วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Basic Imformation in Philippines




Basic Imformation in philippines
โดย ยงยุทธ เอี่ยมสอาด







ฟิ               ฟิลิปปินส์ (Philippines)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) 

ที่ตั้ง :     เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจาก   เอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นประเmLg       เทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโล
    ทิศตะ    ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้
    ทิศตะ    ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
    อยู่ห่า     อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร
พื้นที่ :     พื้นที่  :  298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย)
เมืองห     เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila) 
ประชากร : 88.7 ล้านคน (พ.ศ.2550) 

ภู    มิ   อากาศ : มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปร    ดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด
 คือ เมือ   เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาษา :   มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซี  โปลินีเซียนตะวันตก
แต่ในปี      พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโน (Filipino) และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ   ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภ   ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภา   ภาษาอาหรับ โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก 

ศาสนา     ศาสนา : ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโร     นิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ มุสลิมร้อยละ 5 พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ      ร้อยละ 3 

สกุลเงิน      สกุลเงิน : เปโซ (Peso : PHP) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 0.72 บาท/ 1 เปโซ (ขาย) 0.75       0.75 บาท/ 1 เปโซ
ระบอบ    ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 6         วาระ 6 ปี

ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเบนิกโน ซิมยอน อาคิโน หรือที่ชาวฟิลิปปินส์รู้จักกันในนาม   นอย นอย   บุตรชายของอดีตประธานาธิบดี คอรอซอน อาคิโน ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเมื่อ 2552



                                                                        
                                                                                               เบนิกโน ซิมยอน อาคิโน ประธานาธิบดี

1.     การเมืองการปกครอง
1.1 ฟิลิปปินส์ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในรูปแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 1 วาระ วุฒิสภามีสมาชิก 24 คน มาจากการเลือกตั้งจากผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ (nationwide – elected) มีวาระ 6 ปี และรัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาจำนวนครึ่งหนึ่ง (12 คน) ทุก 3 ปี


1.2 ฟิลิปปินส์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 เขต (region) 80 จังหวัด (province) และ 120 เมือง (city) โดยแบ่งการปกครองย่อยออกเป็น 1,499 เทศบาล (municipality) และ 41,969 บารังไก (barangay) ซึ่งเทียบเท่าตำบลหรือหมู่บ้าน


1.3 ฟิลิปปินส์จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนท้องถิ่น ทั่วประเทศ รวม 17,996 ตำแหน่งในคราวเดียวกัน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 มีผู้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งหมด 50.7 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ประมาณ 38 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 75 ของผู้ลงทะเบียนทั้งหมด โดยนายเบนิกโน เอส อาคีโน ที่สาม (Benigno S. Aquino III) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรค Liberal (LP) และนายเจโจมาร์ บิไน (Jejomar Binay) อดีตนายกเทศมนตรีเมืองมากาติ (Makati) ได้รับเลือกตั้งเป็นรอง ประธานา ธิบดี


1.4 รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดี อาคีโน ที่สาม มุ่งให้ความสำคัญกับการปฏิรูป ระบบบริหารประเทศเพื่อปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและขจัด ความยากจน จึงได้รับความนิยม จากประชาชนและมีสถานะความมั่นคงทางการเมืองสูง ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐานกฎระเบียบด้านงบประมาณ การปรับปรุงระบบ ข้าราชการ พลเรือน และการปรับปรุงระบบการศึกษา ส่วนประเด็นด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลฟิลิปปินส์เน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน ประเด็นท้าทายต่าง ๆ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ การระบาดของโรคติดต่อ การฟื้นฟูสภาพ เศรษฐกิจ และการสร้างพลังประชาคม ระหว่างประเทศ ในทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการ พัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDG) ภายในปี 2558

2. เศรษฐกิจ
2.1 ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย กล่าวคือ เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ดี สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่
เพาะปลูกมีน้อย โดยส่วนใหญ่ จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณ
เกาะลูซอน ขณะเดียวกันประชากร ฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ ฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ เพื่อ การพัฒนาประเทศเป็นส่วนใหญ่

2.2 รัฐบาลภายใต้การบริหารงานด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีอาคีโน ที่สาม เน้นนโยบายสร้างวินัยทางการคลัง โดยการบริหารงบประมาณแบบสมดุล (zero - budgeting policy) เพื่อแก้ไขภาวะงบประมาณขาดดุล อันเป็นปัญหา สืบเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อน ในปี 2553 รัฐบาลได้ กำหนดงบ ประมาณขาดดุลอัตราร้อยละ 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) หรือประมาณ 625 พันล้านเปโซ เนื่องจากความจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณเพื่อเร่งพัฒนา โครงสร้างสาธารณูปโภค และอัดฉีดเม็ดเงินให้กับ ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดย สนับสนุนการสร้างกลไกความเป็น หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ - เอกชน (public - private partnerships) และเร่งแก้ไขกฎหมายและกฎ ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของ ต่างชาติ ผลักดันกฎหมาย ป้องกันการผูกขาด (anti - trust law) เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเท่าเทียม รวมทั้งให้ความสำคัญ กับการส่งเสริมการลงทุนในสาขา สาธารณูปโภค การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เหมืองแร่ และเกษตรกรรม

