วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

BIOGRAPHY "Fourplay"

BIOGRAPHY
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
Fourplay ประกอบไปด้วย สมาชิกที่มีความสามารถ ต่าง มีผลงานเพลงของตนเองมาแล้ว สมาชิกทั้ง 4 มีผลงาน เป็นที่นิยม และได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นเครื่อง ยืนยันชื่อเสียง และความสามารถของพวกเค้าได้เป็นอย่างดี ส่วนผสมที่ลงตัว ระหว่างดนตรี R & B, pop, rock, blues, classical และ jazz ของพวกเค้า เป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลง ไม่ว่าจะเป็น อัลบั้มแรก "Fourplay" และตามมาด้วยอัลบั้ม "Between The Sheets" ที่ได้รับรางวัล global platinum และ gold RIAA certification และทั้งสองอัลบั้มยังครองอันดับ 1 บนชาร์ต Billboard's Contemporary Jazz ยาวนานกว่า 33 สัปดาห์ อัลบั้มที่ 3 "Elixir" ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ด้วย การครองอันดับ 1 บนชาร์ต Best Contemporary Jazz Album อีกทั้งเป็นอันดับหนึ่ง ของ Jazziz Readers Poll และได้รับการ ยกย่องเป็น อัลบั้มยอดเยี่ยมแห่งปี จาก Soul Train Awards หลังจากความสำเร็จ และเสียงตอบรับอย่างยอดเยี่ยม พวกเค้าก็ผลิตผลงาน ออกมาให้เราฟังกันอย่างต่อเนื่อง อย่างอัลบั้ม "Four", "The Best Of", "Snowbound" และอัลบั้ม ที่ได้รับการเสนอชื่อ เข้ารางวัลแกรมมี่อย่าง "Yes, Please!". ภายใต้สังกัด "America's Super Group of Contemporary Music" ที่ได้พา Fourplay ก้าวเข้าสู่ยุคมิลเลนเนียม ด้วย อัลบั้มใหม่ ที่พวกเค้าวางแผนทัวร์คอนเสิร์ต พบกับแฟน เพลงทั่วโลกด้วย

MEMBERS

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
1. Bob James : Keyboardist
Keyboardist / Producer / Composer / Arranger
บ๊อบ ประสบความสำเร็จใน อาชีพทางดนตรี จากการ สร้าง ผลงาน ที่เป็นทีนิยม ของผู้ฟังอย่างสูง จากการติด ท็อปชาร์ต และยอดขาย รางวัล gold และ platinum ด้วยผลงาน อัลบั้มเดี่ยว มากถึง 29 อัลบั้ม ที่รวมทั้ง 3 อัลบั้ม เพลงคลาสสิคสำหรับสะสม และการร่วมงานกับศิลปินแจ๊ส ชื่อดังอีกมากมาย ที่ผู้ฟังเพลงแจ๊สต่าง ยอมรับ และรู้จักกันเป็นอย่างดี นอกจากนี้ เค้ายังเป็นผู้ประพันธ์ เพลงประกอบภาพยนตร์ และซีรีส์ยอดฮิต อย่าง "Taxi" และเป็น ผู้ร่วม สร้างสรรค์ผลงานเพลง ในแนวดนตรีฮิปฮอปและแร็พ อีกด้วย
http://bobjames.com
2. Nathan East : Bassist
Bassist / Vocalist / Producer / Composer / Arranger
