือ การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์หรือเนื้อหาสาขาวิชาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย มีความหลากหลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

14. การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline) คือ การเรียนรู้แบบบูรณาการที่มีการนำเอาสาระการเรียนรู้จากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงกัน เพื่อจัดการเรียนรู้ภายใต้หัวข้อเรื่อง (Theme) เดียวกัน โดยผูกเรื่องเป็นตอนๆ (Episode) เรื่องแต่ละตอนจะต่อเนื่องและมีลำดับเหตุการณ์ (Sequence) หรือเรียกว่า เส้นทางการเดินเรื่อง (Topic line) และใช้คำถามหลัก (Key questions) เป็นตัวนำไปสู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรม (Activity) อย่างหลากหลาย ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริง ได้ลงมือปฏิบัติจริง เน้นทักษะการคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจ กระบวนการกลุ่มตลอดจนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบ Storyline จึงเป็นการบูรณาการเนื้อหาสาระและทักษะกระบวนการต่างๆ เข้าด้วยกัน

15. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3. เทคนิคการจัดการชั้นเรียน
 ปัญหาใหญ่ในชั้นเรียนที่พบเจอในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการควบคุมชั้นเรียน ด้วยเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ครูไทยอย่างเราต้องรู้จักหาวิธีการในการดูแลชั้นที่สร้างสรรค์มากขึ้น ในอดีตเราอาจจะถือไม้เรียวเดินไปเดินมาสร้างความยำเกรงให้เด็กในห้องเรียนหันมาฟังเราได้ แต่ปัจจุบันนี้วิธีการนี้อาจใช้ไม่ได้แล้ว ซ้ำร้ายยังส่งผลเสียต่ออาชีพการทำงานของเราอีกด้วย เพราะการสื่อสารในโลกในยุคปัจจุบันนี้เป็นสิ่งรวดเร็วมาก ภาพที่เรายืนถือไม้เรียวหรือกำลังทำโทษเด็กอาจถูกบันทึกและเผยแพร่ในโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือแม้ว่าเราจะปรารถนาดีสักแค่ไหน กระแสสังคมที่รับชมผ่านสื่อแค่ผิวเผินก็พร้อมที่จะโจมตีเรา โดยไม่รับฟังเหตุผลใดๆของเราทั้งสิ้น
           ที่ผมพูดอย่างนี้ อย่าคิดว่ามันเป็นเรื่องไม่สำคัญ คุณครูหลายท่านอาจคิดว่าปกติฉันก็ไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตบ่อย ไม่รู้ไม่เห็นเสียก็ไม่เป็นไร อย่าลืมนะครับว่าโลกอินเตอร์เน็ตไปไวและกว้างไกลมาก แม้ไม่ถึงหูเราก็อาจจะถึงพ่อแม่พี่น้องเพื่อนสนิทมิตรสหาย ร้ายแรงที่สุดก็ถึงหัวหน้าและผู้บังคับบัญชา จนเรื่องขี้ประติ๋วกลับกลายเป็นเรื่องที่ทำให้ถึงกับโดนไล่ออกเลยก็เป็นได้
           เอาล่ะ ในเมื่อวิธีการที่มีมาตั้งแต่อดีตไม่สามารถเอามาใช้ได้แล้ว เราจะมีวิธีอย่างไรในการดูแลชั้นเรียน เพื่อให้เด็กๆมีสมาธิและเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกันล่ะ เรื่องนี้ถ้าให้ได้วิธีการที่เหมาะสม เราคงต้องมาศึกษาในเรื่องของการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้กันก่อน
           อับราฮัม เฮช มาสโลว์ (Abraham H.Maslow) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวสหรัฐ ได้นำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ ซึ่งเขาได้อธิบายว่า มนุษย์เรานั้น มีความต้องการไม่สิ้นสุด และปรารถนาที่จะได้รับการตอบสนองอย่างต่อเนื่อง โดยการการตอบสนองนั้นจะเป็นไปตามลำดับขั้น  และเมื่อขั้นหนึ่งขั้นใดได้รับการตอบสนองแล้ว ก็จะขยับความปรารถนาขึ้นไปในขั้นที่สูงขึ้น ซึ่งในทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์นี้ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้
1.      ต้องการของร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต ประกอบด้วย อากาศ น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
2.      ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) เป็นความต้องการในการได้รับปกป้องคุ้มครอง และมีความมั่นคงปลอดภัย
3.      ความต้องการด้านสังคม (Social needs) เป็นความต้องการที่จะได้รับความรักและการยอมรับจากบุคคลอื่น 
4.      ความต้องการการยกย่อง (Esteem needs) เป็นความต้องการการยกย่องและเคารพนับถือ
5.      ความต้องการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต (Self-actualization needs) เป็นความต้องการสูงสุดแต่ล่ะบุคคลตามเป้าหมายที่ตนเองคาดหวังไว้ 
           ถ้าดูตามทฤษฎีของมาสโลว์แล้ว จะเห็นได้ว่า ความต้องการของมนุษย์เรานั้นมีการเติบโตขึ้นตามลำดับ โดยเริ่มต้นจากความต้องการภายในร่างกายของตัวเองก่อน แล้วแผ่ขยายไปเป็นความคาดหวังจากบุคคลอื่น จนสุดท้ายนำมาสู่สิ่งที่เป็นนามธรรม อย่างความคาดหวังในชีวอต ซึ่งถ้าเราเอาแนวคิดจากทฤษฎีนี้มามาประยุกต์ใช้สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ของเด็กในห้องเรียน เราก็อาจส่งเสริมเกได้ตามแนวทางดังนี้
           สเต็ปที่ 1     จัดชั้นเรียนให้เหมาะสม
ห้องเรียนที่เล็กอุดอู้ ไม่ระบายอากาศ มีมุมอับมุมทึบมากมาย และร้อนอบอ้าวเกินไป ล้วนไม่ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็ก รวมไปถึงสภาพจิตใจของตัวผู้สอนเองด้วย การปรับปรุงห้องเรียนให้เหมาะสมเป็นไปตามวัยเด็กและสอดคล้องการสุขภาพพลานามัยของเด็ก เช่น อาจจัดให้มีคูลเลอร์น้ำในห้องเรียนเพื่อให้เด็กสามารถดื่มได้ จัดเฟอร์นิเจอร์ไม่บังทิศทางลม ติดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศที่เพียงพอ และดูแลความสะอาดอยู่เสมอ จะช่วยตอบสนองความต้องการพื้นฐานด้านร่างกายของเด็กได้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีความพร้อมและสมาธิในการเรียนรู้มากขึ้น หรือไม่ก็ลองเปลี่ยนจากการนั่งเรียนในห้องเรียน ไปเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนดูบ้าง ก็น่าจะเป็นวิธีที่ช่วยได้มาก
           สเต็ปที่ 2    สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและผ่อนคลาย
ไม่มีใครชอบบรรยากาศแห่งความกดดัน การถูกข่มขู่ หรือโดนบังคับจิตใจ  ไม่ว่าจะเป็นในการเรียนหรือในโลกการทำงาน แต่เชื่อไหมครับว่าสิ่งเหล่านี้คือรูปแบบที่มักจะพบเจอ ในระบบการศึกษาของบ้านเรา หลายท่านที่เป็นครูอาจมองว่าถ้าไม่บังคับหรือเคี่ยวเข็ญบ้าง เด็กๆ ก็จะไม่สนใจเรียน แต่เท่าที่เคยสัมผัสมา ถึงแม้จะเคี่ยวเข็ญอย่างไร ถ้าตัวเด็กนั้นไม่ได้รู้สึกอยากเรียนมาตั้งแต่แรก  ก็ยากที่ทำให้เด็กหันมาสนใจเรียน แถมยังทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ไม่ดีกับการเรียนอีกด้วย ดังนั้น เพื่อจะตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยตามทฤษฎีของมาสโลว์ เราก็ควรสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ผ่อนคลายและเป็นมิตรกับเด็ก เพื่อให้เขารู้สึกว่าการมาโรงเรียนนั้นไม่น่ากลัวและสนุกสนาน โดยการสอนของครูนั้นมีความสร้างสรรค์ อารมณ์ดี และรับฟังความต้องการของเด็ก ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เด็กรักการมาเรียนและสนใจเรียนมากขึ้น

           สเต็ปที่ 3    เน้นสื่อและกิจกรรมหลากหลายเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
การจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการและสื่อที่หลากหลายและแปลกใหม่อยู่เสมอ จะช่วยจูงใจให้เด็กสนใจในการจัดการเรียนการสอนของครู  ซึ่งปัจจุบันมีสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยจัดการเรียนการสอนมากขึ้น เช่น แบบจำลอง คอมพิวเตอร์ หรือชุดการเรียนรู้ต่างๆ ถ้ารู้จักนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ ก็จะช่วยให้เด็กมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น ซึ่งถ้าเน้นกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เช่น การทำงานเป็นกลุ่ม หรือการจัดให้เกิดการแข่งขันเป็นทีม ก็จะเป็นการตอบสนองความต้องการด้านสังคม ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ ได้รับความรักและมีการยอมรับระหว่างกัน
           สเต็ปที่ 4    ยกย่องและชมเชย
ยกย่องและชมเชย ถือเป็นการเสริมแรงทางบวกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ซึ่งถ้าตามทฤษฎีของมาสโลว์จะเห็นว่าเมื่อมนุษย์เราได้รับการยอมรับแล้ว ก็ปรารถนาที่จะได้การชมเชยยกย่องในขั้นต่อมา ซึ่งการชมเชยเด็กๆ เมื่อเขาทำกิจกรรมต่างๆ สำเร็จหรือนำเสนอแนวคิดที่น่าสน ใจนั้น ก็ล้วนเป็นการช่วยให้เขาหันมาสนใจการเรียนและมีสมาธิกับสิ่งเหล่านั้นมากขึ้นได้
           สเต็ปที่ 5    สร้างแรงบันดาลใจ
    การศึกษาในทุกระดับ ควรพุ่งประเด็นให้ผู้เรียนนั้นเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ มากกว่าที่จะสนใจที่วิชาการเป็นหลัก เพราะแรงบันดาลใจนั้นคือแรงผลักดันที่สำคัญ ที่ช่วยให้ให้เด็กมุ่งมั่นต่อเป้าหมายแห่งความสำเร็จในชีวิต การสร้างให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจนั้น ถือแม้จะยากยิ่ง แต่ถ้าสามารถสร้างได้แล้ว เด็กจะเติบโตในโลกของการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งวิธีการที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กนั้นคือการให้เด็กได้พบเจอประสบการณ์ที่หลากหลาย ผ่านสถานที่หรือสื่อต่างๆ เพื่อให้เขาได้มีความฝันในเรื่องที่เขาสนใจและในฐานะครูก็ควรส่งเสริมและสนับสนุนเขาในเรื่องเหล่านั้นอย่างเต็มใจและสม่ำเสมอ จึงจะเป็นแนวทางที่เหมาะสม