            2.3 ในปี 2553 การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของฟิลิปปินส์ อยู่ที่อัตราร้อยละ 7.3 เนื่องจาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2553 การใช้จ่ายในการรณรงค์ หาเสียง เลือกตั้ง ประธานาธิบดีเมื่อเดือนมิถุนายน 2553 รวมทั้งปัจจัยเชิงบวกด้านอื่น ๆ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของ เงินโอน จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ การขยายตัวของภาคการส่งออก การขยายตัวของการบริโภค ภายใน ประเทศ การเพิ่มขึ้นของปริมาณการลงทุน และเศรษฐกิจมหภาค มีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายให้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเติบโต ในอัตราร้อยละ 7 – 8 ตลอดวาระ การบริหารงาน (ปี 2553 – 2560) อย่างไรก็ดีนักลงทุนต่างชาติ มีความกังวลต่อปัญหา/ อุปสรรคอื่น ๆ ในการลงทุนในฟิลิปปินส์ เช่น ความไม่แน่นอนเชิงนโยบาย ในระยะยาว ระบบ สาธารณูปโภคขาดคุณภาพและ ค่าใช้จ่ายสูง

3. นโยบายต่างประเทศ
3.1 นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์อยู่บนพื้นฐานของนโยบายหลัก 3 ด้าน คือ
(1) ด้านความมั่นคง
          (2) ด้านเศรษฐกิจ  
          (3) ด้านแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ (Overseas Filipinos Workers)
โดยเน้นการ สร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์แห่งชาติกับการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคม ระหว่าง ประเทศ และยังคง ห้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศสมาชิกอาเซียน

3.2 ฟิลิปปินส์มีความใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา เนื่องด้วยความเกี่ยวพันทางประวัติศาสตร์ ความเป็น พันธมิตร ด้านความมั่นคง และสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ในระหว่างการเยือน สหรัฐอเมริกา ของ ประธานาธิบดีอาคีโน ที่สาม เมื่อเดือนกันยายน 2553 รัฐบาลฟิลิปปินส์ประสบ ผลสำเร็จ ในการ ดึงดูดการ ลงทุนและเงินช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐอเมริกาพร้อมจะ สนับสนุนนโยบาย แห่งชาติ ของฟิลิปปินส์ ในทุกมิติ ในการนี้ ฟิลิปปินส์ได้ลงนามความตกลง Millennium Challenge Account (MCA) มูลค่า 434 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งความตกลงดังกล่าว อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ ความ ร่วมมือแห่งความท้าทายแห่ง สหัสวรรษ (Millennium Challenge Corporation – MCC) โดยเป็นเงินทุนจาก สหรัฐอเมริกาที่สนับสนุน ประเทศ ที่ยากจนเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและ พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้แสดง ความสนใจที่จะเพิ่มพลวัตร และแรงขับ เคลื่อนทาง การค้ากับ สหรัฐอเมริกา โดยการเข้าร่วมการเจรจา ความตกลง ว่าด้วยการค้าเสรีในกรอบ Trans – Pacific Economic Partnership

3.3 ฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์ในระดับดีกับนานาประเทศ อาทิ
(1) กับญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่ให้ความ ช่วยเหลือ ทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์และเป็น ประเทศผู้บริจาคราย สำคัญต่อการพัฒนาใน มินดาเนา
(2) กับจีนในฐานะประเทศคู่ค้าและผู้ลงทุนที่สำคัญ
(3) กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค ตะวันออกกลาง อาทิ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน และเยเมน ซึ่งเป็นตลาดแรงงานสำคัญของฟิลิปปินส์และ แหล่งทุนสำหรับ การพัฒนา ในมินดาเนา ตลอดจนมีศักยภาพที่จะสนับสนุนฟิลิปปินส์ในการเข้า เป็นประเทศ ผู้สังเกตการณ์ในองค์การการ ประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference – OIC)

3.4 ฟิลิปปินส์ส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติในเวทีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
(1) การร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มแนวร่วม
ปลดปล่อย อิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front – MILF) และกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อย แห่งชาติโมโร (Moro National Liberation Front – MNLF)
(2) การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับ รัฐมนตรีกลุ่ม NAM วาระพิเศษว่าด้วยเรื่อง Interfaith Dialogue และความร่วมมือเพื่อสันติภาพและ การพัฒนา (Special Non-Aligned Movement Ministerial Meeting - SNAMM) เมื่อเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งมีการรับรองปฏิญญา มะนิลาเกี่ยวกับหลักสำคัญในการบรรลุผล ด้านสันติภาพและ การพัฒนาโดยใช้ Interfaith Dialogue
(3) การเป็นประธานการประชุมทบทวนไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
(2010 Review Conference of Non-Proliferation of Nuclear Weapon – NPT) ซึ่งสาระสำคัญเกี่ยวกับ การลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทาง สันติจำนวน 64 ข้อ ได้รับการ บรรจุไว้ในรายงานสุดท้ายของการประชุมดังกล่าว
(4) การส่งกองกำลังฟิลิปปินส์เข้าร่วมภารกิจรักษา สันติภาพของสหประชาชาติ และ
(5) การมีบทบาทที่แข็งขันในกรอบอาเซียน อาทิ บทบาทในฐานะ ประเทศผู้ประสานงานการเจรจา ระหว่างอาเซียน – สหรัฐอเมริกา การส่งเสริมการจัดทำแนวทางปฏิบัติ ในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct in South China Sea) รวมทั้งการสนับสนุนการทำงานของ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยขน ิอาเซียน


