วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สำนักวัฒนธรรมขึ้นทะเบียนมรดกทางปัญญา

-->
 วธ.ประกาศ'ส้มตำ-ปลาร้า-หมากเก็บ-ภาษากฺ๋อง-อักษรล้านนา-ผูกเสี่ยวขึ้นทะเบียน70มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมปี55
     
       
นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวในการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปี 2555 พร้อมมอบนโยบายเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2542 รวม 80 รายการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ยกย่องภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและอัตลักษณ์ของกลุ่มชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเตรียมการเพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวน รักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกในอนาคต
     
       
นายสนธยา กล่าวว่า ปีนี้ได้ประกาศขึ้นมรดกภูมิปัญญา จำนวน 70 รายการใน 7 สาขา ดังนี้ 1.สาขาศิลปะการแสดง 13 รายการ 2 ประเภท คือ ประเภทดนตรี 5 รายการ ได้แก่ ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู,ซอสามสาย,เพลงหน้าพาทย์,กันตรึม,เจรียงและกา หลอ และประเภทการแสดง 7 รายการ ได้แก่ ก้านกกิงกะหร่า,ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา,รำฝรั่งคู่,ละครดึกดำบรรพ์,โนราโรง ครู,มะโย่ง และรองเง็ง 2. สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 11 รายการ 4 ประเภท คือ ประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า 5 รายการ ได้แก่ ผ้าทอไทครั่ง,ผ้าทอไทลื้อ,ผ้าทอกะเหรี่ยง,ผ้าทอไทยวน และผ้าทอผู้ไทย ประเภทเครื่องรัก 2 รายการ ได้แก่ เครื่องมุกไทย และเครื่องรัก ประเภทเครื่องโลหะ 2 รายการ ได้แก่ ขันลงหินบ้านบุและบาตรบ้านบาตร ประเภทงานศิลปกรรมพื้นบ้าน 2 รายการ ได้แก่ สัตตภัณฑ์ล้านนาและโคมล้านนา
     
       3.
สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน 14 รายการ 2 ประเภท คือ ประเภทนิทานพื้นบ้าน 12 รายการ ได้แก่ นิทานพระร่วง,นิทานตาม่องล่าย,พระสุธนมโนห์ราภาคใต้,วันคาร,ตำนานเจ้าหลวงคำ แดง,ตำนานพระธาตุดอยตุง, ตำนานเจ้าแม่สองนาง,ตำนานอุรังคธาตุ,ตำนานหลวงปู่ทวด,ตำนานนางโภควดี,ตำนาน สร้างโลกของภาคใต้และวรวงศ์
     
       
ประเภทตำรา 2 รายการ ได้แก่ ปักขะทึนล้านนา และตำราศาสตรา 4.สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย 8 รายการ 3 ประเภท คือ ประเภทการเล่นพื้นบ้าน 3 รายการ ได้แก่ ไม้หึ่ม,หมากเก็บ และเสือกินวัว ประเภทกีฬาพื้นบ้าน 4 รายการ ได้แก่ หมากรุกไทย,ตะกร้อลอดห่วง,วิ่งวัว และวิ่งควาย และประเภทศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ได้แก่ เจิง 5.สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม 7 รายการ 2 ประเภท คือ ประเภทขนบธรรมเนียมประเพณี 5 รายการ ได้แก่ การผูกเกลอ,การผูกเสี่ยว,เทศน์มหาชาติ,พิธีทำบุญต่ออายุ และการแต่งกายบาบ๋า เพอนารากัน ประเภทงานเทศกาล 2 รายการ ได้แก่ สารทเดือนสิบและประเพณีรับบัว
     
       6.
สาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 11 รายการ 4 ประเภท คือ ประเภทอาหารและโภชนาการ 6 รายการ ได้แก่ สำรับอาหารไทย,แกงเผ็ด,แกงเขียวหวาน,ส้มตำ,น้ำพริก และปลาร้า ประเภทการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน 3 รายการ ได้แก่ ลูกประคบ,ยาหอมและหมอพื้นบ้านรักษากระดูกหัก ประเภทโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์และไสยศาสตร์ ได้แก่ คชศาสตร์ชาวกูย และประเภทชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน ได้แก่ ดอนปู่ตา และ 7.สาขาภาษา 6 รายการ 2 ประเภท คือ ประเภทภาษาไทยถิ่น 3 รายการ ได้แก่ อักษรธรรมล้านนา, อักษรไทยน้อย และอักษรธรรมอีสาน ประเภทภาษากลุ่มชาติพันธุ์ 3 รายการ ได้แก่ ภาษาชอง,ภาษาญัฮกุร และภาษากฺ๋อง
     