4. แนวทางพัฒนาแผนการสอนให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาชาติ

5. กระบวนการเรียนการสอนดนตรีให้เหมาะกับทักษะในยุคศตวรรษที่ 21

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

 ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับ
ภาวะความเป็นจริง ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 
เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง
 ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลก
ในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill)                                                           ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการ
นอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์
องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือ
เพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21                                                                                                                                                         
(Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21 หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและ
เห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจาก
ศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น
ทักษะสำคัญที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ        
  • 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ
Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ 
          ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิต
ในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑
ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์
โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้
ของตนเองได้ 

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
  • ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness
  • ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics,    
  Businessand Entrepreneurial Literacy)
  • ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
  • ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
  • ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย 
  • ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
  • ศิลปะ
  • คณิตศาสตร์
  • การปกครองและหน้าที่พลเมือง
  • เศรษฐศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์
  • ภูมิศาสตร์
  • ประวัติศาสตร์
      โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหา
เชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก
และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
1.ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความ
ซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
  • ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
  • การสื่อสารและการร่วมมือ
2.ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและ
เทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงาน
ได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
  • ความรู้ด้านสารสนเทศ
  • ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
  • ความรู้ด้านเทคโนโลยี
3.ด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนา
ทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
  •  ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
  •  การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
  •  ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
  •  การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
  •  ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility) 
                                                                          
ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
    3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) 7C ได้แก่ 
  •  Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
  •  Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
  •  Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
  •  Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
  •  Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
  •  Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  •  Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)


ภาพ : แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21

อ้างอิงจาก
http://www.escd.or.th/main/index.php/knowledge/31-21
http://www.vcharkarn.com/varticle/60454

