4x100
คือ อะไร
เกี่ยวกับการนำยาแก้ไอเด็กซ์โต (dexto) ผสมน้ำอัดลม หรือน้ำร้อนครั้งละ 5-10 เม็ด ซึ่งจะทำให้ไม่ง่วง แต่มึนเบลอ นอกจากนั้นยังพบว่ามีกลุ่มวัยรุ่นบางกลุ่ม นิยมนำเด็กซ์โตกินผสมกับยาแก้แพ้ยี่ห้อโพโคดิล ซึ่งมีรสหวานคล้ายๆ ยาแก้ไอ บรรจุขวดขนาด 100 ซีซี ราคา 80 บาท ซึ่งมีราคาถูกกว่ายาแก้ไอผสมโคเดอีน และ พบว่ามีการใช้ยา 2 ตัวนี้ กินพร้อมกับยาโซแรม (xoram) หรือยาคลายเครียด ด้วย
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เป็นการนำยาที่ใช้ในการรักษาทางการแพทย์มาใช้ในทางที่ผิด คือ ยาเด็กซ์โต (dexto) และยาแก้แพ้ยี่ห้อโพโคดิล จัดเป็นยาอันตราย ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบันทั่วไป ส่วนยาโซแรม (xoram) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ที่ต้องจำหน่ายโดยเภสัชกร และมีใบสั่งแพทย์ เท่านั้น
ดังนั้น กองควบคุมวัตถุเสพติด ขอชี้แจงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับยาทั้ง 3 ตัว ดังนี้
1. ยาเด็กซ์โต (dexto) มีชื่อสามัญทางยาว่า dextromethorphan เป็นยาลดอาการไอที่แพทย์นิยมสั่งให้ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด และมีอาการไอร่วมด้วย dextromethorphan ในปริมาณที่แพทย์สั่งจ่าย จัดเป็นยาที่มีความปลอดภัย สามารถกดอาการไออย่างได้ผล และมีผลข้างเคียงน้อย แต่ถ้าได้รับยาในปริมาณสูง สามารถก่อให้เกิดอาการเคลิ้มเป็นสุขได้ (euphoric effects)
กลไกการออกฤทธิ์
dextromethorphan เป็น dextro isomer ของ levorphanol ซึ่งเป็น analog ของ codeine สามารถลดอาการไอโดยออกฤทธิ์ที่ศูนย์ควบคุมการไอในสมองส่วนเมดุลลา (medulla) โดยเพิ่ม threshold ศูนย์ควบคุมการไอ (ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ opiate s-receptors) แต่ไม่มีฤทธิ์อื่นๆ ของอนุพันธ์ฝิ่น เช่น ระงับปวด กดการหายใจ และ ไม่ทำให้เสพติด ในขนาดที่แนะนำให้ใช้ ยาถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ดี ระยะเวลาที่เริ่มออกฤทธิ์ประมาณ
15-30 นาที และมีช่วงระยะการออกฤทธิ์นาน 5-6 ชั่วโมง
อันตรายจากการใช้ยา
โดยปกติ dextromethorphan เป็นยาที่ปลอดภัยในขนาดที่ให้ใช้คือ
15-30 มก. แต่ผู้ที่ใช้ในทางที่ผิด มักใช้ในปริมาณที่สูง โดยมักใช้มากกว่า 360 มก. ซึ่งจะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน และมีอาการเหมือนได้รับ
phencyclidine หรือ
ketamine และยาจะมีฤทธิ์อยู่ประมาณ 6 ชม. ผู้ใช้ยาอาจทำอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่นได้ เนื่องจากผลของยาที่ทำให้เกิดภาพหรือการรับรู้หลอน
พิษเฉียบพลันจากการได้รับ dextromethorphan เกินขนาด ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ง่วงงุน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน พูดไม่ชัด ม่านตาขยาย เคลิบเคลิ้ม หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะไม่ออก มึนงง ประสาทหลอน กระวนกระวาย สั่น ชัก ปวดศีรษะ เซลสมองถูกทำลายถาวร หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้
รูปแบบเภสัชภัณฑ์
- ชนิดเม็ด มีทั้งสูตรยาเดี่ยว เช่น
