วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ชีวิตที่เลือกเอง

ชีวิตที่เลือกเอง

                                                                                 นายยงยุทธ  เอี่ยมสอาด
             ลานท้องทุ่งสู่ลานวัด  ทุ่งนาเมืองพิษณุโลกเป็นที่วิ่งเล่นสำหรับเด็กทั่วๆไป  เด็กชายวิศรุต  ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่วิ่งเล่นตามท้องทุ่งนากว้างๆ  เลี้ยงควาย  ยิงนก  ตบปลา  ตามประสาลูกชาวนาและวิถีท้องถิ่น  และแล้ววันนึงหลวงพ่อวัดยางเอนได้รับอุปการะครอบครัวครูดนตรีไทยมาอาศัยอยู่ที่วัดและได้ทำการซื้อเครื่องดนตรีไทยพร้อมทั้งป่าวประกาศให้ลูกๆหลานๆ ชาวบ้าน ชาวนาในชุมชนมาฝึกหัดดนตรีไทยกันที่ลานวัดยางเอน  ในช่วงแรกๆได้มีเด็กๆมาเล่นด้วยกันมากเป็นจำนวนได้สามสิบคน  เครื่องมือชิ้นแรกเด็กชายวิศรุตเรียนคือฆ้องวงใหญ่เพลงแรกที่เรียนคือเพลงสาธุการ                           
                                                                   

            ลานวัดเริ่มสนุกเลยมาผุดชมรมดนตรี    โรงเรียนท่าทองพิทยาคม  โรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของเด็กชายวิศรุต  ความรักความสนุกในดนตรีทำให้ชีวิตในโรงเรียนก็จะมาอยู่ที่ชมรมดนตรีไทย  ต่อเพลง บรรเลงเพลง  แสดงเพลงตามวิถีนักเรียนชมรมดนตรี
            ดนตรี  กีฬา ต้องกล้าเลือก  ที่จริงแล้วอีกมุมหนึ่งของเด็กชายวิศรุตนั้นก็มีความชอบความใฝ่ฝันทางกีฬาไม่แพ้ทางดนตรีเลยทีเดียว  สมัยเด็กเป็นนักวิ่งให้โรงเรียน  ชอบเล่นฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจ  แต่ในที่สุดมาเป็นนักกีฬาปิงปองตัวโรงเรียน   เป็นนักชกมวยงานวัดล่าเงินรางวัลแทบทุกๆงานวัดที่มีลานกีฬามีการแข่งขันมวยก็จะมีเด็กชายวิศรุตขึ้นชกมวย  ความใฝ่ฝันทางกีฬาของเด็กชายวิศรุตก็น่าจะไปไกลถึงนักกีฬาทีมชาติประมาณอย่างนั้น  ทำให้ชีวิตต้องเลือกในมัธยมศึกษาตอนปลายว่าจะเรียนโรงเรียนกีฬาหรือโรงเรียนดนตรีดี เก่งและเอาดีได้ทั้งสองอย่างแต่ด้วยความคิดในใจที่ว่า  การเอาโลก...  มาเป็นตัวตั้งเพื่อที่จะหาบทสรุปว่าจะเรียนอะไร  ก็มีความคิดที่ว่าถึงจะเก่งกีฬาอย่างไรก็คงจะทำให้เก่งที่สุดในโลกได้ยาก  แต่ถ้าเรียนเรียนดนตรีไทยก็คงจะสามารถที่จะเป็นที่หนึ่งของโลกได้อย่างแน่นอน  เพราะคงไม่มีฝรั่งคนไหนที่จะ