6.     สื่อนวัตกรรมเรียนรู้ทางดนตรี

7.     เทคนิคการรวมวงดนตรีสากลเบื้องต้น
องค์ประกอบดนตรี
องค์ประกอบดนตรี  ดนตรีทั่ว ๆ ไปจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 7 องค์ประกอบ 
เสียง (Tone)
     เสียง (Tone) เสียงในที่นี้ ได้แก่เสียงที่เกิดจากการเป่า การดีด การสี การตี จากเครื่องดนตรี  หรือ หรือเสียงที่เกิดจากการขับร้องของมนุษย์
 มีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
    ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ความสูง - ต่ำของเสียง เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนอย่างช้าๆ เสียงจะต่ำ เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็ว เสียงจะสูง 
    ความยาวของเสียง (Duration) หมายถึง ความสั้น – ยาวของเสียงดนตรี
    ความเข้มของเสียง (Intensity) หมายถึง ความแตกต่างของเสียงจากค่อยไปจนถึงดัง
    คุณภาพของเสียง (Quality) หมายถึงคุณสมบัติของเสียง ซึ่งเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุที่ทำให้เกิดเสียงนั้น
จังหวะ (Rhythm)
จังหวะ(Rhythm)  หมายถึงเสียงยาว ๆ สั้น ๆ หรือเสียงหนัก ๆ เบา ๆ ซึ่งประกอบอยู่ในส่วนต่างๆของบทเพลง มีองค์ประกอบทั่วๆไป ดังนี้
อัตราจังหวะ (Time) คือการจัดแบ่งจังหวะเคาะออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อทำให้เกิดการเคาะจังหวะ และการเน้น อย่างสม่ำเสมอ การจัดกลุ่มจังหวะเคาะที่พบในบทเพลงทั่วๆไปคือ 2, 3, และ4 จังหวะเคาะ   ตัวอย่างเช่น
    อัตรา 2 จังหวะ 1-2-1-2-1-2-1-2-1-2
    อัตรา 3 จังหวะ 1-2-3-1-2-3-1-2-3-1-2-3-1-2-3
    อัตรา 4 จังหวะ 1-2-3-4-1-2-3-4-1-2-3-4-1-2-3-4-1-2-3-4
    ความเร็วจังหวะ (Tempo) หมายถึงความช้าหรือความเร็วของบทเพลงนั้น โดยผู้ประพันธ์เพลงเป็นผู้กำหนดขึ้น การกำหนดอัตราความเร็วของจังหวะ มีการกำหนดศัพท์ขึ้นมาใช้โดยเฉพาะ โดยจะเขียนอยู่บนและตอนต้นของบทเพลง ตัวอย่างคำศัพท์ที่กำหนดความเร็วจังหวะ เช่น Largo=ช้ามาก   Andante=ช้า Moderato=ปานกลาง   Allegro=เร็ว    Presto=เร็วมาก
    ลีลาจังหวะ (Rhythmic Pattern) หมายถึงกระสวนของจังหวะ หรือรูปแบบของจังหวะ ที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้บรรเลงประกอบบทเพลง เช่น ลีลาจังหวะรำวง ลีลาจังหวะตลุง ลีลาจังหวะมาร์ช (March) ลีลาจังหวะวอลทซ์ (Waltz) ลีลาจังหวะสโลว์ (Slow) ลีลาจังหวะแทงโก (Tango) ลีลาจังหวะร็อค (Rock) เป็นต้น
ทำนอง (Melody)
ทำนองเพลง (Melody)  หมายถึงเสียงดนตรีที่มีความแตกต่างในด้านระดับเสียง และด้านความยาวของเสียง มาจัดเรียบเรียงให้ดำเนินต่อเนื่องไปตามแนวนอน เราเรียกว่าทำนอง ทำนองเป็นองค์ประกอบของบทเพลงที่จำง่ายมากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ ทำนองเพลงจะมีความหลากหลายลักษณะแตกต่างกันออกไป องค์ประกอบของทำนองเพลง ได้แก่
        ทิศทางการเคลื่อนที่ของทำนอง (Direction of Melody) ทำนองเพลงอาจเคลื่อนไปในหลายทิศทาง เช่น การเคลื่อนที่ขึ้น การเคลื่อนที่ลง อยู่กับที่ หรือการซ้ำของทำนอง โดยปกติทำนองมักจะเคลื่อนที่ถึงขั้นจุดสูงสุด เมื่อเนื้อหาของเพลงถึงจุดสำคัญที่สุด
พิกัดของทำนอง (Dimension of Melody) พิกัดของทำนองประกอบด้วย  2 ส่วน คือ
        ด้านความยาว (Length) หน่วยที่ใช้วัดความยาวของทำนองเพลงคือ ห้องเพลง (Measure หรือ Bar)
        ด้านระดับความกว้างของเสียง (Range) หมายถึงระดับเสียงสูงสุด และต่ำสุดของบทเพลง
        รูปร่างของทำนองเพลง (Contour of Melody) หมายถึงแนวเส้นที่ลากจากโน้ตทุกโน้ตของทำนองเพลง ตั้งแต่โน้ตแรก จนถึงโน้ตสุดท้าย ทำให้เกิดเป็นแนวเส้นที่เป็นรูปร่างของทำนองเพลง
        จังหวะของทำนอง (Melodic Rhythm) หมายถึง ความสั้นยาวของระดับเสียงแต่ละเสียงที่ประกอบกันเป็นทำนอง
เสียงประสาน (Harmony)
        เสียงประสาน (Harmony) เสียงประสาน คือเสียงดนตรีต่างๆที่ถูกกำหนดให้บรรเลงขึ้นพร้อมๆกัน ด้วยนักเรียบเรียงเสียงประสาน ตามหลักวิชาการประสานเสียง เพื่อทำให้เสียงต่างๆในบทเพลงนั้นเกิดความกลมกลืน และความไม่กลมกลืน ช่วยปรุงแต่งทำนองเพลงที่ไพเราะอยู่แล้วให้เกิดความสมบูรณ์และไพเราะมากยิ่งขึ้น การประสานเสียงเกิดขึ้นได้ทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งการประสานเสียงที่จะให้เกิดความไพเราะนั้น จะต้องอยู่ในรูปของขั้นคู่เสียง (interval) หรือคอร์ด (Chord) ชนิดต่าง ๆ   ในการประสานเสียงนั้น มีทั้งการใช้ทั้งคอร์ดที่มีเสียงกลมกลืน และไม่กลมกลืน   โดยทั่วไปแล้ว คอร์ดที่มีเสียงกลมกลืน จะใช้มากกว่าคอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืน
พื้นผิว (Texture)
        รูปพรรณ หรือ พื้นผิว (Texture) พื้นผิวเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเสียงในแนวตั้ง กับทำนองในแนวนอน เมื่อรวมกันจะเกิดพื้นผิวของดนตรี ทำให้เกิดเป็นภาพรวมของดนตรี   พื้นผิวของดนตรีมีหลายรูปแบบด้วยกันคือ
        พื้นผิวแบบทำนองเดียว (Monophonic Texture)  ดนตรีที่มีแต่ทำนองเพียงทำนองเดียว ไม่มีส่วนประกอบอื่นใด
        พื้นผิวแบบหลายทำนอง (Polyphonic Texture)  ดนตรีที่มีทำนองตั้งแต่ 2 ทำนองขึ้นไป มาเล่นรวมกัน
        พื้นผิวแบบมีเสียงร่วม (Homophonic Texture)  ดนตรีที่มีแนวทำนองหลักหนึ่งทำนอง และมีเสียงเพิ่มเข้ามา เพื่อช่วยสนับสนุนให้แนวทำนองเด่นชัดและมีความไพเราะยิ่งขึ้น เสียงที่เพิ่มเข้ามานี้จะไม่มีความสำคัญเท่าแนวทำนอง
        พื้นผิวแบบมีจุดร่วมหรือลูกตกเดียวกัน (Heterophonic Texture)  ดนตรีหลายทำนอง ซึ่งมีผู้บรรเลงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ดำเนินทำนองหลักเดียวกัน มีการตกแต่งทำนองเพิ่มเติมจากทำนองหลักเล็กน้อย โดยมีจุดร่วมของเสียงหรือลูกตกเดียวกัน ลักษณะของดนตรีแบบนี้จะพบมากในดนตรีของไทย จีน ญี่ปุ่น ชวา อัฟริกา เป็นต้น
สีสันของเสียง (Tone Color)
        สีสันของเสียง (Tone Color or Timbre) คือ คุณสมบัติทางด้านเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ  รวมทั้งเสียงร้องของมนุษย์ ซึ่งมีความแตกต่างกัน นำมาบรรเลงร่วมกัน  จะทำให้เกิดสีสันของเสียงแตกต่างกันไป ตามความสูง ต่ำ ของเสียง  ตามลักษณะของการบรรเลง และตามลักษณะของการประสมวง
คีตลักษณ์ (Form)
         คีตลักษณ์ หรือ รูปแบบ (Form)  หมายถึง ลักษณะทางโครงสร้างของบทเพลงที่มีการแบ่งเป็นห้องเพลง (Bar)  แบ่งเป็นวลี (Phrase) แบ่งเป็นประโยค (sentence)   และแบ่งเป็นท่อนเพลง  หรือ กระบวนเพลง (Movement)  เป็นแบบแผนการประพันธ์บทเพลง  คีตลักษณ์เพลงบรรเลงหรือเพลงร้องในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น
        เอกบท (Unitary Form) หรือ วันพาร์ทฟอร์ม (One Part Form) คือบทเพลงที่มีทำนองสำคัญเพียงทำนองเดียวเท่านั้น (A) ก็จะจบบริบูรณ์ เช่น เพลงชาติ เพลงสรรเสริญบารมี เป็นต้น
        ทวิบท (Binary Form) หรือ ทูพาร์ทฟอร์ม (Two Part Form) เป็นรูปแบบของเพลงที่มีทำนองสำคัญเพียง 2 กลุ่ม คือ ทำนอง A และ B และเรียกรูปแบบของบทเพลงแบบนี้ย่อ ๆ ว่า AB
        ตรีบท (Ternary Form) หรือ ทรีพาร์ทฟอร์ม (Three Part Form) รูปแบบของเพลงแบบนี้จะมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ กลุ่มทำนองที่ 1 หรือ A กลุ่มทำนองที่ 2 หรือ B ซึ่งจะเป็นทำนองที่เปลี่ยนแปลง หรือเพี้ยนไปจากกลุ่มทำนองที่ 1 ส่วนกลุ่มทำนองที่ 3 ก็คือการกลับมาอีกครั้งของทำนองที่ 1 หรือ A และจะสิ้นสุดอย่างสมบูรณ์อาจเรียกย่อ ๆ ว่า ABA
        ซองฟอร์ม (Song Form) ก็คือการนำเอาตรีบทมาเติมส่วนที่ 1 ลงไปอีก 1 ครั้งในตอนแรกจะได้เป็น AABA ที่เรียกว่า ซองฟอร์ม เพราะเพลงโดยทั่ว ๆ ไป จะมีโครงสร้างแบบนี้
        รอนโดฟอร์ม (Rondo Form) รูปแบบของเพลงแบบนี้จะมีแนวทำนองหลัก (A) และแนวทำนองอื่นอีกหลายส่วน ส่วนสำคัญคือแนวทำนองหลักทำนองแรกจะวนมาขั้นอยู่ระหว่างแนวทำนองแต่ละส่วนที่ต่างกันออกไป เช่น  ABABA       ABACA       ABACADA
ประเภทของวงดนตรีสากล
1.      วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)
2.      วงดุริยางค์ (Orchestra)
3.      วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music)
4.      วงคอมโบ (Combo band)
5.      วงชาโดว์ (Shadow)
6.      วงดนตรีแจ๊ส (Jazz)
7.      วงโยธวาทิต (Military Band)
8.      แตรวง (Brass Band)
8. ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นของครูดนตรี
ทักษะทางดนตรีพื้นฐานสำหรับครู (Basic Musical Skills for Teachers)
ศึกษาหลักสูตรและวิธีการสอนดนตรี ทักษะการใช้เครื่องดนตรี การวิเคราะห์และการประพันธ์เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย การพัฒนาทักษะด้านดนตรีและการเคลื่อนไหว กิจกรรมดนตรีส่งเสริมการเรียนรู้ การประเมินผล และการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
วิธีการสอนของ ออร์ฟ
                          คาร์ล  ออร์ฟ  ( Carl  Orff,  ค.ศ.  1895 - 1982 )  ผู้ประพันธ์เพลงเลื่องชื่อและนักดนตรี ชาวเยอรมันเป็นผู้คิดค้นวิธีนี้ขึ้นหลังจากที่เขาได้สอนดนตรีกับเด็กมาเป็นเวลานาน  วิธีการโดยละเอียดของเขาได้พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือชื่อ  ชูเวอร์ค ( Schulwerk ) จุดมุ่งหมายพื้นฐานของออร์ฟในการสอนดนตรี คือ การพัฒนาความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี
                         คาร์ล  ออร์ฟ  วางรากฐานในการสอนดนตรีของเขาว่า  ดนตรี ( Music )  การเคลื่อนไหว ( movement ) และ  การพูด ( speech )  เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้  ทั้งสามสิ่งรวมกันเป็นเอกภาพ  ( Unity )  ออร์ฟ  เรียกว่าดนตรีเบื้องต้น  ( elemental  Music )  เขาสังเกตว่าเมื่อเด็ก ๆ แสดงออกทางดนตรีในสภาพแวดล้อมที่เป็นปกติไม่มีกฏเกณฑ์อะไรบังคับแล้ว  เด็กจะใช้ดนตรี  การเคลื่อนไหวและภาษาพูดไปพร้อมกัน  เด็กที่กำลังเต็นรำจะร้องเพลงไปด้วย  เมื่อเด็กร้องเพลงเขามักจะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเสียงเพลง  
                                        หลักการของออร์ฟ 
                         ออร์ฟได้เสนอหลักการทางดนตรีศึกษาไว้ว่า  การเรียนการสอนดนตรีควรเริ่มต้นจากเพลงและแนวคิดทางดนตรีที่ง่ายที่สุด  ได้แก่  แนวคิดเรื่องจังหวะโดยการเริ่มต้นจากจังหวะของการพูดเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจแนวคิดในเรื่องของระดับเสียงประโยคของดนตรี  ลักษณะของเสียง  และค่าตัวโน้ตต่าง ๆ ต่อไป  การตบมือ  การตบที่ตัก ( patchen ) การย่ำเท้า  การดีดนิ้วมือ  การใช้เครื่องประกอบจังหวะของออร์ฟเป็นวิถึทางนำไปสู่การรับรู้เรื่องจังหวะ  จากจุดนี้ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาด้านการแสดงออกทางดนตรี    ในวิธีการของ ออร์ฟ ความคิดสร้างสรรค์เป้นลักษณะที่สำคัญ และเน้นมากที่สุด  ดังนั้น การสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว เพื่อนำมาใช้ในการสร้างสรรค์  จัดว่าเป็นกุญแจสำัคัญในวิธีการของ ออร์ฟ  
                                        วิธีการของออร์ฟ
                          คำว่า " ดนตรีเบื้องต้น " ของออร์ฟ หมายความถึงการแสดงออกทางดนตรีของบุคคลที่เป็นไปโดยธรรมชาติในการพัฒนาวิธีการสอนของ ออร์ฟ  เขาย้อนกกลับไปหายุคต้นของการก่อเกิดวัฒนธรรม  เมื่อดนตรีเป็นสิ่งที่คนทั่วไปใช้แสดงความรู้สึกของตนโดยไม่ต้องได้รัการฝึกฝน  ซึ่งมักจะรวมอยู่ด้วยกันอย่างแยกไม่ออกกับการเคลื่อนไหวและการพูด  และดนตรีมักพัวพันกับการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของแต่ละคน
                          ออร์ฟยอมรับทฤษฎีที่ว่าประวัติศาสตร์ดนตรีย่อมแสดงตัวของมันอยู่ในพัฒนาการชีวิตของแต่ละคน  เด็กเล็กที่มีการแสดงออกทางดนตรีเหมือนอย่างที่ผู้ศึกษาเกี่ยวกับดนตรีของมนุษยชาติเผ่าต่าง ๆ ( ethonomusicolgists )  ได้พบในชนชาติด้อยพัฒนาทั้งหลาย  ด้วยข้อสรุปนี้  ออร์ฟ จึงลงมติว่า  การศึกษาดนตรีควรจะเริ่มด้วยความรู้ที่ง่าย ๆ  และด้วยข้อสรุปนี้  ออร์ฟ ได้วางแผนการศึกษาเป็นขั้น ๆ ต่อเนื่องกัน  ทฤษฎีที่ว่าประวัติศาสตร์การดนตรีย่อมแสดงตัวของมันอยู่ในพัฒนาการชีวิตของเด็กได้รับการยอมรับไม่ได้มากนักในหมู่การศึกษาทุกวันนี้  แต่แผนการสอนที่มีโครงสร้างเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุดแล้วมีการสอนทับถมเพิ่มเติมจนไปถึงสิ่งที่ซับซ้อนที่สุดนั้น  ได้รับการยอมรับอย่างว้างขวาง    โดยอุดมกรณ์สูงสุดของ  ออร์ฟ แล้ว  ควรเริ่มต้นใช้กับเด็กวัยต้น ๆ  ( early  chilhood )  และควรใช้ประสบการณ์ของตัวเด็กเองเป็นอุปกรณ์การสอนดนตรี  ชื่อของเด็ก  คำง่าย ๆ ที่คุ้นเคย  บทร้องเล่นต่าง ๆ จะถูกนำมาใช้ฝึกจังหวะ และฝึกร้องเพลง  เด็กได้ยินชื่อของเขาถูกเรียกเป็นจังหวะ  เด็กร้องชื่อเขาเองเป็นทำนองและต่อมาก็อ่านและเขียนจังหวะนั้น โดยใช้สัญลักษณ์แทนจังหวะท่วงทำนอง  ( melodic  intervals ) และแผนแบบจังหวะ ( rhythmic  patterns ) ถูกเรียนด้วยการร้อง  ท่อง  เคลื่อนไหว  และเล่นเครื่องดนตรีตามช่วงทำนองและจังหวะเหล่านั้นเครื่องดนตรีถูกใช้ตั้งแต่คาบแรกของการสอนด้วยการใช้ลูกฆ้องสั้น ๆ  ( simple  motive )  ท่องมันซ้ำและแต่งเพลงจากลูกฆ้องนั้นเด็กจะสามารถก้าวหน้าได้  บทเรียนของเด็กที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขารู้จักจะช่วยเกื้อกูลให้เขาปฏิบัติมันได้  และเขายังสามารถที่จะพัฒนามันให้เป็นทำนอง  หรือจังหวะอะไรอื่น ๆ ที่เขาพอใจได้  ออร์ฟ มีความเห็นเหมือนดาลโครซ ( Jaques - Daicoze ) หลายประการ    ประการที่สำคัญที่มีผลต่องานของ  ออร์ฟ มาก็คือ  ความคิดที่ว่าจังหวะเป็นส่วนประกอบที่สุดของดนตรี  ( rhythm  is  the  strongest  of  the  elements  of  music ) การตอบสนองทางดนตรีของมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติที่สุด คือ การใช้จังหวะ  ดังนั้น  จุดเริ่มต้นของการศึกษาดนตรีที่สมเหตุุสมผลที่สุดก็ควรจะเริ่มต้นด้วย  จังหวะ  ออร์ฟ วางแผนที่จะสอนความคิดเรื่องจังหวะนี้ใ้ห้เป็นผลโดยสอนผ่านการรู้เรื่องดนตรีเบื้องต้นของเขา  เนื่องจากจังหวะเป้นส่วนประกอบสำคัญอยู่ในคำพูด  ในการเคลื่อนไหว  และในดนตรี    จังหวะจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เหมาะสม    จากความเชื่อที่ว่า  จังหวะจังหวะเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นยิ่งของดนตรี  จะนำไปสู่พัฒนาของการสร้างเครื่องดนตรีชนิดพิเศษ    
                             ปรัชญาของออร์ฟ  ก็เช่นเดียวกับ  ดาลโครซ  เขาเห็นว่าการเรียนเปียโน  ไวโอลิน  หรือเครื่องดนตรีระดับมาตรฐานอื่น ๆ ควรจะตามหลังพัฒนาการของทักษะพื้นฐานที่จำเป็น
                         วิธีการพื้นฐานของออร์ฟ คือ การให้ผู้เรียนมีโอกาสสำรวจและทดลองสิ่งต่าง ๆ ทางด้านดนตรีโดยใช้การพูด  การร้องและการเคลื่อนไหวเป็นหลักสำคัญ
                         1.  การสำรวจเกี่ยวกับพื้นที่รอบ ๆ   การเคลื่อนไหวเป็นพื้นฐานของวิธีการนี้  ผู้เรียนเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว  เช่า  เบา - หนัก    ลง - ขึ้น    ใน - นอก    เป็นต้น  ผู้เรียนจะเรียนรู้เกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวของตนโดยผู้สอนไม่แนะนำสิ่งใด ๆ ให้กับผู้เรียนเลย  ผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยตนเอง  และพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเอง  
                         2.  การสำรวจเกี่ยวกับเสียง  เริ่มต้นจากการสำรวจในสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว  ผู้เรียนเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ และเสียงดนตรีในที่สุด  ผู้เรียนใช้เสียงพูดและเสียงร้องเพลง  รวมทั้งเสียงของเครื่องดนตรีในการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของเสียง
                         3.  การสำรวจเกี่ยวกับรูปแบบของเพลง  การเรียนรู้เรื่องรูปแบบของเพลงที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเรียนรู้เรื่องพื้นที่  และเสียง  การเคลื่อนไหวและเสียงรวมเป็นรูปแบบของดนตรี  กล่าวคือ  จากการเคลื่อนไหวอย่างอิสระจะนำไปสู่การเต้นรำ  และจากเสียงจะนำไปสู่รูปแบบของบทเพลง  เช่น  บทนำเพลง  ตัวบทเพลง  และบทจบของเพลง
                         ในแต่ละขั้นตอนของวิธีการนี้  เป็นไปในลักษณะของการเลียนแบบ  จนถึงการสร้างสรรค์ขึ้นเองจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่  จากสิ่งที่ง่าย ๆ ไปสู่สิ่งที่สลับซับซ้อน  จากแต่ละบุคคลไปสู่การเล่นดนตรีเป็นคุณบทเพลงที่ใช้บันไดเสียงเพนตาโทนิก ( pentatonic  scale ) ประกอบด้วยเสียง 5  เสียง  คือ  โด  เร  มี  ซอล  และ ลา  การซ้ำทวนของจังหวะ  ( rhythmic  ostinato ) และสัญญาณมือ ( hansighs ) เป็นสื่อการสอนของวิธีการนี้นอกเหนือไปจากเครื่องดนตรีของ ออร์ฟ  ซึ่งพัฒนามาจากระนาดของแอฟริกา   มีทั้งระนาดที่ทำด้วยไม้และโลหะ  โดยมีขาดต่าง ๆ กันตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่  ลูกระนาดแต่ละลูกสามารถถอดออกได้  ใช้เล่นเป็นเสียงสูงในลักษณะของเสียงโซปราโน  ไปจนถึงเสียงต่ำของเสียงเบส
                          ระบบการสอนของ ออร์ฟ  การสร้างสรรค์ ( creativity ) ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด  หลักสูตรของออร์ฟ เปิดโอกาสให้มีการสร้างสรรค์แบบต่อเนื่องหลายแบบ  เด็กจะสำรวจเสียงของคำพูด  ทำนองเพลง  และ เสียงเครื่องดนตรี  เขาเลือกแบบแผนของจังหวะและทำนองจากตัวอย่าง ( หรือแต่งขึ้นเอง ) และใช้มันประดิษฐ์ประกอบ  ( accompaniment  figures ) บทขึ้นต้น  ( introduction )  และบทจบ  ( coda )  หรือบางทีเขาอาจแต่งทั้งเพลงเลยก็เป็นไปได้  กิจกรรมการสอนชั้นต้นก็เหมือนกับการเล่นเกมประกอบดนตรี  ครูจะต้องคอยช่วยนักเรียนในการจดโน้ต  ( notate )  ที่เด็กคิดแต่งขึ้น  วิจารณ์และช่วยปรับปรุงเพลงนั้น  พยายามสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและไสตล์ของเพลง ( musical  form  and  style )  ให้กับเด็กในขณะที่เด็กกำลังมีความคิดสร้างสรรค์  แผนการศึกษาของ ออร์ฟ กล่าวถึงลักษณะของครูดนตรีที่ดีว่า  จะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์  รู้จักผ่อนปรน  และมีใจที่จะยอมรับความคิดใหม่ ๆ และครูต้องสามารถที่จะสนับสนุนลักษณะที่มีอยู่ในระบบและในตัวครูเหล่านี้ให้พอกพูนในตัวนักเรียน
                          ดนตรีเบื้องต้นตั้งอยู่บนรากฐานของการปฏิบัติการสื่อสารในเด็ก ( communicative  performance )  และเน้นความเป็นตัวของตัวเองอย่างมาก  อุปกรณ์เพลงต่าง ๆ ได้มาจากความคิดของเด็กเองโดยมีบทเพลงของ  Schulwerk ซึ่งมีรูปแบบของทำนองและจังหวะที่ถูกออกแบบอย่างดีเป็นตัวอย่าง  เพลงของเด็กจะเรียบง่ายถูกกับจริตของเด็ก  เป็นธรรมชาติ  และมีการใช้ร่างกายประกอบเหมือนกับการเล่นของเด็ก  ดนตรีเบื้องต้นได้ถูกพัฒนามาจากข้อสรุปที่ว่าเด็กจะเป็นผู้แสดงถึงพัฒนาการทางดนตรีของมนุษย์ชาติจากประสบการณ์และพัฒนาการทางดนตรีของเด็กเองประสบการณ์ดนตรีเบื้องต้นของเด็กจะเรียบง่าย เช่น การกู่ร้อง  การกระทืบเท้าและการตบมือ    ในดนตรีเบื้องต้นนั้น  การพูด  การร้องเพลง  และการเคลื่อนไหว ไม่สามารถแยกออกจากกันแต่จะหลอมรวมกันเหมือนกับการแสดงออกทางดนตรีโดยธรรมชาติอันแท้จริงนั่นเอง
                           เป้าหมายหลักของโปรแกรมการสอนแบบออร์ฟ คือ  การที่เด็กแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ด้วยการแต่งทำนองหรือ  หรือจังหวะขึ้นใหม่จากทำนองหรือจังหวะเดิมที่มีอยู่  ซึ่งภาษาดนตรีเรียกว่า  ( improvisation )  เพลงที่ออร์ฟเขียนจะถูกใช้เพียงเป็นแบบ ( models ) เพื่อการ  improvisation  ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ออร์ใช้ในการแต่งเพลงสำหรับเด็กของเขาคือ  
                          1.  pentation  mode  ( โน้ต 5  ตัว  ซึ่งมีความสัมพันธ์ของเสียงเป็น  โด  เร  มี  ซอล  ลา )
                          2.  ostinato  patterns และ borduns  ( แบบแผนของตัวโน้ตซ้ำ ๆ ที่เดินอยู่ตลอดทั้งเพลง ) ซึ่งออร์ฟตั้งใจให้เด็กคิดขึ้นเองโดยเลียนแบบจากตัวอย่างเพลงที่ออร์ฟเขียน
                          3.  Zoitan  Kodaly  เป็นบทเพลงออร์ฟนิยมในเพลงพื้นเมืองที่เด็กเคยชิน
                          4.  ทำนองลูกฆ้องสั้น ๆ  ( motives ) จะถูกสกัดออกไปจากบทเพลงและใช้เป็นบทขึ้นต้น ( introduction ) และใช้การเล่นคลอเพลง ( accompaniment )
                          5.  เครื่องดนตรีประเภทระนาดซึ่งออร์ฟคิดค้นขึ้น
                          6.  ขั้นคู่สามไมเนอร์ หรือ  descending  minor  third  ( s - m ) ซึ่งมักจะอยู่ในบทร้องเล่น ( chants ) ต่าง ๆ ของเด็ก ( เช่น มอญซ่อนผ้า  ตุ๊ - ก - ตา  อยู่ข้างหลัง เป็นต้น ) และ กระสวนคำพูด ( speech  patterns  คำพูดที่นำมาเรียงกันเป็นท่อนสั้น ๆ ) เริ่มจากคำ ๆ เดียวแล้วก้าวไปสู่กิจกรรมที่ซับซ้อนกว่า  เช่น  speech  canons
                         เพลง  The  Day  is  Now  Over  เป็นบทเพลงที่มีรูปแบบการเขียนที่สมบูรณ์และสมมาตร ( complete  and  symmetrical  setting )  เพลงที่สมมาตร ( symmetrical ) คือเพลงที่มีทำนองหรือเนื้อร้องแบ่งได้เป็นท่อน ๆ ซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอน  เช่น  มีท่อนล้อและท่อนรับทำให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างท่อนได้ ( ผิดกับเพลงที่มีลักษณะเพลง  asymetrical  ที่มีลักษณะเนื้อร้องและทำนองไปเรื่อย ๆ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน เช่น เพลงแหล่  เป็นต้น ) โดยมีทั้งบทขึ้นต้น ( introduction ) และดนตรีประกอบ ( accompaniment ) หลายเพลงยังมีบทจบ  ( coda ) อีกด้วย
                         ออร์ฟ  สกัดลูกฆ้อง  ( motives ) แบบง่าย ๆ ที่สุดออกมาจากตัวทำนองเพลงแล้วนำลูกฆ้องเหล่านี้มาสร้าง  introduction  และ accompaniments  เขาสนับสนุนนักเรียนของเขาให้ใช้วิธีเดียวกันนี้กับเพลงที่นักเรียนแต่งขึ้น
                         Pentatonic  mode  ใช้ได้กับเพลงที่มีหลาย ๆ แนว  แนวสำหรับเพลงนี้ไม่ก่อให้เกิดเสียงกระด้างนัก ( without  substantial  dissonances )
                        อารมณ์เพลงซึ่งเป็นของละเอียดอ่อนปรากฏชัดในการประสานเสียง ( orchestration ) และในคำร้อง
                        ออร์ฟ เรียกวิธีการสอนตามแบบของเขาว่า  Orff - Schulwark  ( ออร์ฟ - ชูลเวิร์ค ) และการประสานเสียงแบบนี้เป็นลักษณะของ  Orff - Schulwark

