วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

การสอบปฎิบัติดนตรีตามเกณฑ์การจบแผนการเรียนดุริยางคศิลป์ ( RECITAL )

รายวิชาทักษะดนตรีปฏิบัติ 11 (ศ. 33218 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ยงยุทธ  เอี่ยมสอาด

การสอบปฎิบัติดนตรีตามเกณฑ์การจบแผนการเรียนดุริยางคศิลป์ ( RECITAL )
1.         บทเพลงการแสดงจบ ( Recital )  จำนวน  2เพลง โดยแต่ละเพลงมีความยาวไม่น้อยกว่า 5 นาที
2.         การสอบโดยรูปแบบการแสดง Recital  ให้เสร็จสิ้นก่อนสอบปลายภาคเรียนตามตารางสอบปลายภาคส่วนกลางของโรงเรียน

 Recital  มีความหมายถึงการแสดงคอนเสิร์ต ซึ่งแสดงโดยเครื่องดนตรีชิ้นเดียว หรือ นักร้องคนเดียว ในบางครั้งก็เป็นการแสดงเครื่องดนตรี 2 ชิ้นร่วมกัน เช่น  Violin and Piano Recital 


ผู้ที่ริเริ่มใช้คำนี้ คือ  Franz Liszt นักเปียโนชาวฮังการี โดย Liszt ใช้คำนี้เป็นครั้งแรกในการแสดงคอนเสิร์ตของเขาที่ London ในปี ค.ศ.1840 โดยใช้เป็นคำกล่าวโฆษณาคอนเสิร์ตของเขาว่า

‘Mr.Liszt will give recitals on the pianoforte of the following works’ 

Liszt ได้รับคำแนะนำให้ใช้คำนี้จากคุณ Frederick Beale  นายคนนี้เป็นลูกชายของ  Thomas Willert  Beale ผู้เขียนหนังสือเรื่อง  The Enterprising Impresario 


องค์ประกอบการสอบปฎิบัติในรูปแบบการแสดงดนตรี Recital 
1.         การแสดงเดี่ยวเครื่องมือวิชาเอก บทเพลงมีความยาวไม่น้อยกว่า 5 นาที จำนวน 2 บทเพลงในรูปแบบการแสดง Recital โดยบังคับต้องมี Accompaniment ในการบรรเลงประกอบกับเครื่องมือวิชาเอก
2.         สูจิบัตร เอกสารประกอบการแสดง  ที่แจ้งรายละเอียดต่างๆของงานวัน เวลา สถานที่ บทเพลง นักดนตรีที่บรรเลง  รายชื่อบทเพลง  ประวัติบทเพลง
3.   ใบปิด หรือ โปสเตอร์ (อังกฤษ: poster) คือภาพขนาดใหญ่พิมพ์บนกระดาษออกแบบเพื่อใช้ติดหรือแขวนบนผนังหรือกำแพง ใบปิดอาจจะเป็นภาพพิมพ์และภาพเขียน หรืออาจจะเป็นอย่างเดียวอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ จุดประสงค์ก็เพื่อทำให้เตะตาผู้ดูและสื่อสารข้อมูล ใบปิดอาจจะใช้สอยได้หลายประการแต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ในการเผยแพร่เพื่อการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะการโฆษณางานแสดงศิลปะ, งานดนตรี หรือภาพยนตร์; การโฆษณาชวนเชื่อ; หรือในการสื่อสารของผู้ประท้วงที่ต้องการสื่อสารความเชื่อต่อคนกลุ่มใหญ่
ประโยชน์ของใบปิดอาจมีหลายจุดประสงค์ โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นงานต่างๆ งานดนตรี ภาพยนตร์ และในบางครั้งก็ผลิตมาเพื่อใช้ในการศึกษา หรือเป็นสื่อการสอนต่างๆ
นอกจากนั้นใบปิดก็ยังใช้ในการพิมพ์ภาพจิตรกรรมของศิลปินคนสำคัญๆหรือภาพถ่าย เพื่อใช้ในการตกแต่ง ซึ่งกลายมาเป็นศิลปะการค้าที่ทำรายได้ดีให้ทั้งพิพิธภัณฑ์และบริษัทการค้าหรือร้านทางอินเทอร์เน็ต เช่นภาพเขียนของโคลด โมเนท์ หรือ เลโอนาร์โด ดา วินชี หรืองานของช่างภาพอเมริกันโรเบิร์ต เมเปิลธอร์พ (Robert Mapplethorpe)
งานศิลปะการสร้างใบปิดเริ่มเมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1890 โดยจิตรกรชาวฝรั่งเศสและเผยแพร่ไปทั่วยุโรป ศิลปินคนสำคัญที่สุดที่ริเริ่มความนิยมในการสร้างใบปิดก็คืออองรี เดอ ทูลูส-โลเทรค และ จูลส์ เชเรท์ (Jules Chéret) เชเรท์ถือกันว่าเป็นบิดาแห่งการโฆษณาด้วยป้าย
คนส่วนใหญ่ที่สะสมใบปิด และใบปิดที่มีชื่อเสียง นักสะสมใบปิดจะเก็บใบปิดเก่าโดยมักจะใส่กรอบรูปและมีแผ่นรองหลังด้วย โดยขนาดใบปิดที่เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปอยู่ที่ 24x36 นิ้ว แต่ใบปิดก็มีหลายขนาดหลากหลาย และใบปิดขนาดเล็กที่ไว้โฆษณาจะเรียกว่า แฮนด์บิลล์ หรือ “ใบปลิว” (flyer)
4.  ผู้เข้าชมการแสดง  ต้องมีจำนวนไม่น้อย   40 คน ในการเข้ารับฟังตั้งแต่ต้นจนจบรายการแสดงซึ่งอาจเป็นผู้ปกครอง ญาติสนิท มิตรสหาย มิตรรักแฟนเพลง ที่สามารถนัดหมายเพื่อเข้าชมได้จนจบรายการแสดง
เกณฑ์การจบวิชาเอกดุริยางคศิลป์
1.         เรียนวิชาครบ 31 วิชา  รวม 34 หน่วยกิต
2.         สอบผ่านทฤษฎีดนตรีอย่างน้อยเกรด 4 ของสถาบัน Trinity หรือเทียบเท่า
3.         จัดการแสดงของตนเองอย่างน้อย 3 ครั้ง
4.         ผลการเรียนวิชาเอกทุกวิชาไม่ต่ำกว่า 2.5

5.         มีแฟ้มสะสมงาน