วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

ข้อคิดเห็นต่อการพัฒนานักเรียน

ข้อคิดเห็นต่อการพัฒนานักเรียน โดย อาจารย์ระวีวรรณ กนิษฐานนท์ 1. ความรับผิดชอบต่อการเรียน 2. ไม่นำข่าวสารหรือการสื่อสารจากทางโรงเรียนให้กับผู้ปกครอง (ใบตอบรับ) 3. การสอบซ่อม ตกรายวิชาสะสมจำนวนมาก 4. เล่นเครื่องมือสื่อสารตลอดเวลา ทำให้ขาดสมาธิไม่ฟังหรือสนใจเรียน 5. ไม่ยอมรับผิด ชอบโยนความผิดให้ผู้อื่น 6. ลอกการบ้าน ลอกงานต่างๆเพื่อแค่ส่ง 7. การมาโรงเรียนเพื่อมาฝึกความเป็นสุภาพชน 8. แต่งกายถูกระเบียบ เครื่องแต่งกายแสดงถึงศักดิ์ศรีของสถาบัน กาละเทศะในการแต่งกายในการติดต่องานราชการและโรงเรียน 9. ไม่แบ่งเวลาในการเล่น การเรียน เวาลาพัก เวลาเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

กฏกระทรวงเครื่องแต่งกาย ทรงผม ฉบับบร่าง

-ร่าง- กฎกระทรวง กำหนดความประพฤติ การแต่งกาย และแบบทรงผมของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. .... -------------------------------------------------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๕ (๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๕ (๓) กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้ “นักเรียน” หมายความว่า ผู้ซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน “นักศึกษา” หมายความว่า ผู้ซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาและระดับต่ำกว่าปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน หมวด ๑ ความประพฤติ ข้อ ๓ นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตนสังกัดอยู่ และต้องไม่ประพฤติตน ดังต่อไปนี้ (๑) หนีเรียนหรือออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน (๒) เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือมั่วสุมในวงการพนัน (๓) พกพาอาวุธหรือวัตถุระเบิด (๔) ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด . (๕) ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจเพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น (๖) ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน (๗) แสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ -๒- (๘) เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี (๙) ออกนอกสถานที่พักเวลากลางคืน เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่ม อันเป็นการสร้าง ความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ข้อ ๔ นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตนสังกัดอยู่ ข้อ ๕ โรงเรียนหรือสถานศึกษาอาจกำหนดระเบียบว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาเพื่อผ่อนคลายได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ หมวด ๒ การแต่งกาย ข้อ ๖ นักเรียนและนักศึกษาต้องไม่แต่งกายไม่สมควรแก่วัยหรือไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ข้อ ๗ นักเรียนต้องแต่งกายหรือแต่งเครื่องแบบนักเรียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน นักศึกษาต้องแต่งกายหรือแต่งเครื่องแบบนักศึกษาตามข้อบังคับหรือระเบียบของสถานศึกษานั้น ข้อ ๘ นักเรียนและนักศึกษาต้องไม่ใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งปลอมเพื่อเสริมสวย หมวด ๓ แบบทรงผม ข้อ ๙ นักเรียนต้องไว้ทรงผมแบบสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ ดังนี้ ๑) นักเรียนชายให้ไว้ผมด้านข้างและด้านหลังยาวไม่เลยตีนผม เช่น แบบทรงผมรองทรง ๒) นักเรียนหญิงให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ยาวก็ให้รวบให้เรียบร้อย ห้ามนักเรียน ดัดผม ซอยผม ทำสีผม ไว้หนวดเครา หรือทำการอื่นใดที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน หากมีความจำเป็นต้องไว้ทรงผมแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เนื่องจากความจำเป็นทางศาสนา ประเพณีหรือความจำเป็นอื่นใด ก็ให้อยู่ในอำนาจของสถานศึกษานั้นเป็นผู้พิจารณา ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับกับนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษานั้น ข้อ ๑๐ โรงเรียนหรือสถานศึกษาอาจกำหนดแบบทรงผมของนักเรียนและนักศึกษาเพื่อ ผ่อนคลายได้ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ทำอย่างไรให้เรียนรู้มากขึ้น....