สัมผัสบุคคล


เก่งดนตรีไทยมากกว่าคนไทยแน่ๆ  จึงทำให้ในที่สุดเด็กชายวิศรุตสอบคัดเลือกเข้าเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย
              ถนนดนตรี  เส้นทางทีเลือกแล้ว  แม้จะต้องเดินทางข้ามจังหวัดมาเรียนที่สุโขทัยนายวิศรุตก็ไม่ย่อท้อเพราะเลือกและมุ่งมั่นที่จะเอาดีทางสายดนตรี  ในที่สุดนายวิศรุตก็ได้มาเข้าเรียนระดับชั้นกลางปีที่ ๑ ที่วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย  โดยยังเรียนวิชาเอกปี่พาทย์ในเครื่องดนตรีชิ้นเอกที่เลือกเรียนก็คือ ระนาดเอก  โดยในวิถีของนักเรียนทีวิทยาลัยนาฏศิลป์จะวัดความเท่ห์  ความดัง  ความเก่งหรือความสามารถกันที่งานหลวง การได้ออกงานหลวงจึงเป็นความฝันของเด็กๆในวิทยาลัยฯ  แต่ที่ด้วยในรุ่นใกล้เคียงกับนายวิศรุตมีนักระนาดรุ่นพี่ที่ชื่อพี่เบิ่ง  นายทวีศักดิ์  อัครวงศ์  ที่ตีระนาดเอกได้เก่งมากจนเป็นที่ยอมรับและ  ด้วยความมุ่งมั่นของนายวิศรุตที่จะเอาดีทางดนตรีให้ได้  จึงหักเหเริ่มมาเรียนปี่  ครูปี่คนแรกคืออาจารย์อวยชัย  สิทธิโชค  จนทำให้ในที่สุดนายวิศรุตก็ได้มาเป็นมือปี่และ ได้เล่นประจำวงดนตรีไทยในงานต่างๆที่เรียกว่างานหลวงนั่นแหละ... 
             พักการเรียน  เล่นดนตรีเป็นอาชีพ   หลังจากจบการศึกษาชั้นกลางปีที่ ๓ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย  นายวิศรุตก็ได้เดินทางไปภูเก็ตเป็นนักดนตรีอาชีพให้บริษัทเลิศลักษณ์ไทยโชว์ เป็นคณะการแสดงที่รับงานโชว์ตามโรงแรมที่ภูเก็ต ณ ที่นี่นายวิศรุตถือได้ว่าได้นำวิชาที่เรียนมาออกมาใช้ทุกอย่าง  เล่นเครื่องดนตรีทุกชิ้น  บางครั้งต้องเป็นทั้งผู้รำ  ระบำ  โขน  ในชุดต่างๆก็ถือได้ว่าได้เรียนรู้และเดินทางสู่ถนนดนตรีสายอาชีพจริงๆ


             มุ่งสู่อนาคตที่ดีกว่า  หลังจากนายวิศรุตได้ทำงานอาชีพจริงๆได้ประมาณ ๒ ปีกว่าก็คิดถึงอนาคตที่ดีกว่า จึงกับมาเข้าสู่ระบบการเรียนอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกดุริยางคศาสตร์ไทย  และการมุ่งสู่อนาคตที่ดีกว่าในการ
สัมผัสบุคคล

กับมาเรียนครั้งนี้ทำให้นายวิศรุตเริ่มที่จะมีเส้นทางสู่ความสำเร็จโดยการคว้า ๒ เหรียญทองเยาวชนดนตรี  จากการประกวดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทยครั้งที่ ๗  เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗  วิถีทางของการเป็นนักดนตรี  พัฒนาการทางด้านดนตรี  ความอดทนต่อการฝึกซ้อม ความผูกพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์  ความท้อแท้ผิดหวังจากการประกวดก่อเกิดแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดความรักในดนตรีจนสามารถได้รับรางวัลชนะเลิศ ๒ เหรียญทอง  นับว่าเป็นความสามรถพิเศษที่ไม่ธรรมดาที่ช่วยเจียระไนเหลี่ยมเพชรให้เปล่งปลั่งประกายแวววาวเจิดจำรัสในแวดวงดนตรี  จนเรียกได้ว่านายวิศรุต  สุวรรณศรี  เป็นเพชรในตรมของชาวดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเลยทีเดียว
            เส้นทางที่เลือกอย่างดีที่สุด  ปัจจุบันอาจารย์วิศรุต  ได้เลือกที่จะเป็นอาจารย์ประจำที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ( ฝ่ายมัธยม )  ได้ร่วมพัฒนาการเรียนการสอน  ชมรมดนตรีไทยทนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ปลูกต้นดนตรีไทยให้แก่ชาวเทาแดงเพื่อแสวงหาเพชรในตรมเม็ดต่อๆไปที่จะเกิดขึ้นอีกในแดนดินถิ่นเรานี้

เพลงสอบเชลโล่ เกรด 4

หลักสูตรปฏิบัติเครื่องดนตรี  ระดับเกรด 4 เครื่องดนตรีเชลโล่
คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  พ.ศ. 2554
บทเพลงระดับเกรด 4 ประกอบไปด้วย
Suzuki Book 2,3, Essential Elements Book 2
เพลงระดับเกรด 4  ประกอบไปด้วย
Suzuki Book 2
1.      Theme from “Witches Dance”,N. Paganini
2.      The Two Grenadiers, R. Schumann
3.       Gavotte, F.J. Gossec
4.      Bourree, G. F. Handel 
Suzuki Book 3
1.      Gavotte, J.B. Lully
2.      Minuet, L. Boccherini
3.      Scherzo, C. Webster
Essential Elements Book 2
1.      Quiz – Rondeau,Jean-Joseph Mouret (1682 – 1738 )
2.      Mockingbird,Alice Hawthorne(Septimus Winner) 1827 - 1902