Nathan ทำหน้าที่บันทึกเสียงและร่วมแต่ง เพลงอีกหลายบทเพลง ที่ โด่งดังของ Phil Collins and Madonna to Michael Jackson และ Babyface เคยร่วมงานกับ Who's Who กับดนตรีใน แนว contemporary ใน สไตล์ ดนตรีของเค้าเอง นอกจากบทบาทในวง Fourplay แล้วเค้ายังเป็นผู้สร้างสรรค์ ผลงานในหลายโปรเจค ให้แก่ศิลปินมากมาย ร่วมทั้งการร่วมงาน กับทีมงานของ Eric Clapton
http://nathaneast.com
3. Harvey Mason : Drummer
Drummer / Producer / Composer / Arranger
Harvey เริ่มงานดนตรี ในช่วงปลาย ปี 60 กับการแสดง ดนตรีแจ๊ส ร่วมกับ Duke Ellington และ Errol Garner เริ่มงาน กับสังกัด Blue Note Jazz ในนาม ของผู้อยู่เบื้องหลัง งานดนตรี ที่ประสบความสำเร็จ ของศิลปินต่างๆ รวมทั้งเป็นสมาชิกวง Herbie Hancock and The Headhunters ประสบความสำเร็จ จากการได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล แกรมมี่ ถึง 7 สาขา มีผลงานที่ได้รับการยอมรับ รวมทั้งผลงานอัลบั้มเดี่ยว ที่ผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง และในนามของสมาชิกของ Fourplay เค้าคือ มือกลองที่ทุกคน ต่างยกย่องว่า เป้นผู้ที่มีผลงานอัลบั้ม ที่ได้รับรางวัลการันตีมากมาย จัดเป็นมือกลอง ที่สามารถสร้างยอดขายได้สูงสุด และได้รับการบันทึกไว้ มากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพลงยอดนิยมของชาวอเมริกัน สร้างผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์กว่า 150 เรื่อง และร่วมแสดงในงานประกาศผลรางวัลต่างๆ กว่า 11 รายการ
http://www.harveymason.com
4. Larry Carlton : Guitarist
Guitarist / Producer / Composer ประสบการณ์อันยาวนาน บนถนนสายดนตรี กับความถนัด ในการเล่นกีต้าร์กว่า 30 ปี หลังจาก ได้สร้างผลงาน อัลบั้มแรก ที่ชื่อ "With A Little Help From My Friends" แล้ว เค้าได้เข้าเป็น สมาชิกวง The Crusaders ในปี 1971 และฝากผลงานไว้ถึง 13 อัลบั้ม ในนามของวงนี้ หลังจากว่างเว้น จากทัวร์คอนเสิร์ตเค้าได้พัฒนา และสร้างสรรค์ผลงานดนตรี เพื่อเพิ่มพูนทักษะ และประสบการณ์ให้กับตนเอง มาโดยตลอด ทั้งการร่วมงาน กับศิลปินชื่อดังมากมายอย่าง Steely Dan, Barbara Streisand และ Joni Mitchell จากงานดนตรีที่หวานซึ้ง ตรึงใจผู้ฟังของเค้า ทำให้เค้าได้รับรางวัล แกรมมี่ จากผลงาน "Minute By Minute"
http://www.fourplayjazz.com/larryhome.htm
http://mr335.com

TERUMASA HINO ทรัมเป็ตแจ๊ส


Terumasa Hino คือ ศิลปินผู้สร้างสรรค์บทเพลง จากเครื่อง ดนตรีทรัมเป็ตแห่งยุค บิดาของเค้า เป็นนักดนตรีทรัมเป็ต และนักเต้นแท็ป ระดับอาชีพ ส่วนปู่ของเค้า ก็เป็นนักดนตรี ทรัมเป็ต ในกองทัพญี่ปุ่น