ทำอย่างไรให้สอนน้อยลง…ได้เรียนรู้มากขึ้น มีผู้กล่าวว่า “การปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน” เป็นแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เริ่มทำมานานมากกว่า 10 ปีแล้ว แต่กลับเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายสำหรับครูส่วนมาก เมื่ออบรมเสร็จแล้ว ก็ขาดการนำไปใช้จริงในห้องเรียนมักเป็นเรื่องสูญเปล่า ดังนั้นการนิเทศภายในของสถานศึกษายังมีความจำเป็นในการจัดการเรียน การสอนของครู ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมร่วมกัน อย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ในส่วนของการเรียนการสอน หากผู้สอนใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน้อยลง แต่เพิ่มเวลาให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น และผู้เรียนเกิดการเรียน รู้มาก ย่อมถือว่าเป็นประสิทธิภาพในการสอนดีของครูที่เลือกใช้นวัตกรรมการสอนได้ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน นับเป็นการสอนน้อยลง…ได้เรียนรู้มากขึ้น (Teach less , Learn More) ถ้าเปรียบได้กับทางด้านเศรษฐกิจ เราจะลงทุนน้อยได้กำไรมาก ส่วนผู้สอนได้ใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่ง มีความเหนื่อยยาก และใช้เวลาเพื่อการนี้เป็นจำนวนมากจนไม่มีเวลาที่จะทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่มนุษย์ปกติเขาทำกัน แต่ผลที่ได้ออกมามันไม่มากเหมือนที่ได้ตั้งใจร่วมกันเอาไว้ กล่าวคือ คนเรียนสอบตกมากกว่าสอบได้ ดังผลการทดสอบระดับชาติที่ปรากฏให้ทราบกันแล้ว นับเป็นการลงทุนมากแต่ได้กำไรน้อย และเมื่อพบว่าประสิทธิภาพของการเรียนการสอนน้อยหรือต่ำ ในศตวรรษที่ 21 ครูต้องการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผลมากขึ้น ใช้เวลาในการสอนน้อยลงและผู้เรียนมีความเข้าใจมากขึ้น ต้องทำอย่างไรจึงจะยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน ผู้เรียนแต่ละคน มีวิธีการรับรู้ต่างกัน สามารถเรียนรู้ด้วยทักษะที่ต่างกัน มีความถนัดในการทำความเข้าใจที่ไม่เหมือนกัน ครูที่เข้าใจในวิธีการรับรู้และการเรียนรู้ประเภทต่างๆ จะสามารถยก ระดับคุณภาพการเรียนการสอนให้สูงขึ้นได้ โดยใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิมและมีประสิทธิผลมากขึ้น มีเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนดีขึ้น มีความเข้าใจกันมากขึ้น ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน มุ่งมั่นในการเรียนรู้ ผลการเรียนดีขึ้น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้น นอกจากสอนน้อยแล้ว ที่สำคัญกว่านั้นคือ สอนเท่าที่จำเป็น ครูต้องรู้ว่าตรงไหนควรสอน ตรงไหนไม่ควรสอน เพราะเด็กเรียนได้เอง โดยครูออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กเรียนจากกิจกรรม นั้น แล้วครูชวนเด็กฝึกค้นคว้าหาความรู้ ว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง และยังไม่ได้เรียนรู้อะไรบ้าง ครูจะเข้าใจอัตราความเร็วของการเรียนรู้ของเด็กที่หัวไวไม่เท่ากัน และที่สำคัญยิ่งคือ ให้เด็กบอกว่าอยากเรียนรู้อะไรบ้าง สำหรับครูเอามาออกแบบการเรียนรู้ต่อไป ในส่วนของพฤติกรรม แต่ละคน ต้องการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เพื่ออนาคตของศิษย์ทุกคน

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

เด็กคนหนึ่งต้องมีความเก่งสักอย่างหนึ่ง เพียงแต่หาให้เจอ....

แผนการเรียนดุริยางคศิลป์เชื่อมโยงโครงการเพาะบ่มพหุปัญญา ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) ของ Howard Gardner - เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล แตกต่างกัน - คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะสูงทุกด้านบางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง - ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝน ที่ดี มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ - ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ การ เรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ครูมีหน้าที่จัดประการณ์ในห้องเรียน เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน นักจิตวิทยาได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งสัตว์และมนุษย์ และได้ค้นพบหลักการที่ใช้ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ ทฤษฎีของการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่จะขอนำมากล่าวเพียง 3 ทฤษฎี คือ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม 2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา 1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม 1.พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้ 2.พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง 3.แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้ นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) หมาย ถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิด ขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) 2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior) เป็น พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยม 1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า ผู้ ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฏการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฏการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ำลายของสุนัขและต่อสายรับน้ำลายไหลออกสู่ ขวดแก้วสำหรับวัดปริมาณน้ำลาย จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่น กระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวาง เงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเบบคลาสสิก จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ดังนี้ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดลองของพาฟลอฟ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ และกฏการเรียนรู้ดังนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้ 1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ 2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ 3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตาม ธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ 4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะ ลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปราฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ 5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง

วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556

ศาสตราจารย์เมธี ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ อัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยไวโอลิน



ศึกษาเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน  ของรองศาสตราจารย์  ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ
THE ANALYSIS  STUDIED VIOLIN  SOLO  OF  LAO – PAN  SONG  BY  PROF.DR.  KOVITH   KANTASIRI 

ยงยุทธ  เอี่ยมสอาด1,ดร.ชนิดา  ตังเดชะหิรัญ2
Yongyuth  Eiamsa - ard1, Dr. JanidaTangdajahiran 2
1สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
1Ethnomusicology, Srinakharinwirot University.
2คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University.