                                                  คำพูด Speech
                       การใช้คำพูดเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ดนตรีและเป็นจุดหนึ่งในการสอนของ  Schulwark  ออร์ฟเน้นเรื่องของการใช้ความรู้เกี่ยวกับจังหวะเพลง  ( meter )  จังหวะเน้น ( accent ) และจังหวะยก ( Zanacrusis ) จะถูกแนะนำในกระสวนคำพูด ( speech  patterns  - คำพูดที่เอามาเรียงเป็นท่อนสั้น ๆ ) ได้รับการตอกย้ำในกิจกรรมอื่น ๆ  ( เช่น การเคลื่อนไหว  bodvrhythms ) และได้รับการศึกษาให้ถ้วนถี่ยิ่งขึ้นเมื่อกระสวนคำพูดถูกทำเป็นบทเพลง  ตัวอย่างเช่น  ความรู้เรื่อง  canon  จะถูกแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพจากคำพูดโดยให้เด็กท่องวลีที่ถูกสร้างให้มีจังหวะที่หลากหลายและน่าสนใจ ( interesting ,  varied  rhythms ) โดยการใช้วิธีของเพลงวน ( rounds ) เด็กกลุ่มที่หนึ่งเริ่มต้น  และเมื่อถึงจุดหนึ่งที่เป็นจุดนัดหมาย  กลุ่มที่สองก็ขึ้นต้น  เด็กที่เข้าใจ  และสนุกกับกระบวนการอันนี้จะสามารถประดิษฐ์คำ  จังหวะ  และบทร้องเล่นได้อย่างมากมาย  ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ในการเรียนการสอนดนตรี  เมื่อเขาได้เรียนถึงชื่อสถานที่  สิ่งของ  สี  ดอกไม้  หรือชื่อวันต่าง ๆ ในสับดาห์  เขาก็สามารถนำชื่อเหล่านี้มาเรียงต่อกันได้หลาย ๆ แบบ  ทำให้เกิดจังหวะแปลก ๆ  ครูไม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้จังหวะยาก ๆ และซับซ้อนถ้าจังหวะเหล่านั้นมีอยู่ตามปกติในคำพูดทั่ว ๆ ไปและเด็กเองก็ชินอยู่  ( เช่น จังหวะขึ้น  syncopation ) เด็กสามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนจังหวะ  ครูจะต้องพิถีพิถันมากเมื่อจะแสดงการเขียนโน้ตจากคำพูดให้นักเรียน    คำพูดของเด็ก ที่เห็นว่า  ธรรมชาติของเด็กนั้นจะมีพัฒนาการจากการใช้คำพูดไปสู่การเคลื่อนไหวตามจังหวะแล้วจึงนำไปสู่เพลง  ขั้นการสอนเพลงของ  Schulwark  เริ่มจากการใช้คำพูดตามด้วยการทำจังหวะด้วยร่างกาย  ( body  rhythms )  เช่นการ ตบมือ  หรือดีดนิ้ว  แล้วลงเอยด้วยการเล่นเครื่องดนตรี    ออร์ฟใช้เพลงกล่อมเด็ก  เพลงพื้นเมือง  คำพังเพย  หรือบทร้องเล่นของเด็ก ๆ  ( ที่ไม่เชิงจะเป็นเพลงนัก เช่น  กิ๊ว ๆ หน้าไม่อาย  เป็นต้น ) เอามาพัฒนาเป็นเพลงสอน  สิ่งที่ต้องคำนึง  คือความถูกต้อง  ความเทียงตรง  ความชัดเจน  และต้องระวังไม่ให้เกิดการดัดแปลงจังหวะให้ผิดไปจากของจริงที่อยู่ในคำพูดประจำวัน    ครูต้องคอยตรวจตราการปฏิบัติกระสวนจังหวะ  ( rhythm  petterns ) แบบแผนของจังหวะที่เป็นท่อนสั้น ๆ  ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและกระชับไม่ว่าในขณะที่นักเรียนกำลังท่องคำ  ตบมือ  ดีดนิ้ว  เคาะเท้า  หรือร้องเพลง  แต่ก็ควรเปิดโอกาสให้มีการทดลองหาวิธีพูด หรือ ร้องแบบแปลก ๆใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะแปลก ๆ อันจะเป็นการสร้างสรรค์ได้บ้าง  
                      การใช้คำพูด  ( speech ) เป็นสื่อการสอนดนตรี  นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวกับจังหวะแล้วยังให้ความรู้ทางดนตรีอื่น ๆ ที่สำคัญด้วย  เช่น  phrasing,  dynamic  qualities,  staccato,  และ  legato  เมื่อนักเรียนเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของเพลง  ( musical ) เขาก็พร้อมที่จะทำให้การเล่นคำพูดของเขามีรูปแบบต่าง ๆ เช่น binary,  ternary  หรือ  rondo  และการรู้จักใช้ประโยชน์ของการซ้ำ  ( repetition ) และการให้สีสันที่ก่อให้เกิดการแตกต่าง ( contrast ) ความรู้บางอย่างที่เป็นเรื่องยากเมื่อนักเรียนได้พบเป็นครั้งแรก  เช่น การที่ทำนอง ( melody )  ความหนัก - เบา  ( dynamics ) และสิ่งประกอบทางดนตรีอื่น ๆ เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันตรงจุดหนึ่งในบทเพลงอาจจะใช้   Schulwark    ครูดนตรีทุกคนระบบนี้จะต้องใช้เพลงกล่อมเด็ก    คำพังเพย  และชื่อของเด็กเองเอามาสอนดนตรีในชั้น  เด็กจะช่วยกันแต่งเพลงขึ้นโดยใช้จังหวะที่มีแทรกอยู่ในคำเหล่านั้น  เช่น  บางครั้งครูเขียนชื่อของนักเรียน  2 - 3  คน  บนกระดานดำแล้วให้นักเรียนทั้งชั้นช่วยกันจัดลำดับ  เรียงชื่อเหล่านั้น  เพื่อให้เกิดจังหวะที่น่าสนใจขึ้นจากนั้นอาจคิดทำนองขึ้นใส่ให้กับลำดับชื่อที่ถูกเรียงลำดับแล้วนั้น  หรือสร้างวลีสั้น ๆ  ( short  phrasses )  จากจังหวะของชื่อบางชื่อ
                        วิธีอธิบายให้ง่ายขึ้นโดยใช้จังหวะในคำพูดซึ่งในที่สุดถูกเปลี่ยนไปเป็นบทเพลง  นักเรียนจะเข้าใจความรู้เรื่องจังหวะมากขึ้น  เมื่อเขาร้องพร้อมกับใช้ร่างกายทำจังหวะไปด้วย  เช่น  ตบมือ  กระทืบเท้า  ดีดนิ้ว  หรือตบต้นขา  ( patschen  or  thight - slapping )
                                                การร้องเพลง
                                                 ( Singing )
                         คำพูด  ( Singing )  บทร้องเล่น ( chant )  และ ( song ) เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  การร้องเพลงจะมาทีหลังการพูด  ดังนั้น  ทำนองเพลงจึงมาทีหลังจังหวะ  เด็กจะท่องคำโดด ๆ วลี หรือคำร้องเล่น  ตบมือตามจังหวะของคำเหล่านั้นแล้วเคาะจังหวะเหล่านั้นลงบนระนาด  เขาจะพบว่าเสียงของเขาเริ่มเปลี่ยนขึ้นลงมาขณะที่เขาท่องพร้อมกับเคาะระนาด    ตรงจุดนี้  การถ่ายทอดจากการพูดไปสู่การร้องเพลง  และจากจุดนี้เป็นต้นไปที่คำพูดและการร้องเพลงจะสนับสนุนซึ่งกันและกันในการเรียนการสอนดนตรี
                       ประสบการณ์ร้องเพลงอันแรกสุดจะเหมือนกับการเล่น  เช่น  เด็กร้องเรียกชื่อเพื่อนกลับไปกลับมา  หรือการร้องโต้ตอบกัน  ( call  and  response ) ครูสามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับเด้กตรงจุดนี้ด้วยการใช้กิจกรรมร้องโต้ตอบในการสอนเพลง  โดยครูร้องเพลงสั้น ๆ วรรคหนึ่งแล้วให้นักเรียนร้องตาม  ครูจะสนับสนุนให้นักเรียนร้องโต้ตอบกัน  แล้วครูคอยสังเกตเสียงโน้ตที่เด็กใช้ร้องโน้ตตอบ  เสียงโน้ตเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดลงบนระนาด  และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์บทเพลง  การฝึกปฏิบัติในเรื่องการพูด  การท่อง  และการตบมือตามจังหวะของคำพูดจะเป็นเครื่องเตรียมตัวเด็กให้พร้อมที่จะผสมความรู้เรื่องจังหวะในคำพูด  ( ซึ่งตอนนี้เด็กรู้สึกดีแล้ว ) เข้ากับทำนอง เพลงบนระนาด  บทเพลงบทเรก ๆ ในในหนังสือ Music  for  Children  ของ ออร์ฟ แสดงความหมายของคำว่า  " ดนตรีเบื้องต้น  elemental music "  ไว้อย่างชัดเจน  เพลงเหล่านี้ร้องง่ายและเป็นธรรมชาติตามแบบที่เด็กชอบร้อง  
                       ออร์ฟ ใช้ pentatonic  mode  เพราะเขาเชื่อว่ามันเป็นกลุ่มเสียงที่เด็กใช้ร้องเพลงโดยธรรมชาติของเด็กเอง  จากการที่ ออร์ฟ  เชื่อที่ว่า  ประวัติการดนตรีจะต้องแสดงตัวอยู่ในการพัฒนาของปัจเจกบุคคล  เขาจึงมั่นใจว่า  pentatonic  mode  เหมาะสมสำหรับการพัฒนาจิตใจของเด็กเล็กด้วย  mode  นี้เด็กสามารถเล่นแนวทำนองที่ละหลาย ๆ ทำนองพร้อมกันได้โดยไม่ก่อให้เกิดเสียงกระด้างและไม่ถูกดึงให้เข้าหา  tonic  center  เหมือนกับในคีย์เมเจอร์ และ ไมเนอร์  การสอนดนตรีบางระบบใช้สเกลเมเจอร์  สำหรับเริ่มต้นแนวทำนองเพลง  แต่ระบบของ  ออร์ฟ  สอบสเกลเมเจอร์และไมเนอร์ โดยละเอียดภายหลังการใช้  pentatonic  scal  นอกจาก diatonic  scale  แล้วเด็กยังชอบที่จะได้ทดลองใช้เสียงแปลก ๆ เช่น  modes  และ  scales  ของประเทศอื่น ๆ ที่เป็น  non - progressions  ที่เด็กใช้จึงอาจเลยเกินขอบเขตของแบบแผนที่ใช้ในดนตรีตะวันตก  เมื่อเด็กได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเสียงหลาย ๆ แบบ  ในหลาย ๆ สเกล  เขาก็จะมีความรู้หลายแบบในการแต่งทำนองและการใช้ประสานเสียง  ซึ่งเขาได้แสดงออกอย่างเต็มที่ภายหลังในการแต่งทำนองสด  ( improvisation )  เด็กนั้นในอนาคตจะชื่นชอบทั้งเพลงคลาสสิคแบบเก่า และ เพลงร่วมสมัย