ความสัมพันธ์ทั่วไปกับประเทศไทย

1.1 การทูต
- ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2492 เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาคนปัจจุบัน คือ นายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย ละมีหน่วยงานในสถานเอกอัครราชทูตฯ
ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสำนักงานกงสุล
กิตติมศักดิ์ไทย ณ เมืองเซบู เอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ประจำ ประเทศไทย คนปัจจุบันคือ นางลิงลีไง เอฟ ลาคันลาเล
- ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทยกับฟิลิปปินส์ดำเนินไปอย่างราบรื่นและใกล้ชิดมานาน เป็นประเทศร่วมก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Treaty Organization - SEATO) และอาเซียน และเป็นแนวร่วมในอาเซียนและเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีทัศนคติและแนวคิด คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านประชาธิปไตยและการส่งเสริม สิทธิมนุษยชน มีกลไกความสัมพันธ์ ทวิภาคี ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วย ความร่วมมือ ทวิภาคี (Joint Commission on Bilateral Cooperation – JCBC) ตั้งเมื่อปี 2536 โดยมี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศของ ทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการ ประชุม JCBC ครั้งที่ 4 (ครั้งหลังสุด) เมื่อวันที่ 25 – 26 มีนาคม 2550 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ ปรับรูปแบบการประชุมโดยให้จัดการประชุมเป็น ประจำ ทุก 2 ปี โดยเป็นการ ประชุมระดับ เจ้าหน้าที่ ี่อาวุโสแล้วตามด้วยการประชุมระดับรัฐมนตรีใน ลักษณะไม่เป็นทางการ (Retreat) ฝ่ายฟิลิปปินส์มี กำหนดเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JCBC ครั้งที่ 5 ซึ่งในชั้นนี้ ฟิลิปปินส์เสนอจะจัดการประชุม ดังกล่าวในปี 2555
- ในปี 2552 ไทยกับฟิลิปปินส์ได้ครบรอบ 60 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต โดยมีการ
จัดกิจกรรม ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมฉลองโอกาสดังกล่าว อาทิ นิทรรศการศิลปะ การแสดงทาง วัฒนธรรม การแลกเปลี่ยน ผู้เชี่ยวชาญการอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดเทศกาลภาพยนตร์

1.2 เศรษฐกิจ
1.2.1 การค้า
- การค้าระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ระหว่างปี 2545 – 2554 เติบโตค่อนข้างดีสม่ำเสมอ ในปี 2554
ฟิลิปปินส์เป็น คู่ค้าลำดับ ที่ 5 ของไทยในอาเซียน และลำดับที่ 17 ในโลก มีมูลค่าการค้ารวม 7,343 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 1.12 ไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์ 4,641 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยนำเข้าจากฟิลิปปินส์ 2,702 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็น ฝ่ายได้ดุลการค้า 1,939 ล้านดอลลาร์
สหรัฐ ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 2 ของฟิลิปปินส์ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ และลำดับที่ 7 ของฟิลิปปินส์ในโลก โดยฟิลิปปินส์ส่งออกไปไทยเป็นลำดับที่ 9 และนำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 8 ของโลก ทั้งนี้ ไทยมักจะเป็นฝ่าย ได้ดุลการค้ากับ ฟิลิปปินส์เป็นส่วนใหญ่ ปัญหาทางการค้าที่ภาค เอกชนไทยประสบ ได้แก่
(1) การถูกเรียกเก็บภาษีซ้ำซ้อน (2) ปัญหาการทุ่มตลาดสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้านำเข้าจากจีน
(3) สายการบินต้องเสียภาษีสูงกว่าสายการบินฟิลิปปินส์และถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ในการใช้บริการ ท่าอากาศยานมะนิลา
(4) การมีกฎระเบียบและข้อกำหนดด้านสุขอนามัยและ โรคเกี่ยวกับพืชที่เข้มงวด และ
(5) การห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกสดและแช่แข็งจากไทยตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2547 จนถึง ปัจจุบัน ยัง ไม่มีการยกเลิก

1.2.2 การลงทุน
- ในปี 2553 ไทยลงทุนในฟิลิปปินส์เป็นอันดับที่ 18 (อันดับที่ 3 ในอาเซียน) ภาคเอกชนไทย ที่ลงทุนใน
ฟิลิปปินส์ ได้แก่ เครือโรงแรมดุสิตธานี โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
เครืออิตัลไทย เครือซิเมนต์ไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ และธนาคารกรุงเทพ ในขณะที่ฟิลิปปินส์ลงทุน ในไทย เป็นลำดับที่ 5 ของอาเซียน และในปี 2552 ได้รับอนุมัติโครงการจากคณะกรรมการ ส่งเสริม การลงทุน (BOI) จำนวน 2 โครงการ ภาคเอกชนฟิลิปปินส์ที่ลงทุนในไทยส่วนใหญ่เป็นสาขาอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่บริษัท Universal Robina (ขนมขบเคี้ยว) San Miguel (เบียร์) และบริษัท Thai Liwayway Food Industries (ขนมขบเคี้ยวยี่ห้อรินบี้และเครื่องดื่ม) ในปี 2553 มีโครงการจากฟิลิปปินส์ ได้รับใบประกาศอนุมัติ ส่งเสริมการลงทุน (Promotion Certificate Issue) จากสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ คือ กิจการโรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพ
- ฟิลิปปินส์มีปัจจัยบวกที่ดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ เช่น บุคลากรใช้ภาษาอังกฤษ
ได้ดี เป็นมิตร และตลาดภายในประเทศมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากมีจำนวนประชากรมาก
อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านการค้าการลงทุนที่ภาคเอกชนไทยประสบได้แก่
(1) การถูกเรียกเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน และไม่เป็นธรรม
(2) ปัญหาการทุ่มตลาดสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้านำเข้าจากจีนและเวียดนาม
(3) การมีกฎระเบียบและข้อกำหนดด้าน สุขอนามัย และโรคเกี่ยวกับพืชที่เข้มงวด
(4) การห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ สัตว์ปีกสดและแช่แข็ง จากไทยตั้งแต่ 23 มกราคม 2547 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการยกเลิก
(5) ปัญหาในการ ดำเนินธุรกิจและขยายกิจการ เช่น ปัญหาในการหาที่ดินที่เหมาะสม เพื่อประกอบ ธุรกิจ และ การครอบครองที่ดิน มีขั้นตอนที่ซับซ้อน และระบบขั้นตอนทางราชการที่ล่าช้า ค่าสาธารณูปโภคสูง การขาดความต่อเนื่องเชิง นโยบายและเสถียรภาพทางการเมือง และปัญหา การทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง

1.2.3 การท่องเที่ยว
- ในปี 2554 มีนักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปินส์มาไทย จำนวน 271,903 คน และนักท่องเที่ยวไทยไป ฟิลิปปินส์ ประมาณ 20,000 คน ปัจจุบัน มีชาวไทยอาศัยอยู่ในฟิลิปปินส์ประมาณ 650 คน รัฐบาลไทยและรัฐบาลฟิลิปปินส์ เห็นพ้อง ที่จะกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยให้มีการ แลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง การจับคู่ทางธุรกิจ และการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยม ีศักยภาพ อาทิ การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น และการ จัดทำโครงการจุดหมายปลายทางร่วมด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ (Thailand-Philippines Tourist Package) เนื่องจากทั้งสองประเทศมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ที่สวยงาม และเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของ อาเซียนในภาพ รวมอีกด้วย

ความตกลงที่สำคัญกับไทยความตกลงที่ลงนามไปแล้ว

2.1 ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือทางทหาร (ลงนามเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2490)

2.2 สนธิสัญญาไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ลงนามเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2492)

2.3 ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ว่าด้วย บริการ เดินอากาศ ระหว่างอาณาเขตของแต่ละฝ่าย (ลงนามเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2496)

2.4 ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ(ลงนามเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2505)

2.5 ความตกลงว่าด้วยที่ดิน (ลงนามเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2506)

2.6 ความตกลงทางวัฒนธรรมไทย – ฟิลิปปินส์ (ลงนามเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2518)

2.7 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการเกษตร (ลงนามเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2522)

2.8 สนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ว่า ด้วยการส่ง ผู้ร้ายข้ามแดน (ลงนามเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2524)

2.9อนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์เพื่อการเว้น

การเก็บ ภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ 
(ลงนามเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2525 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2526)

2.10 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (ลงนามเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2526)

2.11 คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Commission on Bilateral Cooperation - JCBC) (ลงนามเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2535)

2.12 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (ลงนามเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2536)

2.13 ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2538)

2.14 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาการเกษตร 
(ลงนามเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2540)

2.15 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร (ลงนามเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2540)

2.16 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง สาธารณรัฐ ฟิลิปปินส์ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (ลงนามเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2541)

2.17 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขจัดคราบน้ำมัน (ลงนามเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2542)

2.18 ความตกลงทางการค้า (ลงนามเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542)

2.19 สนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำ พิพากษา และ ความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (ลงนามเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544)

2.20 ความตกลงแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ และจัดตั้งวิธีการดำเนินการในการสื่อสาร(ลงนามเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545)

2.21 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร (ลงนามเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2546)

2.22 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในกิจกรรมเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 
(ลงนามเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2546)

2.23 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการซื้อขายข้าวไทย – ฟิลิปปินส์ (ลงนามเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2553)

2.24 บันทึกความตกลงว่าด้วยการซื้อขายข้าวไทย – ฟิลิปปินส์ (ลงนามเมื่อเดือนมิถุนายน 2554)
ความตกลงที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจัดทำ

2.25 อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย – ฟิลิปปินส์ (ฉบับแก้ไข)

2.26 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งสภาธุรกิจไทย – ฟิลิปปินส์

2.27 บันทึกความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนครู

2.28 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการปราบปรามยาเสพติดและสารตั้งต้นการผลิต

2.29 ถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการจัดตั้งเวทีหารือด้านพลังงาน ไทย - ฟิลิปปินส์    

การเยือนที่สำคัญ

3.1 ฝ่ายไทยพระราชวงศ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ   วันที่ 9 – 14 กรกฎาคม  2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร วันที่ 26 พฤศจิกายน 2548
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ เยือนฟิลิปปินส์ เพื่อทรงทำการบินเพื่อส่งเสด็จพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เพื่อทรงเข้าร่วมการ แข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 23

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- วันที่ 27 สิงหาคม - 2 กันยายน 2534
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ เพื่อทรงรับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการชุมชน ซึ่งมูลนิธิ รางวัลรามอน แมกไซไซ ทูลเกล้าฯ ถวาย วันที่ 15 - 18 พฤศจิกายน 2552
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ เพื่อทรงเปิดและเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ นานาชาติ ด้านพันธุกรรมข้าว ครั้งที่ 6 (The 6th InternationalRiceGeneticsSymposium)    และทรงเปิดนิทรรศการฉลองการสถาปนา
สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute - IRRI) ครบรอบ 50 ปี 
  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ อัครราชกุมารี

วันที่ 24 - 26 กรกฎาคม 2535
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ 
อัครราชกุมารี เสด็จเยือนฟิลิปปินส์ พระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
 วันที่ 11 - 14 มีนาคม 2540
พระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นองค์ประธานการเปิดโรงแรมดุสิตธานี มะนิลา และเป็นองค์ประธานพิธีเปิดศาลาไทย ณ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ วิทยาเขตลอส บายอส พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
 วันที่ 26 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2548
พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 23