บันไดเสียงระดับเกรด 4  ประกอบไปด้วย
         บันไดเสียง  D Minor Harmonic And Melodic 2 Octave พร้อม Arpeggio
          บันไดเสียง D Major  2  Octave พร้อม Arpeggio
การทดสอบโสตประสาท หรือ เลือกสอบด้วยวิธีอ่านโน้ตแบบฉลับพลัน
1.      ปรบมือตามทำนองที่ได้ยิน
2.      ร้องโน้ตตามทำนองที่ได้ยิน

เพลงสอบเชลโล่ เกรด 3

หลักสูตรปฏิบัติเครื่องดนตรี  ระดับเกรด 3 เครื่องดนตรีเชลโล่
คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  พ.ศ. 2554
บทเพลงระดับเกรด 3 ประกอบไปด้วย
Suzuki Book 2, Essential Elements Book 1,2
เพลงระดับเกรด 3  ประกอบไปด้วย
1.      Long, Long Ago, T.H. Bayly
2.      May Time, W. A. Mozart
3.      Minuet No. 1, J. S. Bach
4.      Minuet No. 3, J. S. Bach
5.      Chorus from “ Judas Maccabaeus”, G. F. Handel
6.      Hunters’Chorus, C.M. von Weber
7.      Musette from English Suite No. 3, J. S. Bach
8.      March in G, J. S. Bach
9.      William Tell Overture,Gioachino Rossini
10.  Simple Gifts, Shaker Folk Song

บันไดเสียงระดับเกรด 3 ประกอบไปด้วย
         บันไดเสียง  G, C  Major 2 Octave พร้อม Arpeggio
การทดสอบโสตประสาท หรือ เลือกสอบด้วยวิธีอ่านโน้ตแบบฉลับพลัน
1.      ปรบมือตามทำนองที่ได้ยิน
2.      ร้องโน้ตตามทำนองที่ได้ยิน



เพลงสอบเชลโล่ เกรด 2

หลักสูตรปฏิบัติเครื่องดนตรี  ระดับเกรด 2 เครื่องดนตรีเชลโล่
คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  พ.ศ. 2554
บทเพลงระดับเกรด 2 ประกอบไปด้วย
Suzuki Book 1, Essential Elements Book 1
เพลงระดับเกรด 2  ประกอบไปด้วย
1.      Long, Long Ago, T. H. Bayly
2.      Andantino, Shinichi Suzuki
3.       Rigadoon, H. Purcell
4.       Etude, Shinichi Suzuki
5.       Minuet in C Major, J. S. Bach
6.       May Time,W. A. Mozart  
7.      Minuet No. 2, J. H. Bach
8.      Baa Baa Black Sheep
9.      Jingli Nona
บันไดเสียงระดับเกรด 2 ประกอบไปด้วย
         บันไดเสียง  G, C  Major 1 Octave พร้อม Arpeggio
การทดสอบโสตประสาท หรือ เลือกสอบด้วยวิธีอ่านโน้ตแบบฉลับพลัน
1.      ปรบมือตามทำนองที่ได้ยิน
2.      ร้องโน้ตตามทำนองที่ได้ยิน

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลักสูตรปฏิบัติเครื่องดนตรี  ระดับเกรด 1 เครื่องดนตรีเชลโล่
คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  พ.ศ. 2554
บทเพลงระดับเกรด 1 ประกอบไปด้วย
Suzuki Book 1, Essential Elements Book 1
1.      French Folk Song
2.      Song of the Wind
3.      Go Tell Aunt Rhody
4.      May Song, Folk Song
5.      Allegro, Shinichi Suzuki
6.      Perpetual Motion, Shinichi Suzuki
7.      A Mozart Melody
8.      Ode To Joy
9.      Can – Can
บันไดเสียงระดับเกรด 1 ประกอบไปด้วย
         บันไดเสียง D Major 1 Octave พร้อม Arpeggio
การทดสอบโสตประสาท หรือ เลือกสอบด้วยวิธีอ่านโน้ตแบบฉลับพลัน
1.      ปรบมือตามทำนองที่ได้ยิน
2.      ร้องโน้ตตามทำนองที่ได้ยิน