                                       การเคลื่อนไหว
                                       ( Movement )   
                         การเคลื่อนไหวตามแบบ ออร์ฟ เริ่มจาก " เริ่มจากการเลื่อนไหวเบื้องต้น " ( Elemental  movemental )   การเคลื่อนไหวที่เด็กทำได้เองโดยไม่ต้องมีการฝึกเป็นพิเศษ  เป็นการเคลื่อนไหวที่พัฒนาไปได้เอง  เด็กชอบที่จะวิ่ง  กระโดด  ไถล  หมุนตัว  หรือทำท่าต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งจุดประสงค์อะไรไว้  แต่ทำเพื่อสนุกเท่านั้น  ดังนั้นเขาจึงสามารถคิดสร้างสรรค์  วิธีเคลื่อนไหวของเขาเอง  ซึ่งแสดงออกถึงความมีชีวิตชีวา  เด็กในระยะ  2 - 3  ขวบ  จะไม่สามารถแสดงความคิด  ความรู้สึกด้วยการพูดได้ดีเท่ากับการออกท่าทาง
                        การเคลื่อนไหวในบทเพลงพัฒนาขึ้นมาจากการเคลื่อนไหวในการเล่นสนุก  เด็กจะคิดแบบของการเคลื่อนไหว และปฏิบัติมัน  เป็นส่วนหนึ่งของเพลงที่เขากำลังร้อง  หรือเล่นเกม  การเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ และมีความหมายถูกแสดงโดยเด็กคนหนึ่งหรือสองคน  หรือทั้งกลุ่ม  หลายบทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อการสนับสนุนการเคลื่อนไหวประกอบเพลงแบบสร้างสรรค์และบางเพลงที่แต่งเป็นเพลงประกอบการเต้นรำ  ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย  4  แบบ  ได้แก่  ตบมือ  กระทืบเท้า  ดีดนิ้ว และ ตบต้นขา  ( patschen ) การเลื่อนไหวเหล่านี้ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเรื่องจังหวะนอกเหนือจากประสบการณ์ที่ได้รับจากการได้ยินจังหวะ  การทำจังหวะด้วยร่างกายนี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการประกอบการร้องเพลงและการท่องคำ และเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติจังหวะซึ่งจะพัฒนาเป็นทักษะในการเล่นดนตรีประเภท   percussion  ต่อไป  เรายังสามารถใช้  body  rhythms  และการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ในการสอนเรื่องความรู้พื้นฐาน  เรื่องแบบแผนของเพลง  ( musical  forms ) อีกด้วย   ตัวอย่าง เช่น  เราตั้งวรรคหนึ่งของการตบมือ และกระทืบเท้าเป็นทำนองหลัก  ( theme ) จากทำนองหลักนี้เราสามารถเล่นซ้ำ หรือแปรทำนองเล่นกลับตั้งแต่ท้ายมาหาต้น  แล่นเป็น canon  หรือใช้เป็นทำนองหลัก  ในการเล่นแบบ  rondo  แฮม ( Hamm,  1970 : 16 ) กล่าวว่า .....body  rhythms  อาจถูกใช้โดยเด็กกลุ่มหนึ่งเพื่อประกอบโคลงบทหนึ่ง  หรือประกอบการท่องประโยค  body  rthms  อาจถูกถ่ายทอดลงในการเล่นเครื่องกระทบจังหวะที่ไม่มีทำนอง  ( umpitched  instruments )  จะเห็นได้ว่าเด็กเริ่มต้นด้วยจังหวะที่เขาได้รับประสบการณ์จากการใช้คำพูดและเริ่มต้นด้วยทำนองที่เขาได้จากการร้องเล่น  ออร์ฟ  หลอมดนตรีไว้กับการพูดและการเคลื่อนไหว  เขาถึงกับลงไปพบเด็กในสนามของเด็กเลยทีเดียว
                          การเคลื่อนไหวใน  Orff - Schulwark  นั้นมีรากฐานมาจากแบบแผนการใช้ร่างกายฝึกจังหวะของ ดาลโครซ   ( Dalcroze  Eurhytmics )  แต่ไม่เหมือน Eurtythmics  ตรงที่ว่าสำหรับ  Schulwark   การเคลื่อนไหวไม่ได้เป็นศูนย์กลางการศึกษาสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างในดนตรีเหมือนที่  Eurthythmics  เป็นแต่เด็กใน  Schulwark  ใช้การเคลื่อนไหวเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกทางดนตรีซึ่งเขาได้ยิน  เขาเรียบแบบฝึกหัดพิเศษซึ่งเขาใช้ เชือก  ลูกบอล  หรือวัตถุอื่น ๆ ประกอบการเคลื่อนไหว  จังหวะต่าง ๆ  ความเร็ว - ช้า  และความ  หนัก - เบา  ถูกสอนผ่านการเคลื่อนไหวและเด็กมีโอกาสที่จะ  improvise  ด้วยการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนเพื่อตอบสนองต่อดนตรีได้