เมื่ออายุได้ 5 ขวบ : Hino เริ่มเรียนรู้การ เต้นแท็ป ตามพ่อของ เค้า และเมื่ออายุได้ 7 ขวบ เค้าก็เป็นนักเต้นระดับอาชีพได้ เมื่ออายุได้ 9 ขวบ : Hino เริ่มเรียนรู้การเล่นเครื่องดนตรี ทรัมเป็ต และเป็นนักดนตรีทรัมเป็ต ระดับอาชีพลำดับที่ 3 ในวง ดนตรีแด็นท์ เมื่ออายุได้ 15 ปี เค้าเริ่มสั่งสมประสบการณ์ การทำงานต่างๆ จากกองทัพสหรัฐอเมริกาหลายแห่งในญี่ปุ่น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่วงกลางยุค 1960 : Terumasa Hino เริ่มเล่นดนตรี กับวง ดนตรี ชาวญี่ปุ่น เค้าเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในฐานะศิลปินเดี่ยว และ นักดนตรีซูเปอร์สตาร์เพลงแจ๊ส ในบ้านเกิดของเค้าและ รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น กับงาน " Hinoteru Rage " และงาน " Hinoteru Boom " ซึ่งภายหลังจากนั้นไม่นานนัก เค้าก็เริ่มนำ เสนอผลงาน ออกสู่ระดับสากล ในยุโรป และ อเมริกา
ปี 1975 : Terumasa ย้ายไปที่ New York City และเริ่มงานกับ นักดนตรี อย่าง Gil Evans, Jackie McLean, Larry Coryell, Dave Leibman และ Horace Silver
ปี 1980 : เค้าได้เซ็นสัญญากับสังกัด CBS/Columbia ในสหรัฐฯ ซึ่งเค้าได้สร้างสรรค์ลงานแก่ผู้ฟัง ภายใต้สังกัดแห่งนี้ ซึ่งล้วน แต่เป็นผลงาน ที่ได้รับการยอมรับ และยกย่องอย่างมาก
ปี 1993 : เค้าได้เป็นศิลปินในสังกัด CBS/Sony
ปี 1990 : Hino ได้สร้างปรากฎการณ์อีกครั้ง กับการเป็นศิลปิน ชาวญี่ปุ่นคนแรก ที่ได้ทำงานภายใต้สังกัด Bluenote ซึ่งเป็น บริษัทระดับตำนานของวงการเพลงโลก และผลงานที่ผลิต ออกมาภายใต้สังกัด Bluenote ก็ล้วนเป็นผลงานที่ได้รับการ ยกย่องทั้งสิ้น
ปี 2000 : เค้าได้ย้ายกลับเข้ามาร่วมงาน กับ สังกัดเดิมอย่าง Sony และปล่อยอัลบั้ม TRANSFUSION ออกมาในปี 2000 และถัด มาในปี 2001 กับอัลบั้ม DNA ซึ่งงานจากอัลบั้มทั้ง 2 ชุด เป็น ผลงานที่เค้าร่วมสร้างกับศิลปินอย่าง Roland Hanna, Ron Carter และ Jack DeJonette
ปัจจุบัน : Hino ได้สร้างสรรค์ผลงานเพลงคุณภาพ อยู่อย่างต่อ เนื่อง รวมทั้งการทัวร์คอนเสิร์ต ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เผยแพร่ผลงานเพลงแจ๊ส ให้เป็นที่นิยมในเอเชีย รวมทั้ง การทำงาน ด้วยความตั้งใจในการทำประโยชน์ เพื่อสาธารณะ ด้วยความอุตสาหะของเค้า
ในต้นปี 2001 : เค้าได้เปิดการแสดงขึ้น ในประเทศอินเดีย ในนามตัวแทนของโครงการศึกษาสำหรับเด็ก Terumasa Hino หรือ " Hinoteru " คือนักดนตรีที่แฟนเพลงในประเทศญี่ปุ่น ต่างชื่นชอบ ในฐานะศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงแจ๊ส ระดับ ตำนานในบ้านเกิดของเค้า ประเทศญี่ปุ่น และในระดับนานา ประเทศด้วย

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ยุคสมัยดนตรีแจ๊ส

ยุคสมัยของดนตรีแจ๊ส 