       
การประกาศครั้งนี้ถือเป็น หัวใจในการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมสู่รุ่นลูกหลาน เพราะสิ่งที่เป็นมรดกวัฒนธรรม ชื่อบ้านนามเมือง ภาษา การแสดงพื้นบ้านค่อยๆจากหาย เนื่องจากเทคโนโลยี วัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามา พอกัมนัมสไตล์เข้ามาเด็กเต้นได้ เราจะสร้างภูมิคุ้มกันเด็กอย่างไร ส่วนตัวแล้วสมัยเด็กตนยังเคยเล่นไม้หึ่ง หมากเก็บ แต่เด็กปัจจุบันไม่รู้จักแล้ว วธ.จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ คือ สืบสาน การรักษาไว้เนื้อแท้ดัั้งเดิม สร้างสรรค์ นำสิ่งดั้งเดิมเสนอในรูปแบบทันสมัย บูรณาการ คือ ความร่วมมือทุกหน่วยงาน ไปสู่เรื่องการนำวัฒนธรรมไปต่อยอดทางเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว สร้างรายได้ ดังนั้น การปกป้องภูมิปัญญา ถือว่า สำคัญที่สุด เก็บเป็นฐานข้อมูลให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณคำเพื่อไม่ให้สูญหายไปจากชุมชน

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงการดนตรีเพื่อสุนทรียภาพสู่สังคม


โครงการบริการวิชาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป
ได้จัดให้มี : โครงการสร้างสรรค์ดนตรี เพื่อสุนทรียภาพสู่สังคม
(
เพื่อทดลองและพัฒนาหลักสูตร:การเรียนการสอนดนตรีระยะสั้น)
การดำเนินงานโครงการฯ
-
ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
-
ฝึกอบรม จำนวน 24 ชั่วโมง/12 ครั้ง
-
รับจำนวนจำกัด
-
การดำเนินกิจกรรมโครงการฯทั้ง 2 ด้าน
ในทุกๆวันพฤหัสบดี เวลา : 17.30-19.30
-
ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องปฏิบัติตามข้อระเบียบ เพื่อบรรลุเป้าการเรียนการสอนของโครงการฯ
-
รับใบเกียรติบัตรในการเข้าร่วมโครงการฯ
เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ (รุ่นที่1)
1.
ด้านการขับร้อง ตลอดถึงเทคนิคการร้องเพลง จำนวน 30 คน (บุคคลิกดี)
2.
ด้านการแต่งเพลงดนตรี และคอมพิวเตอร์ดนตรี จำนวน 40 คน (ต้องมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุคส่วนตัว)
คุณสมบัติ
1.
ต้องเป็นนักเรียนนิสิต มศว เท่านั้น
2.
เป็นผู้ที่มีความรักในเสียงเพลงดนตรี บุคคลิกดี
3.
มีคุณธรรม ความรับผิดชอบในหน้าที่และตรงต่อเวลา
วัตถุประสงค์ของโครงการฯ
1.
เพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพสู่สังคม
2.
เป็นกิจกรรมสนับสนุนพลังความคิดคนรุ่นใหม่ด้วยดนตรีที่ไม่มีขีดจำกัด
3.
สร้างสรรค์กิจกรรมการแสดงตามเทศกาล ตลอดถึงในโอกาสงานกิจกรรมต่างๆทั้งภาครัฐ และเอกชน
4.
เป็นกิจกรรมสร้างความรักสมัคคี ความภาคภูมิใจในสถาบันการศึกษาด้วยงานบูรณาการ สร้างสรรค์ด้วยดนตรี
5.
เพื่อสอดคล้องตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ
1.
ได้ฝึกทักษะทางด้านดนตรี ตลอดถึงการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี
2.
ได้ฝึกประสบการณ์ตรงจากการแสดงผลงานดนตรี เพื่อสร้างสุนทรียภาพสู่สังคม
3.
เสริมสร้างบุคคลิกภาพด้วยดนตรี ตลอดถึงมิตรภาพแห่งดนตรี
4.
โอกาสการสร้างรายได้จากความชำนาญ และพัฒนาสู่การเป็นมืออาชีพ
สนใจติดต่อ: รุจิภาส ภูธนัญนฤภัทร (.ใบไม้) 080:4562236 ในเวลาราชการ
Email : Musika_7xmba@hotmail.com, Facebook : Rujipas