                                 การคิดแต่งทำนองหรือท่าทางแบบทันทีทันใด
                                 ( Improvisation )
                           จุดประสงค์ของการศึกษาดนตรีตามทรรศนะของออร์ฟคือการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กซึ่งจะส่งผลประจักษ์ในความสามารถที่จะ  improvise  ได้  สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยการป้อนดนตรีคลาสสิคที่สำเร็จรูปและหลากหลายให้เด็ก  แต่สำเร็จได้โดยช่วยให้เด็กแต่งเพลงของเขาเองด้วยความสามารถของเขาควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมที่สัมพันธ์กันในโลกของเด็ก ๆ นั้นการพูดและการร้องเพลง  บทกวีและดนตรี  ดนตรีและการเคลื่อนไหว  การเล่นและการเต้นรำ  ยังไม่สามารถแยกกันได้อย่างเด็ดขาด  แต่ทุกสิ่งทุกอย่างจะหลอมเ็ป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและแยกไม่้ได้  ทั้งหมดถูกควบคุมด้วยสัญชาตญาณในการเล่นซึ่งเป็นแรงผลักดันที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับศิลปะและประเพณี  เราพบสิ่งคล้าย ๆ กันนี้ในวัฒนธรรมโบราณทั่วไปและในระยะเริ่มต้นของไทยเราด้วย  มีผู้ให้ข้อคิดเป็นว่า  ความเพลิดเพลินของเด็ก ๆ ที่มีต่อนิทานก่อนนอนนั้นเกิดมาจาก  ความคล้องจองในจิตใต้สำนึกของเด็กระหว่างตัวเด็กเองกับความรู้สึกนึกคิดของเด็กเกี่ยวกับอารยธรรม ( Landis  and  Carder.  1972 : 85 ) นิทานก่อนนอนและเพลงกล่อมเด็กถูกค้นพบว่าเป้นของที่เก่าแก่อย่างไม่น่าเชื่อ  เก่าแก่กว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ ( Prehistonic  times ) เสียอีก  เราสามารถค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของนิทานและเพลงกล่อมเด็กซึ่งใช้แบบแผนซ้ำ ๆ  ( repetitive  patterns ) มากมาย  เพลงกล่อมเด็กมักเป็น  pentatonic  tunes  ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของเพลงพื้นเมือง  ( folk  songs )  ที่มักเน้นความสำคัญของจังหวะและการเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่าการทำทำนอง
                              ใน Orff - Schulerk  นั้นความคิดสร้างสารค์มักอยู่่ในรูปแบบของการ  improviesation  การเป็นสมาชิกคนหนึ่งในวงการบรรเลงหมู่เป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนดนตรีขั้นพื้นฐานของ ออร์ฟ  นักเรียนทุกคนจะต้อง improvise ได้  สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกเน้นและปฏิบัติเสมอในการเรียนการสอนแบบ ออร์ฟ  กิจกรรทั้งหลายใน  Schulwerk  ถูกจัดขึ้นซึ่งเป็นสื่อสำหรับการ inprovisation  กิจกรรมเหล่านั้นได้แก่การเคลื่อนไหวคำพูด  การใช้ร่างกายทำจังหวะ  การร้องเพลง  การเล่นเครื่องดนตรีทั้งที่ทำนองได้และไม่ได้  ซึ่งเครื่องดนตรีนี้จะถูกใช้เพื่อการ inprovisation มากกว่าสิ่งอื่น ๆ นักเรียนจะสร้างบทเพลงขึ้นมาโดยมีแบบแผนของจังหวะและทำนอง ( rhythmic  znd  melodic  patterns ) แบบแผนของดนตรีประกอบ  ( accompaniment  figures ) บทขึ้นต้นและบทจบ ( introduction  and  codas ) เครื่องดนตรีแบบออร์ฟ  ช่วยในการ inprovisation  ในชั้นเรียนเป็นไปด้วยดี  ผู้สืบทอดอุดมการณ์ของออร์ฟก็มิได้มุ่งหวังว่าเด็กจะต้อง  improvise  ได้เหมือนนักดนตรีอาชีพ  แต่มีจุดประสงค์ที่จะใช้  improvisation  เพื่อการสร้างสรรค์  บทเพลงที่ออร์ฟแต่งขึ้น  ก็เพื่อให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง  เมื่อเด็กใช้เพลงเหล่านี้เป็นแบบ  พวกเขามักจะเลือกแนวทำนองหรือ  จังหวะ  ( melodic  or  rhythmic  motivest ) จากเพลงอื่น ๆ ที่เขาคุ้นเคย  และใช้มันในการสร้างดนตรีประกอบ  บทขึ้นต้น  บทจบ หรือใช้ในการแปรทำนอง  ( variations ) เพื่อจะเป็นการสนับสนุนการสร้างสรรค์ของเด็กแต่ละคน  ครูจะจัดเตรียมเงื่อนไขและโอกาสสำหรับ  inprovisation  ให้  แทนที่ครูจะแนะแนวทำนองหรือจังหวะและวิธีใช้สำหรับ  improvisation  ให้  ครูจะให้นักเรียนหารูปแบบของเพลง  ( form )  และเนื้อหาของบทเพลงที่นักเรียนจะแต่งขึ้น  เด็กจะรู้สึกสนุกโดยแท้จริงและจะได้มีโอกาสในการเลือกแนวทำนองและจังหวะด้วยตัวเองเด็กจะถูกสอนไม่ให้พอใจเพียงผลงานการ  improvisation  ครั้งแรกเท่านั้น  แต่เขาจะต้องหาวิธีอื่น ๆ อีก  ผู้นำในการออร์ฟสนับสนุนการประเมินผลต้นเอง  การทดลอง  การตั้งใจฟังอย่างใคร่ครวญในขณะที่เด็กกำลัง improvisation  การฟังอย่างตั้งใจและรสนิยมในสุนทรีย์ศาสตร์พัฒนาขึ้นมาจากกระบวนการนี้  ที่สำคัญก็คือทุกคนจะต้องมีโอกาสที่จะ  improvise  โดยใช้เครื่องดนตรี  และต้องประเมินผลการแสดงของตนเอง
                             improvisation  เริ่มต้นจากประสบการณ์ง่าย ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นสนุกสนานและจะดำเนินติดต่อเป้นลำดับตลอดการสอน  Schulwerk  จะเอื้ออำนวยแบบอย่าง  ( models )  ขณะที่เด็กสร้าง  improvisation  ตามแบบของ  Schulwerk  เขาจะใช้สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ทางดนตรีตามที่ ออร์ฟแนะนำ  ตัวอย่างเช่น  borduns และ ostinatos  เป็นต้น  รูปแบบ  ( form )  ของเพลงที่ใช้ในการ  inprovisation  คือ  rondo  เพราะโครงสร้างเหมาะสมด้วยการที่มีทำนองหลัก  ( theme ) ซึ่งต้องถูกเล่นซ้ำ ๆ พร้อมกันทุกคนสบัลกับการ improvisation  เป็นทำนองแปลก ๆ โดยเด็กแต่ละคน  เครื่องดนตรีที่เด็กใช้ถูกเลือกหรือออกแบบเพื่อการ  improvisation  ouh
                            เพลง " Sleep,  Baby,  Sleep  "  แสดงถึงแบบหนึงของเพลงใน Schulwerk  ที่มีเป้าหมายในการช่วยให้เด็กสร้างสรรค์เพลงของตนเอง  แนวร้องถูกเสนอครั้งแรกในแนวเดียว ( unison ) ต่อมาก็เป็นสองแนวห่างกันคู่สามโดยแนวทำนองอยู่ข้างบน  และในที่สุดห่างกันคู่หก  โดยทำนองอยู่ข้างล่าง  โน้ตคู่สามที่  alto  glockenspiel  เล่นแสดงออกถึงความไหว  ( rock  motion )  ซึ่งเข้ากันได้ดีกับคำร้อง