บทคัดย่อ
             รองศาสตราจารย์ ดร. โกวิทย์    ขันธศิริ   เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2484  เกิดที่กรุงเทพมหานครย่านฝั่งธนบุรี  บิดาชื่อนายสมบุญ  ขันธศิริ  มารดาชื่อนางสมจิตต์  ขันธศิริ  มีน้องสาวหนึ่งคน  คือ รองศาสตราจารย์อรวรรณ  บรรจงศิลป์  มีบุตร 1 คน  คือนายปิยะวิทย์  ขันธศิริ  คุณพ่อคุณแม่เป็นชาวอยุธยา  ท่านเติบโตในครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ชอบดนตรีไทยมาก  โดยเฉพาะคุณพ่อมีความสามารถเล่นซออู้และไวโอลิน  และเป็นครูสอนดนตรีคนแรกของท่าน   ต่อมาท่านเรียนดนตรีกับนายจำนง   ราชกิจ  และคุณหลวงไพเราะเสียงซอ    ได้เรียนเพลงไทยประเภทเพลงเดี่ยว  เช่น เพลงนกขมิ้น  เพลงสารถี เพลงพญาโศก  เพลงแขกมอญและเพลงสุดสงวน เป็นต้น 
การศึกษาดนตรีสากลท่านสอบได้ประกาศนียบัตรทางการเล่นไวโอลินเกรด 8  จาก Royal  School  of  Music, UK  จบปริญญาตรี  K.C.M.  Royal  Conservatory  of Music , Natherlandจบปริญญาโท  M.A.  in  Misicology-Ethnomusicology   Kent  State  University , Ohio  USA. และจบการศึกษาปริญญาเอกทางดนตรีเปรียบเทียบ (Music  Comparative)  Sussex  College  of   Technology , UK.  
การเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน  ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ  จากแนวคิดที่ว่า  คนเล่นไวโอลินก็จะเล่นแต่บทเพลงคลาสสิก  ส่วนคนคนเล่นซอไทยก็จะเล่นแต่เพลงไทย ไม่มีใครนำสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกัน เพื่อทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก แต่ต้องไม่ทิ้งความเป็นไทย เพียงแต่นำสีสัน สำเนียง เอกลักษณ์ของเสียงและ เทคนิคไวโอลินมาใช้อย่างเหมาะสม  เป็นอัตลักษณ์เพลงไทย เป็นนวัตกรรมขึ้นมาใหม่  โดยไม่ทำลายให้เสียหาย  สามารถเรียกว่าเป็นอัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไวโอลิน
การวิเคราะห์บทเพลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  ได้ทำการวิเคราะห์ในท่อนเดี่ยว  โดยนำทำนองเพลงลาวแพนทางของครูดนตรีไทยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ในแนวคิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก  มาบรรเลงตามขนบแบบไทย นำสีสัน  สำเนียง เอกลักษณ์ของเสียง และเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม
มีการนำเทคนิคมือขวา  การเล่นโน้ตหลายๆตัว (Loure Bowing ) การขยายส่วน  ( Augmentation  )  เทคนิคการขยายส่วนจังหวะให้มีความยาวเป็น 2 เท่าหรือยาวกว่านั้น  มีการนำเทคนิคการพรมนิ้ว ( The Trill )  การเล่นโน้ต 2 ตัวสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว  เทคนิคโน้ตประดับ ( Turn  )กลุ่มโน้ต 4 – 5 ตัวที่เป็นโน้ตประดับของโน้ตหลัก มีลักษณะการขึ้นลงที่มีแบบแผน เทคนิคการไล่เลียน ( Imitation )การเลียนการไล่เลียนกันของทำนองระหว่าง 2 แนว ขึ้นไป  ประโยคถาม ( Antecedent ) ทำนองถาม  ประโยคที่ตามด้วยประโยคตอบ   มีการนำเทคนิคการครั่นโน้ตสะบัด  โน้ตประดับชนิดหนึ่ง  เป็นโน้ตตัวเล็กที่อยู่หน้าโน้ตหลัก เล่นผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยไม่นับจังหวะการประพันธ์ห้วงลำดับทำนอง ( Sequence )ทำนองที่มีลักษณะขึ้นลงเหมือนกันเป็นระยะขั้นคู่เท่ากัน      การเล่นซ้ำ ( Repetition )เทคนิคสำคัญของการแต่งเพลงที่นำทำนองมาเล่นซ้ำทันทีในระดับเสียงและ ลักษณะจังหวะเหมือนกัน

คำสำคัญ : ไวโอลิน
Keyword :   Violin
                                                              Abstract
 A study of violin solo of Lao-Pan song by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri consists of the following study research proposes:
          1. To research biography and works of Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri
          2. To research a unique style of violin solo of Lao-Pan song by
Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri
           The research by collecting academic documents concerning interviews by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri can be summarized as follows:  Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri was born on 10th November, 1941 at Thonburi, Bangkok, a son of Mr. SomboonKanthasiri and Mrs. SomjitKanthasiri (Sukhantarak).  He has a sister Assoc. Prof. OrawanBanjongsilp and a son, Mr. PiyavithKanthasiri.  His father and mother were born in Ayudhaya.
          His family, especially his father, Mr. SomboonKanthasiri has a great affection for Thai classical music.  He can play Thai fiddle and violin.  He is the first teacher of   Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri.  After that he and his sister (Assoc. Prof. OrawanBanjongsilp) studied Thai classical music with Mr. JamnongRatchakij (JarunBoonyarattanapan), Thai classical music teacher who was deputy of His Majesty’s Principle Private Secretary at that time and studied with KhunluangPairoaSiangsor.  He studied solo Thai classical songs, such as NokKmin Song, Saratee Song, Phraya Sok Song, Kaek Mon Song and SudSagnuan Song. He got grade 8 violin certificate from Royal  School  of  Music, UK and bachelor degree from  K.C.M.  Royal  Conservatory  of Music , Natherland  M.A.  in  Misicology-Ethnomusicology   Kent  State  University , Ohio  USA. and Ph.D. (Music  Comparative)  Sussex  College  of   Technology , UK
         Generally violin players always perform only classical music whereas Thai fiddle player always perform only Thai classical music.  Therefore the solo of Lao-Pan song by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri is originated from the idea to combine Thai classical music and classical music harmoniously without ignoring Thai style.  Violin’s tones, accents and technics are applied in combination properly to be an innovation without losing a unique of Thai style.  It can be regarded as a unique Thai classical music performed by violin.

