วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ปรากฏการณ์ดนตรีเปิดหมวก วิถีใหม่ก้าวสู่ ป๊อบสตรีท(Pop Street) ปลุกกระแสเมล็ดพันธ์ใหม่ทางดนตรี (Soft Power)

 

ปรากฏการณ์ดนตรีเปิดหมวก วิถีใหม่ก้าวสู่ ป๊อบสตรีท(Pop Street)                                      ปลุกกระแสเมล็ดพันธ์ใหม่ทางดนตรี (Soft Power)

ยงยุทธ เอี่ยมสอาด

อาจารย์กลุ่มสาระดนตรีสากล วิชาเอกดุริยางคศิลป์

 

          หลังจากสถานณ์การณ์โรคระบาด Covid-19  มีแนวโน้มเริ่มดีขึ้น พร้อมทั้งรัฐบาลไทย เตรียมนำเข้าสู่การประกาศสถานการหลังการระบาดใหญ่  เป็นโรคประจำถิ่นหลังการระบาดใหญ่ (Post-Pandemic) หลังจากภาค  ธุริกิจที่ต้องอยู่ในภาวะเศรษฐกิจล้มตายอยู่ร่วมกับภาวะโรคระบาด หลายกิจการต้องปิดตัว บ้างต้องเลิกกิจการ

            โลกหลังการระบาด Covid - 19 จะไม่หวนกลับไปสู่  โลกก่อน Covid -  19 ก่อนหน้านี้ประเทศไทยก็เผชิญความท้าทายหลายประการ ทั้งการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาหนี้ครัวเรือน และทักษะแรงงาน วิกฤติ  Covid - 19 จึงเปรียบเสมือนตัวเร่งให้เห็นถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจและสังคม และยังกระตุ้นให้คนไทยต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

          ภาคธุกิจที่ยังต้องดำเนินกิจการต่อ ต้องหาทางรอด และดำเนินการอย่างสร้างสรรค์มีชั้นเชิง โดยการทำ Attention War (สงครามเพื่อแย่งชิงความสนใจ) กระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยี หรือ "digital disruption" ก็มาแรงอยู่แล้ว แต่โควิด 19 ยิ่งเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ เพราะผู้บริโภคถูกกระตุ้นให้หันมาใช้บริการต่าง ๆ บนสมาร์ทโฟนมากขึ้น การทำธุรกรรมออนไลน์จึงถูกพัฒนาให้รวดเร็วขึ้น ราคาถูกลง และคุณภาพดีขึ้น ธุรกิจดั้งเดิมหลายประเภทจึงต้องปรับตัวจากการมีหน้าร้านไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น การจองโรงแรม โรงหนัง การซื้อของ อุปโภคบริโภค รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

          disruption ของการให้บริการ ธุรกิจต้องพัฒนาและคิดค้นวิธีแก้ความไม่สะดวกต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของเทคโนโลยีหรือการให้บริการ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม  สิ่งที่มนุษย์ให้ความสำคัญเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เช่น ยุคเกษตรกรรม มนุษย์ให้ความสำคัญกับที่ดิน ยุคอุตสาหกรรมก็ให้ความสำคัญกับแรงงาน แต่สิ่งหนึ่งที่ยังสามารถสร้างคุณค่า และมูลค่าทางธุริกิจได้ตลอด ก๊คือ เส้นทางถนนดนตรี เพราะฉนั้นการสร้างกระแสรทางดนตรี เพื่อแย่งชิงความสนใจ กลางใจกลางเมืองหลวง จึงเกิดกระแสดนตรีเปิดหมวกขึ้น (Busker / Street Performance )

 

ดนตรีเปิดหมวก (Busker / Street Performance)