รัฐบาล/นายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
 วันที่ 12 – 13 ตุลาคม 2544
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ วันที่ 7 – 8 กันยายน 2546
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนฟิลิปปินส์ตามคำเชิญ ของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เพื่อกล่าวสุนทรพจน์เรื่อง “Thaksinomics” ต่อ Philippine Chamber of Commerce and Industry - PCCI และ Philippine-Thailand Business Council – PTBC ละเพื่อร่วมในพิธีส่งมอบเครื่องบินโจมตีแบบ OV-10 ซึ่งกองทัพอากาศไทยปลดประจำการแล้วให้แก่กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ตามคำขอของฟิลิปปินส์เพื่อ เสริมสร้างสมรรถนะของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์
 วันที่ 30 – 31 มกราคม 2547
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง 
ประเทศ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือของเอเชียตะวันออก  ละตินอเมริกา (Forum for East Asia-Latin America Cooperation – FEALAC) 
  วันที่ 29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2547
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมาย ให้รองนายกรัฐมนตรี (ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์) เข้าร่วมพิธีสาบานตน เข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย 
- วันที่ 10 - 12 เมษายน 2548
นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ ที่เมืองเซบูและเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ   วันที่ 23 ตุลาคม 2549
พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ
  วันที่ 10 – 14 ธันวาคม 2549
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศอาเซียน ที่เมืองเซบู   วันที่ 13 - 15 มกราคม 2550
พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 และการประชุมสุดยอดอื่น ๆ ณ เมืองเซบู  วันที่ 2 - 3 สิงหาคม 2550
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ  วันที่ 22 - 23 พฤษภาคม 2551
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2551
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็น ทางการ
  วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ
 วันที่ 14 สิงหาคม 2552
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็น 
ทางการ  วันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2553
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เยือนฟิลิปปินส์ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทยเพื่อเข้าร่วม พิธีสาบานตนการดำรงตำแหน่งของ นายเบนิกโน อาคีโน ที่สาม ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ วันที่ 19 มกราคม 2555     
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ

ฝ่ายฟิลิปปินส์
รัฐบาลประธานาธิบดี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 15 - 19 มกราคม 2511
นายเฟอร์ดินัน อี.มาร์กอส ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์และภริยาเยือนประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 7 - 8 พฤษภาคม 2545
นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ วันที่ 29 เมษายน 2546
นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วม การประชุมสุดยอดอาเซียน - จีน สมัยพิเศษว่าด้วยโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome – SARS)
- วันที่ 21 – 22 มิถุนายน 2546
นายบลาส เอฟ อ๊อบ-เล่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ เข้า ร่วมการประชุม Asia Cooperation Dialogue ที่จังหวัดเชียงใหม่
  วันที่ 20 - 21 ตุลาคม 2546 นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เยือนประเทศไทยเพื่อ เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 11   วันที่ 4 - 5 มีนาคม 2548
นายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศฟิลิปปินส์ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ในฐานะแขกของ กระทรวงการต่างประเทศ   วันที่ 10 - 15 กรกฎาคม 2548
นายฟิเดล รามอส อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เยือน ประเทศไทย เพื่อร่วมการประชุม The International Association of University Presidents (IAUP) ครั้งที่ 14   วันที่ 12 – 16 กุมภาพันธ์ 2549
นายฟิเดล รามอส อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการ ประชุมคณะผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องกฎบัตรอาเซียน ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ 
วันที่ 16 - 18 กรกฎาคม 2549
นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แวะพัก
ที่ห้อง รับรองพิเศษ สนามบินดอนเมือง ก่อนและหลังการเยือนลิเบียอย่างเป็นทางการ 
วันที่ 13 สิงหาคม 2549 นายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศฟิลิปปินส์ แวะพักที่ห้องรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานดอนเมือง หลังการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ ก่อนเดินทางกลับฟิลิปปินส์ 
วันที่ 24 - 27 มีนาคม 2550
นายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศ ฟิลิปปินส์ เยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ ทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4
  วันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์
เยือน ประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14  วันที่ 10 - 12 เมษายน 2552 นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอด อาเซียน+3 ครั้งที่ 12 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 4 วันที่ 23 - 25 ตุลาคม 2552 นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เยือน ประเทศไทยเพื่อเข้าร่วม การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 
   วันที่ 26 - 27 พฤษภาคม 2554
นายเบนิกโน เอส อาคิโน ที่สาม ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

เครื่องดนตรีประจำชาติฟิลิปปินส์

ดนตรีและศิลปะชาวฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากทั้งสองวัฒนธรรมที่มีการย้ายไปยังประเทศนี้ ประเภทแรกของเพลงที่พัฒนาขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์เป็นเพลงพื้นเมืองที่อพยพมาจากไต้หวัน ลักษณะภาคใต้ ภาคเหนืออื่นๆ ลักษณะและรูปแบบลักษณะจะมีสามกลุ่มพื้นฐานของดนตรีพื้นเมือง สไตล์ภาคใต้ของเพลงมักจะเกี่ยวข้องกับการใช้ที่แตกต่างกันรวมทั้งห้า Kulintang,Agung,Gangdinagan,Dabakan และ Babedil รูปแบบของดนตรีพื้นบ้านเภาคเหนือของเพลงสะท้อนให้เห็นถึงฆ้องเอเซีย เพลงของพวกเขามักจะมีฆ้อง Unbossed เรียกว่า Gangsa นอกเหนือจากเครื่องมือที่ใช้ในภาคใต้และภาคเหนือของสไตล์ดนตรี อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในประเทศฟิลิปปินส์รวมถึงการเข้าสู่ระบบกลอง ปี่ zithers ไม้ไผ่และ Kudyapi        สเปนและโปรตุเกสวัฒนธรรมจากสเปนและเม็กซิโกมีอิทธิพลอย่างยิ่งการพัฒนาของฟิลิปปินส์ วัฒนธรรมเหล่านี้ได้นำรูปแบบดนตรี Harana Kundiman และ Rondalla ส่วนใหญ่ของเหล่านี้รูปแบบการพัฒนาเป็นเพลงเม็กซิกันและของชนเผ่าระหว่างดนตรีและฟิวชั่นและรูปแบบดั้งเดิมสเปน วันนี้วันที่เม็กซิโกอิทธิพลของสเปนและยังคงอยู่ในเพลงฟิลิปปินส์ทันสมัย โมเดิร์นเพลงที่นิยมในฟิลิปปินส์ยังคงมีรสชาติสเปนและโปรตุเกส