                                เครื่องดนตรี
                                Instruments
                             เครื่องดนตรีซึ่งถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษ เป็นจุดหนึ่งในการเรียนการสอนแบบ ออร์ฟ และทำให้การสอนระบบนี้แตกต่างจากระบบอื่น  การเน้นหนักถึงจังหวะว่าเป็นส่วนประกอบทางดนตรีที่มีอำนาจที่สุด  นำไปสู่การสร้างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ( percussion  instruments )  ด้วยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ดนตรีและทางการสร้างเครื่องดนตรี  ออร์ฟ ได้พัฒนาเครื่องดนตรีของเขาให้เอื้ออำนวยการผสมวงที่มีเสียงกลมกลืนและนุ่มนวล  เครื่องดนตรีเหล่านี้เล่นง่าย  มีคุณภาพเยี่ยม และดูจะสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเครื่องดนตรีแบบง่าย ๆ หรือเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่แบบของตะวันตก  ( primitive  models  เช่นระนาดของอินโดนีเซีย  หรือ อาฟริกา ) มากกว่าจะสัมพันธ์กับเครื่องดนตรีใน  percussion  section  ของวงออร์เคสตราสมัยใหม่    เครื่องดนตรีของ  ออร์ฟ  ได้แก่  ระนาดไม้ หรือ xylophone  ( โซพราโน  อัลโต และเบส ) ระนาดขนาดเล็กหรือ  glockenspiel  ( โพราโนและอัลโต ) และระนาดโลหะที่เรียกว่า metallophone  ( โฮพราโน  อัลโต และเบส ) ทุกเครื่องเล่นได้โดยใช้ไม้ตี  ทุกเครื่องจะมีลักษณะเป็นกล่องไม้ให้เสียงดังกังวาน และ ลูกระนาดจะถอดออกได้เพื่อประโยชน์ในการสร้างสเกลต่าง ๆ เครื่องดนตรีที่ใช้มากในระดับประถมศึกษาจะเ็ป็นแบบ  diatanic  โดยมีลูกระนาดอะไหล่  F* และ B*  เพื่อให้สามารถสร้างสเกลเมเจอร์ได้  3  สเกล ( C, F, G ) และสเกลไมเนอร์ได้  3  สเกล  ( Am, Dm, Em ) เครื่องดนตรีที่เป็น  Chromatic  ก็มีอยู่ด้วย  ออร์ฟ  ใช้  viola  da  gamba  และ  lute  เล่นรวมกับ  percussion  set  โดยอาจใช้  cello  และ  guitar  แทนก็ได้  ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ ก็เข้ากันได้ดีกับเครื่องดนตรีของออร์ฟ  เครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่นกลอง  ฉาบ  ฉิ่ง  ( triangle )  ใช้ประกอบการบรรเลงหมู่ได้  Schulwerk  ไม่ใช้เปียโนเป็นเครื่องประกอบการร้องเพลงแต่ถ้าใช้นิด ๆ หน่อย ๆ ก็จะทำให้เสียงของการบรรเลงมีประสิทธิภาพมากขึ้นการใช้เปียโนหรือออร์แกนอย่างเต็มที่หรือใช้เครื่องดนตรีอื่นที่มีเสียงผิดแปลกออกไปมากเข้าผสมจะทำลายลักษณะเสียงของ ออร์ฟ   น้ำเสียงของเครื่องดนตรีได้ถูกตั้งใจออกแบบไว้สำหรับเพลงของ  Schulwerk  โดยเฉพาะ  ผู้ดำเนินรอยตาม ออร์ฟ เน้นอย่างชัดเจนว่าเครื่องดนตรีเหล่านี้ไม่ใช่ของเล่น  ( Theseinstruments  are  not  toys )  จุดเด่นของเครื่องดนตรีนี้อยู่ที่น้ำเสียงซึ่งเหมาะสำหรับประกอบการร้องเพลงและสำหรับการบรรเลงหมู่  รูปแบบของเครื่องเหมาะกับพัฒนาการของเด็กถูกออกแบบให้ผู้เล่นใช้เพียงกล้ามเนื้อหลัก ๆ  ( require  only  large  muscle  movements )  แต่ผู้เล่นก็ต้องเรียนรู้เทคนิคการเล่นด้วย Schulwerk  ถือเป็นสิ่งสำคัญที่เด็กจะต้องหัดเล่นเครื่องดนตรีให้ถูกวิธี
                                 ปัจจุบันนี้  เครื่องดนตรีของ ออร์ฟ  เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหลาย ๆ ประเทศและถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้  ในการสอนดนตรีแบบออร์ฟ  มุ่งหวังให้มีการใช้เครื่องดนตรีของเขาอย่างติดต่อกันตลอกการศึกษาของ Schulwerk เทคนิคการสอนหลายประการในระบบนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องดนตรีของ  ออร์ฟ  ความมุ่งหวังที่จะให้เด็กแต่งเพลงของตนเองจะเป็นไปได้เมื่อมีเครื่องดนตรีอยู่ด้วยเด็กจะรู้สึกขวยเขินน้อยลงถ้าให้เขาแสดงออกถึงความคิดอ่านทางดนตรีของเขาด้วยการเล่นเครื่องดนตรีแทนการร้อง    แผนการสอนรวมถึงการเล่นเดี่ยวและการประสมวงเด็กสามารถเล่นกับทำนอง  จังหวะ  และดัดแปลง ให้อยู่ในรูปต่าง ๆ ด้วยการเล่นเครื่องดนตรี  เด็กสามารถมีส่วนในการเล่นรวมวงและเริ่มเข้าใจถึงหลักการเล่นพร้อมกันหลาย ๆ แนว  ( polyphony ) ได้
                                 เด็กควรเล่นจากการจำเสมอด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่จะอำนวยอิสระในการเล่นได้มากที่สุด  แต่เครื่องหมายทางดนตรี ( notation ) ก็ไม่ควรจะถูกทอดทิ้ง  ตรงกันข้ามควรจะถูกแนะนำตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ( พร้อม ๆ กับการเล่นคำพูด  speech  patterns  ซึ่งใช้เพียงสัญลักษณ์ก้านจังหวะ  rhythmical  notation ก็พอ )  ทั้งนี้เพื่อให้เด็กจดทำนองหรือจังหวะที่เขาเห็น  
                                  การเล่นเครื่องดนตรีของ ออร์ฟ  จากความจำเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับเด็กเล็กมากกว่าการเรียนเปียโนหรือเครื่องดนตรีอื่น ๆ ที่นอกจากจะต้องอาศัยการเล่นพร้อมกับการอ่านโน้ต แล้วยังต้องอาศัยความคุ้นเคยกับธรรมชาติของเครื่องดนตรีและความคุณเคยกับวิธีการอันซับซ้อนอีกด้วย  แผนของออร์ฟ ที่ให้เด็กเริ่มต้นเล่นดนตรีจากความจำทำให้เด็กหลุดพ้นไปจากภาระทั้งปวงในการที่จะต้องเล่น  อ่านโน้ต  และระวังในการเล่นให้พร้อมกับคนอื่น  เครื่องหมายทางดนตรี  ( ตัวโน้ต )  จะถูกอ่านตั้งแต่ชั้นแรก ๆ ของการสอนแต่มันจะถูกแนะนำเมื่อจำเป็นเพื่อใช้เป็นสื่อในการสะสมเพลงและการสื่อสารความรู้ดนตรีในแบบแผนการเรียนการสอนดนตรีแบบเก่า  ( tradition ) การจำเพลงเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะกระทำแต่ในการสอนแบบ  ออร์ฟ  การร้องและการเล่นดนตรีไม่ขึ้นอยู่กับสกอร์เพลง  และการจำ เ็ป็นทักษะเบื้องต้น  เด็กใช้การล้อ ( immitation ) การด้น  ( improvisation ) และการสร้างสรรค์แบบอื่น ๆ นอกเหนือไปจากการอ่านโน้ต    การเรียนเปียโนและเครืองดนตรีในวง ออร์เคสตรา  หรือโยธวาทิต  ถูกเลื่อนออกไปจนกว่าเด็กจะได้สะสมความรู้ทางดนตรีและทักษะในการบรรเลงมากพอ
                                   แผนการเีรียนของ ออร์ฟ  เริ่มต้นด้วยเพลงและการเล่นแบบง่าย ๆ โดยการใช้การบรรเลงเป็นพื้นฐานของการเรียนดนตรี  แล้วก้าวต่อไปถึงการเล่นเพลงที่มีความท้าทายและซับซ้อนมากขึ้น  แสดงถึงการที่ออร์ฟหลักเลี่ยงการฝึกหัดแบบยาก ๆ  ( ซึ่งเป็นธรรมชาติของการฝึกเพลง  canon )  ด้วยการที่เขาให้เด็กเล่นทำนองย่อยสั้น ๆ ซึ่งแต่ละทำนองย่อยเมื่อรวมเล่นพร้อมกันแล้วกลายเป็น  canon  ใหญ่ที่น่าสนใจได้สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับเมื่อเขาเรียนเพลงไปถึงปลาย  Volume  1  ของหนังสือ  Music  for  Chilren  ของ ออร์ฟ