          ย่านธุรกิจใจกลางเมืองหลวงสยามสแควส์ (Siam square ) สร้างปรากฏการณ์เพื่อปลุกกระแสความตื่นตัว หลังภาวะโรคระบาด เปิดพื้นที่ให้ทำกิจกรรมทางดนตรีหน้าห้างในการเล่นดนตรีเปิดหมวก                         ( Walking Streeet)



              เราได้เห็นภาพวง Yes Indeed Band เล่นดนตรีเปิดหมวกกลางสยามสแควร์ ที่ดึงดูดผู้คนและแฟนคลับให้มาสนุกสนานกับดนตรีทุกเย็นวันศุกร์ จนสยามแทบแตก กลายเป็นวงดนตรีวัยเรียนที่โด่งดังมีผู้ติดตามชมจำนวนมาก  ศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงจากหลายค่ายแวะเวียนไปร่วมแจมสร้างสีสัน   แล้วก็มี ฐณวัฒน์ กีรติศรัญวัชร์ หรือติวเตอร์ นักร้องวัยรุ่นที่ไปเปิดหมวกที่เล่นดนตรีสดบนถนนเยาวราช  มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติสนใจชมการแสดงแน่น  เป็นภาพดังในโซเชียลที่หลายคนจดจำ

 


 

สำหรับ Yes Indeed Band  ถือเป็นแบบอย่างให้คนหนุ่มสาว เป็นการรวมตัวของสมาชิกวัยรุ่น คน               มี พอร์ส- นรากร อิสระวรางกูล นักร้องนำและกีตาร์ อายุ 18 ปีแพนเค้ก – อิสรีย์ อิสระวรางกูล นักร้องนำ อายุ 16 ปีมังกร- รัชชานนท์ วรกิจไพบูลย์ มือกลอง อายุ 18 ปีติน – ตฤณ ฟูจิตนิรันดร์ มือคีย์บอร์ด) อายุ 15 ปี และ ทะเล- ยศธกร ชะเอม กีตาร์โซโล่ อายุ 15 ปี แต่ละคนมาจากต่างสถาบัน เป็นเพื่อนกัน         แต่รวมตัวกันร้องเพลงเฉพาะโอกาสเล่นเปิดหมวก เกิดเป็นวงจริงจังไม่ถึงปี เคยตระเวนเปิดหมวกตามที่ต่างๆ เอเชียทีค จตุจักร ปัจจุบันเนื้อหอมมาก คิวแน่น  แถมมีค่ายเพลงจีบเข้าสังกัดเป็นศิลปิน

ดนตรีเปิดหมวก  คือดนตรีแบบไหน อย่างไร เรามาทำความรู้จักกัน ดนตรีเปิดหมกว คือ เรื่องราวของเสียงเพลง ตามริมถนน ตลาดนัด สวนสารธารณะในความวุ่นวายจากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เสียงเพลงคืออีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันที่ผ่านไปบนปฏิทินมีคนกลุ่มหนึ่งที่ร่ำร้องบทเพลงแม้ไม่มีคนฟังอยู่ที่บางแห่งเพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกันออกไปซึ่งบางครั้งคนเหล่านี้นี่เองที่ทำให้วันร้าย  ของเราผ่านไปได้แบบไม่สะบักสะบอมนัก เคยนึกสงสัยกันรึเปล่าว่าวัฒนธรรมการเล่นดนตรีในที่สาธารณะเริ่มขึ้นจากตรงไหน ทำไมถึงใช้คำว่า ‘วณิพก’ หรือ ที่ต่างชาติเรียกว่า ‘busker’ แทนสิ่งที่พวกเขาหรือเธอทำ มาหาคำตอบของเสียงเพลงในเมืองใหญ่                    ไปพร้อม  กันเลย