Kudyapi เป็นพิณรูปคล้ายเรือ อยู่ในตระกูลเดียวกับ Sape ที่พบที่บอร์เนียวและอินโดนีเซีย ถูกจัดให้อยู่ในตระกูล “เครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ที่มีรูปทรงเรือ” บางครั้ง Kudyapi จะมีความยาวประมาณ 4 ถึง 6 ฟุต



Gandingan เป็นชุดของฆ้องแขวนขนาดใหญ่ 4 อัน ใช้เล่นเป็นส่วนหนึ่งของวงมโหรี Kulintang เมื่อรวมเข้ากับวงแล้ว Gangingan จะมีหน้าที่เป็นเครื่องดนตรีชิ้นที่สองเล่นหลังจากเครื่องดนตรีทำนองหลัก เมื่อเล่น Gandingan เดี่ยว ๆ จะเป็นสัญญาณสื่อสารโดยส่งข้อความหรือคำเตือนในระยะไกล



Debakan







Chimes
CREATOR: gd-jpeg v1.0 (using IJG JPEG v62), quality = 75

ดนตรีและศิลปะฟิลิปปินส์
ดนตรีและศิลปะชาวฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากทั้งสองวัฒนธรรมที่มีการย้ายไปยังประเทศนี้ ประเภทแรกของเพลงที่พัฒนาขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์เป็นเพลงพื้นเมืองที่อพยพมาจากไต้หวัน ลักษณะภาคใต้ ภาคเหนืออื่นๆ ลักษณะและรูปแบบลักษณะจะมีสามกลุ่มพื้นฐานของดนตรีพื้นเมือง สไตล์ภาคใต้ของเพลงมักจะเกี่ยวข้องกับการใช้ที่แตกต่างกันรวมทั้งห้า Kulintang,Agung,Gangdinagan,Dabakan และ Babedil รูปแบบของดนตรีพื้นบ้านเภาคเหนือของเพลงสะท้อนให้เห็นถึงฆ้องเอเซีย เพลงของพวกเขามักจะมีฆ้อง Unbossed เรียกว่า Gangsa นอกเหนือจากเครื่องมือที่ใช้ในภาคใต้และภาคเหนือของสไตล์ดนตรี อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในประเทศฟิลิปปินส์รวมถึงการเข้าสู่ระบบกลอง ปี่ zithers ไม้ไผ่และ Kudyapi
สเปนและโปรตุเกสวัฒนธรรมจากสเปนและเม็กซิโกมีอิทธิพลอย่างยิ่งการพัฒนาของฟิลิปปินส์ วัฒนธรรมเหล่านี้ได้นำรูปแบบดนตรี Harana Kundiman และ Rondalla ส่วนใหญ่ของเหล่านี้รูปแบบการพัฒนาเป็นเพลงเม็กซิกันและของชนเผ่าระหว่างดนตรีและฟิวชั่นและรูปแบบดั้งเดิมสเปน วันนี้วันที่เม็กซิโกอิทธิพลของสเปนและยังคงอยู่ในเพลงฟิลิปปินส์ทันสมัย โมเดิร์นเพลงที่นิยมในฟิลิปปินส์ยังคงมีรสชาติสเปนและโปรตุเกส
ฟิลิปปินส์ศิลปะมีรากฐานมาจากประเพณีพื้นเมืองและโคโลเนียลการนำเข้า เช่นเดียวกับวัฒนธรรมมากที่สุดประเทศฟิลิปปินส์มีสไตล์เป็นของตัวเองชอบศิลปะพลาสติกประติมากรรมและภาพวาด แต่พวกเขายังมีสไตล์ของตัวเองชอบการเต้นศิลปะการเคลื่อนไหว บางส่วนของศิลปินที่มืชื่อเสียงมากที่สุดจากประเทศฟิลิปปินส์ Fernando Amorsolo, David Cortes Medalla, Nunelucio Alvardao,Juan Luna

วัฒนธรรมประเทศ ฟิลิปปินส์
วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่
เทศกาลอาติ – อาติหาน (Ati - Atihan)
จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ “เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)
*เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)

งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู (Cebu)
ดนตรีและศิลปะฟิลิปปินส์
ดนตรีและศิลปะชาวฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากทั้งสองวัฒนธรรมที่มี
การย้ายไปยังประเทศนี้ ประเภทแรกของเพลงที่พัฒนาขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์เป็นเพลงพื้นเมืองที่อพยพมาจากไต้หวัน ลักษณะภาคใต้ ภาคเหนืออื่นๆ ลักษณะและรูปแบบลักษณะจะมีสามกลุ่มพื้นฐานของดนตรีพื้นเมือง สไตล์ภาคใต้ของเพลงมักจะเกี่ยวข้องกับการใช้ที่แตกต่างกันรวมทั้งห้า Kulintang,Agung,Gangdinagan,Dabakan และ Babedil รูปแบบของดนตรีพื้นบ้านเภาคเหนือของเพลงสะท้อนให้เห็นถึงฆ้องเอเซีย เพลงของพวกเขามักจะมีฆ้อง Unbossed เรียกว่า Gangsa นอกเหนือจากเครื่องมือที่ใช้ในภาคใต้และภาคเหนือของสไตล์ดนตรี อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในประเทศฟิลิปปินส์รวมถึงการเข้าสู่ระบบกลอง ปี่ zithers ไม้ไผ่และ Kudyapi

เทศกาลอาติ - อาติหาน ( Ati – Atihan )