                                       ประวัติการพัฒนาของระบบ
                                       Development
                                   ออร์ฟ เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับดนตรีการศึกษา ตั้งแต่หลังปี  1920  เมื่อดาลโครซ กำลังเสนอวิธีการสอนอันแปลกใหม่และเป็นที่ฮือฮาของเขาอยู่  ออร์ฟได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก ดาลโครซและเขายังช่วยทำให้ความคิดของดาลโครซ เป็นรูปเป็นร่างอีกด้วย  ดาลโครซ มีความคิดที่จะช่วยหาทางหลีกหนีให้พ้นจากระบบการสอนดนตรีแบบเก่า ( traditional  methods ) และระบบการสอนแบบโรงเรียนศิลปะ  ( Conservatory  style )  ซึ่งได้ทำกันมาช้านาน  วิธีของดาลโครซ ถือเป็นคลื่นลูกใหม่ในการใช้ยิมนาสติคและการเต้นรำแบบโมเดอร์ดานซ์สอนดนตรี  ออร์ฟและดาลโครซ ร่วมมือทำงานโรงละครโดยออร์ฟทำงานที่โรงโอเปราที่ Mannhein และ Darmstadt  ในช่วงนี้ได้มีการเปิดโรงเรียนฝึกยิมนาสติคและเต้นรำขึ้นหลายแห่ง  แต่โรงเรียน  Guetherschule  ของออร์ฟ ซึ่งเปิดขึ้นในปี  1924  ที่  Munich  โดยร่วมมือกับกุนเธอร์ ( Dorothee  Guenther ) ไม่เหมือนกับโรงเรียนโดยทั่วไป เพราะมีจุดประสงค์ที่จะรวมการเีรียนดนตรีเข้าด้วยกันกับการเรียนยิมนาสติคและการเต้นรำ  การเป็นอันหนึ่งอันเดียวระหว่างการเคลื่อนไหวและดนตรีเป็นกุญแจสำคัญที่ไปสู่ทัศนะของ ออร์ฟ เกี่ยวกับดนตรีศึกษา  ประสบการณ์ในการสอนปีแล้วปีเล่าของเขาทำให้เขามั่นใจถึงธรรมชาติ  อันไม่สามารถแยกกันได้ระหว่างการดนตรีและการเต้นรำ  และที่สุดก็ลงเอยเป็นทฤษฎีการสอนของเขาซึ่งเขาเรียกว่า  " ดนตรีเบื้องต้น " ( elemental  misic ) เขาวางกฎว่านักเรียนของเขาที่  Guentherschule  จะไม่ถูกสอนเพื่อให้เป็นนักดนตรีอาชีพ  นักเรียนส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนสมัครเล่นที่เตรียมตัวเป็นครูสอนวิชาพลศึกษา  ออร์ฟ  ถูกท้าทายด้วยความจำเป็นที่จะต้องสอนนักเรียนของเขาโดยเริ่มต้นจากความรู้เบื้องต้นที่ง่ายที่สุด  เขาอยู่ในสถานะอันยอดเยี่ยมที่จะทดลองอุปกรณ์การสอนและวิธีการสอนของเขา  Schulwerk  เริ่มต้นด้วยการสอนความรู้ดนตรีในชั้นเรียนที่  Guentherschule  ออร์ฟพยายามเสาะหาวิธีการสอนศิลปะตั้งแต่ชั้นง่ายที่สุดและพื้นฐานที่สุด  ในปี  1930  การพิมพ์งวดแรกของ Schulwerk  ชื่อ  " Rhythmic  and  Melodic  Eecercises "  ก็ได้ถูกจัดทำขึ้น  เช่นเดียวกับนักการศึกษาอื่น ๆ  ออร์ฟ  เขียนหนังสือของเขาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเก็บรักษาความคิดอ่านที่เกิดจากการสอนซึ่งหาไม่แล้วอาจถูกมองข้ามและลืมไปเสีย    ในสงครามโลกครั้งที่ 2  โรงเรียน Guentherschule  และเครื่องดนตรีต่าง ๆ ถูกทำลายลง  งานนักการศึกษาของ ออร์ฟ ได้รับการขอร้องให้จัดสร้างบทเพลงแบบเดียวกันกับที่เคยทำให้  Guentherschule  มีชื่อเสียงมาแล้ว  แต่ครั้งนี้ทำเป็นชุดอันดับ  ( series ) สำหรับการกระจายเสียงเกี่ยวกับการศึกษาของ  Bavaria  Radio  เขาทบทวนแผนการศึกษาของเขาใหม่จากเดิมที่มุ่งหมายเพื่อฝึกครูพละเป็นเป้าหมายเพื่อเด็กจะได้เรียนดนตรีตามความจำเป็น  และตามความสามารถ  คราวนี้เขาเริ่มที่จะจัดรูปแบบของดนตรีเบื้องต้น  ( elemental  music )  ให้ชัดเจน    การกระจายเสียงได้ดำเนินติดต่อกันอยู   5  ปี  หลักสูตรขั้นทดลองสำหรับเด็กได้เริ่มขึ้นที่  Mozarteum  และในไม่่ช้า  Schulwerk  ของออร์ฟ ได้กลายเป็นหลักสูตรของ  Mozarteum  อย่างเป็นทางการโดยมี คิทแมน  ( Gunnild  Keetman ) เป็นครูใหญ่   Saizburg  ได้กลายเป็นศูนย์กลางของ Schulwerk  และผลสำเร็จของหลักสูตรที่นั่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้วิธีการสอนของ ออร์ฟ กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ   ทุกวันนี้สถาบัน ออร์ฟ ( Orff  institute ) ซึ่งถูกต้องขึ้นใน  Saizburg  เมื่อปี  1963  มีงานหลักในการจัดอบรมวิธีการสอนให้กับครูดนตรีจากส่วนต่าง ๆ ของโลก  
                                ทุกวันนี้หลาย ๆ ประเทศยอมรับวิธีการของออร์ฟ  แต่การที่จะแปลเพลงที่ ออร์ฟ เขียนไว้เป็นภาษาต่าง ๆ นั้น  ออร์ฟ ไม่สนับสนุนเนื่องจากเพลงที่เขาเขียนนั้นมีรากฐานมาจากเพลงพื้นเมืองของประเทศเยอรมันที่เด็กชาวเยอรมันคุ้นเคย  ออร์ฟ สนับสนุนให้แต่ละประเทศใช้เพลงประจำชาติที่เป็นเพลงพื้นเมืองสำหรับเพ็กเอามาเป็นบทเพลงในการสอนแบบ Schulwerk  ของชาตินั้น ๆ
                               นักการศึกษาของอเมริกาได้พิจารณาว่าควรจะรับวิธีการสอนของออร์ฟ โดยรักษาต้นฉบับไว้ให้มากที่สุดหรือควรจะรับเพียงเพื่อหลักการใหญ่ ๆ และเทคนิค    เรื่องนี้ออร์ฟเองก็ให้ความเห็นว่าตัวปรัชญาแลเทคนิคการสอนทั้งหมดสามารถถูกนำไปใช้ได้กับการสอนทุกประเภท  แต่บทเพลงควรจะสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับนิทาน  บทกลอน  และการละเล่นของเด็กในประเทศนั้น ๆ   ดังนั้น  การที่จะรับบทเพลงทั้งหมดของ ออร์ฟ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยนั้นดูไม่เหมาะสม  ครูในระบบของ Schulwerk  จะต้องศึกษา หลักเกณฑ์และวิธีการของ ออร์ฟ แล้วนำไปใช้กับบทเพลงที่เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่นเนื่องจาก ออร์ฟ ได้ใช้เพลงที่แต่งจากกลุ่มโน้ตที่เป็น pentatonic  อย่างแพร่หลายในการสอนส่วนแรกของหลักสูตร  และกลุ่มโน้ตนี้ ออร์ฟเห็นว่าสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับบทเพลงของเด็ก  ดังนั้น จึงเป็นการสมเหตุสมผลที่แต่ละชาติจะพยายามรวบรวมเพลงของตนที่เป็น pentatonic   แล้วนำไปใช้ในการสอนแบบ ออร์ฟ
                               ครูดนตรีชาวอเมริกัน บางคนพยายามที่จะใช้วิธีการสอนแบบ Schulwerk  ของออร์ฟ ปนกันกับการสอนแบบ ซอล - ฟา  ของโคได   ซึ่งที่แท้จริงแล้วปัญหาที่ว่าควรจะรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกันหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ยังจะต้องค้นคว้าวิจัยต่อไป   แต่ทั้งสองระบบก็สัมพันธ์กันอยู่แล้วเพราะผู้นำทั้งสองระบบได้เคยพบปะและเรียนรู้จากกันและกัน  เช่นเดียวกับโคได  ออร์ฟ  วางแผนที่จะสอนพื้นฐานของจังหวะและทำนอง  ( rhythmic  and  melodic  motives ) แต่วิธีการสอนของทั้งสองคนต่างกันเนื่องจากทั้งสองมีเหตุผลทางปรัชญาการสอนต่างกัน โคได ใช้จังหวะและทำนองเป็นเครื่องสอนทักษะในการอ่านโน้ต  ออร์ฟใช้จังหวะและทำนองเพลงเป็นเครื่องกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์  ( Creativity )  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น