             We are buskers
 แรกเริ่มเดิมที การเล่นดนตรีข้างถนนมีจุดกำเนิดมาจากการแสดงที่เรียกว่า street performance หรือ busking(street music จึงไม่ใช่คำที่ใช้เรียกแนวเพลง แต่เป็นคำที่ถูกยกขึ้นมาเรียกการแสดงดนตรีบนท้องถนนมากกว่าโดยในอดีตจะเป็นการโชว์ทักษะอะไรก็ได้ จะซีเรียสหรือขบขันก็ไม่ว่ากันเพื่อสร้างความบันเทิงให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาแลกกับอาหาร เครื่องดื่ม หรือเงิน



               


            คำว่า ‘busking’ ถูกบัญญัติใช้ครั้งแรกในภาษาอังกฤษตอนช่วงกลางทศวรรษ 1860s โดยสราชอาณาจักร ส่วนคำว่า ‘busk’ ที่มาจากคำว่า ‘busker’ (วณิพกนั้น มีรากมาจากภาษาสเปนว่า ‘buscar’ ซึ่งหมายถึงการเสาะแสวงหานั่นเอง

Busking คือสิ่งที่แทรกตัวอยู่ในวัฒนธรรมของทุกประเทศทั่วโลกมาตั้งแต่อดีต (ถึงแม้จะไม่มีจดหมายเหตุทางประวัติศาสตร์ระบุแน่ชัดว่าเมื่อไหร่ แต่เราเชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นมาแล้วหลายสิบปีก่อนที่จะมีชื่อเรียกด้วยซ้ำในวัฒนธรรมนักเดินทางอย่างชาวยิปซีสิ่งนี้ถูกเรียกว่า Romani People เป็นทั้งชื่อเรียกและใช้อธิบายความ         โรแมนติกของดนตรียิปซีไปพร้อม  กัน ส่วนในยุคกลางของฝรั่งเศสนั้นรู้จะจักกันในชื่อ Troubadours กับ Jongleurs และมีชื่อเรียกที่ต่างกันออกไปมากมายในอีกหลายประเทศ พร้อมกับรูปแบบการแสดงที่ต่างออกไปตามวัฒนธรรมนั้น 

Pass the Hat



 

                 ‘medicine show’ รูปแบบของการแสดงก็ตรงตามชื่อของมัน นั่นคือการโฆษณายารักษาโรคและสมุนไพรต่าง  ผ่านการแสดงซึ่งเรียกได้ว่าเป็นละครเวทีขนาดย่อม  และเมื่อโชว์ในแต่ละครั้งจบลง ผู้แสดงก็จะวางหมวกลงกับพื้นเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ชมที่ล้อมวงดูรู้ว่านี่คือเวลาที่พวกเขาสามารถเดินเข้ามาซื้อตัวสินค้าได้แล้ว

 


 



               หลังจากสมัยรุ่งเรืองของmedicine show ช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ยุคทองของ one man band การแสดงซึ่งประกอบไปด้วย คนหนึ่งคนกับเครื่องดนตรีหลากชนิดเท่าที่เขาหรือเธอจะสามารถเล่นไปพร้อม  กันได้ ถ้านึกภาพไม่ออกลองเปิดดู mv ของ Coldplay เพลง A Sky Full Of Stars ดูสภาพของ คริส มาร์ติน แล้วคุณจะเข้าใจสิ่งที่เรากำลังพูดถึง
               แต่ในปัจจุบัน one man band ได้พัฒนาไปไกลกว่านั้นแล้วด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้เล่นสามารถเปิดลูปเอฟเฟกต์จากอุปกรณ์ต่าง  หรือเปิดเสียง midi ที่บันทึกเสียงไว้แล้วเล่นดนตรีสดเป็นเรียลไทม์ด้วยตัวคนเดียวได้เลย
                ภาพที่ชินตาของนักดนตรีในที่สาธารณะของคุณเป็นอย่างไร  คือภาพของผู้ชายหรือผู้หญิงที่เล่นกีตาร์ตัวเดียวแล้วร้องเพลงมักถูกนึกถึงเป็นอันดับแรก  เหตุผลของเรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูดที่ว่า ‘ดนตรีโฟล์กคือส่วนสำคัญของวัฒนธรรม busking มาเสมอ’ คาเฟ่ ภัตตาคาร บาร์ หรือผับ ล้วนมีแรงบันดาลใจมาจากดนตรีโฟล์กของเหล่า buskers ทั้งนั้น และมีนักดนตรีผู้โด่งดังไม่น้อยที่หัดเดินจากเส้นทางนี้มาก่อนเช่น B.B.King, Tracy Chapman, Beck, Passenger, Tash Sultana, Ed Sheeran เป็นต้น
 