เทศกาลชินูล๊อก  (  Sinulog )


เทศกาลดินาญัง  ( Dinayang )



การแต่งกายฟิลิปปินส์

ชนเผ่าเดิมของฟิลิปปินส์ คือ นิโกรโตส์ (Negritos) อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย ต่อมาชนเผ่าอินโดนีเซียได้เข้ามาอยู่ในประเทศนี้ เป็นพวกเชื้อชาติมองโมลอยด์ ผสมคอเคเซียน ที่มีเหลืออยู่ในฟิลิปปินส์ ได้แก่ พวกอีลองโกทส์ ต่อมาชนเผ่ามาเลย์ (Melags) เข้ามาอาศัยอยู่ พวกมาเลย์ได้มีการติดต่อทางวัฒนธรรมกับพวกอินเดีย จีน อาหรับมาแล้ว จึงมีการปกครอง กฎหมาย ศาสนา วรรณคดี ศิลป วิทยาศาสตร์เป็นของตนเอง พวกมาเลย์อพยพเข้ามาฟิลิปปินส์ หลายครั้ง ครั้งที่ 2 ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของพวกตากาล็อค วิสายัน อีโกกาโน ปอมปังโก และพวก ฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนพวกที่เข้ามาครั้งที่ 3 จะนับถือศาสนาพระมะหะหมัด เป็น บรรพบุรุษของพวกฟิลิปปินโน – มุสลิม อยู่ในเกาะมินดาเนา และซูลู ฟิลิปปินส์เป็นศูนย์กลางการค้าแห่งเอเซีย มีประเทศในเอเซียและตะวันออกไกลเข้ามาทำ การค้าขายด้วย จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 พวกแขกมะหะหมัดแผ่อิทธิพลเข้ามา การค้าขายกับ ประเทศเพื่อนบ้านในเอเซียลดน้อยลง จนกระทั่งชาวสเปนเข้ามา แล้วได้ทราบว่าวัฒนธรรมและ ความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย จีน และชาวอาหรับ

การแต่งกายของชาวฟิลิปปินส์ในยุคนั้น นิยมใช้เครื่องประดับกาย ชาวเกาะ วิสายัน ชอบสักตามใบหน้า ร่างกาย และแขนขา ชายหญิงสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำและเพชร พลอย ชาวพื้น เมืองนิยมใส่ปลอกแขน กำไล และสร้อยคอ ก่อนสเปนเข้าครอบครอง สังคมแบ่ง ออกเป็น3ชนชิ้นคือขุนนางเสรีชนและทาส
ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 สเปนก็พบฟิลิปปินส์เป็นชาติแรก ต่อมาเกาะทุกเกาะก็ตกอยู่ ในการปกครองของสเปน และได้รับอารยธรรมต่าง ๆ ตลอดจนประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมการ แต่งกาย และการดำเนินชีวิต ส่วนการแต่งกายก็ไม่มีการสวมเสื้อ แต่งกายแบบชาวเกาะ นิยม ตกแต่งด้วยเครื่องประดับและสักตามร่างกายดังกล่าวแล้ว
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิลิปปินส์ได้เอกราชตามสนธิสัญญา เหตุการณ์บ้านเมือง ศิลปวัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย ก็มีการผสมผสานกันระหว่างชาวยุโรป เอเชีย และตะวันตกเครื่องแต่งกายประจำชาติเป็นเสื้อคอกว้างแบบตะวันตก แขนยกตั้งเป็นปีกกว้าง ทำด้วยผ้า บางและแข็งอย่างไหมสับปะรด นุ่งกระโปรงติดกับเสื้อเป็นชุดเดียวกัน ส่วนตามเกาะต่าง ๆ มีการ แต่งกายแบบคล้ายชาวมลายู และอินโดนีเซีย คือ นุ่งโสร่งปาเต๊ะ สวมเสื้อผ้าไหมสับปะรดหรือแพร แขนกระบอกยาวจดข้อมือ มีผ้าพาดบ่า ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาวทำจากใบสับปะรดนุ่งกางเกงแบบสากล
การทอผ้าใยสับปะรดทองฟิลิปปินส์ ทอกันมากกว่า 400 ปี หรือมากกว่า การทอใย สับปะรดเป็นงานที่ละเอียดอ่อนใช้เวลามาก ใยสับปะรดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวดีมาก โดยเฉพาะ เส้นใยของสับปะรดที่ได้จากเมืองอะคลัน






การแต่งกายของชาวฟิลิปปินส์ 
อาหารประเทศฟิลิปปินส์
อโดโบ้ (Adobo)
เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม ของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจาก ภาคเหนือของฟิลิปปินส์  และเป็นที่นิยมของนักเดินทางหรือ นักเดินเขา อโดโบ้ทำจากหมูหรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบ หรือ ทอด และรับประทานกับข้าว
สถานที่ท่องเทียวของประเทศฟิลิปปินส์
ป้อมซานติเอโก (Fort Santiago)
ป้อมซานติเอโก (Fort Santiago) ซึ่งเป็นด่านแรกที่ป้องกันการโจมตีจากข้าศึก ที่เข้ามาทางปากแม่น้ำปาซิก จากอ่าวมะนิลา ป้อมแห่งนี้ถูกทำลายจากการโจมตีของกองทัพสหรัฐ ต่อมาได้บูรณะซ่อมแซมเพื่อให้เป็น “ปูชนียสถานแห่งเสรีภาพ ” (Shrine of Freedom) บริเวณรอบป้อมมีสวนหย่อม รายล้อมโดยมีรถม้าให้บริการ พาชมรอบบริเวณ บริเวณดังกล่าว ยังมีสถานที่คุมขังนักโทษ ที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำปากแม่น้ำปาซิก และส่วนหนึ่งของป้อมนี้ ถูกทำเป็นสนามกอล์ฟอย่างสวยงาม
กรุงมะนิลา
กรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของการร้องรำทำเพลง ประชาชนรักเสียงเพลงและความสนุกสนาน มะนิลาคือศูนย์กลางของเขตมหานครที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันออกของอ่าวมะนิลา (Manila Bay) บนเกาะลูซอนซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา และอุตสาหกรรมรมของประเทศ