A study research of violin solo of Lao-Pan song by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasirianalyzes only one part of Lao-Pan Tang song of Mr. Jaroen, Thai classical music teacher at Baan Somdej Chao Phraya Teacher’s University.  The research is in the concept of harmonious combination of Thai classical music and classical music performed in Thai style with tones, accents, unique tunes and advanced technics to be applied properly.
           There are several technics applied to performance, such as right hand technics of Loure Bowing (to play several notes), Augmentation (to double time values of notes twice or more), left hand technics of Trill (a musical ornament consisting of the rapid alternation of 2 notes), Turn (an ornament consisting of 4-5 notes as an ornament notes to principal note with principled ascending and descending, Imitation (a restatement in close succession of a musical idea in different voice parts), Antecedent (a phrase as a question with a weak cadence followed by a consequent phrase as an answer). To research technics of Stretch, Accompanying, Insert of Thai classical music. Technics of double stop, left hand pizzicato, vibration, grace note (an ornament note printed in small type to indicate that its time value is not counted in the general rhythm)Sequence (in musical composition, a sequence is a phrase repeated at a higher or lower interval), Harmonic Sequence (a repetition is of a series of chords), Repetition (As a device of composition, repetition is one of the fundamental principles of musical structure, providing unity where sequences are repeated in balance with the initial statements