               นักวิชาการดนตรียอมรับโดยทั่วกันว่า ช่วงเวลาที่แจ๊สถือกำเนิดขึ้นนั้น อยู่ระหว่างปลายคริสตศตวรรษที่19 กับต้นศตวรรษที่20 โดยมีหลักฐานที่สำคัญคือ นักดนตรีที่บันทึกเสียงดนตรีแจ๊สออกมาเป็นรุ่นแรกในตอนสงครามโลกครั้งที่1
ยุคแรก
แจ๊สในยุคแรกเริ่มต้นจากนิวออลีนส์ สไตล์ไปชิคาโก สไตล์ และสวิงเป็นยุคสุดท้าย
ยุคนิวออลีนส์ (ตั้งแต่ค.ศ.1900)
นิวออลีนส์เมืองท่าบริเวณปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ กลายเป็นแหล่งกำเนิดของดนตรีแจ๊ส แรกเริ่มนักดนตรีแจ๊สล้วนมาจากนิวออลีนส์ที่ซึ่งมีวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างชนผิวขาวชั้นกลาง และกลุ่มทาสที่ระหกระเหินมาจากอัฟริกา กระทั่งแจ๊สนิวออลีนส์ได้ชื่อว่าเป็นแนวดนตรีผสม ปลุกเร้าราตรีของเมืองใหญ่จนเป็นที่รู้จัก
ยุคชิคาโก (ตั้งแต่ค.ศ.1920)
จากการที่สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่1 ทำให้นิวออลีนส์กลายเป็นเมืองท่าสงครามไปโดยปริยาย ผู้บังคับกองเรือสั่งปิดสถานเริงรมย์หลายแห่งดังนั้นนักดนตรีจึงพากันอพยพเข้าไปอยู่ที่ชิคาโกในย่านเซาธ์ไซด์ซึ่งเป็นย่านคนผิวดำที่นั้นคือแหล่งพบปะกันระหว่างนักดนตรีจากนิวออลีนส์และนักร้องเพลงบลูส์ที่มีชื่อเสียง ความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงถือกำเนิดเป็น ชิคาโก สไตล์
นักดนตรีที่สร้างสีสันให้แก่เมืองนี้แบ่งออกเป็น3กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มนักดนตรีผิวดำจากนิวออลีนส์, กลุ่มนักดนตรีผิวขาวจากนิวออลีนส์ และกลุ่มนักดนตรีผิวขาวที่เป็นชาวชิคาโกท้องถิ่น
ภาพรวมของแจ๊สสไตล์ชิคาโกนับว่าเป็นรูปแบบที่สืบทอดมาจากนิวออลีนส์โดยตรง หากด้วยสีสันใหม่ๆ จากการเรียบเรียงเพลงและปรับปรุงแนวทางการเล่นให้ซับซ้อนขึ้น
ยุคสวิงและบิกแบนด์
สวิงเกิดขึ้นในนิวยอร์ค เป็นคำเดิมที่มีมาก่อนแล้ว แต่ใช้ในความหมายใหม่ ความ
หมายทั่วๆ ไปของคำนี้คือ แกว่ง ความหมายในทางแจ๊สหมายถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ หรือความคงที่ซึ่งบางครั้งดูเหมือนแข็งกระด้าง ส่วนความหมายที่เพิ่มเติมเข้ามาพร้อมๆ กับการใช้คำนี้เรียกแบบแผนของดนตรีนี้ ใช้เรียกชื่อลีลาจังหวะของดนตรี ซึ่งเกิดจากการใช้โน้ตเขบ็ตแบบขืนจังหวะหรือสวิงเอท อย่างเป็นล่ำเป็นสันด้วยเครื่องจังหวะ เช่น สตริง เบส และฉาบไฮแฮท ทำให้การดำเนินจังหวะเลื่อนไหลอย่างมีอิสระ ไม่แข็งกระด้างอย่างเคย ท่วงลีลาอย่างนี้นิยม
เล่นกันในวงดนตรีขนาดใหญ่ที่มีนักดนตรีมากกว่า10คน วงดนตรีขนาดนี้ได้ชื่อว่า บิกแบนด์ (ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ 2539) โดยเป้าหมายการบรรเลงของวงชนิดนี้คือเพื่อเต้นรำ