                กระแสความนิยมของ busking ถูกผลักให้สูงขึ้นไปอีกในยุค 60s  เวลาที่วัฒนธรรมฮิปปี้รุ่งเรือง งานเทศกาลของเหล่า buskers ที่ถูกเรียกว่า ‘Be-In’ เริ่มจากตรงนี้ ตัวงานนี้มีรูปแบบที่คล้ายกับเทศกาลดนตรีในปัจจุบันค่อนข้างมาก แต่ต่างกันตรงที่คนดูสามารถเข้าดูงานได้ฟรี และรายได้อย่างเดียวของนักดนตรีที่เข้ามาเล่นคือการเปิดหมวก หนึ่งในเทศกาลที่สำคัญบนหน้า

                 ประวัติศาสตร์ของช่วงเวลานี้คืองานที่มีชื่อว่า ‘The Human Be-In’ ในปี 1967 จัดขึ้นใน Golden Gate Park, San Francisco ซึ่งมีไลน์อัพหลักอย่าง Grateful Dead และ Jimi Hendrix (ปัจจุบัน busker festival ยังคงมีอยู่และถูกจัดขึ้นทุกปีในหลายประเทศทั่วโลก โดยในงานเต็มไปด้วยการแสดงทักษะต่าง  ซึ่งรวมไปถึงดนตรีด้วย)

Sunset on the Street

               แล้วเหล่า buskers ในปัจจุบันเป็นอย่างไรกันบ้าง  แน่นอนว่าการเปิดหมวกเพื่อจุดประสงค์ต่าง  ก็ยังคงมีอยู่ ซ้ำยังมีการแสดงในรูปแบบใหม่  เกิดขึ้นมากมาย และแน่นอนว่าเสียงเพลงก็ยังคงมีอยู่… สิ่งที่ต่างออกไปก็คงเป็นการจัดระเบียบที่แสดงให้เห็นว่า busking คือสิ่งที่สำคัญมากขึ้น และเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียคือตัวอย่างที่ดีของผู้สนับสนุนในเรื่องนี้ ล่าสุด Robert Doyle นายกเทศมนตรีของเมืองนี้กำลังเร่งให้การมีอยู่ของ buskers ถูกจัดการอย่างเป็นระบบ “การมีอยู่ของพวกเขาช่วยสร้างบรรยากาศที่มาก และผมเชื่อว่าพวกเขาจะทำให้เมืองของเรากลายเป็นสถานที่ที่น่าอยู่ที่สุดของโลก” 

 วิถีใหม่ ก้าวสู่ ป๊อบสตรีท (Pop Street)

กระแสดนตรีเปิดหมวกที่กำลังเป็นที่นิยมในเมืองหลวง ประเทศไทย (Pop Street) ดนตรีเปิดหมวกเป็นกิจกรรมดนตรีที่สร้างความสุขให้กับคนกรุงมานาน ส่วนกระแสวงเปิดหมวก Yes Indeed  เป็นปรากฏการณ์ที่ดี สมาชิกวง Yes Indeed ถือเป็น Role Model ให้คนรุ่นใหม่ ทั้ง 5 คน สด  ใหม่ เป็นธรรมชาติมาก  เป็นแบบอย่างของการพัฒนาตัวเองจากการฝึกฝนวิชาดนตรี  การเล่นเปิดหมวกนอกจากส่งเสริมการแสดงออกของคนรุ่นใหม่  ยังช่วยให้สังคมมีทางออก มีพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ หน่วยงานรัฐบาล และเอกชนต้องไปสนับสนุน