ผลการวิจัยพบว่า
1.     ผลการศึกษาประวัติของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  มีประเด็นสำคัญดังนี้
รองศาสตราจารย์ ดร. โกวิทย์    ขันธศิริ เกิดที่จังหวัดกรุงเทพมหานครย่านฝั่งธนบุรี  บิดาชื่อนายสมบุญ  ขันธศิริ  มารดาชื่อนางสมจิตต์  ขันธศิริ(สุคันธลักษณ์)  มีน้องสาวหนึ่งคน  คือ รองศาสตราจารย์อรวรรณ  บรรจงศิลป์  มีบุตร 1 คน  คือนายปิยะวิทย์  ขันธศิริ  คุณพ่อคุณแม่เป็นชาวอยุธยา  ท่านเติบโตในครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ชอบดนตรีไทยมาก  ได้เรียนดนตรีกับครูดนตรีไทย  คือ  นายจำนง   ราชกิจ (จรัญ  บุญรัตนพันธ์)  และคุณหลวงไพเราะเสียงซอ   ซึ่งท่าน รศ.ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  ได้เรียนเพลงไทยประเภทเพลงเดี่ยว  เช่น เพลงนกขมิ้น  เพลงสารถี เพลงพญาโศก  เพลงแขกมอญและเพลงสุดสงวน เป็นต้น 
             ชีวิตการทำงานส่วนใหญ่จะอยู่ในด้านงานการสอนและ  การแสดงดนตรี  การแสดงผลงานทางดนตรี  ด้านงานสอนเคยเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนสาธิตจุฬา ฯ วิชาคณิตศาสตร์  ดนตรีไทย  และดนตรีสากล   อาจารย์พิเศษ    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ใหญ่ และผู้จัดการโรงเรียนดนตรีสยามกลการกรุงเทพ    ก่อตั้งหลักสูตรให้คณะศิลปกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้รับทุน  Fulbright  Scholar   ทำการสอนมหาวิทยาลัย    สหรัฐอเมริกา อาจารย์พิเศษวิชาดนตรีวิจักษ์มหาวิทยาลัยศิลปากร   ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์  คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และหัวหน้าสาขาดนตรีศึกษาหัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์  บรรณาธิการสารานุกรมดนตรีไทย  ราชบัณฑิตยสถาน  ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต   และ เป็นอาจารย์พิเศษในระดับบัณฑิตศึกษา  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหิดล   อาจารย์พิเศษ  คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล     และท่านยังเป็นกรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก  ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ทางด้านการสอนพิเศษ  ท่านยังสอนที่ไวโอลินที่โรงเรียนประถมสาธิตจุฬา ฯ และสอนนักเรียนส่วนตัวด้วย    การแสดงผลงานทางดนตรีงานมหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล  ณ โรงละครแห่งชาติ  ได้เดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสบยามราชกุมารีที่หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามราชการี  ได้เดี่ยวซอด้วงในบทเพลงกราวใน
                   ได้รับเลือกเป็นนักไวโอลินคนไทยที่ได้เล่นกับวงสตัสการ์ด ซิมโฟนี (Stuttgart  Symphony)จากประเทศเยอรมันแสดงในกรุงเทพฯ   ได้รับเชิญจากทางราชการเป็นวิทยากรนักแสดงและตัวแทนประเทศไทยเพื่อบรรยาย สาธิตและเปรียบเทียบดนตรีไทยและตะวันตก ณ ประเทศต่างๆ ในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา  เป็นหัวหน้าวงแฟนตาเซียไลท์ ออเครสตร้า (Fantasia Light Orchestra)และ จามจุรีแชมเบอร์ (Chamber Music) ได้รับเชิญจากสถานทูตไทยประจำประเทศเยอรมันให้ไปแสดงดนตรีไทยและสากลในงานเฉลิมพระเกียรติวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าประชุมแลกเปลี่ยนด้านดนตรีและนักดนตรีกับผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยในกรุงบอนน์ และมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน   ได้รับเชิญเป็นวิทยาการของงาน “Art of All” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ เป็นประธาน และได้รับเลือกเป็นหัวหน้าวงดนตรี กรุงเทพมหานคร ฟิลฮาโมนิก ออร์เคสตรา (Bangkok Philharmonic Orchestra)
ผลงานทางด้านดนตรีไทย  เมื่อตอนเด็กได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1  ในการประกวดรายการแมวมอง (เด็กพรสวรรค์) ณ สถานีวิทยุ ททท.การดนตรีในการเดี่ยวซอด้วงได้รับรางวัลที่ 2 ในการประกวดร้องเพลงไทยงานศิลปหัตถกรรม  ได้รับรางวัลที่ 1  ในการเล่นซอด้วง  และการนำวงของวงดนตรีสวนสุนันทา  เป็นผู้เผยแพร่ดนตรีไทยในกรุงเฮก  ประเทศเนเธอร์แลนด์  โดยการแสดงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยซอด้วงในบทเพลงกราวในและ การแสดงเดี่ยวไวโอลินในบทเพลงลาวแพนจนสามารถก่อตั้งวงดนตรีไทยในต่างแดนได้  เคยบรรเลงดนตรีไทยต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานโดยนายจำนงราชกิจเป็นคนนำพาเข้าเฝ้าเพื่อแสดง  แสดงเดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน  ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามราชกุมารี  ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ผลงานทางด้านดนตรีสากล  ได้รับทุนเรียนไวโอลิน ณ Royal School of Music กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์   ได้รับทุนปริญญาโทโดยทุน Fulbright และปริญญาเอก ณ Kent State University ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัย Kent State ในฐานะ Graduate  ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีตะวันตก นักไวโอลิน และผู้สอนไวโอลินในดนตรีเยาวชนอาเซียน เชิญโดยคณะกรรมการดนตรีและผู้บริหารศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งกรรมการวงดนตรีเยาวชนแห่งชาติ  ประธานฝ่ายควบคุมการแสดงในการจัดงานมหกรรมดนตรีนานาชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร. 9) ประธานการแสดงดนตรี และผู้ร่วมในการทำวิจัย และการตั้งศูนย์ดนตรีเอเซียนแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน  ผู้ร่วมก่อตั้ง ผู้แสดงและกรรมการบริหารวงบางกอก ซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า( BangkokSymphony Orchestra)  ผู้ร่วมก่อตั้งวงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( CU Orchestra )  กรรมการพิจารณาหลักสูตรทางดนตรีของมหาวิทยาลัยเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัยถึงปัจจุบัน  กรรมการพิจารณาผลงานข้าราชการเพื่อเลื่อนตำแหน่งของกระทรวงศึกษาธิการ ด้านศิลปิน ดนตรี ละคร ศิลปะ ในฐานะกรรมการประจำของกรมข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในปัจจุบัน  กรรมการพิจารณาผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งของอาจารย์ด้านดนตรีของกรมอาชีวะในปัจจุบัน  กรรมการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงปัจจุบัน  กรรมการพิจารณาการขอเปิดดำเนินการหลักสูตรและการรับรองมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สาขาวิชาดุริยางคศิลป์  ได้รับการคัดเลือกจากภาควิชาดุริยางคศิลป์ เพื่อเสนอเป็นอาจารย์ดีเด่นของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก   ได้รับการคัดเลือกจากภาควิชาดุริยางคศิลป์ เพื่อเสนอเป็นอาจารย์ดีเด่นของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ได้รับตำแหน่งครูในดวงใจแห่งสมาคมครูดนตรีแห่งประเทศไทย  ได้รับตำแหน่งศิลปินแห่งสาขาดุริยางคศาสตร์สากล  คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ
2.     ผลการศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ
 ผลการศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริการเดี่ยวเครื่องดนตรีสากลด้วยทำนองเพลงไทยเดิม   เป็นวิธีบรรเลงอย่างหนึ่งที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนอง    มีเครื่องประกอบจังหวะเช่น ฉิ่ง  กลองแขก  บรรเลงไปด้วยกัน การบรรเลงเดี่ยวตลอดทั้งเพลง เพลงลาวแพนเป็นเพลงที่นักดนตรีนิยมนำมาบรรเลงเป็นเพลงเดี่ยวอวดฝีมือกันมากเพลงหนึ่ง ประวัติเดิมนั้นเล่ากันว่า เพลงนี้มีต้นเค้ามาจากเพลงที่นิยมร้องเล่นกันในหมู่เชลยชาวลาวที่ไทยกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทร์ในสมัยตอนต้นๆของยุครัตนโกสินทร์ ท่วงทำนองเพลงนี้มีทั้งความอ่อนหวานรำพึงรำพันและโศกเศร้าระคนกัน จะเห็นได้จากเนื้อร้องเดิมที่บรรยายถึงความยากลำบากทุกข์ระทมใจที่ต้องจากบ้านเมืองมาอยู่ในต่างแดน ต่อมานักดนตรีไทยเห็นว่าเพลงนี้มีท่วงทำนองแปลกไพเราะน่าฟังจึงนำมาปรุงแต่งเสียใหม่ให้เข้ากับอรรถรสของบทเพลงไทยที่มีสำเนียงลาว และเนื่องจากเค้าโครงของเพลงนี้มีลักษณะพิเศษที่เปิดโอกาสให้ปรุงแต่งท่วงทำนองที่แปรเปลี่ยนไปได้มากมายหลากหลายรูปแบบ จึงมีการคิดประดิษฐ์ทางเพลงที่แตกต่างกันออกไปหลายแนวทางด้วยกัน
การเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน  โดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ  จากแนวคิดที่ว่า  คนเล่นไวโอลินก็จะเล่นแต่บทเพลงคลาสสิก  ส่วนคนเล่นซอไทยก็จะเล่นแต่เพลงไทย ไม่มีใครนำสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกัน เพื่อทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก แต่ต้องไม่ทิ้งความเป็นไทย เพียงแต่นำสีสัน สำเนียง ซุ่มเสียงแล้วเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม  เป็นอัตลักษณ์เพลงไทย เป็นนวัตกรรมขึ้นมาใหม่  โดยไม่ทำลายให้เสียหาย  สามารถเรียกว่าเป็นอัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไวโอลิน
การวิเคราะห์บทเพลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ 
A.        ท่อนเดี่ยว  นำทำนองเพลงลาวแพนทางของครูเจริญ  ครูดนตรีไทยที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ในแนวคิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก  มาบรรเลงตามขนบแบบไทย นำสีสัน  สำเนียงเสียง และเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม
                  ผลของการศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือขวา  มีการนำเทคนิคมือขวาการเล่นโน้ตโยงเสียง (Loure Bowing)  เทคนิคนี้โน้ตหลายๆตัวจะถูกแบ่งจากการโยงเสียง (Slur) โดยการหยุดเพียงเล็กน้อยในระหว่างที่ใช้คันชักหรือการเน้นโน้ตแต่ละตัวโดยไม่ต้องเปลี่ยนทิศทางของคันชัก และจะใช้ในเพลงที่เป็น Cantabile (อ่อนหวานเหมือนเสียงร้องเพลง)การขยายส่วน (Augmentation)  เทคนิคการขยายส่วนจังหวะให้มีความยาวเป็น 2 เท่าหรือยาวกว่านั้น  โดยรักษาระดับเสียงเดิมไว้ นิยมใช้ในการสอดทำนองเพลง 
               ผลของการศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือซ้าย  มีการนำเทคนิคการพรมนิ้ว (The Trill)  การเล่นโน้ต 2 ตัวสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว  โน้ตประดับ  (Turn)กลุ่มโน้ต 4 – 5 ตัวที่เป็นโน้ตประดับของโน้ตหลัก มีลักษณะการขึ้นลงที่มีแบบแผน การไล่เลียน(Imitation)การไล่เลียนกันของทำนองระหว่าง 2 แนว ขึ้นไป  เกิดจากทำนองเดียวกันที่เริ่มไม่พร้อม ประโยคถาม (Antecedent) ทำนองถาม  ประโยคที่ตามด้วยประโยคตอบ
              ผลของการศึกษาลูกเอื้อน  ลูกคลอ  ลูกสะบัดในดนตรีไทย  เทคนิคการกดนิ้วควบสองสาย เทคนิคการดีดสายไวโอลินด้วยนิ้วมือซ้าย  มีการนำเทคนิคการครั่น  เป็นวิธีที่ทำให้เสียงสะดุดสะเทือน  เพื่อความไพเราะเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน  การทำให้เสียงสะดุดและสะเทือนที่เรียกว่าครั่นนี้  ใช้เฉพาะกับการขับร้อง หรือเครื่องดนตรีประเภทเป่า เช่น ปี่  ขลุ่ยและเครื่องดนตรีประเภทสี เช่นซอต่างๆเท่านั้น การขับร้องครั่นด้วยคอ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าครั่นด้วยลมจากลำคอและเครื่องดนตรีประเภทสีครั่นด้วยคันสี (หรือคันชัก)โน้ตสะบัด  (Grace note) ห้วงลำดับทำนอง(Sequence)ห้วงลำดับเสียงประสาน(Hamonic Sequence)การซ้ำ  (Repetition)การนำทำนองมาเล่นซ้ำทันทีในระดับเสียงและ ลักษณะจังหวะเหมือนกัน