วงดนตรีบิกแบนด์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และองค์ประกอบของวงก็เริ่มลงตัว โดยเครื่องดนตรีหลักของวงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแตรซึ่งมีทรัมเปทและทรอมโบนเป็นหลัก จำนวน3-5 คัน กลุ่มที่2คือกลุ่มเครื่องลมไม้มีแซกโซโฟนเป็นหลัก จำนวน 3-5 คันและมักมีคลาริเนต ไว้ให้นักแซกโซโฟนเพื่อให้เล่นสลับกันด้วย กลุ่มที่3คือกลุ่มเครื่องเคาะจังหวะได้แก่ กลองชุดซึ่งมีกลองเพิ่มเติม และกระดึงกับฉาบเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ มีเปียนโน สตริงเบส และกีตาร์ ส่วนแบนโจซึ่งมีมาแต่เดิมนั้นถูกแทนที่ด้วยเปียโน

ยุคใหม่
แจ๊สยุคใหม่มิได้ปรากฏออกมาอย่างฉับพลันแต่ปรากฏทีละน้อยในผลงานของศิลปินหลาย
คนเช่น ดิซซี กิลเลสปี, ธีโลเนียส มังค์ ด้วยแนวคิดทดลองสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมา
ลักษณะเด่นประการหนึ่งที่ปรากฏชัดในแจ๊สยุคใหม่คือขนาดของวงดนตรี ซึ่งมีขนาดเล็กลง ไม่ว่าจะเรียกชื่อแบบแผนดนตรีอย่างไรก็ตามความนิยมเช่นนี้ เกิดกับวงการเพลงยอดนิยมด้วย อย่างไรก็ตามวงใหญ่ก็มิได้ถึงกับสาบสูญไปหมด เนื่องจากนักดนตรีรุ่นใหม่ๆ หลายคนก็นั่งเล่นดนตรีวงใหญ่กันอยู่เป็นครั้งคราว (ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ 2539)
ยุคบ๊อพ หรือ บีบ๊อพ (ตั้งแต่ค.ศ.1940)
บีบ๊อพ เป็นดนตรีที่ต่อต้านดนตรีแจ๊สประเภทสวิงซึ่งเป็นดนตรีสำหรับการเต้นรำ เน้นไปทางด้านการโฆษณาหรือการค้าจนเกินไปและเป็นดนตรีที่ไม่ค่อยใช้การด้นสด ส่วนบีบ๊อพเป็นดนตรีที่มีลักษณะของโครงสร้างซับซ้อนทั้งทางด้านทำนองการประสานเสียง จังหวะที่แปลกๆ ไม่เป็นไปตามปกติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ฟังเพลงต้องการฟังเพลงอย่างจริงจัง มากกว่าการใช้เป็นเพลงประกอบการเต้นรำ
ที่มาของคำว่า บีบ๊อพ หรือ บ๊อพนั้นสันนิษฐานว่าอาจจะได้ชื่อมาจาก การร้องโน้ต2 ตัวเร็วๆ ซึ่งมักอยู่ช่วงจบของวรรคว่า บีบ๊อพ
ผู้เดี่ยวดนตรีมักจะเป็นผู้เป่าแซ็กโซโฟนหรือทรัมเปท โดยมีกลุ่มให้จังหวะคือเปียโน เบส กลอง และเครื่องเคาะอื่นๆ ซึ่งเป็นวงไม่ใหญ่โตนัก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยวที่บรรเลงทำนองหรือกลุ่มเครื่องทำจังหวะ จะเน้นจังหวะในที่ต่างๆ ไม่เป็นตามกฎเกณฑ์ใดๆ ทั้งสิ้น เรียกว่า บอมบ์ ทำให้กลุ่มเครื่องทำจังหวะมีบทบาทมากขึ้นกว่าดนตรีแจ๊สประเภทแรกๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเพียงการบรรเลงจังหวะที่เป็นรูปแบบตามอัตราจังหวะเท่านั้น การประสานเสียงมักใช้คอร์ดประเภท 6 หรือ7 เสียงมากกว่าคอร์ดประเภท 5 หรือ 6 เสียง รูปแบบการบรรรเลงเพลงประเภทบีบ๊อพมักเริ่มต้นและจบด้วยทำนองหลักซึ่งบรรเลงโดยเครื่องดนตรีเดี่ยวหนึ่งหรือสองชิ้น ส่วนที่เหลือในช่วงกลางทั้งหมดจะเป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีเดี่ยวชนิดต่างๆ โดยการด้นสดจากโครงสร้างของทำนองหรือการประสานเสียง