 

              ดนตรี คือ ทรัพยากรสำคัญ  เป็นทางออกในการกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์  สร้างรายได้ให้กับประเทศ  บ้านเรามีนักดนตรีวัยรุ่นเก่งๆ ที่ขาดการสนับสนุน ภาครัฐพูดถึง Soft Power เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หน่วยงานรัฐต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชน สนับสนุนด้านการเงินบางส่วน  ตลอดจนมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีจูงใจ การนำดนตรีมาใช้ในมิตินี้ อย่างกรณี วง Yes Indeed กระทรวงพาณิชย์ต้องทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมพาเยาวชนไปสู่เทศกาลและจับคู่สร้างโอกาสให้เยาวชน ส่งเสริม Soft Power ของไทย ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก รวมทั้งยังมีศิลปินนักดนตรีอิสระไทยที่เป็นที่ชื่นชมและได้รับความสนใจในต่างประเทศ ต้องส่งเสริมการส่งออกวัฒนธรรมดนตรี

ส่วนความนิยมการจัดดนตรีในสวน  ถึงจะไม่ใช่การจัดดนตรีในส่วนครั้งแรก แต่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์  ผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ที่เข้าใจเรื่องดนตรีว่ามีความสำคัญ ได้จัดดนตรีในสวนและมีการประชาสัมพันธ์ให้คนรับรู้อย่างกว้างขวาง จนเกิดกระแสโด่งดัง เห็นด้วยกับยโยบายนี้ เพราะจะส่งเสริมให้กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง  ทุกคนมีทางเลือกในการใช้เวลาทำกิจกรรมนอกบ้าน รวมถึงศิลปินมีพื้นที่แสดงดนตรีและศิลปะการแสดง หลังจากเป็นกลุ่มอาชีพที่ลำบากและได้รับกระทบหนักจากโควิด  นอกจากนี้ เป็นการสร้างฐานคนฟังในอนาคต ทำให้ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคน

              เมืองใหญ่ในต่างประเทศมีการจัดดนตรีในสวน จัดเทศกาลดนตรีน้อยใหญ่ ไปที่ไหนของเมืองก็มีดนตรีสดให้ฟัง  กลับมาที่กรุงเทพฯ จะใช้ดนตรีคลาสสิค  แจ๊ส ดนตรีไทย ทำได้หมด  แต่ต้องให้คนฟังเข้าถึงได้ง่าย ถ้ากระจายพื้นที่จัดงานในทุกสวน ทุกห้างสรรพสินค้า และตามย่านต่างๆ ให้คนดื่มด่ำดนตรี มีการดีไซน์การแสดงดนตรีตลอดปี  และใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มาช่วยให้ข้อมูลตารางการแสดง สถานที่ จำนวนวง เปิดลงทะเบียนจองที่นั่ง ถ้าสามารถจัดทำระบบขึ้นมาได้ จะสร้างแรงกระเพื่อมต่อสังคม สร้างคน สร้างนักดนตรี และสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากร อีกทั้งช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ  ดนตรีถือเป็นเครื่องมือในพัฒนาเมือง ทั้งด้านคุณภาพชีวิต วัฒนธรรม และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับมหานครกรุงเทพ




 

 

 

 

ปลุกกระแสเมล็ดพันธ์ใหม่ทางดนตรี(Soft Power)

 

           โจเซฟ เอส นาย (Joseph S. Nye) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ของวิทยาลัยการปกครองเคเนดี้ แห่งมหาวิทลัยฮาวาร์ด เป็นนักวิชาการรุ่นแรก ๆ ที่พูดถึงพลังอำนาจอ่อน หรือ Soft Power ที่กลายเป็นคำติดปากคนไทยในช่วงหลายวันที่ผ่านมา จากปรากฏการณ์ทางดนตรี ของ มิลลี่ กับการแสดงการกินข้าวเหรียวมะม่วงระหว่างการร้องเพลงบนเวทีโลก จนข้าวเหนียวมะม่วงกลายเป็นสินค้าขายดีไปเลย