บทนำ 
มนุษย์มีความเหมือนและความแตกต่าง การแสดงออกทางดนตรีช่วยสะท้อนโลกทัศน์ระบบความคิดมนุษย์ ดังนั้น ในการแสดงออกทางดนตรีที่หลากหลาย เนื่องจากดนตรีจะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักทั้งตนเอง และรู้จักว่าผู้อื่นนั้นมีความเหมือนและมีความแตกต่างกับตนเองอย่างไร   การเรียนดนตรีในวัฒนธรรมของตนเอง มีความจำเป็นที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ประสบการณ์สุนทรียะที่คนในวัฒนธรรมของตนนั้นได้แสดงออกมา แต่เราก็มีความจำเป็นที่ให้ผู้เรียนได้เรียนประสบการณ์สุนทรียะของวัฒนธรรมอื่นๆ ที่แตกต่างจากผู้เรียนด้วย เพื่อผู้เรียนได้เข้าใจว่าโลกใบนี้ประกอบด้วยคนที่แตกต่างในเรื่องวัฒนธรรม มีอะไรที่มนุษย์ในโลกใบนี้แสดงออกมาเหมือนกันทั้งโลก และมีอะไรที่ไม่เหมือนกัน และการแสดงออกในเรื่องดนตรี หรือประสบการณ์ในเรื่องสุนทรียะ มีอะไรที่มนุษย์ทั้งโลกนี้แสดงออกได้เหมือนกันหมดและมีอะไรที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องสอนดนตรีทั้งในวัฒนธรรมของตนเองและที่มีความแตกต่างเพื่อการเรียนรู้
วัฒนธรรมทางดนตรีไทย  การถ่ายทอดวิชาความรู้  ขนบธรรมเนียมวิธีต่อการปฏิบัติทางดนตรีมีแบบแผนบ้านครู  บ้านนักดนตรี  ทางเพลงของแต่ละสำนักเพลง  การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม  แก่นรากทางวัฒนธรรมที่ยังเข้มแข็งอยู่มาก  แต่ด้วยวัฒนธรรมทางดนตรีที่เป็นแบบนี้ก็ทำให้ของเก่าๆ  ของดีๆที่มีอยู่อาจถูกลืมเลือนหรือสูญหายไปก็มาก  บุคคลที่จะเข้าสู่ เข้าถึง ทางวัฒนธรรมก็จะถูกขีดจำกัดในวงที่แคบลงเฉพาะกลุ่มคนมากขึ้นทุกขณะ จนถึงเวลาหรือยังที่นักการศึกษา  ครูทางดนตรี  ที่จะเริ่มทบทวนหรือหาข้อสรุปว่าจะมีวิธีการดำเนินการอย่างต่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมดนตรีที่จะเป็นวิถีของโลกในอนาคต  เยาวชนรุ่นใหม่ๆ  ที่ถูกกระแสกลืนความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย
ในวัฒนธรรมทางดนตรีไทยที่ถือได้ว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่เข็มแข็ง  เป็นวัฒนธรรม เป็นภาษาเฉพาะกลุ่มชน  จนทำให้ผู้ได้เรียนดนตรีไทยถูกขีดจำกัดอยู่ในกลุ่มคนไทย หรือต้องมาเรียนดนตรีไทยในประเทศไทยกับคนไทยครูผู้สอนดนตรีไทยเท่านั้น  วัฒนธรรมสากลหรือดนตรีสากลได้พัฒนาก้าวหน้าไปไกล  โดยเฉพาะเรื่องการเรียน  ไม่ต้องเรียนเครื่องดนตรีสากล(ดนตรีตะวันตก)กับคนในแถบประเทศยุโรป  กับคนเยอรมัน  กับคนอังกฤษ กับคนฝรั่งเศสเท่านั้น  แต่สามารถเรียนเครื่องดนตรีสากล(ดนตรีตะวันตก)  ได้กับคนจีน  คนญี่ปุ่นหรือชนชาติอื่นๆอีกมาก  ถ้าในอนาคตข้างหน้าสามารถมีครูสอนดนตรีไทยได้  อยู่ในทั่วทุกมุมโลก  มีครูดนตรีชนชาติจีนสามารถสอนดนตรีไทยที่ประเทศจีน  มีครูดนตรีชนชาติเยอรมันที่สอนดนตรีไทยในประเทศเยอรมัน  เราควรต้องทำอะไร  อย่างไร
                องค์ประกอบสำคัญของดนตรีได้แก่ คนเล่นดนตรี  คนแต่งเพลงและ คนฟังดนตรี  บริบทดนตรีไทยในยุคปัจจุบันยังขาดผลสัมฤทธิต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีไทยให้เกิดความเข็มแข็งและ เข้าถึงเยาวชนรุ่นใหม่หรือ กลุ่มผู้ฟังต่างๆให้หลากหลายและทั่วถึง  ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้การเผยแพร่ดนตรีไทยต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ  รูปแบบการแสดง  วิธีการบรรเลงใหม่ๆที่สามารถเรียกร้องดึงดูดกลุ่มผู้ฟังสนใจดนตรีไทย  ก็จะทำให้ดนตรีไทยเข็มแข็งและพัฒนาต่อเนื่อง
ดังนั้น  การวิจัยเรื่องศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ จึงเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างยิ่งทางด้านการศึกษาบุคคลากรทางดนตรีที่มีภูมิปัญญาความรู้ทั้งทางด้านดนตรีไทยและดนตรีสากลอยู่ในตัวคนเดียวหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนสองวัฒนธรรม  และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ในบริบทการแปลงทำนองเพลงจากเครื่องดนตรีไทยคือซอด้วงไปสู่เครื่องดนตรีสากลคือไวโอลิน ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบรรเลงเพื่อเผยแพร่ดนตรีไทย
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.         เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ
2.         เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ
วิธีการดำเนินการวิจัย
            ในการศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาโดยยึดหลักการทางมนุษยดุริยางควิทยา ( ETHNOMUSICOLOGY )  ซึ่งได้ออกภาคสนาม ( FILEDWORK ) การสัมภาษณ์  การสังเกต  การบันทึก  และการศึกษาทางเอกสาร  ตำราวิชาการ  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการรวบรวมเรียบเรียง  จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลต่างๆที่รวบรวมไว้มาทำการศึกษาวิเคราะห์  และสรุปผลการวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนาวิจัยตามประเด็นต่างๆ  ดังนี้
1.     ประวัติรองศาสตราจารย์ โกวิทย์  ขันธศิริ
1.1     ประวัติส่วนตัว
1.2     ประวัติการศึกษาทั่วไป
1.3     ประวัติทางด้านดนตรี
1.4     ประวัติการทำงาน
1.5     ผลงาน
1.5.1            ผลงานการแสดงและ ประสบการณ์
1.5.2            ผลงานทางด้านดนตรีไทย
1.5.3            ผลงานทางด้านดนตรีสากล
1.6     ผลงานตำราและ งานวิจัย
1.7     ผลงานทางด้านการสอนไวโอลิน
1.8    รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ

2.     ศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ
2.1     ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือขวาเช่น  การใช้คันชักถ่ายทอดอารมณ์เพลงไทย  ประเภทของคันชัก
2.2     ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือซ้ายเช่น  เทคนิคการพรมนิ้ว การรูดนิ้ว  และการวิบราโต
2.3     ศึกษาลูกเอื้อน ลูกคลอ ลูกสะบัดในดนตรีไทย  เทคนิคการกดนิ้วควบสองสาย  เทคนิคการดีดสายไวโอลินด้วยมือซ้ายในบทเพลงไทย
อภิปรายผล
รองศาสตราจารย์  ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  เป็นครูดนตรีอาวุโสทั้งทางด้านดนตรีไทย  และดนตรีสากล เป็นนักดนตรีไทยอย่างเชี่ยวชาญท่านหนึ่งที่มีบทบาทในการเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีไทยในต่างแดนและ การบรรเลงเดี่ยวซอด้วงในบทเพลงกราวใน  ด้วยการศึกษาดนตรีไทยตั้งแต่ยังเล็กจากคุณหลวงไพเราะเสียงซอ  และครูจำนง   ราชกิจ  ซึ่งทำให้ท่านมีความแตกฉานทางดนตรีไทย   และยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจากบรมครูอีกหลายท่าน    ทำให้ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในลักษณะผสมผสานระหว่างดนตรีไทยและดนตรีสากลได้อย่างลงตัว   มีความไพเราะ   และมีคุณค่าทางดุริยศิลป์อย่างสูง   ซึ่งในการสอนดนตรีของท่านนั้น  ท่านได้ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเชิงเปรียบเทียบการบรรเลงดนตรีไทยและดนตรีสากลอยู่เสมอซึ่งสอดคล้องกับ กาญจนา  อินทรสุนานนท์ ( 2540: 105 ) ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมที่แสดงความเจริญงอกงาม วัฒนธรรมเป็นมรดกที่สำคัญยิ่งของสังคมมนุษย์  มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาย่อมมีวัฒนธรรมซึ่งได้มาโดยการเรียนรู้จากการถ่ายทอดของคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  มนุษย์ที่เกิดมาอยู่ในสังคมใดก็จะเรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมนั้นมีการคิดค้นสิ่งใหม่ๆปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่  สนองความต้องการของตนเอง เพาะมนุษย์ทุกคนยังมีความต้องการในสิ่งต่างๆอย่างไม่สิ้นสุด
            การบรรเลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพนจากแนวคิดที่ว่า  คนเล่นไวโอลินก็จะเล่นแต่บทเพลงคลาสสิก  ส่วนคนคนเล่นซอไทยก็จะเล่นแต่เพลงไทย ไม่มีใครนำสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกัน เพื่อทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก แต่ต้องไม่ทิ้งความเป็นไทย เพียงแต่นำสีสัน สำเนียง ซุ่มเสียงแล้วเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม  เป็นอัตลักษณ์เพลงไทย เป็นนวัตกรรมขึ้นมาใหม่  โดยไม่ทำลายให้เสียหาย  สามารถเรียกว่าเป็นอัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไวโอลินซึ่งได้สอดคล้องกับ  กาญจนาอินทรสุนานนท์ (2552 : 29 - 38 )  การวิจัยองค์ความรู้ศิลปินแห่งชาตินายศิริ  วิชเวชเพื่อศึกษาประวัติศิลปิน  และผลงานด้านดนตรีไทย และได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ  องค์ความรู้และผลงานของครูศิริ  วิชเวช  นั้นมีหลายด้าน  นับเป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่า  การได้รับการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้  จะนำไปสู่การขับเคลื่อนต่อระบบการศึกษาวัฒนธรรมไทยต่อวงการดนตรีไทยต่อการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สาธารณชน  สู่นานาชาติ    การบรรเลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพนโดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริเป็นการคิดนอกกรอบของดนตรีไทย ซึ่งเป็นแนวคิดดนตรีไทยแนวประยุกต์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการเผยแพร่บทเพลงไทยโดยเครื่องดนตรีไวโอลิน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสากลที่คนนานาชาติต่างๆสนใจและ เข้าใจต่อการฟังดนตรี ดังนั้นการบรรเลงดนตรีที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ไม่ได้เป็นการล้มล้างความคิด วัฒนธรรมเดิมแต่เป็นการสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อการเผยแพร่ดนตรีไทยนั่นเองซึ่งสอดคล้องกับ  มานพ  วิสุทธิแพทย์  (2552 : 19 )  การวิจัยองค์ความรู้ศิลปินแห่งชาติ นายจรัส  อาจณรงค์ เพื่อศึกษาประวัติศิลปิน  และผลงานทางด้านดนตรีไทย เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ทางด้านดนตรีไทย  และเผยแพร่องค์ความรู้ของครูด้านดนตรีไทย  ครูจรัส นับได้ว่าเป็นปรมาจารย์ด้านดนตรีไทยที่มีความรู้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักดนตรีไทยว่าท่านเป็น “คลัง” หรือ “ธนาคารดนตรีไทย” ได้แก่องค์ความรู้ทางด้านบทเพลงองค์ความรู้ทางด้านการปฏิบัติและ องค์ความรู้ทางด้านการนำไปใช้  การบูรณาการองค์ความรู้  นำองค์ความรู้ที่ได้จัดทำฐานคลังข้อมูลทางวัฒนธรรม
การวิจัยเรื่องการศึกษาเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน  เป็นการศึกษาอัตลักษณ์เพลงไทยโดยการบรรเลงด้วยไวโอลิน  จึงเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างยิ่งทางด้านการศึกษาบุคคลากรทางดนตรีที่มีภูมิปัญญาความรู้ทั้งทางด้านดนตรีไทยและดนตรีสากลอยู่ในตัวคนเดียวหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนสองวัฒนธรรม  และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ในบริบทการแปลงทำนองเพลงจากเครื่องดนตรีไทยคือซอด้วงไปสู่เครื่องดนตรีสากลคือไวโอลิน

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป
การศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน  โดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับที่จะทำการศึกษาต่อไปนี้
1.         ควรทำการศึกษาเพลงอื่นๆ การบรรเลงเดี่ยวไวโอลิน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
2.         ควรทำการศึกษานักดนตรีท่านอื่นๆเปรียบเทียบระหว่าง  การบรรเลงเดี่ยวไวโอลินหรือเดี่ยวเครื่องดนตรีสากลอื่นๆในบทเพลงไทยเดิม