บทเพลงที่บรรเลงมีทั้งการนำทำนองจากเพลงที่มีอยู่แล้วมาบรรเลง และประพันธ์ขึ้นมาใหม่ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงและมีฝีมือ ได้แก่ ชาร์ลี พาร์คเกอร์ นักแซกโซโฟนและนักทรัมเปท ดิซซี กิลเลสปี ทั้งคู่จัดเป็นบุคคลสำคัญของการบุกเบิกบีบ๊อพขึ้นมา
ยุคคูลแจ๊ส, ยุคเวสต์โคสต์ และยุคฮาร์ดบ๊อพ (ตั้งแต่ปลายค.ศ.1940)
คูลแจ๊ส เป็นแจ๊สอีกประเภทหนึ่งที่พัฒนาตามบีบ๊อพขึ้นมา แต่แจ๊สประเภทนี้มีความนุ่มนวล ช้าๆกว่าบีบ๊อพ ท่วงทำนอง จังหวะตลอดจนการบรรเลงของคูลแจ๊สฟังดูสบายเรียบๆ เป็นเพลงที่มีความยาวกว่าบีบ๊อพ มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ก่อนบรรเลง และมักใช้เครื่องดนตรีที่แตกต่างจากแจ๊สยุคก่อนๆเช่น ใช้ฮอร์น ฟลูท และเชลโล่ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้แก่ ไมล์ เดวิด, แสตน เกส ,เลสเตอร์ ยังค์ มีนักดนตรีกลุ่มหนี่งสนใจและเล่นดนตรีคูลแจ๊ส ได้แก่ นักดนตรีจากฝั่งตะวันตกหรือ เวสต์โคสต์ นักดนตรีส่วนมากเป็นคนผิวขาว กลุ่มนักดนตรีกลุ่มรับนี้ได้รับอิทธิพลจากไมล์ เดวิด, ลี โคนีสต์และ เลสเตอร์ ยังค์ แต่ดนตรีของพวกเขาฟังดูนุ่มนวล เยือกเย็นและผ่อนคลายกว่าเล็กน้อย หลังปี1950 คูลแจ๊สทางฝั่งตะวันตกเริ่มมีคุณสมบัติที่ชัดเจนคือ บางเบา เหมาะสมสำหรับการบรรเลงในห้องโถงอย่างแชมเบอร์มิวสิคของยุโรป นักดนตรีคูลแจ๊สทางฝั่งตะวันตกที่มีผลงานที่น่าสนใจคือ เดฟ บรูเบคและ จิมมี จุฟเฟร ในเวลาเดียวกันนั้น บ๊อพก็ยังได้รับความนิยมอยู่ ท่วงทำนองทรัมเปทของดิซซี กิลเลสปี แฟทซ์ นาวาโร และ คลิฟฟอร์ด บราวน์ ได้ส่งผลต่อเคนนี ดอรัม ทำให้ดอรัมรักษาแบบแผนของบ๊อพไว้อย่างมั่นคง และคลี่คลายไปเป็นฮาร์ดบ๊อพดดยกลุ่มผู้ร่วมบุกเบิกสำคัญหลายคนเช่น ซอนนี โรลลินส์ นักแซกโซโฟนเทอร์เนอร์ , เจ.เจ.จอร์นสัน นักทรอมดบน และ แมกซ์ โรช มือกลอง
ลักษณะเด่นของฮาร์ดบ๊อพประการหนึ่งคือ มีทำนองที่ funky, earthy และมีเสียงประสานที่ปรับมาจากดนตรีศาสนา (ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ 2539)
ยุคฟรีแจ๊ส (ตั้งแต่ค.ศ.1960)
รูปแบบดนตรีฟรีแจ๊สเกิดขึ้นโดยโคลแมน ซึ่งมีความคิดที่ไม่ต้องการยึดรูปแบบแจ๊สดั้งเดิมคือ การมีทำนองหลักและการบรรเลงโดยการด้นสดจากทำนองหลัก จึงรวบรวมวงซึ่งมี8คน บรรเลงเพลงโดยอิสระทั้งในด้านทำนอง รูปแบบ และการประสานเสียง ซึ่งมีโครงสร้างของเพลงเพียงคร่าวๆเท่านั้น โคลแมนยังใช้การด้นสดของทำนอง และจังหวะ และมักเน้นจังหวะตบหรือการรักษาความเร็วจังหวะน้อยกว่าแจ๊สยุคก่อนๆ ส่วนเครื่องดำเนินจังหวะ และแนวเบสได้รับการเน้นให้มีอิสระในการบรรเลงมากขึ้น