            โจเซฟให้นิยามว่า อำนาจ หมายถึง ความสามารถในการทำให้ผู้อื่นทำสิ่งที่ตัวเขาไม่ได้อยากทำ โดยอำนาจแบ่งเป็น อำนาจแข็ง (Hard Power) และอำนาจอ่อน (Soft Power) อำนาจทั้ง 2 แบบนี้ หากนำมาใช้อย่างเหมาะสม ก็จะเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศให้เข้มแข็งจนมีอิทธิพลเหนือประเทศ หรือสังคมได้ตามที่เจ้าของอำนาจต้องการ

            อำนาจแข็ง (Hard Power) เกิดจากการมีทรัพยากรเชิงกายภาพที่จำเป็นต่อการสร้างอำนาจนั้นจำนวนมากพอ เช่น การมีกองทัพ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ มีกำลังคน หรือมีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ 

แล้วนำเอาข้อได้เปรียบนี้มาเป็นเงื่อนไขในการบังคับให้ประเทศ หรือสังคมที่ตกเป็นเป้าหมายของการใช้อำนาจ ทำตามความต้องการของผู้มีอำนาจแข็งเหนือกว่า

            อำนาจอ่อน (Soft Power) คือการทำให้ประเทศหรือสังคมปฏิบัติตามความต้องการของผู้ใช้อำนาจอ่อน ผ่านกลไกสำคัญ 2 ประเภท คือ 
1) การสร้างอำนาจเพื่อกำหนดกติกาให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของอำนาจอ่อน หรือ 
2) การใช้อำนาจเพื่อจัดการความคิดของกลุ่มเป้าหมายให้เป็นไปตามที่ต้องการ 

            ด้วยความที่อำนาจอ่อนเกิดขึ้นผ่านการจัดการความคิด ช่องทางที่ช่วยให้อำนาจอ่อนสำแดงพลังได้มากที่สุดจึงเป็นการใช้อำนาจนี้ผ่านเครื่องมือเชิงวัฒนธรรม  เช่น การเผยแพร่ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี  หรือมิติอื่นของการใช้ชีวิต 

           เพราะฉะนั้นจากปรากฎการณ์ทางดนตรี การแสดงดนตรีเปิดหมวกใจกลางเมืองที่สยามสแควส์ ก็เป็นพลังของการใช้เครื่องมือของการแสดงวงดนตรี เยาวชนคนรุ่นใหม่กับการแสดงออกทางดนตรีแบบสดใหม่ เป็นการการปลุกกระแสเมล็ดพันธ์ใหม่ทางดนตรี



          นายยศธกร  ชะเอม น้องทะเล นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) เครื่องมือเอกกีตาร์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในสมาชิกวง วง Yes Indeed Band เล่นดนตรีเปิดหมวกกลางสยามสแควร์เป็นที่กล่าวถึง และโด่งดัง และปลุกกระแสให้เยาวชน เพื่อนๆนักเรียนวัยเดียวกันหรือใกล้เคียง เริ่มจุดประการความฝันในเส้นทางสายดนตรี เพื่อนๆหลายๆคนหันมาให้ความสนใจ และเล่นดนตรีเปิดหมวกกันเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

 

 

อ้างอิง

ดร.เกียรตินันท์ ล้วนแก้ว,หน้าต่างคิด.กรุงเทพฯ
http://www.abc.net.au/news/2017-09-15/melbourne-buskers-to-face-public-auditions-under-new-plan/8950680
http://www.gutenberg.us/articles/history_of_busking
http://cultureandcommunication.org/deadmedia/index.php/Traveling_Medicine_Show