romilar® , dextramet® ขนาดความแรง 15 มก./เม็ด และสูตรยาผสมมักผสมร่วมกับยาลดน้ำมูก เช่น
dextromine®
- ชนิดน้ำส่วนใหญ่เป็นสูตรยาผสม เช่น
robitussin dm® , dextro osoth®
การควบคุมตามกฎหมาย
จัดเป็นยาอันตราย ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510
2. ยาแก้แพ้ยี่ห้อโพโคดิล (procodyl®
syrup) ประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ promethazine hydrochloride มีข้อบ่งใช้คือ บรรเทาอาการแพ้ ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
promethazine เป็น h1- antihistamine เป็นสารเคมีพวก amine อยู่ในกลุ่มphenothiazines มีฤทธิ์ทำให้ง่วงมาก จึงอาจนำมาใช้ช่วยให้นอนหลับ ใช้ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน ( เนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงความเร็วและสถานที่ได้ผลดีมาก เช่นเดียวกับ dimenhydrinate ) และมีฤทธิ์คล้าย atropine ยาในกลุ่มนี้อาจกดการหายใจ และทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวลดลง (agranulocytosis)
ข้อควรระวังในการใช้ยา
1. ห้ามใช้กับผู้ที่หมดสติหรือมีอาการซึมเซามาก
2. ควรระมัดระวังในการใช้กับผู้ที่เป็นโรคตับ หรือโรคหัวใจ
3. อาจทำให้หยุดหายใจ
รูปแบบเภสัชภัณฑ์
เป็นยาน้ำเชื่อมใส สีน้ำตาล รสหวาน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด บรรจุขนาด 100 ซีซี ขนาดรับประทาน 5 มก./5 มล.
การควบคุมตามกฎหมาย
จัดเป็นยาอันตราย ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510
3. ยาโซแรม (xoram) หรือ
alprazolam เป็นยากลุ่ม benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์สั้น หรือนานปานกลาง เช่นเดียวกับ lorazepam มีชื่อทางการค้า เช่น
zolam® , xanax® เป็นต้น ใช้สำหรับ
รักษาอาการวิตกกังวล มีการดูดซึมยา ( t max) ภายใน 1-2 ชั่วโมง จับกับโปรตีนในพลาสมาได้ 67-72 % มีค่า ครึ่งชีวิต 11.1 – 19 ชั่วโมง
ขนาดและวิธีใช้ : ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ1/2 – 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยหนัก ควรลดขนาดยาลง
การติดยา การใช้ยา benzodiazepines ในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติดยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าหยุดยาทันทีจะเกิดอาการขาดยาหรือถอนยา เช่น คลื่นไส้ นอนไม่หลับ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้
การควบคุมตามกฎหมาย ยาโซแรม หรือ alprazolam จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 การขายต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยมีเภสัชกรควบคุม การจำหน่าย
การจัดทำรายงาน ผู้รับอนุญาต ต้องจัดให้มีการทำบัญชีรับ-จ่ายวัตถุออกฤทธิ์ และเสนอ รายงานให้เลขาธิการทราบเป็นรายเดือนและรายปี บัญชีดังกล่าวต้องเก็บรักษาไว้และพร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาในขณะเปิดดำเนินการ (ม.87) ได้แก่
1. แบบ บ.จ.4 (บัญชีซื้อวัตถุออกฤทธิ์)
2. แบบ บ.จ.5 (บัญชีขายวัตถุออกฤทธิ์ตามใบสั่งยา)
3. แบบ บ.จ.9 (รายงานประจำเดือน )
4. แบบ บ.จ.10 (รายงานประจำปี )