ประมาณ ค.ศ.1970 ความหมายของฟรีแจ๊สก็ขยายกว้างขีฃึ้นเนื่องจากนักดนตรีจำนวนมากได้รับอิทธิพลดนตรีของชาติอื่นๆมาปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาติที่มีวัฒนธรรมแตกต่างจากชาวตะวันตก ดนตรีเหล่านี้ได้แก่ดนตรีของอินเดีย แอฟริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น
ยุคฟิวชั่นแจ๊ส (ตั้งแต่ปลายค.ศ.1960)
ในช่วงปลายทศวรรษ1960เพลงร็อคมีอิทธิพลมากขึ้น ทำให้เกิดแจ๊สรูปแบบใหม่ขึ้น คือ แจ๊สร็อคหรือฟิวชั่นแจ๊ส ลักษณะของดนตรีรูปแบบนี้คือ การผนวกการด้นสดในการบรรเลงดนตรี โดยการใช้รูปแบบจังหวะ และสีสันของเพลงร็อค เครื่องดนตรีในวงฟิวชั่นมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีดั้งเดิม และเครื่องดนตรีไฟฟ้า หรืออีเลคโทรนิค กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะมักจะใหญ่กว่าแจ๊สยุคก่อนๆ และมักมีเครื่องดนตรีต่างชาติร่วมบรรเลงด้วย เช่น เครื่องดนตรีจากอัฟริกา ลาตินอเมริกา หรืออินเดีย ลักษณะเฉพาะอีก2ประการของฟิวชั่นแจ๊สคือ แนวทำนองของอีเลคโทรนิคเบสและการซ้ำทวนของจังหวะ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงเช่น ชิค โคเรีย มือคีย์บอร์ด
โดยสรุปแจ๊สเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนผิวดำ ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมาจากดนตรีพื้นเมืองของชาวอัฟริกันตะวันตก ดนตรีของอเมริกันเอง และดนตรีจากยุโรป จากแรคไทม์ และบลูส์ ในช่วงปลายศตวรรษที่19 ต่อช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 แจ๊สเริ่มมีวิวัฒนาการขึ้น โดยกำเนิดที่เมืองนิวออลีนส์ แจ๊สยุคนั้นเรียกว่าดิกซีแลนด์ ลักษณะของแจ๊สคือ การบรรเลงแบบด้นสด จากทำนองหลักที่มีอยู่และใช้จังหวะขัด การประสานเสียงแปลกๆทำให้ดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เด่นขัด และแจ๊สก็มีการพัฒนาเรื่อยๆมาจากยุคแรกทำให้เกิดแจ๊สในรูปแบบต่างๆกันได้แก่ สวิง หรือบิกแบนด์ บีบ๊อพ คูลแจ๊ส ฟรีแจ๊สและฟิวชั่น
                แจ๊สเป็นดนตรีประเภทหนึ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของชนผิวดำอเมริกันและมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยมาเรื่อยๆจนถึงยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าถึงดนตรีชนิดนี้ผู้ศึกษาควรที่จะศึกษาถึงประวัติและองค์ประกอบของดนตรีชนิดนี้ รวมถึงการฝึกหัดฟัง ทำความเข้าใจไปด้วย เพื่อพัฒนาความซาบซึ้งของตนเองให้ถึงระดับเดียวกับการนำเสนอของผู้สร้างสรรค์ จึงจะทำให้ได้รับอรรถรสของการฟังแจ๊สอย่างครบถ้วนสมบูรณ์....