คำศัพท์พื้นฐาน

Hello                        สวัสดี                      กามุสตา       
Good  morning        สวัสดีตอนเช้า              มากันดัง อุมมากะ      
Good  afternoon      สวัสดีตอนบ่าย             มากันดัง ฮาโปน      
Good  evening         สวัสดีตอนเย็น              มากันดัง กาบี       
Good  bye               ลาก่อน                      ปาอาลัม
Thank  you              ขอบคุณ                     มารามิง ซาลามัต
You're welome.        ไม่เป็นไร                    วาลัง อนูมาน 
How  are  you?        สบายดีไหม                  กามุสตา โปะ คาโย
l'm fine, and you?    ฉันสบายดี แล้วคุณล่ะ      มาบูติ โปะ บา คาโย
คำว่า  โปะ  (po)  มีความหมายแสดงอ่อนน้อม  คล้ายกับคำว่า ครับหรือค่ะของภาษาไทย

การนับเลข

1   -  อิสะ      
2   -  ดาลาวะ
3   -  แททโล 
4   -  ไอแพท 
5   -  ลิมา       
6   -  อานิม    
7   -  พิทอง   
8   -  วาไล
9   -  ซิยาม    
10  -  แซมพัง

คำทักทาย

สวัสดี                   กูมูสต้า                     (kumusta)     
ขอบคุณ                ซาลามัต                   (salamat)     
สบายดีไหม            กูมูสต้า กา                (kumusta ka)     
ยินดีที่ได้รู้จัก          นาตูตูวา นาอลัม โม     (natutuwa na alam no)     
พบกันใหม่             มากิตา คายอง มูลิ      (makita kayong muli)     
ลาก่อน                 ปาอาลัม                  (paalam)     
นอนหลับฝันดี        มาทูลอก นัง มาบูติ      (matulog nang mabuti)     
เชิญ                    แมค อันยาย่า            (mag-anyaya)     
ใช่                      โอ้โอ                       (oo)     
ไม่ใช่                  ฮินดี้                        (hindi)     
อากาศดีจัง          มากันดัง พานาฮอน      (magandang panahon)     
อากาศร้อนมาก    มัสยาดอง มาอินิท        (masyadong mainit)     
อากาศหนาวมาก  มัสยาดอง มาลามิค พานาฮอน     (masyadong malamig panahon)    
ไม่เป็นไร            ฮินดี้ บาเล                 (hindi bale)

อาหาร

น้ำ                   ทูบิก                        (tubig)     
น้ำชา                อั๊ง จะอ้า                   (ang tsaa)     
น้ำแข็ง              เยโล่                        (yelo)     
กาแฟ               อั๊ง ขะเพ่                   (ang kape)     
กาแฟเย็น         เยโล่ ขะเพ่                  (yelo kape)     
กาแฟร้อน        มาอินิด นา ขะเพ่          (mainit na kape)     
นม                กาตัส                        (gatas)     
ครีม              ครีม                          (cream)     
น้ำผลไม้         จู๊ยส์                          (juice)     
เนื้อหมู          อั๊ง บาโบย                   (ang baboy)     
ไก่               อั๊ง มะนก                    (ang manok)     
ปลา            อั๊ง อิสด้า                     (ang isda)     
เนื้อวัว         อั๊ง คาเน่                      (ang karne)     
ผัก             กูเล                            (gulay)     
ผลไม้          อั๊ง พรูตัส                     (ang prutas)     
อร่อย         มาซารับ                       (masarap)     
ไม่อร่อย      ฮินดี้ มาซารับ                (hindi masarap)     
เผ็ด           มาอางแฮง                    (maanghang)     
หวาน        มาตามิส                       (matamis)     
เปรี้ยว       มาซิม                          (maasim)     
เค็ม          มาลัด                          (maalat)     
ก๋วยเตี๋ยว    มิกิ                             (miki)     
น้ำแกง      โซปัส                          (sopas)     
ของหวาน   ฮิมากัส                       (himagas)     
ขนม         ดิเซิ้ร์ท                        (dessert)     
ไอศครีม    ซอร์เบเทส                    (sorbetes)     
แยม                                         Diyam

ซื้อของ

ราคาเท่าไร        มักกาโน่                           (magkano)     
ลดราคาได้ไหม   ซาแพคเบเบนต้า ซา อะคิน     (sa pagbebenta sa akin)     
เงินทอน           อั๊ง แพคบาบาโก                 (ang pagbabago)     
เงินสด             แคช                               (cash)     
บัตรเครดิต       เครดิต การ์ด                     (credit card)     
ราคาแพง         มาฮาล                            (mahal)     
ราคาถูก           มูร่า                               (mura)     
ซื้อ                 บูมิลิ                              (bumili)     
ไม่ซื้อ              ฮินดี้ บูมิลิ                        (hindi bumili)     
เสื้อผ้า             เทล่า                              (tela)     
รองเท้า           ซาปาโตส                         (sapatos)     
เครื่องสำอางค์    คอสเมติโก้                      (kosmetiko)     
ยา                  กาม้อต                          (gamot)     
เครื่องใช้ไฟฟ้า    กาซังกาปาน                    (kasangkapan)     
กระเป๋า            ซูพด                             (supot)     
กระเป๋าสตางค์    พิตาก้า                         (pitaka)     
หนังสือเดินทาง    พาสปอร์ตเต้                 (passporte)