แชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music) เป็นเพลงบรรเลง (Instrumental Music) ประพันธ์ขึ้นสำหรับบรรเลงด้วยวงดนตรีกลุ่มเล็กๆ คำว่า chamber หมายถึงห้อง แสดงให้เห็นว่าเป็นวงดนตรีที่มีขนาดเล็กจนสามารถจัดการแสดงในห้องได้ ในการบรรเลงจะใช้ผู้บรรเลง 1 คนในแต่ละแนวทำนอง แชมเบอร์มิวสิคมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับซิมโฟนี (symphony) คือ ประกอบด้วยท่อนเพลง (movement) 4 ท่อน ซึ่งแต่ละท่อนจะมีลีลาจังหวะแตกต่างกัน คือ เร็ว ช้า เร็วปานกลาง และเร็ว ในยุคคลาสิค แชมเบอร์มิวสิคได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นกลางและ ชนชั้นสูง เราสามารถที่จะบอกจำนวนผู้บรรเลงแชมเบอร์ มิวสิคได้จากชื่อเพลง เช่น ทริโอ ควอเตท ควินเตท เป็นต้น
คอนแชร์โต (Concerto) เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง การประชันหรือสู้กัน (Fighting of Contending) มีความหมายถึงการประชันกันระหว่างเครื่องดนตรีเดี่ยวกับวงออร์เคสตรา คอนแชร์โตเป็นประเภทของบทเพลงที่ประกอบด้วย 3 ท่อน (Movement) คือ
ท่อนเพลงที่ 1 (First Movement) เป็นบทนำของเพลง ความเร็วจังหวะใช้ในลักษณะเร็ว
ท่อนเพลงที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนาทำนองหลักของบทเพลง (Theme) มีลักษณะช้า
ท่อนที่ 3 (Third Movement) ลักษณะของโครงสร้างมักจะเป็นลักษณะของความเร็วแบบสนุกสนาน
เครื่องดนตรีที่นิยมนำมาประพันธ์เพื่อบรรเลงเดี่ยวประเภทคอนแชร์โตมักได้แก่ เปียโน, ไวโอลิน, เชลโล, ฟลูท, ในการเขียนชื่อเพลงประเภทคอนแชร์โตนี้มักจะมีชื่อเครื่องดนตรีนั้น ๆ ปรากฏอยู่หน้าคำ “Concerto” เช่น ไวโอลินคอนแชร์โต
ท่อนเพลงที่ 1 (First Movement) เป็นบทนำของเพลง ความเร็วจังหวะใช้ในลักษณะเร็ว
ท่อนเพลงที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนาทำนองหลักของบทเพลง (Theme) มีลักษณะช้า
ท่อนที่ 3 (Third Movement) ลักษณะของโครงสร้างมักจะเป็นลักษณะของความเร็วแบบสนุกสนาน
เครื่องดนตรีที่นิยมนำมาประพันธ์เพื่อบรรเลงเดี่ยวประเภทคอนแชร์โตมักได้แก่ เปียโน, ไวโอลิน, เชลโล, ฟลูท, ในการเขียนชื่อเพลงประเภทคอนแชร์โตนี้มักจะมีชื่อเครื่องดนตรีนั้น ๆ ปรากฏอยู่หน้าคำ “Concerto” เช่น ไวโอลินคอนแชร์โต
ซิมโฟนี (Symphony) เป็นบทเพลงที่เป็นรูปแบบและนิยมประพันธ์ในสมัยคลาสสิก (1750-1820) ในระยะแรกๆ นั้น ซิมโฟนียังมีรูปแบบที่ไม่แน่นอนนัก แต่ก็มีความแตกต่างจากเพลง
ในสมัยบาโรค (Baroque) ต่อมาได้มีการปรับปรุงจนมาถึงสมัยคลาสสิกทุกอย่างเริ่มมีแบบแผนมากขึ้น มีมาตรฐานที่เห็นชัดเจนขึ้น ปัจจุบันบทเพลงซิมโฟนีที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยคลาสสิกถือว่าเป็นต้นแบบของบทเพลงประเภทนี้ และบทเพลงจำนวนมากประพันธ์โดย ไฮเดิน (ค.ศ.1732-1809) คีตกวีชาวออสเตรียนเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งซิมโฟนี”
ในสมัยบาโรค (Baroque) ต่อมาได้มีการปรับปรุงจนมาถึงสมัยคลาสสิกทุกอย่างเริ่มมีแบบแผนมากขึ้น มีมาตรฐานที่เห็นชัดเจนขึ้น ปัจจุบันบทเพลงซิมโฟนีที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยคลาสสิกถือว่าเป็นต้นแบบของบทเพลงประเภทนี้ และบทเพลงจำนวนมากประพันธ์โดย ไฮเดิน (ค.ศ.1732-1809) คีตกวีชาวออสเตรียนเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งซิมโฟนี”
ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (FranZ Joseph Haydn)
บทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นเพลงขนาดใหญ่ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงประพันธ์ขึ้นอย่างมีกฏเกณฑ์ และแบบแผนเพื่อใช้บรรเลงสำหรับ
วงออร์เคสตรา โดยทั่วไปบทเพลงซิมโฟนีประกอบด้วย 3-4 ท่อนเพลง(Movement) โดยมีการจัดรูปแบบของความเร็วจังหวะแต่ละท่อนดังนี้
ท่อนที่ 1 (First Movement) เป็นบทนำของเพลงมักมีความยาวมากที่สุด ใช้รูปแบบโซนาตา (Sonata Form) มีลักษณะของความลึกซึ้งสลับซับซ้อน เป็นท่อนเพลงที่มีจังหวะเร็ว
ท่อนที่ 1 (First Movement) เป็นบทนำของเพลงมักมีความยาวมากที่สุด ใช้รูปแบบโซนาตา (Sonata Form) มีลักษณะของความลึกซึ้งสลับซับซ้อน เป็นท่อนเพลงที่มีจังหวะเร็ว
ท่อนเพลงที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนาทำนองหลักของบทเพลง (Theme) อาจใช้รูปแบบของเทอนารี เป็นท่อนเพลงที่มีจังหวะช้า
ท่อนเพลงที่ 3 (Third Movement) เป็นลีลาที่ไพเราะผ่อนคลายหรรษาไปตามบทเพลงที่เรียกว่า มินูเอท (Minuet) ลักษณะของโครงสร้างมักจะเป็นจังหวะเต้นรำมีการซ้ำทวนของทำนองต่าง ๆ มากที่สุด ลักษณะของความเร็วแบบสนุกสนาน เร็วปานกลาง
ท่อนเพลงที่ 4 (Fourth Movement) มักจะมีท่วงทำนองที่เร็วและมีสาระของเพลงน้อยกว่าท่อนอื่น บางครั้งก็เป็นลีลาที่แปรผันมาจากทำนองหลัก (Theme) ความเร็วของจังหวะมีลักษณะเร็วเร้าใจ
ท่อนเพลงที่ 3 (Third Movement) เป็นลีลาที่ไพเราะผ่อนคลายหรรษาไปตามบทเพลงที่เรียกว่า มินูเอท (Minuet) ลักษณะของโครงสร้างมักจะเป็นจังหวะเต้นรำมีการซ้ำทวนของทำนองต่าง ๆ มากที่สุด ลักษณะของความเร็วแบบสนุกสนาน เร็วปานกลาง
ท่อนเพลงที่ 4 (Fourth Movement) มักจะมีท่วงทำนองที่เร็วและมีสาระของเพลงน้อยกว่าท่อนอื่น บางครั้งก็เป็นลีลาที่แปรผันมาจากทำนองหลัก (Theme) ความเร็วของจังหวะมีลักษณะเร็วเร้าใจ
ตัวอย่างบทเพลงที่ควรฟัง
Haydn: Symphony No.94
Mozart: symphony No.40
Beethoven: Symphony No. 3
โซนาตา (sonata) เป็นเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยว เช่น เปียโนโซนาตา
ก็คือ บทเพลงสำหรับเดี่ยวเปียโน ไวโอลินโซนาตา เป็นบทเพลงสำหรับเดี่ยวไวโอลิน อนึ่งเพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่เปียโนจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบซึ่งมักเป็นเปียโน
บทบาทของเครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบในสมัยแรก ๆ จะเป็นแนวสนับสนุนเท่านั้น
แต่ในสมัยต่อ ๆ มา เครื่องดนตรีประกอบจะเปลี่ยนบทบาทเป็นการบรรเลงร่วมกันหรือโต้ตอบกันมากกว่า
ความสำคัญของบทบาทใกล้เคียงกันมากขึ้น บทประพันธ์ ประเภทโซนาตามักประกอบด้วย
3
หรือ
4
ท่อนเพลง
ท่อนแรกมักอยู่ในอัตราจังหวะเร็ว ท่อนที่ 2 อยู่ใน
อัตราจังหวะช้า ท่อนที่ 3 มักอยู่บรรยากาศที่ร่าเริงสนุกสนานในจังหวะเต้นรำแบบมินูเอต
ลักษณะของโซนาตาในสมัยคลาสสิกตอนต้นยังมีลักษณะไม่แน่นอนอาจจะมีเพียงท่อนเดียว
หรือสามท่อน (เร็ว – ช้า - เร็ว) รูปแบบพัฒนามาเรื่อยจนมีรูปแบบแน่นอน คือ มีลักษณะคล้ายซิมโฟนี
คือ มี 4
ท่อน
หรือ คล้ายคอนแชร์โต คือ มี 3 ท่อน