เครื่องดนตรีเพลงแจ๊ส

เครื่องดนตรีที่ใช้ในดนตรีแจ๊ส
ประเภทของเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงดนตรี แจ๊สที่สำคัญ ได้แก่
 เครื่องสาย คือ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงโดยการสีหรือการดีดที่สายขนาดต่างๆที่มีอยู่ เครื่องสายที่สำคัญและใช้ในการบรรเลงดนตรีแจ๊ส คือ
ไวโอลิน มีทั้งหมด 4 สาย สามารถให้เสียงที่แหลมและต่ำปานกลาง มีเทคนิควิธีเล่นต่างๆ มากมาย ทั้งการสีและการดีดให้เกิดเสียง
 วิโอลา ลักษณะเหมือนไวโอลิน แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีเสียงระดับต่ำกว่าไวโอลิน
 เบส หรือ ดับเบิลเบส เป็นเครื่องสายที่ใหญ่ที่สุด ใช้เล่นแนวเบส 
ฮาร์ฟ เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่โบราณ เกิดเสียงโดยการดีด มีสายทั้งหมด 43 สาย และมีพีดัลเท้าเหยียบ 7 อัน 
กีตาร์ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้การดีดทำให้เกิดเสียง มี 6 สาย 
เครื่องเป่าลมไม้
 ฟรุ๊ท ปัจจุบันทำด้วยโลหะ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้สร้างท่วงทำนอง จะใช้เฉพาะบรรเลงเดี่ยว หรือคลอรับตามดนตรีรวม
 คลาริเน็ท จัดเป็นเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญของวงดนรีประเภทดุริยางค์โยธวาธิตและแจ๊สแบนด์ เหมาะที่จะบรรเลงเดี่ยว มีระดับเสียงที่กว้าง
 แซกโซโฟน เป็นเครื่องเป่าที่ถูกนำมาใช้กับดนตรีแจ๊สมมากที่สุด
 โอโบ มีลักษณะคล้ายคลาริเน็ทแต่มีขยาดใหญ่กว่า และปลายปากเป่าไม่มีท่อยาวยื่นนออกมา ให้สีสันของเสียงหลายแบบ


 เครื่องเป่าลมทองเหลือง
 ทรัมเปท มีเสียงดังชัดแจ๋ว มีพลังและให้เสียงสูงสุดในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมทองเหลือง
 ทรอมโบน มีท่อลมสวมซ้อนให้เลื่อนเข้าออกได้ซึ่งส่วนนี้ช่วยให้เกิดระดับเสียงที่แตกต่างกันออกไปโดยการชักเข้า-ออกอย่างได้ขนาดของเสียงนั้นๆ
 เฟรนฮอร์น หรือ ฮอร์น มีเสียงที่ดัง มีพลังสง่างาม ไพเราะน่าฟัง
 ทูบา เป็นเครื่องเป่าลมทองเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจึงให้เสียงต่ำสุด
 เครื่องตี เครื่องเคาะ
 กลองใหญ่ คือกลองขนาดใหญ่สุด ใช้พีดัลเท้าเหยียบ
 กลองแต๊ก คือกลองเล็กสามารถให้เสียงซ่าๆ ได้
 ฉาบ ทำด้วยโลหะ มักใช้เป็นคู่
 กลองทอม ทอม มีกลองใบใหญ่ 1 ใบ และกลองใบเล็ก 1 ใบ
 ไฮ แฮท เป็นฉาบเหยียบ เป็นฉาบ 2 ใบซ้อนกันห่างประมาณ 1 เซนติเมตร เวลาเล่นเหยียบพีดัลเท้าเหยียบแล้วฉาบทั้ง 2 จะเลื่อนเข้าหากัน หรือใช้ตีเพื่อกำกับจังหวะ
 เครื่องดนตรีประเภทคียบอร์ด
 เปียโน สามารถให้เสียงยาวได้ โดยใช้พีดัลเท้าเหยียบ มีช่วงเสียงกว้างมากและสามารถเล่นให้มีเสียงดัง-ค่อยได้หลายระดับตามแรงกดลงบนคีย์
 ออร์แกน สามารถทำเสียงได้หลายลักษณะ ทำให้มีเสียงหลายชนิดได้ สีสันต่างๆ และ สามารถยืดเสียงให้ยาวได้โดยไม่หยุด
 คีย์บอร์ดประเภทอื่นๆ ในปัจจุบันมีคีย์บอร์ดมากมาย เช่น ออร์แกนไฟฟ้า อิเล็คโทน และเครื่องดนตรีประเภทอิเลคโทรนิคต่างๆ ซึ่งให้เสียงที่แตกต่างกันมากมายในเครื่องเดียว